--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

จักรพรรดิ-จักรพรรดินีญี่ปุ่นเสด็จเยี่ยมปลอบขวัญผู้ประสบภัย

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ แห่งญี่ปุ่น เสด็จเยี่ยมปลอบขวัญผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิเป็นครั้งแรก หลังจากเกิดภัยพิบัติเมื่อเกือบ 3 สัปดาห์ที่แล้ว โดยสองพระองค์เสด็จดูความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยที่ศูนย์อพยพ ซึ่งตั้งขึ้นในโตเกียว บูโดกัน โรงยิมสอนศิลปะการต่อสู้ในกรุงโตเกียวเมื่อวาน โดยปัจจุบันโรงยิมแห่งนี้ได้กลายเป็นบ้านให้กับผู้อพยพจากจังหวัดฟุกุชิมะประมาณ 300 คน และตลอดการเสด็จเยี่ยมนานเกือบหนึ่งชั่วโมง พระองค์ทรงมีปฏิสันถารกับผู้ประสบภัยอย่างใกล้ชิด

ผู้ประสบภัยคนหนึ่ง บอกว่า ลำบากมากที่ต้องอยู่ที่นี่ โดยมีลูกเล็กๆอายุแค่ 7 เดือนแต่รู้สึกดีขึ้น เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีตรัสให้กำลังใจ ผู้ประสบภัยอีกคน บอกว่า แม้จะไม่สามารถพูดคุยกับสมเด็จพระจักรพรรดิได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้สึกตื่นเต้น แต่ก็รู้ได้ว่าทั้ง 2 พระองค์ทรงห่วงใยราษฎรจริงๆ และรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมาก

ปัจจุบันประชาชนหลายแสนคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิยังคงอาศัยอยู่ตามศูนย์อพยพชั่วคราวทั่งประเทศ ส่วนกรุงโตเกียวรองรับผู้ประสบภัยไว้ทั้งหมด 600 คน กระจายอยู่ตามศูนย์อพยพที่จัดไว้ 3 แห่ง 1 ใน นั้น คือ ศูนย์อพยพในโรงยิมโตเกียว บูโดกัน ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากจังหวัดฟุกุชิมะที่มีปัญหาเรื่อง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้ประสบภัยจะได้ตั๋วอาบน้ำฟรีที่ห้องน้ำสาธารณะ และคูปองอาหาร 2 พันเยนหรือราว 700 บาททุกวัน

ที่มา.เนชั่น
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

จากใจ (เรา)ชมรมอาสาสมัครเพื่อความหวัง VOLUNTARY FOR HOPE GROUP (VHG)


ขอระบายความอึดอัดหน่อยนะ แบบว่าอึดอัดมานาน จากใจของกลุ่มคนที่อาสาทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือและดูแลพี่น้องมวลชนเสื้อ แดงในที่ชุมนุม ซึ่งไม่เคยได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล( ก็มันคิดว่าคนเสื้อแดงมาไล่มัน มันจะมาดูแลทำไม มันคิดว่าประชาชนเป็นศัตรู? )เรามาทำหน้าที่นี้เพราะเรามีความถนัด และอยากใช้ความสามารถทั้งหมดที่เราพอมี ให้เป็นประโยชน์กับมวลชน คืองานด้านดูแลสุขภาพ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จะมีแกนนำคนใดรู้บ้างว่า พี่น้องต้องการการดูแลด้านนี้มากเพียงไร มีแต่พวกเราบรรดา กลุ่มอาสาพยาบาล ที่มากันเอง จัดตั้งกันเอง ใช้ทุนส่วนตัว และทุนของเพื่อน ๆ ในกลุ่มตัวเอง รวมถึงพี่น้องมวลชนด้วยกันเอง ที่หยอดกล่องรับบริจาคหน้าเต้นท์ เราไม่เคยได้รับการสนับสนุนเงินทองจากแกนนำแม้แต่บาทเดียว และไม่เคยร้องขอใด ๆ ทั้งสิ้น ทำงานไปตามธรรมชาติ ได้รับเงินบริจาคหน้าเต้นท์ น้อยมาก แต่ได้รับสนับสนุนจากผู้รักความยุติธรรม ที่พอมีกำลังทรัพย์ช่วยให้เราได้ทำงานเพื่อมวล ชนมาได้อย่างต่อเนื่อง "

" เราร่วมสู้มาตลอด ทำหน้าที่นี้มาหลายปีแล้ว มวลชนและการ์ด นปช.ที่ร่วมสู้กันมาตลอด ต่างก็รู้จักเราเป็นอย่างดี เรา( กลุ่มพยาบาลอาสา-มวลชน-และการ์ด ) เราเคยอยู่กันอย่างพี่น้อง ที่หัวอกเดียวกัน คือต้องสู้กับอำมาตย์เผด็จการ กลุ่มอาสาพยาบาลของเรา ร่วมสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพี่น้องเรา และเรา ยืนเคียงข้างมวลชนจนวินาทีสุดท้าย ด้วยมุ่งมั่นในนิยามของคำว่า เรา...จะไม่ทอดทิ้งกัน ทุกครั้งที่ถูกสลายอย่างไร้ความปราณีจากรัฐบาล"

" ครั้งล่าสุด กลุ่มของเราต้องเปลี่ยนชื่อกลุ่มใหม่ เป็น VHG เพราะชื่อเก่ามันถูกกระชับพื้นที่ไป แต่ทีมงานก็ยังคงหน้าเดิม ๆ ทุกคน และทำตามอุดมการณ์คือสู้ต่อ และเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลทุกข์สุขของมวลชน เพราะจากการทำงานอย่างหนักของเรา กินอยู่หลับนอนข้างถนนเช่นเดียวกับมวลชน เราอาศัยข้าวแจกเช่นดียวกับมวลชนที่ทุกข์ยาก เพื่อประหยัดเงินทุกบาทที่ผู้ใจบุญบริจาคให้เรานำไปซื้อยา -เวชภัณท์ มาดูแลพี่น้องของเรา พวกแกนนำท่านรู้บ้างไหมว่า เราต้องใช้เงินซื้อยาในแต่ละวัน จำนวนเงินเท่าไร? สถานภาพความป่วยไข้ของพี่น้องร่วมรบที่น่าสงสาร เป็นอย่างไร ? ท่านคงไม่รู้ หรืออาจจะรู้แต่ไม่ตรงตามความเป็นจริง "

"หลังถูกสลาย บางคนในกลุ่มต้องหนีหัวซุกหัวซุน (ท่านอย่ารู้เลยว่า หนีทำไม ก็เป็นกลุ่มพยาบาลถ้าถามแกนนบางคนเขาอาจจะให้คำตอบได้ ) ตัวอย่างมีให้เห็นคือกลุ่มอาสากู้ชีพ ถูกยิงตายในวัด เราก็อยู่จุดเดียวกันนั่นล่ะ ) "

" แต่ด้วยวิญญาณนักสู้เสื้อแดงมันมีอยู่เต็มตัว และหัวใจ กลุ่ม VHG ก็เดินหน้าสู้ต่อไปพร้อมกับมวลชนอีก ภายใต้การควบคุมด้วย พรก.ที่วัดอ้อมน้อย สมุทรสาคร เราบอกับตัวเองว่า กู..ไม่หนีอีกแล้ว เพราะมวลชนต้องการการดูแล ไม่มีหน่วยพยาบาล มวลชนก็ลำบาก เจ็บป่วยกระทันหันจะทำอย่างไร "

" เราไปได้ด้วยดี เพราะในขณะนั้น ไม่มีแกนนำ ไม่มี " ส่วนกลาง" เข้ามาควบคุมการชุมนุม ทุกคนมีอิสระเสรีภาพไม่ถูกจำกัดสิทธิ มวลชนให้การต้อนรับ เพราะเราทำเพื่อพวกเขา "

" แต่ลางหายนะสำหรับ VHG มันเริ่มที่งาน แรลลี่ อยุธยา เราประสานงานกับผู้จัดเป็นอย่างดี ได้จุดตั้งเต้นท์ที่เหมาะสม คือมวลชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสะดวก แต่จู่ ๆ ก็มีผู้จัดที่เขาอ้างว่า เป็นเจ้าของงาน และเป็นถึง พี่สาว สส.ในพื้นที่ มาขอให้เราย้ายเต้นท์ไปตั้งที่อื่น เพราะ "พยาบาลส่วนกลาง" ต้องการพื้นที่ตรงนั้น เช่นกัน มันกิดคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องถูกไล่ที่ ? และต้องหลีกทางให้กับ "พยาบาลส่วนกลาง" ทั้งที่เราประสานงานมาเป็นที่เรียบร้อย และทุกครั้งเราจะไปเริ่มงานก่อนทีมวลชนจะเดินทางถึงที่ชุมนุมเสมอ คือไปแต่เช้า ส่วน " พยาบาลส่วนกลาง" วันนั้นเขามาถึงประมาณ บ่าย-2 ถ้าจำไม่ผิด แต่ก็บ่ายมากแล้วล่ะ พอเขามาถึง เขาอยากได้อะไร สั่งอะไร ก็ต้องได้ทุกอย่างใช่ใหม่ ? แล้ว "พยาบาลส่วนกลาง" มี ความแตกต่างจาก " กลุ่มงานอาสาพยาบาล VHG " หรือหน่วยพยาบาลอาสา อื่น ๆ ตรงไหน ?

" และตั้งแต่มีการชุมนุมโดย นปช.เริ่มมีประธานรักษาการ มีการ์ด ชุดใหม่ ผู้ดูแลการ์ดคนใหม่ เป็นต้นมา VHG ซึ่งต้องอดหลับอดนอน ผลัดเวรกันไปจับจองพื้นที่ เช่นเดียวกับพ่อค้าแม่ค้าเสื้อแดง เพื่อให้ได้ทำเลตั้งเต้นท์ที่เหมาะสมในการดูแลมวลชน กลับถูก การ์ด นปช.ผู้ยิ่งใหญ่ ไล่เหมือนเราเป็นหมู เป็นหมา แต่คราวนี้ความอดทนมันถึงขีดสุด.. เราโต้ตอบกลับไปบ้าง เพราะไม่รู้จะทนให้พวกใจดำไร้สำนึกพวกนี้ มันไล่เตะเล่นไปทำไม.."

"ล่าสุดนี้ VHG ก็เจอทีเด็ดของผู้ยิ่งใหญ่ "พยาบาลส่วนกลาง " ที่เขาบอกว่าเขา เส้นใหญ่ ก็วิธีเดิม ๆ คือเรามีทีมงานไปประสานจุดตั้งเต้นท์ล่วงหน้า 1 วัน(ก็เรารู้ตัวว่าเรา เส้นไม่ใหญ่ และถูกไล่อยู่ประจำ) ได้ที่ชัดเจนแล้ว เช้า26-03-54 ยาและเวชภัณท์ ก็ออกเดินทางจาก กทม.ตั้งแต่ตี 4 ถึงพื้นที่ก็เตรียมจัดของ ปรากฏว่า "พยาบาลส่วนกลาง" เส้นใหญ่คับเสื้อแดง ก็มายืนอวดก้าม ชูหาง พองขน ใช้วาจาถากถาง เรา ..อดทน ไม่โต้ตอบ เพราะเราคิดว่า เรามีสมบัติผู้ดี ไม่ควร เสวนากับคนถ่อย น้องทีมงานที่จองพื้นที่ก็เข้าไปคุย..ได้ยินเต็ม 2 หู ว่า " ระหว่าง..(ขอไม่เอ่ยนาม ซึ่งเป็นผู้ชี้จุดให้เราตั้งเต้นท์ และดูแลจัดพื้นที่ ) กับ...( เขาเอ่ยชื่อแกนนำรอง ที่ขึ้นเวทีต้องมีเพลงประจำตัวคล้าย ๆ เพลงก๊อด ) ใครจะใหญ่กว่ากัน " จบค่ะ เรารู้แล้วว่า เจอกับอะไรเข้า ก็ต้องขนของหาที่ตั้งใหม่ ตามยถากรรม ประสากลุ่มอาสาพยาบาล ลูกเมียน้อย มาตรฐานการได้รับการต้อนรับ ต้องต่ำกว่า " พยาบาลส่วนกลาง "

" โชคดีที่พ่อค้าแม่ค้าเสื้อแดง ที่เขารู้จักเราดี ว่าเราเป็นผู้ที่ดูแลมวลชน รวมทั้งพวกเขาก็มารับการช่วยเหลือจากเรา พวกเขาเห็นใจ และรู้ว่า หน่วยพยาบาล มีความสำคัญ ต้องมีที่ตั้งเต้นท์ เพื่อดูแลมวลชน เขาแบ่งที่ให้เราได้ทำหน้าที่ดูแลมวลชนได้ในที่สุด "

" ยัง..ยังมีต่อ VHG ไม่ได้รับการต้อนรับตั้งแต่ก้าวแรก ที่เดินทางถึงโบนันซ่า คือการ์ดด่านแรกทีมีแผงเหล็กกั้นทางเข้า ไม่ยอมให้เรานำรถขนอุปกรณ์ ยา เข้าไป เขาอ้างว่า ต้องทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เราบอกว่าเป็นหน่วยพยาบาล เขาถามว่าหน่วยไหน เราบอกว่า VHG เขาทำหน้าบอกบุญไม่รับ แล้วบอกว่านำรถเข้าไปไม่ได้ ( รถเก๋งคันเล็ก ๆ ) เราบอกว่าจะขนของให้เราไหมล่ะ เขาถามว่าหนักไหม เราบอกว่าไม่หนักจะขอเข้า  แล้ว พณ.ท่านหัวหน้ากลุ่ม ก็เดินมาที่รถ แล้วก็ทำหน้างี่เง่า "สำลัก" คำพูดออกมาว่า " อยากเข้า ก็ปล่อยให้เข้าไป " เจ็บปวดไหมคะ สำหรับกลุ่มคนที่อาสามาดูแลมวลชนอย่างจริงใจ แต่เราก็ยังหน้าด้านทำหน้าที่ ดูแลมวลชนของเราต่อไป จนในวันนั้น ยาแทบหมดเต้นท์ และเราได้ดูแล การป่วยไข้ของพี่น้องเราเกือบตลอดวันและคืน พี่น้องมวลชนเห็นความสำคัญ และเห็นเราเป็นที่พึ่งในยามเจ็บป่วย และวางใจ ให้เราดูแล แต่ ผู้จัดการชุมนุม และแกนนำ ไม่เคยเห็นความสำคัญกับเราเลย "

**ท่านไม่ให้ความสำคัญเรา เราไม่ว่า แต่อย่าให้คนของท่าน มารังแกเรา เพราะแม้แต่อำมาตย์เรายังสู้ ดังนั้นจากนี้ไป ใครมารังแกเรา เราก็จะสู้ เพื่อความถูกต้อง และความยุติธรรมในหมู่เสื้อแดง กำจัด 2 มาตรฐานในเสื้อแดง ***



//////////////////////////////////////////////////////////////////

กุศโลบายพรรค SME..ตีแตก....

แตกไลน์ออกมาเป็นกุศโลบายหาเสียงของพรรค “SME” ที่ไม่ต่างจากพรรคระดับตัวแปรใน การจัดตั้งรัฐบาล ที่ “โต๊ะข่าวการเมือง” ชี้เป้าไปที่ 3 พรรคไซส์กลางไปถึงเล็กอย่าง ชาติไทยพัฒนา เพื่อแผ่นดิน (3 พี+ก๊วน สุวัจน์ ลิปตพัลลภ) และมาตุภูมิ ชาติไทยพัฒนา

ปักหมุดดอกแรกไปที่พรรคชาติไทยพัฒนา ภายใต้การบัญชาการของ “บรรหาร ศิลปอาชา” ผ่านม็อตโต้ “ชาติไทยพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติไทย การเมืองไม่ขัดแย้ง สร้างแรง กระตุ้นเศรษฐกิจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี”

ที่ขออนุญาตคัดแบบเนื้อๆ เน้นๆ ในนโยบายด้านท่องเที่ยวอันเป็นหัวใจหลักในการ บริหารประเทศของพรรคชาติไทยพัฒนาที่สรุปความว่า

พรรคชาติไทยพัฒนาจะส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของประเทศ เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้และความอยู่ดี กินดีของประชาชน โดยจะสนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ควบคู่ไปกับการรักษาแหล่งท่องเที่ยวเดิม โดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งนี้ จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของชุมชน และให้มีความตระหนักรู้ถึง คุณค่า และหวงแหนในทรัพยากรทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของชุมชน

นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น พื้นที่จังหวัดกลุ่มอารยธรรมภาคเหนือ พื้นที่จังหวัด เชื่อมโยงทางภาคใต้ตอนบน กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก และภาคอีสาน ตลอดจนเร่งรัดให้มีการพัฒนา มาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวของไทย และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กับต่างประเทศ โดยจะสนับสนุนให้หน่วยงาน ของรัฐและเอกชน ร่วมมือกันในการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และจะสนับสนุนและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในด้านกฎระเบียบเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุน จากทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเร่งพัฒนา ศักยภาพบุคลากรด้านการ ท่องเที่ยวของไทย เพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจการค้าเสรีในภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน

ชูจุดขายเที่ยวละไมไปกับทีมงานปลาไหล นโยบายหาเสียงดังกล่าวจึงถือว่าไม่ธรรมดาเพื่อแผ่นดิน+สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ตัดสลับมาที่พรรคเพื่อแผ่นดินภายใต้การคอนโทรลของทีมงาน 3 พี ที่ไปแต่มือกับ ก๊วนโคราชของ “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” ที่ปูพรม นโยบายหาเสียงผ่านสโลแกน “รัฐสวัสดิการ เพื่อแผ่นดิน 9 ความสุข นำรอยยิ้มสู่สังคมไทย” ออกมาได้น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยมีสาระ สำคัญประกอบไปด้วยการสร้างความสุขให้กับ คนไทย

โดยในเบื้องต้น จะมีการจัดเบี้ยสวัสดิการ ให้กลุ่มคนทำงานอาสา เช่น อสม., อป.พร. ตำรวจบ้าน รวมถึงคนไม่มีรายได้ คนตกงานรายละ 1,000 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ จาก 500 บาทเป็น 1,000 บาทต่อเดือน จัดสรรเงินบำรุงศาสนสถาน ตำรวจ โรงเรียน แห่งละ 1 แสนบาทต่อปี ล้าง หนี้ให้กับประชาชนที่มียอดหนี้ไม่เกิน 2 แสนบาททุกคน ตั้งธนาคารต้นไม้ ธนาคารชุมชน

ก๊วนการเมืองใหม่ที่ยังไม่ลงเอยในเรื่อง ชื่อพรรค ยังคงหาเสียงเกาะกระแสประชานิยมไว้ได้อย่างน่าสนใจเช่นกัน

มาตุภูมิข้ามช็อตไปที่พรรคใหม่อย่าง “มาตุภูมิ” ภายใต้การกุมบังเหียนของ “บิ๊กบัง-พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” ที่ชูนโยบายหาเสียงผ่านม็อตโต้ “กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง เพื่อความ อยู่ดีมีสุขของคนไทยทั้งประเทศ ประสานทุกปัญหา พัฒนาเท่าเทียม ดำรงเกียรติชาติไทย เลือกพรรคมาตุภูมิ”

ในฐานะที่หัวหน้าพรรคเติบโตมาจากฝ่ายความมั่นคง จึงขอเจาะเฉพาะนโยบายใน ด้านนี้ให้สาธารณชนได้รับทราบ อันมีรายละเอียดดังนี้

1.ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา ระบบการป้องกันประเทศให้มีขีดความสามารถ ในการป้องกันตนเองและรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือจากประชาชนเพื่อร่วมพัฒนาระบบการป้องกันประเทศ

2.สนับสนุนการพัฒนาความพร้อมของ กองทัพ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในการรักษาไว้ซึ่งอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และผลประโยชน์ของชาติ ควบคู่ไปกับการ ส่งเสริมการพัฒนาประเทศและการป้องกันบรรเทาภัยสาธารณะ

3.ยึดมั่นในแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ

4.ผลักดันให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีของคนในชาติ และส่งเสริมให้เกิดกลไก ระงับความขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ทางการ เมืองภายใต้หลักประชาธิปไตยและสันติวิธี

5.ปรับปรุงและสนับสนุนด้านสวัสดิการ ทหาร องค์การทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารให้ดีขึ้นเพื่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประเทศชาติ

6.ส่งเสริมการจัดระบบคนต่างด้าวเข้า เมืองผิดกฎหมายทุกประเภท เพื่อจำกัด ควบคุมและลดปริมาณและผลกระทบของปัญหาต่อความมั่นคงในระยะยาว ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการสถานะและสิทธิของคน ต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและความมั่นคง ของชาติ

ยกนโยบายมาชี้จุดดีจุดด้อยทั้งกระบิ คงไม่ไหว แต่ที่ได้เรียบเรียงมาล้วนเป็น จุดเด่นจุดขายของพรรค “SME” ที่กำลังรอ ลุ้นผลการเลือกตั้งในวันข้างหน้าว่ากุศโลบาย ขายฝันเหล่านี้จะตีแตกถึงใจประชาชน หรือไม่???


ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

มองการณ์ไกล..!!!!!

ประชาธิปไตย ‘ฝืนใจคน’ ตีความแบบศรีธนญชัย ‘ระบบคน’ ยังไม่ชัดเจน คนดีหน่ายทั้งเข็ดขยาด! หลังผ่านศึกซักฟอกแบบฉลุยฉุยแฉะ...และเห็นทีท่าของ “รัฐบาล” ในการตีฆ้องร้องป่าวเรื่อง “วันยุบสภา-วันเลือกตั้งใหม่”...ที่ “คนของรัฐบาล” พยายามทำให้เห็นถึง “ความตั้งใจจริง” ไม่ได้โม้ไปวันๆ

ขณะที่ “คนควบคุมกติกา” อย่าง “สดศรี สัตยธรรม” กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ก็ออกมาตั้งเงื่อนไขที่ดูเหมือนจะเป็น “เดดล็อก” ในเรื่อง “ระยะเวลา” ในการออกกฎหมายลูก 3 ฉบับ “ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.ร่างแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญพรรคการเมือง” ว่า ถึงแม้จะผ่านสภาฯ แต่ก็ยังติดที่ “ศาลรัฐ ธรรมนูญ” ซึ่งจะต้องให้การรับรอง ที่จะ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน

ทำให้มีการมองกันว่า...อาจจะไม่เสร็จทันตามกำหนดเวลาที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี พยายามตอกย้ำในช่วงวันยุบสภาว่าจะเป็น “ต้นเดือน พ.ค.” ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ “หลายคน” มองข้ามไปแล้วว่า “นี่หรือเปล่า...ที่อาจเป็นเงื่อนไขในการทอดเวลาการยุบสภาออก ไป” โดยอ้างเหตุผลว่า “ไม่สามารถไป เร่งรัดศาลรัฐธรรมนูญได้” และ “นายกฯ ก็ไม่ได้ผิดคำพูดด้วย” เพราะอย่าลืมว่า... เลือกตั้งในเวลานี้ ไม่มีหลักประกันใดๆ ที่ชัวร์ 100% ว่า “ประชาธิปัตย์” จะได้ กลับมาสู่อำนาจอีกครั้ง!!!

จะเห็นว่า ระบบการเมืองไทยบ้าน เรา มีความพยายาม “งัด” เอาเรื่อง “ข้อกฎหมาย” ที่จะต้องเป็นไปตาม “ตัวอักษร” มากำหนดชะตาชีวิตของคนไทยอยู่ตลอดเวลา ใครสามารถตีความตามตัวอักษรแบบศรีธนญชัย...เข้าข้างตัวเอง ได้มากเท่าใด ก็จะพยายามทำให้ฝ่ายตัวเอง ได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยที่ฝืนใจ” มากกว่าจะเป็น “ประชาธิปไตยที่แท้จริง” และยิ่งทำให้ “คนดีๆ” เบื่อหน่ายและขยาดการเมืองมากขึ้นอีก

เมื่อพูดถึง “ระบบ” ก็ให้นึกถึงเรื่อง “ตัวบุคคล” ขึ้นมาฉับพลัน...เพราะมาเห็น การประกาศของ “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” ว่าจะ “ไม่เล่นการเมือง” ก็ทำ ให้สงสัยหนักว่า แล้วที่นั่งอยู่ในเก้าอี้ “รมว. กลาโหม” นั้น...ไม่ใช่เล่นการเมืองหรือ??? นี่ยังไม่นับรวมท่าที “แทงกั๊ก” ของ “ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์” (ตัวละครใหม่แต่ หน้าเดิมๆ) ผู้ถูกคาดหมายว่าจะมานั่งเก้าอี้ หัวหน้าพรรคประชาสันติ เพื่อหวังเป็นทาง เลือกให้กับผู้คน แต่ “ท่าที” นิ่งเฉย...ที่ยังไม่กล้าเปิดเผยตัว ก็ให้ระวังว่า “จุดแข็ง” อาจกลายเป็น “จุดอ่อน” ได้

อย่าลืมว่า...การเมืองเป็นเรื่องของ การอาสาเข้ามาทำงานรับใช้ประชาชน โดยมีตำแหน่ง-อำนาจ-บารมี...ไว้รองรับให้ กับ “คนการเมือง” และที่ผ่านมา “หลายคน” ก็ขวนขวายและไขว่คว้า...“กระสัน-อยาก” เข้ามามีอำนาจ...เมื่อมี “ความอยาก” ก็ควรมี “ความกล้า” ควบคู่กันไปด้วย มิใช่เล่นบท “อีแอบ” หรือรอเล่น บท “อร่อยจังตังค์อยู่ครบ”

นี่เป็นแค่การตั้งข้อสังเกตง่ายๆ ใน 2 เรื่อง 2 รส...ที่เกี่ยวข้องกับ “การเมืองไทย” ทำให้มองเห็นเลาๆ ว่า “การ เมืองไทย...ยังไปไม่ถึงไหนจริงๆ” และ “คนไทย” ยังไม่สามารถฝากความหวัง ว่า “การเมืองไทย” จะนำพาพวกเขา... ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคงและดีขึ้น ได้อย่างไร??? ตราบใดที่ “การเมืองไม่นิ่ง” และ “ตัวละครการเมือง” ยังจมปลักอยู่กับ “สิ่งโสมม” ที่ “น้ำเน่า” เหมือนเดิม... ตราบนั้น “ประเทศชาติ” ก็ยังไม่พัฒนา และ “คนไทย” ก็ยังต้องเผชิญกับเรื่องเน่าๆ เหมือนเดิม

ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไม่เอา..ไม่พูด ม.112

การมีบทบัญญัติคุ้มครองเกียรติของบุคคลในตำแหน่งประมุขของรัฐไว้เป็นพิเศษยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปรกติแต่อย่างใด บทบัญญัติที่คุ้มครองประมุขของรัฐไว้เป็นพิเศษนี้มีปรากฏเช่นกันแม้ในประเทศที่มีรูปของรัฐเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งประมุขของรัฐเป็นประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม การบัญญัติคุ้มครองพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้เท่ากับประมุขของรัฐ ทั้งๆที่บุคคลในตำแหน่งดังกล่าวไม่ใช่ประมุขของรัฐ และได้รับความคุ้มครองตามหลักทั่วไปอยู่แล้ว ย่อมหาเหตุผลรองรับได้ยาก”

แถลงการณ์นิติราษฎร์ ฉบับที่ 16 ในเว็บไซต์ “นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” โดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้เหตุผลถึง “ปัญหาของกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” ซึ่งกลุ่มนิติราษฎร์จะมีการจัดอภิปรายเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม เวลา 13.00-15.00 น. ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนและเปลี่ยนวิทยากรที่จะมาเสวนาเป็นนักวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์ทั้งหมดคือ นายวรเจตน์ นายธีระ สุธีวรางกูร นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนางสาวสาวตรี สุขศรี

การจัดเสวนาดังกล่าวจะมีแถลงการณ์ของกลุ่มนิติราษฎร์ที่เป็นข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น รณรงค์เพื่อให้ประชาชนมีความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯด้วย

อัตราโทษสูงเกินไป

นายวรเจตน์กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องพูดถึงมาตรา 112 ว่าเพราะในห้วงเวลาที่ผ่านมาดูเหมือนว่าความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เริ่มได้รับความสนใจจากสาธารณชนในวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะสถิติการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และในหลายกรณีผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาเท่านั้น แต่เพราะความลึกลับของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในลักษณะเช่นนี้ ประกอบกับความพยายามของหน่วยงานของรัฐที่เริ่มให้ความหมายใหม่ของความผิดฐานนี้ว่าเป็นความผิดฐานล้มเจ้าด้วย จึงทำให้สาธารณชนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์ให้ยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เริ่มอึกทึกกึกก้องดำเนินคู่ขนานไปกับความเงียบงันของแวดวงวิชาการนิติศาสตร์ เหมือนกับเรื่องครึกโครมอื้อฉาวอีกหลายเรื่องของกระบวนการยุติธรรมในห้วงเวลาที่ผ่านมา

โดยเฉพาะปัญหาอัตราโทษของมาตรา 112 ที่ปัจจุบันกำหนดโทษจำคุก 3-15 ปี ซึ่งเป็นโทษที่ได้รับการกำหนดขึ้นโดยขาดความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย เพราะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 23 ตุลาคม 2519 (หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา) เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วย การพูดหรือเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ. 118 มาตรา 4 อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว พบว่าโทษหมิ่นประมาทพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดำรงสยาม รัฐมณฑลนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี หรือให้ปรับเป็นเงินไม่เกินกว่า 1,500 บาท หรือทั้งจำและปรับ

แม้แต่ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2500 โทษตามมาตรา 112 คือโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ จึงกล่าวได้ว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายปัจจุบันขาดความสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุอย่างสิ้นเชิง

ตำนานปรีดี พนมยงค์

“นักปรัชญาชายขอบ” เขียนบทความ “ม.112 ขัดต่อหลักความยุติธรรมอย่างไร?” ในเว็บไซต์ประชาไท ตั้งประเด็นว่า “มองจากหลักความยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตยหรือหลักการ “พระมหากษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรม” มาตรา 112 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 ย่อมสมควรถูกยกเลิกหรือแก้ไขปรับปรุงให้ไปกันได้กับหลักเสรีภาพและความเสมอภาค” แม้เรื่องสถาบันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมไทย แต่ต้องยอมรับว่าวิกฤตการเมืองที่ผ่านมา มาตรา 112 ได้ถูกนำไปเป็นข้ออ้างหรือเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยไม่คำนึงว่าจะกระทบ กระเทือนต่อสถาบันและสิทธิเสรีภาพที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยอย่างไร

บทความได้ยกข้อเขียนชื่อ “พลิกตำนาน-เบื้องลึก รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์” โดยอ้างถึงคำพูดของ “ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล” ทายาทลำดับที่ 5 จากทั้งหมด 6 คนของ “ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์” ที่ระบุว่า

“ดุษฎี” เริ่มน้ำตาคลอเมื่อต้องพูดถึงความรู้สึกของผู้เป็นพ่อหลังเกิดกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ว่า

“ทุกคนชอบถาม แต่คุณพ่อไม่เคยบอกอะไรกับลูก หรือแม้แต่คุณแม่ คุณพ่อเคยพูดกับนักเรียนไทยในอังกฤษบอกว่า ประวัติศาสตร์เมื่อถึงเวลาแล้วประวัติศาสตร์จะบอกเองว่าได้เกิดอะไร นี่คุณพ่อพูดแค่นี้ คุณพ่อมีความดีอยู่อย่างคือไม่เคยใส่ร้ายใคร คุณพ่อเป็นนักวิทยาศาสตร์สังคม และเป็นคนไม่พูดเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีหลักฐาน ยืนยันไม่ใส่ร้ายใคร”

ยิ่งหากให้สรุปถึงเหตุการณ์ที่ “รัฐบุรุษอาวุโส” เคยเสียใจที่สุดนั้น “ดุษฎี” พูดด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า

“คุณพ่อไม่ได้พูด...แต่พวกเราพูด แต่ละไว้ จุด จุด จุด บอกแล้วว่าไม่พูดย้อนหลัง พูดแต่ข้างหน้า”

สิทธิความเป็นมนุษย์!

บทความดังกล่าวยังถามต่อ “ความเป็นมนุษย์” ในแง่ที่ว่าทุกคนควรมีเสรีภาพในการพูดความจริงเพื่อปลดเปลื้องตนเองจากการเข้าใจผิดของสังคม หรือจากการถูกลงโทษทางสังคม ฯลฯ ที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่?

เพราะหากมองในมิติทางสังคมและการเมืองในสังคมเสรีประชาธิปไตยแล้ว สังคมที่ยอมรับกฎหมายที่ขัดต่อหลักความยุติธรรมย่อมเป็นสังคมที่ยอมรับระบบอยุติธรรมต่อความเป็นมนุษย์นั่นเอง เพราะสังคมเสรีประชาธิปไตย กฎหมายต้องบัญญัติบนหลักความยุติธรรมพื้นฐาน 2 ประการคือ หลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นระหว่างชนชั้นปกครองกับประชาชน หรือประชาชนกับประชาชน

“นักปรัชญาชายขอบ” จึงเห็นด้วยที่คนเสื้อแดงจะรณรงค์ยกเลิกมาตรา 112 รวมทั้งต้องการให้พรรคการเมืองที่คนเสื้อแดงสนับสนุนมีวาระที่ชัดเจนในการรณรงค์เรื่องนี้ด้วย

กรณีกษัตริย์สเปน

การเคลื่อนไหวให้ยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ยิ่งมีมากขึ้น หลังจากเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้วินิจฉัยคดี Otegi Mondragon v. Spain ซึ่งศาลยืนยันว่าการที่ศาลภายในแห่งรัฐสเปนพิพากษาลงโทษบุคคลในความผิดฐานหมิ่น ประมาทกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส แห่งสเปนนั้นเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปรับรองไว้ในมาตรา 10 ของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรปวรรคแรกที่บัญญัติว่า

“บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก สิทธินี้ประกอบด้วย เสรีภาพในความคิดเห็น เสรีภาพในการรับหรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร หรือความคิดโดยปราศจากการแทรกแซงของเจ้าหน้าที่รัฐ...” และวรรคสองบัญญัติว่า “การใช้เสรีภาพดังกล่าวซึ่งต้องประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดอาจอยู่ภายใต้รูปแบบ เงื่อน ไข ข้อจำกัด หรือการลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องเป็นมาตรการจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ การบูรณาการดินแดน ความปลอดภัยสาธารณะ การรักษาระเบียบ การป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสุขภาพและศีลธรรม การคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลลับ หรือเพื่อประกันอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ”

โดยคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสเปนขอหมายศาลเพื่อบุกเข้าไปสำนักงานของหนังสือพิมพ์ Euskaldunon Egunkaria เพื่อตรวจค้นและสั่งปิดหนังสือพิมพ์ เนื่องจากมีหลักฐานว่าหนังสือพิมพ์นี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบาสก์ (ETA) นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังจับกุมกรรมการบริหารและบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อีก 10 คน หลังการคุมขังโดยลับผ่านไป 5 วัน มีการร้องเรียนจากผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถูกคุมขังว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขังทั้ง 10 อย่างทารุณ

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ กษัตริย์สเปนได้รับการเชื้อเชิญและต้อนรับจากหัวหน้ารัฐบาลของประชาคมปกครองตนเองบาสก์ในพิธีเปิดโรงไฟฟ้า ณ เมือง Biscaye ในวันเดียวกันนั้น นาย Arnaldo Otegi Mondragon โฆษกของกลุ่มชาตินิยมบาสก์ Sozialista Abertzaleak ในสภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงข่าวว่าการเสด็จของกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส นั้นน่าเวทนาและน่าสลดใจ เขาเห็นว่าการที่หัวหน้ารัฐบาลของแคว้น บาสก์ไปร่วมงานเปิดโรงไฟฟ้ากับกษัตริย์สเปนนั้นเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่ง นับเป็น “นโยบายอันน่าละอายอย่างแท้จริง” และ “ภาพๆเดียวแทนคำพูดนับพัน”

นาย Otegi Mondragon ยังกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บุกเข้าไปปิดสำนักพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ Eu-skaldunon Egunkaria และจับกุมผู้ต้องหา 10 รายว่า “ผู้รับผิดชอบการทรมานผู้ต้องหา คือกษัตริย์นี่แหละ ที่ปกป้องการทรมาน และระบอบราชาธิปไตยของกษัตริย์ ได้บังคับประชาชนด้วยวิธีการทรมานและรุนแรง”

นาย Otegi Mondragon จึงถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่านาย Otegi Mondragon มีความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 490 วรรคสาม ต้องรับโทษจำคุก 1 ปี นาย Otegi Mondragon จึงใช้ช่องทางร้องทุกข์ต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไปแต่ไม่สำเร็จ เขายังไม่ยอมแพ้และเดินหน้าร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จนมีคำตัดสินดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน

อนาคตกษัตริย์ในยุโรป?

นายปิยบุตร แสงกนกกุล ให้ความเห็นถึงคำวินิจฉัยที่ว่ากฎหมายที่กำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ขัดกับเสรีภาพในการแสดงออก แต่รัฐธรรมนูญสเปนกำหนดให้กษัตริย์ไม่ต้องรับผิด และไม่อาจถูกละเมิด ไม่อาจกีดขวางการวิจารณ์กษัตริย์ เช่นนี้แล้วในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น สเปนจะมีการผลักดันให้แก้ไขหรือยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือไม่ ประเทศอื่นๆในยุโรปที่เป็นประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขจะดำเนินการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์หรือไม่

เพราะคดีนาย Otegi Mondragon มีความสำคัญต่อระบบกฎหมายและระบอบการเมืองการปกครองของประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศที่ประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญ หมุดหมายของประวัติศาสตร์ เนื่องจากศาลสิทธิมนุษยชนยอมรับว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ไม่ได้แตกต่างไปกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป

ที่สำคัญคำวินิจฉัยอาจส่งผลสะเทือนถึงระบบรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุขในยุโรปว่าในอนาคตบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่กษัตริย์จะเอาอย่างไรต่อไป คงเดิม ลดความเข้มข้น หรือยกเลิก?

อิงแอบสถาบัน?

โดยเฉพาะวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ปลายปี 2548 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีการดึงเอาสถาบันไปเกี่ยวโยงอย่างชัดเจน อย่างเอกสารของ “วิกิลีกส์” ที่เปิดเผยโทรเลขของนายอีริค จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ที่ส่งรายงานไปยังกรุงวอชิงตัน ฉบับลงวันที่ 20 กันยายน 2549, 1 ตุลาคม 2551, 6 พฤศจิกายน 2551, 25 มกราคม 2553 และมีการเสนอผ่านหนังสือพิมพ์ “เดอะการ์เดี้ยน” ของอังกฤษเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งระบุชื่อบุคคลสำคัญคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ทำให้การเมืองไทยสั่นสะเทือนอย่างมาก เพราะมีเนื้อหาที่สำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยทั้งก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงการยึดโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูงที่ถูกดึงมาใช้เป็นเครื่องมือและเงื่อนไขทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และประชาชนที่มีความคิดเห็นตรงข้ามกับกลุ่มชนชั้นสูง

แม้แต่รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission : AHCR) ยังได้กล่าวถึงการละมิดสิทธิมนุษยชนในไทยในช่วงการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่าศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่มีอำนาจเยี่ยง “รัฐทหาร” ได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินกล่าวหาและจับกุมแกนนำ นปช. และคนเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้ายและล้มเจ้า โดยอ้างแผนผังที่ทำขึ้นมา และเหยื่อหนึ่งในนั้นคือ “ดา ตอร์ปิโด” หรือ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี

ขณะที่ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯก็มีอีกหลายคน แม้แต่ชาวต่างชาติ รวมทั้งล่าสุดคือกรณีนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ผู้ออกแบบเว็บไซต์ นปช.ยูเอสเอ ที่ถูกตัดสินให้จำคุก 13 ปี (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ถนนประชาธิปไตย หน้า 9)

รณรงค์ไม่เอา 112

เช่นเดียวกับเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำกลุ่มแดงสยาม ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งนายสุรชัยประกาศว่าจะรณรงค์ให้ยกเลิกมาตรา 112 เพื่อเปลี่ยนแปลงสถาบันเบื้องสูงให้พ้นวังวนการเมือง

คำพูดของนายสุรชัยจึงเหมือนการปลุกกระแสให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวยกเลิกมาตรา 112 กลับมาแพร่หลายอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่แค่กลุ่ม “ไม่เอา 112” ที่แพร่กระจายในสื่อออนไลน์เท่านั้น แต่ยังทำให้วงการนักวิชาการตื่นตัวและรณรงค์เคลื่อนไหวอย่างมากเช่นกัน

เนื่องจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการใช้สถาบันเบื้องสูงเป็นเครื่องมือทำลายล้างฝ่ายปฏิปักษ์ทางการเมืองมาตลอด ตั้งแต่รัฐประหารพฤศจิกายน 2490 ที่นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ใส่ความ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายจอมพลถนอม กิตติขจร มักใหญ่ใฝ่สูงจะเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศไทย เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ใส่ความนักศึกษาเล่นละครดูหมิ่นองค์รัชทายาท หรือรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็อ้าง พ.ต.ท.ทักษิณจาบจ้วงและคิดล้มล้างสถาบัน (หาอ่านได้จากหนังสือ “ขบวนการลิ้มเจ้า” โดยทีมข่าวโลกวันนี้ ที่เคยเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความพยายามอิงแอบ แนบชิด และบิดเบือน) และเอาสถาบันเบื้องสูงมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามโดยใช้วาทกรรมบิดเบือนต่างๆ

ไม่เอา...ไม่พูด!

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงไม่เคยแยกออกจากการเมืองไทยเลย แล้วยังทำให้ประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมต้องปิดปากเหมือนคนเป็นใบ้ เพราะการครอบงำทางวัฒนธรรมอุดมการณ์ที่ทำให้ทุกคนห้ามวิพากษ์วิจารณ์ แม้จะถูกนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของคนบางกลุ่มก็ตาม

โดยเฉพาะบุคคลทั้งปวงที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งนายวรเจตน์ระบุว่าจะต้องตีความให้สอด คล้องกับอุดมการณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ใช้และตีความเพื่อรับใช้อุดมการณ์ของการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพ้นสมัยไปแล้ว

การรณรงค์ให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จึงต้องยกเลิกตัวบทในปัจจุบันเพื่อสร้างตัวบทใหม่ที่สอดคล้องกับหลักการในทางรัฐธรรมนูญและในทางกฎหมายอาญา ทั้งต้องยกเลิกอุดมการณ์ในการตีความตัวบทมาตรา 112 ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอภิปรายถึงสถานะของพระมหากษัตริย์ในทางรัฐธรรมนูญ วิเคราะห์แยกแยะส่วนที่สอดคล้องและส่วนที่ขัดแย้งกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย บังคับใช้ส่วนที่สอดคล้อง แก้ไขส่วนที่ขัดแย้ง และกำหนดกฎเกณฑ์ให้สอดรับกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

การเปิดโลกทัศน์ให้มองเห็นความเป็นจริงในสังคม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการ “พูด” และ “สื่อสาร” ออกไปให้เห็น “ความจริง”

การ “ไม่พูด” หรือ “พูดไม่ได้” นอกจากจะเป็นอุปสรรคแล้ว อาจก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยจนสร้างความเข้าใจผิดมาแทน หรือเกิดความเชื่อใหม่ๆจากข้อมูลที่ผ่านวิธี“กระซิบ” อย่างคลุมเครือ

นิสัยคนไทยขนานแท้...ถ้าเริ่มต้นด้วยประโยค “เรื่องนี้พูดไม่ได้...ห้ามพูด...อย่าไปบอกใคร?” นั่นหมายความว่าเรื่องนั้นจะกลายเป็นหัวข้อฮิตในสังคมนินทา ที่กระจายไปอย่างรวดเร็วกว่าเชื้อโรคหรือกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดเสียอีก

การพูดเรื่อง “112” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงวิชาการ จึงเป็นเรื่องที่สร้างคุณูปการต่อการดำรงอยู่ของทุกสถาบัน

“ชาติ” ประกอบด้วยสรรพสิ่ง หากขาดซึ่ง “ประชาชน” ย่อมมิอาจดำรงเป็นชาติได้ การเปิดปากเปิดใจของประชาชนในชาติจึงเป็นสิ่งที่ควรเปิดหูเปิดตารับรู้ และควรสนับสนุนมากกว่าปิดกั้น

“ตาสว่าง” ไม่จำเป็นต้อง “ปากสว่าง”

แต่จำเป็นต้อง “ใจสว่าง”...เพื่อเปิดทางรับแสงสว่างแห่งประชาธิปไตยที่สาดฉายไปในทุกแผ่นดิน!!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ชุมชนนิยมกับประชาธิปไตยแบบไทย

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในช่วงทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ทุนไทยเติบโตทางการเมืองอย่างรวดเร็ว บางส่วนตั้งพรรคการเมืองของตนเอง บางส่วนให้เงินสนับสนุนพรรคการเมือง หรือการรัฐประหาร แล้วแต่พรรคการเมืองพรรคใด หรือการรัฐประหารครั้งใด จะให้ประโยชน์แก่ตนมากที่สุด

อำนาจทางการเมืองนี้ นอกจากใช้เพื่อการครอบครองสัมปทานจากรัฐ และผูกขาดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่แล้ว ยังเป็นหลักประกันว่ารัฐจะดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อธุรกิจของตนตลอดไป

ในช่วงเดียวกันนี้ ทุนยังบุกทะลวงเข้าไปแย่งชิงทรัพยากรในชนบทมากขึ้น ทั้งเพื่อธุรกิจพลังงาน, การท่องเที่ยว และการตักตวงทรัพยากรใต้ดิน นับตั้งแต่น้ำ, เกลือ, จนถึงสินแร่อื่นๆ

ทั้งหมดนี้ทำได้ภายใต้ระบบการเมือง ที่อาศัยกลไกและรูปแบบของประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ
การที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม จะขยายอำนาจและผลประโยชน์ของตน ภายใต้กลไกและรูปแบบของการเมืองชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ยิ่งอำนาจและผลประโยชน์ของตนขยายออกไปมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความจำเป็นจะต้องหาเหตุผลทาง "ศีลธรรม" ให้แก่กลไกและรูปแบบของระบบการเมืองที่เอื้อต่ออำนาจและผลประโยชน์ของตนมากขึ้น

ภาระนี้ทุนไทยไม่ได้ทำ หรือไม่สนใจจะทำ ดูเหมือนทุนไทยจะอาศัยแต่วิธี "ขู่กรรโชก" สังคม เพราะในช่วงนี้เป็นต้นมาเหมือนกันที่ทุนเอกชนจะเป็นผู้จ้างงานรายใหญ่สุดของประเทศ ฉะนั้น เมื่อชนบทกำลังล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถเลี้ยงดูประชากรในชนบทได้ต่อไป สังคมจะอยู่สงบได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับกำลังการจ้างงานของทุนเอกชน ฉะนั้น หากทุนไม่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริม กำลังการจ้างงานของทุนก็จะไม่เติบโตได้ทันการณ์กับจำนวนประชากรที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงาน

แต่ในขณะเดียวกัน ทุนไม่สนใจจะอธิบายในเชิง "ศีลธรรม" กับค่าแรงราคาต่ำ, การปลดคนงานที่กินเงินเดือนสูงเกินไป, การไม่จัดสวัสดิการแรงงานอย่างเพียงพอ, การลดต้นทุนการผลิตด้วยการกันให้คนงานส่วนหนึ่ง (ที่ใหญ่มาก) ไปไว้นอกระบบ, การไม่ยอมลงทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน, การไม่ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา, การติดสินบาทคาดสินบนเพื่อเลี่ยงกฎหมาย, ฯลฯ

กล่าวโดยสรุปก็คือ ทุนไม่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมมากไปกว่าจ้างงาน (ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขอย่างไร) หากการจ้างงานลดลง สังคมก็จะปั่นป่วน ดังนั้น จึงเป็นการ "ขู่กรรโชก" ไม่ใช่ให้คำอธิบายเชิง "ศีลธรรม" แก่อำนาจและผลประโยชน์ของตนที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากและรวดเร็วในกลไกและรูปแบบการเมืองนี้

น่าประหลาดที่ว่า ความชอบธรรมในการเอารัดเอาเปรียบของทุนไทยนั้น ยิ่งนับวันก็ยิ่งต้องผูกพันรัฐมากขึ้น สัมปทานนี้ได้มาจากรัฐ โครงการนี้ริเริ่มหรืออนุมัติโดยรัฐ โครงการรับจำนำพืชผลการเกษตรซึ่งให้ผลกำไรอย่างสูงแก่นายทุน ก็เริ่มมาจากรัฐเอง ฯลฯ และดูเหมือนจะเป็นความชอบธรรมเพียงอย่างเดียว กล่าวคือเมื่อรัฐอนุญาตแล้ว จะถอนคำอนุญาตนั้นไม่ได้ เพราะจะทำให้ไม่มีใครกล้าลงทุนในประเทศไทย

ความชอบธรรมนี้ไม่เกี่ยวกับ "ประชาธิปไตย" หรือแม้แต่กลไกและรูปแบบของประชาธิปไตย ทุนไทยเป็นนักรัฐนิยม (statist) ขนานแท้ รัฐคือข้ออ้างทาง "ศีลธรรม" เพียงอย่างเดียวของทุน ไม่ว่ารัฐนั้นจะฉ้อฉล, เผด็จอำนาจ, หรือ "ตกยุค" อย่างใดก็ตาม (น่าเศร้าด้วยที่ว่า ทั้งความฉ้อฉล, อำนาจนิยม และความตกยุคของรัฐไทย กลับประสานเข้าหากันเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างสนิทแนบแน่น)

ทุนไทยจึงไม่มีส่วนในการสร้างเสริมฐานทาง "ศีลธรรม" ของประชาธิปไตย อย่างที่พบได้ในหลายสังคมทั่วโลก
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ รัฐไทยเองเป็นผู้เผยแพร่อุดมการณ์ที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยแก่ประชาชนของตน หลังจากที่สรุปกันได้ว่า วิธีจัดการกับการแข็งข้อของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่น่าจะได้ผลที่สุด คือสถาปนาประชาธิปไตยแบบไทยขึ้นให้มั่นคง ราชการก็ได้ลงทุนกับการเผยแพร่อุดมการณ์นี้ในชนบท (ซึ่งเชื่อว่าเป็นฐานกำลังคนที่สำคัญของ พคท.)

ตำรา "คู่มือประชาธิปไตย" หลายสำนวนที่ราชการพิมพ์แจกผู้นำหมู่บ้าน และในภายหลังแจกและเปิดอบรมประชาชนทั่วไปด้วย กลับเป็นผู้สร้างคำอธิบายเชิง "ศีลธรรม" แก่ระบอบประชาธิปไตย แต่ก็เป็นประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของรัฐ หรือประชาธิปไตยที่มุ่งหมายให้เกิดความมั่นคงเป็นหลัก เช่น แม้จะยอมรับในเรื่องสิทธิเสรีภาพ แต่ก็ย้ำเตือนว่าสิทธิเสรีภาพนั้นมีจำกัด คือเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ มิฉะนั้นแล้ว ก็จะเกิดความแตกแยก ทำลายความสามัคคีในชาติอันเป็นแหล่งที่มาของสิทธิประชาธิปไตยต่างๆ ในสำนวนหลังๆ ซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลของนักคิด กอ.รมน. ถึงกับระบุลงไปเลยว่า เสรีภาพมีอยู่ได้ก็แต่ในรัฐเท่านั้น ฉะนั้น บุคคลย่อมบรรลุเสรีภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อทำตามที่รัฐสั่ง

ในด้านการปกครอง ราชการก็เน้นอย่างเดียวกันคือ "ระเบียบ" ด้วยเหตุดังนั้น การปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตยแบบไทย จึงหมายถึงการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนเองเท่านั้น ซ้ำยังมีผู้แทนที่มีมาโดยวัฒนธรรมทางการเมืองซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งด้วย เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม หรือแม้แต่กองทัพก็ตาม ย่อมเป็นตัวแทนของประชาชนด้วย เพราะต่างเป็นสถาบันที่เข้าถึง "เจตนารมณ์ทั่วไป" ของสังคมอยู่แล้วโดยประเพณี (ตามทฤษฎีรุสโซแบบเบี้ยวๆ)

รัฐนิยม (statism) คือประชาธิปไตยแบบไทย เพราะการสยบยอมต่อรัฐต่างหากที่เป็นหลักการสำคัญของประชาธิปไตยแบบไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจ-สังคมไทยเปลี่ยนไป ประชาธิปไตยแบบสยบยอมเช่นนี้ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่ชาวบ้านประสบอยู่ เช่น รัฐซึ่งควรเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองประชาชน กลับกลายเป็นเครื่องมือของทุนในการแย่งชิงทรัพยากร รัฐไม่ใช่คนนอกที่คอยเข้ามาสร้างความเป็นธรรม แต่รัฐกลับเป็นพื้นที่เปิดเฉพาะสำหรับอภิสิทธิ์ชน แม้แต่ในหมู่บ้าน ก็มีคนที่เข้าถึงพื้นที่นี้ได้เพียงไม่กี่คน และใช้อำนาจรัฐในการเบียดเบียนคนอื่น

ประชาธิปไตยแบบไทยกำลังต้องการคำอธิบายเชิง "ศีลธรรม" ใหม่ มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถกำกับให้ประชาชนสยบยอมได้ต่อไป

และคำอธิบายเชิง "ศีลธรรม" แบบใหม่ที่ถูกหยิบมาใช้คือ "ชุมชนนิยม"
ที่จริงแล้ว แนวคิดชุมชนนิยมเกิดมานานแล้ว (ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เช่นกัน) ดูเหมือนในระยะแรก ไม่ได้ถูกใช้เป็นคำอธิบายเชิง "ศีลธรรม" ให้แก่ประชาธิปไตยแบบสยบยอม ในทางตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ดูเหมือนจะเป็นฐานของพลังให้แก่การต่อรอง ทั้งกับตลาดและกับรัฐ ชุมชนนิยมให้ความสำคัญแก่ฐานทาง "ศีลธรรม" ที่มีพลังสูงมาก เพราะมีความหมายแก่ทุกคน เช่น ฐานทรัพยากร, ระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์, ความมั่นคงด้านอาหาร และแน่นอนความมั่นคงด้านสังคม ซึ่งได้จากความสัมพันธ์ในชุมชน ใครๆ ย่อมให้คุณค่าแก่สิ่งเหล่านี้เหนือกำไรของบริษัทเอกชน และเหนือเขื่อนไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน

แต่นับจากสมัยทักษิณเป็นต้นมา ผู้ต่อต้านทักษิณโน้มนำให้ชุมชนนิยมมีความหมายเชิงสยบยอมมากขึ้น จนดูประหนึ่งว่าชุมชนมีความกลมกลืนในตัวเอง และแข็งแกร่งในตัวเองเสียจนไม่ต้องพึ่งทั้งตลาดและรัฐ ทุกคนสามารถหันกลับไปผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง เพราะชุมชนมี "ภูมิปัญญา" ทำได้ ซ้ำยังมีระบบความสัมพันธ์ภายในที่ช่วยประกันความอยู่รอดของทุกคนด้วย การ "พึ่งตนเอง" กลายเป็นการ "พึ่งตนเอง" ในเงื่อนไขของสังคมที่ได้ล่วงเลยไปแล้ว และคงไม่มีวันหวนคืนกลับมา

พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจของปี 2540 อาจเข้าใจได้เป็นสองอย่าง

อย่างแรก เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกลวิธีสร้างพลังต่อรองให้ตนเอง ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยเพิ่มสัดส่วนการผลิตของตนเพื่อการบริโภคในครัวเรือนให้มากขึ้น จึงมีพลังพอจะพึ่งพาตลาดน้อยลง และย่อมต่อรองได้มากขึ้น รัฐก็สามารถทำอย่างเดียวกัน โดยจัดระบบเศรษฐกิจของตนให้ต้องพึ่งพาต่างประเทศน้อยลง เช่น ทำให้เกิดตลาดท้องถิ่นที่ครบวงจร พอที่จะประหยัดค่าขนส่งได้ เป็นต้น

ความเข้าใจอย่างแรกนี้ทำให้เห็นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง ในการเพิ่มพลังต่อรองของผู้คนและประเทศชาติ ไม่ต่างไปจากจุดยืนของชุมชนนิยมในระยะแรก และต้องไม่ลืมด้วยว่า พลังต่อรองนั้นใช้ได้ทั้งกับตลาดและรัฐ เศรษฐกิจพอเพียง ในความหมายนี้ไม่ได้ปฏิเสธตลาด (หรือรัฐ) เพียงแต่จะเข้าตลาด (หรือรัฐ) โดยมีพลังต่อรองมากขึ้นได้อย่างไร นอกจากเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังมีกลวิธีอื่นอีกมาก เช่น สหกรณ์, การลงทุนด้านวิชาการของภาครัฐ, การจัดการทรัพยากรทั้งโดยชุมชนและรัฐ อย่างเป็นธรรม เพื่อเพิ่มพลังการผลิต, การมีสื่อของตนเอง, การมีพรรคการเมืองของตนเอง ฯลฯ

ความเข้าใจอย่างที่สอง ซึ่งถูกชูขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา เศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็นปรัชญา ซึ่งอาจนำไปใช้ได้กับทุกกรณีและในทุกเงื่อนไขของการประกอบการ ทั้งในทางเศรษฐกิจหรือสังคม ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ฐานทาง "ศีลธรรม" อย่างเดียวกับชุมชนนิยมในระยะเริ่มต้นได้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงด้านอาหาร, ฐานทรัพยากร, หรือความเอื้ออาทรของคนในชุมชน

แต่เศรษฐกิจพอเพียงในความเข้าใจอย่างนี้ กลับไม่ได้มุ่งจะเพิ่มอำนาจต่อรอง โดยเฉพาะอำนาจต่อรองทางการเมือง เหมือนยกรัฐให้คนอื่นไปจัดการอย่างเป็นธรรมหรือไม่ก็ไม่สำคัญ เพราะประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและเป็นสุขได้ ไม่มียูทูบในเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้ ทั้งๆ ที่ยูทูบเป็นพื้นที่สำหรับการรวมกลุ่มและต่อรองที่มีพลังในโลกปัจจุบัน

นี่คือการสยบยอมทางการเมืองในอีกรูปแบบหนึ่ง ชุมชนนิยมซึ่งเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจให้ประชาชน กลายเป็นลัทธิที่จะปลดอำนาจของประชาชน ภายในระบอบประชาธิปไตยแบบไทย (หรือในชื่ออื่น)
ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

TVลิเบียแพร่ภาพลูกชายกัดดาฟี สยบข่าวถูกสังหาร

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของลิเบีย ได้แพร่ภาพที่ระบุว่า เป็นคลิปภาพของนายคามิส หนึ่งในบุตรชายของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ที่บ้านพักในกรุงทริโปลี เพื่อสยบข่าวลือที่ว่าเขาเสียชีวิตไปแล้ว

คลิปภาพของชุดนี้ ได้ถูกนำออกเผยแพร่ หลังจากมีข่าวลือแพร่สะพัดหลายวันก่อนว่า นายคามิส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารกองพลน้อยที่ 32 หรือที่รู้จักกันในชื่อ กองพลน้อยคามิส ที่ได้ชื่อว่า มีอาวุธที่ทันสมัยที่สุดและเชี่ยวชาญการรบมากที่สุดของกองทัพลิเบีย ถูกลอบสังหารโดยการพลีชีพของนักบินที่ลิเบียที่แปรพักตร์ ด้วยการขับเครื่องบินรบชนอาคารที่พักอาศัยของเขา

แต่คลิปภาพที่เผยแพร่ล่าสุด ได้แสดงให้เห็นนายคามิส สวมเครื่องแบบทหาร กำลังยืนอยู่บนหลักรถปิ๊คอัพ ท่ามกลางการอารักขาของเหล่าองครักษ์ ที่แล่นผ่านค่ายทหารบับ อัลอาซิซิยาห์ และโบกมือให้กับผู้สนับสนุน ขณะที่องค์รักษ์คอยกันไม่ให้คนเข้าใกล้เขามากเกินไป

ก่อนหน้านี้ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้กล่าวในรายการของ ABC นิวส์ ว่า เธอได้รับรายงานว่า หนึ่งในบุตรชายของพันเอกกัดดาฟี อาจถูกสังหารจากการใช้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองกำลังพันธมิตร แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยัน

ที่มา.เนชั่น
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม กลุ่มพยาบาลภาคสนาม VHG วันที่ 26-03-54 ที่โบนันซ่า



โพลป.ป.ช.นักการเมืองดีในสายตาปชช.จริยธรรมขั้นเทพ แถมบทลงโทษแบบ.จัดหนัก.

เมื่อไม่นานมานี้  สำนักงาน ป.ป.ช. ตามความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านการเมืองการปกครอง โดยสำนักป้องกันการทุจริตภาคการเมือง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมค้นหาคุณสมบัติผู้แทนที่ดี
 
โดยนำข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 มากำหนดเป็นหัวข้อให้ประชาชนทั่วไปเลือกและเสนอความเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเลือกเขียนลงบนไปรษณียบัตรหรือโหวตผ่านทางเว็บไซต์ของสานักงาน ป.ป.ช. ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน - 31 ตุลาคม 2553  ได้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,064 คน

ส่วนใหญ่ เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.2  และชาย คิดเป็นร้อยละ 48.6  ส่วนใหญ่อายุ 18  ปีขึ้นไป(ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้ง) คิดเป็นร้อยละ 54  และต่ำกว่า  18  ปี คิดเป็นร้อยละ  15.7
  
การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี  23.1 %  ระดับปริญญาตรี  26.4 % ปริญญาโท  8 %  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 27  นักเรียนนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 18.1
 
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นว่า จริยธรรมที่สำคัญที่สุดของนักการเมือง เรียงตาม ลำดับ ดังนี้

  
อันดับแรก คือ ปฏิบัติหน้าที่และแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เที่ยงธรรมและมีความอิสระ เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ คิดเป็นร้อยละ  29.6
  
อันดับที่สอง คือ ยึดถือและปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 17.8
 
อันดับที่สาม คือ ไม่วางตนอยู่ ภายใต้อิทธิพลทางการเงิน ผลประโยชน์หรือข้อต่อรองใด ๆ เพื่อบุคคลหรือองค์กรอื่นใด ซึ่งอาจมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิดเป็นร้อยละ 13.3

อันดับที่สี่ รับฟังเรื่องร้องทุกข์ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน ทั้งต้องปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน คิดเป็นร้อยละ 11.1


อันดับที่ห้า การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน อย่างครบถ้วน ถูกต้องโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าใจผิด หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือบุคคลอื่นใด คิดเป็นร้อยละ  8.6

อันดับที่หก  แสดงความรับผิดชอบเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและผิดพลาดตามควรแก่กรณี คิดเป็นร้อยละ  7.7

อันดับที่เจ็ด  เคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพที่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นประมาท เสียดสี ใส่ร้ายบุคคลอื่นโดยไม่มีพยานหลักฐาน หรือนำเรื่องเท็จ มาอภิปรายในที่ประชุม คิดเป็นร้อยละ  7.2

อันดับที่แปด อุทิศเวลาให้แก่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยคำนึงถึงการตรงต่อเวลาและต้องไม่ขาดการประชุมโดยไม่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ 4.7
 

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ เช่น 
ข้อเสนอบทลงโทษนักการเมืองที่ประพฤติ ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม   อยากให้มีข้อบังคับและใช้บังคับ เช่น
-การขาดประชุมต้องไม่เกิน 3  ครั้งต่อปี ถ้าขาดตัดเงินเดือน 10 % ต่อครั้ง
- งดออกเสียง 1  ครั้ง หักเงินเดือน 10 % ของเดือนนั้น
- ต้องการให้ตัดเงินเดือน ส.ส. และ ส.ว. ที่ไม่เข้าประชุมสภา
-ถ้ารัฐมนตรีทุจริตในโครงการของรัฐให้ประชาชนเข้าชื่อ 100  คน ยื่นต่อศาลโดยตรง ถ้าศาลรับคดีมีมูล ให้รัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ถ้าศาลตัดสินมีความผิดจริง รัฐมนตรีต้องติดคุก 20  ปี ไม่มีการลดโทษ และพรรคการเมืองนั้นต้องหยุดการดาเนินการทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
- ควรออกกฎหมายห้ามบุคคลของรัฐมาเป็นหัวคะแนน ถ้าใครทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ให้ติดคุกสามปีพร้อมตัดสิทธิตลอดไป ถ้าเป็นข้าราชการให้ไล่ออก ไม่ได้รับบาเหน็จ บำนาญ
 ถ้าทำตามนี้ได้ผู้แทนจะมีคนที่มีการศึกษาสูง ๆ มาลงสมัครรับเลือกตั้งมากมาย

นอกจากนี้  ผู้ใดกระทำผิดกฎหมายชัดแจ้งร้ายแรง เช่น คิดทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมทั้งยุยง ให้ประชาชนแตกแยก โฆษณาชวนเชื่อแบบคอมมิวนิสต์ในอดีต กระทำผิด ทางการควรเอาผิดโดยเด็ดขาดและ ทันที อย่าอ้างว่าอยู่ในสมัยประชุมสภาฯ
-  ไม่ควรให้สิทธิคุ้มครองผู้แทน ถ้าผิดต้องถูกจับทันที
- ควรปรับลดเงินเดือน ส.ส. ส.ว. ให้เหลือน้อยลงจากที่ได้รับ เพราะเห็นการทางานแล้วไม่คุ้มกับเงินที่ได้รับจากเงินภาษีราษฎรที่ยากจนเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ เท่ากับไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองและประชาชนตาดำ ๆ
- ห้ามรัฐมนตรีแต่งตั้งอธิบดี และปลัดกระทรวง ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

 ด้านการศึกษาอบรม 
เปิดอบรมสอนภาษาไทยให้พูดไพเราะ เพราะ ส.ส. และ ส.ว.เป็นผู้มีเกียรติควรประพฤติ ปฏิบัติตัว ในสิ่งที่ดีเพื่อเป็นต้นแบบแก่เด็กและเยาวชนของชาติ ซึ่งในอนาคต เขาก็จะมาทำหน้าที่ตรงนี้ต่อไป
 
ช่วงที่มีการอภิปราย ส.ส.บางคนอภิปรายออกเสียง ร ล คำควบกล้าไม่ได้ ไม่ถูกต้อง อยากให้ถ่ายทอดสดเพื่อประจานตัวเองให้คนฟังตั้งคำถาม ส.ส.จังหวัดไหน(นะ) และเปิดอบรมคนที่จะมาทำหน้าที่ ส.ส. ส.ว. ไปหัดอ่านหัดพูดภาษาไทยให้ถูกต้อง

 ผู้ที่จะลงสมัครเป็นผู้แทนจะต้องเข้าอบรมศีลธรรมหรือถ้าเป็นไปได้อยากให้เข้าปฏิบัติธรรมตามสถานปฏิบัติธรรมโดยให้ทาง ป.ป.ช. เป็นผู้กำหนดให้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15  วัน โดยให้ทางสถานที่ปฏิบัติธรรมออกใบรับรองให้ จึงจะสามารถลงสมัครผู้แทนได้

- เล่าเรียนจบวิชาศีลธรรม ระดับนักธรรมเอก วิชาประวัติศาสตร์ ด้วยคะแนนเกิน  85 %
-ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับบ่อน หวยเถื่อน มีอิทธิพล นักเลง รับเหมาก่อสร้าง มีผลงานประวัตินักพัฒนาช่วยเหลือสังคมเป็นประจำสม่ำ เสมอ และจบวิชานักการเมืองด้วยคะแนน 85 % แล้วต้องสอบผ่านสถาบันวิชาชีพนักการเมือง เหมือน แพทย์ วิศวกร

   
คุณสมบัติ ของผู้แทนที่ดี ต้องมีกฎ กติกาในการปฏิบัติงาน คุณวุฒิ วัยวุฒิ และมีศีลธรรม จรรยาบรรณที่ดี  และ ควรกำหนดคุณสมบัติเรื่องอายุ เช่น ไม่เกิน  70 ปี
 
ข้อเสนอ อื่น ๆเช่น   ไม่ควรถ่ายทอดโทรทัศน์ทั้งวันทั้งคืน ควรถ่ายทอดเฉพาะเรื่องสาคัญมาก ๆ และให้ออกข่าวตามปกติเหมือนข่าวทั่วไป ส.ส. ส.ว. จะได้พูดน้อยลงบ้าง เพราะไม่ได้ออกทีวีที่ตนชอบ

 และข้อเสนอว่า  ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจับมือกันทุกครั้ง หลังจากประชุมเสร็จแล้วให้สื่อถ่ายภาพด้วย.

ที่มา.มติชนออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สดศรี สัตธรรม. กลับลำไม่ลาออกพร้อมจัดเลือกตั้ง

สดศรี กลับลำไม่ลาออกพร้อมจัดเลือกตั้ง รับยังกลัวปัญหากฎหมาย เตรียมส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความประกาศ หากต้องยุบสภาก่อนกฎหมายลูกผ่าน

นางสดศรี สัตธรรม กล่าวถึงกรณีที่ตนเคยระบุว่าอาจจะลาออกหากมีการกดดัน ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องตีความที่ผิดพลาด เพราะแรงกดดันนี้จะหมายถึงกรณีที่หากกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้ง สามฉบับยังไม่ผ่านและมีการยุบสภาเกิดขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น กกต. ต้อง ประกาศระเบียบมาใช้ อย่างไรก็ตามแม้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขจะให้อำนาจ กกต. ไว้ แต่ก็เป็นเพียง การให้ออกประกาศเฉพาะระเบียบ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รวมถึง พ.ร.บ.พรรคกาเรมือง และ พ.ร.บ. กกต. นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านๆมา หาก กกต. จะออกระเบียบก็ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา หากเราประกาศไปเลยโดยไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก็อาจจะถูกฟ้องว่า ประกาศของ กกต. ไม่ชอบ เรามองว่านี่เป็นการโยนภาระหนักให้ กกต. เรายินดีที่จะจัดการเลือกตั้งเต็มที่ แต่เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับ เราก็จะมีปัญหาทันที นี่เป็นจุดสำคัญ และอาจจะถูกฟ้องร้องหากผลเลือกตั้งที่ออกมาก้ำกึ่ง

นางสดศรีกล่าวต่อว่า ในส่วนตัวหากมีการยุบสภา ก่อนจะพิจารณากฎหมายลูกเสร็จ และให้ กกต. ต้องออกประกาศ ตนคงไม่โหวตเรื่องประกาศ และเห็นว่าต้องตีความตามกฎหมาย เว้นแต่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และตนจะเสนอตามแนวทางนี้ให้ กกต. คนอื่นพิจารณา

เมื่อถามถึงการลาออกจากตำแหน่งที่เคยเปรยก่อนหน้านี้ นางสดสรีกล่าวว่า เรื่องการลาออก มันเรื่องผลพลอยได้ เพราะตนไปสมัครเป็นสมัชชาปฏิรูปกฎหมาย แต่โอกาสได้ยากมาก เพราะมีคนสมัครรถึง 234 คนและต่างเป็นคนที่มีคุณภาพ ตนก็ไม่ได้วิเศษไปกว่าคนอื่น จึงไม่คิดว่าจะได้ แต่เมื่อมีเรื่องนี้เขาก็คงไม่เอาตนเพราะกลัวว่าจะไม่มีคนจัดการเลือกตั้ง แต่หากมีองค์กรอิสระอื่นเปิดก็ไปสมัคร ตนเป็นคนธรรมดาไม่ตายก็ต้องหาสิ่งที่ดี เมื่อเห็นอันตราย ไม่ใช่ต้องชนหรือกระโดดเข้ากองไฟ คงไม่มีใคร เสียสละขนาดนั้น

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าหากยุบสภาก่อนกฎหมายผ่านสภา จะลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ หรือไม่ "ก็ต้องอยู่ ก็ต้องเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง เขาลิขิตมาแล้ว แต่ก็ต้องดูว่าเราจะสู้คดีแบบไหน เราต้องเตรียมพร้อมที่จะสู้คดี และขอยืนยันว่าไม่เคยท้อ ถ้าท้อต้องท้อตั้งแต่ปีแรก เพราะ กกต. ชุดนี้เป็นชุดที่ไม่เคยสงบ บ้านเมืองมีปัญหาตลอด เป็นเรื่องที่ไม่ถึงเช่นกัน เพราะถ้านึกถึงก็คงเป็นผู้พิพากษาอาวุโสต่อไปแล้ว" นางสดศรีกล่าว

ที่มา.เนชั่น
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาฟเตอร์ช็อค !!!??

โดย สรกล อดุลยานนท์

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน)
มีคนบอกว่าสถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติในวันนี้ คือ "อาฟเตอร์ช็อค" ทางการเมืองจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

การรัฐประหาร เปรียบเสมือน "แผ่นดินไหว" ทางการเมือง

"แผ่นดินไหว" นั้นคือ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกแบบ "ผิดปกติ"
ทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ มักจะตามมาด้วย "อาฟเตอร์ช็อค" อีกหลายครั้ง

ที่ญี่ปุ่น แผ่นดินไหว 9 ริคเตอร์ 1 ครั้ง
แต่ตามมาด้วย "อาฟเตอร์ช็อค" อีกหลายสิบครั้ง

บางครั้งก็หนักหนาระดับแผ่นดินไหวที่พม่า 7 ริคเตอร์ เมื่อวันก่อน

ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียก "อาฟเตอร์ช็อค" ว่า "แผ่นดินไหวตาม"
คือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นมา หินต่างๆ รอบๆ ศูนย์กลางไหวสะเทือนใต้ผิวโลกจะพยายามปรับตัวให้คืนสภาพสมดุล

จึงเกิดแผ่นดินไหวตามมาเป็นระยะก่อนจะหยุดไหวสนิท

"การเมือง" ก็เช่นกัน
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบ "ผิดปกติ" ย่อมส่งผลสะเทือนแบบ "อาฟเตอร์ช็อค" ตามมาเป็นระยะ

การรัฐประหารที่ผ่านมาก็คือ เหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" ทางการเมืองเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ "ผิดปกติ"
จากนั้น "อาฟเตอร์ช็อค" ก็ตามมาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นการยุบพรรค การก่อตัวของ "คนเสื้อแดง" ความรุนแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หรือความเสื่อมของกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ

ทั้งหมดล้วนมี "ที่มา" จากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทั้งสิ้น

ขนาด "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรีประกาศแล้วว่าจะยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

แทนที่ทุกคนจะพุ่งเป้าความสนใจไปที่การเลือกตั้ง
กลับมีคนบางกลุ่มปลุกกระแส "ไม่มีเลือกตั้ง" และ "รัฐบาลแห่งชาติ" ขึ้นมา

ไม่มีใครกล้า "ฟันธง" บอกว่าเรื่องนี้ "เป็นไปไม่ได้"

แม้แต่ "อภิสิทธิ์" หรือ "สุเทพ" เองก็ตาม

ปากก็บอกว่าไม่จริง เป็นไปไม่ได้

แต่ในใจคงหวั่นไหวเหมือนกัน

ถามว่าทำไมจึงหวั่นไหว
คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2549
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กกต.ลาออก-นายกฯมาตรา 7-ตุลาการภิวัฒน์ หรือการรัฐประหาร

ทุกเรื่องล้วนแต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น

"ตัวละคร" ก็ยังเป็นคนกลุ่มเดิม

ความกลัว "ทักษิณ ชินวัตร" ก็ยังคงอยู่

อย่าลืมว่าการรัฐประหาร 2549 เกิดขึ้นก็เพราะความกลัวว่าพรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง

มีคนบอกว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของ "แผ่นดินไหว" นั้นไม่ใช่ความเสียหายทางวัตถุหรือชีวิตคน

แต่เป็นเรื่อง "จิตใจ"

"อาฟเตอร์ช็อค"
ทางจิตใจนั้นหนักหนายิ่งกว่าทางวัตถุมากนัก

คนที่เจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่จะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์

จะเกิดความหวาดระแวงตลอดเวลา

เช่นเดียวกับเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 ที่ทำให้คนไทยเกิดความหวาดระแวง

ไม่เชื่อมั่นว่าประเทศจะเปลี่ยนแปลงตามครรลองประชาธิปไตย

อย่าแปลกใจที่จะไม่มีใครเชื่อคำพูดของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ว่าจะไม่ปฏิวัติ

ไม่มีใครเชื่อ "อภิสิทธิ์" ว่าจะมีการเลือกตั้ง

ไม่มีใครเชื่อว่า "ตุลาการภิวัฒน์" จะไม่เข้ามายุ่งการเมือง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เราต้องนึกเสมอว่า "ประวัติศาสตร์" เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้ว

เราแก้ไขอะไรไม่ได้

แต่ "ปัจจุบัน" และ "อนาคต"

เราจัดการได้ !!!


//////////////////////////////////////////////////////////////////////////

2 คุณชายการเมือง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หัวใหญ่. ที่พรรคไหนก็ต้องการ กับคุณชายสุขุมพันธุ์ บริพัตร

เพราะคำ 10 พ่อค้า ไม่เท่า 1 พระยาเลี้ยง
ทำให้บรรดา หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงจากราชตระกูลยังเป็นที่ต้องการของพรรคการเมือง

เฉพาะคนในราชตระกูล ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ในวังบางขุนพรหมวังเทเวศน์ วังสวนผักกาด และวังเทวะเวสม์ ล้วนเคยเป็นแหล่งชุมนุมนักนักคิด ที่สืบเชื้อสายจากราชตระกูลสาย "บริพัตร" "โสณกุล" และ "เทวกุล"

เฉพาะตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก "พระเจ้าแผ่นดิน" ในรัชกาลที่ 4 ก็มีไม่ต่ำกว่า 17 ต้นตระกูล ที่ยังรับใช้ชาติบ้านเมือง

เฉพาะ 4 ราชตระกูล ดังของประเทศไทย ที่สืบจากเชื้อแห่ง "รัชกาลที่ 4"ทั้ง "บริพัตร" "เทวกุล" "โสณกุล""สวัสดิวัตน์" และ "อัมระนันทน์" นั้น มีทายาทที่เจริญรอยตามอยู่ในแวดวงการเมืองไทยมาหลายชั่วอายุคน

"คุณชายเต่า" ยังมีสายสัมพันธ์ อันใกล้ชิดกับ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นั้น ระดับ "ลูกพี่ลูกน้อง"

"ม.ล.อภิมงคล โสณกุล" จึงได้สานต่อ ลงรับสมัคร ส.ส. ในเขตเลือกตั้งเดิมต่อจาก "คุณชายสุขุมพันธุ์" ซึ่งเป็น "ญาติฝ่ายพ่อ"

ส่วน "สายแม่" ของ "ปิยสวัสดิ์" ม.ร.ว.ปิ่มสาย สวัสดิวัตน์ นั้น สืบเชื้อสายโดยตรงมาจาก "ท่านชิ้น" หรือ หม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ก่อนที่จะแต่งงานไปร่วมสายกับ "อัมระนันทน์"

ไม่ต้องนับรวมว่าทายาทแห่งตระกูล "บริพัตร" อย่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ทั้งอดีตและปัจจุบันสังกัด "ประชาธิปัตย์"

...........................

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล "หัวใหญ่" ที่พรรคไหนก็ต้องการ

ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ถูกนักการเมืองเอ่ยถึงทั้งใต้ดิน-บนดิน

ทั้งมาตามคิว-ตามระบบ และมานอกระบบการเมืองปกติ

ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกระบุ-ชักชวน เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เขาปฏิเสธ

ก่อนหน้านั้นเขามักถูกนัดพบจาก "บรรหาร ศิลปอาชา" พัวพันกับผู้มีบารมีพรรคชาติไทยพัฒนา ระดับมื้ออาหารคาวหลายค่ำคืน

ในงานวันคล้ายวันเกิด "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชื่อ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ถูกหมายว่าจะเป็น "หัว" ให้พรรค "3 พี+รวมชาติพัฒนา"

เมื่อเขาออกมาเปิดสูตรพิสดารการเมืองหลังเลือกตั้ง เขาถูกคนการเมืองระดับคนหน้าไมค์ "เทพไท เสนพงศ์" พาดพิงระดับต้อง "จับตา" ผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์

ด้วยข้อความ "จับตาความเคลื่อนไหวหม่อมอุ๋ย หลังออกมาคอมเมนต์การเมืองอาการแปลก ๆ โดยเฉพาะบอกยังหนุ่มพอที่จะเป็นนายกฯได้ และจัดสูตร รบ.ให้ด้วย"

ด้วยดีกรีระดับราชตระกูล "เทวกุล" อดีต รมว.คลัง, รองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเป็นคนใกล้ใจ-บรรหาร-สุวัจน์ เจ้าของพรรคการเมืองใหญ่

เมื่อเอ่ยคำวิเคราะห์-คาดการณ์ คณิตศาสตร์การเมืองในเวที "ยูโรมันนี่ ไทยแลนด์ อินเวสเมนต์ ฟอรัม" ระบุ"ขั้วรัฐบาล" 4 แบบ พร้อมเงื่อนไขประกอบ สปอตไลต์จึงฉายจับ "คุณชายอุ๋ย" อีกครา

แบบที่ 1 กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จับขั้วกับพรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้เร็ว ความขัดแย้งน่าจะลดลง แต่นโยบายเศรษฐกิจอาจจะเหมือนเดิม แต่ขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทยจะมีผู้นำที่ยอมรับได้หรือไม่

แบบที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่จับขั้วกัน เศรษฐกิจน่าเติบโตได้ช้า เพราะนโยบายยังเหมือนเดิม และอาจจะมีการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อเนื่อง

แบบที่ 3 พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันตั้งรัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีขึ้น

และแบบที่ 4 หากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองใหม่ จับขั้วกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้ง เศรษฐกิจน่าจะเติบโตได้อย่างช้า ๆ และยังมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อไป แต่ถ้าผู้นำมาจากพรรคเล็กก็อาจจะมีแรงกดดันลดลง

ข้อวิเคราะห์ที่ซ่อนไพ่ไว้ในมือราชนิกูลอายุ 64 คือ "ใคร ? จะเป็นนายกรัฐมนตรี หากพรรคประชาธิปัตย์รวมกับพรรคเพื่อไทยได้"

เส้นทางการเมืองของ "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ผู้สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ทรงเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญของ "บ้านเมือง" หลายตำแหน่ง อาทิ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ นายกสภาการคลัง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6

แต่ยุคที่นักการเมืองมักถูกมองเป็น "คนสีเทา" คุณชายปรีดิยาธรจึงระมัดระวัง-ประคองตัวเองเป็นอย่างยิ่ง

เขาบอกว่า "มันยากที่จะพยายามเข้าไปอยู่ในวงการเมือง ถ้าก้าวผิดแค่ก้าวเดียวจะกลายเป็น dead man alive มันไม่ง่ายที่จะอยู่รอดทางการเมือง"

"หม่อมอุ๋ย" สรุปภาพคนการเมืองว่า "...ภาพลักษณ์ของคนคนหนึ่ง ทุกอย่างทั้งหมดอาจเปลี่ยนไป ในวงการเมืองเหมือน Perception is reality คนรับรู้อย่างไรก็คิดว่าความจริงเป็นแบบนั้น ในการเมืองคนเดียวไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ต้องเป็นหนึ่งในพวกเขาถึงจะทำอะไรได้"

ภาพลักษณ์ของเมืองไทย-ผู้นำ ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" จึงยังต้องการ "อัศวินม้าขาว"

"เมืองไทยต้องหาผู้นำมีวิสัยทัศน์ ปฏิบัติงานได้จริงตามแผนและนโยบายที่วางไว้ ผู้นำต้องมีความเข้าใจว่า เมืองไทยต้องเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจประเทศผู้ผลิต เป็นประเทศผู้ค้า-ขาย...จนถึงปัจจุบันยังหาผู้นำแบบนี้ ไม่ได้ การเมืองไทยแย่กว่าการเมืองในอิตาลีเสียอีก" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

แม้ไม่ใช่ "คนใน" แต่ "หม่อมอุ๋ย" อ่านการเมืองแบบไม่ใช่ "คนนอก"

เขาบอกว่า พรรคประชาธิปัตย์เก่งด้านการเมือง แต่ไม่ได้สนใจเรื่องเศรษฐกิจ และไม่มี know how เรื่องเศรษฐกิจ

พรรคเพื่อไทย ในสายตา "หม่อมอุ๋ย" เป็นพรรคที่ไม่มีตัวหัวหน้าพรรคชัดเจน หากหาหัวหน้าคนใหม่ที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ และได้รับการยอมรับจากสังคมก็จะได้ดี

"พรรคภูมิใจไทย เก่งเรื่องสร้างความมั่งคั่ง คิดว่าพรรคนี้อย่างไรก็คงจะได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ได้สนใจว่าใครจะมาเป็นผู้นำ"

เขาวิเคราะห์ปรากฏการณ์พรรคเล็กรวมกันเป็นขั้วใหญ่ว่า "เป็นสูตรใหม่ที่คงจะพยายามหาผู้นำ ถ้าสำเร็จก็จะดี"

ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา-ที่มั่นของพันธมิตร "หม่อมอุ๋ย" อยู่ในฐานะได้เปรียบที่สุด "หากพรรคนี้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลไปอยู่กับใครก็ได้ เขาเป็นผู้นำที่ดี แต่ไม่น่าจะได้เป็นผู้นำในรัฐบาล"

คุณชายจึงถูกคาดหมายให้เป็น "หัว" ของพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 2 พรรค

............................


ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร "กองทัพ-สถาบันปรับตัวมาตลอด"

คนการเมืองที่สืบเชื้อสายจากสายพระโลหิตรัชกาลที่ 4 มีไม่น้อยกว่า 4 คน จาก 4 ราชตระกูล

ทั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล-นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (จากราชตระกูลสวัสดิวัตน์) และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล

ยุคที่พรรคการเมืองเล็ก-ใหญ่ถึงคราว "หัวขาด"

สปอตไลต์ฉายจับ "คนมีเชื้อ-มีแถว" อีกครั้ง

สนทนากับนักการเมืองผู้สืบเชื้อสายจากกรมพระนครสวรรค์วรพินิต แห่งราชตระกูล "บริพัตร" ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง-การทหาร ใน 2 รัชกาล ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 6 และเป็นองคมนตรี อภิรัฐมนตรี ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ 7

บุคคลที่ถูกคาดหมายว่าอาจได้เป็น "หัว" พรรคประชาธิปัตย์ในอนาคต

แม้คุณชายสุขุมพันธุ์-จะออกตัวบอกว่า "ตอนนี้ยังมีหัวหน้าพรรคคนเก่าอยู่เลย"

l เรื่องไพร่-อำมาตย์ ในทรรศนะที่ท่านเป็น ม.ร.ว. มองเรื่องนี้อย่างไร

ผมไม่เห็นด้วย...แม้บางอย่าง ผม อาจจะเห็นด้วย แต่บางอย่าง ผมอาจจะไม่เห็นด้วย...ไม่ใช่ว่าพูดคุยกันรู้เรื่องแล้ว จะเห็นด้วยกันทุกเรื่อง มันไม่ใช่...

ในเมืองไทย ความเป็นอำมาตย์ คืออะไร เมืองไทย สังคมไทย มีความยืดหยุ่นอย่างมาก ในการขึ้นบันไดสังคม เพราะทำได้โดยที่ผู้ขึ้น บันไดสังคม ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ หรือครอบครัวที่เป็นอำมาตย์นะครับ

อย่างท่านประธานองคมนตรี ครอบครัวท่าน เดิมก็ไม่ใช่อำมาตย์... ท่านก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยเดิม อาจจะเรียกว่าสมเด็จเจ้าพระยาก็ได้นะครับ

ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านนายกฯ ชวน อำมาตย์หรือเปล่า ? ท่านก็เป็นลูกชาวบ้าน แต่ท่านก็เป็นนายกรัฐมนตรี...

สำหรับผม ความเป็นไพร่ เป็นอำมาตย์ มันไม่ได้อยู่ที่ภูมิหลังของครอบครัว แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัย...คนเรา ภูมิหลังครอบครัวเป็นไพร่ แต่ทำตัวเป็นอำมาตย์ที่ดี ในที่สุดก็พัฒนาตัวเป็นอำมาตย์ที่ดีได้ แต่บางคนที่ภูมิหลัง ครอบครัวเป็นอำมาตย์ แต่เขาอาจจะทำตัวเป็นไพร่ก็ได้

ความเป็นไพร่-อำมาตย์ในสังคมไทย มันไม่ได้ขีดเส้นชัดเจน เหมือนกับหลายสังคมในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วย หากบอกว่าคนโน้นคนนี้ไม่ดีเพราะเป็นอำมาตย์ คนโน้นคนนี้เป็นอำมาตย์...แล้วพวกเราคือไพร่...ผมไม่เห็นด้วย

- กลุ่มความคิดเสื้อแดงมีหลายเฉด บางกลุ่มใช้ถ้อยคำที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นสถาบัน ท่านคิดว่าควรดำเนินการอย่างไร

กฎหมายก็มีอยู่แล้ว ถ้าทุกฝ่ายดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็ไม่มีปัญหาอะไร

- การเมืองจะบานปลายหรือไม่ หากยังมีบางกลุ่มยั่วยุโจมตีสถาบัน

ปัญหาอยู่ที่คน ถ้าคนไปฟังคนอื่นแล้วเชื่อทันที เชื่อทุกอย่าง ก็เป็นปัญหาของคนนั้นนะครับ คนเราต้องมีวิจารณญาณบ้าง รักใคร ชอบใคร ก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อเขาเต็มร้อยนี่ครับ

- มีนักวิชาการพูดถึงการจัดความสัมพันธ์ของทุกสถาบัน กองทัพ และสถาบันเบื้องสูงด้วย

ก็ต้องเป็นเรื่องของส่วนรวม ถ้าส่วนรวมคิดว่าจำเป็นต้องปรับ ก็ปรับสิครับ เพราะส่วนรวมก็มีตัวแทนอยู่แล้ว ก็คือรัฐสภา ไม่ใช่เป็นความเห็นของคนไม่กี่คน

ไม่ว่าเราจะชอบ หรือไม่ชอบสถาบัน กองทัพ แต่สถาบัน กองทัพ ก็เป็นของประเทศชาติ ของส่วนรวม ฉะนั้น จะปรับ หรือไม่ปรับยังไง ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน แต่ขึ้นอยู่กับตัวแทนของ ปวงชนชาวไทย

มันก็ไม่แปลกอะไรนี่ครับ สถาบันทั้งสองก็ปรับตัวมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2475 สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ปรับตัวมาโดยตลอด อย่างน้อยที่สุด ตั้งแต่ช่วงปลาย ของขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2535 สถาบันกองทัพก็ปรับตัว

การปรับตัว ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ แต่ว่าการปรับความสัมพันธ์ ก็ต้องทำโดยตัวแทนของประชาชน ไม่ใช่คนไม่กี่คน บอกว่าจะทำโน่นทำนี่

สถาบันทั้งสองที่พูดถึง ปรับตัวเอง มาตลอด ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องที่โอ้โห... คนบอกว่าไม่เคยปรับเลย...สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนมิถุนา 2475 และหลัง 2475 ก็ต่างกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ และหลังรัชกาลที่ 9 ขึ้นครองราชย์ ก็แตกต่างกัน

คือไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิดว่า เป็นประเด็นใหม่ ที่จะต้องหยิบยกขึ้นมา...มันไม่ใช่ เพราะสถาบันทั้งสอง ก็ปรับตัวมาโดยตลอดด้วยตนเอง แต่ถ้าคนนอกอยากให้ปรับ ก็ต้องสามารถพูดได้ว่า ตนจะทำในฐานะอะไร


ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

"ปุระชัย"เปิดใจ หวนการเมือง-ช่วยแก้ปัญหาชาติ

ปุระชัย เปิดใจถึงการกลับสู่การเมืองอีกครั้ง เพราะห่วงและต้องการช่วยแก้ปัญหาประเทศ ปฏิเสธเป็นพรรคสาขาเนวิน ชิดชอบ พร้อมเปิดตัวร่วมพรรคประชาสันติ 2 เม.ย. เป็นทางเลือกใหม่

ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรมว.มหาดไทยและอดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทยกล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาถึงจะไม่ได้ทำงานการเมือง แต่ยังทำด้านวิชาการ งานวิจัย และให้คำปรึกษากับคนการเมือง ซึ่งตนและคนรู้จักมักคุ้นได้นั่งคุยกัน เห็นว่าประเทศน่าจะมีทางเลือกใหม่ ซึ่งหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาลงไปสัมผัสกับประชาชน เห็นกระแสชัดเจนบางคนบอกว่าจะไม่เลือกใคร จะกาโนโหวต เราก็กลับมานั่งคุยกันวงเล็กๆ ว่าหากคนกลุ่มหนึ่งยอมเสียสละเข้ามาเป็นทางเลือก ไม่ใช่ซ้ายหรือขวา ก็อยู่ที่ประชาชนจะพิจารณา ไม่เลือกก็ไม่มีปัญหาเรื่องก็จบเร็ว จบง่าย ถ้าเลือกเราก็เรื่องยาว ได้คุยกันมาหลายรอบมีนายนพดล อินนา คนสนิทของผม เป็นผู้ประสาน ที่ผ่านมามีหลายพรรคติดต่อผมเยอะ ทั้งพรรคขนาดเล็ก ขนาดกลาง แต่งานการเมืองสิ่งสำคัญคือต้องมีอุดมการณ์คล้ายกัน

ตอนเข้าร่วมตั้งพรรคไทยรักไทยก็เป็นอุบัติเหตุ เดิมนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาชวนสร้างมหาวิทยาลัยชินวัตร แต่ทำไปทำมามีการตั้งพรรคไทยรักไทย ก็เข้าไปช่วย สถานการณ์ตอนนี้คล้ายตอนนั้น มีคนถามว่าถ้าเลือกตั้งตอนนี้พร้อมหรือไม่ ตนก็ตอบเหมือนสมัยตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ๆว่า พร้อมเท่าที่พร้อม ส่วนเรื่องพรรคประชาสันติ อยากให้นายเสรี สุวรรณภานนท์ รักษาการหัวหน้าพรรคดำเนินการไป เพราะใจจริงอยากอยู่ช่วยหลังฉาก ดีเสียอีกไม่ต้องแจงบัญชีทรัพย์สิน เพราะเป็นภาระงานหลังฉากดีที่สุด

ที่มา.เนชั่น
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุเทพ..ขวางต่างชาติสังเกตุการณ์ เลือกตั้ง‘สดศรี’นำร่องทิ้งกกต.

“สดศรี” เตรียมทิ้งเก้าอี้ กกต. หากได้รับเลือกเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย บ่นเบื่อการเมืองมีแรงกดดันมากแถมยังมีบรรยากาศแปลก หวั่นอยู่ต่อจัดเลือกตั้งต้องติดคุกซ้ำรอย กกต. ชุด “วาสนา” ย้ำเมื่อมีทางออกที่ดีกว่าก็ต้องไป จี้นายกฯชี้แจงเหตุผลยุบสภาให้ชัดเจนว่าทำเพื่ออะไรกันแน่ “ประพันธ์-วิสุทธิ์” ยืนยันอยู่ทำหน้าที่ต่อไม่ลาออก ระบุเหลือ กกต. 3 คนยังทำงานได้ตามกฎหมาย ปัดไม่มีใครยื่นตำแหน่งในองค์กรอื่นให้นั่งแลกลาออก “อภิสิทธิ์” ไม่สนยังเดินหน้าสู่เลือกตั้ง ยันวิธีพิเศษแก้ปัญหาไม่ได้ และไม่ว่าจะพิเศษแค่ไหนก็ต้องกลับมาสู่การเลือกตั้ง “จตุพร” ปูดกองทัพตั้งชุดเฉพาะกิจบล็อกคนเพื่อไทยซ้ำรอยเลือกตั้งปี 50 ท้าเป็นกลาง เป็นธรรมจริงต้องให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตการณ์ “สุเทพ” ปัดทันที อ้างคนไทยตรวจสอบกันเองได้ไม่ต้องให้ต่างชาติเข้ามายุ่ง

กระแสข่าวเรื่องจะมีกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลาออกจากตำแหน่งทำให้มีผลต่อการจัดการเลือกตั้งส่อเค้าว่าจะเป็นความจริงมากขึ้น เมื่อนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ อาจลาออกจากตำแหน่งหากได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ได้ไปสมัครไว้

“สดศรี” ระบุมีโอกาสต้องไปก่อน

“ยอมว่าได้ไปสมัครเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายจริง แต่ไม่ได้ทำเพื่อหนีการเลือกตั้ง เพราะยังไม่รู้ว่าจะได้รับการคัดเลือกหรือเปล่า การทำหน้าที่ กกต. ในปัจจุบันมีความยากลำบากมาก ทำอะไรก็สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นประเด็นการเมือง ทำให้ต้องคิดหนัก เช่น เรื่องกฎหมายต่างๆที่ออกก็ไม่รู้ว่าเป็นการวางกับดัก กกต. หรือไม่ ถ้ามีโอกาสไปก็น่าจะไปเสียก่อนในช่วงนี้ดีกว่า” นางสดศรีกล่าวพร้อมย้ำว่า การทำงานต้องดูเวลา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็ควรจะไป คาดว่าจะทราบผลการคัดเลือกกรรมการปฏิรูปกฎหมายเร็วๆนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากไม่ได้รับการคัดเลือกยังจะไปหรือไม่ นางสดศรีกล่าวว่า ไม่แน่อาจจะไปหรือไม่ไปก็ได้ แต่หากถูกกดดันมากๆก็ไป ไม่กดดันมากก็อยู่

ปัดร่วมมือระบอบอำมาตย์

นางสดศรียืนยันว่า แนวคิดเรื่องการลาออกไม่ได้เป็นเพราะร่วมมือกับระบอบอำมาตย์เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้งอย่างที่พูดกัน การที่ กกต. จะลาออกทั้งคณะหรือออกไปบางคนจนทำให้องค์ประชุมไม่ครบไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้ กกต. จัดเลือกตั้งไม่ได้ เพราะสามารถคัดเลือก กกต. ใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนได้ ซึ่งกฎหมายเขียนเอาไว้แล้วว่าหากมี กกต. ลาออกจะต้องหาคนใหม่มาแทน 60 วัน

จี้นายกฯชี้แจงสาเหตุยุบสภาให้ชัด

นางสดศรีกล่าวอีกว่า เท่าที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองพบว่ามีพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา ส่วนจะมีเหตุผลอะไรก็แล้วแต่จะยกมาอ้างกัน การยุบสภาก่อนครบวาระผู้มีอำนาจยุบสภาคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะต้องอธิบายให้ได้อย่างชัดเจนว่ามีเหตุผลอะไร เพราะถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ายุบสภาทำไม

หวั่นติดคุกซ้ำรอย กกต. ชุด “วาสนา”

“ที่คิดมากตอนนี้คือการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ กกต. เหมือนกับ กกต. ชุดที่ 2 หรือไม่ (ชุด พล.อ.วาสนา เพิ่มลาภ) กฎหมายก็ยังไม่เรียบร้อย การเมืองก็ดูแปลกๆ เหมือนจะโยนลูกมาที่ กกต. ทั้งหมด ไม่ได้กลัวแต่เบื่อที่ กกต. ต้องรับทุกอย่าง ที่ไม่สบายใจมากคือเรื่องกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ ซึ่งดูเหมือนว่ามีความพยายามจะไม่ทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง จะให้ กกต. ออกประกาศ ระเบียบมาใช้จัดเลือกตั้ง ที่ผ่านมาใน กกต. ก็มีฉันคนเดียวที่พูดเรื่องนี้ จากนี้หากมีองค์กรอิสระไหนเปิดรับสมัครกรรมการก็จะไปสมัครทุกองค์กร”

“วิสุทธิ์” ยืนยันไม่ลาออก

นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่า หากจะมี กกต. ลาออกจริงไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการเลือกตั้งก็ไม่มีปัญหา เพราะมี กกต. 3 คนก็ทำงานได้ตามกฎหมาย

“ผมยังไม่ได้ข่าวว่าใครจะลาออก และที่ผ่านมาผมก็ไม่มีใครมาติดต่อทาบทามให้ไปรับตำแหน่งในองค์กรอื่น”

เรื่องกฎหมายลูกไม่ใช่ปัญหา

นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานการเลือกตั้ง ยืนยันว่า ไม่มีความคิดจะลาออก เพราะหาก กกต. ลาออกก็จะยิ่งทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากขึ้น ส่วนเรื่องที่มี กกต. บางคนกังวลเรื่องกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับนั้น ขณะนี้สภาได้รับหลักการกฎหมายไปแล้ว แม้จะเสร็จไม่ทันกำหนดยุบสภาเลือกตั้งก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถออกประกาศ ระเบียบใช้จัดเลือกตั้งได้ แต่เชื่อว่าสภาจะเร่งพิจารณากฎหมายให้เสร็จทันก่อนเลือกตั้ง

ไม่มีใครเสนอเก้าอี้ที่อื่นให้นั่ง

“ผมไม่ได้รับการติดต่อทาบทามให้ไปเป็นอะไรที่ไหน และที่ผ่านมาก็ไม่คิดว่าจะไปไหน หากมี กกต. ลาออก เหลือ กกต. 3 คนก็ยังทำงานได้ ไม่มีปัญหาอะไร”

ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเลขาธิการปฏิรูปการเมือง เปิดเผยว่า ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่คร่ำวอดทางการเมืองหลายท่านในช่วงที่ผ่านมา ต่างเห็นตรงกันว่าไม่น่าจะมีการเลือกตั้ง

กูรูการเมืองเห็นพ้องไม่มีเลือกตั้ง

“กูรูทางการเมืองวิเคราะห์ตรงกันว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งก็จะปกครองยาก เพราะยังมีกลุ่มที่คอยแทรกแซงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะสถานการณ์ก็จะยิ่งเลวร้ายหนักลงไปอีก ประเด็นที่สำคัญคือกลุ่มพลังอำนาจหรือทหารไม่ไว้วางใจที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาปกครองอีก ทำให้ไม่มั่นใจการเมืองหลังการเลือกตั้ง”

ผศ.ทวีกล่าวถึงกระแสข่าวการลาออกของ กกต. ว่า น่าจะมีจุดมุ่งหมายให้เหมือนการเลือกตั้งเมื่อเดือน เม.ย. 2549 คือปล่อยให้เลือกตั้งแล้วทำให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ นำไปสู่การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติจะส่งผลดีต่อระบอบอำมาตย์ที่สุด

“มาร์ค” ชี้ “สดศรี” ออกไม่มีปัญหา

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่นางสดศรีจะลาออกจากการเป็น กกต. แต่เท่าที่ดูกฎหมายไม่น่าจะมีปัญหาอะไร กกต. ที่เหลือยังสามารถจัดเลือกตั้งได้

“ผมไม่ทราบจุดประสงค์ของคุณสดศรี แต่ทุกอย่างต้องว่ากันไปตามกระบวนการกฎหมาย” นายอภิสิทธิ์กล่าวพร้อมยืนยันว่า ฝ่ายการเมืองไม่ได้ไปกดดันอะไร กกต. เลย ทุกคนต่างมีหน้าที่ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเอง ที่ไปคุยกับ กกต. ก่อนประกาศกำหนดวันยุบสภาก็เพื่อให้ กกต. มั่นใจว่าจะไม่มีอุปสรรคในการทำหน้าที่

ประชาคมโลกจับตาเลือกตั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่าหาก กกต. ลาออกทั้งหมดจะยังมีเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ประคับประคองให้บ้านเมืองผ่านสถานการณ์มาหลายอย่าง ขณะนี้ประชาคมโลกจับตาดูการเมืองไทยอยู่ ทางที่ดีที่สุดคือเราต้องยืนยันให้ประชาคมโลกเห็นว่าประเทศไทยสามารถเดินตามระบบ ตามกติกาของตัวเองได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ เพราะฉะนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ยอมรับว่ามีบางกลุ่มเห็นไปในแนวทางอื่น แต่ก็ไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะเดินไปอย่างไร

วิธีพิเศษก็ต้องกลับมาเลือกตั้ง

“เรื่องวิธีการพิเศษ แนวทางพิเศษ ผมว่าไม่ว่าจะพิเศษอย่างไรสุดท้ายก็ต้องกลับมาสู่การเลือกตั้ง มันหนีไม่พ้น จะไปช่องทางไหนก็ต้องเลือกตั้ง ขณะนี้ประชาชนล้ากับการเมืองที่ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงเวลาที่จะกลับเข้าสู่ภาวะความปรกติ ทุกคนต้องช่วยกันให้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปรกติ”

ส่วนกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศให้พรรคการเมืองใหม่คว่ำบาตรการเลือกตั้งและจะออกไปรณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกมาเลือกตั้งนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นสิทธิที่ทำได้ ส่วนจะเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองหรือไม่อยู่ที่ว่าประชาชนจะตอบรับหรือไม่

รมว.กลาโหมสั่งทหารเป็นกลาง

พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่า พล.อ.ประวิตรได้ย้ำถึงบทบาทของกองทัพต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่ต้องให้การสนับสนุน พร้อมกำชับให้กำลังพลวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการหาเสียง ให้ผู้สมัครทุกพรรคการเมืองเข้าไปหาเสียงในค่ายทหารได้ และให้พร้อมใจกันออกไปเลือกตั้ง ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น หากได้รับการร้องขอจากรัฐบาลก็พร้อมสนับสนุน

ปูดกองทัพตั้งทีมสกัดเพื่อไทย

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ตั้งคำถามไปยังกองทัพว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทหารจะเข้ามาแทรกแซงเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550 หรือไม่ จะมีการตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาบล็อกหัวคะแนน แกนนำ และผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยอีกหรือไม่

จี้เปิดให้ต่างชาติสังเกตการณ์

“ออกมาประกาศกันว่าเป็นกลาง สนับสนุนประชาธิปไตย แต่เท่าที่ผมทราบมีการตั้งหน่วยเฉพาะกิจลักษณะดังกล่าวขึ้นมาและประชุมกันไปแล้ว 1 ครั้ง จึงอยากถามผ่านสื่อไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่ ที่ผมทราบเพราะมีทหารแตงโมที่ไม่ชอบความไม่ถูกต้องนำข้อมูลมาให้” นายจตุพรกล่าวและว่า คนที่คิดเรื่องนี้เป็นคนเดียวกับที่วางแผนฆ่าประชาชนเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. 2553 อยากถามว่า พล.อ.ประยุทธ์กล้าประกาศหรือไม่ว่าจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้ง ไม่แทรกแซงการจัดตั้งรัฐบาล และเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับควรเปิดให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตการณ์ หากไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตการณ์ก็แสดงว่าเตรียมที่จะโกงกันอีก

อ้างมีข้อตกลงพรรคเล็กเป็นนายกฯ

“ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งเที่ยวนี้โกงกันมโหฬาร ใช้เงินมาก และใช้กลไกทุกอย่างให้พวกตัวเองชนะ เวลานี้มีออพชั่นพิเศษระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. ไม่ถึงครึ่ง นายกรัฐมนตรีจะเป็นของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นแค่พรรคร่วม ตอนนี้กระดี๊กระด๊าเดินสายพบกัน โดยคนที่เสนอออพชั่นนี้คือมือที่มองไม่เห็น”

แปรญัตติกฎหมายลูกเสร็จสัปดาห์หน้า

ที่รัฐสภา นายธนา ชีรวินิจ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 3 ฉบับ แถลงหลังการประชุมนัดแรกว่า ที่ประชุมเลือกนายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในการแปรญัตติร่างกฎหมาย คาดว่าการแปรญัตติจะเสร็จสิ้นในสัปดาห์หน้าแน่นอน

“สุเทพ” ค้านต่างชาติสังเกตการณ์

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับน่าจะประกาศใช้ได้ภายในเดือน เม.ย. ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภาต้นเดือน พ.ค. ส่วนกรณีที่ นปช. เรียกร้องให้ต่างชาติเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้นส่วนตัวไม่เห็นด้วย

“ทำไมพวก นปช. ไม่เคารพในอธิปไตยของประเทศตัวเอง นับถือแต่ฝรั่ง การตรวจสอบการเลือกตั้งคนในประเทศสามารถทำได้อยู่แล้ว” นายสุเทพกล่าวและว่า ทุกฝ่ายควรเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ ไม่สร้างประเด็นใหม่ รวมถึงการพูดเรื่องเงื่อนไขปฏิวัติ การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ควรวิจารณ์อยู่ในกรอบ

“ไตรรงค์” ห่วงนองเลือด

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วัฒนธรรมประชาธิปไตยกับการพัฒนาประเทศ” ที่โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอร์ริน ว่าที่ประเทศเรามีปัญหาทุกวันนี้เพราะยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะนักการเมืองที่ทุกวันนี้มีเงินก็เป็น ส.ส. ได้แล้ว ทำให้นักการเมืองเป็นต้นเหตุหลักของปัญหาในสังคมประชาธิปไตย

“ความขัดแย้งที่แตกแยกเป็น 2 ฝ่ายวันนี้มีนักการเมืองเป็นผู้นำทาง ควรเป็นผู้กำหนดความคิดและการเคลื่อนไหว ผมเป็นห่วงการเลือกตั้ง เพราะการไม่ยอมรับความเห็นแตกต่างอาจนำไปสู่การฆ่ากันได้”

“ชวรัตน์” ยันไม่เกี่ยวข้องประชาสันติ

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยืนยันว่า พรรคประชาสันติไม่ได้เป็นพรรคสาขาของพรรคภูมิใจไทย ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน

“ผมกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาสันติ ไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวและไม่เคยทำงานด้วยกัน เรื่องพรรคสาขาของภูมิใจไทยมีการพูดกันเยอะ ผมเป็นหัวหน้าพรรคยังไม่รู้เลยว่าตอนนี้มีกี่สาขาแล้ว”

นายชวรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ไม่มี ส.ส. ของพรรคย้ายไปอยู่พรรคอื่น มีแต่คนอยากมาร่วมงานกับพรรค คาดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคจะได้ ส.ส. มากกว่าเดิมอีกประมาณ 30 คน เมื่อรวมกับพรรคพันธมิตรอย่างชาติไทยพัฒนาแล้วน่าจะได้ประมาณ 100 เสียง

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทางเลือกใหม่

ในวัน..ทางเลือกหมด!

วาทะแห่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แปลไทยเป็นไทย หยาบคายเป็นภาษามนุษย์ ย่อมหมายความว่า..โห่หาบิดาท่านเหรอ!!! หรือดูจะเบาลงแต่แฝงความหมาย ไว้ในทีอันแสนจะบาดลึก นั่นคือการเลี่ยงบาลีอันผรุสวาทเป็นคำโบร่ำโบราณ ที่ออกเสียงว่า..“จรกา” แม้กระทั่งมวยรุ่นเก๋ารุ่นใหญ่อย่าง “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ยังหลุดปากโพล่ง ออกมาว่า..เลวระยำ!!!

จะมีก็แต่ “จตุพร พรหมพันธุ์” ที่เบื้องแรกดูน่าจะมีลีลาสุ่มเสี่ยงคุก แต่ในเบื้องหลังก็ดูจะใช้วาทะการอภิปรายเป็นผู้ เป็นคนมากกว่ารายก่อนหน้า แต่จะเป็นด้วย เหตุแห่งเหตุในการเหยียบตีนโรงตีนศาล หรือมีชนักปักหลังกรณีติดประกันตัวในชั้น ศาลก็ตามแต่ กระนั้นมันก็ทำให้ “เดอะตู่” ขยับเข้าใกล้มาตรฐานนักการเมืองไทยๆ แบบพรรคประชาธิปัตย์อย่างน่าสังเวชใจพิกล

การเมืองภาครัฐสภาพันธุ์แท้แสดงตนเยี่ยงแอ็กติวิสต์ข้างถนน ส่วนแอ็กติวิสต์ ข้างถนนยกระดับตนเองด้วยข้อจำกัดจนสามารถขึ้นชั้นในทางพฤตินัยกลายเป็นนัก การเมืองเขี้ยวโง้งอย่างเต็มตัว

ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการกลายพันธุ์ที่แปร เปลี่ยนมันก็ล้วนรวมศูนย์มาจาก จริยธรรมและความสำเหนียกทางการเมืองที่ไม่เคย ถูกยกระดับของฝ่ายกุมอำนาจ ที่ท่องคาถา ฝักถั่วเป็นสรณะในทุกครั้งที่ถูกอภิปรายไม่ ไว้วางใจ ก่อนจะใช้ความเก๋าเกมทางการเมืองและระบบพวกมากลากไป จนสุดท้าย และท้ายที่สุดต้องไว้วางใจบนความเจ็บใจ ของประชาชน และก็สามารถเอาตัวรอดอยู่อย่างเนืองๆ ในทุกครั้งไป

ประสาบ้านๆ “หญิงก็ร้าย ชายก็เลว” ในความหมายภาษาการเมืองนั่นย่อมมิต่าง จากการที่ “ประชาชนไว้วางใจเลือก ขโมยมาจับโจร”

นั่นก็เป็นเหตุผลที่คนชนชั้นกลางที่ไม่ เอา “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” แต่ก็ไม่ชอบประชาธิปัตย์ ยังคงต้องจำใจลงคะแนนให้มวยป้อมค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผมในวันที่ประเทศนี้ไม่มีทางเลือกมาก กว่าที่ควรจะเป็น ในทางกลับกัน มันก็เป็น เหตุผลเดียวกันที่ชนชั้นรากหญ้าปักใจเชื่อ อยากมั่นคงในนโยบายประชานิยมของ “นายใหญ่” เพราะที่ผ่านมาประชาธิปัตย์ไม่เคยสร้างมรรคผลให้คนจนจับต้องได้

สรุปคือประชาชนไม่สามารถไว้วางใจ นักเลือกตั้งนักการเมืองพันธุ์ไดโนเสาร์ อุปนิสัยศรีธนญชัยจำพวกนี้ได้ โฟกัสทั้ง หมดทั้งมวล จึงกลายเป็นเหตุแห่งการเฝ้ารอทางเลือกใหม่ ที่จะสามารถทะลุกลางปล้องเฉกเช่นพรรคไทยรักไทยแต่ในวงเล็บต้องไม่ออกลายจนต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศ

จะว่าไปแล้ว ฝ่ายกุมอำนาจประเทศตัวจริงไม่ต่างจากป้อมปราการที่พรรคทางเลือกใหม่ ต้องมีภารกิจผ่าทาง ตันและต้องไม่ติดหล่มแห่งอำนาจ และฝ่าฟันไปข้างหน้าเพื่อเป็นความหวังของ ประชาชนให้ได้

อย่างไรก็ดี ในวันที่ทางเลือกหมด ได้ปรากฏพรรคทางเลือกใหม่ที่กาลเวลา จะเป็นผู้พิสูจน์ว่าป้อมค่ายการเมืองเหล่านั้น จะจัดอยู่ในสเปกใดระหว่าง “ของจริง” หรือ “ของเก๊”

“ธรรมมาธิปัตย์” ที่ในภายหลังเปลี่ยนมาเป็น “ประชาสันติ” อันมีชื่อของ “มิสเตอร์ไม้บรรทัด-ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์” เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันใน ฐานะหัวหน้าพรรค

โบแดงอันดีเลิศประเสริฐศรีเกินมาตรฐานนักการเมืองชั่ว จนพวกพ้องไม่เล่นด้วยก่อนจะถูกเตะตัดขา นั่นย่อม บ่งบอกถึงผลงานระดับมาสเตอร์พีซที่แม้กระทั่งสาวๆ สายเดี่ยวยังต้องระแวด-ระวังก่อนออกจากบ้าน แถมการมาครั้ง นี้ “บิ๊กปุ” ไม่ได้มาแบบไร้ต้นทุน เพราะมีบิ๊กเนมอย่าง “พันธุ์เลิศ ใบหยก” และ “เสรี สุวรรณภานนท์” ร่วมอยู่ในหัวขบวน ส่งผลให้ “ประชาสันติ” ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกม้านอกสายตาอย่างพรรคเล็กพรรคน้อยที่เกิดและตายดับไป ก่อนหน้านี้

“มาตุภูมิ” ภายใต้การบัญชาการ ในรูปแบบ “ลับ ลวง พราง” ของ “บิ๊ก บัง-พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” ถือเป็น อีกหนึ่งพรรคที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผนวกกับละแวกปากน้ำ ที่ว่ากันว่าได้ทีมเศรษฐกิจมือดีอย่าง “สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์” มาร่วมหัวจมท้าย แถมยังมีเบอร์ เด็ดๆ ที่ยังคงอุบไต๋ไว้รอบิ๊กเซอร์ไพรส์ พรรคมาตุภูมิจึงจัดอยู่ในสารบบทางเลือก ใหม่ที่ไม่ธรรมดา

อย่างไรก็ดี ในความคาดหวังแห่ง ทางเลือกอันเป็นทางรอดของประเทศ คงยากที่จะผ่านป้อมปราการแห่งการ เมืองเก่าในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง กระนั้นก็ตาม หากว่ากันในเรื่องการแจ้ง เกิด “ประชาสันติ” และ “มาตุภูมิ” ถือเป็นพรรคทางเลือกใหม่ในวันที่ทางเลือก หมดของบ้านนี้เมืองนี้

สุดท้ายต้องจับตาให้ดี โดยเฉพาะวันปล่อยผีบ้าน 111 พรรคใหม่ ถอดด้ามทั้ง 2 ป้อมค่าย จะกลายเป็น นวัตกรรมทางการเมืองชิ้นใหม่ในวันที่ประชาชนกำลังสำลักการเมืองน้ำเน่า หากไม่ออกลายนอมินีจนต้องวายสิ้นไปเสียก่อน!!!


ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ณัฐวุฒิ..

โดย. ปราปต์ บุนปาน

หลังได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามคำสั่งศาลอาญา แกนนำ นปช.ระดับ "แม่เหล็ก" อย่าง "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" ก็ขึ้นปราศรัยใหญ่บนเวทีการชุมนุมหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมาแล้ว 2 ครั้ง

เป็นการขึ้นปราศรัยในช่วงเวลาตี 2 ทั้งคู่ นัยว่าคือกลยุทธ์ดึงดูดคนเสื้อแดงให้ปักหลักบนถนนราชดำเนินจนการชุมนุมเลิกรา

และดูเหมือนกลยุทธ์ดังกล่าวจะประสบผลสำเร็จด้วยดี

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ ณัฐวุฒิและแกนนำ นปช. ถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก "แดงเสรีชน" จำนวนไม่น้อย ถึงปัญหาแนวทางการต่อสู้แบบ "ประนีประนอม"

กระทั่งบางครั้งเกิดความเชื่อว่าแกนนำหรือการ์ด นปช. อาจร่วมมือกับอำนาจรัฐในการสอดส่องคนเสื้อแดงบางกลุ่ม

จนส่งผลให้เป้าหมายซึ่งคนเสื้อแดงบางส่วนคาดหวังไว้ อาจกลายสถานะเป็นเพียงปลายทางที่เดินไปไม่ถึง

นี่เป็นกระบวนการถกเถียงและคลี่คลายตัว ที่ขบวนการประชาธิปไตยซึ่งเต็มไปด้วย "ความหลากหลายภายใน" จำเป็นต้องเผชิญ

นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่าณัฐวุฒิ, แกนนำ นปช. และพรรคเพื่อไทย อาจกำลังเผชิญหน้าอยู่กับปัญหาอีกชุดหนึ่ง อันแตกต่างไปจากคนเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆ

แต่ถึงที่สุดแล้ว ณัฐวุฒิก็ต้องก้าวเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ด้วยฐานะกำลังสำคัญในการปราศรัยหาเสียงของพรรคเพื่อไทยอยู่ดี

หากมองย้อนกลับไป เส้นทางทางการเมืองของเขามีความน่าสนใจอยู่มิใช่น้อย

จากนักโต้วาที และนักแสดงในรายการ "สภาโจ๊ก" สู่นักการเมืองตัวเล็กๆ ที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

ทว่าสถานการณ์หลังรัฐประหาร 2549 และสภาวะทางการเมืองหลังการยุบพรรคพลังประชาชน กลับค่อยๆ หล่อหลอมให้ณัฐวุฒิกลายเป็นนักการเมืองและนักต่อสู้บนท้องถนนคนสำคัญ

ผู้พัฒนาลีลาการพูดจาและองค์ความรู้ทางการเมืองไทยขึ้นมาอย่างน่าจับตามอง

เขาได้ใจจากแม่ยก ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการบางส่วน

ขณะเดียวกัน มีการปราศรัยของณัฐวุฒิซึ่งถูกยกให้เป็น 1 ในคำปราศรัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่

ที่สำคัญ หากไม่มีอะไรผิดพลาด ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อาจได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในอนาคต

น่าสังเกตด้วยว่า นักการเมืองหนุ่มที่ไม่ได้มีประวัติครอบครัวและประวัติการศึกษาน่าสนใจอย่างณัฐวุฒิเติบโตขึ้นมาในจังหวะรวดเร็วก้าวกระโดด ท่ามกลางสภาวะ "อปกติ" ของระบอบประชาธิปไตยไทย

ที่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งถูกทำรัฐประหาร, พรรคการเมืองหลายพรรคที่มีฐานคะแนนเสียงจากประชาชนถูกยุบ และนักการเมืองชุดใหญ่ถูก "ชำระล้าง" ออกจากเวทีการเมืองที่ถูกมองว่าสกปรกโสมม

ถ้าวงจรผิดปกติเช่นนั้นหมุนย้อนกลับมาอีกหน

สังคมการเมืองไทยก็อาจให้กำเนิด "ณัฐวุฒิ" ขึ้นมาอีกหลายคน

และคาถาต่อต้านอำนาจนอกระบบแบบทีเล่นที่ว่า "อียิปต์ ตูนิเซีย ลิเบีย ลิเบีย ตูนิเซีย อียิปต์"

ก็อาจมีความหมายในเชิงทีจริงมากยิ่งขึ้น


ที่มา.มติชนออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

หมดยุคเผด็จการ !!??

คำกล่าวที่ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้สำหรับการเมืองไทย” ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อหรือจิ้งจกทักเท่านั้น แต่เป็นกระแสการเมืองที่มีมาหนาหูในระยะนี้ แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันจะยุบสภาประมาณต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากรัฐสภาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการเลือกตั้ง 3 ฉบับแล้ว

การที่นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ เลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 หากเกิดสุญญากาศขึ้น เช่น หากรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการเลือกตั้ง 3 ฉบับได้ทันภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลาออกทั้งคณะหากมีการบังคับให้ กกต. ต้องออกระเบียบเพื่อใช้ในการเลือกตั้งแทนการใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจขึ้นมา

โดยจะเป็นไปตามเงื่อนไขของแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ออกมาเรียกร้องให้งดใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมือง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปฏิวัติรัฐประหารอีกครั้งนั่นเอง

แม้จะเป็นไปได้ยากในท่ามกลางประชาคมโลกที่ต่อต้านอำนาจเผด็จการ แต่การปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้งกองทัพก็อ้างว่าเป็นการปฏิวัติรัฐประหารแบบไทยๆ ไม่ใช่ระบอบเผด็จการเยี่ยงบางประเทศ และเป็นหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาบ้านเมือง

โดยเฉพาะโครงสร้างอำนาจของสังคมไทยที่ไม่ใช่มีแค่กองทัพ แต่ยังมีกลุ่มชนชั้นสูงและกลุ่มทุนที่มีความสัมพันธ์และยึดโยงผลประโยชน์กันอย่างแนบแน่น การปฏิวัติรัฐประหารจึงไม่ใช่แค่เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันหรือนักการเมืองชั่วเท่านั้น

แม้ทุกฝ่ายจะตระหนักดีถึงหลักเกณฑ์ประชาธิปไตยว่าต้องปกครองโดยหลักนิติรัฐและนิติธรรมที่เป็นธรรมและเสมอภาค และอำนาจต้องมาจากประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่กองทัพหรือกลุ่มอำนาจหนึ่งกลุ่มใด และไม่ใช่เผด็จการ

ประชาธิปไตยของไทยเกือบ 80 ปีตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็ยังวนเวียนอยู่กับการปฏิวัติรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งไม่ได้ทำให้การเมืองหรือระบอบประชาธิปไตยดีขึ้นเลย

การเมืองไทยยังวนเวียนอยู่กับวงจรอุบาทว์ภายใต้กลุ่มอำนาจเดิมๆ นักการเมืองก็ยังทุจริตคอร์รัปชันและคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง การปฏิรูปประเทศจึงไม่ใช่กลับไปหาอำนาจเผด็จการ แต่ต้องทำให้ประชาชนมีอำนาจในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

ที่มา. หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

เงียบทั้งงาน! แอ๊ด คาราบาว เขวี้ยงกีตาร์ทิ้งกลางสีสัน อวอร์ด "เคลียร์" สุดเจ๋งคว้า 3 รางวัล


แอ๊ด คาราบาว ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตรุ่นเดอะ ทำเอางานประกาศรางวัลสีสัน อวอร์ดปีล่าสุดเงียบกันทั้งงาน เมื่อน้าแอ๊ดเขวี้ยงกีตาร์ทิ้งสนั่นเวทีหลังจากเล่นคอนเสิร์ตขั้นเวลาก่อนประกาศรางวัลหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม

งานประกาศรางวัลสีสัน อวอร์ด ครั้งที่ 23 ประจำปี 2553 เมื่อคืนวันที่ 23 มี.ค. ที่โรงแรม ทาวน์ อิน ทาวน์ มีศิลปินมาเข้าร่วมงานมากมาย พร้อมกับเกิดเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นด้วย

โดยก่อนที่จะประกาศรางวัลใหญ่ท้ายงานมีการแสดงคอนเสิร์ตของวงคาราบาว เต็มวง ในเพลงเฒ่าทะเล ขับร้องโดยปรีชา ชนะภัย หรือเล็ก คาราบาว เมื่อจบเพลงวงคาราบาวก็เตรียมลงจากเวที ให้มีการประกาศรางวัลต่อ แต่"ดีเจโด๋ว" มรกต โกมลบุตร ดีเจคลื่นแฟตเรดิโอ 104.5 ได้กล่าวเชิญชวนกลุ่มผู้ร่วมงานปรบมือเรียกร้องให้วงคาราบาว ที่มากันครบวง ขึ้นมาบรรเลงเพลงต่อ ซึ่งแอ๊ด คาราบาว นักร้องนำของวง และสมาชิกก็ขึ้นมาตามคำเรียกร้องทันทีด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และกล่าวหยอกเย้ากับผู้ชมอย่างสนุกสนาน แต่หลังจากนั้นเพียงครู่เดียว แอ๊ด คาราบาวที่ขึ้นมาสะพายกีตาร์ทำท่าจะเล่นต่อ ก็ถอดสายสะพายเขวี้ยงกีตาร์ทิ้งลงเวทีอย่างสนั่นหวั่นไหว และเดินลงจากเวที ทำเอางาน"สีสัน อวอร์ด"เงียบกริบกันทั้งงาน

หลังจากนั้น ดีเจโด๋วก็เห็นท่าไม่ดีรีบกล่าวดำเนินรายการต่อทันที

ทั้งนี้ หลังจากจบงานประกาศรางวัล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไม่พบตัวแอ๊ด คาราบาว เจ้าของท่าทุ่มกีตาร์ โดยเจ้าตัวได้เดินทางออกจากงานหลังจากลงจากเวที่ ผู้สื่อข่าวเผยด้วยว่า นายกีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร หรือเขียว คาราบาว สมาชิกในวงที่มาร่วมเล่นคอนเสิร์ตได้เปิดเผยว่า ตนเห็นเหตุการณ์แต่ยังไม่รู้สาเหตุของพฤติกรรมของแอ๊ด คาราบาวในครั้งนี้ อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามโทรฯไปหาแอ๊ด เพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าตัวก็รับโทรศัพท์แต่เกิดสัญญาณขัดข้อง หลังจากนั้นก็ไม่สามารถติดต่อได้อีก

สำหรับผลการประกาศรางวัลเป็นวงเคลียร์ วงร็อคมากฝีมือกวาดไปมากที่สุดถึง 3 รางวัลได้แก่ เพลงยอดเยี่ยม(รักไม่ต้องการเวลา), อัลบั้มยอดเยี่ยม (Brighter Day) และ ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม จากการเข้าชิงทั้งหมด 4 รางวัล เฉือนบอดี้แสลม วงร็อคขวัญใจวัยรุ่นแห่งยุคที่รับ 2 รางวัลคือ เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม (คิดฮอด) และ เพลงร็อคยอดเยี่ยม (คราม) จากที่เข้าชิงทั้งหมด 4 รางวัลเช่นกัน

สำหรับรางวัลของชาวร็อคเกิดพลิกโผเล็กน้อยเป็นแบรนด์ นิว ซันเซ็ท ศิลปินพังค์ ร็อคและอีโมที่กลายพันธุ์พัฒนาจากวงการใต้ดินผงาดเหนือเมฆขึ้นรับรางวัลศิลปินกลุ่มร็อคยอดเยี่ยม และอัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม

ด้านรางวัลชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวตกเป็นของ อ๊อฟ ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ จากอัลบั้ม Life is Beautiful และลุลา จากอัลบั้ม Twist โดยศิลปินเสียงสวยเจ้าแม่บอสซาโนว่า และเพลงชิว รับรางวัลที่ 3 จากทุกเวทีตั้งปีขึ้นปี 2011

สรุปผลการประกาศรางวัล

เพลงยอดเยี่ยม "รักไม่ต้องการเวลา"- เคลียร์
เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม "คิดฮอด" - บอดี้แสลม
อัลบั้มยอดเยี่ยม : "Brighter day" - เคลียร์
ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม : อ๊อฟ ปองศักดิ์
ศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม : ลุลา
ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม : โอเวอร์มี
ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม : เคลียร์
ศิลปินกลุ่มร็อคยอดเยี่ยม: แบรนด์ นิว ซันเซ็ท
อัลบั้มร็อคยอดเยี่ยม : Welcme Home - แบรนด์ นิว ซันเซ็ท
เพลงร็อคยอดเยี่ยม : "คราม" - บอดี้แสม
เพลงบรรเลงยอดเยี่ยม : "Funk You (Lupus)" - อรรถพล มกรานนท์ หรือป้อม ออโต้บาน
โปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม: อภิไชย เย็นพูนสุข อัลบั้ม Life is Beautiful - ศิลปิน ออฟ ปองศักดิ์




ที่มา.มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

แจงคอป. นักข่าวต่างประเทศยัน สามเหลี่ยมดินแดง-รางน้ำ กระสุนมาจากทหาร

คณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งมีนายสมชาย หอมลออ เป็นประธานเปิดโอกาสให้หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงและซอยรางน้ำ ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤษภาคม 2553 โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตัวแทนกองทัพภาคที่ 1 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ช่างภาพที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เสียหายและหน่วยกู้ชีพ เข้าให้ข้อมูล

โดยพ.อ. เอกรัตน์ ช้างแก้ว รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตัวแทนจากกองทัพซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุ ชี้แจงภารกิจในพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ประตูน้ำ ถนนราชปรารภ ซอยรางน้ำ ว่าได้ตั้งจุดตรวจแข็งแรงขึ้นมาเพื่อป้องกันการซุกซ่อนอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม และคัดแยกผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าพื้นที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยภารกิจเริ่มตั้งแต่วันที่ 8-13 พ.ค. 2553 ซึ่งในวันที่ 12 พ.ค. 2553 มีเหตุการณ์ยิง M-79 ใส่แอร์พอร์ตลิ้งค์ และวันที่ 15 พ.ค. 2553 ผู้ชุมนุมได้ขโมยกระสอบทรายบังเกอร์ของทหารไป และตอนบ่ายมีการชุมนุมกันมากขึ้นที่ประตูน้ำ สะพานจตุรทิศ จึงได้ขอกำลังสนับสนุนเพิ่มคลี่คลายสถานการณ์ และได้ส่งรถน้ำมา แต่ระหว่างทางถูกผู้ชุมนุมยึดรถน้ำสีเขียวไป รถทหารถูกเผาไป 1 คัน และได้ยึดปืนจากทหารไป 2 กระบอก ต่อมาได้คืนมา 1 กระบอกจากผู้ชุมนุมราชประสงค์ และมีนายทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย จากนั้นจึงได้วางกำลัง 2 จุดหลังปั๊มเอสโซ่สองข้างถนน พอตกตอนค่ำลงจะมีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะ เป็นเสียงปืนเล็กยาว ยิงเข้ามาในฐานบัญชาการ และมีเสียงระเบิด M-79 เข้ามาตอนเช้า และมีนายทหารคนหนึ่งถูกยิงที่ขาด้วย RPG บริเวณโรงแรมอินทรา แต่ลูกปืนไม่ทำงาน

รองผู้บัญชาการ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปฏิบัติการณ์มีแหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในตอนเที่ยงคืนของวันที่ 14 พ.ค. 2553 มีรถตู้เช่าวิ่งฝ่าด่านแนวเครื่องกีดขวาง บริเวณโรงแรมอินทรา ทางเจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการเตือน แต่รถตู้ไม่ยอมหยุด ทหารจึงได้ปฏิบัติการใช้กำลัง ด้วยการยิงที่ล้อ แต่ทางรถตู้ก็ไม่หยุด จนกระทั่งมีการใช้กระสุนจริง M 16 ยิงยับยั้ง จนคนขับรถได้รับบาดเจ็บ ซึ่งต่อมานายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ ให้การว่าไม่ทราบว่ามีการตั้งด่านของทหาร จากเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้ามีเสียงปืนดังตลอดเวลา

พล.อ.เอกรัตน์ยืนยันว่าเป็นไปตามขั้นตอน แม้จะมีการประกาศเป็นพื้นที่ใช้กระสุนจริง แต่เป็นเพียงการประกาศเพื่อป้องปรามไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาในบริเวณดังกล่าวเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากเจตนาของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ซึ่งหากเป็นประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว รวมถึงผู้ชุมนุมที่ไม่มีเจตนาเข้ามาทำร้าย เจ้าหน้าที่ก็จะอำนวยความสะดวกให้ แต่หากพบว่ามีเจตนาเข้ามาก่อกวน เจ้าหน้าที่จะยิงกระสุนยางเพื่อเตือนก่อนและจะดำเนินการตามขั้นตอน คือหากใช้กระสุนยางเตือนแล้วยังไม่หยุดการกระทำก็จะใช้กระสุนจริงยิงเพื่อให้หยุดไม่ใช่การยิงเพื่อให้ถึงแก่ชีวิต พร้อมทั้งย้ำว่าทหารไม่มีเจตนาทำร้ายประชาชน

นายพงษ์ไทย วัฒนาวณิชย์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ชี้แจงถึงเหตุการณ์ในวันที่ 15 พ.ค. 2553 ว่า ตนได้ออกปฏิบัติหน้าที่ในตอนเที่ยง พร้อมกับนายไชยวัฒน์ พุ่มพวง (ช่างภาพเดอะเนชั่นที่ถูกยิงที่ขา) ออกตระเวนถ่ายภาพบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ผู้ชุมนุมมีการรวมตัวกันประมาณ 20 คน โดยมีการนำยางรถยนต์มาวางเป็นแนวบังเกอร์ขวางตามถนน แต่เนื่องจากไม่มีแกนนำในการสั่งการ ส่งผลให้ผู้ชุมนุมต้องย้ายยางรถยนต์ไป 2-3 จุด ซึ่งจุดสุดท้ายตั้งอยู่บนถนนหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ จนกระทั่งเวลา 16.00 น. เสียงปืนนัดแรกก็ดังขึ้น ทุกคนเริ่มชะงัก หลังจากนั้นมีเสียงปืนดังเป็นชุดๆ ทำให้ทุกคนวิ่งหาที่หลบ บางคนวิ่งเข้าไปที่ปั๊มน้ำมันเชลล์ บางคนอยู่ที่บังเกอร์ยางรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่นิ่ง เพราะหากมีการเคลื่อนไหวเสียงปืนก็จะดังขึ้นทันที ในส่วนของตนหลบอยู่บริเวณกำแพงข้างถนน จนกระทั่งทราบว่า นายไชยวัฒน์ ถูกยิง จึงพยามติดต่อประสานงานให้นำรถพยาบาลเข้ามาช่วยเหลือ

นายพงษ์ไทย กล่าวต่อว่า เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 20 นาที ก็ไม่มีใครเข้ามาช่วย จนกระทั่งเห็นทหารชุดหนึ่งเข้ามาในพื้นที่จึงเอากล้องวางลงพื้นและเขี่ยออกไปแนวกำแพงที่บังอยู่พร้อมกับตะโกนว่า เป็นสื่อมวลชน หลังจากนั้นมีเสียงนักข่าวหลายคนส่งเสียงมา ซึ่งทหารสั่งให้หมอบลง จากนั้นทหารได้ช่วยเหลือคนเจ็บเบื้องต้น ส่วนช่างภาพคนอื่นถูกไล่ไปอยู่ที่ตั้งศูนย์บัญชาการของทหาร ระหว่างนั้นมีการวิทยุบอกส่วนหน้าว่า “นักข่าววิ่งไปอย่ายิง” ซึ่งก็ได้รับการดูแลให้น้ำให้อาหาร หลังจากนั้นตนได้ไปดูแลเพื่อนที่ถูกยิงที่โรงพยาบาลพญาไท 1 ต่อ จากประสบการณ์การทำงานข่าวมานาน 10-20 ปีทราบดีว่า แนวกระสุนมาจากทิศทางใด ส่วนผู้ชุมนุมนั้นไม่มีอาวุธร้ายแรงขึ้นมาต่อสู้เจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด

นายนิก นอสติทซ์ (Nick Nostitz) นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ชี้แจงถึงเหตุการณ์วันที่ 15 พ.ค. 2553 ว่า ช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ยังไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรง บนถนนราชปรารภ มีทหารตั้งแนวรั้วลวดหนาม ทางผู้ชุมนุมได้มีการนำเอารถน้ำ รวมทั้งยางรถยนต์เข้ามาในพื้นที่ และบางคนถือหนังสติ๊ก ในที่นี้รวมถึงนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้บอกกับตนว่า ตัวเขาเองมีแต่หนังสติ๊กเท่านั้น หลังจากนั้นไม่นานมีเสียงปืนดังขึ้นจำนวนมาก แล้วนายชาญณรงค์ถูกยิงที่แขน ตนบอกให้วิ่งหลบเข้าห้องน้ำในปั๊มน้ำมันเชลล์ และระหว่างที่วิ่งไปก็ถูกยิงที่ขา ในช่วงนั้นมีผู้ชุมนุมวิ่งไปที่ห้องน้ำหลายคน ตนเองพยายามออกจากปั๊มน้ำมันโดยการปีนออกมายืนอยู่หลังกำแพง ในช่วงที่ทหารเข้ามาเคลียร์พื้นที่ ได้ยิงเสียงทหารเรียกให้ผู้ชุมนุมออกมา โดยผู้ชุมนุมบอกว่ายอมแล้วๆ จากนั้นตนจึงตัดสินใจออกจากที่กำบัง โดยได้บอกว่าตนเป็นสื่อมวลชน เพื่อป้องกันทหารเข้าใจผิด แล้วได้ร้องขอให้ทหารช่วยนายชาญณรงค์ออกจากที่นอนอยู่ในห้องน้ำ แล้วทหารก็ดึงนายชาญณรงค์โดยดึงแขนที่ถูกยิงขึ้นมา พร้อมกับบอกว่า “ควรตายที่นี่มากกว่าไปตายที่โรงพยาบาล” จากนั้นนายชาญณรงค์ก็แน่นิ่งไป รวมเวลาที่นายชาญณรงค์ติดอยู่ในปั๊มน้ำมันประมาณ 4 ชั่วโมงและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน ยืนยันว่า เสียงปืนดังมาจากซอยรางน้ำ ซึ่งเป็นแนวของทหารอย่างเดียว ไม่มีมาจากสามเหลี่ยมดินแดงที่ผู้ชุมนุมอยู่เลย


เรียบเรียงจาก เว็บไซต์มติชน และเว็บไซต์กรมประชาสัมพันธ์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ฝันสีทองของ..‘มาร์ค’

ระวังเคลิ้มเห็นภาพ‘ลุงหมัก’

มาตามนัดไม่มีเบี้ยวในทุกคิวที่จัดตั้ง ไร้ซึ่งอาการ “โรคแทรกซ้อน” มากล้ำกราย..สมราคาแห่งฉายา “เทพประทาน” พะยี่ห้อ “เด็กมีของแขวนหลวงพ่อรอด” ที่ชอบหม่ำ “เส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว” เป็นชีวิตจิตใจ

รัฐบาลภายใต้การนำของ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังคงเฉิดฉายบนหัวโขนฝ่ายกุมอำนาจประเทศ ในแบบที่ไม่ มีท่าทีจะเพลี่ยงพล้ำ แม้กระทั่งการอภิปราย ไม่ไว้วางใจที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ เซียนเขี้ยว หน้าโพเดี้ยมยังสามารถจัดฉากบนความทุกข์ร้อนของประชาชน

จนชาวบ้านสับสน ไม่ทราบว่างานนี้.. ใครอภิปรายใครกันแน่???

ตอบโจทย์เจ้าภาพร่วมเกมอำนาจตัวจริงในทุกคำถามแห่งวิธีพิเศษ สอบผ่าน ฉลุยแบบ “วิน วิน” กันทุกฝ่าย ปักหมุดเข็มทิศประเทศใส่เกียร์ห้ามุ่งหน้าไปสู่วันเลือกตั้ง ตามหมายกำหนดการที่ถูกล็อก ไว้ในห้วงปลายมิถุนายนไปจนถึงต้นกรกฎาคมแบบ “ชิลล์..ชิลล์”

ส่วนเงื่อนไขอันไม่เป็นคุณที่เหลือก็ปล่อยให้ “วิชามาร..ระดับเทพ” บริหารจัดการล็อกตายไม่ให้ “ม็อบเหลือง ม็อบแดง” กระดุกกระดิกและขยับเขยื้อนตัวไปไหนได้

จำอวดหน้าม่านเริ่มออกแขก จูบปาก ผสมพันธุ์สร้างราคาโก่งค่าตัว เพื่อให้ได้โควตาเสนาบดีตามที่ใจเป้าประสงค์.. “เตี้ย” อุ้ม “ห้อย” กิน “กล้วย” จนอ้วน “พี” ออกลีลาโชว์ลวดลายเคาะราคาต่อรองหวังให้ “รจนามาร์ค” เสี่ยงมาลัยไปร่วมเสพสมประโยชน์เป็นการตอบแทน

ภาพการตบเท้าในงานเบิร์ธเดย์คุณ แม่ของ “พินิจ จารุสมบัติ” ที่มีคนระดับนำอย่างก๊วน “3 พี” ที่มีสัญญาใจกับ “สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” แห่งรวมชาติพัฒนา ควง ส.ส. ในกระเป๋าเข้าอวยพรวันเกิดผู้หลักผู้ใหญ่ แถมยังมีการปรากฏตัวของท่าน มท.1 “ปู่จิ้น-ชวรัตน์ ชาญวีรกูล” ผู้พ่อ และ “เสี่ยหนู-อนุทิน ชาญวีรกูล” ผู้ลูก บวกกับคนดังอย่าง “วิษณุ เครืองาม” ย่อมเป็นระดับความสัมพันธ์ที่จงใจแสดงออกซึ่งไม่ธรรมดาเลย

ภาพการหัวล่อต่อกระซิกระหว่างอา หลานอย่าง “ผอ.บรรหาร ศิลปอาชา” แห่งชาติไทยพัฒนา กับ “ครูใหญ่เนวิน ชิดชอบ” แห่งภูมิใจไทย ในงานเลี้ยงอาหารเที่ยงของ 2 พรรคอาหลาน ที่โรงแรมสยามซิตี้ ซึ่งบรร ยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น นั่นก็ไม่ต่างจาก การส่งสัญญาณก่อนการเลือกตั้ง ที่จงใจแสดง ออกสู่สาธารณชนอย่างไม่ธรรมดาอีกเช่นกัน

นักการเมืองปรับโหมดประเทศเข้าสู่ การเลือกตั้งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ สนใจภัยพิบัติธรรมชาติถล่มโลก รอเพียงเงื่อนไขสุดท้ายในกติกาเลือกตั้งและการโยกย้ายข้าราชการตกผลึก ตกโบนัสจัดหนักล็อตสุดท้ายให้ทุกฝ่ายเพื่อความเป็นปึกแผ่นและพร้อมเพรียง เมื่อวันนั้นมาถึง ประชาชนคนไทย รอหัวคะแนนวนเวียนมา เคาะประตูบ้านแบบหัวกระไดไม่แห้งได้เลย

ด้วยอาณัติสัญญาณที่สะท้อนออกมา ผ่านวันคือก่อนการเลือกตั้ง มันย่อมพยากรณ์ ล่วงหน้าได้เลยว่า..การเลือกตั้งที่จะบังเกิด ย่อมดุเดือดกว่าทุกครั้งที่เคยมีมาบนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

พรรคร่วมรัฐบาลผนึกกันแน่น แถมมีกระสุนดินดำพร้อมยิงเต็มกระเป๋า ในขณะ เดียวกัน ก็เป็นวันที่ “นายใหญ่” ลอยคอรอคอยความหวังที่จะตีตั๋วเครื่องบินกลับประเทศ แล้วมีหรือท่อน้ำเลี้ยงขนาดมหึมา จะไหลผ่านกองทุนปริศนาซึ่งตั้งอยู่ในสารพัด เกาะที่ใช้ฟอกเงิน และเผอิญเข้ามาลงทุนใน บริษัทน้อยใหญ่ในไทย จะทะลักล้นเข้า สู่สนามเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อันใกล้

กระนั้นก็ตาม มูลค่าเพิ่มจากการเลือกตั้ง มันไม่ได้วัดกันที่กระสุนดินดำเพียง อย่างเดียว และด้วยเหตุด้วยผลแห่งกติกา บุคลากร และการจัดตั้ง ที่พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมรัฐบาลกุมสภาพความได้เปรียบ เอาไว้ได้ทั้งหมด มันย่อมทอดยอดมาเป็นความมั่นอกมั่นใจในการเบิ้ลเก้าอี้นายกฯ รอบสองของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”

ฉันใดฉันนั้น หากว่ากันตามเนื้อผ้าผ่านทฤษฎีเดียวกัน มูลค่าเพิ่มจากการเลือกตั้ง มันก็ไม่ได้วัดกันที่กติกา บุคลากรและการจัดตั้ง ที่จะเป็นบรรทัดฐานเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้อีกเช่นกัน

เนื่องด้วย ตราบใดที่รัฐบาลชุดนี้ ยังไม่สามารถใช้เวลาที่เหลือในการแก้สารพัด ปัญหาที่รุมเร้าประเทศทั้งในทางตรงผ่านน้ำมือนักการเมือง และในทางอ้อมผ่านกระแสผ่านเทรนด์โลกได้

มันก็มีโอกาสเป็นไปได้เหมือนกัน ที่ฝันสีทองของ “นายกฯ อภิสิทธิ์” จะมีสิทธิ์ เคลิ้มจนเผลอไประลึกชาติเห็นเหตุการณ์ครั้งการเลือกตั้งหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน ที่ “อดีตนายกฯ สมัคร สุนทรเวช” ผู้ล่วงลับ นำพาพรรคพลังประชาชน ฝ่าแนวต้านสีเขียว เข้าสู่หอคอยงา ช้างได้ในท้ายที่สุด

ความจริงก็ยังคงเป็นความจริงอยู่วัน ยังค่ำ วันวาน “นายกฯ อภิสิทธิ์” ต้องพ่ายแพ้เพราะ “รัฐบาลขิงแก่” บริหารประเทศ แบบไม่บริหาร จนประชาชนเกิดข้อเปรียบเทียบ และในวันนี้ “รัฐบาลเทพประทาน” บริหารประเทศอย่างไร ประชาชนหรือแม้กระทั่ง เหล่านักเลือกตั้งก็ย่อมรู้แก่ใจตัวเองดีอยู่

อย่างไรก็ดี ถึงนาทีนี้ หากว่ากันตาม ความเพียบพร้อม ก็ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า ประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาลมีข้อได้ เปรียบทุกด้านอยู่ในอุ้งมือ แต่นั่นมันก็ไม่สลัก สำคัญไปกว่าเสียงของประชาชนอันเป็นที่สุด.. ว่าเขาเหล่านั้นจะเดินเข้าคูหาไปเลือกท่าน กลับมาเป็นปากเป็นเสียงแทนเขาหรือไม่???

ยิ่งในวันนี้ เป็นวันที่คนไทยทั้งประเทศกำลังสำลักน้ำเน่าการเมือง เพราะฉะนั้น นักเลือกตั้งยิ่งต้องสังวรณ์ และต้องคิดเผื่อ เนื่องด้วยปาฏิหาริย์แห่ง พลังเงียบมันมีจริง..ขอรับ!!!

ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////