จังหวะก้าวทางการเมืองที่กำลังเดินไปสู่การ "คัดค้านการเลือกตั้ง" ตามที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้ประกาศไว้ ถูกเพ่งมองจากนักวิชาการหลายคนว่าอาจเป็นเกมเสี่ยงของทั้ง กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังไม่แสดงท่าทีชัดๆ ว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลลึกล้ำทั้งๆ ที่ยังถือธงนำเรื่องการปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมืองอยู่!
เพราะแม้การเลือกตั้งจะไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่การเคลื่อนไหวขัดขวางการเลือกตั้งย่อมอธิบายให้เข้าใจได้ยากว่าเป็นแนวทางที่ไม่ได้สวนทางกับหลักการประชาธิปไตยอย่างไร เห็นได้จากความสับสนมึนงงของตัวแทนสถานเอกอัครราชทูต 2 ประเทศที่ไปพบปะกับแกนนำ กปปส.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา...
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า การเคลื่อนไหวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส.ด้วยการจะทำทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้ง คือการทำลายความชอบธรรมการเคลื่อนไหวของ กปปส.เอง เพราะประชาชนโดยทั่วไปที่เข้าร่วมชุมนุมกับ กปปส. ไม่ว่าจะเป็น 24 พ.ย. หรือ 9 ธ.ค. (การนัดชุมนุมใหญ่ 2 ครั้งล่าสุด) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่มองว่ารัฐบาลได้กระทำผิดพลาดหลายประการจนไม่สามารถยอมรับได้
"สถานการณ์ในวันที่ 9 ธ.ค.เป็นการทำลายความชอบธรรมแผนยื้อบนท้องถนนของคุณสุเทพและ กปปส.ลงไปมาก ทั้งการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรี และการเปิดประตูสถานที่ราชการให้เข้าได้ตามสบาย ทำให้ประเด็นของการชุมนุมเพื่อขับไล่อะไรก็ไม่รู้ลดระดับของความสำคัญลงไป ด้วยเหตุนี้แกนนำ กปปส.จึงไม่มีทางออกทางอื่น จะปล่อยให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งนั้นจะทำให้แกนนำ กปปส.หมดอำนาจทางการเมืองไปทันที เพราะการเลือกตั้งจะกลายเป็นความชอบธรรมทางการเมืองที่สำคัญ"
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ วิเคราะห์ต่อว่า นายสุเทพและคณะได้ทิ้งไพ่สำหรับการเลือกตั้งจนหมดหน้าตักไปแล้ว ถ้าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 เกิดขึ้นได้จริงๆ กลุ่มของนายสุเทพจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย คือหมดบทบาททางการเมืองไป
"ตอนนี้ก็เหลือเพียงพรรคประชาธิปัตย์นำโดย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ระหว่างการร่วมรณรงค์บนท้องถนนกับคุณสุเทพ กับการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภาด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนตัวค่อนข้างเห็นปัจจัยที่สำคัญว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะการพลาดการเลือกตั้งครั้งนี้มีความหมายว่า หากการเลือกตั้งดำเนินต่อไป พรรคประชาธิปัตย์จะหมดบทบาทในระบบการเมืองแบบรัฐสภาทันที"
"เท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกลายเป็นพรรคที่ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองในปีหน้า จะต้องเล่นการเมืองบนท้องถนนรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกระแสสังคมคงพลิกกลับทันที หากปีหน้าพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเล่นการเมืองบนท้องถนนอย่างไรเหตุผล ก็จะกลายเป็นคนพาลในระบอบประชาธิปไตยทันที"
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวด้วยว่า เครือข่ายของนายสุเทพต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เล่นตามเกมของตน คือเกมบนท้องถนน ซึ่งจะทำให้นายสุเทพไม่ถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง เพราะยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง นายสุเทพก็จะยิ่งถูกโดดเดี่ยว ทั้งด้านเงินทุนในการชุมนุมและอื่นๆ เพราะกลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนนายสุเทพ นอกเหนือจากความชอบส่วนตัวแล้ว การจะทำให้ภาคธุรกิจเห็นด้วยกับการสร้างความปั่นป่วนในกรุงเทพฯช่วงไฮซีซั่นของภาคธุรกิจ คงจะต้องคิดหนัก
"ผมคิดว่าต้องจับตาพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะมองอนาคตของพรรคอย่างไร เป็นเรื่องที่พรรคต้องตัดสินใจ" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุ
นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ประเมินสถานการณ์คล้ายๆ กันว่า การเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว กปปส.ต้องเข้าใจว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การที่จะมีกระบวนการซึ่งนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้งด้วยวิธีแบบที่ กปปส.จะทำ จึงไม่เป็นธรรมกับประชาชนที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ วิธีการที่ กปปส.จะทำให้เลื่อนการเลือกตั้งหรือไม่ให้เกิดการเลือกตั้งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ไปกดดันให้ กกต.ลาออก 3 ใน 5 หรือไปล้อมสถานที่รับสมัคร เพื่อไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งได้ แต่ไม่ว่า กปปส.จะใช้ทางไหน ก็เป็นแนวทางหรือการต่อสู้ทางการเมืองที่เลยกรอบสันติวิธีและไม่มีความชอบธรรม
"ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กปปส.ที่จะให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เพราะความหมายของคำว่าปฏิรูป ตอนนี้แต่ละกลุ่มยังนิยามและมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะความหมายไหน ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ หรือเรื่องใดก็ตาม จำเป็นต้องใช้เวลา ฉะนั้นการเอาการเลือกตั้งที่ถือเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไปโยงกับเรื่องปฏิรูปซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว อาจจะเป็น 10 ปี จึงไม่ถูกต้อง และผลที่จะเกิดขึ้นคือการไม่มีการเลือกตั้งไปโดยปริยาย การเลือกตั้งก็จะถูกเลื่อนไปเรื่อยๆ"
นายศิโรตม์ บอกด้วยว่า ทางออกที่มองเห็นในขณะนี้คือการเลือกตั้ง แต่ว่าเลือกตั้งอย่างไรแล้วจะนำไปสู่การปฏิรูป เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน เช่น เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ต้องมีการลงสัตยาบันว่าจะทำการปฏิรูป ซึ่งแนวทางนี้เป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ขณะ นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า มีเพียง 2 ปัจจัยที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่เกิดขึ้น หนึ่ง คือ การรัฐประหาร และ สอง คือ การเสียชีวิตเป็นจำนวนมากของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่รัฐประหาร แต่ปัจจัยที่ 2 ตอนนี้ไม่เกิด เพราะรัฐบาลตัดสินใจไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน หมายความว่าแทนที่จะใช้ความรุนแรง แต่รัฐบาลกลับเปิดทางให้หมดเลย ดังนั้นการเดินขบวนในวันที่ 22 ธ.ค.นั้นสามารถทำได้ แต่จะนำไปสู่ผลตามที่ผู้เดินขบวนหวังหรือไม่ คงตอบยาก
"การเลือกตั้งคือวิธีการยุติและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ออกไป ต้องถามกลับว่าการเลือกตั้งในวันนั้นจะทำให้ฝ่ายใดเสียเปรียบ และเป็นการทำตามกฎหมายหรือไม่ เราจะเอาปัญหามาตั้ง แล้วเอากฎหมายมาปรับไม่ได้ ต้องเอาข้อเท็จจริงมาตั้ง แล้วใช้กฎหมายไปตามหลักการ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////
เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลลึกล้ำทั้งๆ ที่ยังถือธงนำเรื่องการปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมืองอยู่!
เพราะแม้การเลือกตั้งจะไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่การเคลื่อนไหวขัดขวางการเลือกตั้งย่อมอธิบายให้เข้าใจได้ยากว่าเป็นแนวทางที่ไม่ได้สวนทางกับหลักการประชาธิปไตยอย่างไร เห็นได้จากความสับสนมึนงงของตัวแทนสถานเอกอัครราชทูต 2 ประเทศที่ไปพบปะกับแกนนำ กปปส.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา...
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า การเคลื่อนไหวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส.ด้วยการจะทำทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้ง คือการทำลายความชอบธรรมการเคลื่อนไหวของ กปปส.เอง เพราะประชาชนโดยทั่วไปที่เข้าร่วมชุมนุมกับ กปปส. ไม่ว่าจะเป็น 24 พ.ย. หรือ 9 ธ.ค. (การนัดชุมนุมใหญ่ 2 ครั้งล่าสุด) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่มองว่ารัฐบาลได้กระทำผิดพลาดหลายประการจนไม่สามารถยอมรับได้
"สถานการณ์ในวันที่ 9 ธ.ค.เป็นการทำลายความชอบธรรมแผนยื้อบนท้องถนนของคุณสุเทพและ กปปส.ลงไปมาก ทั้งการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรี และการเปิดประตูสถานที่ราชการให้เข้าได้ตามสบาย ทำให้ประเด็นของการชุมนุมเพื่อขับไล่อะไรก็ไม่รู้ลดระดับของความสำคัญลงไป ด้วยเหตุนี้แกนนำ กปปส.จึงไม่มีทางออกทางอื่น จะปล่อยให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งนั้นจะทำให้แกนนำ กปปส.หมดอำนาจทางการเมืองไปทันที เพราะการเลือกตั้งจะกลายเป็นความชอบธรรมทางการเมืองที่สำคัญ"
ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ วิเคราะห์ต่อว่า นายสุเทพและคณะได้ทิ้งไพ่สำหรับการเลือกตั้งจนหมดหน้าตักไปแล้ว ถ้าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 เกิดขึ้นได้จริงๆ กลุ่มของนายสุเทพจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย คือหมดบทบาททางการเมืองไป
"ตอนนี้ก็เหลือเพียงพรรคประชาธิปัตย์นำโดย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ระหว่างการร่วมรณรงค์บนท้องถนนกับคุณสุเทพ กับการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภาด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนตัวค่อนข้างเห็นปัจจัยที่สำคัญว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะการพลาดการเลือกตั้งครั้งนี้มีความหมายว่า หากการเลือกตั้งดำเนินต่อไป พรรคประชาธิปัตย์จะหมดบทบาทในระบบการเมืองแบบรัฐสภาทันที"
"เท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกลายเป็นพรรคที่ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองในปีหน้า จะต้องเล่นการเมืองบนท้องถนนรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกระแสสังคมคงพลิกกลับทันที หากปีหน้าพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเล่นการเมืองบนท้องถนนอย่างไรเหตุผล ก็จะกลายเป็นคนพาลในระบอบประชาธิปไตยทันที"
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวด้วยว่า เครือข่ายของนายสุเทพต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เล่นตามเกมของตน คือเกมบนท้องถนน ซึ่งจะทำให้นายสุเทพไม่ถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง เพราะยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง นายสุเทพก็จะยิ่งถูกโดดเดี่ยว ทั้งด้านเงินทุนในการชุมนุมและอื่นๆ เพราะกลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนนายสุเทพ นอกเหนือจากความชอบส่วนตัวแล้ว การจะทำให้ภาคธุรกิจเห็นด้วยกับการสร้างความปั่นป่วนในกรุงเทพฯช่วงไฮซีซั่นของภาคธุรกิจ คงจะต้องคิดหนัก
"ผมคิดว่าต้องจับตาพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะมองอนาคตของพรรคอย่างไร เป็นเรื่องที่พรรคต้องตัดสินใจ" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุ
นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ประเมินสถานการณ์คล้ายๆ กันว่า การเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว กปปส.ต้องเข้าใจว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การที่จะมีกระบวนการซึ่งนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้งด้วยวิธีแบบที่ กปปส.จะทำ จึงไม่เป็นธรรมกับประชาชนที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ วิธีการที่ กปปส.จะทำให้เลื่อนการเลือกตั้งหรือไม่ให้เกิดการเลือกตั้งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ไปกดดันให้ กกต.ลาออก 3 ใน 5 หรือไปล้อมสถานที่รับสมัคร เพื่อไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งได้ แต่ไม่ว่า กปปส.จะใช้ทางไหน ก็เป็นแนวทางหรือการต่อสู้ทางการเมืองที่เลยกรอบสันติวิธีและไม่มีความชอบธรรม
"ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กปปส.ที่จะให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เพราะความหมายของคำว่าปฏิรูป ตอนนี้แต่ละกลุ่มยังนิยามและมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะความหมายไหน ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ หรือเรื่องใดก็ตาม จำเป็นต้องใช้เวลา ฉะนั้นการเอาการเลือกตั้งที่ถือเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไปโยงกับเรื่องปฏิรูปซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว อาจจะเป็น 10 ปี จึงไม่ถูกต้อง และผลที่จะเกิดขึ้นคือการไม่มีการเลือกตั้งไปโดยปริยาย การเลือกตั้งก็จะถูกเลื่อนไปเรื่อยๆ"
นายศิโรตม์ บอกด้วยว่า ทางออกที่มองเห็นในขณะนี้คือการเลือกตั้ง แต่ว่าเลือกตั้งอย่างไรแล้วจะนำไปสู่การปฏิรูป เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน เช่น เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ต้องมีการลงสัตยาบันว่าจะทำการปฏิรูป ซึ่งแนวทางนี้เป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ขณะ นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า มีเพียง 2 ปัจจัยที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่เกิดขึ้น หนึ่ง คือ การรัฐประหาร และ สอง คือ การเสียชีวิตเป็นจำนวนมากของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่รัฐประหาร แต่ปัจจัยที่ 2 ตอนนี้ไม่เกิด เพราะรัฐบาลตัดสินใจไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน หมายความว่าแทนที่จะใช้ความรุนแรง แต่รัฐบาลกลับเปิดทางให้หมดเลย ดังนั้นการเดินขบวนในวันที่ 22 ธ.ค.นั้นสามารถทำได้ แต่จะนำไปสู่ผลตามที่ผู้เดินขบวนหวังหรือไม่ คงตอบยาก
"การเลือกตั้งคือวิธีการยุติและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ออกไป ต้องถามกลับว่าการเลือกตั้งในวันนั้นจะทำให้ฝ่ายใดเสียเปรียบ และเป็นการทำตามกฎหมายหรือไม่ เราจะเอาปัญหามาตั้ง แล้วเอากฎหมายมาปรับไม่ได้ ต้องเอาข้อเท็จจริงมาตั้ง แล้วใช้กฎหมายไปตามหลักการ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น