20 มี.ค. 54 - ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่า หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 ท่านที่ถูกอภิปราย ดังนี้
ไว้วางใจ (ร้อยละ) | ไม่ไว้วางใจ (ร้อยละ) | ไม่ออกความเห็น/ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (ร้อยละ) | |
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี | 25.6 | 57.2 | 17.2 |
2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 22.9 | 53.2 | 23.9 |
3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | 19.6 | 55.1 | 25.3 |
4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ | 16.6 | 56.1 | 27.3 |
5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | 16.4 | 65.6 | 18.0 |
6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง | 16.4 | 70.9 | 12.7 |
7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 14.0 | 70.3 | 15.7 |
8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 12.3 | 62.5 | 25.2 |
9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | 11.8 | 68.6 | 19.6 |
10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 11.7 | 69.6 | 18.7 |
สำหรับการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โดยร้อยละ 49.8 ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 19.7 เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 30.5 ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย
อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุดคือเรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด ร้อยละ 27.4 และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1 ตามลำดับ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การรับชม /รับฟัง หรือติดตามข่าวการประชุมสภาฯ เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 10 ท่าน ในวันที่ 15 – 18 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่า
มีผู้ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 10.2
ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ ร้อยละ 63.0
ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ ร้อยละ 26.8
2. หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทั้ง 10 คน โดยเรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนให้ความไว้วางใจจากมากไปน้อย ดังนี้
ไว้วางใจ (ร้อยละ) | ไม่ไว้วางใจ (ร้อยละ) | ไม่ออกความเห็น/ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (ร้อยละ) | |
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี | 25.6 | 57.2 | 17.2 |
2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | 22.9 | 53.2 | 23.9 |
3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | 19.6 | 55.1 | 25.3 |
4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ | 16.6 | 56.1 | 27.3 |
5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | 16.4 | 65.6 | 18.0 |
6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง | 16.4 | 70.9 | 12.7 |
7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | 14.0 | 70.3 | 15.7 |
8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | 12.3 | 62.5 | 25.2 |
9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | 11.8 | 68.6 | 19.6 |
10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | 11.7 | 69.6 | 18.7 |
3. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และประธานสภาฯ ในการอภิปราย
ครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ของประธานสภาฯ 5.57 คะแนน
4. เมื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า
- เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ร้อยละ 49.8
- เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า ร้อยละ 19.7
- ไม่เชื่อทั้งสองฝ่าย ร้อยละ 30.5
5. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ประชาชนยังค้างคาใจอยู่ 3 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) คือ
อันดับ 1 เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม ร้อยละ 29.9
(ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์)
อันดับ 2 เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด และมีราคาแพง ร้อยละ 27.4
อันดับ 3 เรื่องราคาสินค้า อุปโภค – บริโภค ที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1
………………………………….
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 10 ท่าน เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและ จังหวัดต่างๆ ทุกภาคภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.3 และเพศหญิงร้อยละ 47.7
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 -19 มีนาคม 2554
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 มีนาคม 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
<>
จำนวน | ร้อยละ | |
เพศ | ||
ชาย | 652 | 52.3 |
หญิง | 594 | 47.7 |
รวม | 1,246 | 100.0 |
อายุ | ||
18 - 25 ปี | 218 | 17.5 |
26 - 35 ปี | 312 | 25.0 |
36 - 45 ปี | 346 | 27.8 |
46 ปีขึ้นไป | 370 | 29.7 |
รวม | 1,246 | 100.0 |
การศึกษา | ||
ต่ำกว่าปริญญาตรี | 677 | 54.3 |
ปริญญาตรี | 493 | 39.6 |
สูงกว่าปริญญาตรี | 76 | 6.1 |
รวม | 1,246 | 100.0 |
อาชีพ | ||
168 | 13.5 | |
พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน | 345 | 27.7 |
ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว | 358 | 28.7 |
รับจ้างทั่วไป | 167 | 13.4 |
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ | 97 | 7.8 |
อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ | 111 | 8.9 |
รวม | 1,246 | 100.0 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น