ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
เมื่อ พ.ศ.2487 (ร่วม 50 ปีมาแล้ว) ประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้มีความเหมือนกันทุกอย่างโดยมีประชาชน พวกเดียวเผ่าเดียวกัน พูดภาษาเดียวกัน มีวัฒนธรรมแบบเดียวกันและมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน
หากจะแตกต่างกันบ้างก็คือ เกาหลีเหนือจะมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้จะมีเศรษฐกิจเป็นเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่
ใน ปีต่อมาคือ พ.ศ.2488 ทางเกาหลีเหนือได้เลือกเอาระบบการปกครองเป็นแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ใช้ระบบการปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม (Authoritarianism) และใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและในเวลาต่อมาร่วม 20 ปีที่แล้วก็เปลี่ยนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแทนเผด็จการอำนาจนิยม
ใน ปัจจุบันแม้แต่มนุษย์ต่างดาวที่อยู่นอกโลกหรือนักบินอวกาศก็สามารถเห็นความ เจริญแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยมองมาจากอวกาศยานค่ำคืน ซึ่งจะเห็นความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ดูภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยามค่ำคืน) กล่าวคือทั่วทั้งเกาหลีใต้จะมีแสงสว่างทั่วประเทศและที่สว่างจ้าที่สุดก็คือ บริเวณเขตเมืองหลวงเซอูลและปริมณฑล
ส่วนเกาหลีเหนือจะเห็นแสงไฟ กระจุกเล็กนิดเดียวบริเวณเมืองเปียงยางเท่านั้นนอกนั้นในส่วนอื่นๆ ของเกาหลีเหนือจะมืดมิดโดยสิ้นเชิง ครับ ! การดูการใช้ไฟฟ้าในยามค่ำคืนนี้คือดัชนีบ่งชี้ถึงความเจริญและความล้าหลัง ที่สมสมัยและง่ายที่สุดในปัจจุบัน
ตัวอย่างนี้เรื่องเกาหลีนี้ผู้ เขียนนำมาจากคำบรรยายของ Tyler Cowen and Alex Tabarrok ในการบรรยายเรื่อง Development Economics จาก MRUniversity
แต่ตัวอย่างต่อไปที่เป็น เรื่องของเมืองเซี่ยงไฮ้แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นเป็นตัวอย่างที่ผู้ เขียนได้มีประสบการณ์ด้วยตัวเองจากการเปรียบเทียบเมืองเซี่ยงไฮ้ใน พ.ศ.2522 กับเมืองเซี่ยงไฮ้ใน พ.ศ.2555 ว่าในช่วง 33 ปีการปฏิรูปสถาบันของจีนได้ทำให้เซี่ยงไฮ้เจริญขึ้นเหมือนกับการพลิกฝ่ามือ เลยทีเดียว
เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ คือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2522 ทางคณาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีผู้เขียนรวมอยู่ด้วยได้มีโอกาสได้เดินทางไปเยือนจีนโดยเป็นแขกของ สมาคมมิตรภาพไทย-จีน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตอนนั้นจีนเพิ่งเสร็จสิ้นสงครามสั่งสอนเวียดนามไปได้หมาดๆ (ความจริงคือเป็นสงครามที่เวียดนามสั่งสอนจีนมากกว่าเพราะทำให้จีนตระหนัก ถึงความล้าหลังอย่างมากของจีนเมื่อเทียบกับโลกภายนอกได้ชัดๆ โดยดูจากความล้าสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ของจีนเมื่อเทียบกับเวียดนามในสมัย นั้น) เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนในขณะนั้นจึงเริ่มต้นการปฏิรูปสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศด้วยการ ประกาศใช้นโยบาย 4 ทันสมัย (1.การเกษตร 2.การอุตสาหกรรม 3.การทหาร 4.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ประเดิมและดำเนินการปฏิรูปสถาบันของจีนเรื่อยมา
ที่ เมืองเซี่ยงไฮ้เมื่อ 33 ปีมาแล้ว ในสายตาของผู้เขียนดูเหมือนเมืองชิคาโกเก่าในภาพถ่ายของช่วงทศวรรษ 1940 และสลัมที่อยู่อาศัยของชาวจีนเนื่องจากเซี่ยงไฮ้เป็นเขตเช่าที่บรรดาชาติ ตะวันตกและญี่ปุ่นเข้ายึดครอง แม้ว่าเซี่ยงไฮ้จะเป็นศูนย์กลางของการพาณิชย์และอุตสาหกรรมของจีนมาตั้งแต่ ปลายราชวงศ์ชิง จนกระทั่งคอมมิวนิสต์เข้าปกครองประเทศจีนร่วม 40 ปี เซี่ยงไฮ้ก็พัฒนาไปอย่างเชื่องช้าจนมีการปฏิรูปสถาบันครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2534 ด้วยการสร้างเมืองใหม่ที่เขตผู่ตง (ดูรูป) เป็นตัวอย่างของการปฏิรูปสถาบันทางเศรษฐกิจและการเมืองครั้งมโหฬารของจีน
ผล หรือครับ? ในเวลา 18 ปี จาก พ.ศ.2534-2552 เซี่ยงไฮ้มีสถาบันการเงินถึง 787 สถาบัน โดย 170 สถาบันเป็นของชาวต่างชาติที่มาลงทุนในเซี่ยงไฮ้ และตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้เป็นตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 ของโลก นอกจากนี้การค้าวัตถุดิบเพื่อการอุตสาหกรรม 6 ชนิดหลัก เช่น ยางพารา ทองแดง และสังกะสี ในตลาดสินค้าล่วงหน้า (Future Exchange Market) ของเซี่ยงไฮ้มีปริมาณเป็นอันดับ 1 ของโลก
ในสองทศวรรษที่ผ่านมา เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่พัฒนารวดเร็วที่สุดในโลกโดยตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นต้นมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเซี่ยงไฮ้เป็นเลข 2 ตัวติดต่อกันมาโดยตลอด ยกเว้นใน พ.ศ.2551-2552 ที่สภาวะเงินฝืดทั่วโลก
สำหรับ พ.ศ.2554 นั้น จีดีพีของเซี่ยงไฮ้ขยายตัวเป็นมูลค่า 297 พันล้านเหรียญอเมริกัน โดยจีดีพี per capita มีถึง 12,784 เหรียญอเมริกัน สำหรับภาคบริการที่ใหญ่ที่สุด 3 อย่างของเซี่ยงไฮ้คือ การเงินการธนาคาร การค้าปลีก และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ จากการที่มลภาวะทางอากาศ และมลภาวะทางเสียงอันเกิดจากรถมอเตอร์ไซค์ ทำให้ทางการของฝ่ายบริหารของเซี่ยงไฮ้ออกเทศบัญญัติห้ามรถมอเตอร์ไซค์วิ่งใน เขตเมืองแต่ส่งเสริมให้ใช้รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแทนโดยมีสถานที่ให้ชาร์จ แบตเตอรี่คิดค่าบริการครั้งละ 100 หยวน (500 บาท) โดยอ้างว่ามอเตอร์ไซค์ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงและมลภาวะทางอากาศ เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิตเสมอและเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ยังเป็นการเลิกมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ผิดกฎหมายและทำให้การจราจรมี ระเบียบเรียบร้อยขึ้น ส่วนข้อสุดท้ายฟังทะแม่งพิกลคือทำให้ภาพลักษณ์ของเมืองเซี่ยงไฮ้ดีขึ้น
ครับ! ความเปลี่ยนแปลงของเซี่ยงไฮ้ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมานี้ เกิดจากการปฏิรูปสถาบันเศรษฐกิจและสถาบันทางการเมืองโดยแท้
ท่านผู้อ่านที่เคารพบางท่านอาจจะสงสัยว่าสถาบันที่ผู้เขียนพูดถึงนี้คืออะไร?
สถาบัน (Institution) หมายถึงสิ่งซึ่งคนในส่วนรวมคือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิต ของตน มีอยู่ 7 สถาบันในทุกสังคมระดับประเทศคือ
1) สถาบันครอบครัว 2) สถาบันการเมือง 3) สถาบันเศรษฐกิจ 4) สถาบันศาสนา 5) สถาบันการศึกษา 6) สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 7) สถาบันนันทนาการ
การปฏิรูปคือ การเปลี่ยนแปลงบรรดาสถาบันดังกล่าวอย่างมโหฬาร โดยการกำหนดควบคุมจากเบื้องบน ซึ่งประเทศไทยเราก็เคยทำมาแล้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระปิยมหาราช ซึ่งสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยนับอเนกประการจนกระทั่งเกิดมีความเปลี่ยน แปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 อันนำไปสู่การปฏิรูปสถาบันครั้งใหญ่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยการกำหนดควบคุมจากเบื้องบนเช่นกัน ซึ่งก็ได้พัฒนาประเทศไทยมาหลายสิบปีแล้วจนถึงทางตันในปัจจุบันเพราะประเทศ ไทยเราไม่สามารถพัฒนาอย่างทะลุทะลวง (Breakthrough) ให้พัฒนาขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed country) เหมือนญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือเกาหลีใต้ได้ หากแต่จมปลักอยู่กับความเป็นประเทศกำลังพัฒนาย่ำอยู่กับที่มานานนับสิบปี แล้ว
ครับ! ถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปสถาบันเพื่อการพัฒนาสังคมไทยอีกครั้งแล้วละครับเพราะ ประเทศไทยหยุดชะงักมานานเกินควรแล้ว แต่ครั้งนี้จำเป็นต้องปฏิรูปจากประชาชนเป็นผู้กำหนดและควบคุม ซึ่งต้องปฏิรูปไปพร้อมๆ กันทั้ง 7 สถาบันทางสังคมในคราวเดียวกัน ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปทันทีคือวินัยของคนในสังคมซึ่งต้องเริ่มที่สถาบัน ครอบครัวครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น