ผล จากค่าแรง 300 บาทเริ่มใช้เมื่อมกราคม 2556 ที่ผ่านมา ตามด้วยค่าเงินบาท ต้นทุนพลังงาน ผลก็คือรายย่อยไม่อาจจะรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะที่ยอดขายรายได้ลดลง
สัมภาษณ์:นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แดช อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ถึงแนวทางในการลดต้นทุนใน 3 เดือนที่ผ่านมา
ชัดล่ะ เอาต์ซอร์ซอุตลุด...
กรณีของ บริษัท คือ บริษัทรับจ้างผลิตและส่งออกของชำร่วยของตกแต่งบ้านไปยังยุโรปและอเมริกา ผล กระทบมาจากหลาย ๆ ส่วน ประการแรกคือ ค่าแรง 300 บาท ต้นทุนพลังงานค่าเงินบาท ที่สำคัญคือ ออร์เดอร์จาก
ต่างประเทศลดลงมาก และมีการปรับตัวของลูกค้าจากต่างประเทศ จากเคยออร์เดอร์ครั้งละ 5,000 ชิ้น เหลือเพียงแค่ 1,000-5,000 ชิ้นเท่านั้น
เป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทต้องหาวิธีในการลดต้นทุนลง แนวทางแรกคือการเอาต์ซอร์ซ ตั้งแต่การยุบบางแผนกลง เช่น ส่วนของโลจิสติกส์ คนขับรถส่งสินค้า ในอดีตจะต้องจ้างประจำ ทั้งคนขับและเด็กนั่งรถ บริษัทเปลี่ยนเป็นการจ้างพนักงานมาขับรถส่งของเป็นครั้งคราว และจ่ายเป็นครั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เป็นรายได้ประจำต่าง ๆ เช่น ค่าสวัสดิการและเงินเดือน
"จากเมื่อก่อนเคยจ่ายทุกเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50,000 บาท สำหรับแผนกนี้ ตอนนี้เหลือเพียงเดือนละ 2-3 หมื่นบาท"
ขณะ ที่เมสเซนเจอร์ปกติมาทำงานทุกวัน แต่เมื่องานลดลง ผมหันมาจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างแทน และอบรมให้เขาสามารถรับส่งเอกสาร โดยมอเตอร์ไซค์รับจ้างเขาจะมีรับส่งคนเฉพาะช่วงเช้าและเย็น ส่วนช่วงเก้าโมงจะเข้ามารับงานส่งเอกสารเป็นงานสำรอง ขณะที่เราได้งานที่ตรงเวลามากขึ้น ไม่ต้องสำรองเงินสด เช่น ค่าน้ำมัน ค่าซ่อม เพราะจะมีการวางบิลตอนปลายเดือนอีกครั้ง
ฝ่ายต่างประเทศใช้น้อยจ่ายน้อย
ใน ส่วนของงานต่างประเทศ คุณจิรบูลย์กล่าวว่า ปกติเวลาออกงานในต่างประเทศ จะต้องมีผู้ช่วย ซึ่งทำหน้าที่ติดตามลูกค้าส่งตัวอย่าง ตอบอีเมล์ รับออร์เดอร์ ตรงนี้ในแผนกต่างประเทศจะต้องจ่ายพนักงานไม่ต่ำกว่า 35,000-50,000 บาทต่อเดือน/คน ประกอบกับเมื่องานน้อยลง พนักงานต้องการความมั่นคงในอาชีพ จึงตัดสินใจออกมาเปิดบริษัท รับงาน โดยรับงานจากเราเป็นครั้ง คิดจากการตอบจดหมายลูกค้า ตามอีเมล์ ส่งตัวอย่างสินค้า
อีก ส่วนคือ การออกบูทต่างประเทศจะคิดเป็นครั้ง โดยบริษัทจะออกค่าเครื่องบินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยงให้ ซึ่งปีหนึ่งไปออกงานไม่กี่ครั้ง เฉลี่ยครั้งละ 30,000-50,000 บาทเท่านั้น
เมื่อเทียบกับการจ่ายต่อครั้ง วิธีนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า แต่หากเทียบกับภาพรวมแล้ว บริษัทไม่จำเป็นต้องแบกรับต้นทุนที่ต้องจ่ายทุกเดือน
จ้างเหมาแก้ปัญหาค่าแรง 300
ใน ส่วนของโรงงานผลิต คุณจิรบูลย์แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน เพราะแรงงานบางส่วนกลับบ้าน เนื่องจากไม่มีงาน บางส่วนเปลี่ยนไปอยู่ที่ใหม่ที่ค่าแรงสูงกว่า ขณะที่ลูกค้าจากต่างประเทศสั่งออร์เดอร์เล็กลง เพราะลูกค้าไม่ต้องการสต๊อกสินค้า จึงยอมจ่ายในราคาสูงขึ้น 10-15% แต่จำนวนชิ้นน้อยลง แต่ระยะเวลาในการส่งสินค้าสั้นขึ้น จาก 20 วันเหลือเพียง 10 วันเท่านั้น
"งานที่ไม่ต้องใช้แรงงานฝีมือ เราใช้วิธีการ จ้างเหมาจ่าย เช่น การประกอบพวงกุญแจไม่ต้องใช้แรงงานฝีมือ และโรงงานของเราอยู่ในเขตชุมชน หาคนงานยาก จะมีผู้มารับงานและกระจายไปตามหอพักต่าง ๆ ให้กับนักศึกษา ที่ต้องการรายได้พิเศษ ซึ่งจะมีการจ้างเหมางานแบบนี้ เฉพาะช่วงที่ออร์เดอร์เร่ง ๆ เท่านั้น แทนที่จะจ่ายโอที การจ้างงานแบบเหมาจ่ายคุ้มกว่า เพราะได้งานตรงเวลาอีกด้วย"
คุณจิร บูลย์กล่าวต่อด้วยว่า "ตอนนี้ลูกค้าต่างประเทศออร์เดอร์ใหญ่หายไปเกือบ 100% ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะต้องมาดูโรงงาน ตรวจสอบคุณภาพ เหลือแต่รายเล็ก ๆ และในแถบเอเชียซึ่งสั่งน้อยไม่เคร่งครัดเรื่องนี้มากนัก"
จูงใจ จ่ายสด ลด 5%
และสุดท้ายคือ เรื่องของกระแสเงินสด ทำอย่างไรให้เกิดกระแสเงินสดเข้ามา คุณจิรบูลย์แนะว่า ลูกค้าในประเทศ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า มีการยืดเครคิตยาวขึ้น ซึ่งตนเองได้กลับมาคิดวิธีที่จะให้ลูกค้าจ่ายเงินสดมากขึ้น คือ จูงใจให้ลูกค้าจ่ายเงินสด จะลดราคาลง 5%
วิธีนี้เป็นการ กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจจ่ายสดมากขึ้น เพราะลดค่าใช้จ่าย ขณะที่ผู้ประกอบการเอง ลดความเสี่ยงลงเพราะมีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเนื่องอีกด้วย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น