คอลัมน์ คนเดินตรอก
เมื่อไม่นานนี้มีข่าวว่าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ส่งตัวแทนของตนไปร้องต่อศาลอาญาให้ถอนประกันผู้ต้องหาคดี "ก่อการร้าย" ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ "เหลือเชื่อ" ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของศาล
เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใด ๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใด ๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสม มีวุฒิภาวะสูงในสายตาของประชาชน
การวางตัวให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับตุลาการ เพราะจะต้องได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือ ยิ่งเรียกร้องว่าตัวเองต้องอิสระ ไม่ถูกตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกเลย ยิ่งต้องมีขันติธรรม คือความอดกลั้นสูง ไม่โอนเอนไปตามอารมณ์ของตน ต้องมีอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลางว่างจากอคติและอุปาทานของตน อย่างน้อยก็ต้องไม่ให้ประชาชนเห็น เพราะจะทำให้ผู้คนคิดไปไกลว่าไม่อาจเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติโดยส่วนรวม
การที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร้องต่อศาลอาญา ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะกล่าวว่าตนไม่รู้ไม่เห็น ทางสำนักงานเขาทำกันไปเองไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็เท่ากับตนไม่มีความหมายอะไร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำเรื่องใหญ่ขนาดนี้ได้โดยไม่ปรึกษาประธานศาล

แต่ผู้คนเขากลับมองว่าประธานศาลไม่พูดความจริง เป็นการพูด "แก้ตัว" ปัดเรื่องออกจากตัวมากกว่า ยิ่งออกมาพูดว่าที่ไปร้องต่อศาลอาญาก็เพื่อความปลอดภัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะใช้ข้อหา "ผู้ก่อการร้าย" เพื่อให้ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้ประกันตัวได้ก็เป็นข้ออ้างทางการเมือง ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องกล่าวหากันทางการเมือง แม้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาบอกประชาชนว่าตนได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ ถ้าแค่ถูกโทรศัพท์ข่มขู่ก็หวั่นไหวในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว ก็ต้องคิดให้หนักว่าจะทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมได้หรือไม่
ศาลเป็นสถาบันเดียวในสามสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจประชาอธิปไตยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่เคยมีการปฏิรูปเลยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ศาลผู้ใช้อำนาจตุลาการก็ยังไม่ถูกแตะต้องเลย แถมคณะราษฎร์ยังไปขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา อดีตผู้พิพากษามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกด้วย การที่คณะราษฎร์ไปดึงเอาผู้พิพากษามาทำงานการเมืองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มหลวในเวลาต่อมา เพราะพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ได้มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยเลย
ความไม่มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยของศาลนั้นน่าจะยังมีสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะการเรียนการสอนก็ไม่ได้ตัดตอนฐานะของผู้พิพากษาในระบบที่แตกต่างกันก่อนปี 2475 กับหลังปี 2475 ว่าตนทำหน้าที่แทนใคร ควรวางตัวอย่างไร วิธีคิดควรเปลี่ยนไปอย่างไร
เมื่อมีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ได้มีการยอมรับมานานแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ศาลซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในสามที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจแทนประชาชนทางศาล ดังนั้นศาลจึงทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนเหมือน ๆ กับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่นิติบัญญัติและบริหารแทนปวงชนชาวไทยแล้ว ต้องตระหนักให้มากว่าตนได้รับเกียรติให้มาทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนโดยไม่ได้มีอะไรยึดโยงกับประชาชนเลย ทั้งในการคัดเลือก ควบคุม ตรวจสอบ ถอดถอน ดังนั้นตนต้องเคร่งครัดในหลักการและจรรยาบรรณ
กล่าวคือต้องควบคุมและตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอเป็นนิตย์ ว่าตนยังทำหน้าที่แทนเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชนอยู่หรือไม่
ยิ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการได้รับการคัดเลือกมาตอนที่อำนาจอธิปไตยถูกยึดจากปวงชนชาวไทยโดยคณะรัฐประหาร อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ออกมาสารภาพขอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติที่ตนแต่งตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องยิ่งถ่อมเนื้อถ่อมตน และตระหนักว่าตนมิได้มาตามวิถีทางปกติ วันหนึ่งเจ้าของอำนาจอธิปไตยเขาก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากเขา แม้เขาจะเป็นผู้ลงประชามติรับก็ด้วยมีเหตุจำยอม เพราะถ้ายิ่งไม่รับก็ยิ่งต้องใช้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ด้วยความเชื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และเชื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าให้รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ถ้าตนตระหนักว่าตนทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนชาวไทย ตุลาการรุ่นเก่าที่สอนกฎหมายอยู่ระหว่างประเทศปกครองโดยรัฐบาลทหาร
ในห้องเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ท่านก็พร่ำสอนถึงความเป็นตุลาการในระบอบประชาธิปไตย อดีตประธานศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยสอนว่า "แม้จะรู้ว่าเมื่ออ่านคำพิพากษาจบฟ้าจะถล่มดินจะทลาย คำพิพากษาก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง" ยังจำติดหูอยู่จนทุกวันนี้ ไม่ใช่ออกมาแสดงความหวั่นไหวเมื่อมีโทรศัพท์มาข่มขู่ ซึ่งจริงหรือไม่ก็ยังไม่แน่ใจ มิฉะนั้นเราคงจะไม่เห็นพลเอกผู้ร่วมปฏิวัติกับจอมพลสฤษดิ์ถูกตัดสินจำคุกเพราะภรรยาไปรับเพชรเป็นสินบน
แม้จะยึดหลักทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่า"ผู้ที่ยึดอำนาจสำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์" สามารถตรากฎหมายให้ศาลใช้ได้ ก็ยังต้องตระหนักว่าตนใช้กฎหมายนั้นแทนประชาชน ไม่ใช่แทนคณะรัฐประหารที่เป็นองค์อธิปัตย์ เพราะคณะรัฐประหารก็ประกาศว่า "ตนกระทำการบริหารประเทศแทนประชาชน ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
โดยทั่วไปสังคมยอมรับว่าผู้พิพากษาเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น"คนดี" แต่ก็มีภาษิตทางรัฐศาสตร์อยู่เหมือนกันว่า "คนดีที่ควบคุมไม่ได้อันตรายเสียยิ่งกว่าคนเลวที่ควบคุมได้" เรื่องนี้เคยพิสูจน์มาแล้วจากประวัติศาสตร์ในยุคที่บ้านเมืองเคยถูกปกครองโดยคนที่ประชาชนนึกว่าเป็นคนดี ผู้ที่ถือค้อนนาน ๆ เข้าก็จะเห็นศีรษะของมนุษย์เป็นหัวตะปูไปหมด ถ้าไม่มีการควบคุมหรือถ่วงดุล อำนาจทุกอย่างจึงต้องมีการควบคุมและถ่วงดุล การควบคุมและการถ่วงดุลจึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการบริหารประเทศทุกระดับ เราควรจะตรวจสอบดูว่าองค์กรทุกองค์กรมีระบบถ่วงดุลและควบคุมเพียงพอหรือไม่ ไม่ควรคิดว่า "ถ้าเลือกคนดีทุกอย่างก็จะดีเอง" อย่างที่บางคนชอบพูดฟังดูดี แต่ไม่สู้จะมีประโยชน์ กลับไปทำให้สังคมคิดผิด ๆ และหลงทาง ไม่สนใจระบบและโครงสร้างของอำนาจ ไปสนใจหาคนดีหรือทำคนให้ดีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าและพระศาสดาองค์อื่นพยายามมากว่า 2-3,000 ปีแล้วก็ยังทำไม่ได้
มาสนใจระบบดีกว่าว่าจะสร้างอย่างไรจึงจะควบคุมทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่ให้เอาคุณค่าและความคิดของตนไปใช้อำนาจบังคับให้คนอื่นต้องคิดตาม
ขณะนี้ทั้งโลกยอมรับกันแล้วว่า"ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด" เพราะเป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนผู้ปกครองได้โดยสันติวิธี สามารถควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลได้ไปในตัว ไม่มีชนชั้นใดโง่หรือฉลาดกว่าชนชั้นใด ขณะนี้คนชนบทไม่มีแล้ว มีแต่คนเมืองกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีได้เปลี่ยนโลกใบนี้ให้แตกต่างจากเมื่อ 20-30 ปีก่อนไปแล้ว องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายควรจะเลิกสับสนเสียทีว่าตนเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐแทนใครและเพื่อใคร ควรตระหนักได้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ผู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดมากที่สุด อาจจะเป็นตุลาการนั่นเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใด ๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใด ๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสม มีวุฒิภาวะสูงในสายตาของประชาชน
การวางตัวให้เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับตุลาการ เพราะจะต้องได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือ ยิ่งเรียกร้องว่าตัวเองต้องอิสระ ไม่ถูกตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกเลย ยิ่งต้องมีขันติธรรม คือความอดกลั้นสูง ไม่โอนเอนไปตามอารมณ์ของตน ต้องมีอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลางว่างจากอคติและอุปาทานของตน อย่างน้อยก็ต้องไม่ให้ประชาชนเห็น เพราะจะทำให้ผู้คนคิดไปไกลว่าไม่อาจเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติโดยส่วนรวม
การที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปร้องต่อศาลอาญา ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะกล่าวว่าตนไม่รู้ไม่เห็น ทางสำนักงานเขาทำกันไปเองไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็เท่ากับตนไม่มีความหมายอะไร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญสามารถทำเรื่องใหญ่ขนาดนี้ได้โดยไม่ปรึกษาประธานศาล
แต่ผู้คนเขากลับมองว่าประธานศาลไม่พูดความจริง เป็นการพูด "แก้ตัว" ปัดเรื่องออกจากตัวมากกว่า ยิ่งออกมาพูดว่าที่ไปร้องต่อศาลอาญาก็เพื่อความปลอดภัยของประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะใช้ข้อหา "ผู้ก่อการร้าย" เพื่อให้ศาลมีดุลพินิจที่จะไม่ให้ประกันตัวได้ก็เป็นข้ออ้างทางการเมือง ใคร ๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องกล่าวหากันทางการเมือง แม้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาบอกประชาชนว่าตนได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ ถ้าแค่ถูกโทรศัพท์ข่มขู่ก็หวั่นไหวในการอำนวยความยุติธรรมแล้ว ก็ต้องคิดให้หนักว่าจะทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมได้หรือไม่
ศาลเป็นสถาบันเดียวในสามสถาบันที่เป็นผู้ใช้อำนาจประชาอธิปไตยที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ไม่เคยมีการปฏิรูปเลยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ศาลผู้ใช้อำนาจตุลาการก็ยังไม่ถูกแตะต้องเลย แถมคณะราษฎร์ยังไปขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา อดีตผู้พิพากษามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกด้วย การที่คณะราษฎร์ไปดึงเอาผู้พิพากษามาทำงานการเมืองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มหลวในเวลาต่อมา เพราะพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่ได้มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยเลย
ความไม่มีความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตยของศาลนั้นน่าจะยังมีสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เพราะการเรียนการสอนก็ไม่ได้ตัดตอนฐานะของผู้พิพากษาในระบบที่แตกต่างกันก่อนปี 2475 กับหลังปี 2475 ว่าตนทำหน้าที่แทนใคร ควรวางตัวอย่างไร วิธีคิดควรเปลี่ยนไปอย่างไร
เมื่อมีการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ได้มีการยอมรับมานานแล้วว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ศาลซึ่งเป็นอำนาจหนึ่งในสามที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจแทนประชาชนทางศาล ดังนั้นศาลจึงทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนเหมือน ๆ กับรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่นิติบัญญัติและบริหารแทนปวงชนชาวไทยแล้ว ต้องตระหนักให้มากว่าตนได้รับเกียรติให้มาทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนโดยไม่ได้มีอะไรยึดโยงกับประชาชนเลย ทั้งในการคัดเลือก ควบคุม ตรวจสอบ ถอดถอน ดังนั้นตนต้องเคร่งครัดในหลักการและจรรยาบรรณ
กล่าวคือต้องควบคุมและตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอเป็นนิตย์ ว่าตนยังทำหน้าที่แทนเจ้าของอำนาจอธิปไตยคือประชาชนอยู่หรือไม่
ยิ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการได้รับการคัดเลือกมาตอนที่อำนาจอธิปไตยถูกยึดจากปวงชนชาวไทยโดยคณะรัฐประหาร อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ออกมาสารภาพขอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติที่ตนแต่งตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องยิ่งถ่อมเนื้อถ่อมตน และตระหนักว่าตนมิได้มาตามวิถีทางปกติ วันหนึ่งเจ้าของอำนาจอธิปไตยเขาก็คงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากเขา แม้เขาจะเป็นผู้ลงประชามติรับก็ด้วยมีเหตุจำยอม เพราะถ้ายิ่งไม่รับก็ยิ่งต้องใช้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร ด้วยความเชื่อผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และเชื่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ว่าให้รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ถ้าตนตระหนักว่าตนทำหน้าที่ตุลาการแทนประชาชนชาวไทย ตุลาการรุ่นเก่าที่สอนกฎหมายอยู่ระหว่างประเทศปกครองโดยรัฐบาลทหาร
ในห้องเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ท่านก็พร่ำสอนถึงความเป็นตุลาการในระบอบประชาธิปไตย อดีตประธานศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยสอนว่า "แม้จะรู้ว่าเมื่ออ่านคำพิพากษาจบฟ้าจะถล่มดินจะทลาย คำพิพากษาก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง" ยังจำติดหูอยู่จนทุกวันนี้ ไม่ใช่ออกมาแสดงความหวั่นไหวเมื่อมีโทรศัพท์มาข่มขู่ ซึ่งจริงหรือไม่ก็ยังไม่แน่ใจ มิฉะนั้นเราคงจะไม่เห็นพลเอกผู้ร่วมปฏิวัติกับจอมพลสฤษดิ์ถูกตัดสินจำคุกเพราะภรรยาไปรับเพชรเป็นสินบน
แม้จะยึดหลักทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ว่า"ผู้ที่ยึดอำนาจสำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์" สามารถตรากฎหมายให้ศาลใช้ได้ ก็ยังต้องตระหนักว่าตนใช้กฎหมายนั้นแทนประชาชน ไม่ใช่แทนคณะรัฐประหารที่เป็นองค์อธิปัตย์ เพราะคณะรัฐประหารก็ประกาศว่า "ตนกระทำการบริหารประเทศแทนประชาชน ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
โดยทั่วไปสังคมยอมรับว่าผู้พิพากษาเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็น"คนดี" แต่ก็มีภาษิตทางรัฐศาสตร์อยู่เหมือนกันว่า "คนดีที่ควบคุมไม่ได้อันตรายเสียยิ่งกว่าคนเลวที่ควบคุมได้" เรื่องนี้เคยพิสูจน์มาแล้วจากประวัติศาสตร์ในยุคที่บ้านเมืองเคยถูกปกครองโดยคนที่ประชาชนนึกว่าเป็นคนดี ผู้ที่ถือค้อนนาน ๆ เข้าก็จะเห็นศีรษะของมนุษย์เป็นหัวตะปูไปหมด ถ้าไม่มีการควบคุมหรือถ่วงดุล อำนาจทุกอย่างจึงต้องมีการควบคุมและถ่วงดุล การควบคุมและการถ่วงดุลจึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการบริหารประเทศทุกระดับ เราควรจะตรวจสอบดูว่าองค์กรทุกองค์กรมีระบบถ่วงดุลและควบคุมเพียงพอหรือไม่ ไม่ควรคิดว่า "ถ้าเลือกคนดีทุกอย่างก็จะดีเอง" อย่างที่บางคนชอบพูดฟังดูดี แต่ไม่สู้จะมีประโยชน์ กลับไปทำให้สังคมคิดผิด ๆ และหลงทาง ไม่สนใจระบบและโครงสร้างของอำนาจ ไปสนใจหาคนดีหรือทำคนให้ดีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าและพระศาสดาองค์อื่นพยายามมากว่า 2-3,000 ปีแล้วก็ยังทำไม่ได้
มาสนใจระบบดีกว่าว่าจะสร้างอย่างไรจึงจะควบคุมทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่ให้เอาคุณค่าและความคิดของตนไปใช้อำนาจบังคับให้คนอื่นต้องคิดตาม
ขณะนี้ทั้งโลกยอมรับกันแล้วว่า"ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เลวน้อยที่สุด" เพราะเป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนผู้ปกครองได้โดยสันติวิธี สามารถควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลได้ไปในตัว ไม่มีชนชั้นใดโง่หรือฉลาดกว่าชนชั้นใด ขณะนี้คนชนบทไม่มีแล้ว มีแต่คนเมืองกับคนต่างจังหวัดเท่านั้น เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีได้เปลี่ยนโลกใบนี้ให้แตกต่างจากเมื่อ 20-30 ปีก่อนไปแล้ว องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐทั้งหลายควรจะเลิกสับสนเสียทีว่าตนเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจรัฐแทนใครและเพื่อใคร ควรตระหนักได้ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และโดยประชาชน
ผู้ที่ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดมากที่สุด อาจจะเป็นตุลาการนั่นเอง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น