ข้อมูลจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) รายงานถึงสถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ภาค เหนือมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดนครพนม, สกลนคร, มุกดาหาร ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด, จันทบุรี, ระยอง ภาคตะวันตกบริเวณจังหวัดตาก และกาญจนบุรี ภาคใต้บริเวณจังหวัดระนอง สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนในบางพื้นที่ ซึ่งพิจารณาแล้วว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้เชี่ยวชาญด้าน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศออกมาเตือนว่า “สองเดือนนี้ ยังมีพายุเกิดขึ้นอยู่ ซึ่งจากนี้ไปมีการคาดการณ์ว่า พายุจะก่อตัวอีก 20 ลูก และแน่นอน 20 เปอร์เซ็นต์ พายุจะต้องพัดเข้าประเทศไทยและส่งผลกระทบ ซึ่งจากนี้ไปจะต้องเฝ้าระวังพร้อมๆ กับการประเมินว่า เมื่อฝนตกปริมาณเท่านี้ จะเกิดผลกระทบอย่างไร โดยคาดว่าเลว-ร้ายที่สุดคงไม่เกินปีพ.ศ.2553”..แน่นอนว่าสำหรับคนไทย แม้แต่จิ้งจกทักก็ยังฟัง นี่คน ระดับมีความรู้ทักจะไม่หวั่นใจได้อย่างไร โดยเฉพาะเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมาเราได้รับบทเรียนมาเพียงใดคงไม่ต้องพูดถึง
หลังมหาอุทกภัยปี 2554 มีแผนดำเนินการมากมายหลายอย่าง จะทำพื้นที่ รองรับน้ำ หรือ Floodway ที่มีความกว้าง ถึง 200 เมตร อันตรายที่มองเห็น คือ Flood way จะระบายน้ำท่วมได้ก็เมื่อระดับน้ำในทะเลอยู่ต่ำกว่าเท่านั้น 2.การ สร้างพนังคอนกรีตสูงรอบนิคมอุตสาหกรรม น้ำก็จะไหลไปท่วมพื้นที่อยู่อาศัยรอบๆ
เราจะต้องแก้ปัญหาอย่างองค์รวม (Integrated Approach) ไม่เพียงนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้นที่จะได้รับการป้องกันแต่ต้องรวมพื้นที่อยู่อาศัยด้วย การบริหาร จัดการน้ำที่ผสมผสานบูรณาการเท่านั้นที่จะเกิดประสิทธิภาพและความสำเร็จ พื้นที่ กรุงเทพฯ มีการทรุดตัวลงเรื่อยๆ ควรนำระบบ Polder System มาใช้
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างที่ทราบกันดีว่าสูงถึง 350,000 ล้านบาท เพื่อออกแบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ และด้วยวงเงินขนาดนี้ย่อม ก่อให้เกิดการเพ่งเล็งในเรื่องของความโปร่งใสซึ่งในเรื่องดังกล่าว
ในเรื่องนี้ “สุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล” รองปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันในงานเสวนา “งบน้ำท่วม 350,000 ล้านบาท... รวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส?” ว่า งบประมาณ 350,000 ล้านบาท ที่ใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม หรือที่นำมาใช้ในการลงทุนตามการเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของรัฐบาลจำนวน 3.5 แสน ล้านบาท มีความโปร่งใส โดยจะใช้งบประมาณในการจัดทำแบบบริหารจัดการน้ำ โครงสร้างระบบการไหลของน้ำ การจัดพื้นที่รับน้ำ ปรับปรุงระบบคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัย รวมถึงการปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดถือเป็นโครงการระยะยาว 8 โครงการ ตามแผนบริหารจัดการน้ำของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) และเป็นเพียงการดำเนินงานระยะแรก หรือแค่ เสนอกรอบแนวคิด ซึ่งยังไม่มีการประมูลหรือการจัดจ้างแต่อย่างใด โดยการจัดจ้าง จะเริ่มหลังมีการเสนอกรอบแนวคิดแล้ว และทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามระเบียบ
พร้อมกล่าวถึงกรอบการดำเนินงาน ว่า ยังไม่มีการจัดซื้อ จัดจ้าง หรือคัดเลือก กลุ่มบริษัทร่วมทุนใด จนกว่าจะถึงวันที่ 31 ม.ค. 2556 โดยระหว่างนี้รัฐบาลก็จะรวบรวมข้อมูล ปัญหา หรือรายละเอียดโครงการต่างๆ และภายในสิ้นเดือนนี้ รัฐบาลจะแถลงข่าวถึงรูปแบบนิทรรศการ น้ำเพื่อให้ประชาชนเข้ามารับรู้รายละเอียด ข้อมูลแต่ละโครงการอย่างละเอียด รวมถึงสร้างระบบให้ภาคประชาชนตรวจสอบ แบบเรียลไทม์ ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชั่นว่า water4thai และมี 2 เว็บไซต์สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำ ได้แก่ http://www.thaiwater.net และ http://www. waterforthai.go.th ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีภาพแผนที่ขนาดใหญ่ หรือสามารถติดตามความคืบหน้าโครงการทั้งหมด ตั้งแต่คันกั้นน้ำไปจนถึง การขุดลอกคลอง
> หวั่นต่างชาติชุบมือเปิบ
“ต่อตระกูล ยมนาค” ประธานกลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ กล่าวว่า เป็นห่วงเรื่องขั้นตอนการจัดทำมากกว่า เนื่องจากมีราย ละเอียดเพียงแค่ 10 กว่าหน้า ซึ่งข้อมูลใน การเสนอกรอบแนวคิดไม่เพียงพออย่างแน่นอนสำหรับบริษัทต่างชาติ รัฐบาลต้อง ยอมให้ราชการเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีโออาร์ให้ได้ แต่ในเชิงวิศวกรรมเห็น ว่า กรมชลประทานมีอิทธิพลมาก เขื่อนที่ สร้างไม่ได้ก็ได้สร้าง เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ ข้อเป็นห่วงต่อมาก็คือ หากจัดให้โครงการนี้เป็นแผนเร่งด่วน ขั้นตอนของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐจะถูกละเลย ในทางกลับกันจะเป็น การเปิดโอกาสให้มีการทุจริตเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ นายต่อตระกูล ยังกล่าว อีกว่า ทราบว่ามีบริษัทข้ามชาติประเทศหนึ่ง ในเอเชียที่เคยมาตกลงเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแล้วเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้มองว่า ไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่รู้ช้า สุดท้ายก็คือ งานนี้เป็นงานแรกที่วิศวกรไทยเห็นตรงกันว่า ข้อมูลไม่เพียงพอจนนำไปสู่การเปิดโอกาสให้มีการคอร์รัปชั่นได้ ขณะเดียวกัน อยากให้รัฐบาลทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ และอยากให้คนไทยมีโอกาสทำงานหรือใช้เงินจำนวน 3.5 แสนล้าน มากกว่าไปกระจุกตัวอยู่ที่ผู้รับเหมาประเทศใดประเทศหนึ่ง
> เงินของปชช./รัฐต้องตอบคำถามได้
“เสรี ศุภราทิตย์” ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เป็นห่วงสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ แม้ว่าเขื่อนจะพร่องน้ำไปเหลือแค่ 40% ถามว่า ถ้าเกิดฝนตกใต้เขื่อน ก็ไม่สามารถประเมินได้ เพราะโครงการขุดลอกคลองที่รัฐบาลเตรียมไว้ ผู้รับเหมาก็ขุดลอกไป โดยไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าขุดไปลึกขนาดไหน และสามารถรับได้จริงตามสเปกที่กำหนดไว้หรือไม่ รวมถึงไม่มีการศึกษาเรื่องระดับ ความลึกของคลองอย่างจริงจัง ซึ่งก็น่ากังวลว่าหากปริมาณน้ำฝนมามากจะรับมือกันอย่างไร
ส่วนประเด็นที่ภาคีเครือข่ายต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่นนำเรื่องนี้มาถกเถียงในวงเสวนา ที่เกรงว่าอาจจะมีการทุจริตนั้น ถือเป็นประโยชน์มาก อย่างน้อยประชาชน เป็นเจ้าของเงิน รัฐบาลต้องตอบข้อสงสัย เกี่ยวกับการเสนอกรอบแนวคิดเพื่อให้เกิดความชัดเจน และหลายเรื่องๆ เช่น เรื่องเวลา ถ้าบอกว่าใช้เวลา 3 เดือน ก็มีคำถามต่อว่า จะได้คำตอบที่ดีที่สุดหรือเปล่า ซึ่งส่วนตัวมองว่า รัฐบาลควรจะขยายเวลาไปอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ คืออย่างน้อยรัฐบาลก็ไม่ได้เสียอะไร ทั้งนี้ จากประสบการณ์การของตนแล้ว แค่ลุ่มน้ำเล็กๆ ยังใช้เวลา 2 ปี แต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่มาก ซึ่งการจะได้ตอบที่ดีก็คือ การใช้มาตรการแบบผสมผสาน ไม่ใช้แค่ขุดลอกคูคลอง หรือสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเดียว ต้อง ใช้หลายๆ มาตรการ ฉะนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมาตนจึงรู้สึกว่ากังวล
ต่อคำถามที่ว่า จะมีวิธีการคัดเลือก อย่างไร เพราะแต่ละกลุ่มที่เสนอเข้ามามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน รศ.เสรี มองว่า ภาค ประชาชนรู้สึกกังวลถึงการใช้เงิน ความโปร่งใส เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องทำให้โปร่งใส หากจะให้ภาคเอกชนเข้าไปร่วมตรวจสอบด้วยก็จะดี เพื่อให้ได้สิ่งที่คาดหวังไว้ เพราะเมื่อตัดสินใจไปแล้ว ประชาชน ไม่ยอมรับก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก อย่างไร ก็ตาม ตนเชื่อว่าเงื่อนไขเวลาที่ยาวขึ้นจะทำให้เราได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
> ภาคอุตฯ ห่วงผู้ประกอบการ
“เจน นำชัยศิริ” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มีความกังวลในการใช้งบของรัฐ โดยเฉพาะในส่วนการดำเนินการก่อสร้าง จะมีความคุ้มค่าในเม็ดเงินที่ใช้ลงไปหรือไม่ เพราะน้ำท่วมครั้งล่าสุดภาคอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบมากถึง 4 แสนล้านบาท ซึ่ง อยากให้การใช้งบประมาณที่ลงไปสามารถ ป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมได้จริง และไม่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอีก
นอกจากนี้ แนวทางระยะสั้นอยากให้มีการติดตามการทำงานด้านการฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขุดลอกคูคลองว่าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ทำแบบ บังหน้า โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป เข้ามีส่วนร่วมในการติดตาม ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายหรือเบอร์โทรศัพท์ฮอตไลน์ที่สามารถแจ้งเข้าไปบอกข้อเท็จจริงกับภาค รัฐในการดูแลแก้ไข ซึ่งจะทำให้โครงการเกิดผลมากที่สุดในการใช้งบ
โครงการพัฒนาประเทศหลังน้ำท่วม ถือเป็นการยกระดับประเทศอย่างบูรณาการ เพราะความเดือดร้อนจากอุทกภัยแล้ว แน่นอนว่า ทุพภิกขภัยย่อมตามมา ความ เดือดร้อนจากหลายๆ ครั้งที่เกิดขึ้น ส่งผล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมความเป็นอยู่แล้วยังสั่นคลอนถึงเสถียรภาพของรัฐบาล
หากโครงการนี้ยังถูกรุมทึ้งจากแร้งกาอย่างตะกรุมตะกราม แล้วก็ถือว่า เป็นการทรยศต่อประเทศอย่าสาหัส รวมถึงทรยศต่อพวกพ้องด้วยดังนั้นในโครงการนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร ในขณะที่กรอบเวลากลับเร่งรัดเข้ามาทุกวินาที
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น