--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

คนไม่มีสิทธิ์ !!?


โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์

น่าเสียดายที่ไม่มีโอกาสได้กากบาทเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากย้ายสำมะโนครัวออกจากชาวเมืองหลวงไปเป็นคนชานเมืองที่มีรั้วชิดติดกันแต่ไม่มีสิทธิ์ ได้แต่เฝ้าติดตามการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครที่ขยันขันแข่ง เข้าใจงัดกลเม็ดแพรวพราวเรียกเรตติ้งกันน่าดู แม้บางครั้งจะกลายเป็นตัวตลกก็ไม่สน ขอให้เป็นข่าวก็พอเพื่อขอคะแนนจากจำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด 4,333,157 คน (ชาย 1,997,113 คน หญิง 2,336,044 คน)

มาดูวิธีหาเสียงที่เหนือธรรมชาติของแต่ละคนกัน ไม่ว่าจะเป็นคุณชาย (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.เบอร์ 16) และอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ (พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เบอร์ 9) ที่เดินดินกินข้าวแกง กลายเป็นภาพสงวนที่จะได้ชมเฉพาะช่วงหาเสียงเท่านั้น ส่วนกิริยามารยาทนี่ไม่ต้องพูดถึง ไหว้ทุกที่ทุกคนตั้งแต่ปากซอยยันท้ายซอย แม้แต่เสาไฟฟ้าก็ยังไหว้ได้ เป็นเรื่องธรรมดาสามัญของผู้สมัครไปเสียแล้ว

ลองมาดูสโลแกนหาเสียงของแต่ละคนก็ไม่ธรรมดา พล.ต.อ.พงศพัศ อดีตโฆษก สนง.ตำรวจแห่งชาติ ชูการทำงาน "อย่างไร้รอยต่อ" มีแฟนคลับช่วยโปรโมตต่อว่า คนไทยได้หลับเต็มตื่นนอนหลับสบายอย่างแน่นอน ส่วนคุณชายคลอดสโลแกนรักโลก "รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ" เรียกคะแนนเสียงจากคนกรุงฐานเสียงเดิมแบบเข้าใจกัน ไม่ต้องพูดอะไรมาก

แต่คนที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส มองเห็นช่องทางโปรโมตตัวเองจากกรณี 2 แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ รีบช่วงชิงนำเสนอตัวเองเป็นผู้สมัครอิสระ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เบอร์ 11

ผู้สมัครแห่งความปรองดอง บอกว่า "เลือกประชาธิปัตย์ก็ทะเลาะกับเพื่อไทย ถ้าเลือกเพื่อไทยท่านตรวจสอบได้หรือไม่...แต่ผมตรวจสอบได้"

ครั้นกลับมาดูโพลสำรวจความเห็นของคนกรุงแล้ว สิ่งที่ชาวบ้านอยากเห็นผู้ว่าฯแก้คือ ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง และปัญหารถติด และยังชื่นชอบผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง มากกว่าผู้สมัครอิสระ

ส่วนบรรยากาศที่สร้างสีสันให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คึกคักเป็นพิเศษในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กที่สร้างหน้าเพจเชียร์และแช่งกันอย่างสนุกสนาน รักใครชอบใครก็กด Like แต่จะเลือกหรือไม่นั้นอีก

เรื่องหนึ่ง และคอยลุ้นคอยเชียร์ว่าใครจะชนะ

ไม่เหมือนกับ "กรณ์ จาติกวณิช" เอาตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ภาค กทม.เป็นเดิมพันหาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แพ้การเลือกตั้งในครั้งนี้ ดังนั้นคุณชายจึงแพ้ไม่ได้

เช่นเดียวกับกองเชียร์แต่ละฝ่ายต่างพากันออกมาตีฆ้องร้องป่าวราวกับจะไปออกรบ แสดงวิสัยทัศน์เฉียบคมแบบเชือดเฉือนสติปัญญาผู้อื่นประหนึ่งว่าคิดได้อยู่คนเดียว ใครที่คิดต่างจากนี้ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ

โดยลืมไปว่า กรุงเทพมหานครเมืองฟ้าอมรที่ฉาบไว้อย่างสวยหรูนั้นเป็นเพียงฉากหน้าบังความสกปรกโสมมที่หมักหมมกันมายาวนาน ควรถึงเวลาทำความสะอาดครั้งใหญ่ได้แล้ว

แต่ด้วยระยะเวลาการทำงาน 4 ปีของผู้ว่าฯ กทม. แทบมองไม่เห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ว่าใครจะลุยเข้าใส่ปัญหากล้าแก้แบบไม่หวงและห่วงคะแนนนิยม กล้าขยับเขยื้อนยอมเจ็บตัวบ้าง เพราะการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเกิดแรงเสียดทานเป็นเรื่องปกติ

ดูเหมือนทุกพรรคและทุกคนจะพยายามประคองคะแนนนิยมของตนเองไม่ให้หกกระเด็นออกจากแก้ว แล้วแบบนี้ความหวังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ กทม.คงต้องฝันกันต่อไป

เพราะในสนามเลือกตั้งตอนนี้มีแต่ พระเอก นักบุญ มารยาทงาม ที่เดินขายฝันให้คนกรุงเทพฯ กราบกรานขอคะแนนเพื่อเข้าไปนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร

สุดท้ายก็ความจำสั้น จำไม่ได้ว่าสัญญาอะไรไว้บ้าง

ส่วนหน้าตาผู้ว่าฯ กทม.จะเป็นอย่างไรนั้น ขอฝากความหวังไว้ที่ชาวกรุงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 4 ล้านคน ช่วยกากบาทเลือกผู้แทนเผื่อคนที่อพยพเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองหลวง แต่ไม่มีสำมะโนครัวจำนวนมากกว่าคนมีสิทธิ์เลือกตั้งถึง 2 เท่าด้วยละกัน

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

สงครามจากข้างนอก..ศึกจากข้างใน !!?


โดย:วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

ศึกที่น่ากลัวมากสุด...คือศึกจากภายใน ซึ่งนั้นหมายถึงทั้งในประเทศและจิตใจ เพราะหากเราสามารถเอาชนะความรู้สึกในใจตัวเองได้

ย่อมเป็นชัยชนะที่สูงสุด เช่นกันหากเราสามารถแก้ปมความขัดแย้งในประเทศได้ ประเทศจะสดใสมากกว่านี้"

ขณะที่ศึกในประเทศย่อมหนีไม่พ้นความขัดแย้งคนในชาติ...นอกจากยังไม่เห็นทิศทางสดใสแล้ว ตรงกันข้ามมีทิศทางรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เพราะสังคมไทย ตอนนี้เหมือนคนที่ยืนอยู่ปากเหว ผลักเพียงเบาๆ ก็หายนะแล้ว!

ยิ่งได้ยินข่าว(ลือ) แต่ละฝ่ายหันไป "ฝึกอาวุธ" เตรียมพร้อมสำหรับการปะทะศึกใหญ่ในอนาคตแล้ว... "น่าวิตกยิ่ง" !!!

เพราะหากในประเทศไทยยังจัดระเบียบไม่ลงตัวแล้ว เมื่อเผชิญกับศึกจากข้างนอกแล้ว ประเทศจะยิ่งอ่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นปมทางเศรษฐกิจ ที่โอกาสโดยถล่มจาก "สงครามค่าเงิน" ....ความอ่อนไหวจากคดีเขาพระวิหาร ตั้งแต่เม.ย.2556 ซึ่งยังไม่มีใครประเมินได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จากการตัดสินของศาลโลก

เริ่มจากปัจจัยศึกภายใน...
หากจะประเมินกันแล้ว บารมีของนายกรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "..เด่นชัดขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะที่ปีที่แล้ว เริ่มจากฐานความคาดหวังที่ต่ำมาก จากภาพลักษณ์ "หุ่นเชิด"

1 ปีที่ผ่านมาประชาชนยอมรับมากขึ้น ยิ่งมีกระแสข่าวออกอาการ"ดื้อ"กับพี่ชายบ้าง ยิ่งได้คะแนนนิยม และหากการปรับคณะรัฐมนตรี ที่กำลังเกิดขึ้นนั้น กิตติรัตน์ ณ ระนอง ยังอยู่ในตำแหน่ง ก็จะเป็นการการันตีบทบาทของตัวเองให้เด่นชัดมากขึ้น แม้ว่าโดยภาพรวม"คนไกลบ้าน"ยังเป็นผู้กุมชะตากรรมของรัฐบาลก็ตาม

ปมการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการร่างกฎหมายนิรโทษกรรม คือ "เชื้อไฟ" ก้อนใหญ่ ที่จะสุมให้ความขัดแย้ง บานปลายและลงลึกมากขึ้น บนสภาวการณ์ที่ความไว้วางใจของคนในชาติตกต่ำอยู่ก่อนแล้ว

ถามว่า..รัฐธรรมนูญปัจจุบันหรือ การไม่มีร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศ หรือขัดขวางแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาทหรือไม่..?

เปล่าเลย ขณะเดียวกันกำลังไปได้สวย...

คนที่บริหารประเทศอยู่ไย ต้องดิ้นรนสร้างแรงกดดัน ข้อจำกัดให้กับ "ตัวเอง" ...เพียงแต่นายกรัฐมนตรี จะทนทานต่อแรงกดดันจาก "บางคน" และการทวงการบ้านจากกลุ่มคนเสื้อแดง ได้มากน้อยแค่ไหน

เพราะทราบดีว่า..หยิบทั้งสองเรื่องขึ้นมาเมื่อไหร่นั้น ...เสี่ยงจะวุ่นวายและกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลได้ง่าย
หาก "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ไม่เชื่อก็ลองหยิบขึ้นมาพิจารณาดูเองแล้วกัน

เมื่อดูปมศึกภายในประเทศ ที่คาดจะ "วุ่น" ช่วงกลางปีนี้นั้น ก็น่าจะสอดรับกับคดีเขาพระวิหาร ที่ศาลโลก จะพิจารณาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งหากให้อ่านใจรัฐบาล ดูเหมือนว่า "จะถอดใจ" ...หาทางลงรับความพ่ายแพ้ตั้งแต่ยังวไม่ได้สู้ด้วยซ้ำ

เรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นชาติ "อ่อนไหวยิ่ง" !!!

ที่สำคัญหาก ประเทศไทยต้องเผชิญศึกจากสงครามค่าเงินบาท เข้ามาผสมโรงด้วย "ยิ่งน่าสะพรึงกลัว" เพราะโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็ไม่น้อยไปเหมือนกัน เนื่องจากเมื่อหันมาดูมาตรการของธนาคารกลางหลายประเทศ เริ่มจากธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศแล้ว "ทำเหมือนกันหมด" ...ปั๊มเงิน

เพียงแต่เม็ดเงินที่อัดฉีดออกมานั้นล้วนทะลักมายัง "เอเชีย" ...ซึ่งนั้นหมายความว่า "ไทย" เป็นเป้าหมายอันดับแรกๆ ของ "นักเก็งกำไร"

บทเรียนสยอง!! เมื่อปี 2540 ไม่มีใครอยากให้เกิด..แต่ก็อย่าประมาท และการป้องกันที่ดีที่สุด คือสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง อย่าทำให้ข้างในอ่อนแอ

นี้คือประเทศไทย..หลังจากวันนี้!!!

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ลอกคราบ !!?


ลอกคราบ. ทับรอยเดิม
เหมือน “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังใหญ่มะล่ะเทิ้ม
วางเดิมพัน ถ้าแพ้เลือกตั้งแก่ “ปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไขก๊อก ลาออกพ้นเก้าอี้
เมื่อแพ้หมดสภาพ.. ยัง“กลืนน้ำลาย” กลับมาเป็น “หัวหน้าพรรค” ไม่อับไม่อายเสียนี่
เหมือนกับ “ดอน” กรณ์ จาติกวณิช เกรงว่าหัวใจจะไม่ช่วยหาเสียงให้กับ “คุณชายหมู” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จริง..จึงลั่นวาจาเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯ”แล้วแพ้ ขอลาออกจากหัวหน้าพรรคเลยนะ
ถ้าแพ้แล้วนะครับ...อย่าได้หันหลังกลับ..มารับตำแหน่งอีกเชียวฮะ

--------------------------------------

หัวหมอ ต่อข้อกฎหมาย
ฉะนั้น, “ธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดีกรมดีเอสไอ ต้องทำกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ เข้าไว้
อย่าให้ “นักการเมือง” อาศัย “ข้อกฎหมาย” มาเตะถ่วง ดำเนินคดี
อาศัยความเป็น “หมอความ” เล่นเชิง เพื่อกลบเกลื่อน.. ต้องเล่นงาน ให้จั๋งหนับกว่านี้
นักการเมืองไม่มีอภิสิทธิ์ เมื่อทำผิด “ดีเอสไอ” ต้องเร่งส่งฟ้อง กันเสร็จสรรพ
ร้องว่าดีเอสไอกลั่นแกล้ง..หวังใช้กฎหมายพลิกแพลง..ต้องแจ้งความเพิ่มขอรับ

---------------------------------------

อย่าประมาท
นักการเมือง ที่ไม่ได้เข่นฆ่าประชาชน ล้วนเป็น “สมบัติของชาติ”
ว่ากันว่า ในวันที่ “ชาละวันพิจิตร” พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ จะหลับเป็นเจ้าชายนิทราไม่รู้ตัว
ในคืนที่ป่วย ตอนตี ๓ ท่านลุกขึ้นมา “กินยาหอม” เหมือนทุกครั้ง ที่ปวดหัว
ถึง “พี่น้อย” ฉวีวรรณ ขจรประศาสน์ คู่ขวัญคู่ชีวิต ร้องขอให้ไปโรงพยาบาล ท่านก็ไม่ไป
กราบเรียนนักการเมืองวัยชรา...เจ็บป่วยเป็นไข้ขึ้นมา..หาหมอดีกว่า ก่อนทุกอย่างจะสาย

---------------------------------------

น้ำลดตอผุด
หลักฐาน สร้างโรงพักทั่วประเทศ ๕๐๐ กว่าแห่ง มีรายการเปิบพิสดารกันสุด..สุด
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี ร้องเป็น แผ่นเสียงตกร่อง
“รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืมมือ “ดีเอสไอ” เล่นงาน “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้หงายท้อง
เงินเกือบ ๖ พันล้าน..เหมาเข่ง เทกระจาด ให้ “ผู้รับเหมา” เจ้าเดียว รวบยอดไปทำคนเดียว..เสร็จแล้ว “หอบเงินหนี” โดยทิ้งงาน
เงิน ๖ พันล้านอักโข...โกงกันคำโต...ยังมาโอ่ว่าถูกแกล้ง มันไม่ไหวเหมือนกัน

---------------------------------------

ตายเพราะ โพลล์
สำรวจความคิดเห็นทีไร, “พรรคเพื่อไทย” ชนะในสนามเลือกตั้ง “กทม.”ทุกหน
ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ ๓ กค. “โพลล์” ทุกสำนัก ว่าทิ้งขาด
แต่ผลเลือกตั้งออกมา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นำทีมชนะในนาม พรรคประชาธิปัตย์
จริงอยู่ “จูดี้” พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้แรงศรัทธาจากมหาชน..แต่อาจพลิกล็อคให้กับ “คุณชายหมู” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อย่างไม่เห็นฝุ่น
อย่าไปปักใจเชื่อคำเขา...ระวัง “หนังม้วนเก่า”..เค้าจะได้เป็นผู้ว่าฯ อีกนะคุณ

ที่มา.คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย ,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รถเมล์ฟรี เรือฟรี..ของฟรีไม่มีในโลก !!?


สนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. มีการหาเสียงด้วยนโยบายลด-แลก-แจก-แถมเข้าขั้น “น่าเกลียด”

ถ้าปล่อยให้เล่นการเมืองกันแบบนี้อีกไม่เกิน 10 ปี ประเทศชาติฉิบหายแน่นอน

เพราะมีเลือกตั้งทีไร นักการเมืองสามานย์ก็จะงัดนโยบายพรรค์อย่างนี้ออกมาหวังซื้อเสียงชาวบ้าน

ใครๆ ก็ชอบของฟรี

แต่ของฟรี ไม่มีในโลก

ยกตัวอย่าง นโยบายหาเสียงประเจิดประเจ้อที่สุด แจกแบบไม่คิดอะไรมากที่สุด คือ การสัญญาว่าจะให้ประชาชนได้ใช้รถเมล์ฟรี เรือคลองแสนแสบฟรี เรือข้ามฟากฟรี

1) พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. สังกัดพรรคเพื่อไทย หาเสียงว่า หากได้เป็นผู้ว่าฯ จะจัดให้มีรถเมล์ฟรีทุกคันสำหรับรถร้อน เรือคลองแสนแสบฟรี ส่วนรถเมล์ติดแอร์จะให้คิดค่าโดยสาร 10 บาทตลอดสาย

รายละเอียด ความเป็นไปได้ ที่มาของเงินทุน ตลอดจนวิธีดำเนินการไม่มีการเปิดเผย

ล่าสุด ถูกซักถามมากเข้าว่าจะเอาเงินจากไหนมาทำ ก็อ้างเพียงว่าจะใช้งบ 9,000 ล้านบาทต่อปี

2) ข้อเท็จจริงของงบประมาณ กทม.เวลานี้

ไม่แน่ใจว่าผู้สมัครบางคนเคยทราบ เคยศึกษาก่อนที่จะเสนอนโยบายหาเสียงหรือไม่?

รู้ แต่แกล้งไม่รู้?

โง่ แล้วตีหน้าซื่อ หาเสียงสร้างภาพ ลวงหลอกชาวบ้านไปวันๆ?

ปีงบประมาณ 2556 กทม.ประมาณการรายได้ไว้ทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาท

จำแนกเป็นรายได้ที่ กทม.จัดเก็บเอง 13,200 ล้านบาท เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ 130 ล้านบาท, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 9,850 ล้านบาท, ภาษีป้าย 710 ล้านบาท, รายได้จากโรงรับจำนำในสังกัด กทม. 580 ล้านบาท, รายได้จากตลาด กทม. 170 ล้านบาท ฯลฯ

รายได้ที่ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ 46,800 ล้านบาท เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 22,500 ล้านบาท, ภาษี/ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 8,100 ล้านบาท, ภาษี/ค่าธรรมเนียมรถยนต์ 11,000 ล้านบาท, ภาษีสรรพสามิต 1,900 ล้านบาท ฯลฯ

ขณะเดียวกัน รายจ่ายของ กทม. ในปีงบประมาณ 2556ปรากฏว่า เป็นรายจ่ายประจำ 51,685 ล้านบาท

รายจ่ายประจำ คือ รายจ่ายจำพวกเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าครุภัณฑ์ ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับโครงการพิเศษ หรือโครงการใหม่ๆ อื่นใด

แต่ละปี กทม.มีงบประมาณเหลือไปจ่ายในโครงการใหม่ๆ หรือโครงการลงทุน จำกัดจำเขี่ยมาก ไม่ถึง 10,000ล้านบาท (ถ้าจะทำโครงการ จะต้องใช้วิธีตั้งงบประมาณชดเชยในปีต่อๆ ไป)

3) ถ้าผู้บริหาร กทม. จะใช้งบ กทม.จ่ายค่ารถเมล์ฟรี ค่าเรือฟรี ฯลฯ ตามที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หาเสียงไว้ โดยอ้างว่าใช้งบปีละ 9,000 ล้านบาทจริงๆ

ย้ำ... ปีละ 9,000 ล้านบาท!

พึงสำเหนียกว่า ปีนั้นๆ จะไม่เหลืองบประมาณไปใช้จ่ายในโครงการอื่นๆ ได้อีกแล้ว

4) รถเมล์ฟรีภาษีประชาชนที่มีบริการอยู่ 800 คันทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่ของฟรี

เป็นการเอาเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาจ่ายชดเชยให้ ขสมก.

ไม่ได้ใช้งบประมาณของ กทม.

เป็นอำนาจของรัฐบาล ดำเนินการผ่าน ขสมก. ซึ่งอยู่ใต้กำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม

ใช้เงินมาแล้วหลายพันล้านบาท

ส่วนเรือฟรี ถ้า กทม.จะทำ ก็จะต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปจ่ายให้เอกชนที่เขาเดินเรืออยู่

แบบนี้ บริษัทเดินเรือเอกชน เขาชอบแน่นอน เพราะจะได้รายได้แน่นอน

ถ้าอ้างว่า จะไปขอเงินจากรัฐบาล แบบนี้ก็เข้าข่ายหาเสียงเกินอำนาจ คุยโวเกินขอบเขตหน้าที่ เอารัดเอาเปรียบผู้สมัครคนอื่น แถมกระทรวงคมนาคมก็ออกมาบอกแล้วว่าไม่มีนโยบายอุดหนุนให้รถเมล์ฟรีทุกคัน

หากรัฐบาลจริงใจที่จะทำ ก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ เพราะสามารถทำได้เลย แต่ถ้ารัฐบาลใช้เรื่องนี้เป็นเงื่อนไขว่าจะต้องเลือกคนของพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ว่าฯ กทม.จึงจะจัดสรรงบประมาณดำเนินการให้ แบบนี้ก็จะเป็นเสมือนการข่มขู่ เรียกค่าไถ่ ตีเมืองขึ้นเอากับคน กทม.

5) วิธีหาเสียงแบบโม้ไว้ก่อนเช่นนี้ ทำให้นึกถึงนโยบาย “ดีแต่โม้” หลายๆ เรื่องของพรรคเพื่อไทย

บัดนี้ ก็ไม่สามารถทำได้จริง

ไม่ว่าจะเป็น กระชากค่าครองชีพลงมา ยุบเลิกกองทุนน้ำมัน ไม่กู้หนี้ยืมสิน ฯลฯ

หรือนโยบายคล้ายๆ กัน คือ หาเสียงไว้ก่อนเลือกตั้งว่า จะให้ใช้รถไฟฟ้าราคา 20 บาทตลอดสาย

จนบัดนี้ ก็ยังไม่มีวี่แวว

ข่าวคราวสุดท้ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ออกมาจากปาก พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ขณะนั้น) ยอมรับกับสื่อมวลชนว่า นโยบายหาเสียงเรื่องรถไฟฟ้า 10 สาย ค่าโดยสาร 20 บาท อาจจะต้องเป็นหมัน โดยอ้างว่าบริษัทเอกชนที่ประกอบการรถไฟฟ้าอยู่เดิมอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบาย!

ครั้งนี้ ก็จะเล่นอีหรอบเดิมอีกหรือ?

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งออก กระอักบาทแข็ง-เศรษฐกิจโลกทรุด.. !!?


เป็นประเด็นเศรษฐกิจที่ค่อนข้างร้อนแรงและได้รับการพูดถึงมากที่สุดอยู่ในขณะนี้ นั่นคือเรื่อง “เงินบาทแข็งค่า” ที่สาเหตุหลักๆ ของกรณีนี้ เกิดจากประเทศเศรษฐกิจมหาอำนาจ อย่างสหรัฐและญี่ปุ่น อัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบผ่านมาตรการทางการเงินต่างๆ จนเป็นผลทำให้เกิดกรณีสภาพคล่องล้นจนไหลทะลักเข้าสู่ประเทศหรือภูมิภาคในโลกที่เศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง ซึ่งนั่นเองก็รวมไปถึง “ไทย” ด้วย  
   
สำหรับเรื่องนี้ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เคยออกมาระบุว่า การแข็งค่าของเงินบาทนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ในส่วนของไทยเอง อยากจะมองว่ามีข้อดีอยู่พอสมควร โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักร เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ในประเทศไทยเองยังไม่มี ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย ขณะที่ภาครัฐเองก็พร้อมที่จะเร่งนำเข้าเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อรองรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามแผนที่รัฐบาลวางไว้
   
แต่ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ก็คือ “ผู้ประกอบการในกลุ่มส่งออก” ที่อาจได้รับผลกระทบในเรื่องนี้อยู่บ้าง โดยเรื่องนี้ “กิตติรัตน์” ยืนยันว่า ภายในสัปดาห์นี้จะมีการหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาท
   
ขณะที่การดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทนั้น เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีมาตรการรับมือในกรณีที่มีความจำเป็น โดยเชื่อว่าจะไม่ใช่วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยหรือแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยวิธีการซื้อขายเงินตราสวนทิศทางกับประเทศอื่นอย่างแน่นอน เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและไม่มีประโยชน์
   
ผมยืนยันว่าไม่ชอบให้เงินบาทแข็งค่า พูดมาตั้งแต่ตอนค่าบาทอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์แล้ว และยังคงยืนยันอีกว่า รัฐบาลจะไม่เป็นกลไกที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งอย่างแน่นอน ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าการกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอาจจะไปกดดันค่าเงินบาทนั้น ยืนยันอีกว่าจะเป็นการกู้ในประเทศ เป็นการกู้เงินบาท ไม่น่าจะมีผลกระทบอย่างแน่นอน”  กิตติรัตน์กล่าว
   
ขณะที่ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าฯ ธปท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยตรง ได้ระบุว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวกับ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ไม่ได้มีการสั่งการอะไรมาเป็นพิเศษ โดยตนเพียงแค่เข้าไปรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเท่านั้น
   
พร้อมทั้งยืนยันว่าการไหลเข้าไทยของเงินทุนต่างชาติในช่วงนี้นั้น ไม่ได้เป็นการไหลเข้าในลักษณะโจมตีค่าเงินบาท แต่เป็นเพียงการเข้ามาซื้อเพราะเห็นว่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมามีระดับการแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเท่านั้น รวมถึงพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทยที่อยู่ในทิศทางที่ดี จึงยังไม่น่าวิตกกังวลมากนัก
   
ความจริง ธปท.มีการใช้เครื่องมือในการดูแลค่าเงินบาทบางอย่างอยู่แล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ส่วนกรณีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบนั้น ตนอยากให้มองในมุมกว้างมากขึ้น และเรื่องนี้คงต้องรอแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจนจากรัฐบาลด้วย โดยในช่วงเร็วๆ นี้ ธปท.จะมีการหารือร่วมกันกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย” ประสารกล่าว
   
นอกจากนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้มีการเปิดเผยการสำรวจผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคธุรกิจ โดยได้ทำการสอบถามผู้ประกอบการทั่วประเทศประมาณ 400 ตัวอย่าง พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อธุรกิจมาก โดยระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของผู้ประกอบการนั้น เห็นว่าควรจะอยู่ที่ 30.2 บาทต่อดอลลาร์ และอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรณีเงินบาทแข็งค่าที่สุดและสามารถยอมรับได้ นั่นคือ 29.40 บาทต่อดอลลาร์ และจะสามารถรับแรงกดดันได้ประมาณ 45 วัน พร้อมถึงเสนอแนะว่า  ธปท.ควรดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วจนเกินไป และควรมีมาตรการรักษาระดับค่าเงินให้ปรับไปในทิศทางใกล้เคียงกับคู่แข่งหรือประเทศในภูมิภาค
   
ต้องยอมรับจริงๆ ว่าเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่ต้องหันมาให้ความสนใจมากขึ้นในทันที เพราะทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทรุนแรงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์อย่างมาก ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุดกับกรณีนี้คือ “กลุ่มส่งออก” ที่ก่อนหน้านี้เริ่มมีวี่แววการฟื้นตัวที่ดีขึ้น หลังจากได้รับผลกระทบจากความสามารถในการบริโภคที่ลดลงของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น กลับต้องมาเจอมรสุมอีกระลอก กับการแข็งค่าของเงินบาท
   
และต้องยอมรับอีกว่ารัฐบาลได้ให้ความสนใจกับการให้ความช่วยเหลือ และการแก้ปัญหานี้ค่อนข้างดี เพราะมีการประสารข้อมูล หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่จะได้รับผลกระทบ ถือว่าดีกว่าช่วงวิกฤติเศรษฐกิจประเทศมหาอำนาจถดถอยมาก ที่การทำงานค่อนข้างล่าช้า จนเป็นผลให้กลุ่มผู้ส่งออกในหลายๆ ส่วนได้รับผลกระทบอย่างหนักไปตามๆ กัน
   
นั่นเพราะเรื่อง “ค่าเงิน” ที่มีความเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติ  ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทย ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการค้าขาย  แต่ในภาพรวมของปัญหาที่มีแรงกดดันต่อการค้าขายของผู้ประกอบการไทยนั้น ก็ยังคงลืมความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศมหาอำนาจไม่ได้ เพราะหลายฝ่าย ซึ่งรวมไปถึง “ธนาคารโลก” ก็ยังคงให้น้ำหนักกับปัญหานี้อยู่ว่าจะยังมีแรงกดดันกับภาคส่งออกของไทยอยู่มาก และอาจจะมากกว่าการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้ด้วย โดยหลังจากนี้  “หวัง” ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้มากขึ้น  แม้ว่าปัญหาค่าเงินอาจจะส่งผลกระทบแค่ระยะสั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า “การบาดเจ็บ” ในช่วงสั้นจะไม่ สาหัส..

ที่มา.ไทยโพสต์
++++++++++++++++++++++++++++++

สสวท.เร่งพัฒนาระบบการศึกษาแบบสะเต็มปูทางอนาคตสู่ผู้นำภูมิภาคด้านสังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี..


สสวท. ขยายความร่วมมือจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโลยี ภายใต้แนวคิดการศึกษาแนวใหม่ของระบบ สะเต็ม (STEM: Science, Technology, Engineering and Mathematics) เน้นการปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy)

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวในงานพิธีเปิด การประชุมโต๊ะกลมเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโลยี (STEM) ภายใต้กลุ่มภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย ว่า สสวท. เน้นถึงความสำคัญของการศึกษาในระบบ สะเต็ม ที่จะให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยเน้นให้นักเรียนสามารถใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาต่อยอดทางความคิด เพื่อสามารถที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆในอนาคตได้

ดร. พรพรรณ กล่าวต่อไปอีกว่า ในอดีตการศึกษาของไทยเน้นการเรียนภาคทฤษฎีของวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโลยี และเรียนแบบแยกส่วน แต่ไม่เน้นด้านการปฏิบัติ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การศึกษาแนว สะเต็ม จะเน้นด้านการบูรณาการองค์ความรู้ทั้งหมด เพื่อให้วิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ หรือแนวทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อใช้แก้ปัญหา หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งการเกษตร และการอุตสาหกรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

“ระบบการศึกษาแบบ STEM จะเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก ไปจนถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยจะต้องจัดหลักสูตรที่มีความหลากหลาย และตอบสนองความต้องการของคนในแต่ละท้องถิ่น เพราะเราต้องการจะให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้”

การเพิ่มขีดความสามารถในการสอนของครู ก็เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ สสวท. จะต้องดำเนินการ เพราะครูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะถ่ายทอดความรู้ และกระตุ้นให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ได้ โดยทาง สสวท. จะต้องทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กระทรวงมหาดไทย) กระทรวงไอซีที มหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชน ภาคสังคม และชุมชน ที่จะต้องเข้ามาร่วมมือ เพื่อให้การเรียนการสอนแนวใหม่สัมฤทธิ์ผล โดยการจัดให้มีการอบรมพิเศษกับคุณครู เพื่อสร้างความเข้าใจ และสามารถออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนได้

นอกจากนี้ระบบดังกล่าว ยังสามารถที่จะสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผ่านระบบเครือข่าย 3จีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาระหว่างโรงเรียนที่อยู่ในเขตเมือง และโรงเรียนห่างไกลในชนบท ส่วนทางด้านภาคเอกชนนั้นสามารถให้ความร่วมมือ โดยบอกโจทย์ หรือความต้องการในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้นักศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อเสนอแนะที่สามารถตอบโจทก์อุตสาหกรรมนั้นๆได้

ในขณะที่ ดร.เปกกา เคส จากมหาวิทยาลัยโอลู ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการศึกษา กล่าวว่าการศึกษาในระบบสะเต็ม ทำให้ระบบการเรียนการสอนในประเทศฟินแลนด์ ถือว่าดีที่สุดในโลก รัฐบาลให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา เพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยบุคคลที่มาประกอบอาชีพครูในทุกระดับชั้น ต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาโท นอกจากนี้โรงเรียนทุกโรงเรียนมีมาตรฐานที่เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมือง หรือนอกเมือง และการแข่งขันสอบเข้าแข่งขันมหาวิทยาลัยก็ไม่สูง เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพเท่าเทียมกัน

“พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ เราสอนให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก สร้างจิตสำนึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว เราไม่รู้ว่าเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เราสร้างพื้นฐานให้เด็กของเรามีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากมันในอนาคต”

ในขณะที่ ชอง ชุง จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเพื่อการสร้างสรรค์ กล่าวว่าประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับระบบ สะเต็ม โดยเริ่มมีการนำระบบนี้มาใช้เมื่อสามปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้บ่อยขึ้น เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ชอง ชุง กล่าวต่อไปอีกว่าหลักสูตรการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักกับเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีที่แล้ว แต่จะให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้จริงในชีวิตประจำวัน และการคิดค้นวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์เพื่ออนาคต

สสวท. เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมการประชุมโต๊ะกลมเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโลยี (STEM) ภายใต้กลุ่มภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย ที่ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา โดยมีตัวแทนกว่า 14 ประเทศเข้าร่วม เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ การเรียนการสอนในระบบ สะเต็ม และส่งเสริมการวางเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาศักยภาพระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มา.สยามธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

พงศ์เทพ ปัดปรับใหญ่โครงสร้าง ศธ.


"พงศ์เทพ"ปัดปรับใหญ่โครงสร้าง ศธ. / จี้ครูมีจิตสำนึกแก้ปัญหายาเสพติด
ตามที่ นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ มีความเห็นถึงการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ถึงเวลาทบทวนการปรับโครงสร้าง ศธ.ใหม่ทั้งหมด เพราะถ้ายังใช้โครงสร้างปัจจุบันต่อไป การศึกษาชาติก็จะยิ่งอ่อนแอ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่หลังจากมารวมกับ ศธ.แล้ว การอุดมศึกษาไทยมีความอ่อนแอลง และหากต้องการให้เกิดความเข้มแข็งทั้งการอุดมศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ควรแยกอุดมศึกษาออกมาเป็นอีกกระทรวงหนึ่งต่างหาก ซึ่งอาจจะทำได้หลายรูปแบบ เช่น แยก สกอ.ออกมาเป็นกระทรวง นำงานอุดมศึกษาไปรวมกับงานวิจัยเป็นกระทรวง เพราะกว่า 80% ของผู้ที่ทำงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะนำอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และงานวิจัยมารวมกันเป็นกระทรวงได้
   
และยังเห็นว่าการนำการศึกษาพิเศษ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปไว้ในสำนักงานปลัด ศธ.ก็ไม่เหมาะเช่นกัน เพราะเป้าหมายการจัดการศึกษาให้คนกลุ่มพิเศษ ก็เพื่อให้มีความรู้เหมือนผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตามหลักวิชาการไม่ควรที่จะแยกเด็กพิเศษออกจากเด็กปกติ ควรต้องให้สามารถเรียนร่วมและดำรงชีวิตปกติอยู่ร่วมกัน ส่วนการยกฐานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ขึ้นเป็นองค์กรหลักที่ 6 ใน ศธ.นั้น ที่จริงแล้วเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตคือหลักการที่สอดแทรกอยู่ในทุกองค์กรหลักอยู่แล้วก็รู้สึกแปลกใจที่แยกการศึกษาตลอดชีวิตออกมาเป็นอีกแท่งหนึ่งนั้น
     
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตอนนี้บอกได้เลยว่าเรื่องการปรับโครงสร้างใหญ่ๆ จะไม่พิจารณาในปีนี้ เพราะไม่อยากให้เรื่องการปรับโครงสร้างไปกระทบกับเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หากไปเน้นเรื่องโครงสร้างก็จะมาสาระวนกันใหญ่ แทนที่จะไปพัฒนานักเรียน นักศึกษาที่ได้รับประโยชน์จริงๆ ดังนั้นจึงไม่อยากดึงความสนใจกับเรื่องการปรับโครงสร้าง ศธ.
   
วันเดียวกันที่โรงเรียนสตรีวิทยา นายพงศ์เทพ เป็นประธานเปิดโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข และกล่าวตอนหนึ่งว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญ เรื่องปัญหายาเสพติดมาตลอด โดยได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัญหายาเสพติดมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชน และเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหามากมาย และหากเมื่อใดเราไม่เอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็จะทำให้ยาเสพติดกลับเข้ามาสู่สังคมไทยมากขึ้น เพราะจากการสำรวจพบว่า ยาเสพติดได้เข้ามาระบาดตามชุมชน โรงงาน รวมถึงสถานศึกษามากขึ้น ซึ่งทุกภาคส่วนต้องกลับมาร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
   
สำหรับ ศธ.เองได้ดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังมีตัวเลขการระบาดของยาเสพติดในหมู่นักเรียน นักศึกษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสถานศึกษาจะต้องกลับไปทบทวน พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้เป็นแนวปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรมากขึ้นกว่าเดิม โดยจะต้องให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ถึงโทษ และรู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติด รวมถึงใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องนำนโยบายการป้องกัน และการแก้ไขปัญหายาเสพติดไปปฏิบัติ และต้องจัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม อยากให้ครู อาจารย์มีจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหา เข้าถึงจิตใจในตัวลูกศิษย์ของตนเอง เชื่อว่าจะสามารถรับรู้ปัญหาลูกศิษย์แต่ละคนได้"

ที่มา.สยามรัฐ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ADMM : การทูตทหารอาเซียน กลไกสูงสุดด้านความมั่นคง

Photo from ADMM Vietnam 2010
ที่มาของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM)

เราได้ฉายภาพให้เห็นถึงประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political-Security Community โดยเรียกย่อๆ ว่า APSC ไปแล้ว ซึ่งช่วยสะท้อนว่า หลักการสำคัญในการให้ความร่วมมือด้านนี้เป็นอย่างไร ครั้งนี้เรามาดูกันบ้างว่า กลไกสูงสุดที่อาจเรียกได้ว่า เป็นการทูตทหารในอาเซียนนี้ มี Platform ที่เป็นทั้งความร่วมมือเชิงนโยบาย และภารกิจสำคัญอย่างไรบ้าง

ข้อมูลโดยมากที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียน มักเป็นประเด็นของพัฒนาการอาเซียนในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจกันในระดับประชาชนและสังคมในวงกว้าง อาจเรียกได้ว่า มีพื้นที่ในการสื่อความหมาย สร้างความรู้ในมิติเศรษฐกิจและมิติสังคม-วัฒนธรรมมากกว่าด้านความมั่นคงเสียอีก

อันเนื่องมาจาก ในความร่วมมือด้านความมั่นคงนั้น มักจะมีแต่ศัพท์เทคนิคและเรื่องการทหารที่แสดงเนื้อหาเป็นภาพความร่วมมืออันเป็นกลไกซับซ้อนและเข้าใจยาก แต่ในเมื่อเราต้องเรียนรู้และเข้าไปอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า เราก็จำเป็นต้องเรียนรู้ให้ครบทั้ง 3 เสา

อย่างน้อยการทำความเข้าใจโครงสร้างก่อน จะปูพื้นให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่กลไกนั้นๆ ต้องการสื่อให้เห็นความหมายที่เป็นเนื้อแท้ได้ไม่ยากนัก และยังช่วยสะท้อนสถานการณ์ของอาเซียนและสังคมโลกในแต่ละช่วงได้อย่างดีว่า เราต้องเผชิญอุปสรรคปัญหาหรือได้รับโอกาสใดจากความร่วมมือนั้นๆ จึงทำให้นำไปสู่การผลักดันกลไกใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง

ในการร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนนั้น ระบุว่า กลไกสูงสุดคือการประชุมระดับรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (Asean Defence Minister’s Meeting) หรือเรียกย่อๆ ว่า ADMM

สำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยกลุ่มงานความร่วมมือด้านความมั่นคง ว่าด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสพิเศษแห่งอาเซียน (Working Group Cooperation of the ASEAN Special Senior Officials’ Meeting: Special SOM) ได้จัดประชุมขึ้น ณ เมืองยอกยาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 ได้ร่างแนวคิดในการจัดตั้งเวทีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เพื่อให้กลุ่มงานฯ ดังกล่าว ร่วมพิจารณาหากต้องการจะจัดตั้งความร่วมมือนี้ขึ้น

ทุกฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ตามปฏิญญาบาหลี 2 (Declaration of ASEAN Concord II) ที่มีมาตั้งแต่ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2003

นำไปสู่การรับรองแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC Plan of Action) ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้น ณ เวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 จึงทำให้อาเซียนมีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนเป็นประจำทุกปี
เป้าหมายของการจัดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM)

เพื่อสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและเสรีภาพในภูมิภาค โดยผ่านการหารือกับประเทศคู่เจรจา และความร่วมมือในด้านความมั่นคงและการป้องกัน

เพื่อนำไปสู่การหารืออย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายการทหารให้มีความร่วมมือในด้านการป้องกันและความมั่นคงภายในอาเซียน รวมทั้งกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนมากขึ้นด้วย

เพื่อสนับสนุนให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและสร้างความเชื่อมั่นร่วมกัน ผ่านการทำความเข้าใจจากความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการป้องกันและความมั่นคง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น
เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามปฏิญญาบาหลี 2 (Bali Concord II) และสนับสนุนให้ทำตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme: VAP; on ASC)

วาระสำคัญ

ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ระบุไว้ว่าจะต้องเน้นความยืดหยุ่น โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องดังนี้
เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองต่อประเด็นด้านการป้องกันและความมั่นคง ทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
เพื่อนำไปสู่นโยบายด้านการป้องกันและความมั่นคงโดยสมัครใจ
เพื่อหารือเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกกระบวนการอาเซียน
เพื่อหารือถึงการปฏิสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาภายนอก และ
เพื่อทบทวนความร่วมมือด้านความมั่นคงในอาเซียน

ADMM Vietnam 2010
ADMM Vietnam 2010

Asean Defence Minister’s Meeting: ADMM (การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน)

เป้าหมายสำคัญของ ADMM เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจร่วมกัน ด้วยการทำความเข้าใจความท้าทายด้านความมั่นคง ซึ่งเปิดกว้างให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ความร่วมมือ ADMM ดังกล่าว นำไปสู่โครงการที่ทำงานร่วมกันในระยะสั้น 3 ปี ขณะนี้ออกมาแล้ว 2 ฉบับ

(1) Three-Year ADMM Work Programme 2008-2010 ให้การรับรองใน ค.ศ. 2007 อันเป็นผลมาจากการจัดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนครั้งที่ 2 โดยมีมาตรการและกิจกรรมที่ร่วมมือกันอยู่ 5 ประการดังนี้
เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการป้องกันร่วมกันในภูมิภาค
เพื่อสรรค์สร้างและมีบรรทัดฐานร่วมกัน
เพื่อป้องกันความขัดแย้ง
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
เพื่อสร้างสันติภาพภายหลังเกิดความขัดแย้ง

หลังจากโครงการที่ร่วมมือกันในวาระแรกที่จัดขึ้น ระหว่าง ค.ศ. 2008 – ค.ศ. 2010 ผ่านไป การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ครั้งที่ 5 ได้ให้การรับรองโครงการ ADMM วาระ 2 ออกมา คือช่วงระหว่าง ค.ศ. 2011- 2013 หรือ

(2) Three-Year ADMM Work Programme 2011 – 2013 ซึ่งมีมาตรการที่เป็นเป้าหมายสำคัญอยู่ 4 ประการ ดังนี้
เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันในภูมิภาคที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
เพื่อขยายความร่วมมือในทางปฏิบัติที่มีอยู่ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกัน
เพื่อสนับสนุนการขยายความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา
เพื่อเสริมสร้างและมีบรรทัดฐานร่วมกัน

ความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ ค.ศ. 2006 โดยเฉพาะความร่วมมือในประเด็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการด้านภัยพิบัตินั้น มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญต่อความร่วมมือ ภายใต้กรอบ ADMM

โดยที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) ได้รับรองแนวคิดหลายประการที่สำคัญ ดังนี้
แนวคิดว่าด้วยการใช้ทรัพยากรและศักยภาพด้านการทหารของอาเซียน ในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและภัยพิบัติ เรียกสั้นๆ ว่า HADR (Concept Paper on the Use of ASEAN Military Assets and Capacities in Humanitarian Assistance and Disaster Relief: HADR)


แนวคิดว่าด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างกลาโหมอาเซียนกับองค์กรภาคประชาสังคมในด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ หรือเรียกว่า CSOs (Concept Paper on Defence Establishments and Civil Society Organisations (CSOs) Cooperation on Non-Traditional Security)

APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน
APSC Blueprint Asean Political-Security Community ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน

ความร่วมมือ ADMM นี้ นำไปสู่การทำงานในระดับสูงสุดตามกรอบ HADR ภายใต้การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 ของการสร้างความร่วมมือ CSOs ซึ่งมีไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใน ค.ศ. 2011 และได้พยายามสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันในภูมิภาค

การผลักดันดังกล่าว นำไปสู่การรับรองแนวคิดในการขยายความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น ดังนี้
แนวคิดว่าด้วยการสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งอาเซียน หรือ ADIC (Concept Paper on the Establishment of ASEAN Defence Industry Collaboration: ADIC) และ
แนวคิดว่าด้วยการตั้งโครงข่ายศูนย์ปฏิบัติการเพื่อรักษาสันติภาพแห่งอาเซียน (Concept Paper on the Establishment of ASEAN Peacekeeping Centres Network)

ความร่วมมือภายใต้กรอบ ADMM นี้ ยังได้แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกันในประเด็นของความท้าทายด้านความมั่นคงแบบใหม่ เพื่อให้มีความร่วมมือในทางปฏิบัติที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพแก่ภูมิภาค แต่กลไกสูงสุดด้านการเมืองความมั่นคงแห่งอาเซียนอย่าง ADMM ยังไม่จบเพียงเท่านี้

ADMM หรือ Asean Defence Minister’s Meeting ยังแตกยอดสาขาความร่วมมือไปยังกรอบ ADMM-Plus เพิ่มเติมอีก บทความหน้าเราจะไขปริศนาที่ว่า ADMM-Plus ต่างกับ ADMM อย่างไร ? แล้วทำไมจึงต้องมีความร่วมมือนี้เกิดขึ้น ?

ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

บทเรียน : เชฟรอน กรณี ชอร์เบส เมื่อซีเอสอาร์ไม่ใช่คำตอบสำหรับชุมชน !!?


นับ ตั้งแต่ข่าวโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานในอ่าวไทย หรือชอร์เบส ของบริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด ในเขตพื้นที่บ้านบางสาร ต.กลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แพร่สะพัดออกไปประมาณ 5-7 ปีก่อน ได้เกิดความเคลื่อนไหวของนักอนุรักษ์ นักวิชาการเอ็นจีโอ และชาวบ้านบางกลุ่มออกมาให้ข้อมูลถึงผลกระทบต่อสาธารณชน

จนเกิดการต่อต้านคัดค้านการก่อสร้างชอร์เบส เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้วิถีชุมชนดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย รวมไปถึงผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาในระยะยาว

โดยกลุ่มผู้ต่อต้านได้ขึ้นป้ายหยุดเชฟรอน ในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และเกิดกลุ่มต่อต้านในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย อาทิ หยุดเชฟรอน, หยุดเชฟรอน ปกป้องทะเลไทย โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นแฟนเพจประมาณ 400-500 คน

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น บริษัทเชฟรอนฯเริ่มนำโครงการซีเอสอาร์เข้าไปในจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่าง เข้มข้น ตั้งแต่ก่อนเข้าไปสร้างฐานสนับสนุนการบิน พร้อม ๆ

กับการ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EIA) ซึ่งมีข้อกำหนดด้านหนึ่งที่บริษัทจะต้องจัดทำโครงการเพื่อช่วยลดผลกระทบใน การก่อสร้างโครงการ

โครงการเพื่อสังคมของบริษัทหลายโครงการจัดทำขึ้น ตามข้อกำหนดดังกล่าวควบคู่ไปกับการทำซีเอสอาร์ด้านอื่น ๆ ตามนโยบาย 4 ด้านของเชฟรอน ได้แก่ ด้านการศึกษา, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม,

การอนุรักษ์พลังงาน และการส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม จนแตกออกเป็นโครงการต่อเนื่องอีกหลายร้อยโครงการ

ผล เช่นนี้ เมื่อสอบถาม "หทัยรัตน์ อติชาติ" ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) สำรวจและผลิต จำกัด

เกี่ยวกับงบประมาณในการทำซีเอส อาร์ตลอด 7 ปีของบริษัท เธอกลับบอกว่า...ยังไม่เคยมีการรวบรวมงบประมาณด้านสังคมที่ใช้ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ทราบแต่เพียงตัวเลขงบประมาณบางโครงการ

อย่างเช่น โครงการจัดทำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือพีดีเอ เราใช้งบประมาณ 150 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (2554-2557) รวมถึงอีกหลายโครงการ

อย่าง ไรก็ตาม เคยมีผู้ประมาณการว่า เชฟรอนฯน่าจะมีการใช้งบประมาณใน จ.นครศรีธรรมราช เกือบ 1 พันล้านบาท เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างความเชื่อใจให้เป็นที่ยอมรับแก่คนในพื้นที่

ส่วนข่าว ที่สร้างกระแสการต่อต้านให้เพิ่มขึ้น คือเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2555 สำนักงานนโยบายและแผน หรือ (สผ.) ได้ทำหนังสือเห็นชอบในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการชอร์เบสถึงบริษัทเชฟรอนฯ โดยมี "หทัยรัตน์" ให้ข่าวว่าจะมีการวางแผนการดำเนินงานทบทวนมูลค่าการก่อสร้างและการลงทุนใน โครงการต่อไป

โดยข่าวดังกล่าวรายงานถึงการผ่าน EIA ของเชฟรอนฯ จนทำให้กลุ่มสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ไม่พอใจ จึงยื่นหนังสือคัดค้านมติความเห็นชอบของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ต่อโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีข้อบกพร่องในข้อเท็จจริงหลายประการในรายงาน

ขณะที่บริษัทเชฟรอนฯออกมาให้ข่าว

หลาย ครั้งว่า การทำ EIA ทำด้วยความโปร่งใส และทำตามกระบวนการ ตามกฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งยังย้ำว่า การก่อสร้างท่าเทียบเรือ ไม่ใช่ท่าเรือน้ำลึกแต่อย่างใด ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิคมอุตสาหกรรม และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด หรือโครงการโรงไฟฟ้าของภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ

หลังจากที่ คชก.ประกาศเห็นชอบรายงานเป็นเวลาประมาณเกือบ 3 เดือน ทางบริษัทเชฟรอนฯจึงออกมาแถลงข่าว

ยุติ โครงการชอร์เบส โดยให้เหตุผลถึงความไม่คุ้มค่าของโครงการ เนื่องจากมีการจัดทำรายงาน EIA เป็นระยะเวลานานกว่า 5 ปี จึงไม่คุ้มค่า หากมีการสร้างโครงการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงเกินไป แต่ผู้ต่อต้านบางกลุ่มยังไม่ไว้วางใจว่าทางบริษัทจะยุติโครงการก่อสร้างจริง

"ประทีป ทองเกลี้ยง" ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านกลาย ให้ความเห็นกรณีดังกล่าวว่าหลังจากมีข่าวการเห็นชอบ EIA ทำให้เกิดพลังมวลชนมาต่อต้านมากขึ้น เนื่องจากใน EIA ระบุว่าทะเลกลายเป็นทะเลร้าง ซึ่ง

ขัดกับข้อเท็จจริงที่เป็นแหล่งทำ กินของชุมชน ถึงทางเชฟรอนฯจะมีการแถลงข่าวยุติโครงการชอร์เบสแล้ว แต่กระนั้นก็ทำให้มองได้ว่าเป็นการทำเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ตัวเองหรือไม่ เนื่องจากวันแถลงข่าวมีการเชิญคนจากภาครัฐไปให้ข่าวว่าการยุติการสร้างชอร์ เบสจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

"การทำ EIA อย่างยาวนานทำให้ชาวบ้านรู้ข้อมูลมากขึ้นและไม่เชื่อว่าโครงการจะยุติจริง เพราะ สผ.ยังไม่ยกเลิกรายงาน EIA ขณะที่พื้นที่ก่อสร้างเดิม ทางเชฟรอนฯได้ซื้อใจนักธุรกิจ ด้วยการเช่าพื้นที่ และถึงจะมีการยุติจริง แต่โครงการที่อ้างว่าทำเพื่อสังคม แต่อาจไปสร้างความแตกแยกให้แก่คนในพื้นที่ได้ เพราะการให้ไม่ทั่วถึง อย่างการสร้างเครื่องออกกำลังกาย มีเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น นอกจากนี้ยังสร้างนิสัยให้ชุมชนเคยชินกับการเป็นผู้รับ และรอความช่วยเหลือ"

ท่าม กลางกระแสต่อต้านดังกล่าว "หทัยรัตน์" ได้ให้ข้อมูลเรื่องนี้ว่า ขอเน้นย้ำชัดเจนในการเลิกโครงการชอร์เบส จะไม่มีการก่อสร้างในจังหวัดใดอย่างแน่นอน และจะใช้ท่าเทียบเรือที่จังหวัดสงขลาตามเดิม แม้ว่าจะอยู่คนละแห่งกับฐานสนับสนุนการบิน ก็ไม่สร้างผลกระทบต่อการดำเนินงานแต่อย่างใด

"ส่วนโครงการซีเอสอาร์ ที่ดำเนินอยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช มีหลายโครงการที่เป็นโครงการระยะยาว คงยังทำต่อเนื่อง เพราะถึงแม้จะไม่มีโครงการชอร์เบสแล้ว เรายังมีฐานบินอยู่ และมีพนักงานของเราหมุนเวียนอยู่ใน จ.นครศรีธรรมราช เฉลี่ย 1 หมื่นคนต่อเดือน ที่จะก่อให้เกิดผลดีกับธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยของพนักงาน และจะนำโครงการซีเอสอาร์มาที่จังหวัดสงขลามากขึ้น"

สำหรับการดูแล ความปลอดภัยและความรู้สึกพนักงานบนแท่นขุดเจาะที่ยังต้องใช้ฐานบินอยู่ใน พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปทำงานที่แท่นขุดเจาะทั้ง 8 แห่งของเชฟรอนฯที่อยู่กลางอ่าวไทย "หทัยรัตน์" บอกว่า เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบกับพนักงาน เนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ได้ขัดแย้งกับพนักงานของเรา และระหว่างการทำโครงการการชอร์เบส ได้มีการสื่อสารกับพนักงานเป็นระยะว่าบริษัทกำลังดำเนินการอะไร

นอกจากนี้ พนักงานยังลงไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นทาสี ซ่อมแซมโรงเรียน เขาจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

"จาก โครงการเพื่อสังคมที่เราทำไปหลายแห่งเป็นเวลาหลายปี และวันหนึ่งมีคนบางส่วนต้องออกจากพื้นที่หลังจากโครงการชอร์เบสยุติ จึงเป็นความผูกพันระยะยาวที่เรามีกับคนในพื้นที่ หลายคนรู้สึกเสียดาย แม้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างเดิม ก็รู้สึกขอบคุณที่เราหาบ้านใหม่ให้ และทำให้เขามีที่ทำกินเป็นของตัวเอง นั่นเป็นแง่มุมดี ๆ ที่ไม่ได้รับการสื่อสารออกไป"

ทั้งหมดจึงเป็นบทเรียนของการพัฒนาที่ยังคงสวนทางกับการอนุรักษ์ โดย

ซี เอสอาร์ได้ถูกนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการสร้างความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ แต่ขณะเดียวกัน อาจกลายเป็นดาบสองคมที่ต้องระมัดระวัง เฉพาะกับชุมชนที่มีความแข็งแรง

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ทางออก SME ไทย แก้ปม 300 บาท


การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นเป็นเรื่องที่สมควรทำเพราะค่าแรงของคนไทยนั้นถูกกดต่ำมานาน หากดูในช่วงสิบปีที่ผ่านมา GDP ของไทยโตขึ้น 50% ในขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงแทบไม่เพิ่มขึ้นเลยเมื่อเทียบกับค่าครองชีพแต่ปัญหาคือจะขึ้นค่าแรงอย่างไรให้เอกชนรับได้

อันที่จริงเราก็เห็นว่ารัฐบาลก็เห็นความสำคัญของปัญหาของเอกชนในเรื่องนี้ และพยายามที่จะบรรเทาผลกระทบด้วยการออกมาตรการเยียวยารวม 16 มาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคเอกชน แต่จะดูกันจริงๆ มาตรการเหล่านี้เป็นเพียงความพยายามให้ยารักษาตามอาการ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ แถมยังเป็นยาครอบจักรวาล ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ SME ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงและทั่วถึง

หากมอง 16 มาตรการที่รัฐออกมา มี 6 มาตรการเป็นมาตรการด้านภาษี แต่บริษัทที่ได้ประโยชน์ก็มีแต่บริษัทที่มีกำไรเท่านั้น ส่วนบริษัทที่ขาดทุน หรือบริษัทเล็กที่มีกำไรน้อย ก็จะไม่ได้ประโยชน์ ในมาตรการส่วนที่ยกเว้นภาษีเพิ่มเติมก็จะช่วยประหยัดภาษีไปได้เพียงรายละ 30,000 บาทเท่านั้น ส่วนมาตรการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร หรือยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับนิติบุคคลที่เปลี่ยนเครื่องจักร ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ก็ต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถจะลงทุนเพิ่ม และโอกาสที่ผู้ประกอบการที่อยู่ภาคบริการจะลงทุนซื้อเครื่องจักรก็มีน้อยดังนั้นจึงมีเพียงผู้ประกอบการในภาคการผลิตที่มีศักยภาพจะขยายการลงทุนเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์

อีก 5 มาตรการเป็นการช่วยเหลือด้านการให้สินเชื่อซึ่งก็มีความเหมาะสม เพราะต้นทุนที่สูงขึ้น อาจจะทำให้ SME ต้องการเสริมสภาพคล่องในระยะสั้น แต่ประเด็นที่ต้องคำนึงก็คือ กลไกของรัฐอย่าง SME Bank หรือ บสย. ไม่สามารถเข้าถึง SME ได้อย่างทั่วถึง เท่ากับธนาคารพาณิชย์ ที่ผ่านมา ในปี 2555 SME Bank และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมปล่อยกู้ให้ SME เกือบ 2 แสนล้านบาท ในขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้ SME มากถึง 3.2 ล้านล้านบาทดังนั้นหากรัฐจะช่วยเหลือ SME ได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น รัฐก็ควรใช้มาตรการผ่านธนาคารพาณิชย์มากขึ้นด้วย  

สำหรับข้อเสนอที่ทางฝั่งเอกชนที่ร้องขอให้มีกองทุนชดเชยส่วนต่างของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นนั้น ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เยียวยาเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบแล้ว กลับจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมภาระการคลังอย่างมหาศาล สมมุติว่าเกิดกองทุนนี้ขึ้นมาจริง ๆ จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรพบว่า มีลูกจ้างประมาณ 11 ล้านคนที่ได้ค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท โดยเมื่อขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท จะทำให้ค่าจ้างเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้นถึง 40% เท่ากับรัฐต้องอุดหนุนเฉลี่ย 120 บาทต่อคน ซึ่งเท่ากับว่าจะต้องใช้งบประมาณมากถึง 3.3 แสนล้านบาทต่อปี หรือเป็น 3 เท่าของงบกระทรวงสาธารณสุขปี 2556

เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา เราต้องวินิจฉัยโรคก่อนว่าต้นเหตุที่แท้จริงคืออะไร ซึ่งนโยบาย 300 บาทที่เป็นปัญหากันอยู่ในปัจจุบันออกมาเป็นแค่ตัวกระตุ้นให้ออกอาการป่วยไข้เด่นชัดขึ้นเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วปัญหาของ SME ไทยคือเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยยังขาด SME ขนาดกลาง ที่จะเติบโตไปแข่งขันกับต่างประเทศได้ ในไทยมี SME ขนาดกลางเพียง 0.4% ของ SME ทั้งหมด ในขณะที่ในญี่ปุ่นมี SME ขนาดกลางถึง 10%

และวิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุก็คือ เอกชนต้องเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ผ่านการฝึกอบรมเพิ่มทักษะแรงงาน สร้างนวัตกรรม ลงทุนด้าน R&D ให้เพิ่มขึ้น ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าตัวเอง เพื่อให้สามารถขายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น แต่เอกชนคงไม่สามารถทำที่ว่ามาทั้งหมดข้างต้นสำเร็จได้เอง ถ้าขาดกลไกสนับสนุนจากภาครัฐ และวิชาการ โดยที่รัฐควรมีส่วนช่วยวางแผน นโยบาย และงบประมาณสำหรับงานวิจัย ส่วนภาควิชาการก็ควรทำหน้าที่ผลิตงานวิจัย และผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการจากภาคเอกชน
อย่างไรก็ตาม หนทางแก้ปัญหาเหล่านี้ล้วนไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สำเร็จได้ในระยะสั้น และต้องอาศัยการวางแผนยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการในระยะยาว ตัวอย่างแผนยุทธศาสตร์ที่บูรณาการอย่างเช่น หากรัฐต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันพร้อมๆ ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน เริ่มจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่ต่ำลงก่อน จากนั้นจึงค่อยออกนโยบายขึ้นค่าแรง ที่ผ่านมา รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมักออกนโยบายมาก่อน แล้วค่อยมาคิดหาวิธีเยียวยาภายหลัง ทำให้มีแต่มาตรการระยะสั้นที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราจึงมักเจอสถานการณ์ที่ กระทรวงแรงงานประกาศขึ้นค่าแรง กระทรวงเกษตรประกาศอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร กระทรวงพาณิชย์เข้ามาควบคุมราคา และกระทรวงการคลังต้องหามาตรการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดเอาจะเป็นมาตรการระยะยาว แน่นอนว่าทางออกในระยะสั้นก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ก่อนอื่นคงต้องบอกให้ได้ว่ากลุ่มไหนเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ และสมควรได้รับการเยียวยา จากการศึกษาพบว่า มีแรงงานประมาณ 11 ล้านคนที่ได้ค่าจ้างน้อยกว่า 300 บาท โดยส่วนใหญ่ อยู่ตาม SME อยู่ในภาคการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และมีกำไรต่ำกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นทุนค่าจ้าง เป็นต้นทุนหลักอยู่แล้ว เมื่อมีการประกาศขึ้นค่าแรง ทำให้จากเดิมที่เคยมีอัตรากำไรสุทธิ 4.3% เป็นขาดทุน 3% ทันที ดังนั้นกลุ่มนี้จึงควรได้รับการเยียวยาอย่างเร่งด่วน

งนั้น จึงควรมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐ และเอกชน เพื่อจัดทำแผน และมาตรการเยียวยา ที่จะมีความแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม และตามภูมิภาค ตัวอย่างแผนการช่วยเหลือ อย่างเช่น การทยอยปรับขึ้นค่าแรง (Phasing) แทนที่จะขึ้นเป็น 300 บาทพร้อมกันทันที อาจจะกำหนดเป้าหมายไว้ที่ 300 บาท แต่มีปีเป้าหมายแตกต่างกันตามอุตสาหกรรม หรือตามภาค และทยอยปรับขึ้นทุกๆ ปี

นอกจากนี้ รัฐควรต้องทบทวนความจำเป็นที่จะต้องขึ้นค่าแรงเท่ากันหมดทั้งประเทศ ลองนึกดูว่าหากค่าแรงของประเทศลาวเท่ากับไทย แล้วใครจะอยากไปลงทุนในลาว ในทำนองเดียวกันกับภายในประเทศไทย หากต้องจ่ายค่าแรงในจังหวัดห่างไกลเท่ากับกรุงเทพฯ ก็คงไม่มีใครอยากลงทุนในจังหวัดที่ห่างไกล ที่ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ดี มีผลิตภาพต่ำ

อีกทางเลือกหนึ่ง คือ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดน (Border zone) อย่างเช่น มากีลาโดรา (Maquiladora) ที่ตั้งอยู่ที่พรมแดนสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก ซึ่งอาจจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ไม่ต้องบังคับใช้ค่าแรงของไทย วิธีนี้จะทำให้เอกชนได้ประโยชน์จากแรงงานราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ทะลักเข้าเมือง เพราะนโยบาย 300 บาทนี้ด้วย

ท้ายที่สุด ไม่ว่านโยบายแก้ไขจะดีอย่างไร หากยังคงมีปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติใช้ก็คงไม่สามารถสำเร็จได้ ทุกวันนี้มีหน่วยงานมากมายที่ทำหน้าที่ส่งเสริม SME แต่ไม่มีการจับมือร่วมกันทำงาน บางครั้งก็ทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน ขาดการบูรณาการ และทำงานร่วมกัน เราอยากเห็น สสว. หรือสถาบันพัฒนา SME จูงมือ SME ที่มีปัญหา ไปหา สวทช. ซึ่งมีหน่วยงานที่จะช่วยให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต จากนั้น กรมพัฒนาธุรกิจ หรือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรับลูกต่อ เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาด และการบริหารจัดการ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างทุกวันนี้

ที่มา.thailandfuturefoundation.
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ลุ้นข้าวไทยในจีน !!?


คอลัมน์ เดินหน้าชน.

เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดเวทีโต๊ะกลมระดมบรรดากูรู เมืองไทย อาทิ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ทนง พิทยะ ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สมพล เกียรติไพบูลย์ และ ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ มาแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ "ส่องเศรษฐกิจไทยปี 2556 : สิ่งที่ต้องจับตามอง และการรับมือกับโอกาสที่มาถึง"

กูรู ที่ร่วมโต๊ะกลม ต่างเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมปี 2556 ยังต้องก้าวอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับการส่งออกและการท่องเที่ยว ที่ถือเป็นเสาหลักเศรษฐกิจไทย

รวมทั้งความผันผวนจากการไหลเข้า-ออกของเงินทุน ที่ต้องจับตาและเฝ้าระวังให้ดี

หากจะเน้นการใช้จ่ายภาครัฐและนโยบายประชานิยมเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ต้องแลกกับการเป็นหนี้สาธารณะมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังเสนอแนะเรื่องต่างๆ เช่น การปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐ รวมถึงยุทธศาสตร์ในระยะยาวเพื่อสร้างความต่อเนื่องของนโยบาย และความเป็นห่วงถึงเรื่องคอร์รัปชั่น ที่ยังเบ่งบานอยู่

เป็นมุมมองในภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ในมิติต่างๆ ที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่รัฐบาลควรนำไปประกอบการพิจารณาในการวางแผนขับเคลื่อนในด้านต่างๆ

รายละเอียดเนื้อหาเป็นอย่างไร ติดตามหาอ่านกันได้ที่เว็บไซต์สถาบันอนาคตไทยศึกษา www.thailandfuturefoundation.org/en/

นั่นคือความห่วงใยในภาพรวมของเศรษฐกิจ แต่เมื่อแยกย่อยออกมาก็มีเรื่องให้หนักใจแทนรัฐบาลไม่น้อย โดยเฉพาะการรับจำนำข้าวเปลือกและการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ที่ยังมีกว่า 10 ล้านตัน

จากรายงานสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า ปีนี้คาดว่าจีนผู้ผลิตและผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ของโลกจะนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในระดับที่สูงพอสมควร คาดว่าน่าจะประมาณ 2 ล้านตัน

แต่ลดลงจากปี 2555 ที่จีนนำเข้าข้าวมากถึง 2.85 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 5 เท่าตัว ที่ทำให้จีนกลายเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไนจีเรีย

ทั้งนี้ คาดกันว่าสาเหตุเพราะราคาข้าวภายในประเทศของจีนเองนั้นแพงกว่าข้าวในตลาดโลกสูงถึง 25-30% ทำให้บริษัทต่างๆ ของจีนต้องการเพิ่มการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อหวังจะช่วยดึงราคาข้าวในจีนให้อ่อนตัวลงบ้าง

อีกส่วนหนึ่ง การเพิ่มปริมาณข้าวในคลังสำรองของจีนที่อยู่ในระดับประมาณ 45 ล้านตัน โดยนำข้าวต่างประเทศราคาถูกมาผสมกับข้าวท้องถิ่นที่ราคาแพงกว่า เพื่อลดต้นทุน

จากความต้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นของจีนเมื่อปีที่แล้ว น่าจะเป็นโอกาสดีของข้าวไทย แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น

ทั้งนี้ จากข้อมูลศุลกากรเวียดนาม ระบุว่า ปีที่ผ่านมาจีนซื้อข้าวราว 2 ล้านตันจากเวียดนาม หรือเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าจากปกติที่สั่งซื้อประมาณ 3 แสนตันเมื่อปี 2554 และอีกส่วนหนึ่งจีนซื้อจากปากีสถาน

ปีที่แล้ว ตลาดข้าวของจีนส่วนใหญ่เป็นข้าวจากเวียดนามและปากีสถาน และมีแนวโน้มว่าปีนี้จะเป็นเช่นนี้อีก เพราะราคาข้าวจากทั้ง 2 ประเทศถูกกว่าไทยมาก

จากความต้องการนำเข้าข้าวของจีน ทำให้พวกผู้ส่งออกข้าวจากประเทศต่างๆ เร่งหาทางแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดจีนที่มีการบริโภคข้าวมากที่สุดถึงปีละ 140 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ซื้อของจีนยังไม่มีการสั่งซื้อข้าวล็อตใหญ่ แต่กำลังรอดูทิศทางราคาข้าวของประเทศต่างๆ อยู่

แต่ไทยยังพอจะมีหวังอยู่บ้าง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทย

หากเป็นไปตามความเห็นของ หม่า เหวินเฟิง นักวิเคราะห์บริษัท เป่ยจิง โอเรียนต์ อะกริบิสซิเนส

คอลซัลแทนต์ ที่ระบุว่า "ข้าวราคาถูกที่นำเข้าจากเวียดนามจำนวนมากเมื่อปีที่แล้ว สร้างความเสียหายให้แก่พวกโรงสีขนาดกลางและขนาดเล็ก แล้วร้องเรียนรัฐบาล ดังนั้น จึงอาจจะมีการนำเข้าข้าวประเภทนี้ลดลง"

ต้องรอลุ้นว่า ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคมนี้ ที่

บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นำคณะไปบุกตลาดเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จะมีอะไรติดไม้ติดมือกลับมาบ้างหรือไม่

ที่มา.มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อาเซียน : ตามไปดูการค้าจาก พม่า ถึงเอเชียใต้ !!?

อย่างที่ทราบกันดีว่า อีกไม่นานไทยและเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคอีก 9 ชาติ จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Asean Community) ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ฐานการผลิตและอื่นๆ อย่างมหาศาล และที่ต้องให้ความสนใจมากกว่านั้น คือบทบาทของมหาอำนาจ ทั้งที่อยู่ไกลอย่างสหรัฐอเมริกา และที่เป็นบ้านใกล้เรือนอย่างจีนกับอินเดีย โดยเฉพาะอินเดีย มหาอำนาจเก่าแก่ของเอเชียเคียงคู่กับจีนมาโดยตลอด

วันนี้เราเห็นบทบาทของจีนในเวทีโลกมากมาย ทำให้ผู้ที่สนใจเรื่องอาเซียนมุ่งที่จะมองไปที่จีนเป็นหลัก แตกต่างกับอินเดีย ที่วันนี้คนทั่วไปยังมองว่าเป็นประเทศยากจน ภาพของขอทาน คนอดอยาก ความสกปรกแม้อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ยังคงเป็นภาพที่ใครหลายคนคิดเมื่อนึกถึงแดนภารตะแห่งนี้

ขณะที่พม่า เพื่อนบ้านฝั่งตะวันตกของเรา ประเทศที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่ท้าทายให้เข้าไปลงทุน หากแต่ด้วยอคติบางประการในแง่ประวัติศาสตร์ ประกอบกับเป็นประเทศที่ยังไม่สงบดีนักจากสงครามกลางเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐบาลพม่า ทำให้ยังไม่ค่อยมีนักลงทุนไทยหน้าใหม่ๆ เข้าไปมากเท่าที่ควร

จึงขอยกเรื่องของอินเดีย และเน้นย้ำความน่าสนใจของพม่าอีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อให้เห็นความสำคัญของฝั่งตะวันตกของเรา ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นแล้วบ้าง

เปิดประตูสู่ชมพูทวีป

คนไทยส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยกับคำว่า “ชมพูทวีป” เป็นอย่างดี เพราะเป็นดินแดนต้นกำเนิดของศาสนาหลักของไทย คือศาสนาพุทธ และวัฒนธรรมหลักที่ได้รับมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยชมพูทวีปนั้น ในอดีตหมายถึงอาณาจักรน้อยใหญ่ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และบังกลาเทศ (บางครั้งมีผู้รวมศรีลังกาเข้าไปด้วย) หรือที่สมัยใหม่เรียกว่าเอเชียใต้ ซึ่งหากนำเอาประชากรทั้งหมดของทวีปนี้รวมกัน จะมีมากกว่า 1,500 ล้านคนทีเดียว ทั้งนี้..เพียงอินเดียประเทศเดียว ก็มีประชากรราว 1,200 ล้านคนแล้ว

นายสุนันท์ เกลี้ยงประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและโครงการ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ NEDA ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของอินเดีย ยักษ์ใหญ่ของฝั่งเอเชียใต้ ที่กำลังขยายการลงทุนเข้ามายังอาเซียน เพื่อแข่งขันกับจีน มหาอำนาจหลักที่มีผลประโยชน์มหาศาลในภูมิภาคนี้มาอย่างยาวนาน

ในกรอบความร่วมมือ GMS จากเวียดนามมาพม่า พอเลยพม่าไป ก็ไปเข้าเอเชียใต้แล้ว ดังนั้นมันจะต้องหลอมเข้าด้วยกันอย่างแน่นอน เอเชียใต้นี่ ค้าขายปีนึงก็ 3 แสนกว่าล้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าทางเรือ ส่วนทางถนนมีบ้าง โดยระยะทางจากแม่สอด เข้าเมียวดีของพม่า ต่อไปยังโมเรห์ของอินเดีย ประมาณ 1,300 กิโลเมตร ล่าสุดไม่นานนี้ อินเดียตกลงจะสร้างถนนจากโมเรห์เข้ามาในพม่า ระยะทาง 100 ไมล์ หรือประมาณ 160 กิโลเมตร โดยก่อสร้างให้ฟรีๆ” ที่ปรึกษาฯ NEDA กล่าว

สอดคล้องกับ ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการบริหารบริษัท แอ๊ดด้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่ชี้ให้เห็นบทบาทของอินเดียในเวทีการค้าระดับโลก โดยปัจจุบัน มีการแบ่งเขตทำมาหากินอย่างชัดเจน ขณะที่คนจีนเข้าไปลงทุนสารพัดอย่างในแอฟริกา คนอินเดียและประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ มักจะเข้าไปลงทุน หรือหางานทำในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นหลัก เรียกว่าไม่ต้องแปลกใจ หากใครมีโอกาสเดินทางไปดูไบ หรืออาบูดาบี จะเห็นเถ้าแก่ ผู้จัดการใหญ่ๆ CEO มาจากอินเดีย ผู้จัดการฝ่าย มาจากปากีสถาน ผู้จัดการแผนก มาจากศรีลังกา พนักงาน คนขับรถ มาจากบังกลาเทศ เป็นต้น ขณะที่ด้านอาเซียน ก็ไม่ได้อยู่ไกลอย่างที่คิด โดยเฉพาะหากท่าเรือน้ำลึกทวายก่อสร้างเสร็จ พร้อมๆ กับโครงการเชื่อมถนนจากไทยไปอินเดีย

อินเดียนี่มองดูไกลนะครับ แต่ถ้าเราต่อถนนไปทวาย ระยะทาง 130 กิโล ตอนนี้ไปก็ 5 ชั่วโมง ถ้าสร้างเสร็จก็คงราวๆ ชั่วโมงเศษๆ จากทวาย ก็ขึ้นไปบังกลาเทศ ที่นี่พลเมือง 180 ล้าน เขาซื้อของเราไม่น้อยอยู่แล้ว อย่าลืมว่า Made in Thailand เขาถือเป็นอันดับ 1 เลย ดังนั้นอย่างแรก ขอให้ท่านไปดูให้เห็นกับตา อย่างเพื่อนบ้านรอบๆ เรา ที่เราไปขายมาเกือบหมดแล้ว เขาถือว่าของไทยนี่ Good Value ราคาพอสมควร คุณภาพไปได้ คือเขามีรสนิยมเหมือนคนไทยเรานี่ล่ะ แต่เขาไม่มีโอกาสจะไปใช้ของยุโรป” คุณไกรฤทธิ์ กล่าว

พม่า ความท้าทายใหม่ของนักลงทุน

อย่างไรก็ตาม แม้จะเห็นช่องทางทำมาค้าขายกับอินเดีย หรือกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ แต่อุปสรรคสำคัญคือการเดินทางที่ต้องผ่านเข้าไปในพม่า ที่ปัจจุบันยังมีปัญหาอีกมากมาย ทั้งรัฐบาลที่ทหารยังมีอำนาจอยู่เบื้องหลัง และพื้นที่แต่ละแห่ง ล้วนถูกปกครองด้วยกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่รัฐบาลกลางไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้เต็มที่ ทำให้ไม่เป็นเอกภาพ

แหล่งข่าวรายหนึ่ง วิเคราะห์บทบาทของโลกตะวันตกต่อพม่าไว้อย่างน่าสนใจ แต่เดิมพม่านั้นเป็นประเทศปิด ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหารมาหลายสิบปี ทำให้ผู้ที่สามารถเข้าไปลงทุนในพม่าได้ คือผู้ที่มีและใช้วิธี “กำลังภายใน”กับชนชั้นปกครองของพม่า ซึ่งก็มีทั้งนักลงทุนจากจีน ไทย และสิงคโปร์ ที่คุ้นเคยกับระบบนี้ดี ขณะที่โลกตะวันตก ที่มีกฎหมายระบุชัดเจนว่าห้ามทำธุรกิจกับประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีการคอร์รัปชั่นสูง หรือไม่ใส่ใจกับสิทธิมนุษยชน ก็อยากจะลงทุนในพม่า จึงต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้พม่าเป็นประชาธิปไตยให้ได้ เพื่อไม่ให้เข้าข่ายผิดกฎหมายของประเทศตน

เช่นเดียวกับ นายดำรง ใคร่ครวญ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของพม่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เมื่อเวียดนามเข้าร่วมกับอาเซียน ในปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) ทั้งนี้ ด้วยการที่เวียดนามไม่มีพรมแดนติดกับไทย จึงไม่ค่อยได้รับความสนใจจากคนไทยมากนักในเวลานั้น ขณะที่พม่าที่มีพรมแดนติดกับไทย มีประชากรราว 60 ล้านคน ซึ่งจำนวนใกล้เคียงกับไทย มีทรัพยากร โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล หรือในด้านตลาด พม่าเป็นตลาดใหญ่ที่ไม่ใช่แค่พม่าเองเท่านั้น แต่ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดีย หรือเอเชียใต้ทั้งทวีป อย่างไรก็ตาม คุณดำรง ก็มองว่าพม่าคงต้องใช้เวลาอีกมากในการเปลี่ยนแปลง

พม่ามีปัญหาสลับซับซ้อนกว่าหลายๆ ประเทศ และเป็นปัญหาที่สั่งสมมานานหลายสิบปี คือเขามีโครงสร้างประชากรที่หลากหลายมาก ในอาเซียนนี่คงมีแค่พม่ากับอินโดนีเซียที่มีความเป็นชาติที่หลากหลาย และยังมีภาวะสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนาน ดังนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม จึงยังมีอยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ ได้ตลอดเวลา ส่วนในด้านเศรษฐกิจ แม้พม่าจะพร้อมด้วยทรัพยากรและแรงงาน แต่ผมว่าคงไม่พัฒนาเร็วแบบที่เราเห็นจีนหรือเวียดนาม

คือสถานการณ์โลกในเวลานั้น มันเอื้ออำนวยให้เกิด Economic Growth แบบก้าวกระโดด แต่ตอนนี้ ตลาดสำคัญๆ ไม่ว่ายุโรป อเมริกา หรือเอเชีย มันหดตัวลงหมด อย่างในอาเซียน ก็โตแค่ 6 เปอร์เซ็นต์ 7 เปอร์เซ็นต์ อย่างมาก 9 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครไปถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเวลาเรามองพม่าก็จะต้องมองในแง่นี้ด้วยเหมือนกัน”

นายดำรงกล่าว พร้อมกับทิ้งประเด็นของอินเดียไว้ให้คิดกันต่อ ว่าระยะทางจากพม่าไปอินเดีย หากนับจากนครย่างกุ้ง จะอยู่ที่ราวๆ 2,000 กิโลเมตร ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ในเวลาอันสั้น ทั้งนี้ยังไม่รวมข้อกังวลที่ว่า แม้จะเดินทางไปถึงอินเดียได้จริง แต่จะไปที่ไหน เพราะจุดที่ไปถึง ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ต้องการการพัฒนาอีกมากพอสมควร กว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุน

ปัจจุบันพม่ากลายเป็นกระแสสำคัญของโลก นักลงทุนมากมายต่างพยายามเข้าไปยังประเทศนี้ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทรัพยากรมหาศาล แรงงานราคาถูก และเป็นเส้นทางเชื่อมต่อทั้งอินเดีย จีน และอาเซียน แต่ในความเป็นจริง พม่าหรือแม้กระทั่งภูมิภาคเอเชียใต้เอง ยังมีปัญหาอีกมากมายที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานในหลายพื้นที่ที่อยู่ในสภาพล้าหลัง เนื่องจากยังไม่ได้รับการพัฒนา

ส่วนจะคุ้มค่าหรือไม่..คงต้องขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่แน่นอนเสมอไป

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แยกยื่นภาษีได้สิทธิ์ลดหย่อนเพิ่ม !!?


สรรพากรประเดิมแยกยื่นภาษีสามี-ภรรยา ชี้ได้สิทธิ์ค่าลดหย่อนเพิ่ม
 
นางจิตรมณี สุวรรณพูล ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า ปีภาษี 2555 เป็นปีแรกที่กรมฯ  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภรรยา ให้ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีต่างหาก   และแบ่งเงินได้พึงประเมินที่ทำร่วมกัน หรือสามีและภรรยาจะตกลงเลือกยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันก็ได้
 
กรณีเงินได้พึงประเมินที่ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภรรยาฝ่ายละจำนวนเท่าใดตามมาตรา 40 (2) - 40 (8) ให้แบ่งสัดส่วนคนละ 50% ของเงินได้ประเภทนั้น เฉพาะเงินได้ตามมาตรา 40 (8) จากการขายสินค้า การพาณิชย์ การขนส่ง ฯลฯ ให้สามี-ภรรยาเลือกแบ่งเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้แบ่งกันฝ่ายละกึ่ง    สำหรับสิทธิประโยชน์ที่สามี-ภรรยาได้รับเพิ่ม กรณีการหักค่าลดหย่อน มี 3 รายการ คือ ค่าลดหย่อนบุตรได้คนละ 1.5 หมื่นบาท ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรได้คนละ 2 พันบาท และค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างกู้ยืม มีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายหักได้คนละ 1 แสนบาท
 
โดยขณะนี้ถึงกำหนดเวลาของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 สำหรับปีภาษี 2555 สามารถยื่นแบบกระดาษได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 1 เม.ย.2556 ส่วนการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ตยื่นได้ถึงวันที่ 9 เม.ย.2556.

ที่มา.ไทยโพสต์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กาแฟร้อนๆเสิร์ฟจากกระป๋อง ?



 
 ช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัท Joseph Company International ในเมืองเออร์วิน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เผยโฉมนวัตกรรมใหม่เป็นบรรจุภัณฑ์หรือกระป๋องเครื่องดื่มที่ทำความเย็นได้ด้วยตัวเอง ช่วยให้ผู้บริโภคมีชีวิตชีวากับการได้ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ชื่นใจ พกพาไปได้ทุกที่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน

หลายๆคนคงคิดว่า ในทางกลับกันหากมีนวัตกรรมสำหรับใช้หน้าหนาวบ้างคงดี จะได้สมดุลกัน ต้องบอกว่าเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สร้างความร้อนด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติมีแล้ว แต่เพิ่งจะมาถึงถิ่นลุงแซมสหรัฐได้ไม่นาน ได้แก่ Hot Can ที่ช่วยเสิร์ฟเครื่องดื่มและซุปร้อนๆ ผลงานสร้างสรรค์ของบริษัท Hot-Can ในมาเลเซีย

กระป๋องทำความร้อนดังกล่าวทำจากอะลูมิเนียม ภายในแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกใส่เครื่องดื่มยอดนิยมและซุปเมนูด่วน ชั้นในเป็นส่วนผสมของน้ำและแคลเซียมออกไซด์ ซึ่งเมื่อกระตุ้นจะเกิดปฏิกิริยาเคมีคายความร้อนขึ้น (exothermic reaction) ทำให้เครื่องดื่มร้อนที่ระดับ 50-55 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 นาที ในขณะที่ใช้พลังงานน้อยกว่ากาต้มน้ำถึง 65%

หมายความว่าเครื่องดื่มจะเริ่มจากอุณหภูมิห้องราว 20-25 องศาเซลเซียส ก่อนร้อนเป็น 70 องศาเซลเซียส โดยฉนวนหุ้มภายนอกที่ทำจากโพลีโพรพิลีนช่วยรักษาความร้อนให้อยู่ได้นานราว 45 นาที และป้องกันไม่ให้ความร้อนลวกมือ

หากใช้งานหรือจะดื่มกาแฟร้อนๆสามารถทำได้ง่ายๆเพียงพลิกกระป๋องเอาด้านล่างขึ้น จากนั้นดึงแผ่นเทปที่ป้องกันออกและกดปุ่มเพื่อให้เริ่มทำปฏิกิริยาคายความร้อน หลังจากนั้นเขย่ากระป๋องเล็กน้อยราว 20-30 วินาที และตั้งกระป๋องในแนวตรงรอกาแฟร้อน

ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่ากาแฟร้อนพร้อมดื่มแล้วหรือไม่จากแผ่นแสดงความร้อน ซึ่งถ้าเห็นเป็น “สีเขียว” แสดงว่า “กาแฟร้อนพร้อมดื่ม” แต่หากเป็น “สีแดง” แสดงว่า “ร้อนเกินไป”

กล่าวได้ว่ากระป๋องทำความร้อนอัตโนมัตินี้เหมาะมากสำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่มต่างๆที่ต้องบริโภคแบบร้อนๆ จนถึงอุ่น

แต่ยังมีข้อด้อยอยู่บ้างตรงที่ถูกออกแบบเพื่อเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องเท่านั้น หากนำไปแช่ตู้เย็นจะไม่สามารถทำให้เครื่องดื่มร้อนได้ และหากเก็บไว้ในที่ร้อน เช่น ในรถยนต์อาจเสี่ยงไฟไหม้ขึ้นได้ นอกจากนี้หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ยังสามารถทำลายส่วนประกอบของส่วนทำความร้อนได้อีกเช่นกัน

บริษัท Hot-Can ในมาเลเซีย ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกระป๋องร้อนในตลาดบ้านตัวเองมาหลายปีนับตั้งแต่ปี2008 หลังจากใช้งบประมาณมากถึง 20 ล้านริงกิต และใช้เวลา 7 ปีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ฉลาดนี้ ถือเป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาทางด้านนี้เป็นรายแรกๆของโลก

ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์คว้ารางวัลมามากมาย ล่าสุดเป็น 1 ใน 10 สุดยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มหกรรมร้านสะดวกซื้อในลาสเวกัสเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

กฎบัตรอาเซียน ASEAN CHARTER หรือธรรมนูญอาเซียน (อีกครั้ง)


กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้

ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน

วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)

โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน

กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่

หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน

หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน

หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่

หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน

หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน

หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์

หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ

หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท

หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน

หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน

หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน

หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก

หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย

กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น

1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต

2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก

4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด

5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น

1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท

2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี

3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

 ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย

กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น

- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย

นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น

- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น

- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย

ที่มา: ประชาคมอาเซียน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โยนบาป !!?


กรณีประสาทพระวิหารและการปลุกกระแสคลั่งชาติ จนส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งฝ่ายคลั่งชาติและพรรคการเมืองยังมีการพยายามโยงว่าเป็นเพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยมีผลประโยชน์แอบแฝง แม้แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังถูกกล่าวหา ใส่ร้าย และโยงไปถึงคดีปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ที่ศาลโลกขณะนี้ด้วย

จนเป็นที่มาของแถลงการณ์ตอบโต้จากสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ยืนยันว่าไม่เคยมีการตกลงผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะทุกอย่างมีการเจรจาอย่างเปิดเผย ตรงข้ามกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่ทำอะไรแบบลับๆ ส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขณะนั้น มาเจรจากับกัมพูชาลับๆหลายครั้ง

แม้จะเป็นเรื่องแปลกที่ผู้นำกัมพูชาทะเลาะกับผู้นำฝ่ายค้านของไทย แทนที่จะเป็นรัฐบาล ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ แม้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพจะอ้างว่าสมเด็จฮุน เซน ต้องการดิสเครดิต แต่ก็ยอมรับว่ามีการเจรจาลับจริง โดยยืนยันว่าทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของชาติเพื่อไม่ให้เสียดินแดน

ดังนั้น หากนายอภิสิทธิ์มีความบริสุทธิ์ใจจริงก็ต้องเปิดเผยอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมากับประชาชนว่าเจรจาเรื่องอะไร ทำไมต้องเจรจาลับ เจรจาแล้วประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร ไม่ใช่ใช้วาทกรรมทางการเมืองในลักษณะ “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้ผู้อื่น” หรือกลายเป็นการกล่าวหาใส่ร้ายกันไปมาอย่างเรื่อง “ชายชุดดำ” ในขณะนี้

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทเรียน ไฟใต้ !!?


โดย.ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์

 สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือประเด็นเรื่อง การเมืองท้องถิ่น ที่มีการกลั่นแกล้งกันเองด้วย” ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่แหลมคมเช่น ‘ชายแดนใต้’ วิเคราะห์ประเด็นปัญหาให้ฟัง พร้อมกับยกตัวอย่างว่า บนสังเวียนต่อสู้ของการเมืองท้องถิ่น หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ ก็จะมีบ้างบางคนที่ตัดสินใจวิ่งเข้าหาศูนย์อำนาจรัฐหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในพื้นที่ จากนั้นก็จัดการ ‘สุมไฟ’ ให้ข้อมูลคู่ตรงกันข้ามว่าเป็น ‘แนวร่วม’ บ้าง มีปัญหา ‘เชิงลึก’ ที่ซับซ้อนดำมืดบ้างฯลฯ นำไปสู่การ ‘กำจัด’ คู่ต่อสู้แบบยิงปืนนัดเดียวได้ประโยชน์หลายต่อ

 ต่อกรณีปมปัญหาเช่นนี้ เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยเงื่อนไขที่ถูกราดรดสู่ปัญหา ‘ไฟใต้’ ซึ่งมีการพูดถึงกันมานานว่ามีปัจจัยทับซ้อนมากมายอย่างไร ไม่ใช่เรื่องของการ ‘แบ่งแยกดินแดน’ เพียวๆ อีกต่อไปแล้ว เพียงแต่ทุกอย่างถูกนำมาผสมผสานจนกลายเป็น ‘ตังเมสถานการณ์’ ที่แทบจะกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน และทั้งหลายทั้งมวลมาจาก ‘รากเหง้า’ ปัญหาที่ไม่มีใครคิดอยากจับต้องเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้คนให้ได้อย่างถ่องแท้

 สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้เขียนต้องย้อนกลับไปพิจารณาตัวอย่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ภาคใต้ของ ‘ฟิลิปปินส์’ หรือแถบ ‘เกาะมินดาเนา’ ซึ่งปรากฏปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้มานานกว่า 3 ทศวรรษ โดยรากเหง้าของปัญหาจริงๆ นั้นมีการสันนิษฐานกันต่างๆ นานา ปมปัญหาหนึ่งก็คือเรื่องของชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ (ไม่รวมชาวมุสลิม) รวมกับพวกชนเผ่าดั้งเดิมที่เป็นชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศมีมากถึง 106 เผ่าพันธุ์ อาศัยกระจายอยู่ทั่วเกาะลูซอน วิสายาส์ และมินดาเนา โดยเฉพาะในเกาะมินดาเนามีประชากรที่ไม่ใช่ทั้งมุสลิมหรือคริสเตียนซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาต่างๆ กัน

สำหรับชาวมุสลิม ถือเป็นชาติพันธุ์ต่างหากที่เรียกกันว่า ‘โมโร’ (Moro) มาจากคำว่า Moors ที่สเปนใช้เรียกมุสลิมที่ต่อต้านสเปนขณะเข้าโจมตีทางใต้ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และ Moors คือกลุ่มชนที่เคยปกครองสเปนมาก่อนตามประวัติศาสตร์ของสเปน ต่อมาเมื่อสเปนเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาและเกิดการต่อสู้จากกลุ่มมุสลิมในพื้นที่ตลอดมา ซึ่งในทัศนะของ รศ.สีดา สอนศรี ในฐานะผู้วิจัยและเจ้าของผลงานหนังสือ “รัฐกับสังคมมุสลิมในฟิลิปปินส์ จากความขัดแย้งสู่ความร่วมมือ”

สะท้อนว่า เห็นด้วยกับความคิดของ McKenna (Thomas M. McKenna) ที่ว่า “การก่อกบฏของมุสลิมมิใช่เกิดจากการรุกรานที่ดินของสเปน แต่มาจากความรู้สึกชาตินิยมมากกว่า และการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในมินดาเนาของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่ว่า ดินแดนทั้งหมดในมินดาเนาเป็นดินแดนของบรรพบุรุษที่ตนจะต้องช่วงชิงคืนมาจากสเปนนั้น ก็ไม่น่าจะใช่สาเหตุสำคัญของความขัดแย้งในมินดาเนา เพราะรัฐบาลสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ได้แต่งตั้งผู้นำที่เป็นมุสลิมให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในท้องถิ่น เช่น ผู้นำท้องถิ่น (Principalia) หัวหน้าบารังไก (Cabezas de Barangay) และหัวหน้าเมือง (Gobernadorcillos) เป็นจำนวนมาก และผู้นำเหล่านี้ต่างพยายามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของสเปนด้วย เนื่องจากได้ทั้งตำแหน่ง ลาภ ยศ และเงินทอง จากสเปน”

 ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ที่มาที่ไปของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในฟิลิปปินส์ กล่าวกันว่าเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 โดยคนรุ่นหนุ่มที่ไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นนำ แต่มีการศึกษาสูง เนื่องจากได้รับทุนจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ให้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยของรัฐในมะนิลา คือที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (University of the Philippines – U.P.) และที่ประเทศอาหรับหลายประเทศ
จากหนังสือรัฐกับสังคมมุสลิมในฟิลิปปินส์ฯ รศ.สีดา สอนศรี สะท้อนข้อสรุปของ โจเอล เดอ ลอส ซันโตส (Joel De Los Santos) และ อัลเฟรโด ที. เทียมสัน (Alfredo T. Tiamson) ว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดขบวนการแบ่งแยกดินแดนในฟิลิปปินส์ อาจจะมาจาก

สาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
     1 เกิดจากกลุ่มนักการเมืองที่ต้องการแสวงหาอำนาจทางการเมืองทางภาคใต้
     2 เกิดจากกลุ่มชาวนาที่ต้องการช่วงชิงที่ดินคืนมาจากพวกคริสเตียนทางภาคใต้
     3 เกิดจากการที่ทหารและตำรวจ ใช้กระบวนการนี้เป็นเครื่องมือของการแก้แค้นระหว่างกัน
     4 เกิดจากความต้องการของผู้นำศาสนา ซึ่งใช้กระบวนการนี้เพื่อที่จะสร้างรัฐตามแบบอุดมการณ์อิสลาม
     5 เกิดจากอุดมการณ์ของคนรุ่นหนุ่มรุ่นสาว ที่นิยมมาร์กซิสต์ที่ต้องการจะกระทำหน้าที่ให้สังคมได้รับความยุติธรรม
     6 เกิดจากการชักชวนญาติและเพื่อนฝูง ให้เข้าร่วมในขบวนการด้วย

สรุปแล้ว ผู้นำของขบวนการนี้เมื่อพิจารณาแล้วประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาปัญญาชน กลุ่มนักการเมืองที่ทะเยอทะยานและไม่พอใจต่อสถานภาพของตัวเองในปัจจุบัน และกลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางศาสนาอย่างเหนียวแน่น ในความเป็นจริงแล้ว รากเหง้าปัญหาของขบวนการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ของฟิลิปปินส์ มาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนาระหว่าง ‘กลุ่มคริสเตียน’ และ ‘มุสลิม’ ที่เกิดมาตั้งแต่ครั้งอดีตผ่านการครอบครองอาณานิคมของสเปน รวมถึงการที่สหรัฐอเมริกาพยายามส่งชาวคริสเตียนลงไปทางใต้ เพื่อกล่อมเกลาชาวมุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิม ให้เป็นชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์ เพื่อเปลี่ยนศาสนาและสถาบันการบริหารให้เป็นแบบที่สเปนและอเมริกันต้องการ

 แม้เมื่อต่อมาได้รับเอกราชแล้ว ปัญหานี้ก็ยังสะสมอยู่ในภาคใต้ โดยที่รัฐบาลใหม่ก็ยังดำเนินการต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางเมื่อสมัยเป็นอาณานิคมปฏิบัติ ยิ่งทำให้ความไม่พอใจมีมากขึ้น” รศ.สีดา สอนศรี สรุปปม

 อย่างไรก็ตาม ผ่านความขัดแย้งมายาวนาน ถึงเวลานี้สถานการณ์ในประเทศฟิลิปปินส์มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อมีการลงนามข้อตกลงแผนสร้างสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์ภายในปี 2016 โดยนายมาร์วิค ลีโอเนน หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพของรัฐบาล และนายโมฮาเกอร์ อิคบัล ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front : MILF) โดยมีผู้นำฟิลิปปินส์ นายอิบราฮิม รวมถึงนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ผู้นำมาเลเซียในฐานะคนกลางของการเจรจา ร่วมเป็นสักขีพยาน เอกสารข้อตกลงขนาด 13 หน้า มีการลงนามกำหนดให้กลุ่มเอ็มไอแอลเอฟวางอาวุธและยุติความพยายามแบ่งแยกดินแดน แลกกับการได้อำนาจบริหารหลายพื้นที่ในเกาะมินดาเนาทางภาคใต้ สามารถกำหนดระบบภาษีของตนเอง และได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่รัฐบาลยังคงกำกับดูแลนโยบายความมั่นคงและการเงิน

 16 ปีแห่งความยุ่งยากของการเจรจาในฟิลิปปินส์ ช่วงเวลาที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้ถึง 150,000 คนจากคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย มีข้อสรุปที่เป็น ‘ความหวัง’ ชัดแจ้งแล้ว ผิดกับสถานการณ์ในพื้นที่ ‘ภาคใต้’ ของประเทศไทย ทั้งที่ปมปัญหาหลายอย่างใกล้เคียงกัน ที่มาที่ไปของปัญหาหลายอย่างใกล้เคียงกัน แต่ทำไมทางออกของปัญหาจึงดูยังห่างไกลลิบลับกันเสียเหลือกิน

ที่มา.สยามรัฐ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กลุ่มประกันวินาศฯ รับดูแลสต็อกข้าวเสี่ยงสูง-ไม่คุ้ม !!?


 กลุ่ม วินาศภัย แหยงประกันสต็อก ข้าวโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล “มิตซุย” เมินไม่ถนัดประกันภัยพืชผล ด้าน “กรุงเทพ-เมืองไทย” ชี้เพิ่มเงื่อนไขโจรกรรมทำเสี่ยงสูง แต่หากใช้เงื่อนไขเดิมคือ คุ้มครองอัคคีภัย-น้ำท่วม-ลมพายุยังรับไหว คงเหลือแค่ “ทิพย” ใจสู้แอ่นอกรับได้หมด ยกเว้นเงื่อนไข “หาย ไร้ร่องรอย” ส่อแววทุจริต

หลังจากภาครัฐและหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การ คลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาด เพื่อเกษตรกร (อตก.) ร่วมหารือ กับบริษัทประกันภัยถึงแนวทางการรับประกันภัยสต็อกข้าวสารตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนั้น

ล่าสุด นายวิชัย สันติมหกุลเลิศ รองผู้จัดการ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ จำกัด สาขาประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ทาง อคส. และ อตก.มีหนังสือมาถึงสมาคมฯ ให้เชิญชวนสมาชิกยื่นซองประกวด ราคา ซึ่งทางสมาคมฯ ได้แจ้งไปยังทุกบริษัทว่าสามารถยื่นได้โดยตรงที่ 2 หน่วยงานดังกล่าวตามความสมัครใจ โดยเงื่อนไขในการรับประกันภัยเป็นไปที่สมาคมฯกำหนด คือ 1.ประกันอัคคีภัย บริษัทประกันจะรับประกันในอัตรา 90% ของมูลค่าทรัพย์สินที่จัดเก็บในแต่ละคลังสินค้าที่เข้าร่วมและอีก 10% ที่เหลือผู้เอาประกันรับผิดชอบเอง 2.การประกันภัยโจรกรรม คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของทรัพย์สินอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ที่รู้สาเหตุความเสียหายรวมทั้งความสูญเสีย

นายวิชัย กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทมิตซุยฯนั้นยังไม่สนใจ เนื่องเพราะไม่ชำนาญประกันภัยพืชผล แต่หากไม่มีใครรับประกันแล้วหากสมาคมฯ ขอความร่วมมือให้ร่วมกันรับ 5 - 10% ก็พร้อม แต่เท่าที่ทราบมีหลายบริษัทเสนอตัวเข้าไป ทั้งนี้จากสถิติที่ผ่านมามีความเสี่ยงเกี่ยวกับไฟไหม้มากที่สุด

ด้านนายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็น “สยามธุรกิจ” ทางทิพยฯ สนใจเข้าไปรับประกัน โดยรับได้ทุกเงื่อนไข ยกเว้นการสูญหายแบบไร้ร่องรอย

“คณะกรรมาธิการฯ ได้เรียกเราเข้าไปคุยแล้ว เราก็บอกไปว่ารับเงื่อนไขได้หมด แต่ปฏิเสธเฉพาะไม่รับประกันการสูญหายแบบไร้ร่องรอย (Forcible) คือ ถ้าข้าวหายไปโดยไม่มีร่องรอยงัดแงะประตู-หน้าต่างเลย เราไม่คุ้มครอง หรือเราพิสูจน์ได้ว่าหายโดยเจตนา เกิดจากการฉ้อฉล เราก็ไม่รับเหมือนกัน” นายสมพรกล่าว และว่า ที่ผ่านมา ทิพยฯ รับประกันสะต็อกข้าวของอคส.หลายโครงการ ทั้งรับเดี่ยวและรับคู่กับบริษัทอื่น เช่น บมจ.กรุงเทพประกันภัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นคุ้มครองกรณีอัคคีภัย และภัยเปียกน้ำที่รับแบบมีซับลิมิต และพื้นที่เสี่ยงก็รับประกัน แต่อัตราเบี้ยก็อาจจะแตกต่างกันไปตามความเสี่ยงของพื้นที่

ด้านนายพนัส ธีรวณิชย์กุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.กรุงเทพประกันภัย ให้ความเห็น “สยามธุรกิจ”ว่า ที่ผ่านมาบริษัทรับประกันสต็อกข้าวของอคส.อยู่หลายโครงการ เช่นก่อนหน้านี้ก็รับประกันร่วมกับทิพยฯโดยหลักเป็นคุ้มการครองอัคคีภัย และภัยธรรมชาติ เช่น ลมพายุ เปียกน้ำ “สต็อกข้าวตามโครงการรับจำนำฯของรัฐบาล เราอาจไม่รับ เพราะเงื่อนไขเยอะ เบี้ยอาจจะแพง รัฐบาลก็อาจจะไม่เลือกเรา”

ขณะที่นายวาสิต ล่ำซำ รองกก.ผจก.บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สต็อกข้าวตามโครงการรับจำนำของรัฐบาลรอบนี้มีเงื่อนไข ความเสี่ยงสูง จึงไม่สนใจรับประกัน อย่างไรก็ตามหากเป็นเงื่อนไขเดิม คือ คุ้มครองอัคคีภัย น้ำท่วม และลมพายุ ก็ยังน่าสนใจ

“ที่ผ่านมาเราจะเลือกรับประกันในบางพื้นที่ดูตามความเสี่ยง เช่น ภาคกลางติดน้ำจะไม่รับ กรณีคุ้มครองอัคคีภัยก็จะดูสภาพโรงเรือนจัดเก็บเป็นอย่างไร ซึ่งเดิมก็พิสูจน์ยากอยู่แล้วกรณีข้าวเกรดต่ำ-เกรดสูงมาทำประกัน หากยิ่งเพิ่มเงื่อนไขก็ไม่น่ารับประกัน”

ด้านนายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม รอง กก.ผจก.ใหญ่ บมจ.วิริยะประกันภัย กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า ปีที่ผ่านมาบริษัทเคยเข้าไปรับประกันเป็นไปการเข้าไปร่วมกันรับประกันในนามสมาคมฯ แต่ปีนี้ให้ต่างคนต่างเสนอราคาเข้าไปเองบริษัทไม่มีความพร้อมมากพอจึงไม่ได้เสนอตัวไป อีกทั้งปีนี้มีความเสี่ยงสูงเพราะมีความคุ้มครองข้าวสูญหายซึ่งบริษัทคุ้มครองไม่ไหว เอาเข้าสัญญาประกันต่อยาก

“หลายปีก่อนการประกันสินค้าเกษตรจะมีความเสียหายในเรื่องของไฟไหม้เยอะ บริษัทประกันกลัวกันมาก สัญญาประกันต่อไม่อยากให้เอาเข้าไป”

นายนที พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บมจ.ไทยศรีประกันภัย ให้ความเห็นว่า ไทยศรีฯ ไม่สนใจโครงการนี้ เพราะควบคุมยาก แต่ถ้ามีระบบไซโลดีๆ ก็น่าสนใจ

แหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยรายหนึ่งให้ความเห็นว่า สิ่งที่บริษัทกลัวกันคือเวลาสต็อกข้าวเกิดไฟไหม้หรือสูญหายพิสูจน์ยากมีสินค้าอยู่จริงหรือไม่อย่างเมื่อ 2-3 ปีก่อนเกิดไฟไหม้สต็อกข้าวเสียหาย 100-200 ล้านบาทก็พิสูจน์ยาก

ที่มา.สยามธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไฟใต้ดับยากหรือง่ายถาม ลุงจิ๋ว..!!?


เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้... ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นสิ่งที่ยากจะรับได้ในความรู้สึกของสังคม
โดยเฉพาะกับความโหดเหี้ยมแห่งการกระทำ เป็นผลให้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้กลายเป็น 1 ในประเด็นแหลมคมที่สามารถใช้เล่นงานถล่มกันทางการเมือง หรือโจมตีรัฐบาลได้ในเรื่องที่ไม่มีฝีมือ ไม่มีปัญญาแก้ไข

ยิ่งหากเป็นพรรคการเมืองที่ไม่มีฐานเสียงในภาคใต้ ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเมื่อไหร่ ก็ต้องโดนโจมตีเรื่องการแก้ปัญหาไฟใต้เมื่อนั้น เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด และก็ไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองที่มีเสียงมี ส.ส.ในภาคใต้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลแล้วปัญหาจะไม่เกิด ก็เกิดขึ้นเหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่เพราะว่ามี ส.ส.ภาคใต้อยู่ในมือก็เลยพลิ้วได้มากกว่า

และคงไม่มี ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้คนไหน จะตั้งกระทู้สด หรืออภิปรายไม่ไว้วางใจปัญหาเรื่องนี้ในตอนที่พรรคของพวกตนเองเป็นรัฐบาลแน่ๆ แต่ถ้าเป็นพรรคการเมืองอื่นเป็นรัฐบาลเมื่อไหร่ ส.ส.ภาคใต้เหล่านี้จะทำหน้าที่อย่างแข็งขันทันที

ที่สำคัญหากสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า ในความร้อนแรงของไฟใต้ผู้ที่รับเคราะห์คือ เด็ก ครู ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่รัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่เคยมีนักการเมืองในพื้นที่ได้รับเคราะห์ใดๆเลย เหมือนกับว่าแม้แต่ผู้ก่อการร้ายภาคใต้เองก็ยังเว้นไว้ให้ ส่วนจะด้วยเหตุผลอะไรก็สุดจะเดา

ยิ่งไปกว่านั้นในพื้นที่ภาคใต้ยังมีปัญหาความลึกลับซับซ้อนซ่อนเงื่อน ที่เกี่ยวพันกับอิทธิพลและผลประโยชน์ทั้งในแง่การเมืองและเศรษฐกิจแทรกซ้อนมายาวนาน ทั้งเรื่องน้ำมันเถื่อน เรื่องสินค้าหนีภาษี เรื่องงบประมาณ เรื่องผู้มีอิทธิพล ฯลฯ จึงทำให้ปัญหาในภาคใต้เป็นปัญหาที่ลากต่อเนื่องยาวนาน
อย่างไรก็ตามสำหรับบรรดาบุคคลที่มีสำนึกรักประเทศไทย เมื่อเห็นว่าวันนี้ดูเหมือนปัญหาไฟใต้ยิ่งถูกโหมกระพือมากขึ้น ทำให้รุนแรงขึ้น จะโดยหวังผลของการสร้างอิทธิพลเพื่อให้เกิดการยอมรับในอำนาจ หรือเพราะมีประเด็นการเมืองแฝงในเรื่องของการโค่นล้มรัฐบาล ในเรื่องของการเปลี่ยนขั้วการเมืองด้วยหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่น่าคิดทั้งนั้น

ทำให้เมื่อทนดูความรุนแรงของปัญหาไฟใต้ไม่ได้ บรรดาผู้ที่เคยทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติมาแล้ว อย่าง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เจ้าของนโยบาย 66/2523 เจ้าของการสร้างตำนาน “ฮารับปันบารู” ก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าคงต้องมีการพยายามทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขเยียวยาสถานการณ์ไฟใต้ให้ดีขึ้น หากขืนยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เมืองไทยมีโอกาสจบได้เหมือนกัน?!?

ประจวบกับที่จะมีการจัดงาน “แนวร่วมประชาธิปไตยร่วมใจพัฒนาชาติ”เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการเชิญ พล.อ.ชวลิต ไปเป็นหนึ่งในวิทยากรผู้ให้ความรู้ ถึงจังหวัดสงขลาเลยทีเดียว ส่วนวิทยากรอีก 3 คน ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องภาคใต้และเรื่องการเมืองมาเป็นอย่างดี

ไม่ว่าจะเป็น นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตแกนนำ นปช. และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวันมูหะหมัด นอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีมหาดไทย และยังมีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง พร้อมทีมงานทีวีเอเชียอัพเดท จะลงไปที่ โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ ต.บ้านคู อ.จะนะ จ.สงขลา ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม นี้ เพื่อถกกันเกี่ยวกับเรื่องแนวทางในการแก้ไขปัญหาไฟใต้ และการสร้างการเมืองที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้น

งานนี้ตกเป็นเป้าสายตาในทันที เนื่องจากทั้ง 4 คน ล้วนเป็นดาวฤกษ์ในวงการการเมือง ที่สามารถเปล่งแสงสว่างให้กับตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปพึ่งพาใครเหมือนกับนักการเมืองประเภทดาวเคราะห์บางจำพวกที่ชอบเกาะขบวนดัง

เมื่อ 4 ดาวฤกษ์ หลากหลายรุ่นมารุมถกกันเรื่องประชาธิปไตย เรื่องปัญหาไฟใต้ เรื่องทิศทางการเคินต่อไปข้างหน้าของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีคนอยากฟังแนวคิดเป็นอย่างมาก

แต่สำคัญที่สุดก็คือ หลังจากระดมสมองแล้ว ขั้วรัฐบาลจะสนับสนุนความคิดในการแก้ไขปัญหาไฟใต้หรือไม่??? พรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่โดยตรงจะเปิดใจกว้างรับฟัง และให้ความร่วมมือในฐานเจ้าของพืนที่มากน้อยเพียงใด

เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องไม่ลืมว่า ในอดีตพรรคความหวังใหม่ของ พล.อ.ชวลิต ก็คือ คู่ปรับทางการเมืองของประชาธิปัตย์ ที่เคยทำให้ประชาธิปัตย์เจ็บปวดมาแล้ว กับการสูญเสียเก้าอี้ ส.ส.ภาคใต้ให้กับความหวังใหม่มากถึง 14 เก้าอี้

ในขณะที่พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง ก็ไม่ต่างไปจาก “ขมิ้นกับปูน”ทางการเมืองสำหรับประชาธิปัตย์เลยสักนิดเดียว

เพียงแต่หากจะเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ก็ควรจะต้องละทิฐิ และละวางการเผชิญหน้าในลักษณะของ 2 ขั้วต่างทางการเมืองออกไปเสียก่อน มาร่วมมือกันแก้ปัญหาไฟใต้เพื่อให้คนใต้อยู่อย่างมีความสุข ไม่ต้องหวาดผวาหวาดกลัวไฟใต้เหมือนอย่างที่ผ่านๆมาให้ได้เสียก่อน

เมื่อไฟใต้สงบ คนใต้มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว ค่อยมาแข่งขันกันในเกมการเมืองในเกมประชาธิปไตยกันใหม่... นั่นคือแนวทางที่พรรคการเมืองทั้งหลายควรทำ ไม่ใช่คอยทำลายล้าง คอยตีรวน คอยปัดแข้งปัดขากันเพื่อหวังผลทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าประชาชนจะเดือดร้อนอย่างไร

ซึ่งสำหรับแนวทางปัญหาไฟใต้ใน 3 จังหวัดนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า มีความเชื่อมั่นว่าหากได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายแล้ว ก็สามารถที่จะแก้ไขทุเลาปัญหาไฟใต้ ไปจนกระทั่งถึงดับไฟใต้ลงได้ในที่สุด เพียงแต่ทุกฝ่ายจะต้องเห็นสอดคล้องต้องกันในยุทธวิธีของการแก้ไขปัญหาไฟใต้ให้ได้เสียก่อน
โดยบิ๊กจิ๋วบอกว่า จนถึงขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าการใช้กำลังทางทหารเข้าไปแก้ไขปัญหาไฟใต้นั้นแก้ไม่ได้ รวมทั้งที่บอกว่าจะแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยเศรษฐกิจ เพิ่มสิทธิพิเศษต่างๆเข้าไปมากมาย แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะในเมื่อเป็นปัญหาความรู้สึกเป็นปัญหาการเมือง ก็ต้องใช้การเมืองแก้ให้กลับมามีความรู้สึกที่ดี ว่าเราให้โอกาสพวกเขามาช่วยกันพัฒนาชาติ

ฉะนั้นที่บอกว่าแก้ปัญหามาถูกทางแล้ว ต้องถามว่าถูกทางอะไร ถูกทางไปลงนรกกันหมดหรือเปล่า ถ้าถูกทางทำไมยังมีเหตุการณ์รุนแรงขนาดนี้ ทำไมยังต้องถมงบประมาณกันเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาทแบบนี้ การใช้งบประมาณทำสงครามลักษณะนี้ อเมริกาเคยพังมาแล้ว ทุ่มงบประมาณเท่าไหร่ใช้ระเบิดใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เท่าไหร่ ก็เอาชนะสงครามเวียดนามไม่ได้ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดมาแล้ว จะมาบอกว่ามาถูกทางกันอีกอย่างนั้นหรือ”พล.อ.ชวลิตตั้งคำถามแบบจัดหนัก

หลายคนอาจจะมองว่า พล.อ.ชวลิต ไม่เห็นมีอะไร ก็อาจจะใช่ในแง่ของฐานะ ในแง่ของอำนาจการเมืองในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ในแง่ของความคิดอย่างแน่นอน

จะต้องไม่ลืมว่า ไม่ใช่เพราะ พล.อ.ชวลิต คนนี้หรือ ที่ใช้สมองนำเสนอนโยบาย 66/2523 จนทำให้บรรดาผู้ต่อต้านทั้งหลายยอมวางอาวุธ หันกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติ เป็นการใช้การเมืองแก้ปัญหาการเมืองที่โดดเด่นที่สุด

และอย่าลืมว่าครั้งหนึ่ง ด้วยวิธีคิดและมันสมองมิใช่หรือที่ทำให้พรรคความหวังใหม่สามารถเจาะฐานเสียงเจาะพื้นที่ ส.ส.ภาคใต้ เอาชนะพรรคประชาธิปัตย์มาได้ถึง 14 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดทำกับประชาธิปัตย์ได้ขนาดนี้มาก่อนเลย

การที่ พล.อ.ชวลิตเสนอให้ใช้การเมืองแก้ปัญหาไฟใต้แทนการใช้กำลังทหาร เพื่อยุติความรุนแรง แล้วสร้างให้คนในพื้นที่เห็นถึงการยอมรับของสังคม ผ่านรูปแบบของการเป็นมหานครปัตตานี ซึ่งไม่ใช่การแยกประเทศไม่ใช่การแบ่งแยกดินแดน แต่เป็นการให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ที่ยาวนานระดับโลกของมหานครปัตตานี ให้คนในพื้นที่ภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของพวกเขา และให้เห็นว่าคนไทยพุทธให้การยอมรับในความสำคัญและพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ... นี่คือหัวใจสำคัญในการดับไฟใต้

ครั้งหนึ่งได้คิดสร้างการยอมรับในการที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับคำว่า “ฮารับปันบารู”มาแล้ว คือให้เขามองเห็นความหวัง มองเห็นอนาคต ครั้งนี้พี่คิดว่าเราต้องสร้างการยอมรับให้เขาเห็นว่าเราให้เกียรติในเกียรติภูมิแห่งอดีตของเขา ด้วยคำว่า “นูซันตารา” หรือนครแห่งเกียรติภูมิ ซึ่งถ้าทำได้ปัญหาไฟใต้ก็จะจบลงได้”พล.อ.ชวลิตระบุด้วยความเชื่อมั่นและมั่นใจอย่างเปี่ยมล้น

ซึ่งในขณะที่ไฟใต้โหมรุนแรงอย่างหนัก และยังไม่มีวิธีการใดที่จะหยุดยั้งได้ ต้องสูญเสียงบประมาณและกำลังคน สูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจไปมากมายมหาศาลโดยที่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย ทำไมจึงไม่คิดจะลองทำตามแนวคิดของเจ้าของแผนปฏิบัติการ 66/2523 อันลือลั่นที่เคยสำเร็จมาแล้วบ้าง

วันนี้พรรคเพื่อไทย รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่ามองข้ามคนชื่อ พล.อ.ชวลิต และพวกพ้องมวลหมู่มหามิตร และพี่น้องของบิ๊กจิ๋วเป็นอันขาด

ใช่พล.อ.ชวลิตอาจจะไม่มีอำนาจบารมีเหมือนในอดีต วันนี้คนระดับอดีตนายกฯ ระดับอดีตผบ.ทบ. ผบ.สส. แค่ขอความอนุเคราะห์ให้การเมืองช่วยดูแลลูกน้องระดับซี 6 ซี 7 อาจจะดูว่ายังยากเลย เพราะคนการเมืองรุ่นใหม่ที่กระหายผลประโยชน์พากันมองข้ามไปหมด ไม่ให้ราคาให้ความสำคัญ

มีคนไม่น้อยที่เชื่อว่า พล.อ.ชวลิต ที่เคยสูงสุดทางการเมือง จะต้องร่ำรวย จะต้องได้รับผลประโยชน์ทางการเมืองมากมายมหาศาล เพราะในยุคปัจจุบันแค่นักการเมืองเด็กบางคน ที่ไม่ต้องยิ่งใหญ่เหมือนบิ๊กจิ๋วในอดีต ยังรวยได้แบบไม่มีเหตุผลไม่มีที่มาที่ไปเป็นพันล้านหมื่นล้าน ในขณะที่วันนี้ใครที่คิดว่า พล.อ.ชวลิตรวย ล้วนหน้าหงายในความเข้าใจผิดไปหมด เพราะไปตรวจดูเทาไหร่ก็จะไม่เจอว่าบิ๊กจิ๋วไปทำธุรกิจอะไรกับใคร ไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจเจ้าของบริษัทอะไรเลย

นี่คือบิ๊กจิ๋วที่มัวแต่คิดว่าจะทำประโยชน์อะไรให้บ้านเมือง เลยทำให้นักการเมืองรุ่นหลังรยข้ามหัวกันไปหมดชนิดไม่เห็นฝุ่น

วันนี้บิ๊กจิ๋วทนเห็นสภาพปัญหาไฟต้ที่รุนแรง และห่วงกลัวว่ายิ่งนานวันประเทศจะยิ่งย่ำแย่ จึงได้เสนอความคิดออกมา ก็อยู่ที่รัฐบาล อยู่ที่ฝ่ายค้าน อยู่ที่ ส.ว. อยู่ที่บรรดาผู้นำเหล่าทัพทั้งหลายแล้วว่า จะนำหลักคิดที่ว่า ถึงเวลาต้องใช้การเมืองแก้ปัญหาการเมือง ด้วยการสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้น มาใช้ในการแก้ปัญหาครั้งนี้หรือไม่

บู๊ลิ้ม...แม้จะบอกว่าคลื่นลูกหลังทยอยไล่คลื่นลูกแรก แต่บู๊ลิ้มก็ไม่เคยมองข้ามประสบการณ์และความคิดของคนรุ่นอาวุโส... ฉะนั้นวันนี้รัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ คงต้องถามตัวเองอย่างจริงๆจังๆแล้วว่า

อยากเห็นไฟใต้สงบหรือไม่.... ถ้าอยากก็ลงมือทำจริงๆ... เลิกทำด้วยปากกันได้แล้ว

ที่มา.บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

บีโอไอชงรื้อ ก.ม.เว้นภาษีเงินได้เกิน 8 ปี !!?


บีโอไอเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นภาษีเงินได้มากกว่า 8 ปี ดึงดูดการลงทุนศักยภาพสูงแข่งต่างประเทศ

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวในงานสัมมนายุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ : เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน วานนี้ (24 ม.ค.) ว่า ผู้ประกอบการกังวลถึงผลกระทบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว ยืนยันว่าโครงการเหล่านี้ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จนกว่าจะครบกำหนด ยกเว้นกิจการใหม่ที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนหลังจากยุทธศาสตร์ใหม่ประกาศบังคับใช้จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายใหม่

สำหรับร่างยุทธศาสตร์ใหม่กำหนดตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกำหนดให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปี แต่ครั้งนี้บีโอไอเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำหนดสิทธิประโยชน์ โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้มากกว่า 8 ปี เพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีศักยภาพสูงแข่งกับประเทศคู่แข่ง และปรับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 50% เป็นไม่เกิน 90% เพื่อเป็นทางเลือกในการให้สิทธิประโยชน์ รวมทั้งยกเว้นภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา และสร้างเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนใหม่ เช่น การอุดหนุนเงินสำหรับการวิจัยและพัฒนา

นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจะเพิ่มการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ ซึ่งกฎหมายปัจจุบันให้สิทธิประโยชน์เฉพาะการลงทุนในประเทศ โดยให้นักธุรกิจรับสิทธิประโยชน์ของประเทศที่เข้าไปลงทุน โดยการแก้กฎหมายต้องใช้เวลาจึงกำหนดสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิมไปก่อน ถ้าแก้กฎหมายแล้วเสร็จจะปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพิ่ม

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++