ตลาดการเงินดูจะตั้งรับรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้อย่างใจจดใจจ่อ โดยเฉพาะหลังการเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2556 และแนวโน้มปี 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
โดย สศช. ได้ปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2556 มาอยู่ที่ 4.2-5.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายที่ 5.3% ถือว่าต่ำกว่าที่คาดก่อนหน้า ส่อเค้าถึงสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ภาคต่างประเทศ หลังคำแถลงของ "เบน เบอร์นันเก้" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสปลายสัปดาห์
ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณว่าอาจลดปริมาณเงินซื้อตราสาร ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMA) รอบถัดไป หากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวดีแล้ว
ทั้งนี้ การลดหรือหยุดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของเฟด มีผลสร้างความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกอีกระลอก สะท้อนจากความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าลงสัปดาห์นี้ ตามการคาดการณ์ของธนาคารกสิกรไทยว่า จะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.30 บาท เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
ขณะที่ "ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์" อดีต กนง. ระบุว่า แม้ส่วนตัวมองว่าขณะนี้ไม่ใช่จังหวะลดดอกเบี้ยนโยบาย แม้ตัวเลข สศช.จะออกมาชะลอตัว โดยเฉพาะด้านอุปโภคบริโภครวมไตรมาสแรก ซึ่งอยู่ที่ 3.9% แต่เมื่อดูการเติบโตทั้งปี จีดีพียังมีสัญญาณขยายตัว ยังสูงเหนือ 5% แต่หากให้ประเมินความคิด กนง. ก็มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยนโยบาย
"ถ้าให้ประเมินความคิด กนง. มีโอกาสสูงที่จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ให้เหลือที่ 2.50% เนื่องจาก กนง.ต้องเอาหลักเศรษฐกิจ ความเสี่ยง และอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาพิจารณา"
พร้อมชี้ว่า หากลดดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. ควรมีมาตรการเสริมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดฟองสบู่ เช่น การควบคุมการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน หรือลดวงเงินปล่อยสินเชื่อ เพื่อป้องกันฟองสบู่ในภาคต่าง ๆ
ในฟากผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ "สมิทธ์ พนมยงค์" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายเงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่า กนง.ไม่น่าจะลดดอกเบี้ยรอบนี้ เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยหลักสกัดเงินต่างชาติ และสินเชื่อในประเทศยังเติบโตสูง หากลดดอกเบี้ยลงอาจส่งผลต่อภาคสินเชื่อให้ขยายตัวสูง เสี่ยงกับการเกิดปัญหาเศรษฐกิจได้
"หากลดดอกเบี้ยนโยบายจริง คาดว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงในทันทีหรือปรับลงเล็กน้อย เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องเงินฝากยังคงตรึงตัว ทำให้มีการแข่งขันด้านเงินฝากยังสูง"
ขณะที่ "อภิศมา ณ สงขลา" ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานคอร์ปอเรตไฟแนนซ์ บมจ.บัตรกรุงไทย หรือเคทีซี ระบุว่า หาก กนง.มีมติลดดอกเบี้ย จะเป็นผลบวกต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินของบริษัทที่จะถูกลง เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นต้นทุนหลักในการบริหารจัดการ และส่งผลทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้เป็นปัจจัยบวกต่อต้นทุนการเงิน แต่ต้องดูว่าจะลดลงมากเท่าไหร่
หากลดลงเพียง 0.25% แบงก์พาณิชย์อาจไม่ลดดอกเบี้ยลงตาม หรือลดเล็กน้อย เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ทำให้ต้นทุนการเงินไม่ลดลงมากนัก
สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ที่ว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์แทบไม่ได้รับผลกระทบในเชิงพื้นฐาน หากปรับลดดอกเบี้ยจริง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์น่าจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงเช่นกัน แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเหมือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM)
อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพคล่องระบบธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันที่หดตัวลงเทียบกับในอดีต จึงเป็นไปได้ที่หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงเล็กน้อยไม่เกิน 0.25% ธนาคารพาณิชย์อาจไม่ลดอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากยังจำเป็นต้องแข่งระดมเงินฝาก เตรียมสภาพคล่องไว้รองรับความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้การลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นความต้องการสินเชื่อของประชาชนและภาคเอกชนในประเทศมากขึ้นแต่หากดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญผลต่อการกระตุ้นความต้องการสินเชื่อจะมีไม่มากนักผนวกกับสภาพคล่องที่ลดลง จึงเชื่อว่าธนาคารจะเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังมีความเสี่ยง เช่น การเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือด้านสินเชื่อเพื่อการบริโภคจึงต้องลุ้นต่อไปว่า หาก กนง.จะลดดอกเบี้ยรอบนี้ลงสัก 0.25% แต่ต้นทุนเงินกู้ก็ยังไม่ได้กระตุกอย่างทันทีทันใด กว่าจะเห็นผลของนโยบายดอกเบี้ยก็ต้องรอดูในไตรมาสถัดไป
โดย สศช. ได้ปรับลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2556 มาอยู่ที่ 4.2-5.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายที่ 5.3% ถือว่าต่ำกว่าที่คาดก่อนหน้า ส่อเค้าถึงสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่ภาคต่างประเทศ หลังคำแถลงของ "เบน เบอร์นันเก้" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต่อสภาคองเกรสปลายสัปดาห์
ที่ผ่านมา ส่งสัญญาณว่าอาจลดปริมาณเงินซื้อตราสาร ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMA) รอบถัดไป หากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวดีแล้ว
ทั้งนี้ การลดหรือหยุดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของเฟด มีผลสร้างความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกอีกระลอก สะท้อนจากความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนค่าลงสัปดาห์นี้ ตามการคาดการณ์ของธนาคารกสิกรไทยว่า จะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.80-30.30 บาท เนื่องจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น
ขณะที่ "ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์" อดีต กนง. ระบุว่า แม้ส่วนตัวมองว่าขณะนี้ไม่ใช่จังหวะลดดอกเบี้ยนโยบาย แม้ตัวเลข สศช.จะออกมาชะลอตัว โดยเฉพาะด้านอุปโภคบริโภครวมไตรมาสแรก ซึ่งอยู่ที่ 3.9% แต่เมื่อดูการเติบโตทั้งปี จีดีพียังมีสัญญาณขยายตัว ยังสูงเหนือ 5% แต่หากให้ประเมินความคิด กนง. ก็มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยนโยบาย
"ถ้าให้ประเมินความคิด กนง. มีโอกาสสูงที่จะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ให้เหลือที่ 2.50% เนื่องจาก กนง.ต้องเอาหลักเศรษฐกิจ ความเสี่ยง และอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาพิจารณา"
พร้อมชี้ว่า หากลดดอกเบี้ยนโยบาย ธปท. ควรมีมาตรการเสริมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดฟองสบู่ เช่น การควบคุมการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน หรือลดวงเงินปล่อยสินเชื่อ เพื่อป้องกันฟองสบู่ในภาคต่าง ๆ
ในฟากผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ "สมิทธ์ พนมยงค์" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายเงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่า กนง.ไม่น่าจะลดดอกเบี้ยรอบนี้ เนื่องจากปัจจุบันดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยหลักสกัดเงินต่างชาติ และสินเชื่อในประเทศยังเติบโตสูง หากลดดอกเบี้ยลงอาจส่งผลต่อภาคสินเชื่อให้ขยายตัวสูง เสี่ยงกับการเกิดปัญหาเศรษฐกิจได้
"หากลดดอกเบี้ยนโยบายจริง คาดว่าธนาคารพาณิชย์จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงในทันทีหรือปรับลงเล็กน้อย เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องเงินฝากยังคงตรึงตัว ทำให้มีการแข่งขันด้านเงินฝากยังสูง"
ขณะที่ "อภิศมา ณ สงขลา" ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานคอร์ปอเรตไฟแนนซ์ บมจ.บัตรกรุงไทย หรือเคทีซี ระบุว่า หาก กนง.มีมติลดดอกเบี้ย จะเป็นผลบวกต่อต้นทุนการกู้ยืมเงินของบริษัทที่จะถูกลง เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นต้นทุนหลักในการบริหารจัดการ และส่งผลทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้เป็นปัจจัยบวกต่อต้นทุนการเงิน แต่ต้องดูว่าจะลดลงมากเท่าไหร่
หากลดลงเพียง 0.25% แบงก์พาณิชย์อาจไม่ลดดอกเบี้ยลงตาม หรือลดเล็กน้อย เพื่อรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ทำให้ต้นทุนการเงินไม่ลดลงมากนัก
สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ที่ว่า กลุ่มธนาคารพาณิชย์แทบไม่ได้รับผลกระทบในเชิงพื้นฐาน หากปรับลดดอกเบี้ยจริง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์น่าจะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงเช่นกัน แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเหมือนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM)
อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพคล่องระบบธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันที่หดตัวลงเทียบกับในอดีต จึงเป็นไปได้ที่หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงเล็กน้อยไม่เกิน 0.25% ธนาคารพาณิชย์อาจไม่ลดอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากยังจำเป็นต้องแข่งระดมเงินฝาก เตรียมสภาพคล่องไว้รองรับความต้องการสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้การลดอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นความต้องการสินเชื่อของประชาชนและภาคเอกชนในประเทศมากขึ้นแต่หากดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญผลต่อการกระตุ้นความต้องการสินเชื่อจะมีไม่มากนักผนวกกับสภาพคล่องที่ลดลง จึงเชื่อว่าธนาคารจะเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังมีความเสี่ยง เช่น การเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ หรือด้านสินเชื่อเพื่อการบริโภคจึงต้องลุ้นต่อไปว่า หาก กนง.จะลดดอกเบี้ยรอบนี้ลงสัก 0.25% แต่ต้นทุนเงินกู้ก็ยังไม่ได้กระตุกอย่างทันทีทันใด กว่าจะเห็นผลของนโยบายดอกเบี้ยก็ต้องรอดูในไตรมาสถัดไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น