พาดหัวแบบนี้ไม่ได้เป็นการแช่งชักอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่กำลังหมายถึงความหมายของคำว่า “ทักษิณ” ที่ถูกชักโยงกับความขัดแย้งทางการเมืองตลอด 6 – 7ปี ที่ผ่านมา คำว่า”ทักษิณ” นั้นมีพลังมากกว่าตัวอดีตนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ต้องย้อนไปในปี 2548 ที่ได้เริ่มมีการตั้งต้นการรวมตัวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) โดย 5 แกนนำ นำโดย นาย สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตมีเดียไทคูนของเอเชียและอดีตคนรักกันที่เคยมาชื่นชมว่าทักษิณเป็นนายกฯที่ดีที่สุดที่ประเทศไทยเคยมีมา

ยุทธศาสตร์ในครั้งนั้นคือการสร้างทักษิณให้มีภาพลักษณ์ที่ น่าเกลียดน่ากลัว ขายชาติ ต่ำช้าเลวทราม หรืออาจจะเรียกในภาษาที่สื่อใช้ว่า “ผีทักษิณ” หรือ “ปีศาจทักษิณ” หากจะวิเคราะห์ตามทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคม ก็คือการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเป็น “พวกเขาและพวกเรา” ที่ชัดเจน คือใครที่ไม่สนับสนุนแนวทางของ พธม.ก็ให้ถือว่าเป็นผู้นิยม “ระบอบทักษิณ” ในปี 2549 ไม่ใช่ปีที่ดีของ ทักษิณ ชินวัตร เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงขาลง จากบทบาทหน้าที่และอำนาจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย แล้วทำไมทักษิณ ที่หมายถึงต้นตอความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกสร้างและนิยามโดย พธม. ถึงไม่ตายไปจากสังคมไทย? ลองมาทบทวนกัน
เมื่อทักษิณใช้อำนาจประกาศยุบสภาและมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ….พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน กลับเลือกที่จะบอยคอตการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตย
เมื่อทักษิณไปปฏิบัติภารกิจยังต่างประเทศในเดือนกันยายนและพธม.ประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549…… คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทักษิณ ตัดสินใจไม่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น และนำไปสู่เครือข่ายต้านรัฐประหารต่างๆที่มองว่าการรัฐประหารนั้นเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยก่อนที่จะพัฒนากลายเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.)
เมื่อพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดของอดีตนายกฯทักษิณและอีก 4 พรรคการเมืองถูกฟ้องในคดียุบพรรคการเมือง ……..พรรคไทยรักไทย และพรรคเล็กที่ถูกจ้างให้ลงเลือกตั้งถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรคและพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเดียวที่รอดพ้นความผิด
เมื่อเกิดการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2550 พร้อมกับวาทกรรม “รับๆไปก่อนแล้วค่อยแก้” ………. รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะโหวตล้มรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว รวมไปถึงปฏิบัติการแทรกแซงทางการทหาร แต่กลับมีผู้ที่ไม่รับร่างดังกล่าวถึง 10.7 ล้านเสียง และรับเพียง 14.7 ล้านเสียง ทั้งที่รัฐบาลทหารสามารถคุมกลไกได้เบ็ดเสร็จ
เมื่อเกิดการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ได้พยายามมีกลไกเพื่อที่ผลักดันให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยจับมือร่วมกับพรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ประกาศตนตั้งรัฐบาลล่วงหน้า ทหารสนับสนุนพรรคเพื่อแผ่นดิน และพธม.สนับสนุนพรรคมัชฌิมาธิปไตย ….. สุดท้ายพรรคพลังประชาชน โดย นายสมัคร สุนทรเวช ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และพรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคมหาชนได้กระโดดเข้ามาร่วมรัฐบาล รวมไปถึงพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง อดีตคนสนิททักษิณที่เคยปราศรัยโจมตีทักษิณบนเวทีพธม.ก็เข้าร่วมรัฐบาล เป็นบทเรียนเมื่อพธม.และกองทัพประเมินนักเลือกตั้งอาชีพผิดพลาด
เมื่อเกิดรัฐบาลจากการเลือกตั้งของนาย สมัคร สุนทรเวช โดยมี นาย นพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ …… พธม. ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน โดยชูประเด็นชาตินิยมสุดโต่ง ทั้งวาทกรรมขายชาติ และเสียแผ่นดิน และท้ายที่สุดนำไปสู่การหลุดจากตำแหน่งของ นาย สมัคร ด้วยการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ตีความด้วย “พจนานุกรม” คำว่า “ลูกจ้าง” และ “รับจ้าง”
เมื่อเกิดการตัดสินคดีที่ดินรัชดา 2 สิงหาคม 2551 ทักษิณ ได้เดินทางออกนอกประเทศและมีการตัดสินรับหลังด้วยการจำคุก 2 ปี นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร ……… พธม.ประกาศยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่ชุมนุม นายสมชายเป็นนายกฯที่ไม่เคยเข้าทำงานที่ทำเนียบ และวันที่รัฐบาลสมชายต้องการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา พธม.ได้ทำการขัดขวาง จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด 7 ตุลาฯ 51 ซึ่งจากบันทึกของวิกิลีกส์ บันทึกว่าคนในระดับแกนนำพธม. ต้องการใช้เหตุการณ์ดังกล่าวสร้าง “เงื่อนไข” เพื่อนำไปสู่ความรุนแรง
เมื่อเกิดการรวมตัวของนปก. ที่ยกระดับเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ในเดือน พฤศจิกายน 2551 ………… กองทัพนำโดยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้ออกรายการช่อง 3 อ.ส.ม.ท. “ปฏิวัติเงียบ” เพื่อขอให้รัฐบาลสมชายลาออกจากตำแหน่ง พธม.เข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองในปลายเดือนพฤศจิกายน 2551
เมื่อเกิดคดียุบพรรค 2551 โดยมีพรรคพลังประชาชน ในกรณีเป็นนอมินีให้กับพรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 …… ผลศาลรัฐธรรมนูญโดย นาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น มีคำสั่งให้ยุบทั้งสามพรรค ชนิดที่นาย บรรหาร ศิลปอาชา เรียกว่า “มีการให้ปากคำเช้า แล้วพิจารณาตัดสินตอนบ่าย เป็นไปได้อย่างไร?” นักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายท่านวิเคราะห์ว่าการตัดสินนั้น “มีธง”
เมื่อหลังจากคดีการยุบพรรคพลังประชาชน ได้มีการพยายามฟอร์มรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ….. รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลเสียงข้างนอกที่ถูกครหาว่า “จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” คนในตระกูลศิลปอาชาบอกว่า “เป็นคำขอร้องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้” และการเกิดงูเห่าภาคสองจาก นาย เนวิน ชิดชอบ ทำให้พรรคภูมิใจไทยอาศัยบุญคุณที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำตาม โดยสละตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลให้กับพรรคภูมิใจไทย เพื่อที่จะทำทุกวิถีทางรักษาตำแหน่งรัฐบาลไว้ให้ได้
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศ โดยประกาศนโยบาย 99 วันทำได้จริง และปราศจากคอร์รัปชั่น ……… หลายๆนโยบายไม่สามารถทำได้จริง จนนำไปสู่วาทกรรม “ดีแต่พูด” และการคอร์รัปชั่นมโหฬาร ทั้งในกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องปลากระป๋องเน่าหลังจากรับตำแหน่งไม่ถึง 3 เดือน และพรรคร่วมรัฐบาล อย่างพรรคภูมิใจไทย อย่างโครงการ ถนนปลอดฝุ่น การประกันราคา และการเช่ารถเมล์ NGV แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ไม่กล้าที่จะปรับคณะรัฐมนตรี เพราะเกรงกระทบเสถียรภาพรัฐบาลมากกว่าการรักษากฏเหล็กที่ตนเองได้ตั้งขึ้น

เมื่อเกิดการยึดทรัพย์ อดีตนายกฯทักษิณ 46,000 ล้านบาท เมื่อปี 2553 ทำให้คนเสื้อแดงรู้สึกว่าทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเกิดการถกเถียงทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เกิดการชุมนุมใหญ่ของ นปช. บริเวณผ่านฟ้าและราชประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุบสภา ……. นำไปสู่การสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน ระหว่าง เมษายน – พฤษภาคม 2553 การอัดสื่อประชาสัมพันธ์ข้างเดียวโดยปิดกั้นสื่อขั้วตรงข้ามและเว็บไซต์กว่าแสนเว็บ การสร้างวาทกรรม ชายชุดดำและการเผาบ้านเผาเมือง และรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ในขณะนั้นเมื่อมีการเจรจาปรองดองกับแกนนำสัญญาว่าะยุบสภา ตุลาคม 2553 แต่ก็อยู่ในอำนาจจนมายุบสภา พฤษภาคม 2554
เมื่อเกิดเหตุการณ์ตุลาการภิวัฒน์ด้านเดียว เมื่อกกต.ยื่นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยกระบวนการยื่นคำร้องไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายเลยกำหนด 15 วัน!!? …….. ประชาธิปัตย์กลับไปทะเลาะกับพธม. จนเสียงแตกออกจากกันอย่างชัดเจน มีการขุดคุ้ยแฉกันไปมา
เมื่อยุบสภาและจะมีการจัดเลือกตั้ง 3 กรกฏาคม 2554 พรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นได้มีการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเอื้อต่อการเลือกตั้งในแบบปาร์ตี้ลิสต์ รัฐบาลใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์ผลงานจำนวนมหาศาล ………. การเลือกตั้ง 3 กรกฏาคม 2554 จบด้วยชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างท่วมท้น
เมื่อรัฐบาลเพื่อไทยก็ทำคะแนนเสียงตกหายทั้งกรณีแก้ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาเศรษฐกิจ และการบริหารความสัมพันธ์ที่ผิดพลาดกับคนเสื้อแดง ….. พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านกับเล่นการเมืองในรูปแบบเก่า โจมตีในประเด็นยิบย่อย และล่าสุดแสดงพฤฒิกรรมใช้ความรุนแรงระหว่างการประชุมสภาเมื่อมีการแย่งชิงเก้าอี้ประธานสภา เข้าไปบีบคอส.ส.ฝั่งรัฐบาล และขว้างปาสิ่งของ
เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศขอมติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ …….. ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวเพราะตีความว่าอาจเข้าข่ายล้มล้างระบอบการปกครอง ทั้งๆที่เคยแก้ไขเมื่อปี 2554 โดยพรรคประชาธิปัตย์ โดยศาลใช้ดิกชันนารีและรัฐธรรมนูฐ 2550 ฉบับภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานในการรับคำร้อง จนมีคำตัดสินในวันที่ 13 กรกฏาคม 2555 โดยหลังศาลอ่านคำวินิจฉัย โฆษกศาลแถลงว่า ข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัย คือ มาตรา 68 สรุปว่าไม่ได้มีการล้มล้างการปกครองฯ แต่พอถูกนักข่าวถามว่า ศาลวินิจฉัยเรื่อง มาตรา 291 ว่าห้ามแก้ไขทั้งฉบับ หรือไม่ โฆษกกลับตอบว่า เป็นข้อเสนอแนะ เป็นความเห็น หากรัฐสภาดำเนินการต่อ ต้องรับผิดชอบเอง

หากวิเคราะห์อย่างแท้จริงแล้วทักษิณไม่ได้แข็งแกร่งด้วยตัวของทักษิณเอง หากไม่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของคปค. ทักษิณในขณะนั้นอยู่ในช่วงขาลง ประชาชนเริ่มลดการสนับสนุน และเป็นการเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยของประชาชนที่ต้องอาศัยการอดทนรอ แต่การรัฐประหารเป็นการตัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดเพราะขาดความอดทนตามระบอบประชาธิปไตย และคิดว่ารัฐประหารจะแก้ไขสถานการณ์ทุกอย่างได้ แต่กลับเป็นจุดเริ่มของปัญหาและระเบิดเวลาทางการเมืองของประเทศไทย เมื่อพวกเขาใฝ่หาประเทศไทยที่มีความสุขดั่งเดิม แต่กลับมีส่วนผลักดัน ให้สถานการณ์เข้าไปสู่จุดเปราะบางมากยิ่งขึ้นๆ
ในตำนานปรัมปรามีปีศาจตนหนึ่งนั้นจะแปลงกายไปเรื่อยๆตามความอ่อนแอของจิตใจของเหยื่อ เมื่อจิตใจเราเข้มแข็งปีศาจนั้นก็มีอำนาจอ่อนแอลง แต่ถ้าหากเรายิ่งผิดพลาดและหวาดกลัวปีศาจที่เราสร้างในจินตนาการนั้นก็จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น และเมื่อเราปล่อยจิตให้ว่าง ปราศจากอคติ เมื่อนั้นปีศาจตนนั้นก็จะปรากฏโฉมที่แท้จริงของมันว่าแท้จริงเป็นคนธรรมดาๆเหมือนเรา ที่มีทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด แต่ดูเหมือนว่าองคาพยพทางสังคมมีส่วนสร้างให้ปีศาจทักษิณมีความเข้มแข็งขึ้นทุกวันๆ จากความผิดพลาดและอคติส่วนบุคคล และบางทีมันแข็งแกร่งเกินกว่าทักษิณเองจะคิดถึงเสียอีก ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาและก้าวให้พ้นเรื่องทักษิณ จงมองทักษิณให้เป็นคนไม่ใช่ปีศาจ!!

สนธิ ลิ้มทองกุล อดีตคนรักกันผู้ปลุกวิญญาณ ปีศาจทักษิณ
ยุทธศาสตร์ในครั้งนั้นคือการสร้างทักษิณให้มีภาพลักษณ์ที่ น่าเกลียดน่ากลัว ขายชาติ ต่ำช้าเลวทราม หรืออาจจะเรียกในภาษาที่สื่อใช้ว่า “ผีทักษิณ” หรือ “ปีศาจทักษิณ” หากจะวิเคราะห์ตามทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคม ก็คือการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเป็น “พวกเขาและพวกเรา” ที่ชัดเจน คือใครที่ไม่สนับสนุนแนวทางของ พธม.ก็ให้ถือว่าเป็นผู้นิยม “ระบอบทักษิณ” ในปี 2549 ไม่ใช่ปีที่ดีของ ทักษิณ ชินวัตร เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงขาลง จากบทบาทหน้าที่และอำนาจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย แล้วทำไมทักษิณ ที่หมายถึงต้นตอความขัดแย้งทางการเมืองที่ถูกสร้างและนิยามโดย พธม. ถึงไม่ตายไปจากสังคมไทย? ลองมาทบทวนกัน
เมื่อทักษิณใช้อำนาจประกาศยุบสภาและมีการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ….พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน กลับเลือกที่จะบอยคอตการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตย
เมื่อทักษิณไปปฏิบัติภารกิจยังต่างประเทศในเดือนกันยายนและพธม.ประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 20 กันยายน 2549…… คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทักษิณ ตัดสินใจไม่ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น และนำไปสู่เครือข่ายต้านรัฐประหารต่างๆที่มองว่าการรัฐประหารนั้นเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยก่อนที่จะพัฒนากลายเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.)
เมื่อพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดของอดีตนายกฯทักษิณและอีก 4 พรรคการเมืองถูกฟ้องในคดียุบพรรคการเมือง ……..พรรคไทยรักไทย และพรรคเล็กที่ถูกจ้างให้ลงเลือกตั้งถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรคและพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเดียวที่รอดพ้นความผิด
เมื่อเกิดการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2550 พร้อมกับวาทกรรม “รับๆไปก่อนแล้วค่อยแก้” ………. รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะโหวตล้มรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว รวมไปถึงปฏิบัติการแทรกแซงทางการทหาร แต่กลับมีผู้ที่ไม่รับร่างดังกล่าวถึง 10.7 ล้านเสียง และรับเพียง 14.7 ล้านเสียง ทั้งที่รัฐบาลทหารสามารถคุมกลไกได้เบ็ดเสร็จ
เมื่อเกิดการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ได้พยายามมีกลไกเพื่อที่ผลักดันให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยจับมือร่วมกับพรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ประกาศตนตั้งรัฐบาลล่วงหน้า ทหารสนับสนุนพรรคเพื่อแผ่นดิน และพธม.สนับสนุนพรรคมัชฌิมาธิปไตย ….. สุดท้ายพรรคพลังประชาชน โดย นายสมัคร สุนทรเวช ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และพรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคมหาชนได้กระโดดเข้ามาร่วมรัฐบาล รวมไปถึงพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง อดีตคนสนิททักษิณที่เคยปราศรัยโจมตีทักษิณบนเวทีพธม.ก็เข้าร่วมรัฐบาล เป็นบทเรียนเมื่อพธม.และกองทัพประเมินนักเลือกตั้งอาชีพผิดพลาด
เมื่อเกิดรัฐบาลจากการเลือกตั้งของนาย สมัคร สุนทรเวช โดยมี นาย นพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ …… พธม. ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน โดยชูประเด็นชาตินิยมสุดโต่ง ทั้งวาทกรรมขายชาติ และเสียแผ่นดิน และท้ายที่สุดนำไปสู่การหลุดจากตำแหน่งของ นาย สมัคร ด้วยการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ตีความด้วย “พจนานุกรม” คำว่า “ลูกจ้าง” และ “รับจ้าง”
เมื่อเกิดการตัดสินคดีที่ดินรัชดา 2 สิงหาคม 2551 ทักษิณ ได้เดินทางออกนอกประเทศและมีการตัดสินรับหลังด้วยการจำคุก 2 ปี นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร ……… พธม.ประกาศยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นที่ชุมนุม นายสมชายเป็นนายกฯที่ไม่เคยเข้าทำงานที่ทำเนียบ และวันที่รัฐบาลสมชายต้องการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา พธม.ได้ทำการขัดขวาง จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด 7 ตุลาฯ 51 ซึ่งจากบันทึกของวิกิลีกส์ บันทึกว่าคนในระดับแกนนำพธม. ต้องการใช้เหตุการณ์ดังกล่าวสร้าง “เงื่อนไข” เพื่อนำไปสู่ความรุนแรง
เมื่อเกิดการรวมตัวของนปก. ที่ยกระดับเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ในเดือน พฤศจิกายน 2551 ………… กองทัพนำโดยผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้ออกรายการช่อง 3 อ.ส.ม.ท. “ปฏิวัติเงียบ” เพื่อขอให้รัฐบาลสมชายลาออกจากตำแหน่ง พธม.เข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองในปลายเดือนพฤศจิกายน 2551
เมื่อเกิดคดียุบพรรค 2551 โดยมีพรรคพลังประชาชน ในกรณีเป็นนอมินีให้กับพรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 …… ผลศาลรัฐธรรมนูญโดย นาย ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น มีคำสั่งให้ยุบทั้งสามพรรค ชนิดที่นาย บรรหาร ศิลปอาชา เรียกว่า “มีการให้ปากคำเช้า แล้วพิจารณาตัดสินตอนบ่าย เป็นไปได้อย่างไร?” นักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายท่านวิเคราะห์ว่าการตัดสินนั้น “มีธง”
เมื่อหลังจากคดีการยุบพรรคพลังประชาชน ได้มีการพยายามฟอร์มรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ….. รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลเสียงข้างนอกที่ถูกครหาว่า “จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” คนในตระกูลศิลปอาชาบอกว่า “เป็นคำขอร้องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้” และการเกิดงูเห่าภาคสองจาก นาย เนวิน ชิดชอบ ทำให้พรรคภูมิใจไทยอาศัยบุญคุณที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำตาม โดยสละตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลให้กับพรรคภูมิใจไทย เพื่อที่จะทำทุกวิถีทางรักษาตำแหน่งรัฐบาลไว้ให้ได้
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศ โดยประกาศนโยบาย 99 วันทำได้จริง และปราศจากคอร์รัปชั่น ……… หลายๆนโยบายไม่สามารถทำได้จริง จนนำไปสู่วาทกรรม “ดีแต่พูด” และการคอร์รัปชั่นมโหฬาร ทั้งในกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องปลากระป๋องเน่าหลังจากรับตำแหน่งไม่ถึง 3 เดือน และพรรคร่วมรัฐบาล อย่างพรรคภูมิใจไทย อย่างโครงการ ถนนปลอดฝุ่น การประกันราคา และการเช่ารถเมล์ NGV แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็ไม่กล้าที่จะปรับคณะรัฐมนตรี เพราะเกรงกระทบเสถียรภาพรัฐบาลมากกว่าการรักษากฏเหล็กที่ตนเองได้ตั้งขึ้น
ตุลาการภิวัฒน์ อีกหนึ่งในแรงเสริมของปีศาจทักษิณ – ภาพจาก ทีนิวส์
เมื่อเกิดการยึดทรัพย์ อดีตนายกฯทักษิณ 46,000 ล้านบาท เมื่อปี 2553 ทำให้คนเสื้อแดงรู้สึกว่าทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งเกิดการถกเถียงทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เกิดการชุมนุมใหญ่ของ นปช. บริเวณผ่านฟ้าและราชประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุบสภา ……. นำไปสู่การสลายการชุมนุมด้วยกระสุนจริงจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน ระหว่าง เมษายน – พฤษภาคม 2553 การอัดสื่อประชาสัมพันธ์ข้างเดียวโดยปิดกั้นสื่อขั้วตรงข้ามและเว็บไซต์กว่าแสนเว็บ การสร้างวาทกรรม ชายชุดดำและการเผาบ้านเผาเมือง และรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ในขณะนั้นเมื่อมีการเจรจาปรองดองกับแกนนำสัญญาว่าะยุบสภา ตุลาคม 2553 แต่ก็อยู่ในอำนาจจนมายุบสภา พฤษภาคม 2554
เมื่อเกิดเหตุการณ์ตุลาการภิวัฒน์ด้านเดียว เมื่อกกต.ยื่นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยกระบวนการยื่นคำร้องไม่เป็นไปตามข้อกฎหมายเลยกำหนด 15 วัน!!? …….. ประชาธิปัตย์กลับไปทะเลาะกับพธม. จนเสียงแตกออกจากกันอย่างชัดเจน มีการขุดคุ้ยแฉกันไปมา
เมื่อยุบสภาและจะมีการจัดเลือกตั้ง 3 กรกฏาคม 2554 พรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นได้มีการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อเอื้อต่อการเลือกตั้งในแบบปาร์ตี้ลิสต์ รัฐบาลใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์ผลงานจำนวนมหาศาล ………. การเลือกตั้ง 3 กรกฏาคม 2554 จบด้วยชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างท่วมท้น
เมื่อรัฐบาลเพื่อไทยก็ทำคะแนนเสียงตกหายทั้งกรณีแก้ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาเศรษฐกิจ และการบริหารความสัมพันธ์ที่ผิดพลาดกับคนเสื้อแดง ….. พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านกับเล่นการเมืองในรูปแบบเก่า โจมตีในประเด็นยิบย่อย และล่าสุดแสดงพฤฒิกรรมใช้ความรุนแรงระหว่างการประชุมสภาเมื่อมีการแย่งชิงเก้าอี้ประธานสภา เข้าไปบีบคอส.ส.ฝั่งรัฐบาล และขว้างปาสิ่งของ
เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศขอมติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ …….. ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวเพราะตีความว่าอาจเข้าข่ายล้มล้างระบอบการปกครอง ทั้งๆที่เคยแก้ไขเมื่อปี 2554 โดยพรรคประชาธิปัตย์ โดยศาลใช้ดิกชันนารีและรัฐธรรมนูฐ 2550 ฉบับภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานในการรับคำร้อง จนมีคำตัดสินในวันที่ 13 กรกฏาคม 2555 โดยหลังศาลอ่านคำวินิจฉัย โฆษกศาลแถลงว่า ข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัย คือ มาตรา 68 สรุปว่าไม่ได้มีการล้มล้างการปกครองฯ แต่พอถูกนักข่าวถามว่า ศาลวินิจฉัยเรื่อง มาตรา 291 ว่าห้ามแก้ไขทั้งฉบับ หรือไม่ โฆษกกลับตอบว่า เป็นข้อเสนอแนะ เป็นความเห็น หากรัฐสภาดำเนินการต่อ ต้องรับผิดชอบเอง
แม้แต่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องมาเล่นวาทกรรม “ขี้ข้าทักษิณ” จนถูกอัดกลับ – ภาพจากเพจศาสดา
หากวิเคราะห์อย่างแท้จริงแล้วทักษิณไม่ได้แข็งแกร่งด้วยตัวของทักษิณเอง หากไม่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของคปค. ทักษิณในขณะนั้นอยู่ในช่วงขาลง ประชาชนเริ่มลดการสนับสนุน และเป็นการเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยของประชาชนที่ต้องอาศัยการอดทนรอ แต่การรัฐประหารเป็นการตัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดเพราะขาดความอดทนตามระบอบประชาธิปไตย และคิดว่ารัฐประหารจะแก้ไขสถานการณ์ทุกอย่างได้ แต่กลับเป็นจุดเริ่มของปัญหาและระเบิดเวลาทางการเมืองของประเทศไทย เมื่อพวกเขาใฝ่หาประเทศไทยที่มีความสุขดั่งเดิม แต่กลับมีส่วนผลักดัน ให้สถานการณ์เข้าไปสู่จุดเปราะบางมากยิ่งขึ้นๆ
ในตำนานปรัมปรามีปีศาจตนหนึ่งนั้นจะแปลงกายไปเรื่อยๆตามความอ่อนแอของจิตใจของเหยื่อ เมื่อจิตใจเราเข้มแข็งปีศาจนั้นก็มีอำนาจอ่อนแอลง แต่ถ้าหากเรายิ่งผิดพลาดและหวาดกลัวปีศาจที่เราสร้างในจินตนาการนั้นก็จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น และเมื่อเราปล่อยจิตให้ว่าง ปราศจากอคติ เมื่อนั้นปีศาจตนนั้นก็จะปรากฏโฉมที่แท้จริงของมันว่าแท้จริงเป็นคนธรรมดาๆเหมือนเรา ที่มีทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด แต่ดูเหมือนว่าองคาพยพทางสังคมมีส่วนสร้างให้ปีศาจทักษิณมีความเข้มแข็งขึ้นทุกวันๆ จากความผิดพลาดและอคติส่วนบุคคล และบางทีมันแข็งแกร่งเกินกว่าทักษิณเองจะคิดถึงเสียอีก ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาและก้าวให้พ้นเรื่องทักษิณ จงมองทักษิณให้เป็นคนไม่ใช่ปีศาจ!!
ปีศาจทักษิณ เข้มแข็งด้วยความอ่อนแอของฝ่ายตรงข้าม – ภาพจากกรุงเทพธุรกิจ
ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น