ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 4 เดือน “ประพัฒน์ โพธิวรคุณ”ไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน ป.ป.ช. นั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง “ไพศาล ลือพืช” เลขาฯรมว.แรงงาน โดน 2 เดือน แต่ให้รอลงอาญาทั้งคู่
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาจำคุก นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ คดีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขณะเป็นประธานกรรมการ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง โดยให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท
แต่นายประพัฒน์ให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๕/๒๕๕๕ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๒/๒๕๕๖)
ก่อนหน้านี้วันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ศาลฎีกาฯ พิพากษานายไพศาล ลือพืช กรณีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ตอนดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท
ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๖/๒๕๕๕
คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๑/๒๕๕๖)
คำพิพากษา คดี นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ดังนี้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการฯ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๙ (๑๕) และมาตรา ๔ ผู้คัดค้านจึงต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้อง ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินต่อผู้ร้อง ครั้งแรกกรณีเข้ารับตำแหน่งกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๔ โดยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ และยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในฐานะกรรมการรัฐวิสาหกิจในกรณีต่าง ๆ ตามวาระแต่ละครั้ง อีกหลายครั้ง แต่ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง ในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี สำหรับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีและตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง
ผู้ร้องได้พิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้าน โดยมีหนังสือถึงผู้คัดค้านเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว โดยส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยของผู้คัดค้าน ซึ่งมีผู้รับหนังสือไว้แทนผู้คัดค้านแต่ผู้คัดค้านไม่ชี้แจงเหตุขัดข้องต่อผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องได้ประชุมพิจารณากรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแล้วมีมติ เป็นเอกฉันท์ว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในกรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๙ บัญชี
แต่การจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง สำหรับกรณี พ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) และกรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ขาดอายุความแล้ว คงมีการกระทำผิดของผู้คัดค้านที่ยังอยู่ในอายุความ ดำเนินคดีคือ ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง หน้า ๓ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำ หนด กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ( ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำ แหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๕ บัญชี
ผู้ร้องจึงได้มายื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นคดีนี้เพื่อขอให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่ วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือวันที่ตรวจพบการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี ห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔๑ กับให้ลงโทษผู้คัดค้านตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑
ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้าน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเคยเป็นกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวม ๙ ครั้ง ได้แก่กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องเคยมีหนังสือแจ้งให้แก่ผู้คัดค้านมาชี้แจงแล้วรวม ๔ ครั้ง
ซึ่งผู้คัดค้านได้รับหนังสือของผู้ร้องแล้ว แต่ไม่ไปชี้แจง ผู้ร้องมีความเห็นว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เห็นควรยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อพิจารณาลงโทษผู้คัดค้านและห้ามผู้คัดค้านมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่มีคดีบางส่วนที่ขาดอายุความไปแล้วคงมีคดีซึ่งผู้ร้องเห็นว่ายังไม่ขาดอายุความคือ กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องคดีนี้
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเห็นว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการรัฐวิสาหกิจของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งตามลำดับ ผู้คัดค้าน จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ มีหน้าที่ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบสำหรับตัวผู้คัดค้าน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามมาตรา ๓๙ (๑๕) แต่ผู้คัดค้าน ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินรวม ๙ ครั้ง แต่ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษผู้คัดค้านคดีนี้มี ๕ กรณี ได้แก่ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒)
ก่อนหน้านี้ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงมาบ้างแล้ว แต่ต่อมากลับไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือ แจ้งให้ผู้คัดค้านชี้แจงเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ผู้คัดค้าน ได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจง องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินจริง แต่เห็นว่า กรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) นั้น แม้ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ แต่ปรากฏว่าตามหนังสือของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เรื่องขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน ที่ วท ๕๒๐๑/๗๔๖ ฉบับลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แจ้งต่อผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าววันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ และครบวาระวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ตามคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๗๙/๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ เอกสารหมาย ร. ๒ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ มิใช่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดังที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี จึงต้องเป็นวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจาก ตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ อายุความจึงเริ่มนับถัดจากวันดังกล่าว เป็นต้นไป
ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องและได้ตัวผู้คัดค้านมาดำเนินคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ จึงจะไม่ขาดอายุความ คดีนี้แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ แต่เมื่อยังไม่ได้ ตัวผู้คัดค้านมา จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี คดีในส่วนที่ขอให้ลงโทษผู้คัดค้านสำหรับการไม่ยื่นบัญชี หน้า ๖ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตําแหน่งประธานกรรมการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก เห็นว่าคำร้องในส่วนนี้จึงขาดอายุความ แม้ผู้คัดค้านจะให้การรับสารภาพแต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจ พิพากษายกฟ้องผู้ร้องในส่วนนี้ได้ ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยด้วยว่า ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี กับห้ามมิให้ผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
แต่ปรากฏว่า ตามเอกสารหมาย ร. ๒ ระบุว่า ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ มิใช่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ตามที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งทั้งสองดังกล่าว เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงถือว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนั้น นับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งที่ผู้ร้องเสนอเรื่องให้วินิจฉัยมาแล้วก่อนศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยการให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งตามคำร้องของผู้ร้องอีก
ดังนั้นเมื่อการกระทำความผิดของผู้คัดค้านในคดีนี้ เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวจึงต้องถือ วันพ้นจากตำแหน่งตามความเป็นจริงคือผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ การห้ามมิให้ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี จึงต้องนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งครั้งสุดท้าย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ พิพากษาว่า ผู้คัดค้านมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบ จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
คำพิพากษา คดีนายไพศาล ลือพืช มีดังนี้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมเอกสารประกอบต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, มาตรา ๒๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๓๒, ๓๓ ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ และวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามลำดับ เนื่องจากผู้สั่งแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง กรณีเข้ารับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และกรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ในการเข้ารับตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๒) ผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ต่อมาผู้ร้อง ได้ดำเนินการพิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้านโดยมีหนังสือให้ผู้คัดค้านชี้แจงสาเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแล้ว ๓ ครั้ง ผู้คัดค้านได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแก่ผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามกฎหมายหลายกรรมต่างวาระกัน ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงโทษผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๓๔, ๑๑๙ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพและไม่ยื่นคำคัดค้าน
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยไปได้ จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ (๑๗) โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรวม ๒ ครั้ง ครั้งแรกตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แต่งตั้งผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หลังจากนั้นผู้คัดค้านต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากผู้มีอำนาจแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง โดยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ ต่อมาผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานอีกเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เนื่องจาก ผู้สั่งแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งอีก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, ๒๖๐ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน กรณีเข้ารับตำแหน่ง กรณีพ้นจากตำแหน่งและในวันครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดต้องได้รับโทษ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเฉพาะเมื่อเข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการดำรงตำแหน่งครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งเป็นเวลาหนึ่งปีทั้งสองครั้ง ซึ่งกำหนดให้ ผู้คัดค้านต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ตามลำดับ ทั้งที่ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเตือนและผู้คัดค้านได้รับหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ตามหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและหนังสือตอบรับ เอกสารหมาย จ. ๗ ถึง จ. ๙
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้บ้างแล้วกรณีเข้ารับตำแหน่งและกรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง เป็นเวลาหนึ่งปีสำหรับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองคราว ย่อมแสดงว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษ ผู้คัดค้านเป็นคดีนี้ ผู้คัดค้านก็ให้การรับสารภาพ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙
สำหรับที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใด ในพรรคการเมืองมีกำหนดระยะเวลา ๕ ปี นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๔ วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวันที่ความปรากฏต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ระยะเวลาห้าปีตามวรรคหนึ่งให้นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ในคดีนี้ระยะเวลาห้าปีในการห้ามดำรงตำแหน่งของผู้คัดค้านจึงนับแต่วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ ๒ คือวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ อันเป็นวันพ้นตำแหน่ง ครั้งสุดท้าย พิพากษาว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง
ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
///////////////////////////////////////////////////////////////
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาจำคุก นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ คดีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขณะเป็นประธานกรรมการ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง โดยให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท
แต่นายประพัฒน์ให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๕/๒๕๕๕ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๒/๒๕๕๖)
ก่อนหน้านี้วันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ศาลฎีกาฯ พิพากษานายไพศาล ลือพืช กรณีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ตอนดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท
ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๖/๒๕๕๕
คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๑/๒๕๕๖)
คำพิพากษา คดี นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ดังนี้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการฯ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๙ (๑๕) และมาตรา ๔ ผู้คัดค้านจึงต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้อง ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินต่อผู้ร้อง ครั้งแรกกรณีเข้ารับตำแหน่งกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๔ โดยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ และยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในฐานะกรรมการรัฐวิสาหกิจในกรณีต่าง ๆ ตามวาระแต่ละครั้ง อีกหลายครั้ง แต่ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง ในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี สำหรับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีและตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง
ผู้ร้องได้พิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้าน โดยมีหนังสือถึงผู้คัดค้านเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว โดยส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยของผู้คัดค้าน ซึ่งมีผู้รับหนังสือไว้แทนผู้คัดค้านแต่ผู้คัดค้านไม่ชี้แจงเหตุขัดข้องต่อผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องได้ประชุมพิจารณากรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแล้วมีมติ เป็นเอกฉันท์ว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในกรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๙ บัญชี
แต่การจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง สำหรับกรณี พ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) และกรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ขาดอายุความแล้ว คงมีการกระทำผิดของผู้คัดค้านที่ยังอยู่ในอายุความ ดำเนินคดีคือ ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง หน้า ๓ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำ หนด กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ( ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำ แหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๕ บัญชี
ผู้ร้องจึงได้มายื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นคดีนี้เพื่อขอให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่ วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือวันที่ตรวจพบการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี ห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔๑ กับให้ลงโทษผู้คัดค้านตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑
ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้าน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเคยเป็นกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวม ๙ ครั้ง ได้แก่กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องเคยมีหนังสือแจ้งให้แก่ผู้คัดค้านมาชี้แจงแล้วรวม ๔ ครั้ง
ซึ่งผู้คัดค้านได้รับหนังสือของผู้ร้องแล้ว แต่ไม่ไปชี้แจง ผู้ร้องมีความเห็นว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เห็นควรยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อพิจารณาลงโทษผู้คัดค้านและห้ามผู้คัดค้านมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่มีคดีบางส่วนที่ขาดอายุความไปแล้วคงมีคดีซึ่งผู้ร้องเห็นว่ายังไม่ขาดอายุความคือ กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องคดีนี้
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเห็นว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการรัฐวิสาหกิจของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งตามลำดับ ผู้คัดค้าน จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ มีหน้าที่ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบสำหรับตัวผู้คัดค้าน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามมาตรา ๓๙ (๑๕) แต่ผู้คัดค้าน ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินรวม ๙ ครั้ง แต่ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษผู้คัดค้านคดีนี้มี ๕ กรณี ได้แก่ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒)
ก่อนหน้านี้ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงมาบ้างแล้ว แต่ต่อมากลับไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือ แจ้งให้ผู้คัดค้านชี้แจงเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ผู้คัดค้าน ได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจง องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินจริง แต่เห็นว่า กรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) นั้น แม้ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ แต่ปรากฏว่าตามหนังสือของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เรื่องขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน ที่ วท ๕๒๐๑/๗๔๖ ฉบับลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แจ้งต่อผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าววันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ และครบวาระวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ตามคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๗๙/๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ เอกสารหมาย ร. ๒ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ มิใช่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดังที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี จึงต้องเป็นวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจาก ตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ อายุความจึงเริ่มนับถัดจากวันดังกล่าว เป็นต้นไป
ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องและได้ตัวผู้คัดค้านมาดำเนินคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ จึงจะไม่ขาดอายุความ คดีนี้แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ แต่เมื่อยังไม่ได้ ตัวผู้คัดค้านมา จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี คดีในส่วนที่ขอให้ลงโทษผู้คัดค้านสำหรับการไม่ยื่นบัญชี หน้า ๖ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตําแหน่งประธานกรรมการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก เห็นว่าคำร้องในส่วนนี้จึงขาดอายุความ แม้ผู้คัดค้านจะให้การรับสารภาพแต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจ พิพากษายกฟ้องผู้ร้องในส่วนนี้ได้ ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยด้วยว่า ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี กับห้ามมิให้ผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
แต่ปรากฏว่า ตามเอกสารหมาย ร. ๒ ระบุว่า ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ มิใช่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ตามที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งทั้งสองดังกล่าว เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงถือว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนั้น นับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งที่ผู้ร้องเสนอเรื่องให้วินิจฉัยมาแล้วก่อนศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยการให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งตามคำร้องของผู้ร้องอีก
ดังนั้นเมื่อการกระทำความผิดของผู้คัดค้านในคดีนี้ เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวจึงต้องถือ วันพ้นจากตำแหน่งตามความเป็นจริงคือผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ การห้ามมิให้ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี จึงต้องนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งครั้งสุดท้าย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ พิพากษาว่า ผู้คัดค้านมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบ จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
คำพิพากษา คดีนายไพศาล ลือพืช มีดังนี้
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมเอกสารประกอบต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, มาตรา ๒๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๓๒, ๓๓ ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ และวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามลำดับ เนื่องจากผู้สั่งแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง กรณีเข้ารับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และกรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ในการเข้ารับตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๒) ผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ต่อมาผู้ร้อง ได้ดำเนินการพิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้านโดยมีหนังสือให้ผู้คัดค้านชี้แจงสาเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแล้ว ๓ ครั้ง ผู้คัดค้านได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแก่ผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามกฎหมายหลายกรรมต่างวาระกัน ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงโทษผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๓๔, ๑๑๙ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพและไม่ยื่นคำคัดค้าน
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยไปได้ จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ (๑๗) โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรวม ๒ ครั้ง ครั้งแรกตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แต่งตั้งผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หลังจากนั้นผู้คัดค้านต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากผู้มีอำนาจแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง โดยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ ต่อมาผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานอีกเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เนื่องจาก ผู้สั่งแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งอีก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, ๒๖๐ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน กรณีเข้ารับตำแหน่ง กรณีพ้นจากตำแหน่งและในวันครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดต้องได้รับโทษ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเฉพาะเมื่อเข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการดำรงตำแหน่งครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งเป็นเวลาหนึ่งปีทั้งสองครั้ง ซึ่งกำหนดให้ ผู้คัดค้านต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ตามลำดับ ทั้งที่ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเตือนและผู้คัดค้านได้รับหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ตามหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและหนังสือตอบรับ เอกสารหมาย จ. ๗ ถึง จ. ๙
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้บ้างแล้วกรณีเข้ารับตำแหน่งและกรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง เป็นเวลาหนึ่งปีสำหรับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองคราว ย่อมแสดงว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษ ผู้คัดค้านเป็นคดีนี้ ผู้คัดค้านก็ให้การรับสารภาพ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙
สำหรับที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใด ในพรรคการเมืองมีกำหนดระยะเวลา ๕ ปี นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๔ วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวันที่ความปรากฏต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ระยะเวลาห้าปีตามวรรคหนึ่งให้นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ในคดีนี้ระยะเวลาห้าปีในการห้ามดำรงตำแหน่งของผู้คัดค้านจึงนับแต่วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ ๒ คือวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ อันเป็นวันพ้นตำแหน่ง ครั้งสุดท้าย พิพากษาว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง
ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
///////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น