--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตอบข้อซักถาม :ทางรถไฟอาเซียน เป็นจริงหรือแค่ฝัน (2)!!?



ขนาดความกว้างรางรถไฟ.





ระยะในการวัดขนาดความกว้างรางรถไฟ

ขนาดเกจต่างๆ
ขนาดความกว้างรางรถไฟ (อังกฤษ: rail gauge หรือ track gauge) คือระยะห่างของรางรถไฟ โดยวัดจากหัวรางด้านในข้างซ้ายถึงหัวรางด้านในข้างขวา สแตนดาร์ดเกจ (standard gauge) เป็นชื่อของขนาดความกว้างรางที่นิยมใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยประมาณ 60% ของรางรถไฟทั้งหมด โดยมีขนาด 1,435 มม. (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) โดยในเมืองไทยรางรถไฟส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างที่เรียกว่า มีเตอร์เกจ ที่มีขนาดความกว้าง 1,000 มม. ซึ่งมีแผนการจะพัฒนาปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับรถไฟความเร็วสูง[1]

เนื้อหา [ซ่อน]
[แก้] ประเภทของรางรถไฟ


รางรถไฟชิงกันเซ็ง เป็นรางที่มีความกว้างมาตรฐาน (standard gauge)

[แก้] รางแคบ (Narrow gauge)

รางแคบ (Narrow gauge) เป็นรางรถไฟที่มีความกว้างของรางน้อยกว่า 1.435 เมตร ได้แก่
  • สก๊อตต์ เกจ (Scotch gauge) ขนาดความกว้างราง 1.372 เมตร (4 ฟุต 6 นิ้ว)
  • เคป เกจ (Cape gauge) ขนาดความกว้างราง 1.067 เมตร (3 ฟุต 6 นิ้ว)
  • มิเตอร์ เกจ (Metre gauge) ขนาดความกว้างราง 1.000 เมตร (3 ฟุต 3 3/8 นิ้ว)
[แก้] รางมาตรฐาน (Standard gauge)
เป็นรางขนาด 1.435 เมตร หรือ 1,435 มม. (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) มีจำนวนประเทศที่ใช้มากที่สุด เรียกมาตรฐานรางกว้างขนาดนี้ว่า Standard Gauge บางครั้งเรียกว่า European Standard Gauge (ESG.) เป็นรางรถไฟที่กำหนดเป็นมาตรฐานของกลุ่มในประเทศยุโรป มีการใช้รางขนาดนี้คิดเป็นหกสิบเปอร์เซ็นต์ของรถไฟโลก[2]

1906 earthquake train.jpg


[แก้] รางกว้าง (Broad gauge)

รางกว้าง (Broad gauge) เป็นรางที่มีขนาดความกว้างมากกว่า 1.435 เมตรขึ้นไป

  • อินเดียน เกจ (Indian gauge) 1.676 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)
  • ไอเบอเรี่ยน เกจ (Iberian gauge) 1.668 เมตร (5 ฟุต 5 2/3 นิ้ว)
  • ไอริส เกจ (Irish gauge) 1.600 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว)
  • รัสเซีย เกจ (Russian gauge) 1.520 เมตร (4 ฟุต 11 5/6 นิ้ว)
ความกว้าง (เมตร)ชื่อเรียกขนาดระยะทางที่มีการก่อสร้าง (กิโลเมตร)สถานที่มีการใช้งานที่
1.676Indian gauge77,000อินเดีย (42,000 กิโลเตร; (เพิ่มขึ้นจากโครงการปรับเปลี่ยนราง), ปากีสถาน, ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (24,000 กิโลเมตร), ชิลี
(ประมาณ 6 1/2% ของทางรถไฟในโลก)
1.668Iberian gauge15,394โปรตุเกส, ทางรถไฟในสเปน (ในสเปน 21 กิโลเมตร ซึ่งเป็นรางที่ใช้ร่วมกัน 3 ราง ในรางคู่ โดยใช้ Iberian กับ standard gaugesซึ่งที่เหลือเป็นแผนที่จะทำในอนาคต
1.600Irish gauge9,800ไอร์แลนด์, รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลียส่วนใหญ่ และบางรัฐเซาท์ ประเทศออสเตรเลีย (Victorian gauge) (4,017 กิโลเมตร), รางในประเทศบลาซิล (4,057 กิโลเมตร)
1.524Russian gauge5,865รางรถไฟในประเทศฟินแลนด์
1.520Russian gauge220,000รัฐ CIS (รวมทั้งรางรถไฟในประเทศรัสเซีย), เอสโตเนีย, ลัตเวีย, ลิธัวเนีย, มองโกเลีย
(ประมาณ 17% ของรางรถไฟในโลก)
1.435Standard gauge720,000รางรถไฟในกลุ่มประเทศยุโรป, รางในประเทศอาร์เจนตินา, รางรถไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา, รางรถไฟในประเทศแคนนาดา, รางในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, เกาหลี, ออสเตเลีย, ใจกลางของแอฟฟิกาตะวันออก, แอฟฟิกาเหนือ, แมกซิโก, คิวบา, ปานามา, เวเนซูเอล่า, เปรู, อุรุกวัย และฟิลิปปินส์ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น และสเปน
(ประมาณ 60% ของรางรถไฟในโลก)
1.067Cape gauge112,000แอฟฟิกาใต้และแอฟฟิกากลาง, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ฟิลิปปินส์, นิวซีแลนด์, รัฐควีนแลนด์ ออสเตเลีย
(ประมาณ 9% ของทางรถไฟในโลก)
1.000Metre gauge95,000เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินเดีย (17,000 กิโลเมตร, ซึ่งปัจจุบันมีระยะทางลดลงจากโครงการปรับเปลี่ยนขนาดราง), ทางรถไฟในประเทศอาร์เจนตินา (11,000 กิโลเมตร), ทางรถไฟในประเทศบาร์ซิล (23,489 กิโลเมตร), โบลิเวีย, ทางเหนือของประเทศชิลี, เคย่า, ยูกานด้า
(โดยประมาณ 7% ของทางรถไฟในโลก)
[แก้] รางรถไฟรางร่วม

แบบการวางรางรถไฟรางร่วมในต่างประเทศ
รางรถไฟรางผสม (mixed-gauge) หรือ รางรถไฟรางร่วม (dual-gauge) เป็นการทำรางรถไฟให้รถไฟที่ต้องการความกว้างของราง 2 ระบบให้สามารถใช้แนวเส้นทางเดิมได้ โดยวางรางเสริมเข้ากับรางระบบเดิม จึงได้ราง 2 ระบบในแนววางรางเดิม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีระบบรางรถไฟรางร่วม

[แก้] สถิติของรางรถไฟ
  • รางกว้างที่กว้างสุดคือ 2.140 เมตร ซึ่งเรียกว่า Groad gauge
  • รางกว้างที่แคบสุดคือ รางเดี่ยว (Monorail หรือที่เรียกว่า Gauge-O) [3]
[แก้] ประวัติ

ขนาดรางรถไฟหลักแบ่งตามประเทศ โดยสแตนดาร์ดเกจแสดงในสีฟ้า และมีเตอร์เกจแสดงในสีชมพู

อดีตการเลือกขนาดรางรถไฟในการก่อสร้างนั้น เป็นส่วนหนึ่งโดยพลการและเงื่อนไขบางอย่างเพื่อตอบสนองท้องถิ่น เช่น รถไฟแคบวัด - มีราคาถูกกว่าการสร้างและสามารถเข้าพื้นที่แคบๆ ข้างหน้าผาได้ดี แต่รางรถไฟรางกว้างให้มีเสถียรภาพมากขึ้นและสามารถใช้ความเร็วสูงได้มากขึ้น

ในบางประเทศ การเลือกใช้รางเป็นประเด็นทางการเมือง การปกครอง เช่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการใช้รางรถไฟรางแคบ ขนาด 1 เมตร ในดินแดนภายใต้อาณานิคม ของประเทศอังกฤษ และฝรังเศส เมื่อประเทศสยาม (ไทย) ได้สร้างรถไฟหลวงสายแรกเพื่อไปเชียงใหม่ โดยใช้ขนาด 1.435 เมตร มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อีกด้วยว่าในระหว่างความขัดแย้งทางการค้าไทยกับฝรั่งเศส ได้มีการทำสนธิสัญญาไว้ข้อหนึ่ง ซึ่งห้ามประเทศไทยสร้างทางรถไฟไปชิดชายฝั่งแม่น้ำโขง ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือจึงสร้างไปหยุดที่ อำเภอวารินชำราบในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี[4] สำหรับทางรถไฟสายใต้นั้นก่อสร้างด้วยเงินกู้จากประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศไทยจำยอมต้องสร้างด้วยขนาด 1.00 เมตร ด้วยเหตุผลที่อังกฤษตั้องการใช้เป็นเส้นทางเชื่อมทางระหว่างมลายูกับพม่า ซึ่งเป็นรางขนาด 1.00 เมตร และมีค่าก่อสร้างถูกกว่าด้วย

[แก้] รางรถไฟในประเทศไทย
การพัฒนารางรถไฟในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้มีการสร้างรางรถไฟขนาด 1.435 เมตรในบริเวณตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในรางสายเหนือ โดยไม่ใช้ขนาดเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหลบเลี่ยงจากขนาดรางรถไฟของอังกฤษ ป้องกันการรุกรานเป็นอาณานิคม และต่อมาได้มีการสร้างรางเพิ่ม ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สร้างขนาด 1.000 เมตร ซึ่งเป็นรางรถไฟสายใต้ปัจจุบัน
รางรถไฟ 1.000 เมตร (มีเตอร์เกจ)
รางรถไฟ 1.435 เมตร (สแตนดาร์ดเกจ)
รางรถไฟรางแคบขนาด 0.700 เมตร
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
  1. ^ ไทยรัฐ เมื่อประเทศไทยกำลังจะมี 'ม้าเหล็ก' ความเร็วสูงใช้ (in ไทย) ข่าวหนังสือพิมพ์ เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
  2. ^ http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2 ขนาดความกว้างของรางรถไฟ
  3. ^ http://onknow.blogspot.com/2008/04/blog-post_9091.html เรื่องความกว้าง ของรางรถไฟ
  4. ^ http://www.oknation.net/blog/BlueDragonExp/2007/04/21/entry-1 ขนาดความกว้างของรางรถไฟ (Railway Gauge)
ที่มา.วิกิพีเดีย.
///////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น