ความแตกต่างของวัฒนธรรมและกฎระเบียบของแต่ละท้องถิ่น
เป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วน
เช่นเดียวกับโอกาสของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ต้องใช้หลักการดังกล่าวก่อนจะก้าวเข้าสู่เป้าหมาย
ตัวอย่างจากรุ่นพี่
หรือผู้ประสบความสำเร็จมาก่อนจึงเป็นคัมภีร์ที่นักธุรกิจไทยใช้เรียนรู้ได้
เช่นเดียวกับเวียดนาม ซึ่งวันนี้มีดีกรีความ
หอมของตลาดไม่แพ้กับชาติใดในอาเซียนเลย
นางสาวพรรณพิมล สุวรรณพงศ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2554 อยู่ที่ 5.9% และปี 2555 คาดว่าจะโต 5.6% ส่วนปี 2556-2559 จะเติบโต 7.2% โดยประชากรมีรายได้เฉลี่ย 1,328 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ทั้งนี้เวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุนและเข้ามาเปิดตลาด เนื่องจากจำนวนประชากรที่มีถึง 87 ล้านคน และยังเป็นกลุ่มที่สินค้าและบริการยังเข้ามาพัฒนาตลาดไม่มากนัก
- ผูกมิตรโชวห่วยแทนเปิดร้าน
นายสุเวศ วังรุ่งอรุณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เวียดนาม จำกัด เปิดเผยว่า การทำตลาดในเวียดนามอยู่ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งทางบริษัทจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทาง การตลาดเพื่อสอดรับกับสภาพที่เป็นอยู่ อาทิ ข้อจำกัดในการเปิดร้านค้าปลีกในเวียดนาม ซึ่งยังไม่เปิด ให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนได้ 100% อีกทั้งยังมีขั้นตอนซับซ้อนมากโดยเฉพาะกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ที่ยังจำกัดสิทธิ์ส่วนใหญ่ไว้ให้กับคนในประเทศ ดังนั้น การขยายร้าน “ซีพี เฟรชมาร์ท” แบบที่ทำในเมือง ไทยอาจจะยังไม่ใช่รูปแบบที่เหมาะสมในตอนนี้
ดังนั้น บริษัทจึงได้ใช้กลยุทธ์การนำตู้เย็นเข้า ไปวางในร้านโชวห่วยต่างๆ และช่วยทำการตกแต่ง ร้านค้าให้แทน ขณะนี้มีโมเดลที่เรียกว่า “CP Shop” อยู่ประมาณ 400 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ในซอย รวมสินค้าประมาณ 10 รายการ เริ่มทำตลาดมาแล้ว 4 ปี มีอัตราการเติบโต 30-40% ต่อเนื่องทุกปี
นายสุเวศ กล่าวว่า คนเวียดนามรักการค้าขาย จึงเห็นร้านโชวห่วยกระจายอยู่ทั่วทุกมุมซอย เนื่องจากประชากรมีการใช้มอเตอร์ไซค์เป็นหลัก จึงไม่จำเป็นที่ร้านค้าจะต้องอยู่ติดถนนใหญ่เสมอไป อีกทั้งการทำธุรกิจร้านโชวห่วย ได้รับการปกป้องจากทางภาครัฐ หากต่างชาติต้องการเข้ามาในธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีการทำรายงาน Economic Need Test : ENT เพื่อหาความเหมาะสมของการเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในแต่ละพื้นที่ด้วย
สำหรับตลาดค้าปลีกในเวียดนามในปัจจุบัน ยังมีแบรนด์ ไม่มากนัก หรือประมาณ 300 แห่งที่มีการจดทะเบียน อาทิ บิ๊กซี เมโทร และโคออพ
- นวัตกรรมไส้กรอกไม่พึ่งตู้เย็น
นอกจากนั้น กลยุทธ์การออกสินค้าสำหรับชาวเวียดนาม ยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนที่นั่น โดยพบว่า หลายพื้นที่ของเวียดนาม ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และครัวเรือนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีตู้เย็น ดังนั้น จึงต้องหานวัตกรรมสินค้าที่เก็บรักษาได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็นมาทำตลาด ล่าสุดได้แนะนำผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูที่เก็บได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ราคา 5,000 ดองเวียดนาม หรือประมาณ 7-8 บาท สามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 4 เดือน โดยจะเป็นสินค้าที่ใช้ทำตลาดในประเทศที่ยังมีประชากรที่ไม่มีตู้เย็นในอนาคต เช่น พม่า เป็นต้น
สำหรับการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม ปีที่ผ่านมาซีพีมีรายได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท มาจากกลุ่มอาหารสัตว์ (Feed) 52% ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) 42% ธุรกิจแปรรูปอาหาร (Food) 4% อื่นๆ 2% ทั้งนี้กลุ่มอาหารแปรรูปจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะทำการบุกตลาดมากขึ้น ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และโอกาสจากประชากรกว่า 80 ล้านคน หากเปรียบเทียบอัตราการบริโภคกับประเทศไทย พบว่า หากเป็นส่วนของเนื้อหมู เวียดนามมีความต้อง การถึง 40 ล้านตัวต่อปี ขณะที่ประเทศไทยต้องการ เพียง 10 ล้านตัวต่อปี เป็นต้น
- สามแม่ครัวคู่ขนมปังก่อนลุยข้าว
นายมงคล บัณฑรรุ่งโรจน์ รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนลเวียดนาม จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเริ่มต้นทำตลาด ปลากระป๋องตราสามแม่ครัวในเวียดนามเมื่อ 19 ปีที่ผ่านมา โดยช่วงแรกใช้เวลาถึง 8 ปีก่อนที่จะประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นเบอร์ 1 ในเวียดนามในขณะนี้ และมีกำลังผลิตเหลือพอที่จะส่งกลับไปขายในไทยอีกประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี ขณะนี้ยังมีแผนการเปิดโรงงานแห่งที่ 2 อีกด้วย
สำหรับกลยุทธ์ในการทำตลาดปลากระป๋องตราสามแม่ครัว เริ่มต้นจากพนักงานเพียง 10 คนที่ส่งสินค้าไปวางจำหน่ายในร้านต่างๆ โดยการนำเข้าประมาณ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนมาพบว่าพฤติกรรมของชาวเวียดนาม นิยมรับประทานขนมปังฝรั่งเศส (Baguette) ในลักษณะ คล้ายแซนด์วิช โดยเรียกว่า “บั๊นหมี่” ซึ่งมีไส้ตามวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ผัก หมูยอ หรือหมูสับ ดังนั้น บริษัทจึงได้คิดริเริ่มที่จะนำปลากระป๋องเป็นไส้ของขนมปังดังกล่าว โดยนำสินค้าวางในรถเข็นขายบั๊นหมี่ ประมาณ 1,000 จุด ประกอบกับการทำป้ายและสติกเกอร์สร้างแบรนด์สินค้า จนทำให้ชาวเวียดนามเริ่มทดลองรับประทานปลากระป๋องและชื่นชอบในสไตล์ดังกล่าว จนทำให้สามแม่ครัวประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะขยายตลาดในวงกว้าง จนกลายเป็นเบอร์ 1 ในตลาดปลากระป๋องในเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ตลาดปลากระป๋องในเวียดนาม ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากขนาดตลาดเพียงครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ดังนั้นแผนการบุกตลาดต่อไป คือการทำให้ชาวเวียดนามรับประทานปลากระป๋องกับข้าวนอกเหนือจากการนิยมรับประทานกับขนม ปังอย่างที่ผ่านมา
-โอกาสของสินค้าไทยในเวียดนาม
นายมงคล กล่าวว่า จากการเข้ามาร่วมทุนของ บมจ.เบอร์ลี่ยุคเกอร์ (BJC) เพื่อขยายธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในตลาดเวียดนาม อาทิ กระดาษเซลล็อกซ์, กลุ่มสแน็ก และกลุ่มเครื่องดื่มใหม่ๆ เป็นต้น บริษัทยังมีแผนการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าในเมืองโฮจิมินห์ ภายใต้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท บนพื้นที่ 13,000 ตารางเมตร
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการขยายลงทุนไปสู่ธุรกิจค้าปลีก เพื่อต่อยอดธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมองหาพื้นที่เขต 1 ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์กลางธุรกิจของเมืองโฮจิมินห์ เพื่อตั้งร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ คาดว่าจะใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นตารางเมตร และน่าจะตั้งได้ภายใน 6 เดือนจากนี้ โดยจะเน้นจำหน่ายสินค้าไทยเป็นหลัก ประมาณ 70% เนื่องจากคนเวียดนามนิยมสินค้าจากเมืองไทยเป็นอย่างมาก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
นางสาวพรรณพิมล สุวรรณพงศ์ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2554 อยู่ที่ 5.9% และปี 2555 คาดว่าจะโต 5.6% ส่วนปี 2556-2559 จะเติบโต 7.2% โดยประชากรมีรายได้เฉลี่ย 1,328 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ทั้งนี้เวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุนและเข้ามาเปิดตลาด เนื่องจากจำนวนประชากรที่มีถึง 87 ล้านคน และยังเป็นกลุ่มที่สินค้าและบริการยังเข้ามาพัฒนาตลาดไม่มากนัก
- ผูกมิตรโชวห่วยแทนเปิดร้าน
นายสุเวศ วังรุ่งอรุณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เวียดนาม จำกัด เปิดเผยว่า การทำตลาดในเวียดนามอยู่ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งทางบริษัทจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทาง การตลาดเพื่อสอดรับกับสภาพที่เป็นอยู่ อาทิ ข้อจำกัดในการเปิดร้านค้าปลีกในเวียดนาม ซึ่งยังไม่เปิด ให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนได้ 100% อีกทั้งยังมีขั้นตอนซับซ้อนมากโดยเฉพาะกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ที่ยังจำกัดสิทธิ์ส่วนใหญ่ไว้ให้กับคนในประเทศ ดังนั้น การขยายร้าน “ซีพี เฟรชมาร์ท” แบบที่ทำในเมือง ไทยอาจจะยังไม่ใช่รูปแบบที่เหมาะสมในตอนนี้
ดังนั้น บริษัทจึงได้ใช้กลยุทธ์การนำตู้เย็นเข้า ไปวางในร้านโชวห่วยต่างๆ และช่วยทำการตกแต่ง ร้านค้าให้แทน ขณะนี้มีโมเดลที่เรียกว่า “CP Shop” อยู่ประมาณ 400 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ในซอย รวมสินค้าประมาณ 10 รายการ เริ่มทำตลาดมาแล้ว 4 ปี มีอัตราการเติบโต 30-40% ต่อเนื่องทุกปี
นายสุเวศ กล่าวว่า คนเวียดนามรักการค้าขาย จึงเห็นร้านโชวห่วยกระจายอยู่ทั่วทุกมุมซอย เนื่องจากประชากรมีการใช้มอเตอร์ไซค์เป็นหลัก จึงไม่จำเป็นที่ร้านค้าจะต้องอยู่ติดถนนใหญ่เสมอไป อีกทั้งการทำธุรกิจร้านโชวห่วย ได้รับการปกป้องจากทางภาครัฐ หากต่างชาติต้องการเข้ามาในธุรกิจนี้ จำเป็นต้องมีการทำรายงาน Economic Need Test : ENT เพื่อหาความเหมาะสมของการเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในแต่ละพื้นที่ด้วย
สำหรับตลาดค้าปลีกในเวียดนามในปัจจุบัน ยังมีแบรนด์ ไม่มากนัก หรือประมาณ 300 แห่งที่มีการจดทะเบียน อาทิ บิ๊กซี เมโทร และโคออพ
- นวัตกรรมไส้กรอกไม่พึ่งตู้เย็น
นอกจากนั้น กลยุทธ์การออกสินค้าสำหรับชาวเวียดนาม ยังต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนที่นั่น โดยพบว่า หลายพื้นที่ของเวียดนาม ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และครัวเรือนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีตู้เย็น ดังนั้น จึงต้องหานวัตกรรมสินค้าที่เก็บรักษาได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็นมาทำตลาด ล่าสุดได้แนะนำผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมูที่เก็บได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น ราคา 5,000 ดองเวียดนาม หรือประมาณ 7-8 บาท สามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 4 เดือน โดยจะเป็นสินค้าที่ใช้ทำตลาดในประเทศที่ยังมีประชากรที่ไม่มีตู้เย็นในอนาคต เช่น พม่า เป็นต้น
สำหรับการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม ปีที่ผ่านมาซีพีมีรายได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท มาจากกลุ่มอาหารสัตว์ (Feed) 52% ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) 42% ธุรกิจแปรรูปอาหาร (Food) 4% อื่นๆ 2% ทั้งนี้กลุ่มอาหารแปรรูปจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะทำการบุกตลาดมากขึ้น ตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ และโอกาสจากประชากรกว่า 80 ล้านคน หากเปรียบเทียบอัตราการบริโภคกับประเทศไทย พบว่า หากเป็นส่วนของเนื้อหมู เวียดนามมีความต้อง การถึง 40 ล้านตัวต่อปี ขณะที่ประเทศไทยต้องการ เพียง 10 ล้านตัวต่อปี เป็นต้น
- สามแม่ครัวคู่ขนมปังก่อนลุยข้าว
นายมงคล บัณฑรรุ่งโรจน์ รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนลเวียดนาม จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเริ่มต้นทำตลาด ปลากระป๋องตราสามแม่ครัวในเวียดนามเมื่อ 19 ปีที่ผ่านมา โดยช่วงแรกใช้เวลาถึง 8 ปีก่อนที่จะประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นเบอร์ 1 ในเวียดนามในขณะนี้ และมีกำลังผลิตเหลือพอที่จะส่งกลับไปขายในไทยอีกประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี ขณะนี้ยังมีแผนการเปิดโรงงานแห่งที่ 2 อีกด้วย
สำหรับกลยุทธ์ในการทำตลาดปลากระป๋องตราสามแม่ครัว เริ่มต้นจากพนักงานเพียง 10 คนที่ส่งสินค้าไปวางจำหน่ายในร้านต่างๆ โดยการนำเข้าประมาณ 1 ตู้คอนเทนเนอร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนมาพบว่าพฤติกรรมของชาวเวียดนาม นิยมรับประทานขนมปังฝรั่งเศส (Baguette) ในลักษณะ คล้ายแซนด์วิช โดยเรียกว่า “บั๊นหมี่” ซึ่งมีไส้ตามวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ผัก หมูยอ หรือหมูสับ ดังนั้น บริษัทจึงได้คิดริเริ่มที่จะนำปลากระป๋องเป็นไส้ของขนมปังดังกล่าว โดยนำสินค้าวางในรถเข็นขายบั๊นหมี่ ประมาณ 1,000 จุด ประกอบกับการทำป้ายและสติกเกอร์สร้างแบรนด์สินค้า จนทำให้ชาวเวียดนามเริ่มทดลองรับประทานปลากระป๋องและชื่นชอบในสไตล์ดังกล่าว จนทำให้สามแม่ครัวประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะขยายตลาดในวงกว้าง จนกลายเป็นเบอร์ 1 ในตลาดปลากระป๋องในเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม ตลาดปลากระป๋องในเวียดนาม ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก จากขนาดตลาดเพียงครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ดังนั้นแผนการบุกตลาดต่อไป คือการทำให้ชาวเวียดนามรับประทานปลากระป๋องกับข้าวนอกเหนือจากการนิยมรับประทานกับขนม ปังอย่างที่ผ่านมา
-โอกาสของสินค้าไทยในเวียดนาม
นายมงคล กล่าวว่า จากการเข้ามาร่วมทุนของ บมจ.เบอร์ลี่ยุคเกอร์ (BJC) เพื่อขยายธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายในตลาดเวียดนาม อาทิ กระดาษเซลล็อกซ์, กลุ่มสแน็ก และกลุ่มเครื่องดื่มใหม่ๆ เป็นต้น บริษัทยังมีแผนการก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าในเมืองโฮจิมินห์ ภายใต้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท บนพื้นที่ 13,000 ตารางเมตร
ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาการขยายลงทุนไปสู่ธุรกิจค้าปลีก เพื่อต่อยอดธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมองหาพื้นที่เขต 1 ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์กลางธุรกิจของเมืองโฮจิมินห์ เพื่อตั้งร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ คาดว่าจะใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นตารางเมตร และน่าจะตั้งได้ภายใน 6 เดือนจากนี้ โดยจะเน้นจำหน่ายสินค้าไทยเป็นหลัก ประมาณ 70% เนื่องจากคนเวียดนามนิยมสินค้าจากเมืองไทยเป็นอย่างมาก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น