เพราะคำ 10 พ่อค้า ไม่เท่า 1 พระยาเลี้ยง
ทำให้บรรดา หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงจากราชตระกูลยังเป็นที่ต้องการของพรรคการเมือง
เฉพาะคนในราชตระกูล ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ในวังบางขุนพรหมวังเทเวศน์ วังสวนผักกาด และวังเทวะเวสม์ ล้วนเคยเป็นแหล่งชุมนุมนักนักคิด ที่สืบเชื้อสายจากราชตระกูลสาย "บริพัตร" "โสณกุล" และ "เทวกุล"
เฉพาะตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก "พระเจ้าแผ่นดิน" ในรัชกาลที่ 4 ก็มีไม่ต่ำกว่า 17 ต้นตระกูล ที่ยังรับใช้ชาติบ้านเมือง
เฉพาะ 4 ราชตระกูล ดังของประเทศไทย ที่สืบจากเชื้อแห่ง "รัชกาลที่ 4"ทั้ง "บริพัตร" "เทวกุล" "โสณกุล""สวัสดิวัตน์" และ "อัมระนันทน์" นั้น มีทายาทที่เจริญรอยตามอยู่ในแวดวงการเมืองไทยมาหลายชั่วอายุคน
"คุณชายเต่า" ยังมีสายสัมพันธ์ อันใกล้ชิดกับ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นั้น ระดับ "ลูกพี่ลูกน้อง"
"ม.ล.อภิมงคล โสณกุล" จึงได้สานต่อ ลงรับสมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งเดิมต่อจาก "คุณชายสุขุมพันธุ์" ซึ่งเป็น "ญาติฝ่ายพ่อ"
ส่วน "สายแม่" ของ "ปิยสวัสดิ์" ม.ร.ว.ปิ่มสาย สวัสดิวัตน์ นั้น สืบเชื้อสายโดยตรงมาจาก "ท่านชิ้น" หรือ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ก่อนที่จะแต่งงานไปร่วมสายกับ "อัมระนันทน์"
ไม่ต้องนับรวมว่าทายาทแห่งตระกูล "บริพัตร" อย่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ทั้งอดีตและปัจจุบันสังกัด "ประชาธิปัตย์"
...........................
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล "หัวใหญ่" ที่พรรคไหนก็ต้องการ
ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ถูกนักการเมืองเอ่ยถึงทั้งใต้ดิน-บนดิน
ทั้งมาตามคิว-ตามระบบ และมานอกระบบการเมืองปกติ
ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกระบุ-ชักชวน เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เขาปฏิเสธ
ก่อนหน้านั้นเขามักถูกนัดพบจาก "บรรหาร ศิลปอาชา" พัวพันกับผู้มีบารมีพรรคชาติไทยพัฒนา ระดับมื้ออาหารคาวหลายค่ำคืน
ในงานวันคล้ายวันเกิด "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ถูกหมายว่าจะเป็น "หัว" ให้พรรค "3 พี+รวมชาติพัฒนา"
เมื่อเขาออกมาเปิดสูตรพิสดารการเมืองหลังเลือกตั้ง เขาถูกคนการเมืองระดับคนหน้าไมค์ "เทพไท เสนพงศ์" พาดพิงระดับต้อง "จับตา" ผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์
ด้วยข้อความ "จับตาความเคลื่อนไหวหม่อมอุ๋ย หลังออกมาคอมเมนต์การเมืองอาการแปลก ๆ โดยเฉพาะบอกยังหนุ่มพอที่จะเป็นนายกฯได้ และจัดสูตร รบ.ให้ด้วย"
ด้วยดีกรีระดับราชตระกูล "เทวกุล" อดีต รมว.คลัง, รองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นคนใกล้ใจ-บรรหาร-สุวัจน์ เจ้าของพรรคการเมืองใหญ่
เมื่อเอ่ยคำวิเคราะห์-คาดการณ์ คณิตศาสตร์การเมืองในเวที "ยูโรมันนี่ ไทยแลนด์ อินเวสเมนต์ ฟอรัม" ระบุ"ขั้วรัฐบาล" 4 แบบ พร้อมเงื่อนไขประกอบ สปอตไลต์จึงฉายจับ "คุณชายอุ๋ย" อีกครา
แบบที่ 1 กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จับขั้วกับพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้เร็ว ความขัดแย้งน่าจะลดลง แต่นโยบายเศรษฐกิจอาจจะเหมือนเดิม แต่ขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทยจะมีผู้นำที่ยอมรับได้หรือไม่
แบบที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่จับขั้วกัน เศรษฐกิจน่าเติบโตได้ช้า เพราะนโยบายยังเหมือนเดิม และอาจจะมีการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อเนื่อง
แบบที่ 3 พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันตั้งรัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีขึ้น
และแบบที่ 4 หากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้ง เศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้อย่างช้า ๆ และยังมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อไป แต่ถ้าผู้นำมาจากพรรคเล็กก็อาจจะมีแรงกดดันลดลง
ข้อวิเคราะห์ที่ซ่อนไพ่ไว้ในมือราชนิกูลอายุ 64 คือ "ใคร ? จะเป็นนายกรัฐมนตรี หากพรรคประชาธิปัตย์รวมกับพรรคเพื่อไทยได้"
เส้นทางการเมืองของ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ผู้สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ทรงเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญของ "บ้านเมือง" หลายตำแหน่ง อาทิ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ นายกสภาการคลัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
แต่ยุคที่นักการเมืองมักถูกมองเป็น "คนสีเทา" คุณชายปรีดิยาธรจึงระมัดระวัง-ประคองตัวเองเป็นอย่างยิ่ง
เขาบอกว่า "มันยากที่จะพยายามเข้าไปอยู่ในวงการเมือง ถ้าก้าวผิดแค่ก้าวเดียวจะกลายเป็น dead man alive มันไม่ง่ายที่จะอยู่รอดทางการเมือง"
"หม่อมอุ๋ย" สรุปภาพคนการเมืองว่า "...ภาพลักษณ์ของคนคนหนึ่ง ทุกอย่างทั้งหมดอาจเปลี่ยนไป ในวงการเมืองเหมือน Perception is reality คนรับรู้อย่างไรก็คิดว่าความจริงเป็นแบบนั้น ในการเมืองคนเดียวไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ต้องเป็นหนึ่งในพวกเขาถึงจะทำอะไรได้"
ภาพลักษณ์ของเมืองไทย-ผู้นำ ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" จึงยังต้องการ "อัศวินม้าขาว"
"เมืองไทยต้องหาผู้นำมีวิสัยทัศน์ ปฏิบัติงานได้จริงตามแผนและนโยบายที่วางไว้ ผู้นำต้องมีความเข้าใจว่า เมืองไทยต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจประเทศผู้ผลิต เป็นประเทศผู้ค้า-ขาย...จนถึงปัจจุบันยังหาผู้นำแบบนี้ ไม่ได้ การเมืองไทยแย่กว่าการเมืองในอิตาลีเสียอีก" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
แม้ไม่ใช่ "คนใน" แต่ "หม่อมอุ๋ย" อ่านการเมืองแบบไม่ใช่ "คนนอก"
เขาบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์เก่งด้านการเมือง แต่ไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และไม่มี know how เรื่องเศรษฐกิจ
พรรคเพื่อไทย ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" เป็นพรรคที่ไม่มีตัวหัวหน้าพรรคชัดเจน หากหาหัวหน้าคนใหม่ที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ และได้รับการยอมรับจากสังคมก็จะได้ดี
"พรรคภูมิใจไทย เก่งเรื่องสร้างความมั่งคั่ง คิดว่าพรรคนี้อย่างไรก็คงจะได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ได้สนใจว่าใครจะมาเป็นผู้นำ"
เขาวิเคราะห์ปรากฏการณ์พรรคเล็กรวมกันเป็นขั้วใหญ่ว่า "เป็นสูตรใหม่ที่คงจะพยายามหาผู้นำ ถ้าสำเร็จก็จะดี"
ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา-ที่มั่นของพันธมิตร "หม่อมอุ๋ย" อยู่ในฐานะได้เปรียบที่สุด "หากพรรคนี้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลไปอยู่กับใครก็ได้ เขาเป็นผู้นำที่ดี แต่ไม่น่าจะได้เป็นผู้นำในรัฐบาล"
คุณชายจึงถูกคาดหมายให้เป็น "หัว" ของพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 2 พรรค
............................
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร "กองทัพ-สถาบันปรับตัวมาตลอด"
คนการเมืองที่สืบเชื้อสายจากสายพระโลหิตรัชกาลที่ 4 มีไม่น้อยกว่า 4 คน จาก 4 ราชตระกูล
ทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล-นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (จากราชตระกูลสวัสดิวัตน์) และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล
ยุคที่พรรคการเมืองเล็ก-ใหญ่ถึงคราว "หัวขาด"
สปอตไลต์ฉายจับ "คนมีเชื้อ-มีแถว" อีกครั้ง
สนทนากับนักการเมืองผู้สืบเชื้อสายจากกรมพระนครสวรรค์วรพินิต แห่งราชตระกูล "บริพัตร" ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง-การทหาร ใน 2 รัชกาล ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 6 และเป็นองคมนตรี อภิรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 7
บุคคลที่ถูกคาดหมายว่าอาจได้เป็น "หัว" พรรคประชาธิปัตย์ในอนาคต
แม้คุณชายสุขุมพันธุ์-จะออกตัวบอกว่า "ตอนนี้ยังมีหัวหน้าพรรคคนเก่าอยู่เลย"
l เรื่องไพร่-อำมาตย์ ในทรรศนะที่ท่านเป็น ม.ร.ว. มองเรื่องนี้อย่างไร
ผมไม่เห็นด้วย...แม้บางอย่าง ผม อาจจะเห็นด้วย แต่บางอย่าง ผมอาจจะไม่เห็นด้วย...ไม่ใช่ว่าพูดคุยกันรู้เรื่องแล้ว จะเห็นด้วยกันทุกเรื่อง มันไม่ใช่...
ในเมืองไทย ความเป็นอำมาตย์ คืออะไร เมืองไทย สังคมไทย มีความยืดหยุ่นอย่างมาก ในการขึ้นบันไดสังคม เพราะทำได้โดยที่ผู้ขึ้น บันไดสังคม ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ หรือครอบครัวที่เป็นอำมาตย์นะครับ
อย่างท่านประธานองคมนตรี ครอบครัวท่าน เดิมก็ไม่ใช่อำมาตย์... ท่านก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยเดิม อาจจะเรียกว่าสมเด็จเจ้าพระยาก็ได้นะครับ
ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ ชวน อำมาตย์หรือเปล่า ? ท่านก็เป็นลูกชาวบ้าน แต่ท่านก็เป็นนายกรัฐมนตรี...
สำหรับผม ความเป็นไพร่ เป็นอำมาตย์ มันไม่ได้อยู่ที่ภูมิหลังของครอบครัว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัย...คนเรา ภูมิหลังครอบครัวเป็นไพร่ แต่ทำตัวเป็นอำมาตย์ที่ดี ในที่สุดก็พัฒนาตัวเป็นอำมาตย์ที่ดีได้ แต่บางคนที่ภูมิหลัง ครอบครัวเป็นอำมาตย์ แต่เขาอาจจะทำตัวเป็นไพร่ก็ได้
ความเป็นไพร่-อำมาตย์ในสังคมไทย มันไม่ได้ขีดเส้นชัดเจน เหมือนกับหลายสังคมในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วย หากบอกว่าคนโน้นคนนี้ไม่ดีเพราะเป็นอำมาตย์ คนโน้นคนนี้เป็นอำมาตย์...แล้วพวกเราคือไพร่...ผมไม่เห็นด้วย
- กลุ่มความคิดเสื้อแดงมีหลายเฉด บางกลุ่มใช้ถ้อยคำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบัน ท่านคิดว่าควรดำเนินการอย่างไร
กฎหมายก็มีอยู่แล้ว ถ้าทุกฝ่ายดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็ไม่มีปัญหาอะไร
- การเมืองจะบานปลายหรือไม่ หากยังมีบางกลุ่มยั่วยุโจมตีสถาบัน
ปัญหาอยู่ที่คน ถ้าคนไปฟังคนอื่นแล้วเชื่อทันที เชื่อทุกอย่าง ก็เป็นปัญหาของคนนั้นนะครับ คนเราต้องมีวิจารณญาณบ้าง รักใคร ชอบใคร ก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อเขาเต็มร้อยนี่ครับ
- มีนักวิชาการพูดถึงการจัดความสัมพันธ์ของทุกสถาบัน กองทัพ และสถาบันเบื้องสูงด้วย
ก็ต้องเป็นเรื่องของส่วนรวม ถ้าส่วนรวมคิดว่าจำเป็นต้องปรับ ก็ปรับสิครับ เพราะส่วนรวมก็มีตัวแทนอยู่แล้ว ก็คือรัฐสภา ไม่ใช่เป็นความเห็นของคนไม่กี่คน
ไม่ว่าเราจะชอบ หรือไม่ชอบสถาบัน กองทัพ แต่สถาบัน กองทัพ ก็เป็นของประเทศชาติ ของส่วนรวม ฉะนั้น จะปรับ หรือไม่ปรับยังไง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน แต่ขึ้นอยู่กับตัวแทนของ ปวงชนชาวไทย
มันก็ไม่แปลกอะไรนี่ครับ สถาบันทั้งสองก็ปรับตัวมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ปรับตัวมาโดยตลอด อย่างน้อยที่สุด ตั้งแต่ช่วงปลาย ของขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2535 สถาบันกองทัพก็ปรับตัว
การปรับตัว ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ แต่ว่าการปรับความสัมพันธ์ ก็ต้องทำโดยตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่คนไม่กี่คน บอกว่าจะทำโน่นทำนี่
สถาบันทั้งสองที่พูดถึง ปรับตัวเอง มาตลอด ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องที่โอ้โห... คนบอกว่าไม่เคยปรับเลย...สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนมิถุนา 2475 และหลัง 2475 ก็ต่างกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ และหลังรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ก็แตกต่างกัน
คือไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิดว่า เป็นประเด็นใหม่ ที่จะต้องหยิบยกขึ้นมา...มันไม่ใช่ เพราะสถาบันทั้งสอง ก็ปรับตัวมาโดยตลอดด้วยตนเอง แต่ถ้าคนนอกอยากให้ปรับ ก็ต้องสามารถพูดได้ว่า ตนจะทำในฐานะอะไร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ทำให้บรรดา หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงจากราชตระกูลยังเป็นที่ต้องการของพรรคการเมือง
เฉพาะคนในราชตระกูล ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ในวังบางขุนพรหมวังเทเวศน์ วังสวนผักกาด และวังเทวะเวสม์ ล้วนเคยเป็นแหล่งชุมนุมนักนักคิด ที่สืบเชื้อสายจากราชตระกูลสาย "บริพัตร" "โสณกุล" และ "เทวกุล"
เฉพาะตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก "พระเจ้าแผ่นดิน" ในรัชกาลที่ 4 ก็มีไม่ต่ำกว่า 17 ต้นตระกูล ที่ยังรับใช้ชาติบ้านเมือง
เฉพาะ 4 ราชตระกูล ดังของประเทศไทย ที่สืบจากเชื้อแห่ง "รัชกาลที่ 4"ทั้ง "บริพัตร" "เทวกุล" "โสณกุล""สวัสดิวัตน์" และ "อัมระนันทน์" นั้น มีทายาทที่เจริญรอยตามอยู่ในแวดวงการเมืองไทยมาหลายชั่วอายุคน
"คุณชายเต่า" ยังมีสายสัมพันธ์ อันใกล้ชิดกับ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นั้น ระดับ "ลูกพี่ลูกน้อง"
"ม.ล.อภิมงคล โสณกุล" จึงได้สานต่อ ลงรับสมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งเดิมต่อจาก "คุณชายสุขุมพันธุ์" ซึ่งเป็น "ญาติฝ่ายพ่อ"
ส่วน "สายแม่" ของ "ปิยสวัสดิ์" ม.ร.ว.ปิ่มสาย สวัสดิวัตน์ นั้น สืบเชื้อสายโดยตรงมาจาก "ท่านชิ้น" หรือ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ก่อนที่จะแต่งงานไปร่วมสายกับ "อัมระนันทน์"
ไม่ต้องนับรวมว่าทายาทแห่งตระกูล "บริพัตร" อย่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ทั้งอดีตและปัจจุบันสังกัด "ประชาธิปัตย์"
...........................
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล "หัวใหญ่" ที่พรรคไหนก็ต้องการ
ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ถูกนักการเมืองเอ่ยถึงทั้งใต้ดิน-บนดิน
ทั้งมาตามคิว-ตามระบบ และมานอกระบบการเมืองปกติ
ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกระบุ-ชักชวน เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เขาปฏิเสธ
ก่อนหน้านั้นเขามักถูกนัดพบจาก "บรรหาร ศิลปอาชา" พัวพันกับผู้มีบารมีพรรคชาติไทยพัฒนา ระดับมื้ออาหารคาวหลายค่ำคืน
ในงานวันคล้ายวันเกิด "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ถูกหมายว่าจะเป็น "หัว" ให้พรรค "3 พี+รวมชาติพัฒนา"
เมื่อเขาออกมาเปิดสูตรพิสดารการเมืองหลังเลือกตั้ง เขาถูกคนการเมืองระดับคนหน้าไมค์ "เทพไท เสนพงศ์" พาดพิงระดับต้อง "จับตา" ผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์
ด้วยข้อความ "จับตาความเคลื่อนไหวหม่อมอุ๋ย หลังออกมาคอมเมนต์การเมืองอาการแปลก ๆ โดยเฉพาะบอกยังหนุ่มพอที่จะเป็นนายกฯได้ และจัดสูตร รบ.ให้ด้วย"
ด้วยดีกรีระดับราชตระกูล "เทวกุล" อดีต รมว.คลัง, รองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นคนใกล้ใจ-บรรหาร-สุวัจน์ เจ้าของพรรคการเมืองใหญ่
เมื่อเอ่ยคำวิเคราะห์-คาดการณ์ คณิตศาสตร์การเมืองในเวที "ยูโรมันนี่ ไทยแลนด์ อินเวสเมนต์ ฟอรัม" ระบุ"ขั้วรัฐบาล" 4 แบบ พร้อมเงื่อนไขประกอบ สปอตไลต์จึงฉายจับ "คุณชายอุ๋ย" อีกครา
แบบที่ 1 กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จับขั้วกับพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้เร็ว ความขัดแย้งน่าจะลดลง แต่นโยบายเศรษฐกิจอาจจะเหมือนเดิม แต่ขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทยจะมีผู้นำที่ยอมรับได้หรือไม่
แบบที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่จับขั้วกัน เศรษฐกิจน่าเติบโตได้ช้า เพราะนโยบายยังเหมือนเดิม และอาจจะมีการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อเนื่อง
แบบที่ 3 พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันตั้งรัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีขึ้น
และแบบที่ 4 หากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้ง เศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้อย่างช้า ๆ และยังมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อไป แต่ถ้าผู้นำมาจากพรรคเล็กก็อาจจะมีแรงกดดันลดลง
ข้อวิเคราะห์ที่ซ่อนไพ่ไว้ในมือราชนิกูลอายุ 64 คือ "ใคร ? จะเป็นนายกรัฐมนตรี หากพรรคประชาธิปัตย์รวมกับพรรคเพื่อไทยได้"
เส้นทางการเมืองของ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ผู้สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ทรงเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญของ "บ้านเมือง" หลายตำแหน่ง อาทิ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ นายกสภาการคลัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6
แต่ยุคที่นักการเมืองมักถูกมองเป็น "คนสีเทา" คุณชายปรีดิยาธรจึงระมัดระวัง-ประคองตัวเองเป็นอย่างยิ่ง
เขาบอกว่า "มันยากที่จะพยายามเข้าไปอยู่ในวงการเมือง ถ้าก้าวผิดแค่ก้าวเดียวจะกลายเป็น dead man alive มันไม่ง่ายที่จะอยู่รอดทางการเมือง"
"หม่อมอุ๋ย" สรุปภาพคนการเมืองว่า "...ภาพลักษณ์ของคนคนหนึ่ง ทุกอย่างทั้งหมดอาจเปลี่ยนไป ในวงการเมืองเหมือน Perception is reality คนรับรู้อย่างไรก็คิดว่าความจริงเป็นแบบนั้น ในการเมืองคนเดียวไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ต้องเป็นหนึ่งในพวกเขาถึงจะทำอะไรได้"
ภาพลักษณ์ของเมืองไทย-ผู้นำ ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" จึงยังต้องการ "อัศวินม้าขาว"
"เมืองไทยต้องหาผู้นำมีวิสัยทัศน์ ปฏิบัติงานได้จริงตามแผนและนโยบายที่วางไว้ ผู้นำต้องมีความเข้าใจว่า เมืองไทยต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจประเทศผู้ผลิต เป็นประเทศผู้ค้า-ขาย...จนถึงปัจจุบันยังหาผู้นำแบบนี้ ไม่ได้ การเมืองไทยแย่กว่าการเมืองในอิตาลีเสียอีก" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว
แม้ไม่ใช่ "คนใน" แต่ "หม่อมอุ๋ย" อ่านการเมืองแบบไม่ใช่ "คนนอก"
เขาบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์เก่งด้านการเมือง แต่ไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และไม่มี know how เรื่องเศรษฐกิจ
พรรคเพื่อไทย ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" เป็นพรรคที่ไม่มีตัวหัวหน้าพรรคชัดเจน หากหาหัวหน้าคนใหม่ที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ และได้รับการยอมรับจากสังคมก็จะได้ดี
"พรรคภูมิใจไทย เก่งเรื่องสร้างความมั่งคั่ง คิดว่าพรรคนี้อย่างไรก็คงจะได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ได้สนใจว่าใครจะมาเป็นผู้นำ"
เขาวิเคราะห์ปรากฏการณ์พรรคเล็กรวมกันเป็นขั้วใหญ่ว่า "เป็นสูตรใหม่ที่คงจะพยายามหาผู้นำ ถ้าสำเร็จก็จะดี"
ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา-ที่มั่นของพันธมิตร "หม่อมอุ๋ย" อยู่ในฐานะได้เปรียบที่สุด "หากพรรคนี้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลไปอยู่กับใครก็ได้ เขาเป็นผู้นำที่ดี แต่ไม่น่าจะได้เป็นผู้นำในรัฐบาล"
คุณชายจึงถูกคาดหมายให้เป็น "หัว" ของพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 2 พรรค
............................
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร "กองทัพ-สถาบันปรับตัวมาตลอด"
คนการเมืองที่สืบเชื้อสายจากสายพระโลหิตรัชกาลที่ 4 มีไม่น้อยกว่า 4 คน จาก 4 ราชตระกูล
ทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล-นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (จากราชตระกูลสวัสดิวัตน์) และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล
ยุคที่พรรคการเมืองเล็ก-ใหญ่ถึงคราว "หัวขาด"
สปอตไลต์ฉายจับ "คนมีเชื้อ-มีแถว" อีกครั้ง
สนทนากับนักการเมืองผู้สืบเชื้อสายจากกรมพระนครสวรรค์วรพินิต แห่งราชตระกูล "บริพัตร" ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง-การทหาร ใน 2 รัชกาล ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 6 และเป็นองคมนตรี อภิรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 7
บุคคลที่ถูกคาดหมายว่าอาจได้เป็น "หัว" พรรคประชาธิปัตย์ในอนาคต
แม้คุณชายสุขุมพันธุ์-จะออกตัวบอกว่า "ตอนนี้ยังมีหัวหน้าพรรคคนเก่าอยู่เลย"
l เรื่องไพร่-อำมาตย์ ในทรรศนะที่ท่านเป็น ม.ร.ว. มองเรื่องนี้อย่างไร
ผมไม่เห็นด้วย...แม้บางอย่าง ผม อาจจะเห็นด้วย แต่บางอย่าง ผมอาจจะไม่เห็นด้วย...ไม่ใช่ว่าพูดคุยกันรู้เรื่องแล้ว จะเห็นด้วยกันทุกเรื่อง มันไม่ใช่...
ในเมืองไทย ความเป็นอำมาตย์ คืออะไร เมืองไทย สังคมไทย มีความยืดหยุ่นอย่างมาก ในการขึ้นบันไดสังคม เพราะทำได้โดยที่ผู้ขึ้น บันไดสังคม ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ หรือครอบครัวที่เป็นอำมาตย์นะครับ
อย่างท่านประธานองคมนตรี ครอบครัวท่าน เดิมก็ไม่ใช่อำมาตย์... ท่านก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยเดิม อาจจะเรียกว่าสมเด็จเจ้าพระยาก็ได้นะครับ
ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ ชวน อำมาตย์หรือเปล่า ? ท่านก็เป็นลูกชาวบ้าน แต่ท่านก็เป็นนายกรัฐมนตรี...
สำหรับผม ความเป็นไพร่ เป็นอำมาตย์ มันไม่ได้อยู่ที่ภูมิหลังของครอบครัว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัย...คนเรา ภูมิหลังครอบครัวเป็นไพร่ แต่ทำตัวเป็นอำมาตย์ที่ดี ในที่สุดก็พัฒนาตัวเป็นอำมาตย์ที่ดีได้ แต่บางคนที่ภูมิหลัง ครอบครัวเป็นอำมาตย์ แต่เขาอาจจะทำตัวเป็นไพร่ก็ได้
ความเป็นไพร่-อำมาตย์ในสังคมไทย มันไม่ได้ขีดเส้นชัดเจน เหมือนกับหลายสังคมในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วย หากบอกว่าคนโน้นคนนี้ไม่ดีเพราะเป็นอำมาตย์ คนโน้นคนนี้เป็นอำมาตย์...แล้วพวกเราคือไพร่...ผมไม่เห็นด้วย
- กลุ่มความคิดเสื้อแดงมีหลายเฉด บางกลุ่มใช้ถ้อยคำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบัน ท่านคิดว่าควรดำเนินการอย่างไร
กฎหมายก็มีอยู่แล้ว ถ้าทุกฝ่ายดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็ไม่มีปัญหาอะไร
- การเมืองจะบานปลายหรือไม่ หากยังมีบางกลุ่มยั่วยุโจมตีสถาบัน
ปัญหาอยู่ที่คน ถ้าคนไปฟังคนอื่นแล้วเชื่อทันที เชื่อทุกอย่าง ก็เป็นปัญหาของคนนั้นนะครับ คนเราต้องมีวิจารณญาณบ้าง รักใคร ชอบใคร ก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อเขาเต็มร้อยนี่ครับ
- มีนักวิชาการพูดถึงการจัดความสัมพันธ์ของทุกสถาบัน กองทัพ และสถาบันเบื้องสูงด้วย
ก็ต้องเป็นเรื่องของส่วนรวม ถ้าส่วนรวมคิดว่าจำเป็นต้องปรับ ก็ปรับสิครับ เพราะส่วนรวมก็มีตัวแทนอยู่แล้ว ก็คือรัฐสภา ไม่ใช่เป็นความเห็นของคนไม่กี่คน
ไม่ว่าเราจะชอบ หรือไม่ชอบสถาบัน กองทัพ แต่สถาบัน กองทัพ ก็เป็นของประเทศชาติ ของส่วนรวม ฉะนั้น จะปรับ หรือไม่ปรับยังไง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน แต่ขึ้นอยู่กับตัวแทนของ ปวงชนชาวไทย
มันก็ไม่แปลกอะไรนี่ครับ สถาบันทั้งสองก็ปรับตัวมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ปรับตัวมาโดยตลอด อย่างน้อยที่สุด ตั้งแต่ช่วงปลาย ของขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2535 สถาบันกองทัพก็ปรับตัว
การปรับตัว ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ แต่ว่าการปรับความสัมพันธ์ ก็ต้องทำโดยตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่คนไม่กี่คน บอกว่าจะทำโน่นทำนี่
สถาบันทั้งสองที่พูดถึง ปรับตัวเอง มาตลอด ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องที่โอ้โห... คนบอกว่าไม่เคยปรับเลย...สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนมิถุนา 2475 และหลัง 2475 ก็ต่างกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ และหลังรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ก็แตกต่างกัน
คือไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิดว่า เป็นประเด็นใหม่ ที่จะต้องหยิบยกขึ้นมา...มันไม่ใช่ เพราะสถาบันทั้งสอง ก็ปรับตัวมาโดยตลอดด้วยตนเอง แต่ถ้าคนนอกอยากให้ปรับ ก็ต้องสามารถพูดได้ว่า ตนจะทำในฐานะอะไร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น