--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทเรียนจากใต้หวัน สู่ประเทศไทย !!?


โดย ศิริกัญญา ตันสกุล

ไต้หวันมีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย เช่น โครงสร้างอุตสาหกรรมของไต้หวันเต็มไปด้วยบริษัทของกลุ่มเครือญาติ  กิจการครอบครัว และ SME  โดยบริษัทเหล่านี้ผลิตสินค้าและบริการขั้นกลางให้กับธุรกิจอื่นๆ   ในทางตรงกันข้าม เกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่มักจะมีเครือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการรวมตัวตามแนวดิ่งและแนวนอนอย่าง “แชโบล” (Chaebol) และ “เคเร็ทสึ” (Keiretsu)

สิ่งไต้หวันไม่เหมือนกับประเทศไทย คือ SME ของไต้หวันนั้นมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและมีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก  ในงานศึกษาเกี่ยวกับนโยบายด้านนวัตกรรมของไต้หวันได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ความท้าทายสำคัญที่ผู้วางแผนเศรษฐกิจไต้หวันต้องเผชิญคือ จะทำอย่างไรที่จะยกระดับเศรษฐกิจที่มีความรู้ความชำนาญต่ำ  มีสถาบันวิจัยไม่เพียงพอ และยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีชั้นสูง”   จากข้อความข้างต้น ถ้าเราแทนที่คำว่า “ไต้หวัน” ด้วยคำว่า “ไทย” เราก็จะพบว่าสิ่งที่ไต้หวันต้องเผชิญนั้น เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญเช่นกัน  ดังนั้นวิธีที่ไต้หวันใช้ในการยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์จึงเป็นตัวอย่างและบทเรียนที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย ตัวอย่างเช่น

รัฐมีบทบาทในเชิงรุกเพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน: ทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยีพื้นฐาน  :  การปรับปรุงคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เป็นนโยบายที่ได้รับความสำคัญในระดับ ชาติมาตั้งแต่ช่วงปี 1960’s  แต่เนื่องจากบริษัทในไต้หวันส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและไม่ค่อยมีนักวิจัยมากเท่าใดนัก  ไต้หวันจึงได้จัดตั้ง Industrial Technology Research Institute (ITRI) ในปี 1973 เพื่อทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับเอกชนรายใดก็ตามที่ต้องการนำไปใช้    ITRI เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นผู้นำตลาดเซมิคอนดักเตอร์ของโลก  แล็บ (Lab) ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของ ITRI ถือเป็นต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายแรกของไต้หวัน ซึ่งได้แก่บริษัท United Microelectronics Corporation (UMC) ปัจจุบัน UMC มีโรงงานและสำนักงานอยู่ 10 แห่งทั่วประเทศไต้หวันเพื่อทำการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า  มีพนักงานมากกว่า 10,500 คน และมีมูลค่าบริษัทเกือบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ความเชื่อมโยงที่ก่อให้เกิดการผลิตเชิงพาณิชย์ที่มีประสิทธิภาพ :  ความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัยของรัฐบาลและอุตสาหกรรมของไต้หวันมีความเข้มแข็งผ่านสถาบันอย่าง ITRI  รวมไปถึงโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยนั้นยังอ่อนแอ

การถ่ายทอดความรู้ความชำนาญจาก FDI   ไต้หวันนั้นแตกต่างจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นตรงที่ FDI จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยี  (เป็นรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศไทย)  นอกจากนี้ ชาวไต้หวันในต่างประเทศก็มีบทบาทสำคัญที่ไม่เป็นทางการในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเช่นกัน

การสร้าง hub และคลัสเตอร์   นอกจากความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์   ไต้หวันยังประสบความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น motherboard, โน้ตบุค เป็นต้น   ทั้งนี้ ภาคธุรกิจด้าน IT มีจุดเริ่มต้นมาจากอุทยานวิทยาศาสตร์ Hsinchu ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1980

/////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น