แม้จะยังไม่มีคำตอบจากกองทัพบกเรื่องราคาการจัดซื้อเรือเหาะตรวจการณ์ "สกาย ดรากอน" เพื่อใช้ในภารกิจเฝ้าตรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่าใช้งบประมาณสูงเกินไปหรือไม่? เพราะจัดซื้อมาด้วยราคาถึง 350 ล้านบาท เฉพาะตัวบอลลูน 230-260 ล้านบาท ทั้งๆ ที่บริษัทเอกชนรายอื่นจัดซื้อบอลลูนขนาดใกล้เคียงกันในราคาเพียง 30-35 ล้านบาทขณะที่ในการตอบกระทู้ถามของ “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใน
สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มี.ค.2553 ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจนในเรื่องราคานั้นเรือเหาะ "สกาย ดรากอน" ยังถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพการใช้งานจริงว่าตรงตามสเปคในสัญญาที่กองทัพบกทำไว้กับบริษัท เอเรียล อินเตอร์เนชันแนล คูเปอเรชัน (Arial International Cooperation) หรือไม่จากข้อมูลจำเพาะของเรือเหาะลำนี้ ซึ่งเป็นรุ่น Aeros 40D S/N 21 (SKY DRAGON) ระบุว่า...ระยะความสูงที่เรือเหาะสามารถปฏิบัติงานได้อยู่ที่ 0 -10,000 ฟุต
หรือ 0-3,084 เมตร ระยะความสูงปฏิบัติการอยู่ที่ 3,000-5,000 ฟุต หรือ 900-1,500 เมตร ความเร็วสูงสุด 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วเดินทาง 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอย่างไรก็ดี จากการทดสอบเรือเหาะโดยคณะกรรมการตรวจรับของกองทัพบก ที่โรงจอดเรือเหาะ ภายในกองพลทหารราบที่ 15 อ.หนองจิก ปัตตานี เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา กลับพบปัญหาเรือเหาะไม่สามารถบินสูงได้ในระดับที่กำหนดเจ้าหน้าที่รายหนึ่งในชุดปฏิบัติการเฝ้าตรวจทางอากาศ ซึ่ง
ผ่านการฝึกใช้งานเรือเหาะตรวจการณ์จากบริษัทผู้จำหน่ายที่ทำสัญญากับกองทัพบก เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพของเรือเหาะเท่าที่ได้มีการทดสอบมาหลายครั้งยังบินได้สูงอยู่แค่ระดับ 1,000 เมตร ยังไม่เคยทดสอบบินสูงถึง 3,000 เมตรตามสเปคที่กำหนดมา “จุดนี้คือปัญหาที่ทำให้คณะกรรมการตรวจรับไม่สามารถรับมอบเรือเหาะตรวจการณ์ได้ นอกเหนือจากปัญหาการเชื่อมสัญญาณระหว่างกล้องตรวจการณ์ที่ติดตั้งบนเรือเหาะกับสถานีภาคพื้น รวมทั้งที่กองบัญชาการกอง
ทัพบกด้วย”แหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเฝ้าระวังทางอากาศ และอากาศยานที่ขับเคลื่อนโดยของเหลว ให้ข้อมูลว่า...ความเป็นไปได้ที่เรือเหาะตรวจการณ์ของกองทัพบกจะบินได้สูงถึง 3,000 เมตรนั้น มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเรือเหาะที่ผลิตในสหรัฐอเมริกามีบางรุ่นที่ลอยตัวได้สูงถึง 3,000 เมตร แต่จะเป็นบอลลูนแบบโยงยึด ไม่ใช่เรือเหาะที่ติดเครื่องยนต์ขับเคลื่อนทางอากาศได้"จริงๆ แล้วระบบเฝ้าระวังทางอากาศที่น่าจะเหมาะกับภารกิจและ
สภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือบอลลูนแบบโยงยึดมากกว่าเรือเหาะแบบเคลื่อนที่ได้ เพราะบอลลูนแบบโยงยึดนั้นลอยตัวได้สูงถึง 3,000 เมตร ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เป้าหมายไม่รู้ว่าถูกจับจ้องอยู่หรือไม่ และบนบอลลูนก็สามารถติดกล้องตรวจการณ์ที่ส่องเห็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน บางรุ่นส่องไกลได้ถึง 300 กิโลเมตร ซึ่งก็น่าจะครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการ"แหล่งข่าวยังให้ข้อมูลอีกว่า บอลลูนลักษณะนี้ปล่อยขึ้นไปครั้งหนึ่งจะลอยตัวอยู่ได้นานเป็น
เดือนๆ ผิดกับเรือเหาะแบบมีเครื่องยนต์ขับเคลื่อน ซึ่งต้องใช้เชื้อเพลิง...สามารถปฏิบัติการต่อเนื่องได้เพียง 6 ชั่วโมงก็ต้องเติมเชื้อเพลิงแล้วที่สำคัญเรือเหาะรุ่นที่กองทัพบกจัดซื้อยังเป็นรุ่นที่ต้องใช้นักบิน ไม่ใช่อากาศยานไร้คนขับ เมื่อมีนักบินการจะบินปฏิบัติการต่อเนื่องได้คราวละนานๆ จึงยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะนักบินก็ต้องพักและทำภารกิจส่วนตัว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
***************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น