ศาลฎีกาฯเสียงเอกฉันท์ "คตส.-ป.ป.ช." ไต่สวนยึดทรัพย์ชอบด้วย กม.
ข่าวรายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจำนวน 9 คน
เริ่มอ่านคำพิพากษาในคดีที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกัน
ระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จำนวน 76,621,603,061.05 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน
หลังจากอ่านคำร้องของอัยการสูงสุดในฐานะผู้ร้องและคำคัดค้านของ พ.ต.ท.ทักษิณและผู้คัดค้านทั้ง 22 คนแล้ว
ศาลฎีกาฯได้เริ่มวินิจฉัยประเด็นในข้อกฎหมายตามประเด็นต่างๆ ดังนี้
-คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยเสียงเอกฉันท์
-คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.)และอนุกรรมการไต่สวนมีอำนาจในการไต่สวนคดีดังกล่าว
และกระบวนการไต่สวนเป็นไปโดยชอบ ขณะที่การแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
เป็นไปโดยชอบและมีอำนาจดำเนินการต่อจาก คตส. องค์คณะจึงมีมติด้วยเสียงเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง(อัยการสูงสุด) มีอำนาจ
ในการยื่นคำร้องในคดีนี้
ศาลมีมติเอกฉันท์ “ทักษิณ” เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปตัวจริงขณะเป็นนายกฯ
ต่อมาศาลได้วินิจฉัยถึงกรณีการได้มาซึ่งทรัพย์ของผู้ถูกร้องอย่างเช่น การแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคม
เป็นภาษีสรรพาสามิต ด้วยการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิต ( พ.ศ.2527) พ.ศ.2546
โดยเห็นว่า คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม และครบถ้วนตามกฎหมายและไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดของทรัพย์สิน
เพราะเป็นเรื่องต้องพิสูจน์ในศาล
ต่อจากนั้นได้วินิจฉัยเรื่องการถือหุ้นแทน โดยศาลระบุว่า การขายหุ้นให้พี่น้องของผู้ถูกร้องมีพิรุธ ไม่มีใครจ่ายเป็นเงิน
ทั้งที่จริงๆมีเงินจ่ายได้ แต่กลับจ่ายเป็นตั๋วสัญญา ดังนั้นการใช้เงินสด 68 ล้านบาท ไม่มีเอกสารใดๆ มาแสดงข้ออ้างการใช้เงิน
จึงรับฟังไม่ได้
สำหรับประเด็นเรื่องการอำพราง หรือ "ซุกหุ้น" ชินคอร์ปจำนวน 1,419.49 ล้านหุ้นในชื่อลูกๆและเครือญาติ
และมีมติด้วยเสียงเอกฉันท์ว่า ผู้ถูกกล่าวหา (พ.ต.ท.ทักษิณ) เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่แท้จริงในระหว่าง
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย
องค์คณะฯยังมีมติด้วยเสียงข้างมาก ว่าการออกเป็นพระราชกำหนด แปลงค่าสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นค่าภาษีสรรพสามิต
เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปและบริษัทในเครือ ทำให้รัฐเสียหายกว่า 60,000 ล้านบาท
องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมาก ว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนในการแก้ไข สัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้
จากการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (PREPAID CARD) เอื้อประโยชน์ให้แก่
บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส )
องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมาก ว่าพ.ต.ท.ทักษิณมีส่วนในแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (ROAMING)
และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายรวม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเอไอเอส แต่เนื่องจากมีการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่
เทมาเส็กเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2549 แล้ว ทำให้ผู้ได้รับประโยชน์จาการลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา
แต่เป็นกลุ่มเทมาเส็ก
**************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น