ปมเด่นประเด็นร้อนทางการเมืองในประเทศนี้เกิดขึ้นโดยพลันต้อนรับศักราชใหม่อีกกรณีหนึ่ง เมื่อกลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์ ในนามกลุ่มนิติราษฎร์ออกมาผลักดันให้มีร่างรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 ถึง 4 ม.ค.2554 แล้วได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วม "29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมือง"ได้มาชุมนุมและยื่นหนังสือถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์
อย่างไรก็ตาม เผือกร้อนทางการเมืองนี้รัฐบาลยังสงวนท่าทีไม่กล้าแสดงออกในทิศทางใด วันนี้เรามาฟังความเห็นของนักวิชาการอาวุโสกันบ้างว่าเป็นอย่างไร ดังนี้
โคธม อารียา
อาจารย์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
"ถ้ามีการนิรโทษกรรมได้นั้นก็เป็นการดี แต่ทว่ามีการขัดแย้งกันนั้นผมก็ไม่รู้จะว่ายังไง แบบนี้มาคุยกันไม่ได้เหรอว่าใครมีเหตุผลกว่ากัน คือนิรโทษกรรม ถ้าในสมัยก่อนที่มีการนิรโทษกรรมนั้นถ้ามีความผิดอาญาเราก็นิรโทษกรรม แต่ทีนี้ถ้าเป็นความผิดกฎหมายอาญาเราก็ต้องมาดูว่าทำผิดกฎหมายข้อไหน เพราะกฎหมายอาญามีเยอะแยะไปหมด เช่นการทำผิดคำสั่งเจ้าพักพนักงานก็ผิดกฎหมายอาญา
สำหรับใจผมนั้นถ้านิรโทษกรรมก็ควรนิโทรกรรมที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง แล้วใจผมอยากจะเรียนถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคำสั่งด้วย ในระดับภาคสนามขอให้รวมไปหน่อยเถอะ แต่ทีนี้ ถ้าหากว่าสมมุติมีใครคสวมรอยไปเผา อันนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง แบบนี้ก็ว่าไปอีกแบบหนึ่ง แต่ว่าาไอ้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ ก็ให้มันคุมไปทั้งหมด พูดง่ายๆมันก็จะได้ยกภูเขาออกจากอกนะ ใครที่หวากกลัวว่าจะโดนหรือไม่โดนนั้นนะ หรือที่ตอนนี้กำลังโดนอยู่นะ ยกเลอกกันไป เลิกแล้วกันไป รวมทั้งทหาร ตำรวจด้วย
ส่วนจะให้รวมถึงผู้บัญคับบัญชาที่สั่งการหรือไม่นั้น สำหรับผู้สั่งการนั้นเอาไว้อีกสักระยะหนึ่ง เพื่อให้อันดับแรกนี้นั้นไปได้ ไม่ทำให้เกิดปัญหาในสังคม
ส่วนฝ่ายค้านนั้นต้องการสกัดว่าการนิรโทษกรรมไม่ให้ช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเรื่องการทำความผิดทุจริตต่างๆนั้น เราก็สามารถเชขียนให้ชัดได้ว่ามันไม่รวม แม้ว่าเราเขียนในกฎหมายไม่ได้ว่าห้ามใช้กับนายโน้น นายนี่ แต่เราเขียนให้อ่านความได้ว่ารวมหรือไม่รวมแล้วแค่นี้ก็คงเข้าในจกันมั้ง เพื่อให้เข้าใจว่ารวมถึงกรณีใดบ้าง เช่นถ้าสมุติว่าเหตุการณ์นับตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ 19 ก.ย.2549 เขาก็ไม่ได้อยู่ในประะเทศไทยแล้ว แบบนี้ก็เขียนไว้ได้ว่าอย่ารวมนะ ให้รวมตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 ถึงอะไรปี 31 ธ.ค.2554 อะไรก็ได้ให้มันพ้นตรงนั้นที่มีเหตุการณ์ทางการเมืองหลายเหตุการณ์ ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงอะไรต่างๆที่มีการประท้วงตั้วแต่ประท้วงรัฐประหารเรื่อยมาถึงประท้วงรัฐบาลคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาถึงรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช อะไรตจ่างๆทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ต่างๆ ทหารตำรวจที่ปฏิบัติตามคำสั่งเลิกแล้วต่อกันไป"
อดีตสสร.ปี 2540
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนส่สนใหญ่ของประเทศเขาจะคิดอย่างไรเป็น การช่วนรนิโทษกรรม คนที่เผาบ้านเผาเมืองนั้นเขาอยากให้ทำไหม หรือว่าอาจะให้เลิกแล้วกันไปเพราะตอนนี้ก็มีคนที่ติดคุกติดตารางจำนวนไม่น้อย รอคอยการนิรโทษกรรมอยู่แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะออกมาอย่างไร ขณะที่ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาล จะหาทางออกเรื่องนี้อย่างไร เพราะรัฐบาลต้องวิตกกังวลว่าจะเป็นกับดัก หรือเป็นหลุมพรางที่อาจจะทำให้หลุดจากอำนาจการบริหารประเทศหรือไม่ จึงต้องใช้การพินิจพิจารณาอย่างมากที่สุด ขณะที่ฝ่ายค้านเองเขามองว่ากลัวจะเป็นการช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงต้องออกมาทักท้วงอย่างหนักทำให้ตอนนี้รัฐบาลยังไม่กล้าตัดสินใจอย่างไร
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มีคนที่เสนอทางออก 3 แนวทางคือการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)นิรโทษกรรม ซึ่งถ้าต้องการช่วยนิรโทษกรรมให้เร็วต้องออกพ.ร.ก.โดยรับาลบเสนอโปรดเกล้าฯแล้วนำเข้าสภาฯ แต่ทว่ารัฐบาลก็เกรงว่าหากมีการคัดค้านกั้นมาแล้วไม่น่าสภาฯรัฐบาลก็อาจจะหลุดจากเก้าอี้
ส่วนอีกฝ่ายก็อยากให้ออกเป็นพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม เพราะถึงแม้จะช้าแต่ก็เป็นทางออกรัฐบาลที่ถ้าผ่านสภาฯก็ใช้ไปและจะได้รับการยอมรับจากคนจส่วนใหญ่ ฝ่ายค้านก็ต้องยอมรับให้ผานไปได้ แต่ถ้าไม่ผ่านสภาฯรนัฐบาลเองก็สามารถชี้แจงได้ว่าเรื่องนี้รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่อบของสภาฯรํบบาลสามารถเลีร่ยงได้
อีกแนวทางหนึ่งคือการแก้ไขร่างพ.ร.บ.รัฐธรรมนูญ เพื่อนิรโทษกรรม ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้มีว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เกิดข้อขัดแย้งกันมาก จนไม่สามารถทำได้ รวมทั้งต้องเกี่ยวพันถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากและรัฐบาลก็ดึงเรื่องเอาไว้ ดังนั้นหากจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่อนิรโทษกรรมกลัวว่าจะเป็นแบบนั้นอีก
อย่างไรก็ดี ทั้ง 3 วิธีทางต้องผ่านสภาฯทั้งนั้น แต่รัฐบาลจะเลือกวิธีการไหนก็ต้องพิจารณาหาทางออกที่ดีที่สุด "
ที่มา.สยามรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น