จากคำประกาศทางการล่าสุด กลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยพิทักษ์สยามระบุว่าเป้าหมายของการชุมนุมวันที่ 24 พฤศจิกายนในกรุงเทพฯคือ การบังคับให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรลาออกจากตำแหน่ง แม้ว่าองค์การพิทักษ์สยามจะทราบดีว่ารัฐบาลมากจากการเลือกตั้งโดยคนส่วนมากเมื่อ 18 เดือนที่แล้วจะไม่คิดว่าการรวมตัวของคนไม่กี่หมื่นคน (อย่างมากที่สุด) จะเป็นเหตุผลของการลาออก โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ในรัฐสภาและยังได้รับแรงหนุนอย่างเหนียวแน่นจากประชาชนโดยเห็นได้จากการสำรวจความคิดเห็น ความคิดที่ว่าคนกลุ่มน้อยควรจะเอาชนะเจตจำนงค์ของประชามติจากการเลือกตั้งโดยคนส่วนมากไม่ต้องครงกับความคิดของยุคศตวรรษที่ 21 ของประเทศไทย นี่ไม่ใช่ประเทศไทยในยุครุ่นปู่ย่าตาทวดอีกต่อไป
เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา แกนนำชราภาพขององค์กรพิทักษ์สยามเปิดเผยแผนการของพวกเขาอย่างตรงไปตรงมามากกว่านี้ พวกเขาถูกบังคับให้เปลี่ยนท่าทีเนื่องจากมาจากคำแถงการณ์ต่อสาธารณชนอันน่าตลกขบขันก่อนหน้านี้ พวกเขาบอกว่ากับนักข่าวว่า ควรมีจะการปิดประเทศไทย หรือที่เขาใช้ศัพท์ว่า “แช่แข็ง” เหมือนที่ผู้นำประเทศเพื่อนบ้านอย่างนายพอลพตและเนวินเคยใช้ พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิสรุปว่า “รัฐประหารคือวิธีเดียวที่จะล้มล้างรัฐบาล”
ความหมายโดยนัยคือภารกิจขององค์การพิทักษ์สยามคือการสร้างเงื่อนไขซึ่งจะนำไปสู่การทำรัฐประหาร อย่างน้อยที่สุดคือจำเป็นต้องมีการทำให้คนเข้าร่วมการชุมนุมในจำนวนที่มากพอ-คือไม่ใช่การล้มล้างรัฐบาลโดยตรงแต่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้คนอื่นไปใช้อ้างว่าจะต้องมีการขับไล่รัฐบาลเพราะ “ประชาชน” ไม่ต้องการรัฐบาลอีกต่อไป ข้ออ้างประเภทนี้ถูกป่าวประกาศโดยสื่อมวลชนในกรุงเทพฯ และได้รับการสนับสนุน (โดยไม่เจตนา) จากสื่อมวลชนต่างชาติ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่เคยไปไกลกล่าวแนวความคิดของกลุ่มอำมาตย์ในกรุงเทพฯ (ตัวอย่างล่าสุดเช่น: http://online.wsj.com/article/SB10001424127887324352004578134581768219170.html?mod=SEA_TOPLEFT)
และเงื่อนไขอื่นที่ผสมผสานรวมกันอันอาจเป็นสาเหตุของการทำรัฐประหารคือความรุนแรงและความวุ่นวายบนท้องถนนในระดับหนึ่ง หากมองตามแนวทางขององค์การพิทักษ์สยามแล้ว ความรุนแรงเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาสองประการ: ประการแรก เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลต่อคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะจะต้องมีการตำหนิรัฐบาลที่ไม่สามารถคุ้มครองพวกเขาให้ได้รับความปลอดภัยได้; ประการที่สองคือ เป็นข้ออ้างเอามาใช้ในการขับไล่รัฐบาล ด้วยการอ้างว่าจะต้องมีการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือโน้มน้าวบังคับทางอ้อมให้ประชาชนเลือกเอาความปลอดภัยมากกว่าประชาธิปไตย (อีกครั้ง) และที่สำคัญคือเป็นยุทธศาสตร์เดิมที่กลุ่มพันธมิตรใช้ในปี 2552 ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุว่าทำไมกลุ่มศาสนาอย่างกลุ่มสันติอโศก และกลุ่มที่บ้าคลั่งอย่าง “กองทัพธรรม” ออกมาให้การสนับสนุนองค์การพิทักษ์สยามอย่างมาก เนื่องจากความนิยมของรัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้ว่าองค์การพิทักษ์สยามต้องการคนมากกว่าที่พันธมิตรต้องการเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ทำงานอย่างหนักเพื่อเคลื่อนผู้สนับสนุนของพรรค ด้วยความหวังว่าจะได้คนไปร่วมชุมนุมตามจำนวนที่ต้องการ
นอกจากนี้ จุดจบของวาระมีลักษณะเปิด เพราะรัฐประหารในประเทศไทยสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ พลเอกบุญเลิสแสดงความเห็นว่าชอบการทำรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า โดยกล่าวว่าประเทศต้องมีทหารเป็นผู้นำ กองทัพมีอาวุธอาวุธเพียงพอที่จะจัดการกับผู้ต่อต้านการทำรัฐประหาร และสร้างสถานการณ์ “แช่แข็ง” พลเอกบุญเลิสอธิบาย อย่างไรก็ตาม การทำรัฐประหารโดยกองทัพเป็นการทำรัฐประหารที่เสี่ยงที่สุด โดยเฉพาะในบริบทนี้ เพราะต่างจากปี 2549 ผู้นำโลกเหมือนจะรับรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่น่าจะให้ความร่วมมือกับผู้ที่ก่อรัฐประหารเหมือนเมื่อ 6ปีที่แล้วโดยปริยาย
หากเหล่านายพลไม่กล้าที่จะทำรัฐประหาร องค์การพิทักษ์สยามและผู้สนับสนุนยังคงหวังว่าจะมี “ตุลาการรัฐประหาร” หากเงื่อนไขครบถ้วน ศาลรัฐธรรมนูญสามารถช่วย “สุมเชื้อเพลิง” ในการหาสาเหตุที่จะถอดถอนรัฐบาล เหมือนที่พวกเขาทำสองครั้งในปี 2552 อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีว่าเราจะได้เห็นรัฐประหารชนิดใหม่ และเนื่องจากไม่มีคำจำกัดความที่ดีกว่านี้ (หลังจาก 80 ปี รัฐประหาร 18 ครั้ง ศัพท์ดีๆถูกได้ถูกนำใช้ไปหมดแล้ว) อาจมีการเรียกการทำรัฐหารครั้งนี้ว่า “รัฐประการโดยพนักงานฝ่ายปกครอง” หรือ “รัฐประการโดยวุฒิสภา”
หนึ่งวันหลังจากการชุมุนมขององค์การพิทักษ์สยาม มีกำหนดการอภิปรายไม่วางใจรัฐบาล แต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจยื่นโดยพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ได้มีผลมากนัก เพราะรัฐบาลมีจำนวนสส.ในสภาที่จะลงคะแนนเสียงสนับสนุนรัฐบาล นอกจากนี้ ประเด็นของพรรคประชาธิปัตย์ยังอ่อนมากและอาจทำให้พรรคฝ่ายค้านอื่นตัดสินใจสนับสนันรัฐบาลในที่สุด คำขู่ที่สำคัญมากมาจากวุฒิสภา วุฒิสภาไม่ได้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นถอดถอนนายกยิ่งลักษณ์, รมว.กลาโหม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัตและรมช.มหาดไทย พล.ต.อ.ชัช กุลดิลก ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 270-274 ของรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาสามารถส่งคำร้องให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ได้ ซึ่งตอนนี้ ปปช.กำลังพิจารณาคำร้องอยู่ หากหลังจากทำการสอบสวน ปปช.เห็นด้วยกับวุฒิสภา วุฒิสภาสามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้โดยเสียงส่วนมากอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์
การกระทำที่คล้ายกันในอดีตนั้นลงเอยด้วยความล้มเหลว แต่เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อแนวทางนี้ได้ โดยเฉพาะหากองค์การพิทักษ์สยามและแนวร่วมประสบความสำเร็จในการทำให้รัฐบาลอ่อนแอโดยการสร้างสถานการณ์ ทั้งนี้ปปช.เป็นหน่วยงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นพรรคพวกของคนเหล่านี้ ในขณะที่ วุฒิสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งและมีอยู่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลอะไรที่มากไปกว่าความต้องการในการจำกัดประชาธิปไตย สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากแต่งตั้งและเลือกตั้งมีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และมีความเป็นไปได้ว่าวุฒิ
สมาชิกจะสามารถรวบรวมเสียงข้างมากได้ โดยเฉพาะหากมีมือที่มองไม่เห็นได้ออกมากดดันเหมือนที่ทำในปี 2552 จนทำให้อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี หากกลุ่มอำมาตย์กระหายอยากขับไล่รัฐบาล พวกเขาอาจต้องพึ่งพาปปช.หรือวุฒิสภา
บางคนวิจารณ์รัฐบาลไทยว่าถือเอาคำขู่นี้เป็นเรื่องจริงจัง แน่นอนมันเป็นเรื่องยากที่จะหยั่งรู้ว่องค์การพิทักษ์สยามลและแนวร่วมอาจจะโง่พอที่จะสร้างสถานการ์ทำให้เกิดรัฐประหารและนำไปสู่หายนะอันร้ายแรงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองว่าเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นประเทศไทยและความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไม่สามารถที่จะสบประมาทความสามารถององค์กรพิทักษ์สยามได้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงความสนับสนุนที่ได้รับจากกลุ่มที่บ้าคลั่ง เงินทุนที่พวกเขาได้รับ และความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับกลุ่มอำมาตย์ โดยเฉพาะเมื่อคนที่มีสายสัมพันธ์อันแน้นแฟ้นกับอำมาตย์อย่างนายนายวสิษฐ เดชกุญชรออกมาเตือนรัฐบาลว่าอาจลงเอยเหมือนกัดดาฟี่ กล่าวคือข่มขู่ว่านายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายจะถูกสังหาร รัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากจะต้องถือเอาคำขู่นี้เป็นเรื่องจริงจัง ความตื่นตระหนกได้แผ่ขยายในกลุ่มของผู้สนับสนุนองค์กรสยามพิทักษ์ในกองทัพและพรรคประชาธิปัตย์บางรายว่า เพราะระบบการทำผิดแล้วลอยนวลกำลังสั่นคลอนและนั้นอาจส่งผลทำให้พวกเขาทำอะไรที่อันตรายและไม่คาดคิดได้มากขึ้น
เราได้เรียนรู้ใน 7 ปีที่ผ่านมาว่า กลุ่มหัวรุนแรงที่อยู่เบื้องหลังองค์กรพิทักษ์สยามสามารถทำลายประเทศได้หากจำเป็น รัฐที่เลือกตั้งมาจากประชาชนจึงมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น
Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น