--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บาทผันผวน : จับตา กนง. !!?


ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินประจำวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2556 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 29.82/84 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (17/5) ที่ 29.76/77 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทในช่วงเช้านี้ เงินบาทอ่อนค่าตั้งแต่เปิดตลาดตามทิศทางสกุลเงินต่างประเทศ หลังจากที่นักลงทุนยังคงตอบรับกระแสตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดของตลาดสหรัฐ ประกอบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้ออกมาแสดงความเห็นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า หลังจากรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประชุมหารือเพื่อหาทางออกที่ดีสำหรับความผันผวนของค่าเงินบาท

ปัจจุบันก็รู้สึกพอใจที่เงินบาทเริ่มอ่อนค่าอย่างสมเหตุสมผลและดูมีเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสหนึ่ง ประจำปี 2556 (1/56) เติบโต 5.3% ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.7% โดยเป็นผลมาจากการส่งออกที่ไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เป็นอีกหนึ่งแรงกดดันเงินบาทในช่วงเช้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายหลังจากยุโรปเปิดตลาด ค่าเงินบาทได้เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากไม่สามารถทะยานทะลุแนวต้านที่ระดับ 29.90 บาท/ดอลลาร์ได้ จึงทำให้นักลงทุนเทขายทำกำไรเงินดอลลาร์ออมา ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 29 พ.ค.นี้ ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ทั้งนี้ ตลอดทั้งวันกรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 29.77-29.91 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 29.81/84 บาท/ดอลลาร์

สำหรับค่าเงินยูโรวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 1.2833/34 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (17/5) ที่ 1.2887/88 ดอลลาร์/ยูโร โดยในช่วงเช้าของตลาดเอเชียสกุลเงินยูโรยังคงรับข่าวจากตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่หดตัวรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ และมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลงไปอีก ประกอบกับรับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจลดปริมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) ภายในปลายปีนี้ ซึ่งเป็นผลบวกต่อเงินดอลลาร์สหรัฐและกดดันเงินยูโร อย่างไรก็ดี ในช่วงบ่ายเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้น จากที่นักลงทุนกลับมาซื้อคืนเงินยูโร หลังจากที่เงินยูโรไม่สามารถผ่านแนวรับที่ระดับ 1.2800 ดอลลาร์/ยูโร ได้ ทั้งนี้ ตลอดทั้งวันกรอบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินยูโรระหว่างวันนั้นอยู่ที่ระดับ 1.2820-1.2878 ดอลลาร์/ยูโร ได้ ทั้งนี้ตลอดทั้งวันกรอบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินยูโรระหว่างวันนั้นอยู่ที่ระดับ 1.2820-1.2878 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 1.2869/72 ดอลลาร์/ยูโร

สำหรับค่าเงินเยนวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 102/74/76 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (17/5) ที่ 102.29/32 เยน/ดอลลาร์ ค่าเงินเยนนั้นปรับตัวอ่อนค่าหลังจากที่นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ออกมาให้แสดงความเห็นในช่วงสุดสัปดาห์ว่า เขาจะเป็นพนักงานขายที่ดีที่สุดในการเยือนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลักดันและช่วยเหลืออุตสาหกรรมการส่งออกภายในประเทศให้มากที่สุด แต่หลังจากเปิดตลาดได้ไม่นานสกุลเงินเยนกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากนายอากิระ อามาริ รัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นออกมาระบุว่า รัฐบาลรู้สึกพอใจกับระดับค่าเงินเยนในปัจจุบัน และการอ่อนค่ามากเกินไปของค่าเงินเยนอาจส่งผลเสียและทำลายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงจับตาการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 21-22 พ.ค.นี้ ว่าจะมีการเพิ่มมาตรกรใดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับการดำเนินการของตลาดพันธบัตรเพื่อสกัดความผันผวนในตลาดหรือไม่ ทั้งนี้ตลอดทั้งวันกรอบการเคลื่อนไหวของสกุลเงินเยนระหว่างวันอยู่ที่ระดับ 102.02-103.09 เยน/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ระดุบ 102.54/56 เยน/ดอลลาร์

อนึ่ง ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายงานการประชุมของคณะกรรมการการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) (21-22/5), รายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (เฟด) (22/5), ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่เดือน เม.ย. (23.5), ตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (24/5)

อัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +5.5/5.75 สตางค์/ดอลลาร์ และอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +8.5/9.5 สตางค์/ดอลลาร์

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น