นานถึง 6 ปีแล้ว พลังอำนาจทหาร ถูกสร้างแล้วจัดมารวมศูนย์ตามแรงกดดันจาก “คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” แต่บัดนี้ “ต้นทาง” สั่งการอำนาจอยู่ในอาการผุกร่อน แทบไร้แรงชี้นำครอบทับสังคมอย่างน่าเกรงขามดุจเดิม ได้อีกสายบังคับบัญชา ตามการสั่งการใน แนวดิ่งออกอาการมึนๆ ผะวักผะวนกับหลักยึดที่คอยหนุนหลังให้แสดงแสนยานุภาพอำนาจอันไร้ขอบเขตทหารบางกลุ่ม ทอดสายตามองข้าม รั้ว “เขตทหารห้ามเข้า” ส่ายสายตาหาหลักยึดทางอำนาจใหม่ เพื่อเกาะไว้พักพิง และทหารอีกส่วนหนึ่ง พยายามหาทางลงจากอำนาจ พร้อมๆ กับถนอมเก็บศักดิ์ศรีไว้เป็นสัญลักษณ์ “ขุมอำนาจแห่งอดีต” เพียงเพื่อได้ปลอบประโลมใจอยู่เงียบๆ อาการมึน เหงาทางอำนาจจากฝ่าย ทหารสะท้อนถึงทิศทางอนาคตสังคมที่มีความหมายอยู่ไม่น้อย รวมทั้งบ่งบอกถึงอาการทหารเด็กเดินเรียงแถวให้ปากคำในเหตุการณ์ปราบ ประชาชนที่ชุมนุมทางการเมืองเมื่อพฤษภา 2553 ย่อมสะท้อนเป็นเบื้องต้นว่า ทหารไม่ได้เป็นกลุ่มอำนาจที่อยู่เหนือกติกา ของสังคม ก็พอเชื่อได้อยู่
นั่นคือ อิทธิฤทธิ์ของความตาย 98 ศพ และพลังเจ็บแค้นของประชาชนอีกนับพันบีบกดดันให้ทหารต้องจัดแถวมาร่วม เป็นส่วนหนึ่งและอยู่ภายใต้กติกาของสังคม เดียวกันเมื่ออำนาจทหารที่เคยมี มาจากศูนย์กลางการรัฐประหารสร้างขึ้นและให้ไว้การรัฐประหารล่าสุดเมื่อ 19 กันยายน 2549 สะท้อนถึงความล้มเหลวทางอำนาจแล้ว ศูนย์กลางอำนาจใหม่ย่อมงอกเงยเข้ามาแทนที่เป็นศูนย์อำนาจจากประชาชนที่สะท้อนถึงความชอบธรรมในการใช้อำนาจ โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่ไม่มีสร้อยมาห้อยท้าย ดังนั้น อำนาจของพรรคการเมืองที่ยึดมั่นวิถีของประชาชนจึงมีความชอบธรรมในการแสดงพลังอำนาจ
ด้วยเหตุนี้ 6 ปีหลังจากการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 แม้เป็นเวลาที่สั้นในการปรับตัวของพลังทางทหาร ได้แทบไม่ได้เชื่อ แต่ปัจจัยทางศูนย์อำนาจ จริงเกิดแผ่วลงอย่างรวดเร็ว คือปัจจัยเร่ง ให้ทหารต้องปรับตัวอย่างไม่รีรอนี่เป็นด้านดีๆ ที่พยายามหาจนเจอจากการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 คือทหารเริ่มปรับตัวอยู่ใต้กติกาของสังคม
> เหตุผล ข้ออ้างล้มเหลว
สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นบนซากความล้มเหลว ของการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 คือ สร้างให้ประชาชนแข็งแกร่ง และเติบโต ทางการเมืองอย่างมีวุฒิภาวะขึ้น พลังประชาชนที่แข็งแกร่งนี้ ได้กดทับให้พลังยึดอำนาจของทหารเกิดความลังเลที่จะผุดโผล่ขึ้นมาอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น ประกอบกับหาเหตุผลมาเป็นข้ออ้าง แบบเฉยเมยได้ไม่ง่ายอีกตามเคยการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 มีข้ออ้าง ว่า “ประเทศไม่สงบสุขเรียบร้อย” สังคมการเมืองเต็มไปด้วย “คนโกง” มาบริหารประเทศ เนื่องจากประชาชนหลงคล้อยตาม และสนับสนุนไปชั่วขณะ
ศูนย์กลางอำนาจหลังรัฐประหาร เร่ง “ประโคม-โหมคุณธรรม” ให้ประชาชน เลือก “คนดี” เข้ามาทำงาน การประชาสัมพันธ์แบบโฆษณาชวนเชื่อนานเป็นปี สุดท้ายต้องแพ้กับ “ความจริง” ที่ผุดขึ้นตามประจานในภายหลังคนดีที่ยัดแน่นในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ถูกกระชากหน้ากาก ประจานอย่างหนักว่า เป็นคนดีแบบสีเทา เลือกข้างมีฝ่ายเพื่อใช้กระบวนการยุติธรรม บำบัดความชิงชังส่วนตัว
คนดีจาก “องค์มนตรี” ชื่อ “พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์” ถูกโยกมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ชั่วคราว กลับมัวหมองทางอำนาจ บุกรุกที่ดินป่าสงวนมาสร้างบ้านพักผ่อน ซ้ำร้ายยังร่วมประชุมวางแผนกับ นักโฆษณาชวนเชื่อย่านสุขุมวิทเพื่อกำจัด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ออกจากระบบการเมืองของไทยอย่างไม่อินังขังขอบกับเสียงประชาชนนับสิบล้านที่หย่อนบัตรเลือกตั้ง
คนดีในคราบนักการเมือง ผู้ยึดมั่นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอย่าง “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกอุ้มให้เป็นนายกรัฐมนตรีในค่ายทหาร แต่กลับไม่ประสีประสากับการทำงาน กลายเป็น “คนดีแต่พูด” ซ้ำร้ายยังเพิกเฉยกับการปราบประชาชนจนล้มตายมากถึง 98 ศพ บาดเจ็บนับพันคน ครอบครัวขาดหลักพึ่งพิงยามยาก ช่างเป็นคนดีที่เหี้ยม ได้นั่งเก้าอี้นายก รัฐมนตรีอันอำมหิต
ความล้มเหลวบนชุดความคิด “คนดี” จึงเป็นบทเรียนทางอำนาจให้ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ต้องออกปาก “ยอมรับผิด” และเกิดแนว คิดใหม่หันหน้าหาทางสร้างความปรองดอง บนความแตกแยกของสังคม พล.อ.สนธิ กลายเป็นนักการเมือง เป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ ลงเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย ตำแหน่ง ส.ส.สมัยแรกของเขาถูกตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการ สร้างความปรองดอง เมื่อเสนอกฎหมายเข้าสภา แต่ถูกต่อต้าน
กฎหมายปรองดองค้างเติ่งในวาระการประชุมสภา กลายเป็นกฎหมายที่ถูกฝ่ายต่อต้านและพรรคประชาธิปัตย์นำไปขยายผลว่า เป็นกฎหมายฟอกความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ
พล.อ.สนธิ เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เขายึดอำนาจ ไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกนอกประเทศ แต่วันนี้เกมการเมืองที่เล่นเพื่อชนะอย่างเดียว ได้ลากให้เขาเป็น “คนของทักษิณ” หรือเป็นนายหน้าหาทางนำทักษิณกลับบ้าน
เวลาเพียง 6 ปี ในทางประวัติศาสตร์สังคม ช่างสั้นๆ เป็นเพียงเศษเสี้ยว ซึ่งไม่ อาจปรับอุดมการณ์ของสังคมให้เติบโตได้เป็นปึกแผ่น แต่หากมีเกมการเมืองมาปะปน กับอำนาจ ย่อมยัดเยียดชุดอุดมการณ์บุคคลให้พลิกหน้ามือเป็นหลังมือได้ และพล.อ.สนธิ ซึมซับกับบทเรียนทางอำนาจที่ล้มเหลวเช่นนี้ได้ลึกยิ่ง
> อำนาจทหารซึม ปชต.เบ่งบาน
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต มียศเป็น “นายทหารอากาศ” เมื่อมีตำแหน่งทางการเมืองเป็น “รมว.กระทรวงกลาโหม” การโยกย้ายจัดแถวทหารประจำปี 2556 ช่างราบรื่น ผู้บัญชาทุกเหล่าทัพยิ้มหน้าบาน มีความสุขถ้วนหน้าแม้มีอาการสะดุดทางอำนาจอยู่บ้าง ในกรณีโยกย้ายปลัดและรองปลัดกลาโหม แต่เป็นเพียงการกระตุกเล็กๆ ไม่ได้ทำให้งานจัดกำลังคนของเหล่าทัพต่างๆ เสียรูปความต้องการไปตามปกติ เมื่อยามศูนย์กลางอำนาจ เบ่งบานบารมีเหนือฟ้าดิน และทะเล อำนาจทางการเมืองไม่กล้าวอแวกับทหาร การเมืองเป็นเพียงตราประทับผ่านไปตาม ความต้องการของกองทัพ
แต่ครั้งนี้ การกำลังโยกย้ายทหารลงตัวเป็นระเบียบ ทุกส่วนอำนาจยิ้มเบิกบาน ราวกับกองทัพปรับตัวเข้ากับศูนย์กลาง อำนาจใหม่ได้ด้วยดีแน่นอน คงไม่ใช่ศูนย์กลางอำนาจของรหัส “เจ๊ ด.” และไม่ใช่รังของตระกูลชินวัตร แต่เป็นศูนย์กลางที่ถูกจัดระเบียบ ตามโครงสร้างการบริหารที่ขึ้นตรงกับประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
เมื่อเป้าหมายอยู่ที่ประชาชน อาการ ฮึกเหิมแบบคนห่ามๆ ทางอำนาจจึงไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาแข่งบารมี อวดศักดิ์ศรีอีก เมื่ออำนาจอยู่ที่ประชาชน องค์กรที่ รับงบประมาณภาษีประชาชนจึงควรสงบ เสงี่ยม ด้วยเหตุนี้อาการทางอำนาจของกลุ่มทหารจึงเต็มไปด้วยอาการ “ซึม” แบบคนเพิ่งซึมซับบทเรียนความล้มเหลวจากการรัฐประหารมาหยกๆ เป็นเช่นนี้ก็ดีแล้ว ประชาธิปไตยจะได้เบ่งบานเพื่อเป็นอำนาจต่อรองการพัฒนา ประเทศกับอารยะสังคมโลกในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา อาการประชาธิปไตยเริ่มเบ่งบานบนฐานประชาชนเติบโต ในวุฒิการเมืองและห่วงแหนสิทธิความเท่าเทียมทางการเมืองได้บ่งบอกใน หลายด้าน
ด้านหนึ่ง เกิดภาคประชาชนที่มี เป้าหมายทางการเมืองเฉพาะ รวมทั้งมีลักษณะการต่อสู้เพื่อปกป้องอำนาจความเท่าเทียมทางการเมืองไว้อย่างแข็งแกร่งอีกด้านหนึ่ง ประชาชนเรียนรู้ทาง การเมือง ด้วยการทำแนวร่วมเพื่อสนับสนุน พรรคการเมือง โดยมีเป้าหมายสะท้อนสัญลักษณ์กติกาประชาธิปไตยในสังคมเอาไว้
การเริ่มต้นเติบโตอย่างมีคุณภาพเช่นนี้ จึงกลายเป็นฐานการเมืองของพรรค เพื่อไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เลือกเดินสู่อำนาจด้วยวิถีประชาธิปไตย แน่ละ แนวทางเช่นนี้ จะดีหรือไม่ จะถูกหรือผิดก็ตาม แต่เป้าหมายประชาชน อยู่ที่การเลือกตั้ง ใช้ความเหตุทางการเมือง มาเป็นข้อยุติบนความแตกต่างทางความคิดที่หลากหลายนั่นจึงไม่แปลกเลยที่พรรคในขอบ ข่ายอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ว่าพรรค พลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเหนือพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์มีกองทัพ ส่งเสริม มีศูนย์อำนาจรัฐประหารให้การสนับสนุน คอยปกป้อง แต่กลับแพ้พรรคเพื่อไทยหลุดลุ่ย คำตอบคือ อยู่ที่เสียงประชาชนและ การเบ่งบานของประชาธิปไตยนั่นเอง
เมื่อประชาชนเลือกระบบเศรษฐกิจ ประชานิยม มาแก้ปัญหาปากท้อง มองเห็น การพัฒนาท้องถิ่น ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในการสร้างอาชีพ การสาธารณสุข การศึกษา และอีกร้อยแปดพันประการ แต่ ทุกสิ่งที่ต้องการนั้น กลับสร้างขึ้นได้ด้วยพลังทางการเมือง ที่ “เข้าใจมวลชน” ดังนั้น พรรคการเมืองที่มีจุดยืนแบบ มวลชนจึงได้เปรียบ และได้โอกาสบริหารประเทศตามมติของประชาชน ไม่ใช่ความ ต้องการของศูนย์กลางอำนาจที่เริ่มแผ่วลง แผ่วลงสิ่งสำคัญต้องจดจำไว้ เมื่อประชาชน สร้างอำนาจตามระบบเลือกตั้ง สนับสนุน พรรคการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยแล้ว อำนาจเช่นนี้ย่อมไม่กลับมาสั่งฆ่าประชาชน ให้ล้มตายกลางถนน 98 ศพ เพื่อสังเวย “ผังล้มเจ้า” ที่เสกปั้นขึ้นมาแอบอ้างแน่พรรคการเมืองที่ถูกอุ้มชูด้วยอำนาจ พิเศษเท่านั้นจึงหาญกล้ากระทำโดยไม่ยินดี ยินร้ายกับประชาชนได้ลงคอ แล้วยัดเยียด ความเหี้ยมโหดให้ “ชายชุดดำ” ได้หน้าตาเฉยข้อแตกต่างทางอำนาจอยู่ตรงนี้และบทเรียนความล้มเหลวแบบสุดๆ เหนือคำบรรยายด้วยภาษามนุษย์อยู่ตรงแหล่งที่มาที่เรียกว่า “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549” นั่นเองไม่มีอะไรเลวร้ายไม่กว่าการทำรัฐประหารอีกแล้ว จำไว้เป็นบทเรียน!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น