โดย.บูรพา โชติช่วง
21 ปีของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ในปี พ.ศ. 2534
โดยมีคุณสมบัติของการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อ 1 เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ และข้อ 3 เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
แน่นอน การมีชื่ออยู่ในบัญชีมรดกโลก ย่อมนำมาความภาคภูมิใจของประเทศประการหนึ่ง และประการต่อมาคือเม็ดเงิน รายได้เป็นกอบเป็นกำจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมแล้วหลายล้านคนนับตั้งแต่เป็นมรดกโลก และหากคิดจำนวนตัวเลขของผู้ไปเยือนเฉพาะปีที่แล้ว อุทยานฯ สุโขทัย “กว่า 4.1 แสนคน” อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย “กว่า 1.4 แสนคน” และอุทยานฯ กำแพงเพชร “กว่า 1.5 แสนคน” (ข้อมูลกรมศิลปากร ก.ย.2555)
แน่ละ ในภาพรวมของการท่องเที่ยวเมืองไทย รัฐบาลปัจจุบันตั้งเป้าตัวเลขของผู้มาเยือนไว้ 21 ล้านคนให้ได้ภายในปี 2558 “จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท” สนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เอ่ยก่อนหน้านี้ และแหล่งโบราณสถานเป็นอีกด้านหนึ่งนำมาซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยว จากการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จ.อุตรดิตถ์ รัฐบาลมีแผนขับเคลื่อนการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่มรดกโลก อุทยานฯ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
“เราจะนำโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทพัฒนาอุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งที่ทำก่อนหน้านี้มาดูความเป็นไปได้ของการต่อยอดพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง และปัญหาเรื่องของผลกระทบต่อภูมิทัศน์มรดกโลกเพื่อที่จะหาทางแก้ไข” พีรพน พิสณุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวหลังรับนโยบายจากรมว.วัฒนธรรมคราวลงพื้นที่มรดกโลก
น่าสนใจ ตรงที่จะต่อยอดพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โดยที่ยังไม่ต้องคิดเรื่องสินค้าโอทอปที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว แต่ควรจะมองโปรแกรมทัวร์อุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือนครบได้อย่างไรก่อน หากดูจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอุทยานฯ สุโขทัยพบว่ามีถึง 4.1 แสนคน นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางที่สะดวก มีสนามบินรองรับ มีที่พักตั้งแต่ราคาเบาๆ คืนละห้าร้อยบาทไปถึงเฉียดหมื่นบาทร่วม 50 โรง
ขณะที่อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย ดูเหมือนเมืองที่ต้องตั้งใจไป เพราะอยู่ไกลออกไป ส่วนอุทยานฯ กำแพงเพชร แถบไม่ต้องพูดถึง นอกจากเป็นเมืองทางผ่านแล้ว ทัวร์ที่มาทางเครื่องบินแถบจะไม่มีโปรแกรมอุทยานฯ นี้บรรจุอยู่ในตารางทัวร์ นี่คือสิ่งที่ต้องขบคิดให้แตกก่อน ว่าทำอย่างไรให้ทัวร์ลงอ้างค้างแรมที่นี่ พร้อมๆ กับมาตรฐานโรงแรมมีรองรับพอหรือไม่เมื่อเทียบกับสุโขทัย
กระนั้นก็ตาม ในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ ทั้ง 3 แห่ง ผอ.พีรพน กล่าวว่า “เร็วๆ นี้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยจะเชิญนักจัดทำแผนแม่บทอุทยานฯ สุโขทัยรุ่นแรกๆ บุกเบิกไว้มาร่วมระดมความคิดเห็นและสะท้อนแผนแม่บทนี้ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่วางไว้หรือไม่ ขณะที่ในส่วนของอุทยานฯ กำแพงเพชร จะต้องมาศึกษารายละเอียดการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง แต่ขณะนี้จะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงผ่านเข้าพื้นที่อุทยานฯ เพื่อการท่องเที่ยวอิโคทัวร์หรือขี่จักรยาน ซึ่งการสร้างสะพานนี้เกรงว่าจะส่งผลกระทบภูมิทัศน์โบราณสถานรอบๆ และรวมไปถึงถนนในเขตอรัญญิกมีขนาดกว้างเกินจำเป็น ตนเห็นว่าควรจะลดถนนให้แคบลง ไม่ให้รถยนต์วิ่งผ่านไปมามาก เพราะแรงสั่นสะเทือนของรถส่งผลกระทบต่อโบราณสถานได้”
โดยมีคุณสมบัติของการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ข้อ 1 เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ และข้อ 3 เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรม หรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
แน่นอน การมีชื่ออยู่ในบัญชีมรดกโลก ย่อมนำมาความภาคภูมิใจของประเทศประการหนึ่ง และประการต่อมาคือเม็ดเงิน รายได้เป็นกอบเป็นกำจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งมีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมแล้วหลายล้านคนนับตั้งแต่เป็นมรดกโลก และหากคิดจำนวนตัวเลขของผู้ไปเยือนเฉพาะปีที่แล้ว อุทยานฯ สุโขทัย “กว่า 4.1 แสนคน” อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย “กว่า 1.4 แสนคน” และอุทยานฯ กำแพงเพชร “กว่า 1.5 แสนคน” (ข้อมูลกรมศิลปากร ก.ย.2555)
แน่ละ ในภาพรวมของการท่องเที่ยวเมืองไทย รัฐบาลปัจจุบันตั้งเป้าตัวเลขของผู้มาเยือนไว้ 21 ล้านคนให้ได้ภายในปี 2558 “จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท” สนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม เอ่ยก่อนหน้านี้ และแหล่งโบราณสถานเป็นอีกด้านหนึ่งนำมาซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยว จากการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จ.อุตรดิตถ์ รัฐบาลมีแผนขับเคลื่อนการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่มรดกโลก อุทยานฯ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร
“เราจะนำโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทพัฒนาอุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งที่ทำก่อนหน้านี้มาดูความเป็นไปได้ของการต่อยอดพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง และปัญหาเรื่องของผลกระทบต่อภูมิทัศน์มรดกโลกเพื่อที่จะหาทางแก้ไข” พีรพน พิสณุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กล่าวหลังรับนโยบายจากรมว.วัฒนธรรมคราวลงพื้นที่มรดกโลก
น่าสนใจ ตรงที่จะต่อยอดพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โดยที่ยังไม่ต้องคิดเรื่องสินค้าโอทอปที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว แต่ควรจะมองโปรแกรมทัวร์อุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือนครบได้อย่างไรก่อน หากดูจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอุทยานฯ สุโขทัยพบว่ามีถึง 4.1 แสนคน นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากการเดินทางที่สะดวก มีสนามบินรองรับ มีที่พักตั้งแต่ราคาเบาๆ คืนละห้าร้อยบาทไปถึงเฉียดหมื่นบาทร่วม 50 โรง
ขณะที่อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย ดูเหมือนเมืองที่ต้องตั้งใจไป เพราะอยู่ไกลออกไป ส่วนอุทยานฯ กำแพงเพชร แถบไม่ต้องพูดถึง นอกจากเป็นเมืองทางผ่านแล้ว ทัวร์ที่มาทางเครื่องบินแถบจะไม่มีโปรแกรมอุทยานฯ นี้บรรจุอยู่ในตารางทัวร์ นี่คือสิ่งที่ต้องขบคิดให้แตกก่อน ว่าทำอย่างไรให้ทัวร์ลงอ้างค้างแรมที่นี่ พร้อมๆ กับมาตรฐานโรงแรมมีรองรับพอหรือไม่เมื่อเทียบกับสุโขทัย
กระนั้นก็ตาม ในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่อุทยานฯ ทั้ง 3 แห่ง ผอ.พีรพน กล่าวว่า “เร็วๆ นี้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยจะเชิญนักจัดทำแผนแม่บทอุทยานฯ สุโขทัยรุ่นแรกๆ บุกเบิกไว้มาร่วมระดมความคิดเห็นและสะท้อนแผนแม่บทนี้ ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่วางไว้หรือไม่ ขณะที่ในส่วนของอุทยานฯ กำแพงเพชร จะต้องมาศึกษารายละเอียดการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง แต่ขณะนี้จะมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงผ่านเข้าพื้นที่อุทยานฯ เพื่อการท่องเที่ยวอิโคทัวร์หรือขี่จักรยาน ซึ่งการสร้างสะพานนี้เกรงว่าจะส่งผลกระทบภูมิทัศน์โบราณสถานรอบๆ และรวมไปถึงถนนในเขตอรัญญิกมีขนาดกว้างเกินจำเป็น ตนเห็นว่าควรจะลดถนนให้แคบลง ไม่ให้รถยนต์วิ่งผ่านไปมามาก เพราะแรงสั่นสะเทือนของรถส่งผลกระทบต่อโบราณสถานได้”
ขณะที่ เอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ให้ความเห็นเพิ่มเติม “เราคงต้องกางแผนแม่บททั้ง 3 แห่งมาดูว่ามีอะไรบ้างที่ยังไม่ได้ดำเนินการ อย่างงานบูรณะโบราณสถานเกือบ 30 ปีที่แล้ว ตอนนี้พบว่าพระพุทธรูปปางลีลาบางองค์เริ่มมีรอยสึกกร่อนให้เห็น จำเป็นต้องซ่อมแซมและเสริมความมั่นคง”
รองฯ เอนก กล่าวถึงปัญหาของรถยนต์วิ่งผ่านอุทยานฯ ส่งผลกระทบต่อโบราณสถานและภูมิทัศน์มีอยู่หลายแห่ง เช่นที่อุทยานฯ ศรีสัชนาลัย ได้มีการสร้างถนนตัดสันภูเขาวัดเขาสุวรรณคีรี เพื่อที่ให้รถยนต์ใช้สัญจรข้ามไปอีกฟากหนึ่งของกำแพงเมือง ซึ่งภูเขาลูกนี้มีขนาดย่อมตั้งอยู่กลางเมืองโบราณทางด้านทิศตะวันตก บนยอดเขามีกลุ่มของโบราณสถานที่สำคัญ อาทิ เจดีย์ประธานทรงกลมองค์ระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ที่สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงสร้างไว้ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่1 และภูเขาลูกนี้แสดงสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาลหรือวัดกลางเมืองศรีสัชฯ สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เมื่อมีการสร้างถนนขึ้นส่งผลกระทบให้ภูมิทัศน์รอบๆ โบราณสถานได้รับความเสียหาย
“ตามแผนแม่บทอุทยานฯ ศรีสัชนาลัยปี 2530 – 2539 ได้เสนอให้ปรับสภาพทางหลวงในพื้นที่นี้ให้กลับสู่สภาพเดิม และเสนอให้สร้างอุโมงค์ลอดสันเขาแทน มีระยะทางยาวประมาณ 50 - 100 เมตร เพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพภูมิทัศน์ป่าโบราณคืนกลับมา” รองฯ เอนก กางแผนแม่บทให้ดู และกล่าวเพิ่มเติม “กรมศิลปากรจะเสนอต่อรมว.วัฒนธรรมว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่ที่จะสร้างอุโมงค์ รวมทั้งแผนแม่บทอุทยานฯ ทั้ง 3 แห่งฉบับใหม่ปี 2548 ได้ว่าจ้างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรดำเนินการจัดทำ วางแผนผังเพื่อพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ก่อนที่จะมีการประชุมครม.ในเดือนมีนาคม ที่จ.กำแพงเพชร”
อย่างไรก็ดี ประเด็นของการสร้างอุโมงค์ลอดสันเขาสุวรรณคีรี อันเสมือนเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาลหรือวัดกลางเมืองศรีสัชฯ นั้น “ต้องศึกษารายละเอียด และยูเนสโกมีกฎระเบียบอยู่แล้ว” รมว.สนธยา กล่าว แน่นอนว่า ไม่ว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ ผลกระทบต่อความเป็นมรดกโลกที่อาจเข้าข่ายอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายจนนำอุทยานฯ ศรีสัชนาลัยไปสู่การถอดมรดกโลก และกรณีสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงผ่านเข้าอุทยานฯ กำแพงเพชร ก็มีสิทธิ์ถูกถอดออกจากมรดกโลกได้
เพราะมีตัวอย่างเมืองเก่ามรดกโลกในเยอรมนีให้เห็นมาแล้วเช่นกัน
ที่มา.สยามรัฐ
--------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น