พระวินย์ สิริวฑฺฒโน (พระป๊อป) เรื่องของสตินั้นสำคัญ
พระวินย์ สิริวฑฺฒโน จบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยกอ่นท่านบวชนั้นท่านคลุกคลีกับงานจิตอาสามา 6-7 ปี
สามารถกดฟังการสัมภาษณ์ได้จากเวป Transform Thailand คลิกที่นี่
ทั้งนี้ทาง siamintelligence อยากเชิญชวนเพื่อนๆเข้าไปคลิก Like Facebook โครงการ Transform Thailand อีก1ชุมชนในการแลกเปลี่ยนมุมมองของคนรุ่นใหม่ เพื่อที่เราจะก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน

SIU: พระป๊อป ปัจจุบันอายุ 29 ปี ไม่ทราบว่าพระป๊อปบวชมานานรึยังครับ
ตอนนี้บวชมาได้ 3 พรรษา และกำลังย่างเข้าสู่ พรรษาที่ 4
SIU: ก่อนที่จะบวชเป็นพระ ก่อนหน้านั้นทำอะไรอยู่ครับ
ตอนที่เป็นฆราวาสตั้งแต่ที่เรียนจบมาได้มีโอกาสไปทำงานให้กับเครือข่ายจิตอาสาตอนช่วงของสึนามิ โดยหลังจากสึนามิใหม่ๆ เราได้มีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ประสานงานของเครือข่ายจิตอาสา เพราะเป็นกลุ่มที่มองกันว่าหลังจากเหตุการณ์สึนามิควรจะมีการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ทำงานอาสาสมัครในเวลานั้นเพื่อที่จะทำงานขับเคลื่อนงานจิตอาสาต่อไป เพราะเรามองว่าเรื่องงานสึนามิเป็นเพียงแค่วิกฤติครั้งหนึ่งในสังคมเท่านั้นแต่จริงๆ แล้ววิกฤติต่างๆ ในสังคมยังมีอยู่อีกเยอะมาก แล้วการที่เราจะประคับประคองหรือการที่ต่อยอดงานอาสาสมัครได้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่จำเป็นขององค์กรเครือข่ายจิตอาสา
เราจึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้เรื่องของงานอาสาสมัครไม่ใช่แค่พอมีเรื่องของภัยพิบัติมาแล้วก็จบไปคนก็จะหายไป แล้วเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมาอีกคนจึงค่อยมารวมตัวกันอีก เราจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้งานของจิตอาสามีความต่อเนื่องได้ นั่นก็เลยเป็นที่มาตอนที่เราเข้าไปช่วยเหลือกันไม่ว่าจะทำงานทั้งในเชิงของการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานอาสาสมัคร และการจัดการองค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ
แล้วก็การทำงานเรื่องของเครือข่ายให้พวกเราได้รู้กัน เพราะว่างานจิตอาสาจริงๆ แล้วต้องเข้าใจว่าองค์กรที่ทำงานนี้มีความหลากหลาย บางคนจะทำงานแบบเต็มรูปแบบ หรือเต็มเวลา หรือมูลนิธิกระจกเงาก็จะทำในเรื่องภัยพิบัติเป็นหลักรวมถึงเรื่องของโรงพยาบาลจิตอาสาด้วย ซึ่งองค์กรอาสาสมัครในปัจจุบันก็มีเยอะ ประมาณ 10 กว่าองค์กรและก็มีจุดยืนร่วมในเรื่องของการส่งเสริมงานอาสาสมัครแต่ในเรื่องของบริบทที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาของสังคมก็จะขึ้นอยู่กับความถนัดและกำลังใจของแต่ละองค์กรนั้นๆ
SIU: ดูจากประวัติการศึกษาของพระป๊อปพบว่าจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งตอนที่เป็นฆราวาสนั้น อยากทำอาชีพอะไรครับ
จริงๆ ตอนแรกที่เรียนปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า BE ก็ทำให้เราได้วิธีคิดมุมมองของทั้งโลก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ แล้วเราก็นำไปเชื่อมโยงกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือสังคม ซึ่งในช่วงที่เรียนปริญญาตรีได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมนักศึกษาหลายอย่าง จึงทำให้เราได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรให้เศรษฐศาสตร์ เรียกได้ว่ามีชีวิตชีวา ไม่ใช่แค่เรื่องของตำรา
แต่ก็ต้องขอออกตัวก่อนนะว่าตัวเองก็ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็ยอมรับว่าตัวเองจบมานั้นถ้าเทียบกับเพื่อนหลายๆ คนตัวเองก็ไม่ได้นำวิชาเศรษฐศาสตร์โดยตรงมาใช้อย่างเต็มที่ แต่เราก็นำเอาแนวคิดของเศรษฐศาสตร์มาช่วยคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างไรบ้าง โดยในหลายๆ ครั้งตอนที่เรียนอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ก็จะมีรุ่นพี่บอกว่าเศรษฐศาสตร์ต่างจาก บัญชี พาณิชย์ ธุรกิจ คือ เศรษฐศาสตร์จะมองในระดับ Macro(มหภาค) และ Micro(จุลภาค) แล้วเวลาคิดจะไม่ได้คิดแค่ Profit ในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียวแต่เรามองถึงกำไรของประเทศด้วย ซึ่งก็หมายถึง มองผลประโยชน์ของชาติด้วย
ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะมองเพียงกำไรในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เราจะมองว่าสังคมจะเป็นอย่างไรหรือผลกระทบต่อสังคมจะเป็นอย่างไรด้วย ซึ่งพอได้มาเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เราก็ได้รู้จัก EIA และ SIA เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ทราบว่าจริงๆ แล้ว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถที่จะวัดผลได้ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
แต่ถึงกระนั้นเราก็ได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าคุณจะเรียนมาเยอะขนาดไหนก็ตาม สุดท้ายจริงๆ แล้วอยู่ที่จิตสำนึกมากกว่ายกตัวอย่างเช่น กรณีของมาบตาพุด หรือกรณีของนิวเคลียร์ ซึ่งหลายครั้งในพัฒนาการทางสังคมที่พบเห็นได้ คือ เราจะพูดเรื่องของความเก่ง ความดี มีความสุข ซึ่งจริงๆ แล้วทุกคนต้องการมีความสุขทั้งนั้น โดยเราก็เชื่อว่าความเก่งจะนำมาซึ่งความสุข แต่ในปัจจุบันมีกระแสว่าความเก่งเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความดีด้วยจึงเริ่มพัฒนามากขึ้น หากเราพิจารณาจากพัฒนาการต่างๆ จะพบว่าการส่งเสริมเรื่องความดีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคุณธรรมและจริยธรรมนั้นน้อยมาก
เราจะเห็นว่า ทำไมคนเก่งถึงไม่ใช่คนดี หลายๆ ครั้งคนที่จบการศึกษาในระดับสูงๆ มักจะไม่ค่อยดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนนะ มีข้อสงสัยอย่างหนึ่งคือในอดีตสังคมไทยในชนบทมีความเชื่อว่า พอให้ลูกมีการศึกษาในระดับที่สูง อัตราการเป็นอาชญากรจะลดลงหรือมีโอกาสในการทำความผิดน้อยลง แต่ในปัจจุบันเมื่อคนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น มีระดับการศึกษาสูงขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะไม่ได้ติดคุกแต่เขาก็มีวิธีการอื่นๆ ที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมายในแง่ของการที่เขาทำความผิดในเชิงระบบมากขึ้นซึ่งกลายเป็นว่าจะส่งผลกระทบต่อสังคมมากกว่าคนที่ไม่ดีในเชิงปัจเจกหรือคนชั่วทั่วๆ ไป
ดังเช่นที่เราได้เห็นข่าวเรื่องการบุกรุกทำลายป่าที่ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ซึ่งชาวบ้านเข้าไปขโมยตัดไม้มาเผาถ่าน ซึ่งจริงๆ อาจจะไม่ใช่การขโมยเพราะเป็นวิถีชีวิตของเขามานาน แล้วก็โดนจับโดนปรับ แต่ในขณะที่บางแห่งตัดไม้แล้วขนออกมาเป็นคันรถเลยแต่ไม่โดนจับ นั่นแสดงถึงอะไร ซึ่งตอนที่เป็นนักศึกษาได้มีโอกาสไปทำเรื่องบูรณะชนบท ได้ออกค่ายไปศึกษาชนบทในช่วงเวลาหนึ่ง ก็พบว่าในหลายๆ ครั้งวิชาเศรษฐศาสตร์เองไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ จนกระทั่งในปัจจุบันได้เรียนรู้ด้านของเศรษฐศาสตร์ในแนวพุทธ ซึ่งก็คือเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้เราได้เข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์นั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วจึงมาจับในเรื่องของงานอาสาสมัครนี่แหละ
SIU: อะไรที่ทำให้พระป๊อปตัดสินใจบวช และสามารถจำพรรษาอยู่ได้เป็นเวลานาน
คือตอนนั้นเอง ก็ได้เรียนจบและทำงานให้กับเครือข่ายจิตอาสาที่มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย เรียกว่าทำงานตามรอยอาจารย์ ป๋วย อึ้งภากร ก็คือเรียนรู้ว่าอาจารย์ ป๋วย ทำงานอะไรและท่านมีร่องรอยอะไรไว้ให้เราได้เรียนรู้บ้าง ซึ่งพอทำมาได้สักระยะหนึ่งคิดว่าทุกคนก็คงรู้จักเรื่องของงานจิตอาสา โครงการด้านจิตอาสาต่างๆ ก็เติบโตมากขึ้น จริงๆ แล้วแต่ก่อนก็เป็นเรื่องของกระแสงานด้านจิตอาสาเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ยกระดับจากการเป็นเพียงแค่กระแสงานจิตอาสา กลายเป็นกระแสของสังคมเป็นการจริงจังมากขึ้น ซึ่งก็ทำงานตรงนี้มา 7 ปี
ก็ได้เห็นการเติบโตของงานด้านจิตอาสาและก็ยังคงมีการเติบโตต่อไปในอนาคตเพราะเกิดความตื่นตัวทางสังคม ไม่ว่าจะมาจากเหตุปัจจัยของภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของเศรษฐกิจ หรือปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทุกอย่างได้รุมเร้าให้คนต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์วิธีคิดใหม่ ซึ่งสิ่งนี้เองก็ส่งผลกระทบถึงจิตสำนึกภายในด้วย คนก็มีการตื่นตัวมากขึ้นโดยจะเห็นได้จากการที่มีกระแสเจริญสติ แต่อาจจะเป็นเรื่องของฆราวาสมากกว่า ซึ่งกระแสนี้ก็ควบคู่กันไปทั้งภายในและภายนอก ดังคำพูดที่ว่า การระเบิดภายในออกมา แต่ส่วนตัวของเรานั้นการที่เราทำงานด้านสังคม เราก็จะมีความคาดหวังเยอะ และเราก็จะผิดหวังกับเรื่องภายนอกเยอะเพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
ซึ่งจริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าก็บอกไว้ว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ ซึ่งคนที่ทำงานด้านสังคมก็จะเจอกับความผิดหวังเยอะ รวมถึงตัวของเราเองด้วยซึ่งเราก็ยอมรับว่าในตอนนั้นก็ยังไม่ถึงตามที่เราตั้งใจไว้ แต่มันก็มีข้อดีคือทำให้เราเห็นว่าความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่สังคม แต่ความทุกข์มาจากตัวของเราเองเพราะเรามีความคาดหวัง ใจเราไปยึดติดทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เรายอมรับว่าในช่วงนั้นเรายึดติดว่าสิ่งที่ดีนั้นยังไม่พอมันต้องดีกว่านี้ แต่ในหลายๆ คนอาจจะมองว่ามันดีแล้วนะ ซึ่งเหมือนกับว่าหากเรามีฉันทะ กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเยอะเราก็จะอยู่กับมันตลอด ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เราหมกมุ่นกับมันเกินไปแม้แต่ความดีก็ตาม ทีนี้หลายครั้งเองเมื่อเราวางใจไม่เป็นเราก็พบว่าเราเกิดความทุกข์ขึ้น
แต่ข้อดีของเราก็คือ เรามีฐานของธรรมะบ้างก็ทำให้เราประคับประคองทำงานต่อไปได้ คนอื่นๆ จะเห็นว่าภาคสังคมเป็นภาคที่หากไม่มีแรงดึงดูดในเชิงจิตวิญญาณหรือเชิงภายในก็จะถูกดึงไปกับเรื่องของธุรกิจบ้าง ซึ่งบางคนก็จะผันตัวไปทำธุรกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีนะ ทำให้เราได้เห็นว่าภาคสังคมกับภาคธุรกิจมันไปด้วยกันได้ แต่ส่วนตัวของเราเองก็ไม่ใช่นักค้ากำไร ไม่ได้สนใจเรื่องของเงินทองเป็นที่ตั้ง ก็เลยทำให้เราทำงานไม่ง่าย และคิดว่าน่าจะลองพักบ้าง อยากจะมีเวลาได้ทบทวนตัวเองได้มากขึ้นว่าที่ทำงานมา 6-7 ปีนั้นเราได้ทำอะไรไปบ้าง แล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง คล้ายๆ กับว่าหลายๆ ครั้งเวลาเราทำงานไปเราจะเข้าไปอินกับมัน หรือวิ่งตามโลกหรือตามงานต่างๆ ที่เข้ามา
เราจะไม่ใช่เป็นผู้ดู แต่พอเราได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องธรรมะมากขึ้น ก็ทำให้เราเห็นการเป็นผู้ดูหรือผู้สังเกตการณ์มากขึ้น และก็ทำให้เรามีความนิ่งมากขึ้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจบวช ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิตนะ จริงๆ การบวชแล้วสึกก็เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของพระพุทธศาสนาแบบไทยๆ ซึ่งเดิมตามพระวินัยนั้นการบวชคือบวชตลอดชีวิตเลย แต่ในช่วง 700 ปีที่ผ่านมา คติของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สุโขทัยเป็นต้นมาก็จะมีคติว่า พระมหากษัตริย์จะบวชชั่วคราวแล้วก็กลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์และกลายเป็นธรรมราชาตามคตินิยมเดิม ซึ่งก็เป็นการดีเพราะคนที่ผ่านการบวชแล้วนั้นอย่างน้อยจะเข้าใจในเรื่องของศีล 5 เข้าใจเรื่องบุญ – บาป เข้าในเรื่องของการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ซึ่งในปัจจุบันคนในสังคมมีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มาก ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การมองว่าคนที่ผ่านการบวชแล้วจะเป็นคนดี แต่คนที่ผ่านการบวชแล้วจะเข้าใจโดยตัวของเขาเองว่าความดีคืออะไร ความชั่วคืออะไร ไม่ใช่ความเข้าใจเรื่องของกรรมที่ผิดเพี้ยนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งนี่ก็เป็นข้อดีของการบวช ซึ่งตอนที่บวชนั้นพระอาจารย์เจ้าอาวาสวัดระฆังได้เมตตาให้เราไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ไพศาล จำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามหาวัน
ซึ่งเป็นแนวทางตามหลวงพ่อเทียน คือการเจริญสติภาวนา ก็พบว่าแนวทางนี้นั้นเป็นการเจริญสติแบบใหม่ ที่ทำให้เราได้เรียนรู้การรู้สึกตัวมากขึ้น และผลที่ได้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งก็มีสิ่งที่ทำให้เราได้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือสังคมมากขึ้น ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้วก็คิดว่ายังมีโอกาสได้เรียนรู้อยู่ แล้วงานที่ทำอยู่ก็ยังมีน้องๆ ที่ยังพอทำกันได้ เราก็เลยคิดว่าเราควรจะเรียนรู้ต่ออีกสักหน่อย เพราะจริงๆ การบวชนั้นก็คือการศึกษา เป็นการศึกษาในเรื่องของพระธรรมวินัย ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา และสุดท้ายก็คือการศึกษาเรื่องของกายนี้ ใจนี้ เป็นเรื่องของตัวเราเอง ให้เราเข้าใจได้มากขึ้น
SIU: มีปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้างครับ
เวลาเราพูดถึงปรัชญานั้น โดยหลักแล้วจะเป็นเรื่องของความคิด แล้วส่วนใหญ่นักปรัชญาทางตะวันตกก็จะมีกับดักทางความคิดทั้งนั้น ซึ่งเมื่อเราพูดถึงเรื่องของปรัชญาก็จะขอกล่าวถึงปรัชญา บนพื้นฐานของตะวันออก โดยปรัชญาบนพื้นฐานของตะวันออกจะเน้นเรื่องการไปให้พ้นความคิดมากกว่า หลายครั้งเราจะตกเป็นทาสทางความคิด คือคิดเรื่องตนเอง คิดเรื่องคนอื่น จนฟุ้งซ่าน และจมอยู่กับเรื่องภายนอก แล้วเราก็จะเรียกว่าปรัชญา แต่ตัวศาสนาพุทธเอง หรือสิ่งที่เรียกว่าธรรมวินัยเองนั้น ไม่ใช่เรื่องของปรัชญา แต่ใครจะตีความเป็นปรัชญา หรือเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของการเมือง ก็เป็นเรื่องของเขา
ส่วนปรัชญาในความคิดของเราก็คือการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน มีชีวิตอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เราก็พยายามมีชีวิตอย่างเป็นปกติที่สุด พยายามดำเนินตามศีลที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ได้อย่างครบถ้วน ถึงแม้จะมีบกพร่องไปบ้าง แต่ก็จะพยายามให้ครบ แล้วก็จะพยายามเจริญสมาธิภาวนา เจริญสติ
หากถามว่าสิ่งเหล่านี้คือปรัชญาหรือไม่ มันก็เป็นสิ่งที่ทำอยู่ คือการพยายามทำให้เป็นวิถีได้นั่นคือปรัชญาการดำเนินชีวิตของเรา คือทำอย่างไรให้สิ่งที่ตนเองคิดนั้นออกมาเป็นวิถีชีวิต หรือเป็นการกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพราะเวลาที่เราคิดเรามักจะไม่ค่อยกระทำกัน แม้แต่การคิดดีก็ไม่ทำ แต่สิ่งที่ไม่คิดในบางครั้งกลับไปทำชั่วๆ ก็มี เพราะฉะนั้นเรื่องของสตินั้นสำคัญ เราจะทำอย่างไรให้เราเจริญสติ หรือมีสติอยู่ได้ในทุกขณะ นี่แหละเป็นปรัชญาของเรา
SIU: หากมองในทางโลกคนที่เป็นฆราวาสจะต้องมีแรงขับเคลื่อนเพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งในส่วนของพระ
ป๊อปที่เป็นพระสงฆ์ มีแรงขับเคลื่อนในชีวิตอะไรบ้างครับ
ในตอนแรกที่เราทำงานเพื่อสังคมก็อยากจะให้คนอื่นพ้นทุกข์ อยากช่วยเหลือคนอื่น อยากทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ค้นพบว่าสิ่งที่เราตั้งใจทำอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ดีแต่ยังไม่ใช่ที่สุด เพราะเรายังทุกข์กับคนอื่นอยู่และจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ได้โดยที่เราก็มีความสุขมากขึ้นด้วย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราทำอยู่คือทำอย่างไรให้เราสงบเย็น และเป็นประโยชน์ คือมีความสุขด้วย แต่ไม่ใช่ความสุขทางโลกมากนัก คือเป็นความสุขแบบละเอียดหน่อย เช่น เห็นคนอื่นมีความสุขเราก็มีความสุขกับเขาด้วย หรือเห็นคนอื่นมีความทุกข์เราก็อยากจะเข้าไปช่วยให้เขามีความสุขมากขึ้นโดยที่ไม่เบียดเบียนตนเอง
SIU: มีจุดพลิกผันอะไรในชีวิตหรือไม่ ?
จริงๆ แล้วการบวชนี่แหละเรียกว่าเปลี่ยนชีวิตมากเลย ซึ่งคนทั่วๆ ไปอาจจะคิดว่าการเปลี่ยนชีวิตคือการที่มีอะไรเข้ามาในชีวิตแล้วจะต้องเปลี่ยนไปในทันที แต่มันไม่ใช่นะ มันเป็นการสะสมมามากกว่า เหมือนการต้มน้ำร้อนนะ ต้มไปเรื่อยๆ จึงเดือด มันไม่ใช่เป็นแบบเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือในทันที มันคล้ายๆ กับว่าเป็นสิ่งที่สะสมมาส่วนหนึ่งแล้วก็บวกกับปัจจัยภายนอกส่วนหนึ่งด้วย กลายเป็นว่าการที่เรามาบวชครั้งนี้เราได้เรียนรู้เรื่องภายในเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งก่อนหน้านั้นบางสิ่งบางอย่างเราก็คิดว่าเรารู้แล้ว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งในชีวิตของเราจะพบว่าถ้าเกิดในชีวิตเราเจอเหตุการณ์ว่า สิ่งที่ตนเองเชื่อมาแล้วนั้นมันไม่ใช่ เราจะรับมือกับตรงนี้อย่างไร ทุกคนก็ต้องเคยเจออย่างนี้ ซึ่งเมื่อเราได้มาบวชแล้วเราได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกเป็นลำดับไป หลายครั้งเราจะพบว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อมันไม่ใช่ แล้วเราจะจัดการกับใจเราอย่างไร ประเด็นคือเรารู้เท่าไหร่เราก็ทำอย่างนั้น เราเรียนเท่าไหร่เราก็บอกได้อย่างนั้น เช่นกัน ในทางโลกหรือในทางธรรมเหมือนกันทุกอย่างว่าเรารู้เท่าไหร่เราก็ทำอย่างนั้นเอง ทีนี้คือถ้าเรารู้มากขึ้นอะไรที่มันไม่ใช่ เราก็จะลดมันลงไปเท่านั้นเอง
แต่อะไรที่มันใช่เราก็จะทำอย่างนั้นมากขึ้นแค่นั้นเอง หากพิจารณาจากข้อดีที่เป็นเรื่องของสังคมคือเราได้มีโอกาสรู้จักกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมากขึ้นเนื่องมาจากการที่เราได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับกลุ่มที่ทำเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ และอีกหลายๆ เครือข่าย ที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์ที่กินได้เป็นอย่างไร และเศรษฐศาสตร์นั้นไปถึงจิตวิญญาณได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดซะทีเดียวที่ทำให้คนได้ตื่นรู้ แล้วเราก็เห็นกลุ่มชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศหรือแม้แต่พระเองก็ได้เข้ามาทำงานเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ในขณะเดียวกันเราก็ได้ปฏิบัติธรรมควบคู่กันไปด้วย เราได้เรียนรู้ด้านธรรมะจาก พระอริยสงฆ์หลายๆ ท่านซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ ก็เรียกว่าได้ประคับประคองกันไปในสองด้านนี้
SIU: มองอย่างไรเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่องานเพื่อสังคมในปัจจุบัน
คือ ต้องบอกก่อนนะว่าเป็นความเชื่อที่เข้าใจผิดว่า พระจะแผ่เมตตาอยู่ในกลด แล้วไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจอย่างนั้น โดยเป็นความคิดที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเชื่อนี้นั้นเมื่อได้มาศึกษาดูแล้วจะพบว่ามันไม่ใช่ โดยเรื่องของจิตวิญญาณหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตนั้นมีผลอยู่ แม้แต่การที่เราทำอะไรหากเราทำโดยที่ไม่มีเมตตาจิต เราทำด้วยโทสะ หรือโลภะ ผลที่ได้ก็จะต่างกัน
หรือแม้แต่ในทางวิทยาศาสตร์ที่นำมากล่าวถึงกันยกตัวอย่างเช่น ของดร.อาจองที่กล่าวไว้ว่าเวลาที่เราปลูกต้นไม้หากเรามีโอกาสได้แผ่เมตตาให้แก่ต้นไม้ จะทำให้ต้นไม้นั้นเติบโตเร็วกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับการแผ่เมตตา ขณะเดียวกันเรื่องสวดมนต์ก็เช่นเดียวกัน แม้แต่น้ำเปล่าๆ นั้นก็มีการวิจัยออกมาว่าหากเราพูดไม่ดีกับน้ำแก้วนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับอีกแก้วหนึ่งที่เราสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่น้ำแก้วนั้น เมื่อเรานำน้ำทั้งสองแก้วมาส่องกล้องที่มีความละเอียดขนาดโมเลกุลของน้ำ จะพบว่าผลึกของน้ำแต่ละแก้วจะแตกต่างกันเลยนะ ซึ่งงานวิจัยนี้ในปัจจุบันก็ได้ไปไกลแล้ว
ซึ่งมันสามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าเรื่องของการพัฒนาจิตมันมีผลต่อการพัฒนาทางกายด้วย ทีนี้ก็กลับมาที่เรื่องบทบาทของพระสงฆ์นั้น โดยทั่วไปคนจะเข้าใจว่าพระสงฆ์ท่านไม่ได้ทำอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านทำนะ ซึ่งเราเองต่างหากที่รู้หรือไม่ว่าท่านทำอะไร ถ้าหากเราปฏิบัติเราก็จะเข้าใจได้เอง และเผลอๆ ท่านทำมากกว่าพวกเราด้วยซ้ำ
ตัวอย่างเช่น หลวงตามหาบัว แม้แต่นักวิชาการก็ไม่เข้าใจว่าที่ท่านทำผ้าป่าช่วยชาตินั้น ท่านทำไปเพื่ออะไร ซึ่งคนจะมองอย่างผิวเผินว่าเป็นเรื่องของเงินทอง แต่จริงๆ แล้วถ้าเราศึกษาจริงๆ แล้วจะพบว่าหากท่านไม่ทำแล้วคลังหลวงจะเป็นอย่างไร พวกเรารู้เรื่องของคลังหลวงมากน้อยแค่ไหน ที่เงินคลังหลวงหมดไปนั้นเป็นอย่างไร จะมีสักกี่คนที่ได้รับรู้เรื่องของคลังหลวงอย่างแท้จริง หรือในกรณีของหลวงพ่อคูณคือการนำเอาปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ไปสร้างโรงพยาบาล ไปสนับสนุนด้านสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งหากเราทำการศึกษาจริงๆ จะพบว่าสาธารณประโยชน์ที่มาจากพระสงนั้นมีจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ก็มีบทบาทในการสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังภายในสังคมด้วย เพียงแต่คนทั่วไปจะติดภาพลักษณ์พระสงฆ์ในเรื่องของวัตถุมงคลเสียมากกว่า
SIU: แสดงว่าพระสงฆ์ก็ได้มีบทบาทมานานแล้วเพียงแต่ไม่มีสื่อไปประชาสัมพันธ์ว่าได้ทำอะไรบ้าง ???
ใช่ แล้วตามหลักคือเราทำงานแบบปิดทองหลังพระ ซึ่งพระองค์ท่านก็บอกว่า หากได้ทำแล้วก็จะปรากฏออกมาเอง ถ้าเรามัวแต่ปิดทองหน้าพระ ข้างหลังก็จะไม่เต็ม
SIU: อย่างกรณีของประเทศพม่าที่มีพระออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่วนในประเทศไทยเองก็มักจะมีคำพูดที่ว่าพระควรจะตัดกิเลสทางโลก ไม่ยุ่งเกี่ยวทางโลก แล้วเข้าสู่ทางธรรม ซึ่งกรณีนี้จะขัดแย้งกันหรือไม่
คือตอนนี้ ส่วนใหญ่โยมมักชอบที่จะให้พระอยู่วัดเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วในทางธรรมมะประวัติศาสตร์ ต้องพิจารณาว่าวัดนั้นกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สร้างวัดก่อนแล้วค่อยไปตรัสรู้ที่วัดนะ ท่านได้ออกจากการเป็นพระราชา โดยในสมัยนั้นการเป็นพระราชาก็ถือเป็นที่สุดแล้ว แต่ท่านก็ทิ้งทุกอย่างเพื่อออกบวชมาปฏิบัติธรรมในป่า การปฏิบัติธรรมของท่านมีทั้งที่ใช้วิธีสุดโต่ง และอีกหลายๆ วิธีที่ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถทำได้ ในที่สุดท่านก็ได้บรรลุธรรม หรือที่เรียกว่าตรัสรู้ ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ท่านนั่งบำเพ็ญอยู่
แสดงให้เห็นว่าท่านอยู่ในป่าตลอด จนกระทั่งเมื่อท่านได้ออกเผยแพร่พระธรรม ท่านก็ได้ไปเทศน์โปรดประชาชนตั้งแต่คนยากจน เศรษฐี และกษัตริย์ จึงทำให้เกิดความศรัทธาขึ้น เหล่าประชาชน เศรษฐี และกษัตริย์ จึงได้สร้างวัดขึ้นถวายพระพุทธเจ้า ทีนี้เมื่อท่านได้ค้นพบพระธรรมที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ท่านก็อยากจะเผยแพร่ เพื่อโปรดให้สัตว์โลกทั้งหลายสามารถเห็นพระธรรมได้อย่างที่ท่านได้ค้นพบเพื่อที่จะเกิดความสุขอย่างแท้จริง ก็คือการหลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร หรือที่เรียกว่าการปรินิพพาน
ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วเราอาจจะไม่มีปัญญาหรือความกรุณาเทียบเท่าท่าน แต่เราสามารถที่จะมีความบริสุทธิ์หรือการเป็นพระอรหันต์เทียบเท่าท่านได้ ตรงนี้เองทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อบทบาทของพระสงฆ์ว่าไม่ได้มีประโยชน์ต่อสังคม จริงๆ แล้วความเข้าใจในเรื่องของจิตอาสาในปัจจุบันก็มีพื้นฐานมาจากเรื่องในอดีตกาลคือเรื่องของ มฆมานพ ซึ่งเป็นชาติหนึ่งของพระอินทร์ โดย มฆมานพ พร้อมกับเพื่อนอีก 33 คนได้ทำงานจิตอาสาโดยทำงานอย่างจริงจัง ทำให้ได้รับอานิสงส์ด้านทานบารมีสูง จึงมาเกิดเป็นพระอินทร์ แต่ในพระพุทธศาสนาบัญญัติไว้ว่ามีทางบำเพ็ญกุศลอยู่ 3 ทางคือ ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งการให้ทานเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เราต้องรักษาศีล แล้วก็ภาวนาด้วยจึงจะครบ
แต่ในยุคของปัจจุบันนี้เราอยู่ท่ามกลางกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม เพราะฉะนั้นการที่เราจะปฏิบัติธรรมแบบตัดขาดโลกภายนอกไปเลยจะสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือเราก็สามารถทำได้แต่ต้องปฏิบัติแบบพระป่า เข้าไปอยู่ในป่าเลย แต่ในบริบทของพระที่อยู่ในเมืองจะพบว่าไม่ได้อยู่แยกจากโยม พระเองก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งศึกษาเล่าเรียนบาลี ศึกษาอภิธรรม ปริยัติ แต่ก็ศึกษาเรื่องการปฏิบัติไปด้วย อีกฝ่ายหนึ่งก็ศึกษาด้านการปฏิบัติบำเพ็ญให้ถึงจุดของการหลุดพ้นซึ่งก็คือนิพพาน โดยทั้ง 2 ฝ่ายก็ควบคู่กันไป
แต่เมื่อเราอยู่ในบทบาทตรงนี้เราจะเห็นว่าพระสงฆ์ที่อยู่ในเมืองจำนวนหนึ่งก็นำปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ไปช่วยงานสาธารณกุศลต่างๆ แต่ท่านไม่ได้โปรโมท โดยในสังคมไทยนั้นเวลาที่มีคนทำดีเรามักจะมีคำถาม แต่เวลาที่คนทำชั่วเรามักจะชินชา ในสังคมปัจจุบันหากเราดูตามสื่อต่างๆ จะพบว่าข่าวของพระจะออกมาในเชิงลบเยอะ แต่สิ่งที่เราลืมถามคือทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นแค่ว่ามันแย่ ซึ่งเรามักจะเห็นว่าความแย่เป็นสิ่งภายนอก เรามักจะไม่เห็นว่าความทุกข์หรือความรู้สึกแย่มันมาจากใจของเราเอง คนจะไม่มองเรื่องนี้และมักจะโยนความผิดให้เป็นของสิ่งอื่นมากกว่าตนเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นพระหรอก
ซึ่งท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ คือ ทันใดที่เรื่องแย่ๆ ได้มาถึงพระ เมื่อนั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสังคมเสื่อม เพราะตามคติเดิมนั้น พระเป็นคติของบุคคลที่มีศีลทรงธรรม เป็นคนที่อยู่ยอดของปิรามิด สังคมไทยเราถือว่าคติพระเป็นนักบวช ถือเป็นเพศที่สูงอยู่ข้างบน คือสละจากเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว ทันทีที่เรื่องแย่ๆ มันเสื่อมในสังคม ซึ่งหากเราพิจารณาจากประวัติศาสตร์จะพบว่าจริงๆ แล้วทางภาวะสังคมมันไปแล้ว คือเรื่องแย่ๆ ต่างๆ ข้างล่างมันไปหมดแล้ว จึงค่อยมากระทบพระ
เราลองไปดูก็ได้ว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้ถ้าลงมาจากข้างล่างลงไปมันแค่ไหน อัตราอาชญากรรม เรื่องของปัญหาการทำแท้ง เรื่องของโรคเอดส์ ฯลฯ ได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างน่าใจหาย แต่เราไม่ได้พูด เพราะเราชินชากับเรื่องเหล่านี้แล้ว เราคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วไม่ปกตินะ คือเราเสพสื่อแล้วเราเข้าใจ อย่างเช่นปัญหาของภาคใต้มันก็ยังเหมือนเดิม แต่คนได้ชินชากับความรุนแรงไปแล้ว โดยที่เราไม่คุ้นชินกับความดีจึงรู้สึกแปลกแยกกับความดีดังเช่นคนในปัจจุบัน ถ้าพูดจริงๆ ก็คือ แปลกแยกกับธรรมะนั่นเอง
SIU:มองประเทศไทยอีก 5 ปีข้างหน้าอย่างไร
จริงๆ คนจะรู้สึกกังวลเรื่องความเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงภายนอก ทั้งเรื่องของสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันหรือแม้กระทั่งเรื่องของโครงสร้างของสังคมในปัจจุบันนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วตามหลักของพระพุทธศาสนากล่าวว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เพียงแต่เราไม่เห็นเท่านั้นเอง แต่ละวันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เราเห็นอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้สังเกตจนเราเข้าใจว่าทุกอย่างมันเที่ยงแท้ มันไม่ได้เปลี่ยน แล้วมันจะคล้ายๆ ความเปลี่ยนแปลงเหมือนสึนามิ คือเราจะเข้าใจว่าสังคมมันเป็นแบบนั้น ในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่านั้นอีก โลกจะแตกบ้าง อะไรต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้ก็ได้มีการพูดกันมาทุกยุคทุกสมัยแหละ เรื่องของความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทีนี้ประเด็นอยู่ที่ว่าใน 5 ปีข้างหน้าหากถามในเชิงบริบทภาพรวม ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคม ก็คิดว่าคงมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ หากถามว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น คือเราจะเห็นได้ว่ากระแสที่ผ่านมาภัยพิบัติมันเยอะขึ้น ในแง่หนึ่งคือ ทั้งภัยพิบัติ ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมอะไรต่างๆ ที่เราเห็นนั้น จริงๆ แล้วเรามักจะมองว่าเป็นเรื่องภายนอก เป็นเรื่องของคนอื่น
แต่ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ของทุนนิยมในระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม มันเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภัยพิบัติในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็แก้ไม่ได้ในเชิงปัจเจก แม้แต่การประชุมเรื่องโลกร้อนที่ผ่านมา ก็จะพบว่าไม่มีมติออกมาอย่างจริงจัง คือเราจะเห็นทั้งความเปลี่ยนแปลงเชิงธรรมชาติ สังคม รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงปัจเจกด้วย คนจะมีกระแสที่ตื่นตัวกันมากขึ้นต่อปัญหาของสังคม
ตัวอย่างเช่น วิกฤติเสื้อเหลือง – เสื้อแดง ที่เราได้เห็นนั้น ก็เป็นข้อดีคือ ทำให้คนมีความตื่นตัวสนใจเรื่องของสังคมมากขึ้น เป็นการเรียนรู้ครั้งใหญ่ของสังคมไทย แต่อีกหลายคนก็ยังคงติดกับดักของการแบ่ง 2 ขั้วอยู่ แต่หลายคนเองก็ไม่ได้ประเมินของสีชมพูนะ อันนี้คืออาตมามองจากบทบาทที่ได้มาเห็น ซึ่งตรงนี้เองทำให้เราได้เห็นว่าคนจะแยกอย่างชัดเจน คือคนที่ทำชั่วหรือทำไม่ดีอะไรต่างๆ ก็จะไปอยู่อีกกลุ่มหนึ่งเลย แต่มีด้านดีคือว่าตรงนี้จะทำให้คนที่ดีๆ เกิดการรวมตัวอย่างสำคัญ เรา
จะเห็นว่าความขัดแย้งเรื่องเสื้อเหลือง – เสื้อแดงนั้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมได้หายไปหรือเบาบางลงไป คือถึงจุดหนึ่งคนจะรู้ว่า ไม่ว่าเสื้ออะไรก็ตาม หากไม่ช่วยกัน เราจะไม่รอด คนทุกคน รักสุข เกลียดทุกข์ ทั้งนั้นแหละ แต่ถึงจุดหนึ่งก็ต้องช่วยกัน ไม่งั้นจะล่มทั้งชีวิตตนเอง ครอบครัวตัวเอง จังหวัดตัวเอง บ้านเมืองตัวเอง ตลอดจนประเทศชาติตัวเอง จนถึงระดับโลก เราจะเห็นได้จากด้านของ Social Network ที่ทำให้คนตื่นตัวและทำให้คนมารวมตัวกัน
นี่ก็เป็นสิ่งที่อาตมาเห็นจากที่ผ่านมาและก็ต่อไปด้วย คือฝั่งหนึ่งนั้นเราจะเห็นว่าปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ครบรอบของงานอาสาสมัครสากล หรือเรียกว่าครบรอบ 10 ปีแห่งการเฉลิมฉลองงานอาสาสมัครสากล เราก็ได้เห็นว่ากระแสจิตอาสาได้เติบโตไปทั่วโลก จนเขาบอกว่างานจิตอาสานั้นไม่ใช่เป็นแค่เหลือบของสังคมอีกต่อไป แต่เรียกว่าอยู่ในทุกอณูของวิถีชีวิตของคนในสังคม
คือการที่มีวีถีชีวิตโดยคิดถึงคนอื่น ซึ่งก็คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันภายใต้บริบทของพระสงฆ์เราก็พบว่า จริงๆ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว การเอื้อเฟื้อกัน วิถีชีวิตการทำบุญ ต่างๆ นั้นเคยมีอยู่ในสังคมไทย แต่มันได้หายไป อาตมาคิดว่ากระแสของวิกฤติการณ์ในปัจจุบันจะทำให้คนมีโอกาสได้มีพัฒนาการในการมีจิตสำนึกสาธารณะผ่านการกระทำจริงๆ มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนตื่นตัวเรื่องภายในมากขึ้นด้วย
เราจะเห็นว่ากระแสเรื่องธรรมะจะเติบโตในทางตะวันตก ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ กระแสธรรมะในประเทศอิตาลีได้เติบโตขึ้นมากเลย คนในอิตาลีหันมานับถือพระพุทธศาสนากันมากขึ้น ประเทศอินเดีย จีน หรือแม้แต่รัสเซีย ประเทศที่ถือได้ว่าแบบ คิดว่าเป็นในอนาคตเราก็เห็นได้ว่า อินเดียและจีนจะมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแม้แต่ในปัจจุบันอาเซียนที่เราเห็น พม่าเองก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราไม่ได้มีการศึกษาเรื่องภายในมันก็จะเหมือนกับดักเดิมอย่างที่เราเห็น ที่อเมริกาผิดพลาดมาแล้ว ที่ประเทศในฝั่งอุตสาหกรรมก็ผิดหวังมาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันนั้นเรากำลังอยู่ในกับดักของอเมริกาอยู่ ทุกคนใช้โมเดลนี้หมดเลยนะ ในขณะที่อเมริกานั้นผิดพลาดมาแล้ว แต่จุดหนึ่งที่วิกฤติในยุคปัจจุบันจะทำให้เรามาทบทวน อย่างนิวเคลียร์ปัจจุบันที่เราเห็น นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น พอเกิดขึ้นแล้วทำให้ประเทศเยอรมันทั้งประเทศทบทวนนโยบายพลังงานของประเทศใหม่ จากเดิมที่จะขยายโรงงานนิวเคลียร์ เขากลับจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เขาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น เปลี่ยนเป็นใช้พลังงานสีเขียว เช่นพลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งการลงทุนนั้นสูงแต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นน้อยกว่า เหมือนกับเรื่องของผลกระทบ EIA
เราเคยประเมินผลกระทบหรือไม่หากเกิดสึนามิกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย หรือเกิดเหตุอะไรแบบนี้ ที่ญี่ปุ่นเขาอาจจะทำมาก่อนเรา ซึ่งเขาก็จะมีพัฒนาการที่สูงนะ แต่พอเกิดเรื่องนี้ขึ้นมาเราก็ต้องเพิ่มตัว Factor อื่นๆ ด้วย หลายครั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเราไม่ได้ประเมินในเรื่องนี้ ใครจะไปคิดว่าจะเกิดสึนามิแบบนี้แล้วเกิดผลกระทบต่อนิวเคลียร์ ณ เวลานั้นคนไม่ได้คิด แต่เวลานี้คนตื่นตัวแล้ว แต่ขณะเดียวกันของเราเองกลับไม่ได้ตื่นตัวตรงนี้
ขณะเดียวกันเรื่องสุดท้ายที่จะบอกหรืออาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดก็ได้ คือจริงๆ แล้วปีนี้เป็นปีที่ครบ 2,600 ปีของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลองการครบรอบของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในปีที่ผ่านมาคือ ปี พ.ศ.2554 เขานับกัน 2,555 พรรษาบวกกับ 45 พรรษา ก็เป็น 2,600 ปีของการตรัสรู้ แต่ของเราจะนับต่างจากทั่วโลกประมาณ 1 ปีซึ่งของเราจะครบในปีนี้ ในทั่วโลกแม้แต่ ดาไลลามะ เองก็บอกชัดเจนว่าเราเองต้องปฏิบัติกันมากขึ้นทุกๆ คน ไม่ใช่แค่พระสงฆ์อย่างเดียวแต่รวมถึงต้องปฏิบัติกันทุกคน เวลาเราพูดอะไรเราต้องทำด้วย
ถ้าในระดับความรู้ในเชิงปกติทางโลก ถ้าเราพูดอะไรเราต้องทำด้วย หรือแม้แต่ความรู้ทางธรรมที่เราเรียนในสายธรรมะ เราเรียนอะไรมาเราต้องปฏิบัติด้วย ถึงจุดหนึ่งเมื่อเราได้เกิดเข้าใจธรรมะมากขึ้นแล้วเราจะพบว่าธรรมะไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวเองอย่างเดียว มันสามารถที่จะใช้ประโยชน์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมได้ อย่างที่เราเห็นว่ามีการประชุมนักวิทยาศาสตร์ และการประชุมถึงบทบาทของพระพุทธศาสนาต่อการแก้ไขปัญหาโลก และมันก็มีความสนใจอย่างมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันนั้นก็เป็นสิ่งที่เราพบว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นไม่ใช้แค่เรื่องส่วนตัวอย่างเดียว
แต่ในขณะที่สังคมไทยเราเองก็พบว่าเรื่องนี้มันถูกบิดเบือนเยอะ อย่างเมื่อวานเป็นวันพระ จะมีสักกี่คนที่รับรู้ แล้วคนที่เข้าใจวันพระจริงๆ คนที่รู้ว่าเป็นวันพระแล้วจะบอกว่าไม่กินเหล้าสักวันหนึ่งได้หรือไม่ ก็ไม่มี คือเราถูกทำให้วิถีชีวิตมันหายไป อย่างที่อาตมาบอกกลับไปที่คำถามตอนแรกคือเรื่องของวิถีนั้น หากเราเชื่อในสิ่งไหน เรามีความชอบในสิ่งไหน มีฉันทะในสิ่งไหน ขอให้ทำให้เต็มที่ในเรื่องที่ดีๆ แล้วสุดท้ายมันจะไปเจอกันเอง
เช่นกันในส่วนของเรื่องของที่พระก็ตาม ถ้าเกิดมันมีวิถีชีวิต หรือแม้แต่โยมนะ เหมือนอย่างวันพระถ้าเราได้ทำอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่เรื่องทำความดีอย่างเช่น จิตอาสา นั้นถ้าเราทำอย่างต่อเนื่อง เราจะพบเองว่ามันจะไปสู่ที่ดีๆ เอง อย่างที่เขาบอกว่า คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดีแล้วเราก็จะไปสู่สถานที่ดีๆ เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อปัญญา อาตมาว่าคำนี้ก็ยังใช้ได้เสมอนะ
เราจะรู้ว่าตัวของเราเองเป็นอย่างไร เราก็ดูว่าเพื่อนเราเป็นอย่างไรก็ได้ เพราะเบื้องต้นเราจะไม่ค่อยมองตัวเองนะ ถ้าเราเห็นเพื่อนเป็นอย่างไร เราก็สามารถสะท้อนได้ว่าเราเป็นคนแบบนี้แหละ คนแบบเดียวกันก็จะมาเจอกัน คนดีก็จะไปกับคนดี คนชั่วก็จะไปกับคนชั่วแหละ แต่สิ่งที่สังคมในปัจจุบันนี้เป็นคือคนดีจะรวมตัวกันยาก แต่คนชั่วมันมองหน้ากันก็ปล้นแบงค์ได้แล้ว ไม่ต้องมีการวางแผน ไม่ต้องมีกำหนดการ ในขณะที่คนดีนั้นต้องทำ หรือแม้แต่ขอทุน ทำโครงการอะไรต่างๆ ต้องวางแผนเยอะ ต้องใช้เวลา วางโปรเจค Presentation ต่างๆ ซึ่งมันยาก คือต้องบอกว่า ระบบที่เอื้อต่อการสนับสนุนความดีนั้นมีน้อย
แต่มันไม่ใช่ว่าจะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วระบบนวัตกรรมต่างๆ ทั่วโลกมันจะเอียงไปในทางที่เอื้อให้คนทำดีมากยิ่งขึ้น นี่คือระดับ Trend นะ แต่ขณะเดียวกันในระดับของประเทศไทย คือระดับพุทธ จริงๆ แล้วเราโชคดีกว่าเขา แต่เราไม่รู้ เพราะว่าเรามีระบบนั้นอยู่แล้ว คือระบบวิถีพุทธ แต่ประเด็นคือเราใช้แค่ไหน เรื่องหลักชาวพุทธเรารู้หรือไม่ แล้วเรื่องของวิถีวันพระ การทำความดีอย่างต่อเนื่อง บุญบารมีต่างๆ ถ้าเราทำอย่างต่อเนื่อง มันจะไปได้ เราจะได้เรียนรู้ทั้งตัวเราเองมากขึ้นและก็ได้มีโอกาสที่จะทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ในหลายๆ ครั้งหากเราจะมองเรื่องการเปลี่ยนผ่านในอนาคต คนมักจะคิดไปในทางลบก่อนแต่ไม่ได้คิดในเชิงบวกเลยส่วนใหญ่ สังคมมีโอกาสที่เปลี่ยนไปในเชิงดีได้หรือลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคนในสังคม เช่นกัน แม้แต่ Trend ในแต่ละปีนั้น หากเราต้องการดูในแต่ละปีว่า Trend สังคมจะเป็นอย่างไร เราก็เริ่มดูจากต้นปี เช่น อย่างตอนต้นปีหากเราต้องการดูว่ากระแสทางจิตวิญญาณของสังคมจะเป็นอย่างไร เราก็ดูจากกระแสการสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งตอนต้นปีเราได้เห็นกระแสของการสวดมนต์ข้ามปี เราจะใช้โอกาสนี้อย่างไรในการที่จะช่วยให้พวกเราทุกคนในสังคมสามารถฝ่าวิกฤติไปด้วยกันได้ คล้ายๆ กับเมื่อเราต้องการที่จะทำงานใหญ่เราก็ต้องทำเรื่องบุญใหญ่ด้วยกัน
ซึ่งอาตมาคิดว่าก็ต้องดูว่าอะไรที่สามารถทำได้ แล้วก็เห็นนะว่า ต้นปีนั้นพวกเราทุกคนที่ได้ผ่านวิกฤติน้ำท่วมมา ได้มารวมตัวกันทำในสิ่งที่ดีๆ หรือแม้แต่ในช่วงน้ำท่วมก็น่าอนุโมทนากับทุกคนด้วยที่ได้ช่วยกันทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศไทย ตรงนี้เองก็ได้เห็นว่ามันจะส่งผลแน่นอนไม่ใช่แค่ในปีนี้หรือในอีก 5 ปี แต่ในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้าก็จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างแน่นอน
ที่สำคัญคือ อนาคตของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ตัวของเรา อยู่ที่ตัวของพวกเราทุกคน ก็อยู่ที่กรรมของเราเอง ไม่ใช่สิ่งที่ขึ้นอยู่กับคนอื่น หากเรารู้เหตุปัจจัยใด เราก็ทำตามนั้นแค่นั้นเอง แล้วเราก็จะไปเจอกันเอง อาตมาเชื่อว่าเราน่าจะมีทิศทางแนวโน้มของอนาคตที่คิดว่าหากเราทำสิ่งต่างๆ ในเชิงกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณงามความดี
อาตมาเชื่อว่าประเทศไทยจะผ่านไปได้ แล้วก็ขอจบอย่างที่บอกว่า ตอนช่วง พ.ศ.2519 หรือช่วงคอมมิวนิสต์ หลายคนจริงๆ เราจะไม่เรียนรู้เรื่องของประวัติศาสตร์ของประเทศเราเองนัก เราจะรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของโลก หรือประวัติศาสตร์ยุโรปมากกว่า แต่จริงๆ แล้วของเราเองหากเราจำได้ในยุคของคอมมิวนิสต์ ซึ่งยุคนั้นเองนักวิเคราะห์ทั่วโลกก็มองเมืองไทยว่าจะเป็นโดมิโน เป็นคอมมิวนิสต์อย่างแน่นอน
ซึ่งอาตมาเคยได้ยินเรื่องเล่าจากดร.สุเมธ ตันติเวชกุลว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถาม ดร.สุเมธ ว่าทำไมเมืองไทยถึงรอดจากการเป็นคอมมิวนิสต์ ดร.สุเมธ เห็นว่าเป็นคำถามที่ลึกซึ้งจึงยังไม่ได้ตอบ
พระองค์ท่านจึงบอกว่า ที่ประเทศไทยยังสามารถอยู่ได้โดยที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์เพราะคนไทยยังให้กันอยู่ อาตมาว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันนี้หากเราให้ และเราสามารถที่จะมาสนใจในเรื่องของศีลด้วย จริงๆ ตรงนี้อาตมาว่าก็สามารถพูดได้เยอะ เราจะเห็นว่าในปัจจุบันนี้ที่เราอยู่กันได้เพราะเราให้กันจริงๆ เราจะเห็นคนช่วยกันในเรื่องน้ำท่วมเยอะ
พระพุทธศาสนาเองก็บอกว่า กรรมในปัจจุบัน หรือสิ่งที่เราเจอในปัจจุบันนี้ มันไม่ได้มีที่มาที่ไปอย่างไม่รู้ แต่มันเป็นเพราะสิ่งที่เราทำในอดีต เช่นกัน เหมือนกับสิ่งที่เราประสบในปัจจุบัน ก็เป็นผลจากที่เราและพวกเราทำกันในอดีต ไม่ใช่เพราะคนอื่น เพราะฉะนั้นกรรมในอนาคตก็ขึ้นอยู่กับกรรมในปัจจุบันของเราว่าเราจะทำอะไรบ้าง เราจะร่วมมือสร้างสรรค์อะไรได้บ้างเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นก็ฝากไว้ตรงนี้แหละว่าทุกอย่างอยู่ในกำมือของเรา ขึ้นอยู่กับเราทั้งนั้น
ที่มา.Siam Intelligence Unit
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พระวินย์ สิริวฑฺฒโน จบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยกอ่นท่านบวชนั้นท่านคลุกคลีกับงานจิตอาสามา 6-7 ปี
สามารถกดฟังการสัมภาษณ์ได้จากเวป Transform Thailand คลิกที่นี่
ทั้งนี้ทาง siamintelligence อยากเชิญชวนเพื่อนๆเข้าไปคลิก Like Facebook โครงการ Transform Thailand อีก1ชุมชนในการแลกเปลี่ยนมุมมองของคนรุ่นใหม่ เพื่อที่เราจะก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน
SIU: พระป๊อป ปัจจุบันอายุ 29 ปี ไม่ทราบว่าพระป๊อปบวชมานานรึยังครับ
ตอนนี้บวชมาได้ 3 พรรษา และกำลังย่างเข้าสู่ พรรษาที่ 4
SIU: ก่อนที่จะบวชเป็นพระ ก่อนหน้านั้นทำอะไรอยู่ครับ
ตอนที่เป็นฆราวาสตั้งแต่ที่เรียนจบมาได้มีโอกาสไปทำงานให้กับเครือข่ายจิตอาสาตอนช่วงของสึนามิ โดยหลังจากสึนามิใหม่ๆ เราได้มีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ประสานงานของเครือข่ายจิตอาสา เพราะเป็นกลุ่มที่มองกันว่าหลังจากเหตุการณ์สึนามิควรจะมีการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ทำงานอาสาสมัครในเวลานั้นเพื่อที่จะทำงานขับเคลื่อนงานจิตอาสาต่อไป เพราะเรามองว่าเรื่องงานสึนามิเป็นเพียงแค่วิกฤติครั้งหนึ่งในสังคมเท่านั้นแต่จริงๆ แล้ววิกฤติต่างๆ ในสังคมยังมีอยู่อีกเยอะมาก แล้วการที่เราจะประคับประคองหรือการที่ต่อยอดงานอาสาสมัครได้อย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่จำเป็นขององค์กรเครือข่ายจิตอาสา
เราจึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้เรื่องของงานอาสาสมัครไม่ใช่แค่พอมีเรื่องของภัยพิบัติมาแล้วก็จบไปคนก็จะหายไป แล้วเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมาอีกคนจึงค่อยมารวมตัวกันอีก เราจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้งานของจิตอาสามีความต่อเนื่องได้ นั่นก็เลยเป็นที่มาตอนที่เราเข้าไปช่วยเหลือกันไม่ว่าจะทำงานทั้งในเชิงของการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงานอาสาสมัคร และการจัดการองค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ
แล้วก็การทำงานเรื่องของเครือข่ายให้พวกเราได้รู้กัน เพราะว่างานจิตอาสาจริงๆ แล้วต้องเข้าใจว่าองค์กรที่ทำงานนี้มีความหลากหลาย บางคนจะทำงานแบบเต็มรูปแบบ หรือเต็มเวลา หรือมูลนิธิกระจกเงาก็จะทำในเรื่องภัยพิบัติเป็นหลักรวมถึงเรื่องของโรงพยาบาลจิตอาสาด้วย ซึ่งองค์กรอาสาสมัครในปัจจุบันก็มีเยอะ ประมาณ 10 กว่าองค์กรและก็มีจุดยืนร่วมในเรื่องของการส่งเสริมงานอาสาสมัครแต่ในเรื่องของบริบทที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาของสังคมก็จะขึ้นอยู่กับความถนัดและกำลังใจของแต่ละองค์กรนั้นๆ
SIU: ดูจากประวัติการศึกษาของพระป๊อปพบว่าจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งตอนที่เป็นฆราวาสนั้น อยากทำอาชีพอะไรครับ
จริงๆ ตอนแรกที่เรียนปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า BE ก็ทำให้เราได้วิธีคิดมุมมองของทั้งโลก โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ แล้วเราก็นำไปเชื่อมโยงกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือสังคม ซึ่งในช่วงที่เรียนปริญญาตรีได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมนักศึกษาหลายอย่าง จึงทำให้เราได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรให้เศรษฐศาสตร์ เรียกได้ว่ามีชีวิตชีวา ไม่ใช่แค่เรื่องของตำรา
แต่ก็ต้องขอออกตัวก่อนนะว่าตัวเองก็ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็ยอมรับว่าตัวเองจบมานั้นถ้าเทียบกับเพื่อนหลายๆ คนตัวเองก็ไม่ได้นำวิชาเศรษฐศาสตร์โดยตรงมาใช้อย่างเต็มที่ แต่เราก็นำเอาแนวคิดของเศรษฐศาสตร์มาช่วยคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างไรบ้าง โดยในหลายๆ ครั้งตอนที่เรียนอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ก็จะมีรุ่นพี่บอกว่าเศรษฐศาสตร์ต่างจาก บัญชี พาณิชย์ ธุรกิจ คือ เศรษฐศาสตร์จะมองในระดับ Macro(มหภาค) และ Micro(จุลภาค) แล้วเวลาคิดจะไม่ได้คิดแค่ Profit ในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียวแต่เรามองถึงกำไรของประเทศด้วย ซึ่งก็หมายถึง มองผลประโยชน์ของชาติด้วย
ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะมองเพียงกำไรในเชิงธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เราจะมองว่าสังคมจะเป็นอย่างไรหรือผลกระทบต่อสังคมจะเป็นอย่างไรด้วย ซึ่งพอได้มาเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เราก็ได้รู้จัก EIA และ SIA เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ทราบว่าจริงๆ แล้ว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถที่จะวัดผลได้ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
แต่ถึงกระนั้นเราก็ได้เรียนรู้ว่าไม่ว่าคุณจะเรียนมาเยอะขนาดไหนก็ตาม สุดท้ายจริงๆ แล้วอยู่ที่จิตสำนึกมากกว่ายกตัวอย่างเช่น กรณีของมาบตาพุด หรือกรณีของนิวเคลียร์ ซึ่งหลายครั้งในพัฒนาการทางสังคมที่พบเห็นได้ คือ เราจะพูดเรื่องของความเก่ง ความดี มีความสุข ซึ่งจริงๆ แล้วทุกคนต้องการมีความสุขทั้งนั้น โดยเราก็เชื่อว่าความเก่งจะนำมาซึ่งความสุข แต่ในปัจจุบันมีกระแสว่าความเก่งเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความดีด้วยจึงเริ่มพัฒนามากขึ้น หากเราพิจารณาจากพัฒนาการต่างๆ จะพบว่าการส่งเสริมเรื่องความดีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคุณธรรมและจริยธรรมนั้นน้อยมาก
เราจะเห็นว่า ทำไมคนเก่งถึงไม่ใช่คนดี หลายๆ ครั้งคนที่จบการศึกษาในระดับสูงๆ มักจะไม่ค่อยดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนนะ มีข้อสงสัยอย่างหนึ่งคือในอดีตสังคมไทยในชนบทมีความเชื่อว่า พอให้ลูกมีการศึกษาในระดับที่สูง อัตราการเป็นอาชญากรจะลดลงหรือมีโอกาสในการทำความผิดน้อยลง แต่ในปัจจุบันเมื่อคนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น มีระดับการศึกษาสูงขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้อาจจะไม่ได้ติดคุกแต่เขาก็มีวิธีการอื่นๆ ที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมายในแง่ของการที่เขาทำความผิดในเชิงระบบมากขึ้นซึ่งกลายเป็นว่าจะส่งผลกระทบต่อสังคมมากกว่าคนที่ไม่ดีในเชิงปัจเจกหรือคนชั่วทั่วๆ ไป
ดังเช่นที่เราได้เห็นข่าวเรื่องการบุกรุกทำลายป่าที่ห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ซึ่งชาวบ้านเข้าไปขโมยตัดไม้มาเผาถ่าน ซึ่งจริงๆ อาจจะไม่ใช่การขโมยเพราะเป็นวิถีชีวิตของเขามานาน แล้วก็โดนจับโดนปรับ แต่ในขณะที่บางแห่งตัดไม้แล้วขนออกมาเป็นคันรถเลยแต่ไม่โดนจับ นั่นแสดงถึงอะไร ซึ่งตอนที่เป็นนักศึกษาได้มีโอกาสไปทำเรื่องบูรณะชนบท ได้ออกค่ายไปศึกษาชนบทในช่วงเวลาหนึ่ง ก็พบว่าในหลายๆ ครั้งวิชาเศรษฐศาสตร์เองไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ จนกระทั่งในปัจจุบันได้เรียนรู้ด้านของเศรษฐศาสตร์ในแนวพุทธ ซึ่งก็คือเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้เราได้เข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์นั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วจึงมาจับในเรื่องของงานอาสาสมัครนี่แหละ
SIU: อะไรที่ทำให้พระป๊อปตัดสินใจบวช และสามารถจำพรรษาอยู่ได้เป็นเวลานาน
คือตอนนั้นเอง ก็ได้เรียนจบและทำงานให้กับเครือข่ายจิตอาสาที่มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย เรียกว่าทำงานตามรอยอาจารย์ ป๋วย อึ้งภากร ก็คือเรียนรู้ว่าอาจารย์ ป๋วย ทำงานอะไรและท่านมีร่องรอยอะไรไว้ให้เราได้เรียนรู้บ้าง ซึ่งพอทำมาได้สักระยะหนึ่งคิดว่าทุกคนก็คงรู้จักเรื่องของงานจิตอาสา โครงการด้านจิตอาสาต่างๆ ก็เติบโตมากขึ้น จริงๆ แล้วแต่ก่อนก็เป็นเรื่องของกระแสงานด้านจิตอาสาเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ยกระดับจากการเป็นเพียงแค่กระแสงานจิตอาสา กลายเป็นกระแสของสังคมเป็นการจริงจังมากขึ้น ซึ่งก็ทำงานตรงนี้มา 7 ปี
ก็ได้เห็นการเติบโตของงานด้านจิตอาสาและก็ยังคงมีการเติบโตต่อไปในอนาคตเพราะเกิดความตื่นตัวทางสังคม ไม่ว่าจะมาจากเหตุปัจจัยของภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น เรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของเศรษฐกิจ หรือปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทุกอย่างได้รุมเร้าให้คนต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์วิธีคิดใหม่ ซึ่งสิ่งนี้เองก็ส่งผลกระทบถึงจิตสำนึกภายในด้วย คนก็มีการตื่นตัวมากขึ้นโดยจะเห็นได้จากการที่มีกระแสเจริญสติ แต่อาจจะเป็นเรื่องของฆราวาสมากกว่า ซึ่งกระแสนี้ก็ควบคู่กันไปทั้งภายในและภายนอก ดังคำพูดที่ว่า การระเบิดภายในออกมา แต่ส่วนตัวของเรานั้นการที่เราทำงานด้านสังคม เราก็จะมีความคาดหวังเยอะ และเราก็จะผิดหวังกับเรื่องภายนอกเยอะเพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ
ซึ่งจริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าก็บอกไว้ว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ ซึ่งคนที่ทำงานด้านสังคมก็จะเจอกับความผิดหวังเยอะ รวมถึงตัวของเราเองด้วยซึ่งเราก็ยอมรับว่าในตอนนั้นก็ยังไม่ถึงตามที่เราตั้งใจไว้ แต่มันก็มีข้อดีคือทำให้เราเห็นว่าความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่สังคม แต่ความทุกข์มาจากตัวของเราเองเพราะเรามีความคาดหวัง ใจเราไปยึดติดทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เรายอมรับว่าในช่วงนั้นเรายึดติดว่าสิ่งที่ดีนั้นยังไม่พอมันต้องดีกว่านี้ แต่ในหลายๆ คนอาจจะมองว่ามันดีแล้วนะ ซึ่งเหมือนกับว่าหากเรามีฉันทะ กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเยอะเราก็จะอยู่กับมันตลอด ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เราหมกมุ่นกับมันเกินไปแม้แต่ความดีก็ตาม ทีนี้หลายครั้งเองเมื่อเราวางใจไม่เป็นเราก็พบว่าเราเกิดความทุกข์ขึ้น
แต่ข้อดีของเราก็คือ เรามีฐานของธรรมะบ้างก็ทำให้เราประคับประคองทำงานต่อไปได้ คนอื่นๆ จะเห็นว่าภาคสังคมเป็นภาคที่หากไม่มีแรงดึงดูดในเชิงจิตวิญญาณหรือเชิงภายในก็จะถูกดึงไปกับเรื่องของธุรกิจบ้าง ซึ่งบางคนก็จะผันตัวไปทำธุรกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีนะ ทำให้เราได้เห็นว่าภาคสังคมกับภาคธุรกิจมันไปด้วยกันได้ แต่ส่วนตัวของเราเองก็ไม่ใช่นักค้ากำไร ไม่ได้สนใจเรื่องของเงินทองเป็นที่ตั้ง ก็เลยทำให้เราทำงานไม่ง่าย และคิดว่าน่าจะลองพักบ้าง อยากจะมีเวลาได้ทบทวนตัวเองได้มากขึ้นว่าที่ทำงานมา 6-7 ปีนั้นเราได้ทำอะไรไปบ้าง แล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง คล้ายๆ กับว่าหลายๆ ครั้งเวลาเราทำงานไปเราจะเข้าไปอินกับมัน หรือวิ่งตามโลกหรือตามงานต่างๆ ที่เข้ามา
เราจะไม่ใช่เป็นผู้ดู แต่พอเราได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องธรรมะมากขึ้น ก็ทำให้เราเห็นการเป็นผู้ดูหรือผู้สังเกตการณ์มากขึ้น และก็ทำให้เรามีความนิ่งมากขึ้น นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจบวช ซึ่งก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิตนะ จริงๆ การบวชแล้วสึกก็เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของพระพุทธศาสนาแบบไทยๆ ซึ่งเดิมตามพระวินัยนั้นการบวชคือบวชตลอดชีวิตเลย แต่ในช่วง 700 ปีที่ผ่านมา คติของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สุโขทัยเป็นต้นมาก็จะมีคติว่า พระมหากษัตริย์จะบวชชั่วคราวแล้วก็กลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์และกลายเป็นธรรมราชาตามคตินิยมเดิม ซึ่งก็เป็นการดีเพราะคนที่ผ่านการบวชแล้วนั้นอย่างน้อยจะเข้าใจในเรื่องของศีล 5 เข้าใจเรื่องบุญ – บาป เข้าในเรื่องของการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ซึ่งในปัจจุบันคนในสังคมมีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มาก ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การมองว่าคนที่ผ่านการบวชแล้วจะเป็นคนดี แต่คนที่ผ่านการบวชแล้วจะเข้าใจโดยตัวของเขาเองว่าความดีคืออะไร ความชั่วคืออะไร ไม่ใช่ความเข้าใจเรื่องของกรรมที่ผิดเพี้ยนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งนี่ก็เป็นข้อดีของการบวช ซึ่งตอนที่บวชนั้นพระอาจารย์เจ้าอาวาสวัดระฆังได้เมตตาให้เราไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์ไพศาล จำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามหาวัน
ซึ่งเป็นแนวทางตามหลวงพ่อเทียน คือการเจริญสติภาวนา ก็พบว่าแนวทางนี้นั้นเป็นการเจริญสติแบบใหม่ ที่ทำให้เราได้เรียนรู้การรู้สึกตัวมากขึ้น และผลที่ได้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งก็มีสิ่งที่ทำให้เราได้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือสังคมมากขึ้น ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้วก็คิดว่ายังมีโอกาสได้เรียนรู้อยู่ แล้วงานที่ทำอยู่ก็ยังมีน้องๆ ที่ยังพอทำกันได้ เราก็เลยคิดว่าเราควรจะเรียนรู้ต่ออีกสักหน่อย เพราะจริงๆ การบวชนั้นก็คือการศึกษา เป็นการศึกษาในเรื่องของพระธรรมวินัย ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา และสุดท้ายก็คือการศึกษาเรื่องของกายนี้ ใจนี้ เป็นเรื่องของตัวเราเอง ให้เราเข้าใจได้มากขึ้น
SIU: มีปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้างครับ
เวลาเราพูดถึงปรัชญานั้น โดยหลักแล้วจะเป็นเรื่องของความคิด แล้วส่วนใหญ่นักปรัชญาทางตะวันตกก็จะมีกับดักทางความคิดทั้งนั้น ซึ่งเมื่อเราพูดถึงเรื่องของปรัชญาก็จะขอกล่าวถึงปรัชญา บนพื้นฐานของตะวันออก โดยปรัชญาบนพื้นฐานของตะวันออกจะเน้นเรื่องการไปให้พ้นความคิดมากกว่า หลายครั้งเราจะตกเป็นทาสทางความคิด คือคิดเรื่องตนเอง คิดเรื่องคนอื่น จนฟุ้งซ่าน และจมอยู่กับเรื่องภายนอก แล้วเราก็จะเรียกว่าปรัชญา แต่ตัวศาสนาพุทธเอง หรือสิ่งที่เรียกว่าธรรมวินัยเองนั้น ไม่ใช่เรื่องของปรัชญา แต่ใครจะตีความเป็นปรัชญา หรือเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งเป็นเรื่องของการเมือง ก็เป็นเรื่องของเขา
ส่วนปรัชญาในความคิดของเราก็คือการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน มีชีวิตอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เราก็พยายามมีชีวิตอย่างเป็นปกติที่สุด พยายามดำเนินตามศีลที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ได้อย่างครบถ้วน ถึงแม้จะมีบกพร่องไปบ้าง แต่ก็จะพยายามให้ครบ แล้วก็จะพยายามเจริญสมาธิภาวนา เจริญสติ
หากถามว่าสิ่งเหล่านี้คือปรัชญาหรือไม่ มันก็เป็นสิ่งที่ทำอยู่ คือการพยายามทำให้เป็นวิถีได้นั่นคือปรัชญาการดำเนินชีวิตของเรา คือทำอย่างไรให้สิ่งที่ตนเองคิดนั้นออกมาเป็นวิถีชีวิต หรือเป็นการกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพราะเวลาที่เราคิดเรามักจะไม่ค่อยกระทำกัน แม้แต่การคิดดีก็ไม่ทำ แต่สิ่งที่ไม่คิดในบางครั้งกลับไปทำชั่วๆ ก็มี เพราะฉะนั้นเรื่องของสตินั้นสำคัญ เราจะทำอย่างไรให้เราเจริญสติ หรือมีสติอยู่ได้ในทุกขณะ นี่แหละเป็นปรัชญาของเรา
SIU: หากมองในทางโลกคนที่เป็นฆราวาสจะต้องมีแรงขับเคลื่อนเพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งในส่วนของพระ
ป๊อปที่เป็นพระสงฆ์ มีแรงขับเคลื่อนในชีวิตอะไรบ้างครับ
ในตอนแรกที่เราทำงานเพื่อสังคมก็อยากจะให้คนอื่นพ้นทุกข์ อยากช่วยเหลือคนอื่น อยากทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ค้นพบว่าสิ่งที่เราตั้งใจทำอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ดีแต่ยังไม่ใช่ที่สุด เพราะเรายังทุกข์กับคนอื่นอยู่และจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ได้โดยที่เราก็มีความสุขมากขึ้นด้วย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราทำอยู่คือทำอย่างไรให้เราสงบเย็น และเป็นประโยชน์ คือมีความสุขด้วย แต่ไม่ใช่ความสุขทางโลกมากนัก คือเป็นความสุขแบบละเอียดหน่อย เช่น เห็นคนอื่นมีความสุขเราก็มีความสุขกับเขาด้วย หรือเห็นคนอื่นมีความทุกข์เราก็อยากจะเข้าไปช่วยให้เขามีความสุขมากขึ้นโดยที่ไม่เบียดเบียนตนเอง
SIU: มีจุดพลิกผันอะไรในชีวิตหรือไม่ ?
จริงๆ แล้วการบวชนี่แหละเรียกว่าเปลี่ยนชีวิตมากเลย ซึ่งคนทั่วๆ ไปอาจจะคิดว่าการเปลี่ยนชีวิตคือการที่มีอะไรเข้ามาในชีวิตแล้วจะต้องเปลี่ยนไปในทันที แต่มันไม่ใช่นะ มันเป็นการสะสมมามากกว่า เหมือนการต้มน้ำร้อนนะ ต้มไปเรื่อยๆ จึงเดือด มันไม่ใช่เป็นแบบเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือในทันที มันคล้ายๆ กับว่าเป็นสิ่งที่สะสมมาส่วนหนึ่งแล้วก็บวกกับปัจจัยภายนอกส่วนหนึ่งด้วย กลายเป็นว่าการที่เรามาบวชครั้งนี้เราได้เรียนรู้เรื่องภายในเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งก่อนหน้านั้นบางสิ่งบางอย่างเราก็คิดว่าเรารู้แล้ว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งในชีวิตของเราจะพบว่าถ้าเกิดในชีวิตเราเจอเหตุการณ์ว่า สิ่งที่ตนเองเชื่อมาแล้วนั้นมันไม่ใช่ เราจะรับมือกับตรงนี้อย่างไร ทุกคนก็ต้องเคยเจออย่างนี้ ซึ่งเมื่อเราได้มาบวชแล้วเราได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกเป็นลำดับไป หลายครั้งเราจะพบว่าสิ่งที่เราเคยเชื่อมันไม่ใช่ แล้วเราจะจัดการกับใจเราอย่างไร ประเด็นคือเรารู้เท่าไหร่เราก็ทำอย่างนั้น เราเรียนเท่าไหร่เราก็บอกได้อย่างนั้น เช่นกัน ในทางโลกหรือในทางธรรมเหมือนกันทุกอย่างว่าเรารู้เท่าไหร่เราก็ทำอย่างนั้นเอง ทีนี้คือถ้าเรารู้มากขึ้นอะไรที่มันไม่ใช่ เราก็จะลดมันลงไปเท่านั้นเอง
แต่อะไรที่มันใช่เราก็จะทำอย่างนั้นมากขึ้นแค่นั้นเอง หากพิจารณาจากข้อดีที่เป็นเรื่องของสังคมคือเราได้มีโอกาสรู้จักกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมากขึ้นเนื่องมาจากการที่เราได้เข้าไปข้องเกี่ยวกับกลุ่มที่ทำเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ และอีกหลายๆ เครือข่าย ที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์ที่กินได้เป็นอย่างไร และเศรษฐศาสตร์นั้นไปถึงจิตวิญญาณได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมดซะทีเดียวที่ทำให้คนได้ตื่นรู้ แล้วเราก็เห็นกลุ่มชาวบ้านหรือคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศหรือแม้แต่พระเองก็ได้เข้ามาทำงานเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ในขณะเดียวกันเราก็ได้ปฏิบัติธรรมควบคู่กันไปด้วย เราได้เรียนรู้ด้านธรรมะจาก พระอริยสงฆ์หลายๆ ท่านซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ ก็เรียกว่าได้ประคับประคองกันไปในสองด้านนี้
SIU: มองอย่างไรเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ต่องานเพื่อสังคมในปัจจุบัน
คือ ต้องบอกก่อนนะว่าเป็นความเชื่อที่เข้าใจผิดว่า พระจะแผ่เมตตาอยู่ในกลด แล้วไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจอย่างนั้น โดยเป็นความคิดที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเชื่อนี้นั้นเมื่อได้มาศึกษาดูแล้วจะพบว่ามันไม่ใช่ โดยเรื่องของจิตวิญญาณหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตนั้นมีผลอยู่ แม้แต่การที่เราทำอะไรหากเราทำโดยที่ไม่มีเมตตาจิต เราทำด้วยโทสะ หรือโลภะ ผลที่ได้ก็จะต่างกัน
หรือแม้แต่ในทางวิทยาศาสตร์ที่นำมากล่าวถึงกันยกตัวอย่างเช่น ของดร.อาจองที่กล่าวไว้ว่าเวลาที่เราปลูกต้นไม้หากเรามีโอกาสได้แผ่เมตตาให้แก่ต้นไม้ จะทำให้ต้นไม้นั้นเติบโตเร็วกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับการแผ่เมตตา ขณะเดียวกันเรื่องสวดมนต์ก็เช่นเดียวกัน แม้แต่น้ำเปล่าๆ นั้นก็มีการวิจัยออกมาว่าหากเราพูดไม่ดีกับน้ำแก้วนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับอีกแก้วหนึ่งที่เราสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่น้ำแก้วนั้น เมื่อเรานำน้ำทั้งสองแก้วมาส่องกล้องที่มีความละเอียดขนาดโมเลกุลของน้ำ จะพบว่าผลึกของน้ำแต่ละแก้วจะแตกต่างกันเลยนะ ซึ่งงานวิจัยนี้ในปัจจุบันก็ได้ไปไกลแล้ว
ซึ่งมันสามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าเรื่องของการพัฒนาจิตมันมีผลต่อการพัฒนาทางกายด้วย ทีนี้ก็กลับมาที่เรื่องบทบาทของพระสงฆ์นั้น โดยทั่วไปคนจะเข้าใจว่าพระสงฆ์ท่านไม่ได้ทำอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านทำนะ ซึ่งเราเองต่างหากที่รู้หรือไม่ว่าท่านทำอะไร ถ้าหากเราปฏิบัติเราก็จะเข้าใจได้เอง และเผลอๆ ท่านทำมากกว่าพวกเราด้วยซ้ำ
ตัวอย่างเช่น หลวงตามหาบัว แม้แต่นักวิชาการก็ไม่เข้าใจว่าที่ท่านทำผ้าป่าช่วยชาตินั้น ท่านทำไปเพื่ออะไร ซึ่งคนจะมองอย่างผิวเผินว่าเป็นเรื่องของเงินทอง แต่จริงๆ แล้วถ้าเราศึกษาจริงๆ แล้วจะพบว่าหากท่านไม่ทำแล้วคลังหลวงจะเป็นอย่างไร พวกเรารู้เรื่องของคลังหลวงมากน้อยแค่ไหน ที่เงินคลังหลวงหมดไปนั้นเป็นอย่างไร จะมีสักกี่คนที่ได้รับรู้เรื่องของคลังหลวงอย่างแท้จริง หรือในกรณีของหลวงพ่อคูณคือการนำเอาปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ไปสร้างโรงพยาบาล ไปสนับสนุนด้านสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งหากเราทำการศึกษาจริงๆ จะพบว่าสาธารณประโยชน์ที่มาจากพระสงนั้นมีจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ก็มีบทบาทในการสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังภายในสังคมด้วย เพียงแต่คนทั่วไปจะติดภาพลักษณ์พระสงฆ์ในเรื่องของวัตถุมงคลเสียมากกว่า
SIU: แสดงว่าพระสงฆ์ก็ได้มีบทบาทมานานแล้วเพียงแต่ไม่มีสื่อไปประชาสัมพันธ์ว่าได้ทำอะไรบ้าง ???
ใช่ แล้วตามหลักคือเราทำงานแบบปิดทองหลังพระ ซึ่งพระองค์ท่านก็บอกว่า หากได้ทำแล้วก็จะปรากฏออกมาเอง ถ้าเรามัวแต่ปิดทองหน้าพระ ข้างหลังก็จะไม่เต็ม
SIU: อย่างกรณีของประเทศพม่าที่มีพระออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่วนในประเทศไทยเองก็มักจะมีคำพูดที่ว่าพระควรจะตัดกิเลสทางโลก ไม่ยุ่งเกี่ยวทางโลก แล้วเข้าสู่ทางธรรม ซึ่งกรณีนี้จะขัดแย้งกันหรือไม่
คือตอนนี้ ส่วนใหญ่โยมมักชอบที่จะให้พระอยู่วัดเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วในทางธรรมมะประวัติศาสตร์ ต้องพิจารณาว่าวัดนั้นกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สร้างวัดก่อนแล้วค่อยไปตรัสรู้ที่วัดนะ ท่านได้ออกจากการเป็นพระราชา โดยในสมัยนั้นการเป็นพระราชาก็ถือเป็นที่สุดแล้ว แต่ท่านก็ทิ้งทุกอย่างเพื่อออกบวชมาปฏิบัติธรรมในป่า การปฏิบัติธรรมของท่านมีทั้งที่ใช้วิธีสุดโต่ง และอีกหลายๆ วิธีที่ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถทำได้ ในที่สุดท่านก็ได้บรรลุธรรม หรือที่เรียกว่าตรัสรู้ ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ท่านนั่งบำเพ็ญอยู่
แสดงให้เห็นว่าท่านอยู่ในป่าตลอด จนกระทั่งเมื่อท่านได้ออกเผยแพร่พระธรรม ท่านก็ได้ไปเทศน์โปรดประชาชนตั้งแต่คนยากจน เศรษฐี และกษัตริย์ จึงทำให้เกิดความศรัทธาขึ้น เหล่าประชาชน เศรษฐี และกษัตริย์ จึงได้สร้างวัดขึ้นถวายพระพุทธเจ้า ทีนี้เมื่อท่านได้ค้นพบพระธรรมที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ท่านก็อยากจะเผยแพร่ เพื่อโปรดให้สัตว์โลกทั้งหลายสามารถเห็นพระธรรมได้อย่างที่ท่านได้ค้นพบเพื่อที่จะเกิดความสุขอย่างแท้จริง ก็คือการหลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร หรือที่เรียกว่าการปรินิพพาน
ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วเราอาจจะไม่มีปัญญาหรือความกรุณาเทียบเท่าท่าน แต่เราสามารถที่จะมีความบริสุทธิ์หรือการเป็นพระอรหันต์เทียบเท่าท่านได้ ตรงนี้เองทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อบทบาทของพระสงฆ์ว่าไม่ได้มีประโยชน์ต่อสังคม จริงๆ แล้วความเข้าใจในเรื่องของจิตอาสาในปัจจุบันก็มีพื้นฐานมาจากเรื่องในอดีตกาลคือเรื่องของ มฆมานพ ซึ่งเป็นชาติหนึ่งของพระอินทร์ โดย มฆมานพ พร้อมกับเพื่อนอีก 33 คนได้ทำงานจิตอาสาโดยทำงานอย่างจริงจัง ทำให้ได้รับอานิสงส์ด้านทานบารมีสูง จึงมาเกิดเป็นพระอินทร์ แต่ในพระพุทธศาสนาบัญญัติไว้ว่ามีทางบำเพ็ญกุศลอยู่ 3 ทางคือ ทาน ศีล และภาวนา ซึ่งการให้ทานเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เราต้องรักษาศีล แล้วก็ภาวนาด้วยจึงจะครบ
แต่ในยุคของปัจจุบันนี้เราอยู่ท่ามกลางกระแสทุนนิยม บริโภคนิยม เพราะฉะนั้นการที่เราจะปฏิบัติธรรมแบบตัดขาดโลกภายนอกไปเลยจะสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือเราก็สามารถทำได้แต่ต้องปฏิบัติแบบพระป่า เข้าไปอยู่ในป่าเลย แต่ในบริบทของพระที่อยู่ในเมืองจะพบว่าไม่ได้อยู่แยกจากโยม พระเองก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งศึกษาเล่าเรียนบาลี ศึกษาอภิธรรม ปริยัติ แต่ก็ศึกษาเรื่องการปฏิบัติไปด้วย อีกฝ่ายหนึ่งก็ศึกษาด้านการปฏิบัติบำเพ็ญให้ถึงจุดของการหลุดพ้นซึ่งก็คือนิพพาน โดยทั้ง 2 ฝ่ายก็ควบคู่กันไป
แต่เมื่อเราอยู่ในบทบาทตรงนี้เราจะเห็นว่าพระสงฆ์ที่อยู่ในเมืองจำนวนหนึ่งก็นำปัจจัยที่ได้รับจากญาติโยม ไปช่วยงานสาธารณกุศลต่างๆ แต่ท่านไม่ได้โปรโมท โดยในสังคมไทยนั้นเวลาที่มีคนทำดีเรามักจะมีคำถาม แต่เวลาที่คนทำชั่วเรามักจะชินชา ในสังคมปัจจุบันหากเราดูตามสื่อต่างๆ จะพบว่าข่าวของพระจะออกมาในเชิงลบเยอะ แต่สิ่งที่เราลืมถามคือทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นแค่ว่ามันแย่ ซึ่งเรามักจะเห็นว่าความแย่เป็นสิ่งภายนอก เรามักจะไม่เห็นว่าความทุกข์หรือความรู้สึกแย่มันมาจากใจของเราเอง คนจะไม่มองเรื่องนี้และมักจะโยนความผิดให้เป็นของสิ่งอื่นมากกว่าตนเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นพระหรอก
ซึ่งท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ คือ ทันใดที่เรื่องแย่ๆ ได้มาถึงพระ เมื่อนั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสังคมเสื่อม เพราะตามคติเดิมนั้น พระเป็นคติของบุคคลที่มีศีลทรงธรรม เป็นคนที่อยู่ยอดของปิรามิด สังคมไทยเราถือว่าคติพระเป็นนักบวช ถือเป็นเพศที่สูงอยู่ข้างบน คือสละจากเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตแล้ว ทันทีที่เรื่องแย่ๆ มันเสื่อมในสังคม ซึ่งหากเราพิจารณาจากประวัติศาสตร์จะพบว่าจริงๆ แล้วทางภาวะสังคมมันไปแล้ว คือเรื่องแย่ๆ ต่างๆ ข้างล่างมันไปหมดแล้ว จึงค่อยมากระทบพระ
เราลองไปดูก็ได้ว่าปัญหาสังคมในปัจจุบันนี้ถ้าลงมาจากข้างล่างลงไปมันแค่ไหน อัตราอาชญากรรม เรื่องของปัญหาการทำแท้ง เรื่องของโรคเอดส์ ฯลฯ ได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างน่าใจหาย แต่เราไม่ได้พูด เพราะเราชินชากับเรื่องเหล่านี้แล้ว เราคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วไม่ปกตินะ คือเราเสพสื่อแล้วเราเข้าใจ อย่างเช่นปัญหาของภาคใต้มันก็ยังเหมือนเดิม แต่คนได้ชินชากับความรุนแรงไปแล้ว โดยที่เราไม่คุ้นชินกับความดีจึงรู้สึกแปลกแยกกับความดีดังเช่นคนในปัจจุบัน ถ้าพูดจริงๆ ก็คือ แปลกแยกกับธรรมะนั่นเอง
SIU:มองประเทศไทยอีก 5 ปีข้างหน้าอย่างไร
จริงๆ คนจะรู้สึกกังวลเรื่องความเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงภายนอก ทั้งเรื่องของสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันหรือแม้กระทั่งเรื่องของโครงสร้างของสังคมในปัจจุบันนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วตามหลักของพระพุทธศาสนากล่าวว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ เพียงแต่เราไม่เห็นเท่านั้นเอง แต่ละวันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงให้เราเห็นอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้สังเกตจนเราเข้าใจว่าทุกอย่างมันเที่ยงแท้ มันไม่ได้เปลี่ยน แล้วมันจะคล้ายๆ ความเปลี่ยนแปลงเหมือนสึนามิ คือเราจะเข้าใจว่าสังคมมันเป็นแบบนั้น ในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่านั้นอีก โลกจะแตกบ้าง อะไรต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้ก็ได้มีการพูดกันมาทุกยุคทุกสมัยแหละ เรื่องของความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทีนี้ประเด็นอยู่ที่ว่าใน 5 ปีข้างหน้าหากถามในเชิงบริบทภาพรวม ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคม ก็คิดว่าคงมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ หากถามว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น คือเราจะเห็นได้ว่ากระแสที่ผ่านมาภัยพิบัติมันเยอะขึ้น ในแง่หนึ่งคือ ทั้งภัยพิบัติ ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมอะไรต่างๆ ที่เราเห็นนั้น จริงๆ แล้วเรามักจะมองว่าเป็นเรื่องภายนอก เป็นเรื่องของคนอื่น
แต่ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ของทุนนิยมในระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม มันเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภัยพิบัติในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็แก้ไม่ได้ในเชิงปัจเจก แม้แต่การประชุมเรื่องโลกร้อนที่ผ่านมา ก็จะพบว่าไม่มีมติออกมาอย่างจริงจัง คือเราจะเห็นทั้งความเปลี่ยนแปลงเชิงธรรมชาติ สังคม รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงปัจเจกด้วย คนจะมีกระแสที่ตื่นตัวกันมากขึ้นต่อปัญหาของสังคม
ตัวอย่างเช่น วิกฤติเสื้อเหลือง – เสื้อแดง ที่เราได้เห็นนั้น ก็เป็นข้อดีคือ ทำให้คนมีความตื่นตัวสนใจเรื่องของสังคมมากขึ้น เป็นการเรียนรู้ครั้งใหญ่ของสังคมไทย แต่อีกหลายคนก็ยังคงติดกับดักของการแบ่ง 2 ขั้วอยู่ แต่หลายคนเองก็ไม่ได้ประเมินของสีชมพูนะ อันนี้คืออาตมามองจากบทบาทที่ได้มาเห็น ซึ่งตรงนี้เองทำให้เราได้เห็นว่าคนจะแยกอย่างชัดเจน คือคนที่ทำชั่วหรือทำไม่ดีอะไรต่างๆ ก็จะไปอยู่อีกกลุ่มหนึ่งเลย แต่มีด้านดีคือว่าตรงนี้จะทำให้คนที่ดีๆ เกิดการรวมตัวอย่างสำคัญ เรา
จะเห็นว่าความขัดแย้งเรื่องเสื้อเหลือง – เสื้อแดงนั้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมได้หายไปหรือเบาบางลงไป คือถึงจุดหนึ่งคนจะรู้ว่า ไม่ว่าเสื้ออะไรก็ตาม หากไม่ช่วยกัน เราจะไม่รอด คนทุกคน รักสุข เกลียดทุกข์ ทั้งนั้นแหละ แต่ถึงจุดหนึ่งก็ต้องช่วยกัน ไม่งั้นจะล่มทั้งชีวิตตนเอง ครอบครัวตัวเอง จังหวัดตัวเอง บ้านเมืองตัวเอง ตลอดจนประเทศชาติตัวเอง จนถึงระดับโลก เราจะเห็นได้จากด้านของ Social Network ที่ทำให้คนตื่นตัวและทำให้คนมารวมตัวกัน
นี่ก็เป็นสิ่งที่อาตมาเห็นจากที่ผ่านมาและก็ต่อไปด้วย คือฝั่งหนึ่งนั้นเราจะเห็นว่าปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ครบรอบของงานอาสาสมัครสากล หรือเรียกว่าครบรอบ 10 ปีแห่งการเฉลิมฉลองงานอาสาสมัครสากล เราก็ได้เห็นว่ากระแสจิตอาสาได้เติบโตไปทั่วโลก จนเขาบอกว่างานจิตอาสานั้นไม่ใช่เป็นแค่เหลือบของสังคมอีกต่อไป แต่เรียกว่าอยู่ในทุกอณูของวิถีชีวิตของคนในสังคม
คือการที่มีวีถีชีวิตโดยคิดถึงคนอื่น ซึ่งก็คิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันภายใต้บริบทของพระสงฆ์เราก็พบว่า จริงๆ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว การเอื้อเฟื้อกัน วิถีชีวิตการทำบุญ ต่างๆ นั้นเคยมีอยู่ในสังคมไทย แต่มันได้หายไป อาตมาคิดว่ากระแสของวิกฤติการณ์ในปัจจุบันจะทำให้คนมีโอกาสได้มีพัฒนาการในการมีจิตสำนึกสาธารณะผ่านการกระทำจริงๆ มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนตื่นตัวเรื่องภายในมากขึ้นด้วย
เราจะเห็นว่ากระแสเรื่องธรรมะจะเติบโตในทางตะวันตก ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ กระแสธรรมะในประเทศอิตาลีได้เติบโตขึ้นมากเลย คนในอิตาลีหันมานับถือพระพุทธศาสนากันมากขึ้น ประเทศอินเดีย จีน หรือแม้แต่รัสเซีย ประเทศที่ถือได้ว่าแบบ คิดว่าเป็นในอนาคตเราก็เห็นได้ว่า อินเดียและจีนจะมากขึ้นเรื่อยๆ หรือแม้แต่ในปัจจุบันอาเซียนที่เราเห็น พม่าเองก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราไม่ได้มีการศึกษาเรื่องภายในมันก็จะเหมือนกับดักเดิมอย่างที่เราเห็น ที่อเมริกาผิดพลาดมาแล้ว ที่ประเทศในฝั่งอุตสาหกรรมก็ผิดหวังมาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนาในปัจจุบันนั้นเรากำลังอยู่ในกับดักของอเมริกาอยู่ ทุกคนใช้โมเดลนี้หมดเลยนะ ในขณะที่อเมริกานั้นผิดพลาดมาแล้ว แต่จุดหนึ่งที่วิกฤติในยุคปัจจุบันจะทำให้เรามาทบทวน อย่างนิวเคลียร์ปัจจุบันที่เราเห็น นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น พอเกิดขึ้นแล้วทำให้ประเทศเยอรมันทั้งประเทศทบทวนนโยบายพลังงานของประเทศใหม่ จากเดิมที่จะขยายโรงงานนิวเคลียร์ เขากลับจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เขาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น เปลี่ยนเป็นใช้พลังงานสีเขียว เช่นพลังงานลม พลังงานน้ำ ฯลฯ ซึ่งการลงทุนนั้นสูงแต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นน้อยกว่า เหมือนกับเรื่องของผลกระทบ EIA
เราเคยประเมินผลกระทบหรือไม่หากเกิดสึนามิกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย หรือเกิดเหตุอะไรแบบนี้ ที่ญี่ปุ่นเขาอาจจะทำมาก่อนเรา ซึ่งเขาก็จะมีพัฒนาการที่สูงนะ แต่พอเกิดเรื่องนี้ขึ้นมาเราก็ต้องเพิ่มตัว Factor อื่นๆ ด้วย หลายครั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเราไม่ได้ประเมินในเรื่องนี้ ใครจะไปคิดว่าจะเกิดสึนามิแบบนี้แล้วเกิดผลกระทบต่อนิวเคลียร์ ณ เวลานั้นคนไม่ได้คิด แต่เวลานี้คนตื่นตัวแล้ว แต่ขณะเดียวกันของเราเองกลับไม่ได้ตื่นตัวตรงนี้
ขณะเดียวกันเรื่องสุดท้ายที่จะบอกหรืออาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดก็ได้ คือจริงๆ แล้วปีนี้เป็นปีที่ครบ 2,600 ปีของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลองการครบรอบของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในปีที่ผ่านมาคือ ปี พ.ศ.2554 เขานับกัน 2,555 พรรษาบวกกับ 45 พรรษา ก็เป็น 2,600 ปีของการตรัสรู้ แต่ของเราจะนับต่างจากทั่วโลกประมาณ 1 ปีซึ่งของเราจะครบในปีนี้ ในทั่วโลกแม้แต่ ดาไลลามะ เองก็บอกชัดเจนว่าเราเองต้องปฏิบัติกันมากขึ้นทุกๆ คน ไม่ใช่แค่พระสงฆ์อย่างเดียวแต่รวมถึงต้องปฏิบัติกันทุกคน เวลาเราพูดอะไรเราต้องทำด้วย
ถ้าในระดับความรู้ในเชิงปกติทางโลก ถ้าเราพูดอะไรเราต้องทำด้วย หรือแม้แต่ความรู้ทางธรรมที่เราเรียนในสายธรรมะ เราเรียนอะไรมาเราต้องปฏิบัติด้วย ถึงจุดหนึ่งเมื่อเราได้เกิดเข้าใจธรรมะมากขึ้นแล้วเราจะพบว่าธรรมะไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวเองอย่างเดียว มันสามารถที่จะใช้ประโยชน์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมได้ อย่างที่เราเห็นว่ามีการประชุมนักวิทยาศาสตร์ และการประชุมถึงบทบาทของพระพุทธศาสนาต่อการแก้ไขปัญหาโลก และมันก็มีความสนใจอย่างมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันนั้นก็เป็นสิ่งที่เราพบว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นไม่ใช้แค่เรื่องส่วนตัวอย่างเดียว
แต่ในขณะที่สังคมไทยเราเองก็พบว่าเรื่องนี้มันถูกบิดเบือนเยอะ อย่างเมื่อวานเป็นวันพระ จะมีสักกี่คนที่รับรู้ แล้วคนที่เข้าใจวันพระจริงๆ คนที่รู้ว่าเป็นวันพระแล้วจะบอกว่าไม่กินเหล้าสักวันหนึ่งได้หรือไม่ ก็ไม่มี คือเราถูกทำให้วิถีชีวิตมันหายไป อย่างที่อาตมาบอกกลับไปที่คำถามตอนแรกคือเรื่องของวิถีนั้น หากเราเชื่อในสิ่งไหน เรามีความชอบในสิ่งไหน มีฉันทะในสิ่งไหน ขอให้ทำให้เต็มที่ในเรื่องที่ดีๆ แล้วสุดท้ายมันจะไปเจอกันเอง
เช่นกันในส่วนของเรื่องของที่พระก็ตาม ถ้าเกิดมันมีวิถีชีวิต หรือแม้แต่โยมนะ เหมือนอย่างวันพระถ้าเราได้ทำอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่เรื่องทำความดีอย่างเช่น จิตอาสา นั้นถ้าเราทำอย่างต่อเนื่อง เราจะพบเองว่ามันจะไปสู่ที่ดีๆ เอง อย่างที่เขาบอกว่า คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดีแล้วเราก็จะไปสู่สถานที่ดีๆ เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อปัญญา อาตมาว่าคำนี้ก็ยังใช้ได้เสมอนะ
เราจะรู้ว่าตัวของเราเองเป็นอย่างไร เราก็ดูว่าเพื่อนเราเป็นอย่างไรก็ได้ เพราะเบื้องต้นเราจะไม่ค่อยมองตัวเองนะ ถ้าเราเห็นเพื่อนเป็นอย่างไร เราก็สามารถสะท้อนได้ว่าเราเป็นคนแบบนี้แหละ คนแบบเดียวกันก็จะมาเจอกัน คนดีก็จะไปกับคนดี คนชั่วก็จะไปกับคนชั่วแหละ แต่สิ่งที่สังคมในปัจจุบันนี้เป็นคือคนดีจะรวมตัวกันยาก แต่คนชั่วมันมองหน้ากันก็ปล้นแบงค์ได้แล้ว ไม่ต้องมีการวางแผน ไม่ต้องมีกำหนดการ ในขณะที่คนดีนั้นต้องทำ หรือแม้แต่ขอทุน ทำโครงการอะไรต่างๆ ต้องวางแผนเยอะ ต้องใช้เวลา วางโปรเจค Presentation ต่างๆ ซึ่งมันยาก คือต้องบอกว่า ระบบที่เอื้อต่อการสนับสนุนความดีนั้นมีน้อย
แต่มันไม่ใช่ว่าจะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วระบบนวัตกรรมต่างๆ ทั่วโลกมันจะเอียงไปในทางที่เอื้อให้คนทำดีมากยิ่งขึ้น นี่คือระดับ Trend นะ แต่ขณะเดียวกันในระดับของประเทศไทย คือระดับพุทธ จริงๆ แล้วเราโชคดีกว่าเขา แต่เราไม่รู้ เพราะว่าเรามีระบบนั้นอยู่แล้ว คือระบบวิถีพุทธ แต่ประเด็นคือเราใช้แค่ไหน เรื่องหลักชาวพุทธเรารู้หรือไม่ แล้วเรื่องของวิถีวันพระ การทำความดีอย่างต่อเนื่อง บุญบารมีต่างๆ ถ้าเราทำอย่างต่อเนื่อง มันจะไปได้ เราจะได้เรียนรู้ทั้งตัวเราเองมากขึ้นและก็ได้มีโอกาสที่จะทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย
ในหลายๆ ครั้งหากเราจะมองเรื่องการเปลี่ยนผ่านในอนาคต คนมักจะคิดไปในทางลบก่อนแต่ไม่ได้คิดในเชิงบวกเลยส่วนใหญ่ สังคมมีโอกาสที่เปลี่ยนไปในเชิงดีได้หรือลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับคนในสังคม เช่นกัน แม้แต่ Trend ในแต่ละปีนั้น หากเราต้องการดูในแต่ละปีว่า Trend สังคมจะเป็นอย่างไร เราก็เริ่มดูจากต้นปี เช่น อย่างตอนต้นปีหากเราต้องการดูว่ากระแสทางจิตวิญญาณของสังคมจะเป็นอย่างไร เราก็ดูจากกระแสการสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งตอนต้นปีเราได้เห็นกระแสของการสวดมนต์ข้ามปี เราจะใช้โอกาสนี้อย่างไรในการที่จะช่วยให้พวกเราทุกคนในสังคมสามารถฝ่าวิกฤติไปด้วยกันได้ คล้ายๆ กับเมื่อเราต้องการที่จะทำงานใหญ่เราก็ต้องทำเรื่องบุญใหญ่ด้วยกัน
ซึ่งอาตมาคิดว่าก็ต้องดูว่าอะไรที่สามารถทำได้ แล้วก็เห็นนะว่า ต้นปีนั้นพวกเราทุกคนที่ได้ผ่านวิกฤติน้ำท่วมมา ได้มารวมตัวกันทำในสิ่งที่ดีๆ หรือแม้แต่ในช่วงน้ำท่วมก็น่าอนุโมทนากับทุกคนด้วยที่ได้ช่วยกันทำทุกรูปแบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศไทย ตรงนี้เองก็ได้เห็นว่ามันจะส่งผลแน่นอนไม่ใช่แค่ในปีนี้หรือในอีก 5 ปี แต่ในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้าก็จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างแน่นอน
ที่สำคัญคือ อนาคตของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ตัวของเรา อยู่ที่ตัวของพวกเราทุกคน ก็อยู่ที่กรรมของเราเอง ไม่ใช่สิ่งที่ขึ้นอยู่กับคนอื่น หากเรารู้เหตุปัจจัยใด เราก็ทำตามนั้นแค่นั้นเอง แล้วเราก็จะไปเจอกันเอง อาตมาเชื่อว่าเราน่าจะมีทิศทางแนวโน้มของอนาคตที่คิดว่าหากเราทำสิ่งต่างๆ ในเชิงกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณงามความดี
อาตมาเชื่อว่าประเทศไทยจะผ่านไปได้ แล้วก็ขอจบอย่างที่บอกว่า ตอนช่วง พ.ศ.2519 หรือช่วงคอมมิวนิสต์ หลายคนจริงๆ เราจะไม่เรียนรู้เรื่องของประวัติศาสตร์ของประเทศเราเองนัก เราจะรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของโลก หรือประวัติศาสตร์ยุโรปมากกว่า แต่จริงๆ แล้วของเราเองหากเราจำได้ในยุคของคอมมิวนิสต์ ซึ่งยุคนั้นเองนักวิเคราะห์ทั่วโลกก็มองเมืองไทยว่าจะเป็นโดมิโน เป็นคอมมิวนิสต์อย่างแน่นอน
ซึ่งอาตมาเคยได้ยินเรื่องเล่าจากดร.สุเมธ ตันติเวชกุลว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถาม ดร.สุเมธ ว่าทำไมเมืองไทยถึงรอดจากการเป็นคอมมิวนิสต์ ดร.สุเมธ เห็นว่าเป็นคำถามที่ลึกซึ้งจึงยังไม่ได้ตอบ
พระองค์ท่านจึงบอกว่า ที่ประเทศไทยยังสามารถอยู่ได้โดยที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์เพราะคนไทยยังให้กันอยู่ อาตมาว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันนี้หากเราให้ และเราสามารถที่จะมาสนใจในเรื่องของศีลด้วย จริงๆ ตรงนี้อาตมาว่าก็สามารถพูดได้เยอะ เราจะเห็นว่าในปัจจุบันนี้ที่เราอยู่กันได้เพราะเราให้กันจริงๆ เราจะเห็นคนช่วยกันในเรื่องน้ำท่วมเยอะ
พระพุทธศาสนาเองก็บอกว่า กรรมในปัจจุบัน หรือสิ่งที่เราเจอในปัจจุบันนี้ มันไม่ได้มีที่มาที่ไปอย่างไม่รู้ แต่มันเป็นเพราะสิ่งที่เราทำในอดีต เช่นกัน เหมือนกับสิ่งที่เราประสบในปัจจุบัน ก็เป็นผลจากที่เราและพวกเราทำกันในอดีต ไม่ใช่เพราะคนอื่น เพราะฉะนั้นกรรมในอนาคตก็ขึ้นอยู่กับกรรมในปัจจุบันของเราว่าเราจะทำอะไรบ้าง เราจะร่วมมือสร้างสรรค์อะไรได้บ้างเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นก็ฝากไว้ตรงนี้แหละว่าทุกอย่างอยู่ในกำมือของเรา ขึ้นอยู่กับเราทั้งนั้น
ที่มา.Siam Intelligence Unit
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น