
ว่ากันว่า...มีทฤษฎีหนึ่งที่ยกมากล่าวหากัน เรื่องนักการเมืองรํ่ารวยผิดปกติ กรณี “ทุจริตเชิงนโยบาย” ทำให้ขายหุ้นของครอบครัว
ในตลาดหลักทรัพย์ฯได้เงินมาประมาณ 76,000 ล้านบาท
ทฤษฎีที่พูดถึง คือ “ทฤษฎีวัวกินหญ้า”
ฟังมาได้ความในทำนองว่า...ถ้าวัวของผู้ใหญ่บ้านไปกินหญ้าที่ปลูกโดยงบหลวงในที่สาธารณะ แล้ววัวของผู้ใหญ่บ้านอ้วนขึ้น
ก็ต้องจับวัวนั้นมาฆ่าทั้งตัว เพราะไม่สามารถถอนหญ้าออกมาจากตัววัวได้!
ดังนั้น...ไม่ต้องคำนึงว่า หญ้าที่วัวกินไปนั้นมีมูลค่าเท่าใด และเดิมวัวนั้นโตมาอย่างไร มีนํ้าหนักตัวเท่าไหร่
เมื่อพบว่า...วัวเข้าไปกินหญ้าแล้วก็ต้องจับวัวมาทั้งตัว
ฟังแล้วก็งงครับ? กับทฤษฎีวัวกินหญ้า...แล้วต้องจับวัวทั้งตัว เพราะในทางแพ่งหรือทางละเมิดนั้น ก็ควรจะฟ้องร้องกล่าวหากัน
ที่ “มูลละเมิด” หรือในทางอาญาก็ควรจะต้องหา “ข้อเท็จจริง” ในความผิดตามกฎหมายมากล่าวหากัน
จะไปยกทฤษฎีวัวกินหญ้ามาจากไหน...ก็คงปรับใช้ในการลงโทษตามกฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ว่า “ทฤษฎีวัวกินหญ้า” นั้น...
จะเป็นบทบัญญัติในกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งเท่านั้น เมื่อไปค้นหาว่า ทฤษฎีวัวกินหญ้า ได้มีบัญญัติไว้ในกฎหมายใดหรือไม่...
ก็ไม่พบว่ามีอยู่ในกฎหมายไทย หรือจะเอามาจากต่างประเทศ หรือจากต่างดาว ก็มิทราบ
อย่างไรก็ตาม ก็เคยมีการฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องของวัวจริงๆ เหมือนกัน และเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ทฤษฎีเป็นเรื่องวัวกินอ้อย...
ไม่ใช่วัวกินหญ้า ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเอามาเขียนให้ได้อ่านกัน ดังนี้
ป.พ.พ. มาตรา 420, 432, 438ป.วิ.พ. มาตรา 142, 172 วรรคสอง, 179, 180, 248 วรรคหนึ่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท...ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา248 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า...จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์
เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1ซึ่งฟังว่า...
จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิดเป็นฎีกาใน “ข้อเท็จจริง”
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแม้โจทก์ฟ้องว่า...จำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์
แต่ทางศาลพิจารณาได้ความว่า...จำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่าง
ในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย...ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง...จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว
ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และ
ความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง...
ย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยศาลอุทธรณ์ภาค 1
จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า...ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่า...
จำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบยํ่า
ต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ
ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกว่า...
จดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา (จรัญ หัตถกรรม- นาม ยิ้มแย้ม - สุรินทร์ นาควิเชียร) ตามคำพิพากษาฎีกาข้างต้นศาลพิพากษา
ให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
ในองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีอยู่ 3 คนนั้น...มีท่านหนึ่งที่ระบุชื่อไว้ว่า “นาม ยิ้มแย้ม” ซึ่งต่อมาได้เป็นบุคคลหนึ่ง
ในคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส.
เห็นอย่างนี้แล้ว...พี่น้องผู้อ่านจะคิดอย่างไรระหว่าง “ทฤษฎี วัวกินหญ้า” กับ “ฎีกา วัวกินอ้อย” ก็สุดแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคน
แล้วหละครับ!
โดย สว.เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
*****************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น