--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

มติ : วุฒิสภา ถอดถอน สุเทพ ผจญปัจจัยเสี่ยงสูงร้อนรนและกลัดกลุ้ม !!?

ยังไม่รู้แน่ชัดว่า วุฒิสภาจะลงมติ ตัดสินอนาคตทางการเมืองของนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อใด แต่ปฏิทินคร่าวๆ ที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธาน วุฒิสภากำหนดไว้คือ 18 กันยายน นี้ วุฒิสภาคงต้องลงมติถอดถอนนายสุเทพออกจากตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่

อันที่จริง ปัจจุบันนายสุเทพมีตำแหน่ง ทางการเมือง (ชัดเจน) เพียงตำแหน่งเดียว คือ เป็น ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ แต่ตำแหน่งที่ต้องถูกถอดถอนนั้น กลับเป็นตำแหน่ง ็รองนายกรัฐมนตรีิ เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นเรื่องเก่า ราวกับเป็นกรรมติดจรวดตามมาเอาคืนในปี 2555 ซ้ำร้ายเจ้ากรรมนายเวรกลับเลือกเวลาเอาคืนในยามที่นายสุเทพเป็นพรรคฝ่ายค้าน ไร้อำนาจวาสนาปกป้องตัวเองอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การลงมติถอดถอนนายสุเทพของวุฒิสภาในปี 2555 กลับพัวพันและลากโยงไปกระทบกับตำแหน่ง "ส.ส." ในปัจจุบันอย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้นั่นเป็นเพราะ ในผลบังคับของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 105 (5 และ 6) ประกอบด้วยมาตรา 102 มาตรา 266 และ มาตรา 268 กำหนดลากโยงกันจนงงงวย แต่สรุปสั้นๆ ได้ว่า หากผลการประชุม วุฒิสภามีมติถอดถอนนายสุเทพแล้ว เขาต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.และถูกเว้นวรรค ทางการเมือง 5 ปีด้วยต้องขีดเส้นหนาๆ ใต้ "ตำแหน่ง ส.ส." เพราะถ้านายสุเทพพ้นจาก ส.ส. เท่ากับไม่มี "เอกสิทธิ์คุ้มครอง" ไร้เกราะปกป้องตัวจากคดีความข้อหาหนักๆ หลาย คดีที่เขาต้องผจญในปัจจุบัน

นายสุเทพคงถูกอำนาจโดดเดี่ยว และ อาจร้อนรนกับความผิดต่างๆ ที่หวนย้อนกลับมาเล่นงาน แน่ล่ะเป็นธรรมดาของมนุษย์ นายสุเทพต้องป้องกันตำแหน่ง ส.ส. ไว้เป็นเกราะป้องกันภัยของตัวเองจนสุดกำลังมีถึงที่สุดจำนวนเสียงของวุฒิสภาที่จะลงมติถอดถอนจึงเป็นเพียงช่องทางเดียวที่เปิดโอกาสให้นายสุเทพได้ดิ้นรนต่อสู้เพื่อเก็บตำแหน่ง ส.ส.ให้อยู่รอดปลอดภัย

"สุเทพ" คงเหนื่อยน่าดูชมเลยละ...ย้อนกลับไปต้นทางปัญหาที่นำไปสู่เรื่องราวให้วุฒิสภาต้องออกแรง ็ถอดถอนิ ในอนาคตอันใกล้นี้ต้นปัญหาเกิดจากนายสุเทพเมื่อสมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในปี 2552 เขา ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีส่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์จำนวน 19 คนไปช่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรม จนทำให้คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิด

ผลการสอบสวนของ ป.ป.ช.เป็นที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ว่า นายสุเทพมีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) เพราะ ไป "ก้าวก่ายหรือแทรกแซง" การปฏิบัติราชการเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ของ ผู้อื่น ของพรรค ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมสงสัยกันทั่วบ้านทั่วเมือง เพราะคน ธรรมดาทั่วไปเข้าใจว่า ป.ป.ช. มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยดีและไม่เสื่อมคลายอำนาจเสมอมา แต่ด้วยเหตุผลแห่ง "อำนาจ" อีกเช่นกันจึงทำให้นายสุเทพต้องถูก ป.ป.ช. เล่นงานอย่างเจ็บปวดและยิ่งเจ็บร้าวลึกๆ ชนิดต้องจดจำ เมื่อถูกนายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช. แถลงเอาผิด ด้วยการงัดพจนานุกรมมาเทียบเคียงถ้อยคำ "ก้าวก่าย" และ "แทรกแซง" แล้วนำไปชี้มูลความผิดเล่นงานนาย สุเทพว่า กระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 268 และมาตรา 266 (1)

"พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า "ก้าวก่าย" หมายความว่า ล่วงล้ำเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ ผู้อื่น เหลื่อมล้ำ ไม่เป็นระเบียบ เช่น งาน ก้าวก่ายกัน ส่วนคำว่า "แทรกแซง" หมายความว่า "แทรกเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจการของผู้อื่น" นายกล้าณรงค์ ยกพจนานุกรมมามัดความผิดนายสุเทพให้แน่นหนา นาย สุเทพจึงต้องรับกรรมทางการเมืองไปตาม คำนิยามของพจนานุกรม ดุจเดียวกับนาย สมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานมาแล้วในข้อหา "ทำกับข้าวออกโทรทัศน์" นั่นเอง

ผลการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. จึง นำไปสู่ขั้นตอนวุฒิสภาต้องลงมติถอดถอน ออกจากตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 270 และ มาตรา 274 ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นปัญหามีต้นทาง อันระทึกของนายสุเทพ และการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. ชนิดมึนตึ้บทั่วบ้านทั่วเมืองกันทีเดียวต้องเข้าใจว่า ป.ป.ช. ไม่ใช่ศาลสถิตยุติธรรม เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นต้นทางนำปัญหาข้อกฎหมายทางการเมืองไปสู่การตัดสินของศาลหรือวุฒิสภาเท่านั้นและที่สำคัญวุฒิสภา ย่อมไม่ได้ทำหน้าที่ของศาลเช่นเดียวกัน ผลการตัดสิน ของวุฒิสภาจึงเป็นเพียงการลงโทษทาง การเมืองไปตามกติกาของรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้เท่านั้น

ดังนั้น นายสุเทพจะรอดพ้นจากการ ตัดสินทางการเมืองได้ เขาต้องออกแรงทางการเมืองอย่างหนักด้วยเช่นกันที่แน่ๆ คือ การออกแรงทางการเมือง ย่อมมีนิยามอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัจจัยกำหนดผลแพ้-ชนะในเชิงตัวเลขการออกเสียงในที่ประชุมวุฒิสภาด้วยเหมือนกันตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 274 กำหนดจำนวนเสียงที่ต้องใช้ถอดถอนไว้มากถึง 3 ใน 5 จากจำนวนที่วุฒิสมาชิกมีอยู่จริง

ข้อเท็จจริงระบุว่า จำนวนวุฒิสภามีจำนวนเต็มทั้งสิ้น 150 คน มาจากการสรรหา 75 คน และมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละคนจำนวน 75 คน แต่ปัจจุบันวุฒิสภาเหลืออยู่เพียง 146 คน ดังนั้น จำนวนเสียงที่จะใช้ถอดถอน นายสุเทพให้เป็นผลก็คือ 89 เสียง ซึ่งจัดว่ายาก แต่กลับทำให้นายสุเทพหนาวๆ ร้อนๆ ออกอาการรนๆ อย่างผิดวิสัยของนักการเมืองปากกล้า ผู้มีแต่ความองอาจในทางการเมือง ถ้าถอดแบบจำนวนเสียงวุฒิสภาออกเป็นชิ้นส่วนตามภาคแล้ว พบว่า จำนวนวุฒิสมาชิกสายสรรหา 75 คนนั้น ในจำนวนนี้ 40 คน เป็นเสียงฝ่ายภาคประชาชนที่เอนเอียงไปทางกลุ่มพันธมิตร ประชาธิปไตยเพื่อประชาชนเอามากๆ

โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมือง ปัจจุบัน นายสุเทพและพรรคประชาธิปัตย์ นั้น อยู่ในอาการหมางเมินกัน ดังนั้นจำนวน เสียงในส่วนนี้ คงมาสนับสนุนนายสุเทพได้น้อยเต็มทนอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากวุฒิสมาชิกสายเลือกตั้ง 75 คนแล้ว แน่นอนสายจังหวัดอีสานและเหนือคงตัดขาดนายสุเทพไปแล้ว ส่วนทางภาคใต้จำนวน 14 คน คงยืนข้างนายสุเทพเช่นกันสิ่งสำคัญตัวเลขจากวุฒิสายภาคกลาง จำนวน 12 คนกับวุฒิสายสรรหาบางส่วน จึงเป็นเป้าหมายการอยู่รอดทางการเมือง ของนายสุเทพ

อนาคตการเมืองของนายสุเทพจะรอดจากถูกถอดถอนคือตัวเลข 14+12+ 9+30+จำนวนที่ต้องโน้มน้าวดึงจากสายวุฒิ 40 อีกบางส่วนตัวเลขทั้งหมดตรงนี้ จึงทำให้นายสุเทพต้องออกแรงกับปัจจัยอย่างมากเพื่อสร้างหลักประกันทางการเมืองอย่างเหนื่อยล้ายิ่ง
ว่ากันว่า ปัจจัยสนับสนุนความมั่นใจ ของนายสุเทพมีตัวเลขสูงพอดูทีเดียว เนื่องจากตัวเลขตามเป้าหมายการตัดสินอนาคตการเมืองอยู่ในอาการค่อนข้าง สุ่มเสี่ยง

เป้าหมายตัดสินอนาคตการเมืองของนายสุเทพมีอยู่ 2 ระดับคือ หนึ่งเขาต้องมีเสียงสนับสนุนมากกว่ากึ่งของจำนวน วุฒิสภา และสองต้องออกแรงอย่างหนักเพื่อไม่ให้เสียงถอดถอนมีถึงจำนวน 89 คน ตามเกณฑ์จำนวน 3 ใน 5 ของมาตรา 274 เพราะอนาคตตามเป้าหมายดังกล่าว นั้น คือ ศักดิ์ศรีทางการเมืองค้ำคอไว้อย่าง น่าระทึกด้วย ถ้านายสุเทพรอดจากถูกถอดถอน แต่ เสียงสนับสนุนไม่ถึงครึ่งของวุฒิสภาแล้ว ศักดิ์ศรีทางการเมืองคงดูไม่จืดค่อนข้างแน่ อนาคตการเมืองของนายสุเทพในยามนี้ ไม่ได้อยู่ที่เสียงถูกถอดถอนจำนวน ไม่น้อยกว่า 89 คน แต่อยู่ที่เสียงสนับสนุน ให้อยู่ต่อจะมีจำนวนเกินครึ่งของวุฒิสภาหรือไม่ถึงที่สุดจะออกมาแบบไหน นายสุเทพ ก็เหนื่อยจนเกิดอาการร้อนรนอย่างยิ่ง

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น