กระบวนการปรองดองเป็นกระบวน การที่ต้องอาศัยเวลา ความอดทน และ การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและทุกภาคส่วนในประเทศ การดำเนินการใดๆ ของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยพยายามที่จะรวบรัดหรือเร่งรัดกระบวนการปรองดองนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เอื้อต่อบรรยากาศของการปรองดอง
นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ คำว่า “ปรองดอง”..ยังเป็นเหมือนภาพฝันในอากาศ คำพูดที่สวยหรู แต่ขาดความเป็นรูปธรรม.. จนสงสัยว่า..เมื่อไหนคนไทยจะรักกันเสียทีมีนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า ความเห็นที่แต่ต่างทางการเมือง คือวิถีของ ประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าประชาธิปไตยบ้านเราทำไมถึงกลายเป็นความแตกแยก..ชนิดร้าวลึก!!
“ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล” จากสถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงพลวัตของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองว่า ทุกๆ การ เปลี่ยนผ่านทางสังคมการเมืองจะเกิดขึ้นในลักษณะที่สังคมการเมืองเผชิญกับความ แตกแยกร้าวลึกกินวงกว้างระดับประเทศ มีกลุ่มความคิดทางการเมืองสองกลุ่มที่ไม่สามารถเห็นพ้องต้องกันได้ในประเด็น พื้นฐานทางการเมืองปกติที่มีอยู่ เช่น การ ตัดสินโดยเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา
ในขณะเดียวกันก็มีการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อกำราบฝ่ายที่ได้ชัยชนะ เช่น การ เดินขบวนเคลื่อนไหวมวลชน หรือแทรกแซง ทางการเมืองรูปแบบอื่น เป็นต้น
“ในสถานการณ์ปัจจุบันฝ่ายเสื้อเหลืองและฝ่ายเสื้อแดงนั้นมีความคิดกันคนละแบบ ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างก็มีจุดอ่อน โดยแนวคิดของเสื้อเหลือง มีลักษณะ คล้ายรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ประชาชนไม่มี ส่วนร่วม แม้จะมีเสรีภาพแต่อำนาจการตรวจสอบไม่ได้อยู่ที่ประชาชน ในขณะที่ฝ่ายเสื้อแดงในระดับหนึ่งคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ทำให้เสรีนิยมหายไปโดยมีประชาธิปไตยเข้ามาแทรกแซง ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ประชาธิปไตยขณะนี้ เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรีและไม่มีประชาชน อยู่ร่วมด้วย”
ปรากฏการณ์เหล่านี้บ่งชี้ว่า สัญญา ประชาคมที่เคยกำกับความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายนั้นในช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถใช้การได้ และจำเป็นต้องมีการสร้างขึ้นมา ใหม่ เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้สึกถึงความมั่นคงแน่นอนและคาดการณ์ได้ระดับหนึ่งว่า ใครควรทำอะไร มีขอบเขตเพียงใด หรือใครควรตอบสนองใครในเรื่องใดเพียงใด โดยอาศัยเวทีร่วมที่เป็นพื้นที่กลาง ซึ่งมีทั้งอำนาจหน้าที่ ที่ชอบธรรมเพียงพอที่จะ ตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะการอยู่ร่วมกันของเราทุกฝ่ายในอนาคต และเป็นพื้นที่ที่รวมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความ ขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายที่ต้องการคงสภาพเดิมหรือฝ่าย อื่นๆ ด้วย โดยไม่มีการครอบงำจากฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมากเกินไป เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถ เสนอวาระเนื้อหาของตนเองได้เต็มที่
“สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องทำ คือ การฟื้นฟูและสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่ ให้ได้ โดยแต่ละฝ่ายจำเป็นจะต้องยอมเสี่ยง เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ชนิดใหม่ กับผู้ที่เลิกไว้วางใจไปแล้ว” ดร.ชาญชัย กล่าว และว่าแม้กระบวนการดังกล่าวนี้ไม่ง่าย เต็มไปด้วยอุปสรรคและอาจถูก “ป่วน” ได้ตลอดเวลาจากการขัดแย้งกันในเชิงสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นต้องอาศัยเวลา และความอดทนมุ่งมั่น และประคับประคอง กระบวนการทั้งหมดนี้ให้เป็นไปอย่างสืบเนื่อง”
ขณะที่ “รศ.ดร.โคทม อารียา” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเกี่ยวกับสัญญาประชาคมว่า การที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันในเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั่นเสมือนว่า เรามีคำสัญญาว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้ ในกรอบดังกล่าว โดยอาจจะทำเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือไม่ก็ได้
“สำหรับประเทศไทยแล้ว คำว่าสัญญาประชาคมในความหมายของตะวันตก เราไม่ได้ให้ความสำคัญกันมาก แต่เราก็อยู่กันได้ในประวัติศาสตร์มา 700 กว่าปีแล้ว นั่นคือที่ผ่านมาเรามีอะไรบางอย่างที่สามารถยึดเหนี่ยวสังคมนี้ร่วมกัน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้แปลว่า เราไม่มีปัญหา โดยมองว่าขณะนี้เรามัวแต่ทะเลาะ กันมากเกินไป และมีความเสี่ยงที่จะเข่นฆ่า กันอีก ทั้งในถนนของกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สะท้อนว่าความแน่นแฟ้นกลมเกลียวกันในสังคมของเราขณะนี้เปราะบางมาก”
สังคมขณะนี้มองเห็นแต่ความแตกต่าง และมองข้ามสิ่งที่คิดเหมือนกัน เช่น ไม่มีใครเถียง คำว่า “ประชาธิปไตย” แต่เราเถียงกันในรายละเอียด เช่น ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งไม่ดีชวนให้คนทะเลาะกัน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ก็ต้องมาคุยกัน เพื่อสร้างข้อตกลงภายใต้กรอบประชาธิปไตย โดยตัดความระแวงกันว่า ฝ่ายหนึ่งจะล้มล้างประชาธิปไตย หรือล้มเจ้า
ทั้งนี้ รศ.ดร.โคทม กล่าวถึงงาน วิจัยของ ดร.ชาญชัยด้วยว่า จะมีการนำไป เผยแพร่ต่อ พร้อมจะสร้างพลังในทางปฏิบัติที่จะมาช่วยสนับสนุนแนวคิดที่จะสร้างประชาคมใหม่ แนวคิดที่จะเห็นร่วมและผลักดันให้เกิดเพื่อที่จะก้าวข้ามความขัดแย้งที่รุนแรงไปได้
เมื่อถามถึงวิธีการที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้นั้น รศ.ดร.โคทม กล่าวว่า ต้องเริ่มในทางความคิดผ่านนักวิชาการ ต่อมา คือเริ่มในทางปฏิบัติบางอย่างผ่านนักกิจกรรม โดยอาศัยสื่อมวลชนในการช่วยสร้างกระแสในสังคม ที่จะช่วยนำไปสู่การ มีปณิธานทางการเมือง โดยผ่านกระบวนการ จัดเสวนาในระดับรากหญ้าว่า อะไรที่เราเห็นพ้องกันในหลักการสำคัญ เพื่อให้เห็นภาพอนาคตที่พึงปรารถนาของสังคม ขณะเดียวกันคนข้างบนระดับผู้นำก็ต้องมาทำความเข้าใจกับปัญหาที่ค้างอยู่ ที่ทำให้บรรยากาศของความเข้าใจกันไม่เกิดขึ้นจนกลายเป็นบรรยากาศของความ หวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ เอาเปรียบ มีการ แข่งขันกันตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีการพูดคุยกันทั้งสองระดับแล้วก็เชื่อว่าจะทำให้เกิดความเห็นพ้องกันได้ และทำให้เกิดสิ่งที่เรา เรียกว่า สัญญาประชาคมใหม่
ปรากฏการณ์ในแนวทางใหม่ของ การเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นน่าจะเป็นวิถีของประชาธิปไตยที่สวยหรู..หากเรายังดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ง่ายๆ ของความเป็นไทย นั่นคือการให้อภัย..และรู้จักขอโทษซึ่งกันและกัน เชื่อว่าวันนั้นคำว่า “ปรองดอง”..คงไม่ไกลเกินเอื้อม!!..
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น