การปฏิรูปประเทศไทย! เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ถือเป็นแนวทางที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ผ่านข้อเสนอไปยังรัฐบาลและภาคประชาสังคม โดยมีสำนักงานปฏิรูปประเทศไทย (สปร.) เป็นแกนสำคัญในการประสานงานกับภาคีเครือข่าย “ภาคประชาชน” จากทั่วประเทศ
แม้ “จุดแข็ง” ขององค์กรเหล่านี้ จะมีกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวนมาก และมีการ ทำงานร่วมกันมายาวนาน แต่ทว่าจำนวน พื้นที่ และงบประมาณ ตลอดจนสมาชิกในเครือข่ายยังน้อยกว่าการจัดตั้งของภาครัฐ รวมทั้งการขยายผลและการบริหารจัดการที่มีคุณภาพยังเป็น “จุดอ่อน” ที่ไม่สามารถทะลุทะลวงไปสู่การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
จนถึงวันนี้ ก็มีตัวอย่างการบูรณาการพื้นที่ในหลายจังหวัด ทั้งสมุทรสาคร นครปฐม สระแก้ว อำนาจเจริญ เชียงราย สงขลา ฯลฯ กระทั่งล่าสุดยังมีข้อเสนอให้ “นครเชียงใหม่” นำร่องเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งทั้งหมดได้มีความพยายาม บูรณาการองค์กรต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกันโดย ใช้พื้นที่จังหวัดและตำบลเป็นตัวตั้ง โดยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ การจัดทำแผนเพื่อ แก้ไขปัญหาต่างๆ การสร้างความร่วมมือของนักพัฒนา นักวิชาการ ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และสื่อสารมวลชน เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนมุ่งผลักดันเข้าสู่ระบบข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้นๆ
ในอนาคตอันใกล้นี้ กระแสจังหวัดและพื้นที่จัดการตนเอง ยังคงเป็นกระแสหลักทั้งการผลักดันนโยบายการเสนอกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่โดย เครือข่ายภาคประชาชน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คสป.) ยอมรับว่า การขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการ ตนเอง” ขณะนี้แรงและมีพลังมาก หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ประกาศเจตนารมณ์ผลักดันจังหวัดจัดการตนเองไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็นับว่าเป็นการขับเคลื่อนที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ มีผู้เข้าร่วมงานมากพอสมควร มีการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ได้รับการ ยอมรับมากขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือกระแสต่อต้าน เกิดความสนใจของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
“ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” คณะทำงานเชียงใหม่จัดการตนเอง ระบุว่า ได้มีการยกระดับการทำงานมองภาพรวมทั้ง จังหวัด พร้อมทั้งประสานงานกลุ่มพลังทางสังคมและภาคประชาชนต่างๆ เข้ามาเพิ่ม ทั้งนักวิชาการ นักพัฒนา นักธุรกิจ สมาพันธ์ครูเชียงใหม่ ศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน ทั้งชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 210 องค์กร
“เป็นการทำงานร่วมของกลุ่มคนที่หลากหลาย มีทุกสีเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกันแบบข้ามสี โดยใช้ระบบปรึกษาหารือและความสัมพันธ์แบบแนวนอน มีสิ่งที่เป็น เป้าหมายร่วมกัน เชียงใหม่ที่เข้มแข็ง น่าอยู่และยั่งยืน เพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้ลูกหลานในอนาคต”
นอกจากนี้ ยังได้จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกับผู้นำชุมชนทั้ง 25 อำเภอ และเวทีเครือข่าย 30 เครือข่าย จัดทำฐานข้อมูลกรณีการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่น่าสนใจ และนำข้อคิดเห็นต่างๆ มาจัดทำร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร ราชการเชียงใหม่ ซึ่งจะนำไปจัดประชาพิจารณ์ใน 210 ตำบล รวมทั้งเปิดให้ประชาชนลงชื่อเสนอกฎหมาย 15,000 รายชื่อต่อรัฐสภา ตามบทบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งได้จัดกิจกรรมเสนอต่อสาธารณะ ไปก่อนแล้ว
“จากนี้ไปจะเป็นการทำงานกันอย่าง เข้มข้นและทั่วถึงในจังหวัดเชียงใหม่ 210 ตำบล ตลอดจนการเชื่อมโยงจังหวัดต่างๆ ราว 45 จังหวัดที่กำลังขับเคลื่อน”
> ภาคประชาชนตื่นตัวทั่วไทย
เมื่อภาคประชาชนทั้ง 45 จังหวัดตื่นตัวแล้ว น่าจับตามองว่า “การปฏิรูป ประเทศไทย” จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ แม้ว่าในบางจังหวัดจะอาศัย การเปลี่ยนแปลงตามระบบคือผ่านขั้นตอน การยื่น พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผู้แทนราษฎร หรือลงรายชื่อเพื่อนำเสนอ ในนามองค์กรภาคประชาชนก็ตาม
ในจังหวัดขอนแก่นมีการรวมตัวของภาคส่วนต่างๆ จัดสมัชชา ประกาศปฏิญญา “ขอนแก่นจัดการตนเอง” ด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ที่ศาลากลางจังหวัดฯ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมหลายพันคน และได้จัดตั้งสภาประชาชนด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการเกษตรกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการศึกษา สังคม คุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม ด้านการเมืองภาคพลเมือง และด้านแก้ไขโครงสร้างการพัฒนาจากภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนการดำเนินการนั้นได้ส่งมอบยุทธศาสตร์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีครูสน รูปสูง และเครือข่ายภาคประชาชน ประสานงาน เริ่มต้นจากการจัดเวทีย่อย 4 โซนจากฐานราก รวมเป็นยุทธศาสตร์ร่วมของจังหวัด
ด้านจังหวัดปราจีนบุรี ก็มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมราว 70 เครือข่าย เริ่มต้นคล้ายธรรมนูญคนอำนาจเจริญ โดยการ เตรียมพูดคุยกันโดยเฉพาะประเด็นอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเป็นธรรมนูญและสภา ประชาชนของจังหวัดขึ้นมา
สำหรับจังหวัดพัทลุงนั้น “แก้ว สังข์ชู” กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูป กล่าวย้ำว่า คนพัทลุงต้องการกำหนดคุณสมบัติ และเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงด้วยตน เอง เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยส่งผู้ว่าฯ ลงมาโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่ต้องการพัฒนาบ้านเมือง เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา พัทลุงมีผู้ว่าราชการจังหวัดถึง 4 คน
“ผู้ว่าฯ บางคนอยู่ไม่นาน บางคนย้ายมารอเกษียณอายุราชการ บางคนย้าย มาเพื่อรอไปจังหวัดใหญ่ๆ อย่างนี้จะมีเวลา ใส่ใจพัฒนาและแก้ปัญหาให้คนพัทลุงได้อย่างไร ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของคน พัทลุงก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้”
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีและกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ เช่น ยะลา และแม่ ฮ่องสอน เป็นต้น แต่ล่าสุดคือจังหวัดภูเก็ต โดยหนึ่งในคณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเอง ระบุว่า จากปัญหาและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ทางคณะทำงานจึง มีเป้าหมายในการพัฒนาโดยประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อผลักดัน “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัดการตนเอง และจัดตั้งสภาพลเมืองภูเก็ต เพราะที่ผ่าน มาพบว่าจังหวัดภูเก็ต ยังมีการพัฒนาอย่าง ไร้ทิศทาง ส่งผลให้ยากต่อการควบคุมปัญหา ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวด ล้อม ปัญหาสังคม รวมไปถึงปัญหาการพัฒนา ที่ไม่ยั่งยืน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เคร่งครัด ภาคประชาชนมีส่วน ร่วมน้อย หากภูเก็ตจัดการตนเอง ปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้
เป็นต้นว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูเก็ตให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ปรับกระบวนและสนับสนุนให้มีการ คิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังความสำนึกรักในพื้นที่บ้านเกิด สร้างภาคีและแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมจิต สำนึกเพื่อส่วนรวม จัดกิจกรรมที่สนับสนุน ให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม ให้มีคุณภาพทางธุรกิจ มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยในอนาคตอาจจะตั้งคนในพื้นที่เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการขับเคลื่อนขั้นตอนต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ การมีสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ไปยังประชาชน เพื่อสร้างองค์ความรู้และทำความเข้าใจ การสร้างกระแสให้กับชาวภูเก็ตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการตกผลึกเรื่องจังหวัดจัดการ ตนเอง รวมถึงจัดทำเอกสารแจกใบปลิวให้ ความรู้ การทำประชาพิจารณ์ การจัดประชุมหารือทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน การจัด เวทีย่อยโดยรวบรวมความเห็นจากผู้บริหาร ท้องถิ่น มีเวทีใหญ่ 3-6 เดือนต่อครั้ง เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี
ด้าน “ดร.วณี ปิ่นประทีป” รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ยอมรับว่า สปร.ได้มองจังหวัดจัดการตนเองในภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ส่วนภาคอีสานคือ อำนาจเจริญ และจะยินดีสนับสนุนอย่างยิ่งหากภาคใต้จะมี “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัด การตนเอง และต้องการเห็นการวางแผน ที่เป็นระบบ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
> การก่อตัวของแนวคิดจัดการตนเอง
ก่อนหน้านี้ แนวคิดจังหวัดจัดการ ตนเองก่อตัวและเกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดอำนาจเจริญ ชื่อว่า “ธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ” ซึ่งถือเป็นธรรมนูญประชาชนฉบับแรกของไทยโดยที่ “กำธร ถาวรสถิตย์” ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ยอมรับว่า ปัจจุบันสังคมเผชิญกับวิกฤติทางสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสลับซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนท้อง ถิ่นร่วมกันจัดการตนเองทั้งการทำแผนชุม ชน การจัดการสวัสดิการชุมชน การจัด การทุนของชุมชน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็มีการจัดให้มีสภาผู้นำ ชุมชนเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ นำไปสู่การ สร้างเป้าหมายร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น
ด้าน “วิรัตน์ สุขกุล” ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจ เจริญ ชี้ว่า เหตุผลในการจัดทำธรรมนูญประชาชนตนอำนาจเจริญ เพื่อเป็นเครื่อง มือในวางระเบียบกติกาของชุมชนร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรการปฏิบัติเพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชนเป็นกรอบและแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง กับชุมชนท้องถิ่น อนาคตจะมีการยกร่างธรรมนูญประชาชน “ฅนอำนาจเจริญ” เป็นพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเอง โดยจะให้มีประชาชนรักษาการในข้อบัญญัตินี้ด้วย
ขณะที่ “กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร” รองผู้อำนวยการ สปร.มองว่า ธรรมนูญประชาชนฉบับนี้ มีข้อตกลงที่น่าสนใจ คือ การจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสภาประชาชนทุกระดับ เพื่อเป็นเวทีทบทวนแผนงาน ตรวจสอบการนำแผนไป ปฏิบัติ และนำข้อเสนอของชุมชนต่อหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับว่าเป็น “ธรรมนูญประชาชน” ระดับจังหวัดฉบับแรกของประเทศไทย
ทั้งนี้ ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจ เจริญ มี 9 หมวด คือ 1.บททั่วไป 2.ปรัชญาแนวคิด 3.การเมืองภาคพลเมือง ที่มีเนื้อ หาสร้างสังคมเครือข่ายแห่งการเรียนรูปตามแนวทางวิถีประชาธิปไตยชุมชน โดยอาศัยสภาหมู่บ้าน ฯลฯ 4.ด้านสังคมเพื่อ ชุมชนเข้มแข็ง ผู้คนฮักแพงแบ่งปัน สานต่อวัฒนธรรมประเพณี โดยมีข้อเสนอจัดการด้านการศึกษา ด้านสตรี เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และศาสนา ความเชื่อ 5.ระบบเศรษฐกิจชุมชนการยกระดับการกินดีอยู่ดีของคนในชุมชน โดยทุกครอบครัวจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินและแบ่งปัน กองทุนเพื่อการผลิตดอกเบี้ย ต่ำ ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ และ 6.ด้านสุขภาพ สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หมวดนี้มีความน่าสนใจตรงการกำหนดให้มี “ธรรมนูญสุขภาพ” ซึ่งทางสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) สนับสนุน
ในการจัดทำกระบวนการ 7.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสิทธิชุมชนในการ บริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง ที่ชาวบ้านขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจ 8.ด้านการรับรู้ การเข้าถึง และการกระจายข่าวสารเป็นข้อ เสนอด้านการสื่อสารของชุมชน โดยชุมชน ต้องเข้าถึง อิสระเท่าเทียม และเป็นเจ้า ของพื้นที่สาธารณะ ผลิตเนื้อหาสาระด้วยตนเอง หลากหลายเนื้อหาสาระ และ 9.บทเฉพาะกาล
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น