หลายคนวิจารณ์ว่าการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ยังต้องฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคอีกมากมาย และอาจเปิดตัวไม่ทันตามกำหนดในปี 2558 เหตุเพราะแต่ละประเทศต่างตั้งท่าปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยการใช้เงื่อนไขพิเศษ ยกตัวอย่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีเอ็ม) ล่าสุด ที่ประเทศกัมพูชา ก็ทำเอาเหล่ารัฐมนตรีปวดหัวไปตามๆ กัน
เนื่องจากต่างฝ่ายต่างอ้างเหตุผลที่จะไม่เปิดเสรีเต็มรูปแบบ อาทิ มาเลเซียเสนอให้นำเข้ารถยนต์เฉพาะรุ่นที่ไม่ได้ผลิตภายในประเทศ แถมยังต้องขออนุญาตพิจารณานำเข้าเป็นรายคัน นอกเหนือ จากนี้ต้องเสียภาษีตามปกติไทยเลยโต้กลับว่า ถ้าเช่นนั้นสินค้าเกษตรบางชนิดก็ต้องนำเข้าประเทศไทยได้เป็นบางช่วง เช่น การนำเข้าหอมหัวใหญ่ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่หอมไทยขาดตลาด ส่วนฟิลิปปินส์ก็ไม่น้อยหน้า ไม่ลดภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามกำหนด อ้างโน่นอ้างนี่ตามสไตล์
ในขณะที่ สปป.ลาว ไม่ลดภาษี เพราะไม่พร้อม แต่ขอให้เพื่อนบ้านเปิดประตูให้สินค้าจาก สปป.ลาวเข้า ไปขายแบบไร้ภาษีทุกรายการ สิงคโปร์ยิ่งแล้วใหญ่ ไม่เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนสนับสนุนธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี เพราะสิงคโปร์ไม่ค่อยมีธุรกิจเอสเอ็มอี
โอ้! พระเจ้า..ช่วยด้วย!
ซึ่งหากจะว่ากันแบบล้วงลึกเข้า ไปในก้นบึ้งของหัวใจ สาเหตุที่หลายประเทศไม่ยอมอ่อนข้อในเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากยังยึดติดใน ตัวกู..ของกู ทำให้นึกไปถึงการแข่งขันกีฬาฟุตบอล “ไทย-อินโดนีเซีย” ในยุคหนึ่ง ต่างคนต่างเล่นแบบไม่อยากชนะเพราะ ไม่ต้องการไปเจอกับเวียดนาม สุดท้าย อินโดนีเซียตัดสินใจยิงประตูตัวเองซะเลยหรือกีฬาซีเกมส์ คนเป็นเจ้าภาพหวังเพียงแค่ตำแหน่ง “เจ้าเหรียญทอง” ทำทุกอย่างเพื่อบรรลุเป้าหมายแม้กระทั่งการยัดเงินกรรมการแสดงให้เห็นถึงความไร้ “สปิริต”
เมื่ออาเซียนยังยึดมั่นเพียงแค่ผล ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ก็อยากรวม ตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะสมบูรณ์แบบ 100% อาจเป็นเพียงการรวมตัวกันแบบ หลวมๆ ไปเรื่อยๆ แม้ว่ากรอบ “เออีซีบลูปริ้นท์” หรือพิมพ์เขียวอาเซียนจะกำหนดแผนงานไว้อย่างชัดเจนว่าแต่ละประเทศต้องบูรณาการร่วมกันอย่างไรบ้าง เพื่อไปให้ถึงจุดหมายในปี 2558 แต่ก็ยังการันตีอะไรไม่ได้หากยังเต็มไปด้วยความเป็น “ตัวกู..ของกู” พระพุทธเจ้าตอบปัญหานี้ไว้ตั้งแต่ 2,500 ปีที่ผ่านมาว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ ทุกข์จะดับได้ ต้องดับที่ต้นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ใช่ดับที่ตัวทุกข์การที่หลายประเทศตั้งป้อมป้องกันคู่แข่ง ตรากฎหมายเฉพาะกิจ หรือเงื่อนไขข้อกำหนดที่อยู่นอกเวทีการเจรจาขึ้นมา เพื่อไม่ให้สินค้าจาก เพื่อนบ้านไหลเข้า ไปการแก้ไขไม่ ใช่ เพียงแค่การเรียก ร้องให้ยกเลิกกฎหมายนั้นๆ
เนื่องจากการยกเลิกกฎหนึ่ง อาจมีกฎอีก ข้อหนึ่งผุดขึ้นแทนแต่ต้องแก้ที่ต้นตอคือ “สปิริต” ผู้นำอาเซียนต้องมีสปิริต ได้บ้าง เสียบ้าง คละเคล้ากันไป แต่ถ้าทุกประเทศมุ่งจะเอาอย่างเดียว คิดแต่ได้ฝ่ายเดียวเออีซี หลังจากปี 2558 ก็คงมีสภาพไม่ต่าง จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่นก็คือ การยัดสินบนเจ้าหน้าที่ ซิกแซ็กหลบเลี่ยงช่องโหว่ของกฎหมาย เข้าทาง “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือ “คนโง่เป็นเหยื่อของคนฉลาด” เป็นได้แค่นั้นจริงๆ!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น