--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่องปรองดองสยามประเทศ ผ่านเลนส์หม่อง !!?

โจทย์การปรองดองในประเทศไทย ณ ขณะนี้ถือว่ายังเปรียบเป็นแสงตะเกียงริบหรี่น่าหวั่นใจ ไม่ว่าจะทาง ออกทั้งในสภาที่ยังต้อง รอท่ากันอีกเป็นเดือนคือ 1 สิงหาคม และยังน่าหวั่นใจเพราะแม้จะมีสภาพไม่ต่างจากทะเลที่เรียบสงบ หากแต่คลื่น ใต้น้ำที่มาตามแรงอาฟเตอร์ช็อกการเมืองอยู่ เป็นระลอกๆ

อีกหนึ่งตัวแปรที่จะวางตา วางใจเสียไม่ได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะตีความออกมาอย่างไร.. หมู่หรือจ่า!! แม้ว่าจะเปิดสภาก็ยังต้องเจอกับการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ กลไกทางการเมืองที่ฝ่ายค้านจะใช้หักล้างรัฐบาลแบบ ในเกม และรัฐบาลหมดสิทธิยุบสภาแน่นอนหันมามองปัจจัยนอกสภาระยะนี้ต่างฝ่ายต่างเดินสายแสดงคอนเสิร์ตคิว แน่นเอี้ยด..เนื้อหาของทั้งเสื้อแดง..เสื้อฟ้า ก็หาได้แตกกันในประเด็น แก้รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ปรองดอง ศาลรัฐธรรมนูญ ..แต่แปลกที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่หยิบตำราคนละเล่ม พูดกันคนละด้าน ฝ่ายหนึ่งหนุน ฝ่ายหนึ่งต้าน

กลเม็ดเด็ดพรายก็ต่างสรรหาหยิบจับมามัดใจแฟนคลับของแต่ละสี แต่ละเผ่าทั้งตัวยืนฝ่ายแดง อย่างคู่หูตู่-เต้น..บินไปขึ้นเวทียิ่งกว่า “สายัณห์ สัญญา” สมัยก่อน..อีกด้านหนึ่งก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน..ทีมงานสายล่อฟ้าจากบลู สกาย “ศิริโชค, ชวนนท์ และเทพไท”..ทั้งรุ่นใหญ่อย่าง “เทพเทือก โอบามาร์ค” เนื้อหาก่อให้เกิดแนวความคิดในเชิงแตกแยกทั้งสิ้น จนยากจะมอง เห็นแนวทางจะปรองดองมองไปรอบบ้านผ่านเมืองใกล้เคียง ที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเราถึง 50 ปีอย่างพม่า..

พม่าหันหน้ากลับมาเช็กแฮนด์กันเฉยระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารกับฝ่าย ค้านอย่างพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันกับชน กลุ่มน้อยมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่าและนางอองซาน ซูจี สามารถหันหน้า เข้าหากัน และตกลงกันได้ คือผลประโยชน์ของประเทศ เช่นเรื่องการ เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนจำนวนมาก เพราะเห็นว่า ปิดประเทศมานาน ถ้าจะเปิดให้มี การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าเน้นปริมาณ หรือเม็ดเงิน ลงทุน

ประเทศพม่าในตอนนี้จึงเป็นประเทศกรณีศึกษาอีกประเทศหนึ่งที่น่า สนใจ และเรียนรู้เพราะเขากลับมามีแนวคิดในเชิงปรองดอง ซึ่งต่างจากเพื่อนบ้านที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งมังค่า อย่างสาระขันประเทศแต่หากวิเคราะห์ในเบื้องลึกก็จะเห็นเงื่อนไขของการปรองดองว่าหาใช่ง่ายดายอย่างที่คิด บาดแผลที่กรีดลึกลงในสังคมนานนับสิบปีจะประสานกันได้จะมีแผลเป็นหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ว่า แผลนั้นหายสนิทหรือเปล่า

“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะไว้ถึงเงื่อนไขเชิงกลไกทางการเมืองของการปรองดองในประเทศพม่าว่า “เราต้องไม่ลืมไปว่านางอองซาน ซูจี ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2558 ซึ่งนางอองซาน ซูจีจะมีอายุ 70 ปี เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พม่า อีกทั้งความต่างของคนหนุ่มสาวกับ คนอายุ 70-80 ปีทำให้เธอดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าใดนัก”

นอกจาก “อองซาน ซูจี” จะดิ้นรน แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเข้าข้างตนเอง และพวกพ้อง ว่าอายุ 70 ปีก็ยังเป็นประธานาธิบดี ได้ หรือการมีคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญหากจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครทำกัน และนางก็คง ไม่เคยมีความคิดประเภทนั้น..!!!

จากประวัติซูจีไม่ได้มีแนวคิดทาง การเมืองแจ่มชัดมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยชาติกำเนิดที่เป็นลูกสาวนายพลอองซาน ประกอบกับช่วงที่กลับประเทศ เธอมาด้วยเหตุผลเพราะต้องการมาพยาบาลมารดาซึ่งป่วยหนัก จนกระทั่งได้เห็นสถานการณ์การเมืองในพม่าที่มีความ รุนแรง การสังหารนิสิตนักศึกษา เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเรียกร้อง ลักษณะนี้เหมือนการตกกระไดพลอยโจน ไม่ใช่เจตนาหลักที่จะเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งคล้ายกับนายกฯ ของประเทศไทยคนปัจจุบัน แต่แน่นอนว่ามีจุดต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งที่มา และแรงผลักดันที่ดูต่างกันบ้าง

ในชั่วโมงนี้ที่ประเทศพม่ากำลังก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง การเปิดประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคม โลก..ส่วนนี้อาจทำให้รัฐบาลทหารพม่าลดความเกรี้ยวกราดลง และมีความอดทนอดกลั้นในแนวคิดแบบที่คุ้นชินมาจากระบอบเผด็จการทหารมากขึ้น

ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ คือนาง อองซาน ซูจีควรจะอยู่ในฐานะอะไรซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ในตำแหน่งผู้นำประเทศแน่ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “รัฐธรรมนูญของพม่าได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติผู้เป็นประธานาธิบดีไว้หลายเรื่อง เช่น ห้ามสมรสกับชาวต่างชาติอายุเกิน 70 ปี” ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าปิดทางเข้าออกทั้งหมดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเทศของนางอองซาน ซูจี อย่างเบ็ดเสร็จตามเกมที่ทหารวางไว้เรายังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ นอนได้ว่าอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร เหมือนกับที่เราเองก็ยังคิด ไม่ออกถึงแนวทางการปรองดองประประเทศไทย..แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ของประเทศพม่าในตอนนี้คือ เกมรุก เกมถอย ของฝ่ายต่างๆ ทาง การเมืองของพม่าซึ่งแม้ว่าลึกๆจะตั้งอยู่บนเหตุผลของอำนาจ หากแต่เงื่อนไขหลักที่น่าสนใจคือ..ผลประโยชน์ของประเทศ

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น