นับเป็นโอกาสทองของ นักธุรกิจชาวจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียงที่ได้มีโอกาสได้รับฟังแนวคิดและแนวทางของผู้รู้ทางเศรษฐกิจระดับโลกมาคุยให้ฟังอย่าง “ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” เลขาฯ ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน จัดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่ห้องสักทอง โรงแรมแม่ยม พาเลส อ.เมือง จ.แพร่
ชาวแพร่โดยการนำของนายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ข้าราชการภาคเอกชนประกอบด้วย นักธุรกิจน้อยใหญ่เข้าร่วมรับฟัง อย่างสภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีนายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล หอการค้าจังหวัด นางสุด-สวาท มงคลเจริญวงศ์ ส่วนผู้ที่คร่ำ-หวอดในเรื่องธุรกิจการใหญ่อย่างนายสุวิทย์ วงศ์วรกุล ผู้ก่อตั้งสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ก็มาร่วมรับฟัง สำหรับ นักการเมืองท้องถิ่นมี นายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเมืองแพร่
การเดินทางมาของเลขาฯ อาเซียนฯ ที่จังหวัดแพร่ เป็นการมาปาฐกถาพิเศษ “จังหวัดแพร่จะได้รับประโยชน์อย่างไรจาก AEC ตามโครงการเตรียมความพร้อมภาครัฐและเอกชน สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ตามคำเชิญของประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ คือ นายประดิษฐ์ ศศิภัทรกุล งานนี้ แม่เลี้ยงติ๊ก นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือว่าเป็นเจ้าภาพอีกคนหนึ่งได้ถือโอกาสนี้มาร่วมพบปะนักธุรกิจชาวแพร่ ไปด้วย
บรรยากาศในงานเป็นแบบกันเอง ท่านผู้ว่าฯ เกษม วัฒนธรรม ในฐานะพ่อเมืองให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาฯ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะฯ ก่อนมีการปาฐกถาฯ มีการแสดงรำไทยจากโรงเรียนบ้านแม่หล่าย เพื่อสร้างบรรยากาศแบบเมืองเหนือให้ท่านเลขาฯ อาเซียนฯ เข้าถึงบรรยากาศเมืองเหนือด้วย
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งที่ตั้งประเทศไทยตามปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมา ในเรื่องความร่วมมือหลายๆ ด้าน รวมทั้งการลดภาษีระหว่างสมาชิกในยุคแรก การค้าเสรี ในยุคที่ 2 และปัจจุบันเข้าสู่ยุคที่ 3 มีการรวมตัวที่มีบูรณาการมากขึ้น
ส่งผลให้เกิดแนวคิดของการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community หรือ ACE ในปี 2015 เป็นเป้าหมายหลักคือ ให้อาเซียนมาตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินลงทุน และแรงงาน มีฝีมืออย่างเสรี และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อาเซียนจึงได้กำหนดแผนงาน สำหรับการดำเนินการในภาพรวม 4 ส่วน หลัก ทั้งการตลาด และฐานการผลิตเดียว การสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน การ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ปาฐกถาว่า ในภาพรวมของจังหวัดแพร่ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต้องตั้งรับอย่างมีสติในด้านต่างๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว คิดว่าจังหวัดแพร่มีความพร้อมทุกด้าน วัตถุดิบ ศักยภาพ ต้นทุน ทางสังคม แต่จะทำอย่างไร เตรียมพร้อมอย่างไรให้ไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนอย่างสวยงาม และเป็นไปอย่าง อินเตอร์อยู่ที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่วิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดย่อม เป็นตัวหลักในการผลักดันระบบการขยายการลงทุน
“สิ่งที่สำคัญยิ่งคือ ต้องเพิ่มความ สามารถในด้านการติดต่อสื่อสารเรื่องภาษา พฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่กล้าที่จะเป็นฝ่ายเดินหน้าเพื่อการ เจรจา หรือสร้างขยายแนวธุรกิจ อีกทั้งความไม่กล้าที่จะใช้ภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศ เพื่อช่องทางขยายการลงทุน อย่ากลัวที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลง บทบาทของนักลงทุนในอนาคตจะต้องพึ่งพาคนกลางให้น้อยลง ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนการลงทุน เพราะธุรกิจ ต้องการความมั่นคง นโยบายของรัฐบาล ต้องเข้มแข็ง”
เลขาธิการอาเซียน ระบุอีกว่า “ตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งอีกว่า สำหรับปัญหาของภาคธุรกิจ ในบ้านเรามักจะติดขัดและที่กลายเป็นวัฒนธรรมจนวิตกอย่างยิ่งของสังคมคือ การคอร์รัปชั่นหนักสุดๆ ถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เป็น ตัวบั่นทอนขัดขวางต่อการพัฒนาและยกระดับสังคม แต่ก็ไม่ใช่ว่า ประเทศใน อาเซียนจะไม่มีในเรื่องนี้ มีเหมือนกัน แต่ไม่น่าเกลียดและสามารถควบคุมได้ ขณะนี้ประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด คือ สิงคโปร์ เพราะมีเรื่องเหล่านี้ในระดับที่ต่ำหรือน้อยมาก เพราะความโปร่งใสของระบบการจัดการ ทำให้การจัดการ การลงทุนในด้านต่างๆ อยู่ในประเทศสิงคโปร์ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ที่เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ กระจายไปในประเทศที่เหลือ”
“นอกจากนี้ ประเทศไทยยัง ขาดการพัฒนาด้านสินค้าของเราเอง มูลค่าการลงทุนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงลงด้านแรงงานเป็นหลัก สินค้าที่ผลิตเป็นสินค้าภายใต้ลิขสิทธิ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของประเทศอื่น ประเทศไทยมีมูลค่าด้านนี้ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกัน สำหรับภาคเอกชน เช่นสภาอุตสาหกรรม ต้องมีกิจกรรมของตนเองให้เด่นชัด มีหน่วยงานที่ออกไปพัฒนาธุรกิจนอกพื้นที่ หาช่องทางและพยายาม พัฒนาตัวเอง ศักยภาพของจังหวัดแพร่ ที่อยู่ใกล้แนวชายแดนประเทศพม่า และจีน”
ดร.สุรินทร์ ย้ำอีกว่า ในเบื้องต้นควรใช้ภาษาของประเทศพม่าและจีนให้ได้ เมื่อสามารถทำได้ย่อมมีโอกาสในด้านการดึงนักลงทุนเข้ามาร่วมทุนหรือกระจายการลงทุนไปยังตลาดที่มีแรงงานถูก มีแรงงานจำนวนมาก วัตถุดิบราคาถูก มีมากพร้อมรองรับและมีระบบการรองรับที่สามารถควบคุมได้ และได้ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างเช่น โรงงานก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่ในจังหวัดแพร่ ทุกประเทศในอาเซียนต้องทาน สำหรับ โอกาสการขยายการลงทุนไปยังพม่าเป็นไปได้ เพื่อโอกาสในการสร้างและขยายเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคในอาเซียนและภาคีรอบข้าง เช่น อินเดีย, จีน, ออสเตรเลีย และที่สำคัญทุกจังหวัดมีศักยภาพของตนเอง แต่จะมีวิธีการอย่างไรเท่านั้นเอง แต่ทั้งนี้ในการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่อาเซียนในปี 2015 นั้น ต้องตั้งรับอย่างมีสติ ค่อนข้างชัดเจนสำหรับปาฐกถา ของ ดร.สุรินทร์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกจังหวัดว่า AEC กำลังจะมาแล้ว..เราต้องตั้งรับอย่าง มีสติ!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น