--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

ธีระชัย โพสต์อีก ผลพวงกู้เงิน 2 ล้านล.ท้ายสุดต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหารายได้ใช้หนี้ !!?


alt
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึง การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท

เมื่อรวมกับดอกเบี้ย รวมเป็น 5 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลมีนโยบายเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาต่ำ เพื่อให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน และไม่ผลักดันเก็บภาษีทรัพย์สินและที่ดิน สุดท้ายเหลือช่องทางเดียว คือเพิ่ม VAT

ข้อความที่โพสต์ระบุว่า "ผมให้ข้อมูลเพิ่ม เพื่อประชาชนจะสามารถวิเคราะห์กันได้เอง

1 ระบบรางคู่อาจจะทำให้การรถไฟขาดทุนน้อยลง เพราะจะมีการขนส่งสินค้ามากขึ้น แต่ธุรกิจที่ใช้บริการจะต้นทุนต่ำลง เศรษฐกิจขยายตัวได้ จึงจะเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มได้บ้าง เก็บภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มได้บ้าง

2 รถไฟกรุงเทพจะมีคนใช้มาก จะมีกำไรพอใช้หนี้ คงไม่ต้องพึ่งรัฐบาลมากนัก

3 รถไฟความเร็วสูงขนแต่ผู้โดยสาร (ไม่เห็นประเทศใดใช้ขนสินค้า) จะเพิ่มผลผล...ิตของประเทศให้มากกว่าที่ low cost airline ทำอยู่แล้วได้หรือไม่ ในระดับเงินเดือนและค่าจ้างปัจจุบัน คาดว่าจะไม่มากนัก เพราะหากไม่มีระบบนี้ ค่าเสียโอกาสที่การเดินทางจะช้าไปบ้าง หรือที่ต้องใช้ low cost airline แทนนั้น ไม่รุนแรง ถามต่อว่าจะเพิ่มการท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้หรือไม่ คาดว่าไม่มากนัก เพราะจากต่างประเทศเขาบินตรงเข้าเชียงใหม่และอู่ตะเภากันอยู่แล้ว

4 เมื่อโครงการไม่มีกำไร ไม่มีเงินจากโครงการมาเพื่อใช้หนี้ 5 ล้านล้านโดยตรง การใช้หนี้ก็ต้องอาศัยรัฐบาลเก็บภาษีในรูปแบบต่างๆ เพื่อมาชำระหนี้ แต่รัฐบาลมีนโยบายเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดาต่ำ เพื่อให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน และไม่ผลักดันเก็บภาษีทรัพย์สินและที่ดิน จึงเหลือช่องทางเดียว คือเพิ่ม VAT

5 ผมได้ฟัง ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรมในฐานะนักวิชาการตั้งคำถามน่าคิด หากรัฐบาลเพิ่ม VAT จนสูงเท่าประเทศในยุโรป บางประเทศร้อยละ 23 บางประเทศร้อยละ 28 ประชาชนจะคิดอย่างไร จะกระทบคนจนหรือคนรวยมากกว่ากัน

6 รัฐบาลจึงควรให้สภาพัฒน์และกระทรวงการคลัง ประเมินตัวเลขไปข้างหน้าตลอดระยะเวลาชำระหนี้ และให้หน่วยงานทั้งสองชี้แจงต่อสาธารณะ ว่าโครงการลงทุนจะเพิ่มรายได้เท่าใด จะมีกำไรมาชำระหนี้หรือไม่ ประเทศจะมีรายได้จากภาษีต่างๆ เท่าใด และจะต้องเก็บภาษีใดเพิ่มขึ้นหรือไม่เพื่อมาชำระหนี้ ซึ่งทำตัวเลขได้ไม่ยากครับ แต่ตัวเลขต้องอาศัยหลักวิชาการ ต้องไม่ใช่การขายฝัน

7 ดร.พิสิฐเคยเป็นกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ เขาเปรยว่าเสียดายที่ไม่ได้กำหนดในรัฐธรรมนูญเอาไว้ ให้รัฐบาลต้องแสดงแหล่งเงินที่จะใช้ชำระหนี้สำหรับโครงการกู้เงินต่างๆ เพราะการวางนโยบายที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติเช่นนี้ ประชาชนควรได้ข้อมูลครบทุกด้าน ทั้งด้านประโยชน์ที่จะได้รับ และด้านค่าใช้จ่ายที่จะต้องร่วมกันควักกระเป๋า

8 ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่เป็นของฟรี แต่ต้องมาจากเงินของพวกเราทั้งนั้นแหละครับ
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
/////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น