--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

มติประชาชนเท่านั้นที่ทำลายอำมาตย์ได้

ความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2550 ผมเป็นผู้ใช้สิทธิคนหนึ่งในจำนวน10ล้านเศษที่ "ไม่เห็นชอบ" และเมื่อพรรคพลังประชาชนลงเลือกตั้งพร้อมทั้งเสนอสัญญษประชาคมว่า"ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกรัฐธรรมนูญ50 และจะนิรโทษกรรมการพรรคไทยรักไทย111 คน ผลการเลือกตั้งจึงได้ 233 คนมีนายสมัครเป็นนายก แถลงนโยบายยังไม่ทันได้ทำงาน กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็รวมกลุ่มคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษ การแก้รัฐธรรมนูญ

การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง
ทีมAไทยรักไทย ทีมBพลังประชาชน และเพื่อไทยจึงเป็นเพียงทีมC ที่กลายเป็นฝ่ายค้าน แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีรัฐธรรมนูญและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่เลือกพรรคพลังประชาชนเพือป็นฝ่ายบริหาร

มติประชาชนต้องเป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน สาเหตุมาจากกลไกต่างๆในรัฐธรรมนูญ2550 พร้อมทั้งการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียในรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย

ความเห็นเกี่ยวกับมติรัฐธรรมนูญ 2550 ผมเป็นผู้ใช้สิทธิคนหนึ่งในจำนวน10ล้านเศษที่ "ไม่เห็นชอบ" และเมื่อพรรคพลังประชาชนลงเลือกตั้งพร้อมทั้งเสนอสัญญาประชาคมว่า"ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกรัฐธรรมนูญ50 และจะนิรโทษกรรมการพรรคไทยรักไทย111 คน ผลการเลือกตั้งจึงได้ 233 คนมีนายสมัครเป็นนายก แถลงนโยบายยังไม่ทันได้ทำงาน กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็รวมกลุ่มคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษ การแก้รัฐธรรมนูญ

การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง

ทีมAไทยรักไทย
ทีมBพลังประชาชน
ทีมCเพื่อไทที่กลายเป็นฝ่ายค้าน

แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่ถือว่าสูงสุดในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

เมื่อมติประชาชนไม่เป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน ที่แฝงอยู่ในรัฐธรรมนูญ2550 และที่สำคัญการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย

จึงเรียกร้องให้มีการแสดงประชามติ "เห็นชอบ" และ"ไม่เห็นชอบ" เพื่อรับรองรัฐธรรมนูญ2550นี้อีกครั้ง วิธีการนี้จะเป็นทางออกของวิกฤตของชาติหรือไม่ แต่มิได้หวังว่ารัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพแต่คาดหวังให้แกนนำคนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพ จากมติที่"เห็นชอบ 14 ล้านเศษกับ"ไม่เห็นชอบ" 10 ล้านเศษ มติที่ได้ในบางพื้นที่ประกาศใช้กฏอัยการศึก กับมติใหม่ภายใต้บรรยาการประชาธิปไตยนั้นจะแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะใช้มตินี้นี้เป็นสัญญาประชาคม ของประชาชนในการเลือกตั้งที่จะมาถึงอีกปีเศษ

เป็นอีกหนึ่งช่องทางหรือไม่ในการหาทางล้มรัฐธรรมนู2550ด้วย มติประชาชน ผมว่าไม่น่าจะยากเพราะจำนวนเสียงที่"เห็นชอบ"กับ "ไม่เห็นชอบ" ต่างกันไม่มาก และจะไม่เหมือนการเลือกพลังประชาชนแล้ว ต่างฝ่ายต่างเข้าใจเอาเองว่าเดี๋ยวประชาชนก็จะออกมาช่วยกันไม่ให้เสื้อเหลืองเป็นฝ่ายรุกอยู่ข้างเดียวถึงอย่างไรต้องคุ้มกันให้คนมาถือธง ส่วนประชาชนต่างรอและคิดว่าเลือกแล้วก็ยังไม่รู้จักป้องกันหม้อข้าวหม้อแกงของตนเอง เพราะต่างเข้าใจคนละวิธีกัน ทั้งๆที่ตอนนั้นที่สนามหลวงก็มีกลุ่มต่อต้านเผด็จการอยู่แล้วแต่จำนวนไม่มาก หากว่าเกิดการประสานกำลังในกรุงและกำลังต่างจังหวัด พธม.ก็จะหยุดอยู่แค่หอประชุมธรรมศาสตร์เท่านั้น

และการเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนได้บทเรียนแล้ว ผู้แทนคือหอยที่ต้องการเปลือกคือประชาชนที่เลือกเขาคอยปกป้องคุ้มครอง

ที่มา .konthaiuk
************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น