--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การค้าชายแดน ทะลุ1ล้าน ล.

สัมภาษณ์พิเศษ 'สุรศักดิ์ เรียงเครือ' อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีบทบาทสำคัญในการจัดระเบียบและบริหารการนำเข้า-ส่งออกสินค้า แก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อ กีดกันทางการค้า เพื่อทำให้ผู้ส่งออกมีช่องทางการส่งออกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปกป้องไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศทะลักเข้ามาอย่างผิดกฎ ระเบียบจนทำลายผู้ประกอบการภายใน ประเทศ สุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศถึงทิศทางในอนาคตก่อนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- เห็นว่ากรมฯจะโฟกัสการค้าชายแดนมากขึ้น?

เราจะให้น้ำหนักการค้าชายแดนมากขึ้น หากช่วงไหนมีเรื่องพิเศษเข้ามาก็ว่ากันไป แต่ถ้าไม่มีอะไรเข้ามาเราก็เอาการค้าชายแดนเป็นหลัก

- ดำเนินการเรื่องอะไรบ้าง?

ปกติเรามีหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้านำเข้า-ส่ง ออกระหว่างประเทศไทยกับทั่วโลก การค้าชายแดน เป็นสวนหนึ่งที่เราต้องดูแล สินค้าไหนที่ผ่านเข้า-ออก ประเทศไทย เราต้องมอนิเตอร์ใกล้ชิด บางสินค้าเป็น สินค้านอกอาเซียนแต่มาสวมสิทธิประเทศอาเซียน ส่งเข้ามาดัมพ์ตลาดเราก็ต้องมีเครื่องมือโต้ตอบ หรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหากจะนำเข้ามาเราก็มีพระราชบัญญัติควบคุมว่าต้องมาขออนุญาตจากเรา

- หมายความว่าแม้จะเป็นเออีซีปี 58 ก็ไม่เสรี 100%?

หลักการเออีซีคือไม่มีอุปสรรคในเรื่องภาษี แต่ว่ายังมีข้อจำกัดในเรื่องคุณภาพและปริมาณการส่งออก-นำเข้า ซึ่งทุกประเทศจะพยายามขจัดให้น้อยลง แต่ต้องไม่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศ เดือดร้อนจนอยู่ไม่ได้ เช่น สินค้าบางชนิดประเทศที่ผลิตได้มากก็ส่งเข้ามามาก จนเข้าข่ายดัมพ์ตลาด เราก็ต้องใช้กฎหมายแอนตี้ดัมปิ้ง กฎหมายเซฟการ์ด หรือกฎหมายซีวีดี ปกป้องการนำเข้า เหมือนที่เราเคยดำเนินการกับเหล็กและกระเบื้องที่นำเข้ามาจำนวนมาก ในขณะเดียวกันประเทศที่เขาเล่นงานสินค้าส่งออกของเรา ทั้งที่ไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบ เราก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ

- เปิดเออีซีการค้าใต้ดินจะเป็นยังไง?

นับวันจะหมดไปเรื่อยๆ เพราะว่าถ้าเราเปิดเสรีและลดอุปสรรคทางการค้า ทุกอย่างจะขึ้นมาบนดินหมด ไม่มีใครอยากค้าขายใต้ดินหรอก แต่ในอดีตกฎระเบียบไม่ชัดเจน ปัญหาอุปสรรคมาก มาย เขาจึงต้องหาวิธีหลบเลี่ยง

- มีโอกาสเปิดด่านชายแดนเพิ่มขึ้นหรือเปล่า?

เราทำเรื่องขอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติให้มีการเปิดด่านมากขึ้น อนาคต อันใกล้ด่านถาวรจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ด่านชั่วคราวจะกลายเป็นด่านถาวร ด่านที่เปิดบ้างปิดบ้างก็จะเป็นด่านชั่วคราวที่มั่นคงมากขึ้น ปัจจุบันถ้ารวมด่าน ทั้งหมดรอบประเทศเรามีเกือบ 100 ด่าน ต่อไปเป็นเออีซี ไม่มีชายแดนเลย จะเป็นผลดีกว่านี้

- ปี 57 มิติใหม่จะเห็นอะไรก่อน?

ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ปัจจุบันเรามีสำนักงานในแนว ชายแดนประมาณ 10 แห่ง ผมวางแผนจะเอากำลัง คนไปลงมากขึ้น ซึ่งเริ่มทำแล้ว

- มูลค่าการค้าชายแดนเติบโตมากน้อยแค่ไหน?

ปีนี้มูลค่าการค่าเติบ โตในภาวะที่น่าพอใจ แม้จะไม่มากเท่าไหร่แต่ถือว่าน่า พอใจในภาวะแบบนี้ เนื่องจากการค้าต้องอิงกับเศรษฐกิจโลก ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ขยายตัว เศรษฐกิจ อื่นก็ถึงกันหมด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาถึงแม้จะมีปัญหาชายแดนการขัดแย้งต่างๆ แต่ดูแล้วไม่มีอะไรมาก บรรยากาศยังเป็นไปตามปกติ ประชาชน ที่ค้าขายกันอยู่เขาก็ไม่ได้ตระหนกตกใจ

- มูลค่าปีนี้จะทะลุ 1 ล้านล้านบาทไหม?

เป็นเป้าที่เราตั้งไว้ ถ้าไม่มีวิกฤติเศรษฐกิจโลก ถึงไปตั้งนานแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าเรานับสินค้าเข้า-ออกที่ไม่ได้แจ้งทางการตัวเลขทะลุ 1 ล้านล้านบาท แล้ว แต่ผมพูดถึงมูลค่าการค้าที่แจ้งตัวเลขอย่างเป็นทางการ

- เมื่อไหร่จะทะลุ 2 ล้านล้านบาท?

ปีนี้ทะลุ 1 ล้านล้านก่อน หลังจากนั้นอีก 3-4 ปี น่าจะทำได้

- ไทยทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ มีคนมาใช้สิทธิหรือ เปล่า?

ปัจจุบันเรามีเอฟทีเอประมาณ 10 ข้อ ตกลงกับทั่วโลก หน้าที่ของกรมฯคือทำยังไงให้ผู้ประกอบการมาใช้สิทธิมากขึ้น ตอนนี้น่าจะอยู่ประมาณ 70% แต่ก็มีการส่งออกไปบางประเทศยังใช้ไม่ถึง 70% เอฟทีเอ เป็นประโยชน์มหาศาล ถ้าไม่มีข้อตกลงเอฟทีเอต้องเสียภาษี 10-20% พอมีข้อตกลงเหลือ 0-5% ซึ่งอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จะรู้ แต่อุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อมบางแห่งไม่รู้ว่ามีข้อตกลง หลงจ่ายภาษีเท่าเดิมมาตั้งนาน บางแห่งคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เลยไม่มาใช้ กรมฯ ก็ต้องทำอุปสรรคที่เขาคิดว่ายุ่งยากให้น้อยที่สุด เช่น ขยายพื้นที่ บริการให้มากขึ้น

- เอฟทีเอไทย-อียูจะเรียบร้อยเมื่อไหร่?

พยายามให้เร็วที่สุด เพราะอียูจะตัดสิทธิภาษี จีเอสพีกับสินค้าไทยหลายรายการ เนื่องจากเราไม่มี คุณสมบัติที่จะได้รับจีเอสพีแล้ว เพราะเป็นประเทศ ที่มีรายได้ต่อหัวปานกลางขึ้นมาแล้ว พูดง่ายๆ คือเริ่มรวย สิทธิจีเอสพีเขาจะให้กับประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งถ้ามีเอฟทีเอเราก็หันมาใช้สิทธิทางภาษีจากข้อตกลง เอฟทีเอแทน ตอนนี้มีสินค้าบริการบางประเภทเท่า นั้นที่ยังเจรจาไม่ลงตัว ใช้เวลาไม่นานคงจะเรียบร้อย

- รู้สึกยังไงกับตัวเลขส่งออกปีนี้ของไทย?

ผมไม่อยากให้มองว่าปีนี้ส่งออกเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ถ้าไม่ถึง 7% แสดงว่าไม่ได้เรื่อง ไม่ใช่อย่างนั้น ควร มองสัมพันธ์ในเชิงเปรียบมากกว่า ถ้าเศรษฐกิจโลก ไม่ดี ผู้ซื้อไม่มีกำลังซื้อ เราทำงานเก่งแค่ไหนก็บังคับ ให้เขาซื้อไม่ได้ ในขณะเดียวกันต้องดูประเทศอื่นเปรียบเทียบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ติดลบทั้งนั้น ถ้าเราทำได้แค่ 0% หรือ 0.5% ก็ชนะทุกคนแล้ว เป้าก็คือเป้า แต่ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง

- การระบายข้าวจะทำยังไง?

เหมือนที่ท่านรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ว่าเราเร่งระบายอย่างต่อเนื่อง มีการลงนามกับจีนและอีกหลายประเทศ ทั้งซื้อเป็นเงินสด ทั้งบาเตอร์เทรดเช่นข้าวแลกรถไฟฟ้า

- โครงการข้าวแลกน้ำมันเป็นไปได้หรือเปล่า?

ผมมองว่าอะไรก็ตาม ถ้าเราได้ประโยชน์ก็น่า จะทำ แต่ที่ผ่านมาทำไม่ได้อาจเป็นเพราะตกลงราคา กันไม่ได้ หรือเป็นเรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยทำให้คนสงสัย ถ้าทำอย่างโปร่งใส ทุกคนรู้หมด มีหน่วยงานกลางเข้ามาตรวจสอบก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ที่มา.สยามธุรกิจ
-------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น