Philosopher Saves the Day โดย กิตติภัต แสนดี [randoma.wordpress.com]
เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนแล้ว นับจากวันที่เลขาธิการสมช. ลงนามข้อตกลงร่วมเจรจาแก้ไขความขัดแย้งในภาคใต้กับกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฎิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอน) โดยที่มีมาเลเซียเป็นตัวกลางคู่เจรจา ความมุ่งหมายของการเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เก่าแก่นี้ มีเพื่อปูทางให้กับการเจรจากลุ่มขบวนการขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้อื่นๆ สนใจเข้าร่วม
กระบวนการพูดคุยลักษณะนี้ สะท้อนภาพชวนฝันของ “คณะกรรมการความจริงและการปรองดอง” ที่ตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการเหยียดสีผิวและการละเมิดสิทธิมานุษยชนในช่วงปี 1960 ถึง 1994
แม้โครงสร้างวิธีจัดตั้งของกลุ่มเจรจาทั้งสอง รวมถึงเนื้อหารูปแบบความขัดแย้งจะต่างกัน แต่สาระสำคัญของทั้งสองโครงการนี้ คิอการรับฟังปัญหาระหว่างคู่ขัดแย้ง และหาทางออกที่เป็นทางเลือกนอกจากวิธีทางกระบวนการยุตธรรมแบบดั้งเดิม
และทุกครั้งที่มีการนำกระบวนการพิเศษเหล่านี้มาใช้กับความขัดแย้ง สิ่งที่เป็นปัญหาในมุมมองปรัชญาคือคำถามที่ว่า การใช้หลักการให้อภัย ความเข้าใจกันและกัน ขัดแย้งกับหลักยุติธรรมหรือไม่ และหากขัดแย้งแล้ว วิธีใดจะดีกว่ากันในการแก้ไขความขัดแย้ง บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตอบทั้งสองคำถามนี้ในมุมมองของแนวคิดทางปรัชญา

เจรจา BRN/ ภาพจาก MThai News
การให้อภัยและความยุติธรรม ขัดแย้งกันหรือไม่?
การให้อภัยคือการกระทำที่ฝ่ายผู้ถูกกระทำ มอบให้แก่ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำรับรู้ว่าตนได้รับผลของการกระทำอย่างไรบ้างจากผู้กระทำ แต่กระนั้นก็ยังแสดงความยินยอมที่จะละไปซึ่งสิทธิในการได้รับชดใช้ หรือยินยอมที่ผู้ถูกกระทำจะถูกละไปซึ่งภาระหน้าที่ใดๆ ที่อาจมีตามมาเนื่องมาจากการกระทำนั้น
ส่วนความยุติธรรมนั้น หากย้อนไปยังต้นกำเนิด สามารถสืบค้นได้จากประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ซึ่งใจความของมัน ถูกสรุปอยู่ในวลีที่แสนจะคุ้นเคยว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ความหมายของมันยืนยันถึงความจำเป็นที่ผู้กระทำ ต้องได้รับความทุกข์ร้อนแบบเดียวกับที่ไปก่อกับผู้อื่นไว้
การลงโทษทางกฎหมายจึงเหมือนการให้ผู้ถูกกระทำ “ชดใช้” ให้กับผู้กระทำ ซึ่งจิตวิญญาณและกลิ่นอายของพื้นฐานความคิดเช่นนี้ ยังสิงสู่วนเวียนกับทฤษฎีความยุติธรรมร่วมสมัย ที่มองว่าการให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษฑัณฑ์ติดคุกติดตาราง ก็เพื่อเป็นการ “ชดใช้” ภาระที่ก่อไว้กับสังคม
การให้อภัย ต้องการให้ผู้ถูกกระทำ ยินยอมให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากภาระที่เกิดจากการกระทำ แต่ความยุติธรรมมุ่งหมายให้ผู้ถูกกระทำ ชดใช้ให้ผู้ถูกกระทำ (ซึ่งอาจหมายถึงผู้ถูกกระทำโดยตรง หรือเป็นรัฐก็ได้) ดังนั้น การให้อภัยและความยุติธรรมไม่ได้เพียงแต่ไม่สอดคล้องกัน แต่ยังขัดแย้งตัดขวางซึ่งกันและกัน เรียกว่า ถ้าให้อภัยก็จะไม่เกิดความยุติธรรม และถ้าใช้ความยุติธรรมก็จะไม่เกิดการให้อภัยอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี มีความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมแนวใหม่ ที่มองว่าควรมุ่งเน้นที่การเยียวยาฟื้นฟูให้เหมือนเดิมตามความพึงพอใจของคู่กรณี (Restorative) มากกว่าเน้นที่การลงโทษ ชดใช้ (Retributive) ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ขอกล่าวถึงในบทความ และการกล่าวถึงความยุติธรรมในบทความนี้ จะหมายถึงความยุติธรรมในความหมายดั้งเดิมอย่างที่กล่าวไปเท่านั้น

Desmond Tutu/ photo by Dale Frost, Port of San Diego
วิธีใดที่ควรเน้น ในการแก้ไขความขัดแย้ง?
“ไม่มีอนาคต ถ้าไม่มีการให้อภัย” คือชื่อหนังสือของเดสมอนด์ ตูตู ประธานคณะกรรมการความจริงและการปรองดอง ที่เล่าถึงวิธีการและผลลัพธ์ของการก้าวข้ามปัญหาความขัดแย้งในแอฟริกาใต้ ผ่านการรับฟังเรื่องเล่าของผู้ถูกกระทำ และเปิดเผยตัวตนของผู้กระทำผ่านสื่อที่เผยแพร่ทั่วไปอย่างกว้างขวาง
แต่เป็นความจริงหรือไม่ที่หากไม่มีการให้อภัย จะไม่มีอนาคต?
การให้อภัย ถูกพูดถึงในทางศาสนาหลายศาสนาว่า เป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้กระบวนการยุติธรรม ศาสนาพุทธชี้ว่าการแก้แค้น จะนำมาสู่วงเวียนความรุนแรงที่ต่างฝ่ายต่างจะทำร้ายซึ่งกันและกันมากขึ้นอย่างไม่จบสิ้น เมตตาธรรมยังเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าที่ถูกอธิบายในทศชาติชาดก ในตอนที่พระสุวรรณสามถูกพระราชากบิลยักขราชยิงด้วยธนูระหว่างที่ไปหอบน้ำ หาอาหารให้บิดามารดาที่ตาบอด พระสุวรรณสามยังมีจิตเมตตาพูดจาดีงามกับพระราชาก่อนสิ้นใจ จนพระราชาต้องรับหน้าที่การหอบน้ำกลับมาให้ยังบิดามารดาของพระสุวรรณสาม
คำสอนทางพุทธศาสนานี้ สามารถตีความในทางปรัชญาได้ว่า หากมีการใช้ความรุนแรงที่มากขึ้นตอบกลับ บทบาทผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำก็จะกลับข้างกัน และกระบวนการชดใช้ที่รุนแรงกว่าก็จะต้องเกิดขึ้นอีก การให้อภัยจึงเป็นโอกาสเดียวที่จะทำให้ความขัดแย้งจบลง
เดสมอนต์ ตูตู ให้อีกหนึ่งความเห็นที่มองว่าการให้อภัย ดีกว่าการถือแค้นซึ่งกันและกัน เขาเห็นว่าศักดิ์ศรีของผู้ถูกกระทำ ไม่จำเป็นต้องเรียกคืนด้วยวิธีการทำร้ายผู้กระทำอย่างเดียว แต่ยังสามารถเรียกคืนผ่านการรับฟังเรื่องเล่าของผู้ถูกกระทำอย่างเข้าใจก็ได้ (จุดนี้เองที่ตูตูมองว่าการให้อภัย ไม่ขัดแย้งกับการยุติธรรม เพราะการ “ชดใช้” สามารถทำได้ด้วยการทำให้ประชาชนรู้การกระทำของผู้กระทำ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงเพิ่มเติม)
แต่กระนั้น วิธีการให้อภัยก็ยังมีสถานะที่น่ากังขาในทางปรัชญา

Lucius Annaeus Seneca/ photo from Calidius
นักปรัชญากรีกอย่างลูเซีนส แอนเนอุส เซเนก้า ระบุว่ามนุษย์ฉลาด คือคนที่ทำในเรื่องที่ต้องทำ และไม่ทำในเรื่องที่ไม่ควรทำ การงดเว้นการลงโทษให้แก่อาชญากรรมที่ควรต้องมีการลงโทษ จึงไม่ใช่วิถีทางของมนุษย์ที่ฉลาด

Immanuel Kant
ส่วนอิมมานูเอล ค้านท์ชี้ว่าการไม่ลงโทษคนทำผิดตามกฎหมายที่มีอยู่ เท่ากับการไม่บังคับใช้กฎหมาย ทั้งที่มันมีลักษณะของการบังคับ เท่ากับทำให้เกิดปัญหาว่า ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ระบบกฎหมายในประเทศจะดำรงอยู่เพื่อการใด

Jacques Derrida/ photo by Richard Melloul/ Sygma/ Corbis
สำหรับฌาคส์ แดร์ริด้าใช้วิธีการรื้อสร้าง ชี้ให้เห็นว่าคำว่า “การให้อภัย” เป็นคำที่มีความขัดแย้งในตัวมันเอง เพราะในตัวมันหมายถึงการให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถรวมถึงสิ่งที่ไม่อาจให้อภัยได้ (เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ) การใช้คำนี้ในแต่ละครั้งจึงมีทั้งความหมายในเชิงยืนยัน (ว่ามีการให้อภัย) ไปพร้อมกับความหมายเชิงปฎิเสธ (ว่าการให้อภัยนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามตรรกะ)
แต่การพิสูจน์ว่าความยุติธรรมควรถูกเน้นมากกว่าการให้อภัยที่ดีที่สุด ข้าพเจ้าเห็นว่าควรย้อนกลับไปที่ความหมายของการให้อภัยนั้นเอง เพราะในตัวมันระบุชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ผู้ถูกกระทำ มอบให้กับผู้กระทำ ดังนั้น คำกล่าวของตูตูในเรื่องที่ว่าการรับฟังเรื่องเล่าก็เพียงพอแล้วกับการชดใช้นั้น จึงชวนให้สงสัยว่าเป็นความจริงหรือไม่? ผู้ถูกกระทำทุกคนคิดเช่นนั้นจริงหรือไม่ ที่จะปล่อยให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางระบบยุติธรรม? เพราะการให้อภัยหากพิจารณาจากความหมาย จะพบว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถูกกระทำ
การเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้งในเรื่องภาคใต้ จึงควรคำนึงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัวดังกล่าว: การให้อภัย ให้แทนกันโดยไม่มีการยินยอมไม่ได้ ครู สงฆ์ และชาวบ้านในพื้นที่ความรุนแรงบางท่านอาจไม่พร้อมให้อภัย เช่นเดียวกัน ชาวมุสลิมที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายอย่างไม่เป็นธรรม อาจไม่พร้อมให้อภัย การให้อภัยจึงไม่ควรกำหนดเป็นนโยบายรัฐเชิงบังคับจากการเจรจาโดยคนไม่กี่คน
ส่วนข้ออ้างที่ว่าความยุติธรรมเชิงชดใช้ จะนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ก็เป็นเป็นข้ออ้างที่น่าสงสัย หากกลับไปดูกฎหมายฮัมมูราบี จะพบว่าวลี “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไม่ได้มีความหมายเฉพาะว่าผู้ทำผิดต้องชดใช้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมขอบเขตการชดใช้ว่า ต้องสมเหตุสมผลกับความเสียหาย คือ ไม่ใช่ชดใช้ฟันด้วยตา หรือชดใช้ตาด้วยฟัน ความสมเหตุสมผลนี้เองที่จะเป็นกรอบป้องกันความรุนแรงที่มากขึ้น ต่างจาก “ความแค้น” ที่จะไม่มีกรอบนี้ ทำให้เกิดความรุนแรงเกินสัดส่วนจนควบคุมไม่ได้
การเจรจาระหว่างสมช. และกลุ่มบีอาร์เอนก็ควรต้องคำนึงถึงหลักการนี้ และใส่ใจในการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าฝ่ายใดกระทำอย่างไรไว้กับผู้ถูกกระทำบ้าง เพื่อให้มีการวางโทษของแต่ละคนได้สมส่วนกับสิ่งที่แต่ละคนทำไว้
เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนแล้ว นับจากวันที่เลขาธิการสมช. ลงนามข้อตกลงร่วมเจรจาแก้ไขความขัดแย้งในภาคใต้กับกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฎิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอน) โดยที่มีมาเลเซียเป็นตัวกลางคู่เจรจา ความมุ่งหมายของการเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เก่าแก่นี้ มีเพื่อปูทางให้กับการเจรจากลุ่มขบวนการขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้อื่นๆ สนใจเข้าร่วม
กระบวนการพูดคุยลักษณะนี้ สะท้อนภาพชวนฝันของ “คณะกรรมการความจริงและการปรองดอง” ที่ตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงการเหยียดสีผิวและการละเมิดสิทธิมานุษยชนในช่วงปี 1960 ถึง 1994
แม้โครงสร้างวิธีจัดตั้งของกลุ่มเจรจาทั้งสอง รวมถึงเนื้อหารูปแบบความขัดแย้งจะต่างกัน แต่สาระสำคัญของทั้งสองโครงการนี้ คิอการรับฟังปัญหาระหว่างคู่ขัดแย้ง และหาทางออกที่เป็นทางเลือกนอกจากวิธีทางกระบวนการยุตธรรมแบบดั้งเดิม
และทุกครั้งที่มีการนำกระบวนการพิเศษเหล่านี้มาใช้กับความขัดแย้ง สิ่งที่เป็นปัญหาในมุมมองปรัชญาคือคำถามที่ว่า การใช้หลักการให้อภัย ความเข้าใจกันและกัน ขัดแย้งกับหลักยุติธรรมหรือไม่ และหากขัดแย้งแล้ว วิธีใดจะดีกว่ากันในการแก้ไขความขัดแย้ง บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตอบทั้งสองคำถามนี้ในมุมมองของแนวคิดทางปรัชญา
เจรจา BRN/ ภาพจาก MThai News
การให้อภัยและความยุติธรรม ขัดแย้งกันหรือไม่?
การให้อภัยคือการกระทำที่ฝ่ายผู้ถูกกระทำ มอบให้แก่ผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำรับรู้ว่าตนได้รับผลของการกระทำอย่างไรบ้างจากผู้กระทำ แต่กระนั้นก็ยังแสดงความยินยอมที่จะละไปซึ่งสิทธิในการได้รับชดใช้ หรือยินยอมที่ผู้ถูกกระทำจะถูกละไปซึ่งภาระหน้าที่ใดๆ ที่อาจมีตามมาเนื่องมาจากการกระทำนั้น
ส่วนความยุติธรรมนั้น หากย้อนไปยังต้นกำเนิด สามารถสืบค้นได้จากประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ซึ่งใจความของมัน ถูกสรุปอยู่ในวลีที่แสนจะคุ้นเคยว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ความหมายของมันยืนยันถึงความจำเป็นที่ผู้กระทำ ต้องได้รับความทุกข์ร้อนแบบเดียวกับที่ไปก่อกับผู้อื่นไว้
การลงโทษทางกฎหมายจึงเหมือนการให้ผู้ถูกกระทำ “ชดใช้” ให้กับผู้กระทำ ซึ่งจิตวิญญาณและกลิ่นอายของพื้นฐานความคิดเช่นนี้ ยังสิงสู่วนเวียนกับทฤษฎีความยุติธรรมร่วมสมัย ที่มองว่าการให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษฑัณฑ์ติดคุกติดตาราง ก็เพื่อเป็นการ “ชดใช้” ภาระที่ก่อไว้กับสังคม
การให้อภัย ต้องการให้ผู้ถูกกระทำ ยินยอมให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากภาระที่เกิดจากการกระทำ แต่ความยุติธรรมมุ่งหมายให้ผู้ถูกกระทำ ชดใช้ให้ผู้ถูกกระทำ (ซึ่งอาจหมายถึงผู้ถูกกระทำโดยตรง หรือเป็นรัฐก็ได้) ดังนั้น การให้อภัยและความยุติธรรมไม่ได้เพียงแต่ไม่สอดคล้องกัน แต่ยังขัดแย้งตัดขวางซึ่งกันและกัน เรียกว่า ถ้าให้อภัยก็จะไม่เกิดความยุติธรรม และถ้าใช้ความยุติธรรมก็จะไม่เกิดการให้อภัยอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี มีความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมแนวใหม่ ที่มองว่าควรมุ่งเน้นที่การเยียวยาฟื้นฟูให้เหมือนเดิมตามความพึงพอใจของคู่กรณี (Restorative) มากกว่าเน้นที่การลงโทษ ชดใช้ (Retributive) ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ขอกล่าวถึงในบทความ และการกล่าวถึงความยุติธรรมในบทความนี้ จะหมายถึงความยุติธรรมในความหมายดั้งเดิมอย่างที่กล่าวไปเท่านั้น
Desmond Tutu/ photo by Dale Frost, Port of San Diego
วิธีใดที่ควรเน้น ในการแก้ไขความขัดแย้ง?
“ไม่มีอนาคต ถ้าไม่มีการให้อภัย” คือชื่อหนังสือของเดสมอนด์ ตูตู ประธานคณะกรรมการความจริงและการปรองดอง ที่เล่าถึงวิธีการและผลลัพธ์ของการก้าวข้ามปัญหาความขัดแย้งในแอฟริกาใต้ ผ่านการรับฟังเรื่องเล่าของผู้ถูกกระทำ และเปิดเผยตัวตนของผู้กระทำผ่านสื่อที่เผยแพร่ทั่วไปอย่างกว้างขวาง
แต่เป็นความจริงหรือไม่ที่หากไม่มีการให้อภัย จะไม่มีอนาคต?
การให้อภัย ถูกพูดถึงในทางศาสนาหลายศาสนาว่า เป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้กระบวนการยุติธรรม ศาสนาพุทธชี้ว่าการแก้แค้น จะนำมาสู่วงเวียนความรุนแรงที่ต่างฝ่ายต่างจะทำร้ายซึ่งกันและกันมากขึ้นอย่างไม่จบสิ้น เมตตาธรรมยังเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าที่ถูกอธิบายในทศชาติชาดก ในตอนที่พระสุวรรณสามถูกพระราชากบิลยักขราชยิงด้วยธนูระหว่างที่ไปหอบน้ำ หาอาหารให้บิดามารดาที่ตาบอด พระสุวรรณสามยังมีจิตเมตตาพูดจาดีงามกับพระราชาก่อนสิ้นใจ จนพระราชาต้องรับหน้าที่การหอบน้ำกลับมาให้ยังบิดามารดาของพระสุวรรณสาม
คำสอนทางพุทธศาสนานี้ สามารถตีความในทางปรัชญาได้ว่า หากมีการใช้ความรุนแรงที่มากขึ้นตอบกลับ บทบาทผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำก็จะกลับข้างกัน และกระบวนการชดใช้ที่รุนแรงกว่าก็จะต้องเกิดขึ้นอีก การให้อภัยจึงเป็นโอกาสเดียวที่จะทำให้ความขัดแย้งจบลง
เดสมอนต์ ตูตู ให้อีกหนึ่งความเห็นที่มองว่าการให้อภัย ดีกว่าการถือแค้นซึ่งกันและกัน เขาเห็นว่าศักดิ์ศรีของผู้ถูกกระทำ ไม่จำเป็นต้องเรียกคืนด้วยวิธีการทำร้ายผู้กระทำอย่างเดียว แต่ยังสามารถเรียกคืนผ่านการรับฟังเรื่องเล่าของผู้ถูกกระทำอย่างเข้าใจก็ได้ (จุดนี้เองที่ตูตูมองว่าการให้อภัย ไม่ขัดแย้งกับการยุติธรรม เพราะการ “ชดใช้” สามารถทำได้ด้วยการทำให้ประชาชนรู้การกระทำของผู้กระทำ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงเพิ่มเติม)
แต่กระนั้น วิธีการให้อภัยก็ยังมีสถานะที่น่ากังขาในทางปรัชญา
Lucius Annaeus Seneca/ photo from Calidius
นักปรัชญากรีกอย่างลูเซีนส แอนเนอุส เซเนก้า ระบุว่ามนุษย์ฉลาด คือคนที่ทำในเรื่องที่ต้องทำ และไม่ทำในเรื่องที่ไม่ควรทำ การงดเว้นการลงโทษให้แก่อาชญากรรมที่ควรต้องมีการลงโทษ จึงไม่ใช่วิถีทางของมนุษย์ที่ฉลาด
Immanuel Kant
ส่วนอิมมานูเอล ค้านท์ชี้ว่าการไม่ลงโทษคนทำผิดตามกฎหมายที่มีอยู่ เท่ากับการไม่บังคับใช้กฎหมาย ทั้งที่มันมีลักษณะของการบังคับ เท่ากับทำให้เกิดปัญหาว่า ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ระบบกฎหมายในประเทศจะดำรงอยู่เพื่อการใด
Jacques Derrida/ photo by Richard Melloul/ Sygma/ Corbis
สำหรับฌาคส์ แดร์ริด้าใช้วิธีการรื้อสร้าง ชี้ให้เห็นว่าคำว่า “การให้อภัย” เป็นคำที่มีความขัดแย้งในตัวมันเอง เพราะในตัวมันหมายถึงการให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถรวมถึงสิ่งที่ไม่อาจให้อภัยได้ (เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ) การใช้คำนี้ในแต่ละครั้งจึงมีทั้งความหมายในเชิงยืนยัน (ว่ามีการให้อภัย) ไปพร้อมกับความหมายเชิงปฎิเสธ (ว่าการให้อภัยนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามตรรกะ)
แต่การพิสูจน์ว่าความยุติธรรมควรถูกเน้นมากกว่าการให้อภัยที่ดีที่สุด ข้าพเจ้าเห็นว่าควรย้อนกลับไปที่ความหมายของการให้อภัยนั้นเอง เพราะในตัวมันระบุชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ผู้ถูกกระทำ มอบให้กับผู้กระทำ ดังนั้น คำกล่าวของตูตูในเรื่องที่ว่าการรับฟังเรื่องเล่าก็เพียงพอแล้วกับการชดใช้นั้น จึงชวนให้สงสัยว่าเป็นความจริงหรือไม่? ผู้ถูกกระทำทุกคนคิดเช่นนั้นจริงหรือไม่ ที่จะปล่อยให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางระบบยุติธรรม? เพราะการให้อภัยหากพิจารณาจากความหมาย จะพบว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถูกกระทำ
การเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้งในเรื่องภาคใต้ จึงควรคำนึงถึงประเด็นความเป็นส่วนตัวดังกล่าว: การให้อภัย ให้แทนกันโดยไม่มีการยินยอมไม่ได้ ครู สงฆ์ และชาวบ้านในพื้นที่ความรุนแรงบางท่านอาจไม่พร้อมให้อภัย เช่นเดียวกัน ชาวมุสลิมที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายอย่างไม่เป็นธรรม อาจไม่พร้อมให้อภัย การให้อภัยจึงไม่ควรกำหนดเป็นนโยบายรัฐเชิงบังคับจากการเจรจาโดยคนไม่กี่คน
ส่วนข้ออ้างที่ว่าความยุติธรรมเชิงชดใช้ จะนำไปสู่ความรุนแรงที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ก็เป็นเป็นข้ออ้างที่น่าสงสัย หากกลับไปดูกฎหมายฮัมมูราบี จะพบว่าวลี “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ไม่ได้มีความหมายเฉพาะว่าผู้ทำผิดต้องชดใช้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมขอบเขตการชดใช้ว่า ต้องสมเหตุสมผลกับความเสียหาย คือ ไม่ใช่ชดใช้ฟันด้วยตา หรือชดใช้ตาด้วยฟัน ความสมเหตุสมผลนี้เองที่จะเป็นกรอบป้องกันความรุนแรงที่มากขึ้น ต่างจาก “ความแค้น” ที่จะไม่มีกรอบนี้ ทำให้เกิดความรุนแรงเกินสัดส่วนจนควบคุมไม่ได้
การเจรจาระหว่างสมช. และกลุ่มบีอาร์เอนก็ควรต้องคำนึงถึงหลักการนี้ และใส่ใจในการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าฝ่ายใดกระทำอย่างไรไว้กับผู้ถูกกระทำบ้าง เพื่อให้มีการวางโทษของแต่ละคนได้สมส่วนกับสิ่งที่แต่ละคนทำไว้
ดังนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าการให้อภัยเป็นเรื่องส่วนตัว และระบบยุติธรรมมีกลไกควบคุมการชดใช้ที่เหมาะสมอยู่แล้ว ทำให้น่าเชื่อว่าในการแก้ไขความขัดแย้ง ควรต้องเน้นที่เรื่องความยุติธรรมมากกว่าการให้อภัย
ที่มา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น