--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การแก้ไขปัญหาไฟใต้ : ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย !!?


โดย : สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2551ขัด หรือแย้งกับสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 ในประการสำคัญ

1 สนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 มีบทบัญญัติร่วม ที่เปรียบเสมือนสนธิสัญญาเล็ก ครอบสนธิสัญญาใหญ่เอาไว้ทั้ง 4 ฉบับ คือบทบัญญัติร่วมทั้ง 9 บทบัญญัติ และในบทบัญญัติร่วมทั้ง 9 บทบัญญัติ บทบัญญัติร่วมที่ 2 บทบัญญัติร่วมที่ 3 เป็นบทบัญญัติร่วมที่สำคัญที่สุด เพราะบทบัญญัติร่วมที่สองของสนธิสัญญาฯให้ความคุ้มครองแก่เชลยศึก และในบทบัญญัติร่วมที่ 3 เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่เอกชน หรือ พลเรือนในยามสงคราม และ ในยามที่มีความขัดแย้งทางอาวุธที่ไม่ประกาศ เป็นสงครามเป็นทางการภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง บทบัญญัติร่วมที่ 3 เปรียบเสมือนสนธิสัญญาเล็กที่ย่อเอาจุดสำคัญๆของสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 มาบัญญัติไว้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่เอกชน และ/หรือ พลเรือนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดการสู้รบ และไม่อนุญาตให้รัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาฯ ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับความที่บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดในบทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาฯ

บทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาฯให้ความคุ้มครองแก่เอกชนหรือพลเรือนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดความขัดแย้งทางอาวุธ ที่ไม่ประกาศสภาวการณ์ของสงคราม เป็นทางการ(สงครามกลางเมือง หรือ เกิดการกบถ)[ให้อ่านและพิจารณาดูบทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 โดยพินิจพิเคราะห์ที่แนบท้ายบทความนี้]ในเรื่องดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1.)ความมุ่งหมาย หรือเจตนารมย์ของบทบัญญัติ ต้องการให้ความคุ้มครองในทางมนุษยธรรมแก่เอกชน หรือ พลเรือนทุกๆคนที่ตกอยู่ในมือของฝ่ายศัตรูหรืออยู่ในความคุ้มครองของฝ่ายศัตรู โดยปราศจากซึ่งความแตกต่างทั้งปวง ไม่ว่าประชาชน หรือพลเรือนนั้น จะตกไปอยู่ในมือของฝ่ายใดในระหว่างคู่ขัดแย้ง. บทบัญญัติของสนธิสัญญาฯนี้ มีข้อห้าม เป็นพิเศษคือ:-

[ห้ามฆ่า หรือฆาตกรรมประชาชน, ห้ามทำให้เขาแขนขาขาด และทำให้เขากลายเป็นคนทุพลภาพ, ห้ามไม่ให้กระทำการโดยทรมาน, ห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ อันเป็นการทารุณโหดร้าย, ห้ามไม่ให้กระทำการใดๆอันเป็นการกระทำที่ผิดมนุษย์มนา และกระทำให้ความเป็นมนุษย์ย่อหย่อนลง, ห้ามมิให้จับคนไปเป็นตัวประกันและไม่ให้ความเป็นธรรมในการพิจารณาและพิพากษาคดี.]

(2.) คนที่ได้รับการบาดเจ็บ คนที่ป่วย และคนที่ประสบภัยจากเรืออัปปาง จะต้องได้รับการช่วยเหลือ และ การดูแลรักษา

(3.)คู่สงคราม หรือคู่ขัดแย้ง จะต้องให้สิทธิแก่คณะกรรมการกาชาดสากลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่คู่สงคราม และ/หรือ คู่ขัดแย้ง

(4.)ให้คู่สงคราม หรือ คู่ขัดแย้งในความขัดแย้ง ที่จะต้องนำมาบังคับซึ่งบทบัญญัติสนธิสัญญาเจนีวาทั้งหมด หรือ บางส่วนโดยที่คู่สงคราม และ/หรือ คู่ขัดแย้ง ต้องทำข้อตกลงเป็นพิเศษระหว่างกัน

(5.)เป็นที่ยอมรับกันว่า การนำเอากฏเกณฑ์ตามสนธิสัญญาฯนี้มาบังคับใช้ ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางกฏหมายของคู่สงคราม และ/หรือคู่ขัดแย้งในความขัดแย้งนั้น

จะเห็นได้ว่า การบังคับใช้ และ ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949มีขั้นตอนในการขจัดปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธและความรุนแรงภายในประเทศอย่างเป็นขั้น เป็นตอน ด้วยการให้สถานะทางกฏหมายแก่คู่ขัดแย้งในทางความคิดและในทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มองหรือชี้วัดฝ่ายหนึ่งว่า “เป็นผู้ดี” อีกฝ่ายหนึ่ง “เป็นผู้ร้าย” ในระหว่างที่ความขัดแย้งดังกล่าวนั้นยังดำรงเป็นความขัดแย้งอยู่ในสังคมนั้น

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
*******************************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น