
ยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงการจัดซื้อ "เรือเหาะตรวจการณ์" เพื่อใช้ในภารกิจแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
หลังจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลถึงราคาเรือเหาะที่แพงเกินจริง เพราะบริษัท กันตนา กรุ๊ป ซื้อมาถ่ายทำภาพยนตร์ในราคาเพียง 30 ล้านบาท
แต่ของกองทัพบกซื้อในราคาถึง 350 ล้านบาท จากข้อมูลพบว่า...กองทัพบกโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในฐานะที่
ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้งบประมาณจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ ทำสัญญาซื้อ “ระบบเรือเหาะตรวจการณ์” จาก บริษัทเอเรียล อินเตอร์เนชันแนล คูเปอเรชันโดยเรือเหาะลำนี้ผลิตโดยบริษัท Worldwide Aeros Corp. ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่น Aeros 40D S/N 21 หรือ สกาย ดรากอน (SKY DRAGON)ขณะเดียวกัน มีข้อสังเกตจากบุคคลในแวดวงธุรกิจเรือเหาะว่า ราคาเรือเหาะที่กองทัพจัดซื้อน่าจะแพงเกินไป เพราะเรือเหาะของบริษัทแอร์ชิป เอเซีย ที่นำเข้าและจด
ทะเบียนก่อนที่กองทัพจะจัดซื้อ และมีขนาดใกล้เคียงกับเรือเหาะ “สกาย ดรากอน” นั้น มีราคาเพียง 30-35 ล้านบาทเท่านั้นเอง"เรือเหาะที่มีขนาดใกล้เคียงกับที่กองทัพจัดซื้อมากที่สุด คือเรือเหาะลำที่บริษัทแอร์ชิป เอเซีย นำเข้ามา โดยมีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ ราคาราว 30-35 ล้านบาทเท่านั้น"แหล่งข่าวซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจเรือเหาะ อธิบายต่อว่า เรือเหาะของบริษัทแอร์ชิป เอเซีย มีขนาดยาว 34 เมตร ขณะที่ของกองทัพ ตามสเปคที่นำเสนอสู่สาธารณะก่อนหน้านี้ มี
ขนาดยาว 47.35 เมตร ซึ่งก็ถือว่าไม่ใหญ่กว่ากันมากนัก แต่ราคาเฉพาะตัวบอลลูนกลับสูงถึง 230-260 ล้านบาทเรือเหาะ 1 ลำมีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลักๆ คือตัวบอลลูน กับส่วนที่เป็นห้องนักบินติดเครื่องยนต์ ซึ่งเรือเหาะทุกลำจะมีเหมือนกันหมด ส่วนกล้องตรวจการณ์จะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จากเอกสารที่กองทัพเคยเปิดเผยออกมาระบุว่าเฉพาะตัวเรือบอลลูนมีราคา 260 ล้านบาท แต่เท่าที่ทราบในวงการที่พูดกันคือ 230 ล้านบาท ก็เท่ากับแพงกว่าเรือเหาะของแอร์
ชิป เอเซีย ถึง 200 ล้าน จึงมีเสียงวิจารณ์กันในหมู่คนที่รู้เรื่องเรือเหาะว่า ทำไมถึงเอากำไรกันมากมายขนาดนี้ทั้งนี้ แม้จากข้อมูลจะค่อนข้างชัดเจนว่า เรือเหาะของกองทัพไม่ได้ซื้อต่อจากบริษัทในประเทศ แต่ในวงการธุรกิจเรือเหาะก็ยังตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเรือเหาะที่ผลิตขึ้นใหม่จริงหรือไม่การผลิตเรือเหาะแต่ละลำจะต้องมีการขึ้นทะเบียนว่าผลิตปีไหน อย่างไร เรือเหาะที่กองทัพบกซื้อ ถ้าเป็นของใหม่จริงต้องมีหลักฐานการขึ้นทะเบียน ถ้าไม่ใช่ของใหม่ก็ตรวจสอบได้ที่หลาย
ฝ่ายตั้งข้อสงสัยก็เพราะการสั่งซื้อเรือเหาะแต่ละลำต้องใช้ระยะเวลาในการผลิต สั่งแต่ละครั้งเกือบ 1 ปี แต่กองทัพบกมีเวลาเพียงพอแค่ไหนที่จะผลิตของใหม่ หรือใหม่เฉพาะเครื่องยนต์" แหล่งข่าว ตั้งข้อสังเกตหากไม่ได้จัดซื้อของใหม่ หรือไปซื้อลำที่บริษัทผู้ผลิตใช้ในการสาธิต จะส่งผลถึงอายุการใช้งาน เพราะเรือเหาะใหม่แต่ละลำมีอายุการใช้งาน 5-7 ปี ส่วนห้องนักบินมีอายุมากกว่า ฉะนั้นหากไปซื้อต่อมือสองมา ราคาที่จัดซื้อก็จะยิ่งแพง เนื่องจากอายุใช้งานจะสั้นกว่า
ที่ควรจะเป็นพ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กล่าวว่า...ขณะนี้เรือเหาะยังไม่พร้อมใช้งาน แต่เมื่อพร้อมใช้งานจริงจะมีระบบเชื่อมสัญญาณระหว่างตัวเรือเหาะกับภาคพื้นทั้งหมด 30 จุด ทั้งหน่วยเฉพาะกิจต่างๆ ในพื้นที่ และกองบัญชาการกองทัพบก แต่ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งยังไม่เรียบร้อย
ที่มา.บางกอกทูเดย์
****************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น