--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไทยโชติช่วง : พบขุมทองปิโตรเลียม !!?


นับถอยหลังอีก 10 ปีก๊าซธรรมชาติของไทยจะหมดเกลี้ยง ถ้าหากไม่มี การขุดเจาะพบเพิ่มเติมจากทุกวันนี้ที่มีปริมาณสำรองอยู่ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ ฟุตต่อวัน มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3.5 พัน ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ยอดการใช้ได้ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4.4 พันล้านลูกกบาศก์ฟุตต่อวัน นั่นหมายความว่าประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณการใช้ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นที่มาของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า 2 แหล่งคือ แหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา และเยตากุน เมื่อถึงเวลาแหล่งก๊าซทั้งสองแห่งหยุดซ่อมประจำปี จึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมชนิดสั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ จากการพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ

หันมาดูศักยภาพการผลิตปิโตรเลียมของไทยเรา นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ในปี 2555 ประเทศไทยสามารถจัดหาปิโตรเลียม แบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติ 3,680 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 91,000บาร์เรลต่อวัน และน้ำมันดิบ 145,000 บาร์เรลต่อวัน

ขณะที่ความต้องการใช้สำหรับก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบอยู่ที่ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยจึงต้องพึ่งพาพลังงานจากการนำเข้าจากต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้เปิดสัมทานปิโตรเลียมในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีแหล่งปิโตรเลียมที่มีการผลิต จำนวน 60 แปลง มีสัมปทานที่ดำเนินการอยู่ 61 แปลง 76 แหล่งสำรวจ ได้แก่ บนบก 38 แปลงสำรวจ อ่าวไทย 35 แปลงสำรวจ และอันดามัน 3 แปลงสำรวจ

ในปี 2556 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำลังจะเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมใหม่ รอบที่ 21ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

การเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมใหม่ รอบที่ 21 รวม 22 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็น ภาคเหนือและภาคกลาง 6 แปลง ภาคอีสาน 11 แปลง และอ่าวไทย 5 แปลง โดยยึดหลักการเลือกเปิดเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง หลีกเลี่ยงพื้นที่อ่อนไหว วงเงินลงทุน 3,200 ล้านบาท คาดว่าจะได้ปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 9.6 แสนล้านบาท

สำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยนายภูมี ศรีสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาศักยภาพเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า จากโครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทยพบว่า มีโครงสร้างของปิโตรเลียมกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยภาคอีสานได้ขุดพบก๊าซธรรมชาติแล้วที่แหล่งดงมูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ และคาดว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพอีก ได้แก่ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดอุบลราชธานี

ส่วนพื้นที่ภาคเหนือก็มีหลายพื้นที่พบว่า มีปิโตรเลียม เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และพะเยา ภาคกลางที่จังหวัดพิษณุโลก และอ่าวไทย รวมถึงฝั่งอันดามัมบริเวณรอยต่อชายแดนไทยกับพม่าตามแนวสันทราย และด้านใต้อันดามันไปทางเกาะสุมตรา เพราะอยู่ใกล้กับแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ประเทศพม่า

ต้องลุ้นกันต่อไปเมื่อเปิดสัมปทานแล้วจะพบปิโตรเลียมกี่แปลงจากทั้งหมด 22 แปลง เมื่อผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสำรวจพบและลงทุนพัฒนาจนผลิตและขายปิโตรเลียมได้จะต้องจ่าย “ค่าภาคหลวง” ให้กับรัฐอัตรา 5-15% ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขาย และเมื่อผู้รับสัมปทนเริ่มมีกำไรรายปีจะต้องเสียภาเงินได้ปิโตรเลียมให้ไก่รัฐอีก 50% ของกำไรสุทธิในปีนั้น นอกจากนี้ รัฐยังมีรายได้จากผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ (SRB) ซึ่งเป็นเงินที่เก็บเมื่อผู้รับสัมปทานในปีนนั้นมีรายได้รายปีสูงเกินควรอันเกิดจากปัจจัยที่ไม่ได้เกี่ยวกับเงินลงทุน เช่ น ราคาปิโตรเลียมสูงขึ้นมากในช่วงนั้น หรือผลิตได้มากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้

และถ้าพื้นที่มีการผลิตปิโตรเลียมบนบก อย่างเช่น “แหล่งดงมูล” จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า สุดเฮงทีเดียว เพราะค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้จากสัมปทานในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะส่งเป็นรายได้ให้แผ่นดิน 40% และจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 60% แบ่งเป็น อบต.และเทศบาลในเขตพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 20% อบต.และเทศบางอื่นที่อยู่ในจังหวัดที่มีพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 10% อบต.และเทศบาลที่อยู่ในจังหวัดอื่น 10% และอบจ.ในเขตพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 20%

ที่สำคัญถ้าขุดพบปิโตรเลียมเป็นบ้านเรือน ไร่นา หรือที่ดินของประชาชนไม่ต้องห่วง จะได้รับผลตอบอย่างงาม และที่ผ่านมาไม่เคยใช้กฎหมายเวนคืนบีบบังคับ เผลอๆ จะกลายเป็นเศรษฐีในพริบตา

ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น