--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสียงเรียกร้อง :ประวัติศาสตร์ !!?



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลมีแนวโน้มที่จะลงนามในเอกสารซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่จากศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) มาเยือนกรุงเทพมหานคร ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาคดีไอซีซีในกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติก่อขึ้นในประเทศไทยเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 หรือไม่ (ดูคำอธิบายเรื่องขั้นตอนไอซีซีได้ที่นี่) และนี่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทยที่มากว่า 80 ปี

ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าว การให้อำนาจพิจารณาคดีไอซีซีต่อการทำร้ายที่เกิดในปี 2553 จะช่วยประกันว่าเหยื่อผู้ถูกลิดรอนชีวิต สิทธิ เสรีภาพ หรือสูญเสียบุลคลในครอบครัวจะได้รับความเป็นธรรมไม่เหมือนเหยื่อความรุนแรงของรัฐในอดีต ตอนนี้มีความเป็นไปได้อย่างแท้จริงว่าการปราบปรามประชาชนอย่างร้ายแรงถึงชีวิตของรัฐบาลในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 จะได้รับการสอบสวนอย่างเหมาะสม และคนที่ก่ออาชญากรรมจะต้องรับผิด ซึ่งต่างจากการสังหารหมู่ในปี 2516, 2519 และ 2535

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของประเทศไทยที่มากกว่านั้นในฐานะประเทศคือ ตามที่ศ.ธงชัย วินิจฉกุลอธิบายในจดหมายถึงไอซีซีเมื่อหลายเดือนก่อน การสังหารหมู่พลเรือนเกิดขึ้นเป็นประจำในหลายทศวรรษ และด้วยเป้าหมายเดิม: คือเพื่อจะปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานในการกำหนดชีวิตตนเองของประชาชนไทย ในทางตรงข้ามการปกปิดอาชญากรรมก่อขึ้นโดยรัฐในปี 2516, 2519 และ 2535 ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ลิดรอนประชาชนไทยจากสิทธิในการรับรู้ความจริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการประกันว่าอาชญากรรมอันเลวร้ายจะเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ระบบการทำผิดแล้วลอยนวลทำให้กลุ่มคนที่ไม่ยอมรับความชอบธรรมของกระบวนการทางประชาธิปไตยคุกคามรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำรัฐประหาร และเมื่อใดก็ตามที่เผชิญกับฝ่ายตรงข้ามที่ได้รับความนิยม พวกเขาก็สังหารผู้ชุมนุมหลายราย  แม้ว่าการปราบปรามประชาชนของทหารจะไม่สำเร็จทุกครั้งไป แต่ ข้อเท็จจริงคือการที่เจ้าหน้าที่รัฐลอยนวลจากการสังหารประชาชนอยู่เสมอทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ของการเลือกตั้ง, รัฐประหาร และการสังหารหมู่มาเป็นเวลา 40 ปี

มีปัญหาว่าการลงนามนี้อาจทำประเทศไทยต้องกลับไปสู่วงจรเดิมอีก เพราะหลังจากจัดตั้งการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล นายทหารนอกราชการ พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่าไม่ได้อยากทำแค่รัฐประหารเท่านั้น แต่ต้องการให้จัดการกับฝ่ายตรงข้ามด้วย “การปิดประเทศ” เป็นเวลาหลายปี สันนิษฐานว่าอาจจะต้องปิดจนกระทั่งฝ่ายตรงข้ามรู้สึกหวาดกลัวอย่างมากหรือถูกทำให้หายไป ความเห็นเหล่านี้ยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่าการยุติระบบการทำผิดแล้วลอยนวลเท่านั้นที่ความรุนแรงโดยรัฐหลายครั้งในอนาคตจะไม่เกิดขึ้น

การเข้ามาเกี่ยวข้องของไอซีซีให้โอกาสที่ดีที่สุดแก่ประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาในหลายทศวรรษที่ผ่านมาในการเป็นอิสระจากวงจรอุบาทว์นี้ การสอบสวนของไอซีซีไม่ใช่เพียงแค่จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยเห็นว่าพวกเขาจะไม่ได้เสวยสุยจากระบบการทำผิดแล้วลอยนวลที่พวกเขาได้รับมาอย่างยาวนานอีกต่อไป แต่ทำให้ประชาคมโลกหันมาสนใจสถานการณ์ในประเทศไทย มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าการเข้ามาเกี่ยวข้องของไอซีซีจะช่วยยับยั้งความพยายามในการล้มล้างประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีการคาดหมายว่ากองทัพอาจปราบปรามกลุ่มคนที่กล้าหาญพอที่จะลุกขึ้นปกป้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรง ในทางกลับกัน การกระทำของกลุ่มอำมาตย์ไทยในการขัดขวางกระบวนการทางประชาธิปไตยอาจสิ้นสุดลง เพราะพวกเขามักบังคับให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทำตามข้อเรียกร้องโดยการพึ่งพาคำข่มขู่แบบโดยนัยว่าจะมีการทำรัฐประหาร

การยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีกรณีเหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 ไม่ใช่การกระทำที่สุดโต่ง เพราะไอซีซีจะเข้ามาสอบสวนกลุ่มบุคคลที่ต้องรับผิดต่อการก่ออาชญากรรมโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นสมาชิกรัฐบาล ฝ่ายตรงข้าม หรืออาจจะเป็น “มือที่สาม” เท่านั้น ซึ่งห่างไกลจากการทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสียเกียรติ ตามที่ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติซึ่งล้มเหลวในการหาความจริงแนะนำเมื่อไม่นานมานี้ว่า การตัดสินใจที่จะยุติระบบการทำผิดแล้วลอยนวลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจะเป็นการยืนยันถึงความยึดมั่นในพันธกรณีที่มีต่อประชาคมโลกของประเทศไทย สิทธิพลเมืองและการต่อสู้พื่อประชาธิปไตยเป็นเวลา 80 ปี ภายใต้สถาวะแวดล้อมนี้ ไม่มีอะไรที่จะแสดงความรักชาติไปมากกว่าการตอบรับเสียงเรียกร้องแห่งประวัติศาสตร์นี้

Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น