--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพื่อไทย หลุด Killing Zone .

ไม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ขัดมาตรา 68 อย่างไร แต่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กลับไม่ให้ค่าการวินิจฉัยเลย จาตุรนต์ เชื่อว่า ผลการวินิจฉัย จะออกมาทางใดก็ไม่มีความเป็นธรรม เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำขัดรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง “การที่ศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตั้งแต่รับคำร้องโดย ตรง สั่งประธานสภาให้ชะลอการลง มติก็ดี ล้วนเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น” อารมณ์ของจาตุรนต์ไม่แตกต่าง จากอารมณ์สองแกนนำคนสำคัญของ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) คือ “จตุพร พรหมพันธุ์ กับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ที่ประกาศแข็งกร้าวว่า ไม่เชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกัน ดังนั้นการเดินสายต่อต้านศาล รัฐธรรมนูญของจตุพรจึงยกระดับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ราวกับส่งสัญญาณทางใจเบื้องลึกว่า “ไม่เอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ต้องปฏิรูป”

การปฏิรูปนั้น มาจากศาลรัฐธรรมนูญทำขัดรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง รวมแล้วอย่างน้อย 6 ข้อกล่าวหา คือ หนึ่ง รับเรื่องข้ามขั้นตอนการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดโดยมิชอบ ซึ่งผิดกับระเบียบปฏิบัติตามมาตรา 68 สอง ไม่มี อำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นอำนาจชอบธรรมของรัฐสภา สาม แสดงเจตนารมณ์มุ่งหมายกล่าวร้ายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยไม่มีมูลความจริง สี่ ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติโดยมีคำสั่ง ให้เลขาธิการสภาแจ้งต่อประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ห้าประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วยการชี้นำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะล้มล้างการปกครองก่อนมีคำวินิจฉัยตามกระบวนการและหก ริเริ่มถอดประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่อศาลอาญา โดยไม่ผดุง ความยุติธรรม

แน่นอนว่า ข้อกล่าวหาการทำผิดต่อเนื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีลู่ทางให้นำเรื่อง ยื่นคำร้องกล่าวโทษไปสู่องค์กรใดมาตัด สิน นอกจากเสนอวุฒิสภาให้ “ถอดถอน” ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นการยากอย่างยิ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รู้สึกหนักใจกับข้อกล่าวหาเหล่านั้น คณะตุลาการยังเดินหน้าไปตามปกติผู้ร้องยื่นข้อกล่าวหาล้มการปกครองต่อศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 5 พวก แต่เมื่อพิจารณารายชื่ออย่างรัดกุมแล้ว ล้วนมาจากกลุ่มเดียว คือ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจเบื้องหลังพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา วันธงชัย ชำนาญกิจ บวร-ยสินทร และ วรินทร์ เทียมจรัส โดยทั้งหมดเสนอพยานรวมกัน 16 ชื่อ ซึ่ง จำแนกที่มา 3 กลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ส.ว. ในสังกัดกลุ่ม 40 ส.ว. สอง พรรคประชาธิปัตย์ และสาม สายวิชาการ ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อเชื่อมโยงรายชื่อผู้ยื่นคำร้องกับพยานในขั้นการไต่สวนแล้ว ล้วนมีที่มาและอดีตเป็น กลุ่มต่อต้าน เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ อย่าง เข้มข้นมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

เมื่อผนวกเข้ากับศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา “รับคำร้อง” ตามมาตรา 68 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยแล้ว ข้อสรุปทางการเมืองจึงมีความ ชัดเจนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีท่าทีเล่น งาน พ.ต.ท.ทักษิณ กับพรรคการเมืองสนับสนุน “ทักษิณ” คือ พรรคเพื่อไทย ดังนั้น มีการคาดการณ์ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่วงหน้ามาตลอด ว่า เป็นไปได้สูงกับคำตัดสินว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68” นั่นบ่งบอกถึงสภาพพรรคเพื่อไทยได้ตกอยู่ในแดน “Killing Zone” มีโอกาสถูกเล่นงาน “ยุบพรรค” ซ้ำเติมเข้าไปอีก

แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายเริ่มเปลี่ยนไปสู่สิ่งดีขึ้น...เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เก็บอาการอยู่ เธอเฉยๆ ก้มหน้าก้มตาทำงาน และนัดกินข้าวมื้อเที่ยงกับ “ผู้นำเหล่าทัพ” เต็มไปด้วยรสชาติอาหารถูกปาก ผสมอารมณ์ชื่นมื่น นั่นสะท้อนสัมพันธภาพยัง “แน่นปึ้ก” จึงมีส่วนพลิกสถานการณ์จากแดนติดลบ ค่อยๆ กลับขึ้นมาอยู่ “แดนบวก” ประกอบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เป็นพี่ชายกลับ “นิ่งผิดปกติ” จึงมีส่วนให้ฝ่ายต่อต้านบางส่วนผ่อนคลายการ “รุก” ขั้นแตก หักลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถอนตัวจากพยานปากสำคัญอย่าง “นายอานันท์” ย่อมประเมินถึงผลการ วินิจฉัยได้บ้างว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังอยู่ในอาการ “ถอย” มากกว่าใช้การเด็ดขาดเพื่อนำไปสู่การเผชิญหน้าแตกหัก นับเป็นปัจจัยดีๆ ที่ส่งสัญญาณถึงพรรคเพื่อไทยว่า ผลคำวินิจฉัยของศาลคงไม่เลวร้ายเกินกว่าการรับมือ

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ผลการวินิจฉัย โดยเชื่อมั่นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะ “ยกคำร้อง” ซึ่งเท่ากับทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปสู่การ ลงมติวาระ 3 ได้เร็วขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงความเห็นของ “เฉลิม” นักการเมืองผู้มากประสบการณ์ถึงที่สุดแล้ว ในวันไต่สวนพยาน ผู้ร้องเริ่มต้นขึ้น การทยอยถอนตัวจาก พยานคนสำคัญย่อมบ่งบอกถึงบรรยากาศการเมืองได้ผ่อนคลายไปมาก คำถามง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเผชิญหน้าขั้นแตกหักกับพลังประชาชนที่ลุกฮือขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่กล้า” เพราะพลังอำนาจที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังยังไม่ชนะเด็ดขาด ดังนั้นโอกาสที่จะ “ถอยอย่างมีเชิง” จึงย่อมเกิดขึ้นสูงยิ่ง

ถอยอย่างมีเชิงของศาลรัฐธรรมนูญคือ ให้พรรคเพื่อไทยหลุดจาก ข้อหาล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องเป็นโมฆะ ทำไม่ได้การประเมินเช่นนี้ อาจพลิกอีก เนื่องจากศาลแห่งนี้เคยมีประวัติการสร้างบรรทัดฐานเหนือการหยั่งรู้ด้วยหลักวิชาการมาแล้วในกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช หลุดจากเก้าอี้นายก รัฐมนตรี แต่ที่แน่ๆ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไม่รอดจากคำวินิจฉัยของพรรคเพื่อไทยให้หลุด จากตำแหน่ง เนื่องจากคลิปเสียงเป็นพิษค่อนข้างฟันธง คอนเฟิร์มเลยทีเดียว

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น