หนังชื่อ “ยังบาว” เป็นเรื่องราว แง่ชีวิตของวงดนตรี “คาราบาว” ในสมัย หนุ่มๆ ยุคปี 2520-2530 หนังเรื่องนี้กำลังฟอร์มตัวสร้างขึ้นเพื่อ ให้แฟนคลับคนแก่ๆ รำลึกถึงความหลัง และ คนรุ่นใหม่ได้ซึมซับตำนานมนต์เพลงคาราบาว อันลือลั่นเพียงแค่ชื่อหนัง คนที่รับรู้เรื่องราวในยุค “ยังบาว” คงนั่งทางในมองเห็นภาพชีวิตได้ทะลุแจ่มแจ้งเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่บอกถึงพัฒนาการทางความคิดของวงดนตรีคาราบาวมาเป็นลำดับ
ยุคคาราบาวเป็นหนุ่มน้อยวัยเอ๊าะๆ ร้องเพลงเพื่อชีวิตถ่ายทอดความเสื่อมทราม ของสังคม แต่เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมีประสบการณ์ ตกผลึก เนื้อสมองพัฒนาแนวคิดเพลงเชิดชู “ชาตินิยมไทย” ได้อย่างถึงแก่น แต่เชื่อเถอะหนังเรื่องนี้ชื่อก็บอกกันตรงๆ แล้ว คงไม่สร้างถึงยุค “โอลด์บาว” ที่เป็นยุคแห่งสัญลักษณ์เครื่องดื่มชูกำลังในปัจจุบันแน่ๆ
ถึงที่สุด ไม่รู้ว่า ในหนังจะมีฉากชีวิตตามเพลง “พลทหารบัวลอย” ผู้รักบ้านเกิดเมืองนอน ไปเป็นทหารรับใช้ชาติในสมรภูมิ รบเยี่ยงชาติชายทหารบ้านนอกเมื่อครบอายุ 20 ปี กฎหมายบังคับให้ไปเกณฑ์ทหาร เป็น รั้วปกป้องชาติ ภาพชีวิตพลทหารบัวลอยในเพลงของคาราบาว เป็นภาพสะท้อนมุมกลับกับ ชีวิต “ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
“บัวลอย” ในบทเพลงของคาราบาวมีชีวิตแตกต่างทั้งทางฐานันดรและจิตสำนึก สังคมกับ “ร.ต.อภิสิทธิ์” ตัวเป็นๆ ในปัจจุบัน อย่างฟ้ากับดิน
“บัวลอย” หนุ่มน้อยบ้านนอก มีการศึกษาน้อย เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารก็ไปจับ สลากแล้วได้เป็น “พลทหาร” ออกสนามรบ เอาชีวิตหลบอาวุธสงครามจากข้าศึก ส่วน “อภิสิทธิ์” เป็นหนุ่มรูปหล่อ ฐานะสังคมระดับสูง มีกิน เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหาร เขาใช้สิทธิ์ผ่อนผันบินลัดฟ้าไป เรียนต่อประเทศอังกฤษ จบมารับใช้ชาติด้วยการเป็น “อาจารย์สอนโรงเรียนทหาร” ติดยศ “ร้อยตรี” แต่เขาพึงพอใจที่จะใช้ “นาย” นำหน้าชื่อมากกว่าใช้ “ยศถาบรรดาศักดิ์” คนแบบอย่าง “บัวลอยกับอภิสิทธิ์” ยังมีอีกมากในสังคมที่เต็มไปด้วยช่วงชั้น แบ่งฐานันดรยึดถือกันอย่างลึกๆ แต่ทุกชีวิต ย่อมดำเนินไปตามกติกาหรือกฎหมายสังคม กำหนดการกระทำไว้
บัวลอยใช้สิทธิ์เข้าเกณฑ์ทหารรับใช้ชาติ ส่วน “อภิสิทธิ์” ใช้สิทธิ์ผ่อนผัน ซึ่งกระทำได้มันก็จบ แต่ไม่จบหรอก เพราะ “อภิสิทธิ์” ไม่ใช่คนธรรมดา เขามีชีวิตเป็นนักการเมือง ใหญ่อยู่ในท่ามกลางการมีอำนาจบริหารประเทศ แน่นอน “อำนาจ” เป็นอะไรลึกลับ ยากต่อการอธิบาย จึงมีพลังให้เรื่องเล็กๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมต้องกล่าวถึงได้เสมอ
บัวลอยจบแล้ว-อภิสิทธิ์กำลังผจญปัญหาชีวิตของหนุ่มน้อยบ้านนอกชื่อ “บัวลอย” ในบทเพลงคาราบาวถูกปิดฉากชีวิตได้สวยหรู แต่เรื่องราวของ “อภิสิทธิ์” กลับกำลังโด่งดังจากข้อกล่าวหาของพรรคเพื่อไทยที่ขุดเรื่องราวเก่าแก่มาเล่นงานว่า “หนีทหาร” หมายความว่า อายุครบ 20 ปีไม่ไปเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกำหนด
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นนักการเมืองระดับต้นที่เปิดหน้าเล่นกับ “อภิสิทธิ์” ด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าวทั้งทางสาธารณะ บนเวทีปราศรัย แถลงข่าว เป็นวรรคเป็นเวรตามข้อมูลเอกสารที่มีอยู่ในมือ แม้ข้อกล่าวหาของนายจตุพร ไม่ได้ทำให้ “อภิสิทธิ์” ต้องติดคุกได้รับโทษตามกฎหมายในขณะนี้ แต่มันเป็นเหตุรุนแรงของ ชีวิตมนุษย์เพราะถูกทำลายศักดิ์ศรีและความสง่างามของความเป็น “ชาย” ซึ่งถูกผู้คนในสังคมหมิ่นหยามได้
กระทั่งเป็นเรื่องจนได้ “อภิสิทธิ์” ฟ้อง “จตุพร” ต่อศาลข้อหาหมิ่นประมาท และขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนชั้นศาลเพื่อพิพากษาให้ความเป็นธรรมแต่เรื่องราว “อภิสิทธิ์” หนีทหารกลับ ไปกันใหญ่ และได้ลากพานักการเมืองน้อยใหญ่เข้ามาถลำตัวเล่นเกมอำนาจเพื่อทำลาย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จนไม่เหลือชิ้นดี
ในขณะที่การไต่สวนคดีความในชั้นศาลกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กระทรวงกลาโหม กระโจนเข้าสู่สมรภูมิหน้าตาเฉย สั่งการให้ตรวจสอบ รื้อเรื่องราวประวัติการเกณฑ์ทหารของ “อภิสิทธิ์” อีกครั้ง ผลสรุปจากการตรวจสอบกลับตอกย้ำว่า อภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้าตรวจเลือกทหาร นั่นเท่ากับลากโยงไปสู่การบรรจุรับราชการ สอนโรงเรียนทหารย่อมขัดต่อกฎหมาย และ เอกสารที่ใช้ยื่นเข้ารับราชการทหารนั้นก็ต้องเป็นเอกสารไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
การลากโยงเชื่อมต่อเหตุการณ์ในชีวิตทหารของอภิสิทธิ์ไม่มีอะไรมาก นอกจาก นักเล่นเกมอำนาจการเมืองต้องการชี้ให้สังคม เชื่อคล้อยตามกันว่า “อภิสิทธิ์หนีทหาร และใช้เอกสารปลอม” ดังนั้นเพื่อให้รูปการออกไปตามธงข้อกล่าวหานี้ จึงมีความพยายาม ขุดผลการสอบสวนอภิสิทธิ์เกี่ยวกับการรับราชการเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนทหาร ซึ่ง เป็นผลสอบตั้งปี 2542 มาเผยแพร่ และสร้างให้เป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น
ผลตรวจสอบอภิสิทธิ์ในกรณีเข้ารับราชการที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ถูกประทับ ตราเป็นเอกสาร “ลับ” ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2542 รายละเอียดเนื้อหามีความยาว 4 หน้ากระดาษ แต่มีข้อสรุปว่า ไม่ได้ไปตรวจเลือกทหารเมื่อเมษายน 2530-2531 และไม่มีหนังสือมีสิทธิ์ผ่อนผันมาแสดง จึงไม่เข้า หลักเกณฑ์รับบรรจุเป็นอาจารย์โรงเรียนทหาร
หากรูปการณ์ออกมาเป็นเช่นผลการสอบสวนเมื่อปี 2542 อภิสิทธิ์จึงงานเข้าทันที และเป็นจังหวะอันสวยงามของนักเล่นเกมการเมืองจากพรรคเพื่อไทยกระโจนเข้ารุมยำอย่างมันมือ ซึ่งคงเป็นโอกาสที่พวกเขารอจังหวะมานานก็ได้ แม้แต่นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเข้าร่วมวงรุมถล่มอภิสิทธิ์อย่างมันมือเลย
แล้วจังหวะเหมาะสมก็มาถึง เมื่อ จตุพรเปิดประเด็นอภิสิทธิ์หนีทหารขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2553 แล้วนำไปสู่การฟ้องร้องถึงโรงถึงศาลในปัจจุบัน
> สู้เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรี “ชายไทย”
อย่าว่าแต่คนทั่วบ้านเต็มเมืองมึนงงกับกรณีนำผลการสอบสวนเก่าๆ ตั้งแต่ปี 2542 มาเล่นงานอภิสิทธิ์หนีทหารเลย โดยเฉพาะ อภิสิทธิ์ยังงงกับเหตุการณ์ที่โผล่ ขึ้นมาชนิดสอดรับกับการดำเนินฟ้องหมิ่นประมาทนายจตุพรในชั้นศาลได้อย่างใดกัน แต่เขายังยืนกรานหนักแน่นเช่นเดิมว่า เขา เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย และกว่าจะได้ รับพระราชทานยศก็ต้องไปฝึกทหาร เหมือน กับหลักสูตรนักเรียนรักษาดินแดน (ร.ด.)
“แต่ตอนนี้มีการเปลี่ยนประเด็นว่า ใช้ เอกสารไม่ถูกต้อง ผิดหลักเกณฑ์ในการเข้า รับราชการในช่วงนั้น ซึ่งก็เคยชี้แจงในสภาไปแล้วและเคยแสดงเอกสารว่า มีชื่อในบัญชีผ่อนผันอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ทางป.ป.ช. และกระทรวงกลาโหมยุคนั้นก็บอกว่าไม่ผิด”
แน่นอนต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันไปมา แม้ทุกฝ่ายงัดเอกสารของจริงมาโชว์เพื่อพิสูจน์ความจริงก็ตาม แต่การกล่าวหาในทาง สาธารณะย่อมไม่มีข้อยุติ ยังแต่ทำให้ผู้คนปวดหัวมึนงงกับเรื่องไม่ใช่เรื่อง ที่ค่อนข้างดำเนินไปอย่างไร้สาระเช่นนี้ในทางสาธารณะและเจือปนด้วยเกม การเมืองนั้น นายศิริโชค โสภา ส.ส.ประชาธิปัตย์ คนใกล้ชิดของอภิสิทธิ์ ก็งัดเอาเอกสารการ “ผ่อนผันทหาร” ของจริง ที่เรียกว่า “สด.41 เลขที่ 4892/29” มาโชว์เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหา สำทับด้วยวาทะนักการเมืองที่ชอบประชดประชันถึงขั้น “เตรียมล้างเท้ารอให้อีกฝ่ายมากราบ”
แล้วเรื่องราวก็ดำเนินไปเรื่อยๆ ตาม ประสานักการเมืองที่ชอบคิดเกมมาตอบโต้หักล้างกัน หากได้อ่านเอกสารการสอบสวน เมื่อปี 2542 แล้ว จะปรากฏใบสำคัญ สด.41 เป็น “ใบแทน” ส่วนใบจริงไร้ร่องรอย สูญหายไม่มียืนยัน
อภิสิทธิ์คงเหลือทน เขาอยากปิดเกมที่รบกวนทั้งสมอง จิตใจ และทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวนี้อย่างยิ่ง เขาตัดสินใจจะยุติปัญหาด้วยการ “ฟ้องร้องหมิ่นประมาท” กับอีกหลายคน อันที่จริง เรื่องราวของอภิสิทธิ์กับเสี้ยว ชีวิตเกี่ยวข้องทางทหารจะเป็น “ลบเป็นบวก” เช่นใดก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแล้ว ไม่มีผลต่อโทษทางคดีความ สำหรับทาง การเมืองมีข้อยกเว้น สามารถผุดเกมขึ้นมาเล่นกันได้ชั่วลูกชั่วหลาน
หากใครเป็นอภิสิทธิ์ และมาตกระกำกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาแล้ว กว่า 10 ปี ย่อมมีหัวอกไม่แตกต่างกันเลย โดยเฉพาะแฟนคลับและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ศรัทธาในตัวหัวหน้าพรรคหนุ่มหล่อคนนี้คงโกรธจนลมออกหู หน้าแดง อยากกระชากกำลังออกมาปิดเกมให้สิ้นเรื่องสิ้นราวกันไปเลย
แต่อภิสิทธิ์เขาเป็นนักเรียนนอก มีฐานะทางสังคม มีคนนับหน้าถือตา และมีศักดิ์ศรีอดีตนายกรัฐมนตรีค้ำคออยู่ คนมาก เกียรติภูมิอย่างนี้ เขาย่อมอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ หนทางเดียวก็ต้องสู้ให้ถึงที่เพื่อรักษาความสง่างามของเกียรติภูมิเอาไว้ อีกไม่กี่วัน ศาลคงพิพากษาคดีหมิ่นประมาทระหว่างอภิสิทธิ์กับจตุพร และผลคำพิพากษาจะออกมาเช่นไรก็ตาม มันย่อมสะท้อนถึงเกียรติภูมิอันสง่างามของคนสองคนแน่นอน คนหนึ่ง เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี เป็น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอนาคตมีโอกาสงามๆ ยิ่งที่จะหวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ดังนั้นเกียรติภูมิแห่งมนุษย์ และความสง่างามในอนาคตการเมืองย่อมต้องมีและควรรักษาไว้ให้มั่นอีกคนคือ จตุพร เป็นอดีต ส.ส.คนสำคัญของพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำ นปช. ผู้สร้างประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชน ที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ เขามีโอกาสถึงขั้น “รัฐมนตรี” ในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุนี้เกียรติภูมิและความสง่างามในตำแหน่งทาง การเมืองย่อมมีเช่นกัน
แต่ “พลทหารบัวลอย” คนบ้านนอก มีการศึกษาน้อย มีชีวิตอยู่ในสังคมติดดิน ผู้คนมองผ่านเหมือนชีวิตไร้ค่า แต่เขากลับมี เกียรติภูมิแห่งมนุษย์ และความสง่างามของ ความเป็นคนอยู่เต็มสายเลือดชายไทยที่กล้า ไปเป็นทหาร “บัวลอย” เป็นเพียงมนุษย์ในเสียงเพลงของวงคาราบาว แต่เรื่องราวเช่นนี้มีอยู่ในสังคมจริง และดาษดื่นในสังคมชนบทชีวิตคนอย่างบัวลอยมีค่าแห่งชายไทยและคงไม่ไปให้ใครพิสูจน์ ประทับรับรองว่า เป็นจริง เพราะชีวิตจริงไม่มีเอกสารใดมารับรองได้
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สงครามที่มีคำตอบ
พันธมิตรประกาศจะชุมนุมใหญ่...หากพรรคเพื่อไทยไม่ถอนพระราชบัญญัติปรองดองออกจากสภา...ก็ไม่รูู้ว่าคำสั่งของพันธมิตรจะศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน
เพราะที่คนทั่วไปเขาอยากจะเห็นในวันนี้นั้น...คือจำนวนผู้คนของพันธมิตรจะมาจากไหน..
สุ่มกันออกมาแต่ละครั้งสำรวจกันมากี่ที...สิ่งที่ประชาชนพลเมืองไทยต้องการในวันนี้...กลับเป็นเรื่องความสงบสุขของประเทศไทย
เขาอยากจะให้ประเทศของเขากลับไปเป็นเหมือนเก่า...ก่อนที่จะมีเรื่องราวหลากหลายเป็นไทยต่างสีไล่ตบตีกันไม่รู้วันเลิกราไม่รู้ว่าจะจบวันไหนไม่รู้ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ
เขาอยากเห็นสิ่งที่น่าเคารพอยู่ในตำแหน่งที่น่าเคารพ...
เขาไม่อยากต้องหลับตาเวลาปิดประตูส้วมสาธารณะ...เพราะศิลาจารึกที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้านั้นถึงจะจับใจความได้แต่ก็ไม่สมควรแก่การจดจำ
ดังนั้น พันธมิตรต้องใคร่ครวญอย่างหนักสำหรับการเคลื่อนไหวคราวนี้...เพราะจะไม่มีประชาชนคนไทยที่รักชาติรักประเทศ สนับสนุนฉากสงครามครั้งใหม่ที่พันธมิตรจะสร้างขึ้น...
พันธมิตรพลาดมาแล้วหลายครั้ง...สำหรับการประกาศระดมผู้คน...มีแค่กระหยิบมือเดียวแทบจะทุกครั้งพันธมิตรต้องเรียนรู้ว่า...ทำไม
หัวข้อของการต่อสู้ไม่จูงใจนั่นคงเป็นสาเหตุหนึ่ง
หลายๆ เหลืองได้ปรับเปลี่ยนตัวเองไปเป็นสีแดง
สิ่งที่พวกเขาต้องการ คือ ประชาธิปไตย
นายกรัฐมนตรีคนใหม่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องและชนะท่วมท้น
ประชาชนวันนี้ไม่ใช่สัตว์ไถ่นาที่เมื่อสนตะพายแล้วจะจูงจะดึงไปทางไหนก็ได้....ตรงกันข้ามเขาติดตามการเมืองอย่างเข็มข้นและไม่ปล่อยวาง....จนสามารถเข้าถึงเรื่องราวได้ว่า...
ตรงไหนทองแท้ตรงไหนทองชุบ
นั่นอธิบายได้ว่า...ทำไม อภิสิทธิ์. เวชชาชีวะ ถึงแทบจะปรากฎตัวในที่สาธารณะแทบจะไม่ได้...ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร...จากการรวมตัวกันของประชาชนบีบคั้นเขา
พันธมิตรกำลังจะยืนตรงกันข้ามกับประชาชนส่วนใหญ่ที่ปรารถนาความปรองดองสมานฉันท์...นั่นอาจจะหมายความถึงวาระสุดท้ายของพันธมิตร...
จง ไตร่ตรองให้หนัก....เพราะวันหนึ่งข้างหน้า...กฎหมายปรองดองคงจะต้องเข้าสภา และผ่านออกมาแน่ๆ
สงครามที่พันธมิตรเอาออกมาขู่นั้น...บางที่มันอาจจะเป็นความฝันที่อีกฝ่ายก็รออยู่เช่นกัน...เพราะมันเป็นตอนจบที่มีคำตอบชัดเจนอยู่แล้วว่า...ใครคือฝ่ายชนะ
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
***********************************************************************************
เพราะที่คนทั่วไปเขาอยากจะเห็นในวันนี้นั้น...คือจำนวนผู้คนของพันธมิตรจะมาจากไหน..
สุ่มกันออกมาแต่ละครั้งสำรวจกันมากี่ที...สิ่งที่ประชาชนพลเมืองไทยต้องการในวันนี้...กลับเป็นเรื่องความสงบสุขของประเทศไทย
เขาอยากจะให้ประเทศของเขากลับไปเป็นเหมือนเก่า...ก่อนที่จะมีเรื่องราวหลากหลายเป็นไทยต่างสีไล่ตบตีกันไม่รู้วันเลิกราไม่รู้ว่าจะจบวันไหนไม่รู้ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ
เขาอยากเห็นสิ่งที่น่าเคารพอยู่ในตำแหน่งที่น่าเคารพ...
เขาไม่อยากต้องหลับตาเวลาปิดประตูส้วมสาธารณะ...เพราะศิลาจารึกที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้านั้นถึงจะจับใจความได้แต่ก็ไม่สมควรแก่การจดจำ
ดังนั้น พันธมิตรต้องใคร่ครวญอย่างหนักสำหรับการเคลื่อนไหวคราวนี้...เพราะจะไม่มีประชาชนคนไทยที่รักชาติรักประเทศ สนับสนุนฉากสงครามครั้งใหม่ที่พันธมิตรจะสร้างขึ้น...
พันธมิตรพลาดมาแล้วหลายครั้ง...สำหรับการประกาศระดมผู้คน...มีแค่กระหยิบมือเดียวแทบจะทุกครั้งพันธมิตรต้องเรียนรู้ว่า...ทำไม
หัวข้อของการต่อสู้ไม่จูงใจนั่นคงเป็นสาเหตุหนึ่ง
หลายๆ เหลืองได้ปรับเปลี่ยนตัวเองไปเป็นสีแดง
สิ่งที่พวกเขาต้องการ คือ ประชาธิปไตย
นายกรัฐมนตรีคนใหม่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องและชนะท่วมท้น
ประชาชนวันนี้ไม่ใช่สัตว์ไถ่นาที่เมื่อสนตะพายแล้วจะจูงจะดึงไปทางไหนก็ได้....ตรงกันข้ามเขาติดตามการเมืองอย่างเข็มข้นและไม่ปล่อยวาง....จนสามารถเข้าถึงเรื่องราวได้ว่า...
ตรงไหนทองแท้ตรงไหนทองชุบ
นั่นอธิบายได้ว่า...ทำไม อภิสิทธิ์. เวชชาชีวะ ถึงแทบจะปรากฎตัวในที่สาธารณะแทบจะไม่ได้...ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร...จากการรวมตัวกันของประชาชนบีบคั้นเขา
พันธมิตรกำลังจะยืนตรงกันข้ามกับประชาชนส่วนใหญ่ที่ปรารถนาความปรองดองสมานฉันท์...นั่นอาจจะหมายความถึงวาระสุดท้ายของพันธมิตร...
จง ไตร่ตรองให้หนัก....เพราะวันหนึ่งข้างหน้า...กฎหมายปรองดองคงจะต้องเข้าสภา และผ่านออกมาแน่ๆ
สงครามที่พันธมิตรเอาออกมาขู่นั้น...บางที่มันอาจจะเป็นความฝันที่อีกฝ่ายก็รออยู่เช่นกัน...เพราะมันเป็นตอนจบที่มีคำตอบชัดเจนอยู่แล้วว่า...ใครคือฝ่ายชนะ
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
***********************************************************************************
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Speak ไทย ในอาเซียน !!?
โดย : วรุณรัตน์ คัทมาตย์
แม้ว่าวันนี้ภาษาไทยจะไม่ใช่ภาษากลางของประชาคมอาเซียน แต่ตัวเลขการเข้ามาเรียนภาษาไทยของคนอาเซียนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
สะท้อนว่าสมบัติของชาติชิ้นนี้ทำให้คนไทยมีที่ยืนในเวทีอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ
"ก. -ะ กะ ก.-า กา ข. -ะ ขะ ข.-า ขา " เสียงฝึกอ่านภาษาไทยที่คนไทยทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดีเมื่อครั้งยังเด็ก เสียงนั้นถูกเปล่งออกมาอีกครั้งแต่ทว่าแปร่งหูและไม่ใช่เสียงเด็กที่กำลังหัดพูดอ่านเขียน แต่มันออกมาจากปากของนักศึกษาต่างชาติ หรือจะพูดให้ถูกก็คือนักศึกษาเพื่อนบ้านของไทยที่วันนี้พวกเขาให้ความสนใจหันมาเรียนรู้ภาษาไทยกันมากขึ้น
ครั้งหนึ่งสังคมไทยถูกกระตุ้นให้ต้องขบคิดกันไม่น้อยเกี่ยวกับประเด็นของ 'ภาษาไทย' ว่าเมื่ออาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันในอนาคตอันใกล้ ภาษาไทยอาจจะมีความสำคัญในเวทีอาเซียนถึงขั้นเป็นภาษากลางเลยทีเดียว ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ได้กล่าวกันลอยๆ แต่อ้างอิงมาจากผลงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "การเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเปิดตลาดอาเซียน" ที่พบว่าภาษาไทยจะมีความสำคัญในการสื่อสารและการมีงานทำ และจะเป็นภาษากลางของกลุ่มประเทศอาเซียนเท่าเทียมกับภาษาอังกฤษ เพราะต่อไปประเทศไทยจะถือเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มีการเปิดเสรีการศึกษา ทั้งยังศึกษาพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ลาว เขมร และพม่า สนใจมาเรียนภาษาไทยมากขึ้นด้วย
ภาษาไทยกันเถอะ
หากมองในแง่ร้ายที่สุด ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานะของภาษาไทยตอนนี้กำลังถูกบั่นทอนความสำคัญลงไปเรื่อยๆ อาจเพราะความนิยมภาษาแบบใหม่ของวัยรุ่นสมัยนี้มักเป็นการพูดไทยปนอังกฤษปนเกาหลี การใช้ภาษาแชท ภาษาอีโมติคอล และภาษาสก๊อย ทำให้คำไทยบางคำไม่มีใครใช้กันอีกต่อไป หรือคนที่ใช้คำไทยๆ ก็กลายเป็น 'เชย' ไม่ทันกระแส Social Network
ขณะที่เรากำลังละทิ้งอัตลักษณ์บางอย่างของความเป็นคนไทย แต่อีกด้านหนึ่ง คนจากประเทศเพื่อนบ้านกลับเห็นความสำคัญของภาษาไทยและเดินทางเข้ามาศึกษากันมากขึ้น ไม่ใช่เพราะความเก๋ แต่เป็นการเตรียมตัวและเพิ่มพูนทักษะทางภาษาให้กับตัวเองก่อนที่ประชาคมอาเซียนจะมาถึงในอีก 2 ปีครึ่ง
"ได้รู้ภาษาอาเซียนเพิ่มอีก 1 ภาษาผมว่าก็ดีนะ อย่างน้อยก็มีทักษะดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียน ผมรู้ภาษาไทยได้ลึกซึ้งกว่า เวลามีบทความหรือข่าวต่างๆ ก็อ่านได้เร็วกว่า มีประโยชน์ตรงนี้ รวมถึงเรื่องหน้าที่การงานถ้าองค์กรของเรามีความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวแบบนี้จะมีผลดีแน่นอน เราจะมีเครดิตดีกว่าเพื่อน สามารถคุยประสานงานกับคนไทยได้" อรุณยเดช บุริยผล นิสิตชาวลาวที่เข้ามาเรียนต่อระดับปริญญาโทในไทยที่คณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มเล่าถึงความสำคัญของการเพิ่มทักษะทางภาษา
เขาเล่าอีกว่า เข้ามาเรียนโทโดยผ่านการสอบชิงทุนรัฐบาลไทย เมื่อสอบผ่านแล้วจากนั้นต้องมาเรียนภาษาไทยเพื่อปรับพื้นฐานเป็นเวลา 3 เดือนจึงจะสามารถเข้าเรียนในคณะที่เลือกไว้ได้ แต่การเรียนภาษาไทยในช่วงเวลาสั้นๆ สามารถพัฒนาทักษะการฟัง พูด และอ่าน อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับทักษะการเขียน แต่อย่างน้อยก็ทำให้เขาสื่อสารกับคนไทยได้ราบรื่นและมีประโยชน์ในการทำงานของตัวเอง
"ที่ลาวผมทำงานที่การไฟฟ้าครับ คือจบปริญญาตรีสาขาไฟฟ้าที่ลาวแล้วอยากเรียนต่อในสาขาเดิมเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการทำงานก็เลยสอบชิงทุนมาเรียนต่อที่นี่ ปกติการไฟฟ้าของที่โน่นกับที่นี่ก็มีความร่วมมือด้วยกันอยู่แล้ว ถ้าจบไปแล้วเราได้ทำงานส่วนนั้นก็จะมีผลดีกับตัวเราขึ้นไปอีก และตัวภาษาไทยเองเป็นภาษาที่สวยงาม มีคำที่มีรากศัพท์และคนไทยยังใช้คำเหล่านี้ในชีวิตประจำวันอยู่ อย่างเช่นคำที่มาจากภาษาบาลีเมื่อได้อ่านก็ทำให้รู้ลึกลงไปว่ามีความหมายและมีที่มาอย่างไร ภาษาไทยมีเสน่ห์ตรงนี้ครับผมชอบเหมือนกัน เรียนสนุกดีครับ ทั่วไปมันก็คล้ายๆ กับภาษาลาวนะครับ แต่ว่ารายละเอียดไม่เหมือนเสียทีเดียว จะมีศัพท์ยากๆ มีพวกการันต์หรือวรรณยุกต์เข้ามาด้วย ซึ่งก็จะฝึกตัวเองโดยการดูสื่อต่างๆ ที่มาจากไทย เช่น ดูทีวี ฟังเพลงครับ"
นาคินฐร์ เหวียน ไกด์ชาวเวียดนามที่พูดภาษาไทยได้คล่องเหมือนเจ้าของภาษาบอกว่า เขาเลือกเข้ามาเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในไทยก็เพื่อให้ตนเองมีโอกาสในการงานที่ดีขึ้น ความที่นาคินฐร์มีบริษัททัวร์ของตัวเองจึงอยากเรียนต่อที่ไทยในสายท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่งเขาสามารถสอบชิงทุนเข้ามาเรียนที่คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จนสำเร็จการศึกษา แต่ก่อนจะเข้าเรียนก็ต้องเรียนปรับพื้นฐานความรู้ภาษาไทยก่อนเช่นกัน
"ตอนนี้คนเวียดนามมาเรียนเมืองไทยเยอะเลยครับ ในระดับปริญญาตรีนะ คือไม่ได้มาเรียนหลักสูตรภาษาไทยโดยตรงแต่มาเรียนในสาขาอื่น ซึ่งก่อนเข้าสาขาต้องไปเรียนที่คณมนุษยฯ เอกภาษาไทยก่อน 1 ปี ตอนนี้ก็ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้แล้วครับ ถามว่ายากไหมมันก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนและโอกาสที่ได้เรียนด้วย คือถ้าคุณเรียนภาษาไทยที่เวียดนามจะแบบหนึ่ง แต่เรียนไทยที่เมืองไทยมันจะอีกแบบ มันจะคล่องตัวกว่าเพราะเราเจอคนไทย ได้คุยกับคนไทยทุกวันทำให้เรียนรู้ได้เร็ว"
อาชีพไกด์ ภาษาเป็นเรื่องสำคัญ นาคินฐร์บอกว่ายิ่งทำทัวร์ในเมืองไทยก็ต้องเรียนภาษาไทยเสริมทักษะให้ตนเอง เพื่อที่จะได้สื่อสารกับลูกค้าคนไทยได้ง่าย อย่างการทำทัวร์นอกจากจะฟังและพูดได้แล้ว บางครั้งเอเย่นส่งโปรแกรมทัวร์มาเป็นภาษาไทย เขาก็สามารถแปลเป็นภาษาเวียดนามส่งกลับไปได้
"การสื่อสารภาษาอื่นๆ ในอาเซียนได้มันก็ย่อมดีกว่า อนาคตอาเซียนกำลังจะเปิด ไม่ใช่แค่คนประเทศผมที่เรียนภาษาไทย คนชาติอื่นๆ ในอาเซียนก็เห็นว่าเขาเรียนเหมือนกัน และมองว่าประเทศไทยเองก็ต้องเรียนภาษาของเพื่อนบ้านด้วย ถ้าคุณอยากทำธุรกิจหรือติดต่อกับประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิกอาเซียน คุณก็ต้องเรียนภาษานั้นเพื่อที่จะได้สื่อสารได้ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจกับเวียดนามคุณก็ต้องเรียนภาษาเวียดนามไว้บ้าง การเรียนภาษายิ่งรู้มากกว่าคนอื่นเราก็จะได้เปรียบคนอื่น"
ภาษาอาเซียน
ชาวลาว เวียดนาม พม่า และเขมรที่เข้ามาเรียนภาษาไทยกันเพิ่มขึ้น นั่นเป็นเพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจและลงทุนในไทย จึงต้องการที่จะใช้ภาษาไทยให้ได้คล่องขึ้น แต่อีกฟากหนึ่งของอาเซียนในกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์ พวกเขากลับใช้ภาษาอังกฤษ มาเลย์ และจีนเป็นหลัก ฉะนั้นหากจะบอกว่าภาษาไทยจะเป็นภาษากลางของอาเซียนเท่าเทียมภาษาอังกฤษ คงใช้ไม่ได้กับทุกมิติในประชาคม
แต่ถ้าเฉพาะเจาะจงลงไปในมิติของเศรษฐกิจหรือ AEC ที่กำลังจะมาก่อนมิติอื่นๆ เชื่อว่าในบรรดาภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจต้องมีภาษาไทยติดโผอยู่อันดับต้นๆ แน่นอน ประเด็นนี้ มาโนช แตงตุ้ม หน่วยสนับสนุนวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความเห็นว่า ภาษาไทยจะมีความสำคัญมากขึ้นในอาเซียน แต่อาจจะต้องควบคู่ไปกับภาษามาเลย์(มลายู) เนื่องจากในกลุ่มประเทศอาเซียนโซนข้างล่างที่เป็นมุสลิมเป็นกลุ่มที่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการ
"ภาษาอาเซียนคิดว่าไม่น่าจะใช้ภาษาเดียวแน่ๆ ถ้าไม่นับภาษาอังกฤษนะครับ มองว่าภาษากลางอย่างน้อยน่าจะมีสองภาษาเป็นภาษาราชการร่วม โซนทางเหนืออาจจะใช้ภาษาไทย โซนทางใต้อาจจะเป็นภาษามลายู แต่เราก็ไม่ได้แบ่งเป็นคนละฟากละฝ่าย แค่แบ่งตามการใช้ภาษาของคนอาเซียน ตามวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา แต่แน่นอนว่ายังไงทุกชาติก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษมาก่อน"
มาโนชบอกอีกว่า คนไทยจะต้องรู้ว่าต้องการจะติดต่อธุรกิจกับชาติใดก็ต้องขวนขวายเรียนรู้ภาษาของชาตินั้นๆให้มากขึ้น เพราะภาษาเป็นสะพานแรกที่จะเชื่อมไปสู่มิติต่างๆ ของเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการทำธุรกิจกับเรานอกจากภาษาอังกฤษแล้ว แน่นอนว่าหากใช้ภาษาไทยได้ด้วยจะยิ่งดี และหากมองในแง่ดีการที่ภาษาไทยมีคนอาเซียนหันมาเรียนกันมากขึ้นก็เหมือนภาษาไทยเราได้โกอินเตอร์สู่เวทีอาเซียน ถือเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของไทยที่ชาติอื่นให้การยอมรับ
"คุณได้ประโยชน์สองเด้ง ได้ทั้งภาษาได้ทั้งงาน คนไทยไม่ได้เรื่องมากอะไรหรอกครับ แต่ปัญหาคือภาษาอังกฤษเราอ่อน เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ดีเหมือนกับเจ้าของภาษาแน่ๆ แต่คนไทยเราเก่ง มีความพร้อมที่ประเทศสมาชิกจะเข้ามาลงทุน"
นอกจากนี้ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเพิ่มเติมถึงความสำคัญของภาษาไทยว่า อาเซียนรับรู้แล้วว่าประเทศไทยเป็น Hub ของภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนของ AEC เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวส่งนักศึกษาอาเซียนเข้ามาเรียนภาษาไทยในบ้านเราจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน เพื่อตอบโจทย์ประเด็นของการศึกษาที่อาเซียนทำร่วมกัน แต่หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทยนั้นไม่ใช่แค่เพื่อให้ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ต้องรู้เข้าไปถึงอุปนิสัย ความชอบ ไม่ชอบ ของคนไทยด้วย
"ตอนนี้เขามียุทธศาสตร์และการวางแผนกันแล้วนะครับ สิ่งที่เห็นชัดเจนมากเลยคือ การเรียนภาษาไทยของเขาไม่ใช่เรียนเพื่อให้รู้ภาษา เขายังเตรียมการในเรื่องของการลงทุน รู้ว่าลูกค้าคนไทยชอบสินค้าและบริการแบบไหน ใช้ภาษาไทยในการสื่อความหมายแบบไหน ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการเรียนภาษาไทยจึงเป็น Key หลักในการทำธุรกิจกับเรา"
อาจารย์คณะครุศาสตร์ยังประเมินอีกว่า ปัจจุบันนี้คนอาเซียนส่วนใหญ่หันมาเรียนภาษาไทยมากขึ้นถึง 60 -70 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะคนเวียดนามที่พบว่าเป็นชาติที่มาเรียนภาษาไทยมากที่สุด และเกือบทั้งหมดก็สามารถพูดฟังอ่านเขียนได้เก่งพอๆ กันเจ้าของภาษา นั่นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และเอาใจใส่ที่จะเรียนภาษาไทยเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันคนไทยเองกลับยังไม่แม่นภาษาแม่ อีกทั้งภาษาอื่นก็ยังศึกษาได้ไม่ทะลุปรุโปร่ง
"เขารู้ภาษาไทยเรามากขึ้นและรู้ดี แต่เด็กไทยเราไม่ใส่ใจภาษาไทยและยังไม่รู้ภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาอังกฤษก็ไม่ดี อันนี้เป็นความเสี่ยงในอนาคตครับ คุณจะสู้เด็กต่างชาติในกลุ่มอาเซียนไม่ได้แล้ว ตอนนี้เด็กไทยก็ต้องเลิกฟุ้งซ่านที่จะเป็นซุปเปอร์สตาร์ ไม่ใช่อยู่กันแบบสนุกสนานไร้สาระ ผมพูดตรงๆ ควรจะต้องกลับมาเรียนรู้ข้อเท็จจริง เรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน ไม่ Look down ภาษาเพื่อนบ้าน รู้จักภาษาไทยให้ดี แล้วก็เริ่มภาษาอังกฤษให้แม่น ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพิ่มเติมสิ่งที่เป็นสาระให้ชีวิตคุณ คุณจะกลายเป็นลูกจ้างกันเยอะ แต่เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจใน AEC ค่อนข้างยาก"
การเริ่มเตรียมตัวเองเพื่อให้พร้อมกับ AEC อาจยังไม่สายเกินไป แต่อาจารย์สมพงษ์แนะนำว่า เด็กไทยควรเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับภาษา แม้ว่าวันนี้คนอาเซียนจะพูดไทยได้มากขึ้น แต่คนไทยเองจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องเป็นเจ้าของภาษาอย่างเต็มภาคภูมิและพยายามเพิ่มเติมทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาคอมพิวเตอร์ และภาษาของเพื่อนบ้านให้ได้ ส่วนการปรับตัวอาจเริ่มได้จากข้อแรก มองความเป็นไทยของตัวเองให้ชัดเจน และต้องมีความเป็นสากลที่ดียิ่งขึ้น ข้อสอง ต้องเรียนรู้เรื่องอาเซียนไม่ใช่แค่เปลือก ไม่ใช่เรียนรู้เรื่องธง เรื่องสัญลักษณ์ หรือเครื่องแต่งกาย ต้องรู้ลึกเข้าไปถึงแต่ละประเทศว่าเขามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร
"และข้อสาม คนไทยต้องเลิกมีอคติกับภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านได้แล้ว เช่น บางคนคิดว่าคนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นก็เลยพูดอังกฤษไม่เก่ง หรือคิดว่าภาษาเพื่อนเป็นภาษาที่อ่อนกว่าเรา ด้อยกว่าเรา หรือดูว่าไม่เท่ อะไรเหล่านี้เราต้องปรับทัศนคติของตัวเองใหม่ ปรับได้ยิ่งเร็วยิ่งดี" อาจารย์สมพงษ์กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แม้ว่าวันนี้ภาษาไทยจะไม่ใช่ภาษากลางของประชาคมอาเซียน แต่ตัวเลขการเข้ามาเรียนภาษาไทยของคนอาเซียนที่เพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
สะท้อนว่าสมบัติของชาติชิ้นนี้ทำให้คนไทยมีที่ยืนในเวทีอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ
"ก. -ะ กะ ก.-า กา ข. -ะ ขะ ข.-า ขา " เสียงฝึกอ่านภาษาไทยที่คนไทยทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดีเมื่อครั้งยังเด็ก เสียงนั้นถูกเปล่งออกมาอีกครั้งแต่ทว่าแปร่งหูและไม่ใช่เสียงเด็กที่กำลังหัดพูดอ่านเขียน แต่มันออกมาจากปากของนักศึกษาต่างชาติ หรือจะพูดให้ถูกก็คือนักศึกษาเพื่อนบ้านของไทยที่วันนี้พวกเขาให้ความสนใจหันมาเรียนรู้ภาษาไทยกันมากขึ้น
ครั้งหนึ่งสังคมไทยถูกกระตุ้นให้ต้องขบคิดกันไม่น้อยเกี่ยวกับประเด็นของ 'ภาษาไทย' ว่าเมื่ออาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันในอนาคตอันใกล้ ภาษาไทยอาจจะมีความสำคัญในเวทีอาเซียนถึงขั้นเป็นภาษากลางเลยทีเดียว ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ได้กล่าวกันลอยๆ แต่อ้างอิงมาจากผลงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "การเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเปิดตลาดอาเซียน" ที่พบว่าภาษาไทยจะมีความสำคัญในการสื่อสารและการมีงานทำ และจะเป็นภาษากลางของกลุ่มประเทศอาเซียนเท่าเทียมกับภาษาอังกฤษ เพราะต่อไปประเทศไทยจะถือเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มีการเปิดเสรีการศึกษา ทั้งยังศึกษาพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ลาว เขมร และพม่า สนใจมาเรียนภาษาไทยมากขึ้นด้วย
ภาษาไทยกันเถอะ
หากมองในแง่ร้ายที่สุด ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานะของภาษาไทยตอนนี้กำลังถูกบั่นทอนความสำคัญลงไปเรื่อยๆ อาจเพราะความนิยมภาษาแบบใหม่ของวัยรุ่นสมัยนี้มักเป็นการพูดไทยปนอังกฤษปนเกาหลี การใช้ภาษาแชท ภาษาอีโมติคอล และภาษาสก๊อย ทำให้คำไทยบางคำไม่มีใครใช้กันอีกต่อไป หรือคนที่ใช้คำไทยๆ ก็กลายเป็น 'เชย' ไม่ทันกระแส Social Network
ขณะที่เรากำลังละทิ้งอัตลักษณ์บางอย่างของความเป็นคนไทย แต่อีกด้านหนึ่ง คนจากประเทศเพื่อนบ้านกลับเห็นความสำคัญของภาษาไทยและเดินทางเข้ามาศึกษากันมากขึ้น ไม่ใช่เพราะความเก๋ แต่เป็นการเตรียมตัวและเพิ่มพูนทักษะทางภาษาให้กับตัวเองก่อนที่ประชาคมอาเซียนจะมาถึงในอีก 2 ปีครึ่ง
"ได้รู้ภาษาอาเซียนเพิ่มอีก 1 ภาษาผมว่าก็ดีนะ อย่างน้อยก็มีทักษะดีกว่าคนที่ไม่ได้เรียน ผมรู้ภาษาไทยได้ลึกซึ้งกว่า เวลามีบทความหรือข่าวต่างๆ ก็อ่านได้เร็วกว่า มีประโยชน์ตรงนี้ รวมถึงเรื่องหน้าที่การงานถ้าองค์กรของเรามีความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวแบบนี้จะมีผลดีแน่นอน เราจะมีเครดิตดีกว่าเพื่อน สามารถคุยประสานงานกับคนไทยได้" อรุณยเดช บุริยผล นิสิตชาวลาวที่เข้ามาเรียนต่อระดับปริญญาโทในไทยที่คณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มเล่าถึงความสำคัญของการเพิ่มทักษะทางภาษา
เขาเล่าอีกว่า เข้ามาเรียนโทโดยผ่านการสอบชิงทุนรัฐบาลไทย เมื่อสอบผ่านแล้วจากนั้นต้องมาเรียนภาษาไทยเพื่อปรับพื้นฐานเป็นเวลา 3 เดือนจึงจะสามารถเข้าเรียนในคณะที่เลือกไว้ได้ แต่การเรียนภาษาไทยในช่วงเวลาสั้นๆ สามารถพัฒนาทักษะการฟัง พูด และอ่าน อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับทักษะการเขียน แต่อย่างน้อยก็ทำให้เขาสื่อสารกับคนไทยได้ราบรื่นและมีประโยชน์ในการทำงานของตัวเอง
"ที่ลาวผมทำงานที่การไฟฟ้าครับ คือจบปริญญาตรีสาขาไฟฟ้าที่ลาวแล้วอยากเรียนต่อในสาขาเดิมเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการทำงานก็เลยสอบชิงทุนมาเรียนต่อที่นี่ ปกติการไฟฟ้าของที่โน่นกับที่นี่ก็มีความร่วมมือด้วยกันอยู่แล้ว ถ้าจบไปแล้วเราได้ทำงานส่วนนั้นก็จะมีผลดีกับตัวเราขึ้นไปอีก และตัวภาษาไทยเองเป็นภาษาที่สวยงาม มีคำที่มีรากศัพท์และคนไทยยังใช้คำเหล่านี้ในชีวิตประจำวันอยู่ อย่างเช่นคำที่มาจากภาษาบาลีเมื่อได้อ่านก็ทำให้รู้ลึกลงไปว่ามีความหมายและมีที่มาอย่างไร ภาษาไทยมีเสน่ห์ตรงนี้ครับผมชอบเหมือนกัน เรียนสนุกดีครับ ทั่วไปมันก็คล้ายๆ กับภาษาลาวนะครับ แต่ว่ารายละเอียดไม่เหมือนเสียทีเดียว จะมีศัพท์ยากๆ มีพวกการันต์หรือวรรณยุกต์เข้ามาด้วย ซึ่งก็จะฝึกตัวเองโดยการดูสื่อต่างๆ ที่มาจากไทย เช่น ดูทีวี ฟังเพลงครับ"
นาคินฐร์ เหวียน ไกด์ชาวเวียดนามที่พูดภาษาไทยได้คล่องเหมือนเจ้าของภาษาบอกว่า เขาเลือกเข้ามาเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในไทยก็เพื่อให้ตนเองมีโอกาสในการงานที่ดีขึ้น ความที่นาคินฐร์มีบริษัททัวร์ของตัวเองจึงอยากเรียนต่อที่ไทยในสายท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่งเขาสามารถสอบชิงทุนเข้ามาเรียนที่คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จนสำเร็จการศึกษา แต่ก่อนจะเข้าเรียนก็ต้องเรียนปรับพื้นฐานความรู้ภาษาไทยก่อนเช่นกัน
"ตอนนี้คนเวียดนามมาเรียนเมืองไทยเยอะเลยครับ ในระดับปริญญาตรีนะ คือไม่ได้มาเรียนหลักสูตรภาษาไทยโดยตรงแต่มาเรียนในสาขาอื่น ซึ่งก่อนเข้าสาขาต้องไปเรียนที่คณมนุษยฯ เอกภาษาไทยก่อน 1 ปี ตอนนี้ก็ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้แล้วครับ ถามว่ายากไหมมันก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนและโอกาสที่ได้เรียนด้วย คือถ้าคุณเรียนภาษาไทยที่เวียดนามจะแบบหนึ่ง แต่เรียนไทยที่เมืองไทยมันจะอีกแบบ มันจะคล่องตัวกว่าเพราะเราเจอคนไทย ได้คุยกับคนไทยทุกวันทำให้เรียนรู้ได้เร็ว"
อาชีพไกด์ ภาษาเป็นเรื่องสำคัญ นาคินฐร์บอกว่ายิ่งทำทัวร์ในเมืองไทยก็ต้องเรียนภาษาไทยเสริมทักษะให้ตนเอง เพื่อที่จะได้สื่อสารกับลูกค้าคนไทยได้ง่าย อย่างการทำทัวร์นอกจากจะฟังและพูดได้แล้ว บางครั้งเอเย่นส่งโปรแกรมทัวร์มาเป็นภาษาไทย เขาก็สามารถแปลเป็นภาษาเวียดนามส่งกลับไปได้
"การสื่อสารภาษาอื่นๆ ในอาเซียนได้มันก็ย่อมดีกว่า อนาคตอาเซียนกำลังจะเปิด ไม่ใช่แค่คนประเทศผมที่เรียนภาษาไทย คนชาติอื่นๆ ในอาเซียนก็เห็นว่าเขาเรียนเหมือนกัน และมองว่าประเทศไทยเองก็ต้องเรียนภาษาของเพื่อนบ้านด้วย ถ้าคุณอยากทำธุรกิจหรือติดต่อกับประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นสมาชิกอาเซียน คุณก็ต้องเรียนภาษานั้นเพื่อที่จะได้สื่อสารได้ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจกับเวียดนามคุณก็ต้องเรียนภาษาเวียดนามไว้บ้าง การเรียนภาษายิ่งรู้มากกว่าคนอื่นเราก็จะได้เปรียบคนอื่น"
ภาษาอาเซียน
ชาวลาว เวียดนาม พม่า และเขมรที่เข้ามาเรียนภาษาไทยกันเพิ่มขึ้น นั่นเป็นเพราะกลุ่มประเทศเหล่านี้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจและลงทุนในไทย จึงต้องการที่จะใช้ภาษาไทยให้ได้คล่องขึ้น แต่อีกฟากหนึ่งของอาเซียนในกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และฟิลิปปินส์ พวกเขากลับใช้ภาษาอังกฤษ มาเลย์ และจีนเป็นหลัก ฉะนั้นหากจะบอกว่าภาษาไทยจะเป็นภาษากลางของอาเซียนเท่าเทียมภาษาอังกฤษ คงใช้ไม่ได้กับทุกมิติในประชาคม
แต่ถ้าเฉพาะเจาะจงลงไปในมิติของเศรษฐกิจหรือ AEC ที่กำลังจะมาก่อนมิติอื่นๆ เชื่อว่าในบรรดาภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจต้องมีภาษาไทยติดโผอยู่อันดับต้นๆ แน่นอน ประเด็นนี้ มาโนช แตงตุ้ม หน่วยสนับสนุนวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความเห็นว่า ภาษาไทยจะมีความสำคัญมากขึ้นในอาเซียน แต่อาจจะต้องควบคู่ไปกับภาษามาเลย์(มลายู) เนื่องจากในกลุ่มประเทศอาเซียนโซนข้างล่างที่เป็นมุสลิมเป็นกลุ่มที่ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการ
"ภาษาอาเซียนคิดว่าไม่น่าจะใช้ภาษาเดียวแน่ๆ ถ้าไม่นับภาษาอังกฤษนะครับ มองว่าภาษากลางอย่างน้อยน่าจะมีสองภาษาเป็นภาษาราชการร่วม โซนทางเหนืออาจจะใช้ภาษาไทย โซนทางใต้อาจจะเป็นภาษามลายู แต่เราก็ไม่ได้แบ่งเป็นคนละฟากละฝ่าย แค่แบ่งตามการใช้ภาษาของคนอาเซียน ตามวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา แต่แน่นอนว่ายังไงทุกชาติก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษมาก่อน"
มาโนชบอกอีกว่า คนไทยจะต้องรู้ว่าต้องการจะติดต่อธุรกิจกับชาติใดก็ต้องขวนขวายเรียนรู้ภาษาของชาตินั้นๆให้มากขึ้น เพราะภาษาเป็นสะพานแรกที่จะเชื่อมไปสู่มิติต่างๆ ของเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการทำธุรกิจกับเรานอกจากภาษาอังกฤษแล้ว แน่นอนว่าหากใช้ภาษาไทยได้ด้วยจะยิ่งดี และหากมองในแง่ดีการที่ภาษาไทยมีคนอาเซียนหันมาเรียนกันมากขึ้นก็เหมือนภาษาไทยเราได้โกอินเตอร์สู่เวทีอาเซียน ถือเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของไทยที่ชาติอื่นให้การยอมรับ
"คุณได้ประโยชน์สองเด้ง ได้ทั้งภาษาได้ทั้งงาน คนไทยไม่ได้เรื่องมากอะไรหรอกครับ แต่ปัญหาคือภาษาอังกฤษเราอ่อน เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ดีเหมือนกับเจ้าของภาษาแน่ๆ แต่คนไทยเราเก่ง มีความพร้อมที่ประเทศสมาชิกจะเข้ามาลงทุน"
นอกจากนี้ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเพิ่มเติมถึงความสำคัญของภาษาไทยว่า อาเซียนรับรู้แล้วว่าประเทศไทยเป็น Hub ของภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วนของ AEC เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวส่งนักศึกษาอาเซียนเข้ามาเรียนภาษาไทยในบ้านเราจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน เพื่อตอบโจทย์ประเด็นของการศึกษาที่อาเซียนทำร่วมกัน แต่หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทยนั้นไม่ใช่แค่เพื่อให้ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ต้องรู้เข้าไปถึงอุปนิสัย ความชอบ ไม่ชอบ ของคนไทยด้วย
"ตอนนี้เขามียุทธศาสตร์และการวางแผนกันแล้วนะครับ สิ่งที่เห็นชัดเจนมากเลยคือ การเรียนภาษาไทยของเขาไม่ใช่เรียนเพื่อให้รู้ภาษา เขายังเตรียมการในเรื่องของการลงทุน รู้ว่าลูกค้าคนไทยชอบสินค้าและบริการแบบไหน ใช้ภาษาไทยในการสื่อความหมายแบบไหน ทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการเรียนภาษาไทยจึงเป็น Key หลักในการทำธุรกิจกับเรา"
อาจารย์คณะครุศาสตร์ยังประเมินอีกว่า ปัจจุบันนี้คนอาเซียนส่วนใหญ่หันมาเรียนภาษาไทยมากขึ้นถึง 60 -70 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะคนเวียดนามที่พบว่าเป็นชาติที่มาเรียนภาษาไทยมากที่สุด และเกือบทั้งหมดก็สามารถพูดฟังอ่านเขียนได้เก่งพอๆ กันเจ้าของภาษา นั่นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และเอาใจใส่ที่จะเรียนภาษาไทยเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันคนไทยเองกลับยังไม่แม่นภาษาแม่ อีกทั้งภาษาอื่นก็ยังศึกษาได้ไม่ทะลุปรุโปร่ง
"เขารู้ภาษาไทยเรามากขึ้นและรู้ดี แต่เด็กไทยเราไม่ใส่ใจภาษาไทยและยังไม่รู้ภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาอังกฤษก็ไม่ดี อันนี้เป็นความเสี่ยงในอนาคตครับ คุณจะสู้เด็กต่างชาติในกลุ่มอาเซียนไม่ได้แล้ว ตอนนี้เด็กไทยก็ต้องเลิกฟุ้งซ่านที่จะเป็นซุปเปอร์สตาร์ ไม่ใช่อยู่กันแบบสนุกสนานไร้สาระ ผมพูดตรงๆ ควรจะต้องกลับมาเรียนรู้ข้อเท็จจริง เรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน ไม่ Look down ภาษาเพื่อนบ้าน รู้จักภาษาไทยให้ดี แล้วก็เริ่มภาษาอังกฤษให้แม่น ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพิ่มเติมสิ่งที่เป็นสาระให้ชีวิตคุณ คุณจะกลายเป็นลูกจ้างกันเยอะ แต่เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจใน AEC ค่อนข้างยาก"
การเริ่มเตรียมตัวเองเพื่อให้พร้อมกับ AEC อาจยังไม่สายเกินไป แต่อาจารย์สมพงษ์แนะนำว่า เด็กไทยควรเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับภาษา แม้ว่าวันนี้คนอาเซียนจะพูดไทยได้มากขึ้น แต่คนไทยเองจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องเป็นเจ้าของภาษาอย่างเต็มภาคภูมิและพยายามเพิ่มเติมทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาคอมพิวเตอร์ และภาษาของเพื่อนบ้านให้ได้ ส่วนการปรับตัวอาจเริ่มได้จากข้อแรก มองความเป็นไทยของตัวเองให้ชัดเจน และต้องมีความเป็นสากลที่ดียิ่งขึ้น ข้อสอง ต้องเรียนรู้เรื่องอาเซียนไม่ใช่แค่เปลือก ไม่ใช่เรียนรู้เรื่องธง เรื่องสัญลักษณ์ หรือเครื่องแต่งกาย ต้องรู้ลึกเข้าไปถึงแต่ละประเทศว่าเขามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร
"และข้อสาม คนไทยต้องเลิกมีอคติกับภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านได้แล้ว เช่น บางคนคิดว่าคนไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นก็เลยพูดอังกฤษไม่เก่ง หรือคิดว่าภาษาเพื่อนเป็นภาษาที่อ่อนกว่าเรา ด้อยกว่าเรา หรือดูว่าไม่เท่ อะไรเหล่านี้เราต้องปรับทัศนคติของตัวเองใหม่ ปรับได้ยิ่งเร็วยิ่งดี" อาจารย์สมพงษ์กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อับดุล ทำไมต้อง อดุลย์.
คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน (10 ต่อ 0) ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) อาวุโสลำดับที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อจาก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะครบเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้
การที่นายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเสนอชื่อ พล.ต.อ.อดุลย์ข้ามอาวุโสลำดับที่ 1 และ 2 คือ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต และ พล.ต.อ.ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ นับเป็นการตัดสินใจทางการบริหารที่กฎหมายตำรวจ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้ไว้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมากว่า 30 ปี ที่ตำแหน่งผู้นำองค์กรตำรวจ ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เรียกชื่อว่า “อธิบดีกรมตำรวจ” หรือเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สังกัดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เรียกชื่อตำแหน่งว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”
ผู้มีอำนาจเสนอชื่อจะคัดเลือกรองอธิบดีกรมตำรวจ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่มีอาวุโสสูงสุดในหน่วยงานเลื่อนขึ้นเป็นผู้นำองค์กร
มีครั้งเดียวที่นายกรัฐมนตรีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รอง ผบ.ตร. ที่มีอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็น ผบ.ตร. แต่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบถึง 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องรับราชการมาจนเกือบจะเกษียณอายุถึงได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียรให้ ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.อ.วิเชียรอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะว่าไปแล้วความเห็นดังกล่าวก็ฟังได้ถ้าพิจารณาจากการเข้าสู่ตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักนั้น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ดำรงตำแหน่งก่อน และก่อน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ด้วยซ้ำไป แต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ประสบวิบากกรรมจากการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 ถูกคณะปฏิวัติ (ชื่อยาวเหยียด) ออกคำสั่งให้ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนเป็นเหตุให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองจนชนะคดีได้กลับมาเป็นรอง ผบ.ตร. อีกครั้งหนึ่ง
แต่จะว่าไปแล้วในอีกมุมหนึ่ง พล.ต.อ.วิเชียรได้ยศเป็น พล.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนัก ซึ่งเทียบชั้นเดียวกับรอง ผบ.ตร. ก่อน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถ้านับตามลำดับอาวุโส มองในมุมนี้ พล.ต.อ.วิเชียรย่อมมีอาวุโสกว่า
ฉะนั้นเมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้าย พล.ต.อ.วิเชียรไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงเป็นความชอบธรรมที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์จะขึ้นเป็น ผบ.ตร. ด้วยประการทั้งปวง
สำหรับกรณีของ พล.ต.อ.ปานศิริ ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ พล.ต.อ.อดุลย์ ตามกฎหมายตำรวจว่าด้วยการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าให้ดูที่อาวุโส ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติ และความรู้ความสามารถ ประกอบกัน (ม.57) ทั้ง 2 คนแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ที่เห็นได้ชัดก็คืออาวุโสและอายุราชการเท่านั้น พล.ต.อ.ปานศิริมีอาวุโสกว่าทั้งอายุราชการและอายุตัว ทั้งคู่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจห่างกัน 1 รุ่น ไล่เรียงเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเกือบทุกชั้นยศห่างกันเพียง 1 ปี จนกระทั่งถึงชั้นยศนายพลตำรวจ
ที่สำคัญคือทั้ง 2 คนเป็นนายตำรวจที่ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาให้การยอมรับในฝีไม้ลายมือ ความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในงานที่มอบหมายให้รับผิดชอบ ตลอดจนความมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งต่อบุคลากรในองค์กรและต่างองค์กร ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากัน
ถ้าจะว่าไปแล้วเมื่อพิจาณาถึงความสัมพันธ์สนิทสนมคุ้นเคยกับฝ่ายนโยบายและการเมือง พล.ต.อ.ปานศิริดูจะใกล้ชิดได้รับความไว้วางใจเหนือ พล.ต.อ.อดุลย์ด้วยซ้ำไป นอกจากรุ่นจะใกล้เคียงกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังมีโอกาสได้ตามไปศึกษาต่อต่างประเทศในมหาวิทยาลัย Eastern Kentucky University ด้วยกันอีก จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเลือก พล.ต.อ.ปานศิริให้เป็น ผบช.ภ.1 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งที่ทรงอิทธิพลต่อรัฐบาลอย่างผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ความสามารถในการสอบสวนอยู่ในระดับเกรดเอบวก จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีสำคัญๆเกือบทุกคดี
มองคุณสมบัติของ พล.ต.อ.ปานศิริแล้วแทบไม่มีใครคาดคิดเลยว่าทำไมนายกรัฐมนตรีถึงต้องหยิบ พล.ต.อ.อดุลย์เข้ามาแทนที่แบบออกนอกกฎเกณฑ์ธรรมเนียมปฏิบัติ
ในฐานะที่ผมเป็นครูของทั้ง 2 คนที่เป็นคู่ Candidate ตำแหน่ง ผบ.ตร. รู้จักคุ้นเคย สนิทสนมใกล้ชิดเป็นอย่างมาก เคยใช้สอยไหว้วาน บังคับบัญชาทั้งคู่ ใช้งาน ได้งานละเอียด ผลงานไม่มีอะไรบกพร่อง รักทั้งพี่ เสียดายทั้งน้องถ้าจะต้องตัดสินใจเลือกคนใดคนหนึ่ง
สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ผมเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้มีอำนาจเลือกตกลงใจในลักษณะที่มองการณ์ไกล 2 ปีในตำแหน่งกับ 1 ปี มีผลแตกต่างกันในเชิงบริหารงานมาก โดยเฉพาะการบังคับบัญชาในองค์กรตำรวจ นกกาจะเกาะต้นไม้ใดก็ต้องดูความยั่งยืนและผลิตผลของต้นไม้นั้นๆเป็นหลัก ถ้าเป็นต้นไม้ที่ร่มเงาอยู่ไม่คงทน คำว่า “นกรู้” จึงเกิดขึ้น จะบังคับบัญชาสั่งการใดๆ ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชารู้ดีว่านายอยู่ได้สั้นๆ คำสั่งก็จะรับฟัง ส่วนการปฏิบัติจะให้เต็มร้อยคงไม่เป็นไปตามคาดหวัง
องค์กรตำรวจไทย 5 ปี เปลี่ยน ผบ.ตร. มาแล้ว 6 คน ความต่อเนื่องในการบริหารงาน สั่งการไม่มีเอกภาพ แทบจะกล่าวได้ว่าแต่ละคนทำงานเพื่อรักษาสถานภาพ การเลือก พล.ต.อ.อดุลย์ให้ทำงานอย่างน้อย 2 ปี จึงเท่ากับเป็นการเตือน (Warning) ให้ตำรวจทุกนายทราบว่าต่อไปนี้งานบริการ การรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันปราบปรามอาชญากรรมต้องเดินหน้าจริงจัง เพราะกิตติศัพท์ของ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ทราบกันดีว่าจริงจัง เอาการเอางาน กัดไม่ปล่อย และทำงานอย่างเป็นระบบ คิด วางแผน ตัดสินใจอย่างทหาร เพราะเป็นนายตำรวจระดับสูงคนเดียวที่ให้ความสำคัญกับการใช้ฝ่ายอำนวยการ (เสนาธิการ) ดังจะเห็นได้จากรูปแบบการทำงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์เป็นนายตำรวจระดับสูงยศ พล.ต.อ. ที่ผ่านงานในสนามรบในฐานะนักรบ (จนได้เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้น 1 ประดับเปลวระเบิด เป็นเครื่องหมายประกันคุณภาพถึงความกล้าหาญ) นักปฏิบัติ และเป็นผู้เสนอแนะแนวปฏิบัติ (เสนาธิการ) ทุกตำแหน่งระดับหัวหน้างาน จึงครบเครื่องของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่รู้ทุกข์รู้สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ความเสียสละ กล้าหาญ ตั้งแต่เป็นนายตำรวจเด็กๆจนถึงสารวัตร มีผลงานจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิธารน้ำใจให้เป็น “คนไทยตัวอย่าง”
สำคัญที่สุดก็คือ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ทำงาน โตมาทุกตำแหน่งโดยไม่เคยมีข้อครหาว่าวิ่งเต้นกับผู้ใดเลย?!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การที่นายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเสนอชื่อ พล.ต.อ.อดุลย์ข้ามอาวุโสลำดับที่ 1 และ 2 คือ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต และ พล.ต.อ.ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ นับเป็นการตัดสินใจทางการบริหารที่กฎหมายตำรวจ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้ไว้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมากว่า 30 ปี ที่ตำแหน่งผู้นำองค์กรตำรวจ ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เรียกชื่อว่า “อธิบดีกรมตำรวจ” หรือเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สังกัดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เรียกชื่อตำแหน่งว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”
ผู้มีอำนาจเสนอชื่อจะคัดเลือกรองอธิบดีกรมตำรวจ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่มีอาวุโสสูงสุดในหน่วยงานเลื่อนขึ้นเป็นผู้นำองค์กร
มีครั้งเดียวที่นายกรัฐมนตรีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รอง ผบ.ตร. ที่มีอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็น ผบ.ตร. แต่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบถึง 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องรับราชการมาจนเกือบจะเกษียณอายุถึงได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียรให้ ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.อ.วิเชียรอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะว่าไปแล้วความเห็นดังกล่าวก็ฟังได้ถ้าพิจารณาจากการเข้าสู่ตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักนั้น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ดำรงตำแหน่งก่อน และก่อน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ด้วยซ้ำไป แต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ประสบวิบากกรรมจากการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 ถูกคณะปฏิวัติ (ชื่อยาวเหยียด) ออกคำสั่งให้ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนเป็นเหตุให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองจนชนะคดีได้กลับมาเป็นรอง ผบ.ตร. อีกครั้งหนึ่ง
แต่จะว่าไปแล้วในอีกมุมหนึ่ง พล.ต.อ.วิเชียรได้ยศเป็น พล.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนัก ซึ่งเทียบชั้นเดียวกับรอง ผบ.ตร. ก่อน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถ้านับตามลำดับอาวุโส มองในมุมนี้ พล.ต.อ.วิเชียรย่อมมีอาวุโสกว่า
ฉะนั้นเมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้าย พล.ต.อ.วิเชียรไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงเป็นความชอบธรรมที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์จะขึ้นเป็น ผบ.ตร. ด้วยประการทั้งปวง
สำหรับกรณีของ พล.ต.อ.ปานศิริ ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ พล.ต.อ.อดุลย์ ตามกฎหมายตำรวจว่าด้วยการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าให้ดูที่อาวุโส ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติ และความรู้ความสามารถ ประกอบกัน (ม.57) ทั้ง 2 คนแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ที่เห็นได้ชัดก็คืออาวุโสและอายุราชการเท่านั้น พล.ต.อ.ปานศิริมีอาวุโสกว่าทั้งอายุราชการและอายุตัว ทั้งคู่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจห่างกัน 1 รุ่น ไล่เรียงเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเกือบทุกชั้นยศห่างกันเพียง 1 ปี จนกระทั่งถึงชั้นยศนายพลตำรวจ
ที่สำคัญคือทั้ง 2 คนเป็นนายตำรวจที่ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาให้การยอมรับในฝีไม้ลายมือ ความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในงานที่มอบหมายให้รับผิดชอบ ตลอดจนความมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งต่อบุคลากรในองค์กรและต่างองค์กร ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากัน
ถ้าจะว่าไปแล้วเมื่อพิจาณาถึงความสัมพันธ์สนิทสนมคุ้นเคยกับฝ่ายนโยบายและการเมือง พล.ต.อ.ปานศิริดูจะใกล้ชิดได้รับความไว้วางใจเหนือ พล.ต.อ.อดุลย์ด้วยซ้ำไป นอกจากรุ่นจะใกล้เคียงกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังมีโอกาสได้ตามไปศึกษาต่อต่างประเทศในมหาวิทยาลัย Eastern Kentucky University ด้วยกันอีก จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเลือก พล.ต.อ.ปานศิริให้เป็น ผบช.ภ.1 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งที่ทรงอิทธิพลต่อรัฐบาลอย่างผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ความสามารถในการสอบสวนอยู่ในระดับเกรดเอบวก จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีสำคัญๆเกือบทุกคดี
มองคุณสมบัติของ พล.ต.อ.ปานศิริแล้วแทบไม่มีใครคาดคิดเลยว่าทำไมนายกรัฐมนตรีถึงต้องหยิบ พล.ต.อ.อดุลย์เข้ามาแทนที่แบบออกนอกกฎเกณฑ์ธรรมเนียมปฏิบัติ
ในฐานะที่ผมเป็นครูของทั้ง 2 คนที่เป็นคู่ Candidate ตำแหน่ง ผบ.ตร. รู้จักคุ้นเคย สนิทสนมใกล้ชิดเป็นอย่างมาก เคยใช้สอยไหว้วาน บังคับบัญชาทั้งคู่ ใช้งาน ได้งานละเอียด ผลงานไม่มีอะไรบกพร่อง รักทั้งพี่ เสียดายทั้งน้องถ้าจะต้องตัดสินใจเลือกคนใดคนหนึ่ง
สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ผมเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้มีอำนาจเลือกตกลงใจในลักษณะที่มองการณ์ไกล 2 ปีในตำแหน่งกับ 1 ปี มีผลแตกต่างกันในเชิงบริหารงานมาก โดยเฉพาะการบังคับบัญชาในองค์กรตำรวจ นกกาจะเกาะต้นไม้ใดก็ต้องดูความยั่งยืนและผลิตผลของต้นไม้นั้นๆเป็นหลัก ถ้าเป็นต้นไม้ที่ร่มเงาอยู่ไม่คงทน คำว่า “นกรู้” จึงเกิดขึ้น จะบังคับบัญชาสั่งการใดๆ ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชารู้ดีว่านายอยู่ได้สั้นๆ คำสั่งก็จะรับฟัง ส่วนการปฏิบัติจะให้เต็มร้อยคงไม่เป็นไปตามคาดหวัง
องค์กรตำรวจไทย 5 ปี เปลี่ยน ผบ.ตร. มาแล้ว 6 คน ความต่อเนื่องในการบริหารงาน สั่งการไม่มีเอกภาพ แทบจะกล่าวได้ว่าแต่ละคนทำงานเพื่อรักษาสถานภาพ การเลือก พล.ต.อ.อดุลย์ให้ทำงานอย่างน้อย 2 ปี จึงเท่ากับเป็นการเตือน (Warning) ให้ตำรวจทุกนายทราบว่าต่อไปนี้งานบริการ การรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันปราบปรามอาชญากรรมต้องเดินหน้าจริงจัง เพราะกิตติศัพท์ของ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ทราบกันดีว่าจริงจัง เอาการเอางาน กัดไม่ปล่อย และทำงานอย่างเป็นระบบ คิด วางแผน ตัดสินใจอย่างทหาร เพราะเป็นนายตำรวจระดับสูงคนเดียวที่ให้ความสำคัญกับการใช้ฝ่ายอำนวยการ (เสนาธิการ) ดังจะเห็นได้จากรูปแบบการทำงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์เป็นนายตำรวจระดับสูงยศ พล.ต.อ. ที่ผ่านงานในสนามรบในฐานะนักรบ (จนได้เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้น 1 ประดับเปลวระเบิด เป็นเครื่องหมายประกันคุณภาพถึงความกล้าหาญ) นักปฏิบัติ และเป็นผู้เสนอแนะแนวปฏิบัติ (เสนาธิการ) ทุกตำแหน่งระดับหัวหน้างาน จึงครบเครื่องของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่รู้ทุกข์รู้สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ความเสียสละ กล้าหาญ ตั้งแต่เป็นนายตำรวจเด็กๆจนถึงสารวัตร มีผลงานจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิธารน้ำใจให้เป็น “คนไทยตัวอย่าง”
สำคัญที่สุดก็คือ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ทำงาน โตมาทุกตำแหน่งโดยไม่เคยมีข้อครหาว่าวิ่งเต้นกับผู้ใดเลย?!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศาล รธน.ฟ้องกราวรูด ส.ส.-แกนนำ นปช.ข้อหาขู่เข็ญ-ข่มขืนใจ !!?
ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้แจงส่งเจ้าหน้าที่แจ้งดำเนินคดีแกนนำเสื้อแดง แนวร่วมเสื้อแดง ส.ส.พรรคเพื่อไทย และบุคคลอื่นๆ ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และข้อหาอื่นๆอีกรวม 6 ข้อหา ระบุเป็นหน้าที่ต้องปกป้องตุลาการทุกคนไม่ให้ได้รับผลกระทบทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำหน้าที่ ด้านฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์จี้แกนนำเลิกชักชวนคนเสื้อแดงไปชุมนุมหน้าศาลอาญาในวันที่ 9 ส.ค. ที่ศาลจะชี้ขาดถอนประกันตัวแกนนำ อ้างทำรถติด ประชาชนเดือดร้อน
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่พูดจาดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องจริง โดยนายเชาวนะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเข้าแจ้งความที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินคดีกับนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เป็นตุลาการ โดยการข่มขู่ทำให้ตุลาการเกิดความกลัวด้วยการปราศรัยโจมตีใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการบอกเบอร์โทรศัพท์ตุลาการให้ผู้สนับสนุนโทร.ไปก่อกวนและข่มขู่
นอกจากนี้ยังแจ้งความดำเนินคดีกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายด้วย
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งความดำเนินคดีนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ นักจัดรายการวิทยุชุมชน และพวก ที่เดินทางมาเผาโลงจำลองตุลาการ 9 คน บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาข่มขู่ในลักษณะทำให้เกิดความกลัว และมีการชูป้ายด่า ดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีการเผาโลง และยังไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการในข้อหาแจ้งความเท็จด้วย
“นอกจากข้อกล่าวหาที่กล่าวมาแล้ว สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับบุคคลอื่นๆอีก 6 ข้อหา โดยในวันที่ 30 ก.ค. นี้ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญจะแถลงรายละเอียดให้ทราบ”
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ดูแลตุลาการทุกคนตามหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีใครมาดำเนินการใดๆที่ส่งผลกระทบต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือการปฏิบัติหน้าที่
นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คนเสื้อแดงไม่ควรไปรวมตัวกันเพื่อกดดันการทำงานของศาลที่จะไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัวแกนนำในวันที่ 9 ส.ค. นี้
“คนเสื้อแดงสามารถให้กำลังใจแกนนำอยู่ที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปปิดล้อมศาล เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากการจราจรติดขัด และขอให้แกนนำทุกคนหยุดปลุกระดมมวลชนให้มารวมตัวกันที่หน้าศาล”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่พูดจาดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องจริง โดยนายเชาวนะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเข้าแจ้งความที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินคดีกับนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เป็นตุลาการ โดยการข่มขู่ทำให้ตุลาการเกิดความกลัวด้วยการปราศรัยโจมตีใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการบอกเบอร์โทรศัพท์ตุลาการให้ผู้สนับสนุนโทร.ไปก่อกวนและข่มขู่
นอกจากนี้ยังแจ้งความดำเนินคดีกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายด้วย
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งความดำเนินคดีนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ นักจัดรายการวิทยุชุมชน และพวก ที่เดินทางมาเผาโลงจำลองตุลาการ 9 คน บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาข่มขู่ในลักษณะทำให้เกิดความกลัว และมีการชูป้ายด่า ดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีการเผาโลง และยังไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการในข้อหาแจ้งความเท็จด้วย
“นอกจากข้อกล่าวหาที่กล่าวมาแล้ว สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับบุคคลอื่นๆอีก 6 ข้อหา โดยในวันที่ 30 ก.ค. นี้ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญจะแถลงรายละเอียดให้ทราบ”
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ดูแลตุลาการทุกคนตามหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีใครมาดำเนินการใดๆที่ส่งผลกระทบต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือการปฏิบัติหน้าที่
นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คนเสื้อแดงไม่ควรไปรวมตัวกันเพื่อกดดันการทำงานของศาลที่จะไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัวแกนนำในวันที่ 9 ส.ค. นี้
“คนเสื้อแดงสามารถให้กำลังใจแกนนำอยู่ที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปปิดล้อมศาล เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากการจราจรติดขัด และขอให้แกนนำทุกคนหยุดปลุกระดมมวลชนให้มารวมตัวกันที่หน้าศาล”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มันต่างกันจริงๆ ..!!!?
นับแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะมีชัยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคมปีที่แล้วอย่างถล่มทะลาย
คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถูกพลพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่เรื่องขนาดไม้จิ้มฟันไปยันขนาดเรือรบ
แต่งตัวสวยไปเยือนต่างประเทศก็หาว่าไปเดินแฟชั่น
ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ไปปาฐกถาให้นักธุรกิจอเมริกันฟังที่เขมรก็ถูกหาว่าทำผิดมารยาทการทูต
พูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศก็หาว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด ทั้งๆ ที่ฝรั่งมันฟังรู้เรื่อง
และอีกสารพัดสารเพที่ยกมาเล่นงาน แต่น้อยนิดหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ตอบโต้ ทำตัวยังกะเป็น พระเตมีย์ใบ้ เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างดี
และดีกว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำมาด้วยซ้ำไป
ผลงานหลังสุดก็เป็นเรื่องการประชุม กตช.เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ ๙ ซึ่งปรากฎว่า...
ที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะเกษียณในวันที่ ๓๐ กันยายน ศกนี้
ก่อนหน้านี้ ก็เป็นประธานประชุม กตช.ที่ลงมติ ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตช.คนที่ ๘ แทนคนเดิมที่ถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในยุคที่ คุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ๓ ปีปรากฎว่า...เรียกประชุม กตช. เพื่อแต่งตั้ง ผบ.ตช.ไม่ได้แม้แต่คนเดียว
ประชุมคราใดก็ล้มเหลวครานั้น เพราะที่ประชุมไม่เห็นชอบกับคนที่นายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง เลยต้องใช้วิธีให้นั่งรักษาการไปจนเกษียณอายุ
มันชี้ให้เห็นว่า..การบริหารจัดการ การเจรจาประนีประนอมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกรรมการ กตช.ทั้ง ๑๐ คนนั้น ใครมีภาวะผู้นำที่เหนือกว่ากัน
ระหว่างนายกรัฐมนตรีที่ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกับนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ
นอกจากจะทำงานกับตำรวจได้ดีแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังทำงานประสานกับบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี
จนคนทั่วไปเริ่มมีความเชื่อมั่นว่า...คุณยิ่งลักษณ์น่าจะจบได้สวย และอาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้ถึงสองสมัย เพราะจนถึงบัดนี้ยังไม่มีข้อกล่าวที่ร้ายแรงใดๆ ต่อตัวคุณยิ่งลักษณ์เลย
แต่เมื่อมองไปทางคุณอภิสิทธิ์แล้วก็ต้องเป็นห่วง เพราะนอกจากคดี ๙๘ ศพที่อาจจะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ก็ยังมีคดีหนีทหารที่กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า มีหลักฐานชัดแจ้งซะอีกอย่างหนึ่ง
ลองทายกันสิว่าชะตาชีวิตของคุณอภิสิทธิ์จะลงเอยแบบใด
โดย.ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถูกพลพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่เรื่องขนาดไม้จิ้มฟันไปยันขนาดเรือรบ
แต่งตัวสวยไปเยือนต่างประเทศก็หาว่าไปเดินแฟชั่น
ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ไปปาฐกถาให้นักธุรกิจอเมริกันฟังที่เขมรก็ถูกหาว่าทำผิดมารยาทการทูต
พูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศก็หาว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด ทั้งๆ ที่ฝรั่งมันฟังรู้เรื่อง
และอีกสารพัดสารเพที่ยกมาเล่นงาน แต่น้อยนิดหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ตอบโต้ ทำตัวยังกะเป็น พระเตมีย์ใบ้ เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างดี
และดีกว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำมาด้วยซ้ำไป
ผลงานหลังสุดก็เป็นเรื่องการประชุม กตช.เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ ๙ ซึ่งปรากฎว่า...
ที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะเกษียณในวันที่ ๓๐ กันยายน ศกนี้
ก่อนหน้านี้ ก็เป็นประธานประชุม กตช.ที่ลงมติ ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตช.คนที่ ๘ แทนคนเดิมที่ถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในยุคที่ คุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ๓ ปีปรากฎว่า...เรียกประชุม กตช. เพื่อแต่งตั้ง ผบ.ตช.ไม่ได้แม้แต่คนเดียว
ประชุมคราใดก็ล้มเหลวครานั้น เพราะที่ประชุมไม่เห็นชอบกับคนที่นายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง เลยต้องใช้วิธีให้นั่งรักษาการไปจนเกษียณอายุ
มันชี้ให้เห็นว่า..การบริหารจัดการ การเจรจาประนีประนอมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกรรมการ กตช.ทั้ง ๑๐ คนนั้น ใครมีภาวะผู้นำที่เหนือกว่ากัน
ระหว่างนายกรัฐมนตรีที่ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกับนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ
นอกจากจะทำงานกับตำรวจได้ดีแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังทำงานประสานกับบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี
จนคนทั่วไปเริ่มมีความเชื่อมั่นว่า...คุณยิ่งลักษณ์น่าจะจบได้สวย และอาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้ถึงสองสมัย เพราะจนถึงบัดนี้ยังไม่มีข้อกล่าวที่ร้ายแรงใดๆ ต่อตัวคุณยิ่งลักษณ์เลย
แต่เมื่อมองไปทางคุณอภิสิทธิ์แล้วก็ต้องเป็นห่วง เพราะนอกจากคดี ๙๘ ศพที่อาจจะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ก็ยังมีคดีหนีทหารที่กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า มีหลักฐานชัดแจ้งซะอีกอย่างหนึ่ง
ลองทายกันสิว่าชะตาชีวิตของคุณอภิสิทธิ์จะลงเอยแบบใด
โดย.ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ป.ป.ช.ถอดถอน สุเทพ.ใช้อำนาจแทรกแซงผิดกฎหมาย !!?
ป.ป.ช.มีมติส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน “สุเทพ” ออกจากตำแหน่งฐานใช้อำนาจสมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีแทรกแซงส่งส.ส.ไปทำงานในกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อผลประโยชน์ด้านคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญชัดเจน “อภิสิทธิ์” รอดหลังสอบไม่พบข้อมูลหลักฐานว่าเกี่ยวข้องให้ยกคำร้อง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.มีมติให้ส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลให้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
ทั้งนี้สืบเนื่องจากมาที่นายสุเทพใช้อำนาจหน้าที่สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ส่งส.ส.และบุคคลรวม 19 คนไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการใช้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ส.ส. และพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านคะแนนเสียง อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) จึงต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน
ส่วนข้อกล่าวหาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นผลการสอบสวนไม่พบข้อมูลหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจึงให้ยกคำร้อง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
--------------------------------------------------------------------------------
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.มีมติให้ส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลให้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
ทั้งนี้สืบเนื่องจากมาที่นายสุเทพใช้อำนาจหน้าที่สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ส่งส.ส.และบุคคลรวม 19 คนไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการใช้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ส.ส. และพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านคะแนนเสียง อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) จึงต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน
ส่วนข้อกล่าวหาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นผลการสอบสวนไม่พบข้อมูลหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจึงให้ยกคำร้อง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
--------------------------------------------------------------------------------
ประชาธิปัตย์อวยพรวันเกิด ทักษิณ !!!?
รองโฆษก ปชป. วอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง "อภิสิทธิ์" แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต โอดเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่
รองโฆษก ปชป. อวยพรวันเกิดให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง
กรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์กล่าวขอบคุณครอบครัว และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในการสร้างห้องสมุดพรรคเพื่อไทย และขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดนั้น เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ก็ต้องขออวยพรให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับประเทศ ในเร็ววัน ขอให้มีจิตใจที่สงบ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยดลบัลดาลใจให้ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบทั้งตัวคุณทักษิณเอง และประเทศไทย
นายราเมศ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ใช้ห้องสมุดที่พรรคเพื่อไทยนั้น อยากเรียนว่าต้องขอบคุณแต่เราคงไม่ไปใช้ห้องสมุดดังกล่าว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็มีตำรามากมาย อาจจะมีห้องสมุดที่ไม่ใหญ่โตมากนักเหมือนของคุณทักษิณ แต่ห้องสมุดพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือที่ดี ไม่มีหนังสือที่จะสอนให้คนมีความรู้ในการโกงอย่างไร ไม่มีหนังสือที่สอนให้เผาบ้านเผาเมืองอย่างไร เพราะปัจจุบันความวุ่นวายในบ้านเมืองก็เกิดจากคนที่ประพฤติตนแบบนี้ การที่คนไม่มีความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งเสริมเพิ่มความรู้ แต่การเป็นคนดีย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะบางครั้งคนที่มีความรู้ระดับ ดร. ใช้ความรู้ในการโกงบ้านโกงเมือง ชอบทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็มีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ไปใช้ห้องสมุดแห่งนี้แน่นอน
อภิสิทธิ์แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวานนี้ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ทางสถานีวิทยุ 101 โดยช่วงหนึ่งนายอภิสิทธิ์ได้อวยพรให้ทักษิณว่า “ก็วันเกิดก็ขอให้ปีนี้ได้คิดได้นะครับว่า ชีวิตจะมีความสุข ก็น่าที่จะต้องละวางประโยชน์ส่วนตน แล้วก็ยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็มันอาจจะมีทางออกสำหรับชีวิตของคุณทักษิณได้ครับ”
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า รู้สึกข้องใจในเรื่องที่ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ บินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “มันคงไม่ใช่ความข้องใจหรอกครับ แต่มันต้องบอกว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่หัวหน้าของตำรวจ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่”
ผู้ดำเนินรายการถามว่า "ไม่ได้มองว่าเขาเป็นญาติกัน" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ปฏิเสธครับ ความเป็นญาติกัน จำเป็นจะต้อง หรือความผูกพันอะไร ผมไม่ว่า แต่ว่าเมื่อคุณดำรงตำแหน่ง คุณสวมหมวก 2 ใบ ตรงนี้ครับ คุณต้องเอาหน้าที่การงานแล้วก็สถานะของส่วนรวมมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวมาก่อน มันก็ไม่เหมาะสมแน่นอนครับ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีที่มีคนไปพบทักษิณในช่วงวันเกิดด้วยว่า “ไม่เป็นไรหรอกครับ คือคนผูกพันกัน จะไปหากันวันเกิดก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่อย่างที่บอกก็ต้องดูสถานะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่ามันก็มีประมวลจริยธรรม มีกฎต่าง ๆ กำกับอยู่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งหลบหนีความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ส่วนเป็นประเด็นที่ว่าจะแทรกแซงการเมือง ก็รู้ๆ กันอยู่นะครับ ไม่รู้จะวิจารณ์กันไปอีกทำไม ผมถึงบอกว่า สำคัญมากกว่า คือมาช่วยกันยึดประโยชน์ส่วนรวมดีกว่า”
ขณะที่เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าในสัปดาห์หน้า วางแผนฉลองวันเกิดให้ตัวเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ ก็อายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ”
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รองโฆษก ปชป. อวยพรวันเกิดให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง
กรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์กล่าวขอบคุณครอบครัว และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในการสร้างห้องสมุดพรรคเพื่อไทย และขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดนั้น เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ก็ต้องขออวยพรให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับประเทศ ในเร็ววัน ขอให้มีจิตใจที่สงบ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยดลบัลดาลใจให้ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบทั้งตัวคุณทักษิณเอง และประเทศไทย
นายราเมศ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ใช้ห้องสมุดที่พรรคเพื่อไทยนั้น อยากเรียนว่าต้องขอบคุณแต่เราคงไม่ไปใช้ห้องสมุดดังกล่าว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็มีตำรามากมาย อาจจะมีห้องสมุดที่ไม่ใหญ่โตมากนักเหมือนของคุณทักษิณ แต่ห้องสมุดพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือที่ดี ไม่มีหนังสือที่จะสอนให้คนมีความรู้ในการโกงอย่างไร ไม่มีหนังสือที่สอนให้เผาบ้านเผาเมืองอย่างไร เพราะปัจจุบันความวุ่นวายในบ้านเมืองก็เกิดจากคนที่ประพฤติตนแบบนี้ การที่คนไม่มีความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งเสริมเพิ่มความรู้ แต่การเป็นคนดีย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะบางครั้งคนที่มีความรู้ระดับ ดร. ใช้ความรู้ในการโกงบ้านโกงเมือง ชอบทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็มีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ไปใช้ห้องสมุดแห่งนี้แน่นอน
อภิสิทธิ์แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวานนี้ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ทางสถานีวิทยุ 101 โดยช่วงหนึ่งนายอภิสิทธิ์ได้อวยพรให้ทักษิณว่า “ก็วันเกิดก็ขอให้ปีนี้ได้คิดได้นะครับว่า ชีวิตจะมีความสุข ก็น่าที่จะต้องละวางประโยชน์ส่วนตน แล้วก็ยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็มันอาจจะมีทางออกสำหรับชีวิตของคุณทักษิณได้ครับ”
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า รู้สึกข้องใจในเรื่องที่ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ บินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “มันคงไม่ใช่ความข้องใจหรอกครับ แต่มันต้องบอกว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่หัวหน้าของตำรวจ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่”
ผู้ดำเนินรายการถามว่า "ไม่ได้มองว่าเขาเป็นญาติกัน" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ปฏิเสธครับ ความเป็นญาติกัน จำเป็นจะต้อง หรือความผูกพันอะไร ผมไม่ว่า แต่ว่าเมื่อคุณดำรงตำแหน่ง คุณสวมหมวก 2 ใบ ตรงนี้ครับ คุณต้องเอาหน้าที่การงานแล้วก็สถานะของส่วนรวมมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวมาก่อน มันก็ไม่เหมาะสมแน่นอนครับ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีที่มีคนไปพบทักษิณในช่วงวันเกิดด้วยว่า “ไม่เป็นไรหรอกครับ คือคนผูกพันกัน จะไปหากันวันเกิดก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่อย่างที่บอกก็ต้องดูสถานะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่ามันก็มีประมวลจริยธรรม มีกฎต่าง ๆ กำกับอยู่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งหลบหนีความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ส่วนเป็นประเด็นที่ว่าจะแทรกแซงการเมือง ก็รู้ๆ กันอยู่นะครับ ไม่รู้จะวิจารณ์กันไปอีกทำไม ผมถึงบอกว่า สำคัญมากกว่า คือมาช่วยกันยึดประโยชน์ส่วนรวมดีกว่า”
ขณะที่เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าในสัปดาห์หน้า วางแผนฉลองวันเกิดให้ตัวเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ ก็อายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ”
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชูศักดิ์แนะแก้ม. 68 ก่อนเดินหน้าแก้รธน.ทั้งฉบับ !!?
นายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า แนวทางของพรรคยังต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเป็นนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา ซึ่งแนวทางที่จะทำให้การแก้ไขทั้งฉบับสามารถทำได้ ต้องมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางประเด็นที่เป็นอุปสรรคก่อน เช่น มาตรา 68 โดยระบุให้ชัดเจนว่ากำหนดเวลาให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยกี่วันก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามผู้ทราบการกระทำยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ประเมินแล้วว่าการลงมติในวาระ 3 ขณะนี้ยังมีความล่อแหลมและอาจดำเนินการลำบาก เพราะขนาดยังไม่มีการลงมติศาลยังเปิดช่องออกคำสั่งให้มีการชะลอการลงมติได้ และเชื่อว่าหากลงมติจริงเสียงของ สส.และสว.จะเกิดความไม่มั่นใจว่าหากลงมติแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นเห็นว่าไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ทันที แต่ระหว่างนี้รัฐบาลควรเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนเห็นว่าเหตุใดจึงควรแก้รัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ
ขณะที่การแก้ไขรายมาตรานั้น กระบวนการต้องใช้ระยะเวลานานมาก ประกอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรานั้นมีความเกี่ยวโยงกับมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นควรแก้เป็นพลวัตคือแก้ทั้งฉบับจะดำเนินการง่ายกว่าและเป็นไปตามนโยบายที่พรรคเคยแถลงไว้ด้วย
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เชื่อว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมานั้นตรงกับคำแถลงเมื่อวันที่ 13 ก.ค. แต่จะมีรายละเอียดชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ไม่ทราบว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจนเรื่องการลงมติในวาระ 3 รวมทั้งคำแนะนำเรื่องการทำประชามติหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนออกมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็คงเป็นหมัน เพราะไม่ได้ปลดล็อคเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ หวังว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจน หรือว่าอาจจะชัดเจนแบบไม่ชัดเจนหรือไม่
"เท่าที่ฟังนั้นเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่า ทางออกที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดคือ การแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยให้ครม.หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เสนอขอแก้ไข แม้ว่าจะช้าเพราะถูกฝ่ายค้านแปรญัตติยืดเยื้อจนใช้เวลานาน แต่ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาเรื่องการไม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าทำอย่างเต็มที่แล้ว และไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหรือนองเลือดขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระทำตามนโยบายรัฐบาลได้ จึงไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แต่ประเมินแล้วว่าการลงมติในวาระ 3 ขณะนี้ยังมีความล่อแหลมและอาจดำเนินการลำบาก เพราะขนาดยังไม่มีการลงมติศาลยังเปิดช่องออกคำสั่งให้มีการชะลอการลงมติได้ และเชื่อว่าหากลงมติจริงเสียงของ สส.และสว.จะเกิดความไม่มั่นใจว่าหากลงมติแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นเห็นว่าไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ทันที แต่ระหว่างนี้รัฐบาลควรเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนเห็นว่าเหตุใดจึงควรแก้รัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ
ขณะที่การแก้ไขรายมาตรานั้น กระบวนการต้องใช้ระยะเวลานานมาก ประกอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรานั้นมีความเกี่ยวโยงกับมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นควรแก้เป็นพลวัตคือแก้ทั้งฉบับจะดำเนินการง่ายกว่าและเป็นไปตามนโยบายที่พรรคเคยแถลงไว้ด้วย
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เชื่อว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมานั้นตรงกับคำแถลงเมื่อวันที่ 13 ก.ค. แต่จะมีรายละเอียดชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ไม่ทราบว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจนเรื่องการลงมติในวาระ 3 รวมทั้งคำแนะนำเรื่องการทำประชามติหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนออกมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็คงเป็นหมัน เพราะไม่ได้ปลดล็อคเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ หวังว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจน หรือว่าอาจจะชัดเจนแบบไม่ชัดเจนหรือไม่
"เท่าที่ฟังนั้นเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่า ทางออกที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดคือ การแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยให้ครม.หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เสนอขอแก้ไข แม้ว่าจะช้าเพราะถูกฝ่ายค้านแปรญัตติยืดเยื้อจนใช้เวลานาน แต่ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาเรื่องการไม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าทำอย่างเต็มที่แล้ว และไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหรือนองเลือดขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระทำตามนโยบายรัฐบาลได้ จึงไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการ 13 ชุด แยกสอบจีที 200 - อัลฟา 6.
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการป.ป.ช.ได้มติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงคดีตรวจสอบกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 และอัลฟา 6 ภายหลังที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สรุปส่งสำนวนการสอบสวนมาให้สำนักไต่สวนคดีทุจริตภาครัฐ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.54 เลขที่ ยธ.0800/10 ซึ่งดีเอสไอสรุปผลการสืบสวนสอบสวน ภายหลังมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่ ปี 53 ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัยทั้ง 2 ประเภท ทั้งการจัดซื้อในราคาแพงเกินจริง และฮั้วประมูล ซึ่งตามระเบียบราชพัสดุของสำนักนายกฯการจัดซื้อเครื่องมือใดๆจะต้องไม่แพงเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดราคากลาง แต่กลายเป็นแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างจัดซื้อกันเอง
นายวิชา กล่าวอีกว่า หนังสือของดีเอสไอยังได้แยกประเด็นระบุถึง 13 หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดวัตถุระเบิดดังกล่าว ประกอบด้วย กรมการปกครองที่ได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 63 เครื่อง จังหวัดยะลา จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 17 ชุด เทศบาลนครภูเก็ต จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 2 เครื่อง จังหวัดพิษณุโลก 1 เครื่องและเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ สถานีตำรวจภูธร จ.ชัยนาท จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1 ชุด กรมศุลากรจัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 6 เครื่อง กรมสรรพาวุธ จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 757 เครื่อง ศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 8 เครื่อง สำนักป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 10 เครื่อง และต่อมาภายหลังได้มีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มอีก 5 เครื่อง สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ทยอยจัดซื้อเครื่องมือจีที 200 จำนวน 7 เครื่อง และต่อมาได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 อีก 2 เครื่อง สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรีจัดซื้อจีที 200 จำนวน 2 เครื่อง รวมงบประมาณที่หน่วยงานรัฐได้ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือทั้งสองประเภทจำนวน 683 ล้านบาท
กรรมการป.ป.ช. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการป.ป.ช.มีความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวมีถึง 13 หน่วย ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบในแต่ละหน่วยงานจำนวน 13 ชุด เพื่อเร่งรัดให้มีการทำคดีอย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นคดีใหญ่และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้ กรรมการป.ป.ช.จะนัดหารือเพื่อพิจารณาว่า จะมอบหมายให้ใครจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่ากรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่จะรับไว้พิจารณาเอง นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องขอข้อมูลจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากอัยการประเทศอังกฤษได้ดำเนินคดีกับนายจิม แมกคอร์มิก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือตรวจดักระเบิดจีที 200 เพื่อนำรายละเอียดมาประกอบการพิจารณาไต่สวนคดีต่อไป
นายวิชา กล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 นั้น เบื้องต้นป.ป.ช.ได้รับข้อมูลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้ส่งผลการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวของสำนักนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมมาให้แล้ว แต่กรรมการฯยังไม่ได้ดูรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร และหากมติที่ประชุมเห็นว่าควรจะให้รวมเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวกับสำนวนที่ดีเอสไอสรุปส่งมาให้ก็คงต้องรวม
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายวิชา กล่าวอีกว่า หนังสือของดีเอสไอยังได้แยกประเด็นระบุถึง 13 หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดวัตถุระเบิดดังกล่าว ประกอบด้วย กรมการปกครองที่ได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 63 เครื่อง จังหวัดยะลา จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 17 ชุด เทศบาลนครภูเก็ต จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 2 เครื่อง จังหวัดพิษณุโลก 1 เครื่องและเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ สถานีตำรวจภูธร จ.ชัยนาท จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1 ชุด กรมศุลากรจัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 6 เครื่อง กรมสรรพาวุธ จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 757 เครื่อง ศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 8 เครื่อง สำนักป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 10 เครื่อง และต่อมาภายหลังได้มีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มอีก 5 เครื่อง สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ทยอยจัดซื้อเครื่องมือจีที 200 จำนวน 7 เครื่อง และต่อมาได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 อีก 2 เครื่อง สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรีจัดซื้อจีที 200 จำนวน 2 เครื่อง รวมงบประมาณที่หน่วยงานรัฐได้ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือทั้งสองประเภทจำนวน 683 ล้านบาท
กรรมการป.ป.ช. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการป.ป.ช.มีความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวมีถึง 13 หน่วย ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบในแต่ละหน่วยงานจำนวน 13 ชุด เพื่อเร่งรัดให้มีการทำคดีอย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นคดีใหญ่และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้ กรรมการป.ป.ช.จะนัดหารือเพื่อพิจารณาว่า จะมอบหมายให้ใครจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่ากรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่จะรับไว้พิจารณาเอง นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องขอข้อมูลจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากอัยการประเทศอังกฤษได้ดำเนินคดีกับนายจิม แมกคอร์มิก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือตรวจดักระเบิดจีที 200 เพื่อนำรายละเอียดมาประกอบการพิจารณาไต่สวนคดีต่อไป
นายวิชา กล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 นั้น เบื้องต้นป.ป.ช.ได้รับข้อมูลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้ส่งผลการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวของสำนักนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมมาให้แล้ว แต่กรรมการฯยังไม่ได้ดูรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร และหากมติที่ประชุมเห็นว่าควรจะให้รวมเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวกับสำนวนที่ดีเอสไอสรุปส่งมาให้ก็คงต้องรวม
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไทย-พม่า ควงแขน สู้เศรษฐกิจโลก !!?
หงส์สีทอง ถูกแกะสลักอย่างสวยงามตั้งตระหง่านหันหน้าเข้าหารูปปั้นยักษ์บริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การ หันหน้าเข้าหากันระหว่างไทยกับพม่า
เพื่อร่วมมือด้านโลจิสติกส์รองรับการเชื่อมโยงกับภูมิภาค ในโอกาสที่ “นายเต็ง เส่ง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน์มาร์เดินทางตรวจเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
“นายเต็ง เส่ง” เดินทางถึงอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เวลาประมาณ 15.15 น.โดยมีม.ร.ว.พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจาตุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ให้การต้อนรับหลังจากเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายกับพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวาย-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นมิติใหม่ด้านการค้าการลงทุนของไทย เชื่อว่าจะสามารถลดสัดส่วนต้นทุนระบบขนส่งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลงได้ รวมถึงช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งจากฝั่งจะวันออกที่อ่าวไทย ซึ่งมีสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีกระจายไปฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ตะวันออกกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้ครึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร และน้ำตาล
และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้เตรียมแผนก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร และช่วงกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ไว้รองรับแล้ว รวมถึงเส้นทางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจชายแดนด้วย
“มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการรอเวนคืนที่ถ้าแล้วเสร็จก็จะเปิดประมูลได้ทันทีด้วยวิธี PPP จากนั้นก็จะเริ่มก่อสร้างสายกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน เป็นลำดับต่อไป” นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง และคณะตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสำรวจความพร้อมของระบบขนส่ง เตรียมผลักดันการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทวายในพม่ากับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว สำหรับกนอ.อยู่ระหว่างศึกษานิคมอุตสาหกรรมพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน
นายอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า การเดินทางมาท่าเรือแหลมฉบังของคณะประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ครั้งนี้ เพื่อร่วมมือการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งจะมีการร่วมกันพัฒนาและกระตุ้นนักลงทุนไทยและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย สำหรับนักลงทุนมีความสนใจไปลงทุนที่พม่าจำนวนมาก โดยเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปจับคู่ธุรกิจในย่างกุ้ง จำนวน 100 ราย และในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะมีบริษัทคนไทย 50 แห่งเข้าไปย่างกุ้ง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุนไทยทางบีโอไอมีแผนจะเข้าไปตั้งสำนักงานบีโอไอที่ย่างกุ้งในเร็วๆ นี้
ภายหลังการเดินทางไปหอบังคับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง “นายเต็ง เส่ง” ได้ให้ความสนใจท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังมาก โดยได้สอบถามถึงรูปแบบการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสามารถเอาไปเป็นตัวอย่างการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายได้ส่วนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรือ อิสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีการลงทุนอุตสาหกรรมต่างๆ ของ 7 นิคมอุตสาหกรรม การตัดถนน และเส้นทางรถไฟ จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จากนี้ไปต้องจับตาการจับมือเดินไปพร้อมกันระหว่างไทยกับพม่า ภายหลัง “เต็ง เส่ง” เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือขยายความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย เส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอีสเทิร์น ซีบอร์ดกับเวสต์เทิร์น ซีบอร์ด เพื่อก้าวไปสู่สะพานเศรษฐกิจ และศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เพื่อร่วมมือด้านโลจิสติกส์รองรับการเชื่อมโยงกับภูมิภาค ในโอกาสที่ “นายเต็ง เส่ง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน์มาร์เดินทางตรวจเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
“นายเต็ง เส่ง” เดินทางถึงอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เวลาประมาณ 15.15 น.โดยมีม.ร.ว.พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจาตุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ให้การต้อนรับหลังจากเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายกับพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวาย-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นมิติใหม่ด้านการค้าการลงทุนของไทย เชื่อว่าจะสามารถลดสัดส่วนต้นทุนระบบขนส่งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลงได้ รวมถึงช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งจากฝั่งจะวันออกที่อ่าวไทย ซึ่งมีสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีกระจายไปฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ตะวันออกกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้ครึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร และน้ำตาล
และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้เตรียมแผนก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร และช่วงกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ไว้รองรับแล้ว รวมถึงเส้นทางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจชายแดนด้วย
“มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการรอเวนคืนที่ถ้าแล้วเสร็จก็จะเปิดประมูลได้ทันทีด้วยวิธี PPP จากนั้นก็จะเริ่มก่อสร้างสายกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน เป็นลำดับต่อไป” นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง และคณะตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสำรวจความพร้อมของระบบขนส่ง เตรียมผลักดันการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทวายในพม่ากับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว สำหรับกนอ.อยู่ระหว่างศึกษานิคมอุตสาหกรรมพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน
นายอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า การเดินทางมาท่าเรือแหลมฉบังของคณะประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ครั้งนี้ เพื่อร่วมมือการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งจะมีการร่วมกันพัฒนาและกระตุ้นนักลงทุนไทยและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย สำหรับนักลงทุนมีความสนใจไปลงทุนที่พม่าจำนวนมาก โดยเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปจับคู่ธุรกิจในย่างกุ้ง จำนวน 100 ราย และในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะมีบริษัทคนไทย 50 แห่งเข้าไปย่างกุ้ง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุนไทยทางบีโอไอมีแผนจะเข้าไปตั้งสำนักงานบีโอไอที่ย่างกุ้งในเร็วๆ นี้
ภายหลังการเดินทางไปหอบังคับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง “นายเต็ง เส่ง” ได้ให้ความสนใจท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังมาก โดยได้สอบถามถึงรูปแบบการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสามารถเอาไปเป็นตัวอย่างการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายได้ส่วนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรือ อิสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีการลงทุนอุตสาหกรรมต่างๆ ของ 7 นิคมอุตสาหกรรม การตัดถนน และเส้นทางรถไฟ จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จากนี้ไปต้องจับตาการจับมือเดินไปพร้อมกันระหว่างไทยกับพม่า ภายหลัง “เต็ง เส่ง” เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือขยายความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย เส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอีสเทิร์น ซีบอร์ดกับเวสต์เทิร์น ซีบอร์ด เพื่อก้าวไปสู่สะพานเศรษฐกิจ และศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไขทางออก : วิกฤติ รธน. ประชามติ ดับไฟการเมือง !!?
วาระร้อน!! ว่าด้วย “ศึกแก้รัฐธรรมนูญ” ดูท่าจะ ยืดเยื้อและบานปลาย หลังฝ่ายผู้ถูกร้องเริ่มออกอาการงัดข้อ กันเอง จนกลายเป็น “วิวาทะ” ระหว่าง “ขุมข่ายอำนาจรัฐ” กับ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ซึ่งต่างมีปม ปัญหาขัดแย้งในเรื่องการลงมติ “วาระ 3” ที่ฝ่ายหนึ่ง แนะให้เดินหน้าต่อไป โดยไม่สนใจ “คำวินิจฉัย” หรือการที่อีกฝ่าย ชี้ให้ “ค่อยเป็นค่อยไป” แก้ทีละ มาตราตาม “ข้อเสนอแนะ” ของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อดูจากอาการ “เสี้ยนตำคอ” ระหว่างเหล่าเสนาบดีแห่งรัฐ และทีมยุทธ ศาสตร์ในมุ้งค่ายเพื่อไทย ต่างมี “มุมความ คิด” ที่แปลกแยกกันไป เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ใน 4 ประเด็น ตลอดจน “ข้อเสนอแนะ” ซึ่งอีกฝ่ายมองว่าเป็นการ “มัดมือชก” โดยคณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ผลวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่ง เป็นการ “ขุดหลุมพราง” เอาไว้ล่อฝ่ายการเมือง-นิติบัญญัติ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ยัง “ไม่สะเด็ดน้ำ” ทิ้งปม “ข้อเสนอแนะ” ไว้ให้แตกผลึกกันต่อไปว่า... ถ้อยคำที่ศาล
รธน.ชี้ว่า ควรจะทำประชามติถามประชาชน ก่อน หมายถึงอย่างไรกันแน่?!!
โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ศาล รธน. อ้าง ถึงหลักการ “อำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นของประชาชน” ซึ่งที่ผ่านมาแสดงออก โดยการลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 มากถึง 15 ล้านเสียง หากจะแก้ไขควรผ่านการลงประชามติ และหากจะแก้ก็ควรแก้เป็นรายมาตรา ไม่เป็นการแก้ทั้งฉบับ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่าย ล้มล้างการปกครอง
แต่การที่ศาลไม่ได้ชี้ชัดว่า การลงประชามติควรกระทำเมื่อไหร่ ในขั้นตอนไหน ลงประชามติในหลักการใหญ่เลยว่าสมควรจะแก้หรือไม่แก้... หรือให้ลงประชามติในหลักการสำคัญๆ เป็นประเด็นไป
เช่นที่ว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของที่ประชุม “รัฐสภา” ว่าจะ “เลือก” โดย ยึดหลักอะไรเป็นบรรทัดฐานรองรับ ซึ่งหาก ยึดหลักการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจ กำหนดขอบเขตอำนาจแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน หรือชี้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ควรก้าว “ล้ำเส้นอำนาจ” การบัญญัติกฎหมายของรัฐสภา ก็ให้เลือกแนวทางเดินหน้า “ลงมติ” ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “วาระ 3”
ในทางกลับกัน หากเลือกหลักการบริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย ลดความขัดแย้ง และบรรลุเป้าหมายที่ต้อง การในที่สุด ก็ควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญ ตกไป ไม่ต้องนำขึ้นมาให้ความเห็นชอบวาระ 3 แล้วเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขราย มาตรา โดยกระบวนการรัฐสภาเอง มิต้อง มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา
แต่หาก “เลือก” แนวทางนี้ โดยแก้ เป็นรายมาตราตามข้อเสนอแนะของศาล รธน. ยิ่งแน่ชัดว่าจะมีการ “ลากประเด็น” หรือ “ตีรวน” โดยฝ่ายคัดค้าน ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปอีก แต่ก็เชื่อว่าด้วย “เสียงข้างมาก” ย่อมจะเอา ชนะได้ไม่ยาก เมื่อมีการยกมือโหวต!
ปัญหามีอยู่ว่า...หากรัฐบาลเลือกแนวทางนี้ ก็อาจถูก “ซีกฝ่ายค้าน” นำเอา คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่ระบุไว้ว่า “จะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ ขึ้นมายก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เอามาโจมตีซึ่งรัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลความเปลี่ยนแปลง โดยอ้างถึงคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้
ทว่า...ปัญหาข้อถกเถียงเพื่อหาทางออกก็ยังไม่ตกไป เพราะคงมีประเด็นว่าด้วยการทำประชามติ ค้างคาอยู่อีก! ไม่ว่าจะทำประชามติก่อนยกร่างเป็น รายมาตรา หรือประชามติในหลักใหญ่เพียงประเด็นเดียวว่า...ควรแก้หรือไม่ควร แก้ หรือไม่ก็ให้ “รัฐสภา” ลงมติในวาระ 3 แล้วค่อยลงประชามติ หากประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่งเห็นอย่างไร ก็ให้มีผลตามนั้น
ทำให้เกิดข้อกังขาที่ว่า...ใครจะเป็นผู้ทำประชามติ รัฐบาล รัฐสภา หรือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับเอาไปทำ และมีคำถามต่อมาว่า จะทำได้หรือไม่...เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้
แต่เหนืออื่นใด การที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ “คำแนะนำ” ซึ่งมิใช่เป็น “คำสั่ง” แต่เมื่อไม่ชี้ให้ชัดเจนถึงกระบวนการที่จะดำเนินต่อไป ปล่อยให้ผู้มีส่วนได้-เสีย ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาไปว่ากันเอง ก็ยิ่งทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จนไร้ซึ่งทางออก
ท้ายที่สุด ก็มีคำถามตามมาว่า... กลไกนิติบัญญัติและรัฐบาลจะ “เลือก” แนวทางไหน เพื่อเป็น “ทางออก” ของประเทศไทย ภายใต้วิกฤติแห่งรัฐธรรมนูญ?!! เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการ ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยมีเนื้อหาสรุปเอา ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ข้อแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่งผลให้มีการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงในด้านวิชาการว่า ศาลรัฐธรรมนูญตั้งประเด็นและวินิจฉัยเกินเลยไปจากมาตรา 68 หรือไม่ การลงประชามติต้องทำในขั้นตอนใด ข้อแนะนำดังกล่าวมีผลผูกพันต่อฝ่ายที่เกี่ยว ข้องแค่ไหนเพียงใด ซึ่งต้องรอศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน แต่ที่มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติในวาระสาม ต่อไป หรือควรชะลอเอาไว้ก่อนเพื่อไปดำเนิน การออกเสียงประชามติก่อน หรือปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แล้วไปดำเนิน การแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเห็นว่าการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 แม้จะกระทำ ได้โดยชอบตามกฎหมาย แต่แนวทางนี้อาจเป็นชนวนหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมืองไม่จบสิ้น”
ส่วนแนวทางที่ 2 ก็ไม่มีความชัดเจน เพราะยังไม่มีร่างให้ประชาชนพิจารณาเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจลงประชามติ ซึ่ง จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เหมือนกรณีการลง ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ2550 ที่ให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ 50 กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ขณะที่แนวทางที่ 3 คงต้องใช้เวลานานมาก และไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเสร็จเมื่อใด จึงมีข้อเสนอว่า รัฐสภาควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่รอลงมติในวาระที่สามตกไป เพื่อไปดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยกำหนดหัว ข้อให้ชัดเจน คือให้ประชาชนมีตัวเลือกว่าหากไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว รัฐบาลจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงแก้ไข และประกาศใช้บังคับแทน ซึ่งเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก หากประชาชนลงประชามติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการมาตรา 291 จากนั้นให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้บังคับ
การที่นำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก เพราะเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีความก้าวหน้าและเป็นเสรีนิยม ยึดโยงกับภาคประชาชนที่สำคัญยังถูกร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยกำลังเบ่ง บาน ขณะเดียวกันยังมีการบัญญัติถึงที่มา องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ เป็นผู้เลือกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หากเสียงข้างมากว่าเห็นควรใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อไปก็เป็นอันยุติ ไม่ต้องดำเนินการอันใดต่อไปอีก เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาเท่านั้น
แต่หากเสียงข้างมากเห็นควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไข ก็ให้ ดำเนินการยกร่างเช่นเดียวกันกับปี 2517 คือให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างโดยใช้แนว ทางปี 2517 มาเป็นหลัก เสร็จแล้วก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาตามกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ต่อไป
เมื่อรัฐสภาลงมติวาระแรกก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ส.ส.และ ส.ว.ในสัดส่วน จำนวนที่เหมาะสมจากนั้นจัดรับฟังความเห็นจากประชาชนโดยเปิดเผย และโปร่งใส ถ่ายทอดทางโทรทัศน์วิทยุ หรือสื่ออื่น ให้ประชาชนรับรู้ เมื่อพิจารณาในวาระสองเสร็จแล้วให้รอ 15 วัน จากนั้นจึงลงมติใน วาระสาม และนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ จากนั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้บังคับต่อไป
หากดำเนินการตามแนวทางนี้จะแล้วเสร็จภายในไม่เกิน 15 เดือน หรือ 450 วันถึงจะต้องลงประชามติ 2 ครั้ง บางคนอาจมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบ ประมาณโดยใช่เหตุ แต่แนวทางนี้จะสิ้น เปลืองน้อยกว่าการจัดตั้งสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่นอกจากต้องเสียการ ใช้จ่ายเลือกตั้ง ส.ส.ร. ยังมีเงินเดือน และงบไปจัดทำประชามติอีก ที่สำคัญแนวทางที่เสนอ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้ รับการยอมรับจากบุคคลทุกฝ่ายทุกสี และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับข้อแนะ นำของศาลรัฐธรรมนูญด้วย...!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อดูจากอาการ “เสี้ยนตำคอ” ระหว่างเหล่าเสนาบดีแห่งรัฐ และทีมยุทธ ศาสตร์ในมุ้งค่ายเพื่อไทย ต่างมี “มุมความ คิด” ที่แปลกแยกกันไป เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ใน 4 ประเด็น ตลอดจน “ข้อเสนอแนะ” ซึ่งอีกฝ่ายมองว่าเป็นการ “มัดมือชก” โดยคณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ผลวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่ง เป็นการ “ขุดหลุมพราง” เอาไว้ล่อฝ่ายการเมือง-นิติบัญญัติ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ยัง “ไม่สะเด็ดน้ำ” ทิ้งปม “ข้อเสนอแนะ” ไว้ให้แตกผลึกกันต่อไปว่า... ถ้อยคำที่ศาล
รธน.ชี้ว่า ควรจะทำประชามติถามประชาชน ก่อน หมายถึงอย่างไรกันแน่?!!
โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ศาล รธน. อ้าง ถึงหลักการ “อำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นของประชาชน” ซึ่งที่ผ่านมาแสดงออก โดยการลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 มากถึง 15 ล้านเสียง หากจะแก้ไขควรผ่านการลงประชามติ และหากจะแก้ก็ควรแก้เป็นรายมาตรา ไม่เป็นการแก้ทั้งฉบับ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่าย ล้มล้างการปกครอง
แต่การที่ศาลไม่ได้ชี้ชัดว่า การลงประชามติควรกระทำเมื่อไหร่ ในขั้นตอนไหน ลงประชามติในหลักการใหญ่เลยว่าสมควรจะแก้หรือไม่แก้... หรือให้ลงประชามติในหลักการสำคัญๆ เป็นประเด็นไป
เช่นที่ว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของที่ประชุม “รัฐสภา” ว่าจะ “เลือก” โดย ยึดหลักอะไรเป็นบรรทัดฐานรองรับ ซึ่งหาก ยึดหลักการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจ กำหนดขอบเขตอำนาจแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน หรือชี้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ควรก้าว “ล้ำเส้นอำนาจ” การบัญญัติกฎหมายของรัฐสภา ก็ให้เลือกแนวทางเดินหน้า “ลงมติ” ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “วาระ 3”
ในทางกลับกัน หากเลือกหลักการบริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย ลดความขัดแย้ง และบรรลุเป้าหมายที่ต้อง การในที่สุด ก็ควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญ ตกไป ไม่ต้องนำขึ้นมาให้ความเห็นชอบวาระ 3 แล้วเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขราย มาตรา โดยกระบวนการรัฐสภาเอง มิต้อง มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา
แต่หาก “เลือก” แนวทางนี้ โดยแก้ เป็นรายมาตราตามข้อเสนอแนะของศาล รธน. ยิ่งแน่ชัดว่าจะมีการ “ลากประเด็น” หรือ “ตีรวน” โดยฝ่ายคัดค้าน ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปอีก แต่ก็เชื่อว่าด้วย “เสียงข้างมาก” ย่อมจะเอา ชนะได้ไม่ยาก เมื่อมีการยกมือโหวต!
ปัญหามีอยู่ว่า...หากรัฐบาลเลือกแนวทางนี้ ก็อาจถูก “ซีกฝ่ายค้าน” นำเอา คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่ระบุไว้ว่า “จะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ ขึ้นมายก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เอามาโจมตีซึ่งรัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลความเปลี่ยนแปลง โดยอ้างถึงคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้
ทว่า...ปัญหาข้อถกเถียงเพื่อหาทางออกก็ยังไม่ตกไป เพราะคงมีประเด็นว่าด้วยการทำประชามติ ค้างคาอยู่อีก! ไม่ว่าจะทำประชามติก่อนยกร่างเป็น รายมาตรา หรือประชามติในหลักใหญ่เพียงประเด็นเดียวว่า...ควรแก้หรือไม่ควร แก้ หรือไม่ก็ให้ “รัฐสภา” ลงมติในวาระ 3 แล้วค่อยลงประชามติ หากประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่งเห็นอย่างไร ก็ให้มีผลตามนั้น
ทำให้เกิดข้อกังขาที่ว่า...ใครจะเป็นผู้ทำประชามติ รัฐบาล รัฐสภา หรือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับเอาไปทำ และมีคำถามต่อมาว่า จะทำได้หรือไม่...เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้
แต่เหนืออื่นใด การที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ “คำแนะนำ” ซึ่งมิใช่เป็น “คำสั่ง” แต่เมื่อไม่ชี้ให้ชัดเจนถึงกระบวนการที่จะดำเนินต่อไป ปล่อยให้ผู้มีส่วนได้-เสีย ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาไปว่ากันเอง ก็ยิ่งทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จนไร้ซึ่งทางออก
ท้ายที่สุด ก็มีคำถามตามมาว่า... กลไกนิติบัญญัติและรัฐบาลจะ “เลือก” แนวทางไหน เพื่อเป็น “ทางออก” ของประเทศไทย ภายใต้วิกฤติแห่งรัฐธรรมนูญ?!! เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการ ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยมีเนื้อหาสรุปเอา ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ข้อแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่งผลให้มีการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงในด้านวิชาการว่า ศาลรัฐธรรมนูญตั้งประเด็นและวินิจฉัยเกินเลยไปจากมาตรา 68 หรือไม่ การลงประชามติต้องทำในขั้นตอนใด ข้อแนะนำดังกล่าวมีผลผูกพันต่อฝ่ายที่เกี่ยว ข้องแค่ไหนเพียงใด ซึ่งต้องรอศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน แต่ที่มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติในวาระสาม ต่อไป หรือควรชะลอเอาไว้ก่อนเพื่อไปดำเนิน การออกเสียงประชามติก่อน หรือปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แล้วไปดำเนิน การแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเห็นว่าการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 แม้จะกระทำ ได้โดยชอบตามกฎหมาย แต่แนวทางนี้อาจเป็นชนวนหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมืองไม่จบสิ้น”
ส่วนแนวทางที่ 2 ก็ไม่มีความชัดเจน เพราะยังไม่มีร่างให้ประชาชนพิจารณาเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจลงประชามติ ซึ่ง จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เหมือนกรณีการลง ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ2550 ที่ให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ 50 กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ขณะที่แนวทางที่ 3 คงต้องใช้เวลานานมาก และไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเสร็จเมื่อใด จึงมีข้อเสนอว่า รัฐสภาควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่รอลงมติในวาระที่สามตกไป เพื่อไปดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยกำหนดหัว ข้อให้ชัดเจน คือให้ประชาชนมีตัวเลือกว่าหากไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว รัฐบาลจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงแก้ไข และประกาศใช้บังคับแทน ซึ่งเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก หากประชาชนลงประชามติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการมาตรา 291 จากนั้นให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้บังคับ
การที่นำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก เพราะเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีความก้าวหน้าและเป็นเสรีนิยม ยึดโยงกับภาคประชาชนที่สำคัญยังถูกร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยกำลังเบ่ง บาน ขณะเดียวกันยังมีการบัญญัติถึงที่มา องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ เป็นผู้เลือกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หากเสียงข้างมากว่าเห็นควรใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อไปก็เป็นอันยุติ ไม่ต้องดำเนินการอันใดต่อไปอีก เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาเท่านั้น
แต่หากเสียงข้างมากเห็นควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไข ก็ให้ ดำเนินการยกร่างเช่นเดียวกันกับปี 2517 คือให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างโดยใช้แนว ทางปี 2517 มาเป็นหลัก เสร็จแล้วก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาตามกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ต่อไป
เมื่อรัฐสภาลงมติวาระแรกก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ส.ส.และ ส.ว.ในสัดส่วน จำนวนที่เหมาะสมจากนั้นจัดรับฟังความเห็นจากประชาชนโดยเปิดเผย และโปร่งใส ถ่ายทอดทางโทรทัศน์วิทยุ หรือสื่ออื่น ให้ประชาชนรับรู้ เมื่อพิจารณาในวาระสองเสร็จแล้วให้รอ 15 วัน จากนั้นจึงลงมติใน วาระสาม และนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ จากนั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้บังคับต่อไป
หากดำเนินการตามแนวทางนี้จะแล้วเสร็จภายในไม่เกิน 15 เดือน หรือ 450 วันถึงจะต้องลงประชามติ 2 ครั้ง บางคนอาจมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบ ประมาณโดยใช่เหตุ แต่แนวทางนี้จะสิ้น เปลืองน้อยกว่าการจัดตั้งสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่นอกจากต้องเสียการ ใช้จ่ายเลือกตั้ง ส.ส.ร. ยังมีเงินเดือน และงบไปจัดทำประชามติอีก ที่สำคัญแนวทางที่เสนอ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้ รับการยอมรับจากบุคคลทุกฝ่ายทุกสี และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับข้อแนะ นำของศาลรัฐธรรมนูญด้วย...!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คิดถึงขงเบ้ง !!?
ขงเบ้ง...เป็นใคร..คาดหมายได้ว่า..คนไทยทุกคนคงรู้ว่าขงเบ้งเป็นใคร...มากกว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในวันนี้
ขงเบ้ง..เป็นนักพิชัยสงคราม..รอบรู้เชี่ยวชาญในสารพัดปัญหา..เขาจึงถูกเรียกว่า..ผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง..กล่าวถึง..ยอดขุนพล..หรือคนที่จะเป็นยอดขุนพลว่า...ให้รับฟังความเห็นของคนทุกฝ่าย..รวบรวมปัญญาของมวลชน..คิดให้ถ้วนถึงทางได้ทางเสีย..
ขุนพล...ต้องมี “ผู้ที่มีความรู้กว้างและปัญญาหลักแหลม” มาไว้เป็น “คู่หู”
“เก่งวาทะ มีถ้อยคำแหลมคมพรั่งพรูมาโดยไม่ขาดสาย ดุจสายน้ำที่หลั่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มีกลเม็ดเด็ดพรายอันสุดคาด” ..เป็นที่ปรึกษาชั้นสูง
“ห้าวหาญคล่องแคล่วสรรพาวุธศาสตรา แข็งแกร่งดุจดั่งศิลา ลีลาสู้รบดั่งมังกรเหิรหาว”..เป็นที่ปรึกษาชั้นกลาง
“ผู้ชอบแสดงความเห็นต่าง ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง” เป็นที่ปรึกษาชั้นต่ำ..
เรื่องราวของบ้านเราในวันนี้..เพราะยอดขุนพลทั้งหลาย..ที่เป็นหลักแห่งแผ่นดิน..ล้วนแต่มีคู่หูลูกคู่..ที่เชี่ยวชาญแต่การประจบสอพลอ..ขาดความรู้จริงในศาสตร์ปราศจากรูปแบบของศิลปะ..เกาะเกี่ยวเพื่อเอาไปทำมาหากินอย่างมูมมาม
ใช้วาจาและสติปัญญาเพื่อความร้าวฉาน..รักบ้านมากกว่าเมือง ดูแต่เรื่องตัวเองเป็นใหญ่..ไม่ใส่ใจในเรื่องความเดือดร้อนยากจนของมวลชน..
ธรรมชาติของบ้านเมืองอันเป็นแหล่งแห่งหนที่มีคนอยู่มากอยู่อาศัย..ย่อมมากมายไปด้วยเรื่องราวความขัดแย้ง..เมื่อยอดขุนพลคนดูแลแผ่นดิน..กลายเป็นปัญหาเสียเอง..แผ่นดินก็ย่อมเร่าร้อนดังไฟ..
เหลือบแลไปทางไหนก็ไร้สิ่งจำเริญหูเจริญตา...ประกอบกับสติปัญญาของที่ปรึกษาคู่หูก็คับแคบไม่กว้างใหญ่..เห็นใกล้ไม่เห็นไกล..จิตใจสับสนไร้พลังขาดสมาธิ...เป็นนกอินทรีไปไล่จิกตีอยู่กับนกกระจอก..ฯลฯ
มองขึ้นไปในกลุ่มผู้ดูแล..ที่สุกปลั่งดั่งทองกลับเป็นสีทาฉาบ..ที่เห็นเป็นขุนเขาเบื้องหน้ากลายเป็นเมฆหนากลุ่มฝน..ผู้คุ้มครองกลับลี้หาย ผู้คุมภัยกับเป็นอันตรายซะเอง..
แล้วจะอยู่กันอย่างไร...ไทยเรา
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ขงเบ้ง..เป็นนักพิชัยสงคราม..รอบรู้เชี่ยวชาญในสารพัดปัญหา..เขาจึงถูกเรียกว่า..ผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง..กล่าวถึง..ยอดขุนพล..หรือคนที่จะเป็นยอดขุนพลว่า...ให้รับฟังความเห็นของคนทุกฝ่าย..รวบรวมปัญญาของมวลชน..คิดให้ถ้วนถึงทางได้ทางเสีย..
ขุนพล...ต้องมี “ผู้ที่มีความรู้กว้างและปัญญาหลักแหลม” มาไว้เป็น “คู่หู”
“เก่งวาทะ มีถ้อยคำแหลมคมพรั่งพรูมาโดยไม่ขาดสาย ดุจสายน้ำที่หลั่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มีกลเม็ดเด็ดพรายอันสุดคาด” ..เป็นที่ปรึกษาชั้นสูง
“ห้าวหาญคล่องแคล่วสรรพาวุธศาสตรา แข็งแกร่งดุจดั่งศิลา ลีลาสู้รบดั่งมังกรเหิรหาว”..เป็นที่ปรึกษาชั้นกลาง
“ผู้ชอบแสดงความเห็นต่าง ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง” เป็นที่ปรึกษาชั้นต่ำ..
เรื่องราวของบ้านเราในวันนี้..เพราะยอดขุนพลทั้งหลาย..ที่เป็นหลักแห่งแผ่นดิน..ล้วนแต่มีคู่หูลูกคู่..ที่เชี่ยวชาญแต่การประจบสอพลอ..ขาดความรู้จริงในศาสตร์ปราศจากรูปแบบของศิลปะ..เกาะเกี่ยวเพื่อเอาไปทำมาหากินอย่างมูมมาม
ใช้วาจาและสติปัญญาเพื่อความร้าวฉาน..รักบ้านมากกว่าเมือง ดูแต่เรื่องตัวเองเป็นใหญ่..ไม่ใส่ใจในเรื่องความเดือดร้อนยากจนของมวลชน..
ธรรมชาติของบ้านเมืองอันเป็นแหล่งแห่งหนที่มีคนอยู่มากอยู่อาศัย..ย่อมมากมายไปด้วยเรื่องราวความขัดแย้ง..เมื่อยอดขุนพลคนดูแลแผ่นดิน..กลายเป็นปัญหาเสียเอง..แผ่นดินก็ย่อมเร่าร้อนดังไฟ..
เหลือบแลไปทางไหนก็ไร้สิ่งจำเริญหูเจริญตา...ประกอบกับสติปัญญาของที่ปรึกษาคู่หูก็คับแคบไม่กว้างใหญ่..เห็นใกล้ไม่เห็นไกล..จิตใจสับสนไร้พลังขาดสมาธิ...เป็นนกอินทรีไปไล่จิกตีอยู่กับนกกระจอก..ฯลฯ
มองขึ้นไปในกลุ่มผู้ดูแล..ที่สุกปลั่งดั่งทองกลับเป็นสีทาฉาบ..ที่เห็นเป็นขุนเขาเบื้องหน้ากลายเป็นเมฆหนากลุ่มฝน..ผู้คุ้มครองกลับลี้หาย ผู้คุมภัยกับเป็นอันตรายซะเอง..
แล้วจะอยู่กันอย่างไร...ไทยเรา
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เพื่อไทย กล้าๆหน่อย !!?
ศุกร์ 13 มึนงง” กลายเป็น “ศุกร์ 13 อึมครึม” เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยก 5 คำร้องว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่บรรยากาศทางการเมืองก็ยังอึมครึม เพราะไม่มีใครยืนยันได้ว่า คำวินิจฉัยเป็นอย่างไร แม้แต่นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเป็น “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำแนะนำ” หากรัฐสภาจะดำเนินการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญต่อก็ต้องรับผิดชอบ
เช่นเดียวกับนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่แนะให้รัฐบาลชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนในคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรม นูญกลาง โดยเฉพาะคำแนะนำของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่ให้ทำประชามติก่อนหรือแก้ไขเป็นรายมาตรานั้น หากเป็นเพียงคำแนะนำก็จะไม่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่หากเป็นคำวินิจฉัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง รัฐบาล และรัฐสภา ที่ต้องหารือกัน
และการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้รอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดก่อน หลังจากนั้นจะให้คณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
ชำแหละศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการที่ปรึกษาของพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า น่าเป็นห่วง และต่อไปจะมีปัญหามากขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจมากขึ้นเพราะไปก้าวก่ายการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญคืออัยการสูงสุดที่ถูกกระทบต่ออำนาจโดยตรง ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรงนี้จะเป็นหมันหรือใช้บังคับไม่ได้เลย ต่อไปจะไม่มีใครไปยื่นต่ออัยการสูงสุด เพราะต้องมีกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบว่าจริงไหม ต้องมีการไต่สวน ถ้าอัยการไม่เห็นด้วยก็ไม่ยื่นต่อ แต่จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ต้องตรวจสอบอะไร ทำให้ศาลอาจต้องรับเละ กลายสภาพเป็นศาลแขวงหรือศาลจังหวัด เรียกว่าหัวกระไดไม่แห้ง
แม้แต่ประเด็นมาตรา 291 ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่ารัฐสภาเป็นเพียงองค์กรที่รับมอบอำนาจจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอันจะมีผลให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ แต่ตรงนี้กฎหมายไม่มีเขียนไว้ หรือการลงประชามติก็เหมือนเป็นคำแนะนำ แต่กฎหมายไม่ได้เขียนว่าต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนหรือไม่ หากเป็นคำวินิจฉัยของศาลโดยทั่วไปที่มีผลตามกฎหมาย ศาลต้องอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกลับสับสน
กับดักตัวเอง?
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีทั้ง “ข้อเสนอแนะ” และ “คำแนะนำ” จึงไม่ได้ช่วยให้พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญหายใจได้อย่างสบายใจ ทั้งยังทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างและแตกแยกกันอย่างชัดเจน ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็น “กับดัก” ที่อาจกลับมาเชือดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับไปเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการแก้ไขทีละมาตรา หรือทำประชามติก่อน แม้นักวิชาการ นักกฎหมาย และแกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 ไปเลย เพื่อยืนยันอำนาจของรัฐสภา
อย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรม นูญถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการแสดงถึงการปก ป้องอธิปไตย เพราะไม่ว่าจะเดินหน้าไปทิศทางใดก็เชื่อว่ามีกลุ่มคนที่รอโค่นล้มรัฐบาลอยู่ และเชื่อว่ารัฐบาลหลุด พ้นจากอันตรายมาได้เพราะนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความ ขัดแย้งและเดินหน้าทำงานตามนโยบายโดยที่ประชา ชนให้การสนับสนุน “หากสมาชิกรัฐสภาไม่ออกมาทักท้วง ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้อำนาจของ ฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจของประชาชนถอยหลังลงไป”
แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กลับเห็นว่าหากยังเดินหน้าลงมติในวาระ 3 มีปัญหาแน่ รัฐบาลก็เอวังและถูกยุบพรรคล้านเปอร์เซ็นต์ จึงอย่าใช้ความรู้สึก แต่ต้องใช้ความรอบคอบและแม่นยำในข้อกฎหมาย และประกาศว่าตนเองจะไม่ยกมือโหวตในวาระ 3 อย่างแน่นอน
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องว่าทางออกที่ดีที่สุดคือต้องทำใน หนทางที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาและตีความให้ยุ่งยาก คือโละ ของเดิมทิ้งแล้วให้ ส.ส. และ ส.ว. ยกร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญขึ้นมาใหม่เป็นรายมาตรา ซึ่งไม่ทำให้เสียเงินหรือต้อง ไปตีความอีก หากตนมีอำนาจจะยืนยันในแนวคิดนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศ และไม่ยอมให้คนไทยฆ่ากัน ทั้งปฏิเสธข่าวที่ว่าต้องรอฟัง “คนทางไกล” สั่งว่าไม่มีใบสั่งอะไร แต่สิ่งที่หารือต้องหารือด้วยเหตุด้วยผล
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่า “ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา” โดยยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่มีความเห็นใดๆจนกว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการกฤษฎีกานำคำวินิจฉัยมาตีความเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ใจถึงก็เดินหน้า
อย่างไรก็ตาม แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ นักวิชาการ โดยเฉพาะกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้เดินหน้าลงมติ วาระ 3 พร้อมยุบศาลรัฐธรรมนูญและตั้ง “คณะตุลา การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แทน (อ่านรายละเอียดหน้า 4)
“สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการเดินหน้าลงมติวาระ 3 แต่ถ้าใจไม่ถึงก็มีข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้พิจารณา ถ้าใจไม่ถึงอีกก็แล้วแต่ท่าน”
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคณะนิติราษฎร์ที่แถลงจุดยืนให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ได้ยืนยันตั้งแต่ต้นแล้วว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นวันที่ศาลบอกให้หยุดจึงไม่จำเป็นต้องหยุด แต่เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติหยุดก็ช่วยไม่ได้ ถ้าสภาจะโหวตวาระ 3 ก็ทำได้เลย ไม่ต้องรอเปิดสมัยวิสามัญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่าไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่มาตรา 68 บานปลายแน่นอน ในทางวิชาการศาลไม่มีอำนาจ แต่พอศาลบอกว่าตัวเองมีอำนาจก็เขียนรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นมาเองว่าเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทุกคนใช้สิทธิข้อนี้ได้โดยมาหาศาล อีกหน่อยก็เตรียมรับเรื่องจำนวนมากไว้ได้เลย
แม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประ ชามติ ยังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถ แก้ไขทั้งฉบับได้ หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆจะยังไม่จบ
“ตลก” ตุลาการ
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ฟันธงแบบท้าทายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าเป็น “ตลก ตลก.” (ตลกตุลาการ) เพราะศาลบอกถ้าตั้ง ส.ส.ร. แก้ทั้งฉบับ สภาจะ “ต้อง” หรือ “ควร” ทำประ ชามติถามประชาชนก่อน แต่ตามรัฐธรรมนูญผู้ทำประ ชามติได้คือคณะรัฐมนตรี และหากถามประชาชนจะให้ถามว่าอะไร แต่ถ้าสภาจะแก้ทีละมาตราทั้งหมด 300 มาตรา สามารถทำได้โดยไม่ต้องถามประชาชนใช่หรือไม่
นายวีรพัฒน์จึงสรุปว่า “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำ แนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือเป็น “คำวินิจฉัย” ส่วนมาตรา 68 ไม่ใช่มาตรา 291 ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มี อำนาจไปก้าวล่วงว่ามาตรา 291 แก้ไขอย่างไร และมาตรา 291 กำหนดว่าเมื่อพ้น 15 วันหลังลงมติวาระ 2 ไปแล้ว สภามี “หน้าที่ตามกฎหมาย” ต้องเดินต่อไปยังวาระ 3 เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ไม่ขัดมาตรา 68 รัฐสภาต้องเดินหน้าต่อวาระ 3 ตามมาตรา 291 ที่กำหนดไว้ รัฐสภาจะนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะนอกคำวินิจฉัยไม่ได้ แต่ถ้ารัฐสภาเดินต่อวาระ 3 แล้วมีคนไปฟ้องซ้ำว่าขัดมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องตอบให้ชัดเจนว่าที่บอกว่ามาตรา 291 แก้ได้อย่างนั้นอย่างนี้เป็น “ความเห็น” ของศาล ไม่ใช่ “คำวินิจฉัย”
“หากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยหลงตามศาลจนแตกเสียงกันว่าจะเดินหน้าวาระ 3 หรือไม่ก็น่าเสียดาย เพราะคำวินิจฉัยวันศุกร์ที่ 13 นี้มีผลผูกพันเพียงประการเดียวคือยกคำร้อง” นายวีรพัฒน์สรุป
อย่าลืมคนตาย!
วิกฤตศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงไม่น้อยกว่าจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งวันนี้แสดงท่าทีชัดเจนว่าทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่สนใจว่าจะเป็นการทำลายหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือ ไม่ ทั้งที่นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาชนตื่น ตัวอย่างมาก โดยเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยืนหยัดในความถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังมีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีคนตายถึง 98 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ที่กว่า 2 ปี “ความจริง” ยังไม่ปรากฏ แต่รัฐบาลยังดูเหมือนไม่กล้าที่จะเร่งกระบวนการสอบ สวนให้เดินหน้าไปอย่างที่สัญญาไว้กับคนเสื้อแดง
ล่าสุดนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ “น้องเกด” พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลงนามรับรองขอบเขตอํานาจการสอบสวนคดี 98 ศพของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-Interna tional Criminal Court) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีอํานาจ ในการลงนามดังกล่าว เพราะเมื่อมีการลงนามรับรองแล้วจะทําให้ ICC มีอํานาจเต็มในการสอบคดีนี้ และสามารถเรียกตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมน ตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมน ตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และผู้เกี่ยวข้องในกองทัพมาสอบสวนได้ทันที รวมทั้งขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากรัฐบาลไทย
เพราะก่อนหน้านี้ นายธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประชาชนไทย พร้อมนางพะเยาว์ นางธิดา โตจิราการ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช. ต่างประเทศ ได้เข้าพบอัยการ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไว้ไต่สวนเบื้องต้น แม้ ICC จะยังไม่รับคดีนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่นายธงชัยชี้ให้เห็นว่าการที่ ICC ยังเก็บคำร้องไว้โดยไม่จำหน่ายทิ้งและยินดีให้คณะเข้าพบ แสดงว่า ICC ยังติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ตลอด
นอกจากนี้นางพะเยาว์ยังยืนยันว่าหากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับรองหนังสือที่ยื่นให้จะเดินหน้าเรียกร้องต่อไป เพราะคดี 98 ศพลุล่วงมานานกว่า 2 ปี แต่รัฐบาลยังไม่สามารถเอาตัวผู้สั่งการฆ่าประชาชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งที่พยานหลักฐานมีมากมายในวันเกิดเหตุ แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงต้องออกมาเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับลูกสาวและญาติคนอื่นๆ
ส่วนนางธิดากล่าวว่า คดี 98 ศพที่ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะนี้ได้รับการติดต่อจากนายอัมสเตอร์ดัมถึงความคืบหน้ามาว่า ICC กำลังพิจารณาอยู่ นอกจากนี้ยังเซ็นหนังสือมอบอํานาจให้นายอัมสเตอร์ดัม 1 ฉบับ หากเกิดกรณีฉุกเฉินตนถูกอุ้มหายไป หรือ นปช. ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ นายอัมเตอร์ดัมยังสามารถเป็นตัวแทนเดินหน้าคดี 98 ศพได้ต่อไป
ลงสัตยาบัน ICC มาทันที
นายธงชัยเชื่อมั่นว่าถ้าประเทศไทยลงสัตยาบัน ICC จะมาทันที เพราะจากการพูดคุยนานเกือบ 2 ชั่วโมง ICC พูดชัดเจนว่ามีทางง่ายกว่ากรณีนายอภิสิทธิ์มี 2 สัญชาติคือ ให้รัฐบาลไทยและรัฐสภาลงสัตยาบัน ซึ่ง ICC พร้อมจะเข้ามาสอบสวนทันที เพราะกรณีนี้อยู่ในระบบของ ICC มาปีกว่าและไม่ได้ทิ้ง แต่ติดข้อจำกัดเรื่อง “อำนาจศาล” เท่านั้น
“ข้อมูลของผมเป็นเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ อันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขาก็พอจะรู้ แต่พอเราย้ำลงไป เหตุที่เกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบยุติธรรมของไทยไม่สามารถจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเราเองได้ อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่ง ถ้าหาก ICC เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่แต่ละประเทศจัดการเองได้ เขาก็ไม่อยากยุ่งหรอก แต่ผมคิดว่าจดหมายผมเคลียร์ มันเกิดซ้ำซากอย่างนี้เพราะกระบวนการยุติ ธรรมให้นิรโทษการก่อการกระทำผิดตลอดเวลา”
อย่าอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี?
นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่จะสิ้นสุดวาระในเดือนกรกฎาคมนี้ก็เชื่อว่าไม่มีผลอะไรกับการดำเนินคดีเอาผิดนายอภิสิทธิ์และผู้เกี่ยวข้อง อย่างที่นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงานฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ตรวจสอบและติดตามเหตุการณ์ความรุนแรง โดยมีรายงานออกมาเป็นระยะๆ ยอมรับว่าผิดหวังกับการทำงานของ คอป. และยืนยันว่าต้องค้นหาความจริงให้ได้ก่อนว่าใครผิด ใครเป็นคนฆ่า ไม่ใช่ฆ่าคนแล้วจะได้นิรโทษกรรมโดยอัตโนมัติด้วยการมาเล่าความจริง คงต้องมีที่มาที่ไปให้สังคมเป็นผู้ตัดสินใจ
นายสุนัยยอมรับว่า คงไม่มีคนที่สูญเสียลูกยอม รับการปรองดองหรือนิรโทษกรรมได้ “รับไม่ได้ที่จะให้คนที่ฆ่าลูกเขาลอยนวล ไม่ต้องถึงตาย แค่บาดเจ็บก็รับไม่ได้แล้ว เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ยอมรับ กรณีสไนเปอร์ก็ยังไม่มีการยอมรับว่ามีการใช้สไนเปอร์ยิงพลเรือน มันต้องผิดแล้วยอมรับ ทำตามคำสั่ง มีความเข้าใจผิด หรืออะไรก็ตามแต่ ต้องมีการอธิบายออกมา ตอนนี้เลยมีปัญหาอย่างที่ถามว่าแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันหรือที่เป็นฐานเสียงเพื่อไทยส่วนหนึ่งก็อาจไม่รับเรื่องการนิรโทษกรรมเลย” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 7)
ดังนั้น ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่มีความยุติธรรม หรือมีแต่ความยุติธรรมแบบ “2 มาตรฐาน” หรือพรรคที่คนเสื้อแดงสนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าที่ถามหาความยุติธรรมยังพร้อมจะก้มหัวยอมรับอำนาจ “ตุลา การภิวัฒน์” ไม่ใช่เพียง “ความจริงจะไม่ปรากฏ” และ “คนสั่งยังลอยหน้า คนฆ่ายังลอยนวล” เท่านั้น แต่ความขัดแย้งทางการเมืองจะมีต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าในไม่ช้าจะเกิดวิกฤตรอบใหม่ที่รุนแรงแตกหักและเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ขณะที่นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ เขียน บทความว่า “สนามรบ” ข้างหน้าคือกฎหมายและกระ บวนการทางกฎหมาย แต่ประชาชนไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะต่อสู้ใน “สนามรบ” ทางกฎหมายเลย ยกเว้นแต่พรรคเพื่อไทย แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลับไม่ต้องการเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเท่ากับเป็นเครื่องมือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจึงต้องช่วยกันคิดหาวิธีที่จะควบคุมพรรคเพื่อไทยให้ได้ ไม่ว่าจะสร้างสื่อขึ้นมาแข่งขันกับพรรคเพื่อไทย หากจะมีการเลือกตั้งซ่อมครั้งใดต้องกดดันให้พรรคเพื่อไทยยอมให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดผู้สมัคร หากไม่ทำก็ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์ใช้สิทธิ พรรคเพื่อไทยก็จะเสีย ส.ส. ในสภาไป 1 เสียง แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ต้องระวัง เพราะ อาจเห็นแก่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยและตนเองเหนือกว่าประโยชน์ของประชาชนและประชาธิปไตย
อย่างที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ประชา ธิปไตยเป็นกระบวนการช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ และการต่อต้านประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่มีดอกประชา ธิปไตยแกะกล่องสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ไม่ต้องลงแรงแต่งสร้างอีก ไม่ว่าจะในไทยหรืออเมริกา”
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรม โดย เฉพาะการต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการไทยหรือเผด็จการทั่วโลก ประชาชนจึงต้องยืนหยัดต่อสู้ ไม่ใช่ได้มาด้วยการร้องขอ ที่สำคัญประชาชนต้อง “ตาสว่าง” ไม่หลงประเด็นที่ถูกบิดเบือนไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะไม่มีอำนาจใดอยู่ได้อย่างยั่งยืนหากประ ชาชนไม่ยอมรับ
พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นประมุขทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจึงต้องมีความกล้าในการแก้ไขรัฐธรรม นูญ เพื่อแสดงให้คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยเห็นว่ายังมีจุดยืนที่มั่นคงในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความยุติธรรม ไม่ใช่ยอม “เกี๊ยะเซียะ” กับเผด็จการอำมาตย์เพียงเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้นานที่สุด
เพราะประชาชนจะไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมให้ฆาตกรฆ่าประชาชนลอยนวล และประชาชนที่เขา “คิดเป็น” แล้ว เขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่โกหกตอแหลประชาชนอย่างแน่นอน!
พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลและเป็นพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาจึงควร “อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี” หรือ “พร้อมจะกลับมาอย่างมีศักดิ์ศรี” แม้จะถูกยุบพรรคแล้วยุบอีกก็ตาม
ถ้าอยู่นานแล้ว “ไม่ทำอะไรหรือไม่กล้าทำอะไรเลย”... “คะแนนนิยม” ก็จะลดลงเรื่อยๆ และจะเสื่อมลงในที่สุด อยู่นานอย่างไร้คุณค่า..“อย่าอยู่เสียดีกว่า”...อายประ ชาชนที่เขาเลือกพวกคุณมาและเดินแซงหน้าไปถึงไหนต่อไหนแล้ว!
อุตส่าห์เป็นถึงประมุขฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ..กล้าๆหน่อย..กองเชียร์เซ็ง!!?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เช่นเดียวกับนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่แนะให้รัฐบาลชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนในคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรม นูญกลาง โดยเฉพาะคำแนะนำของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่ให้ทำประชามติก่อนหรือแก้ไขเป็นรายมาตรานั้น หากเป็นเพียงคำแนะนำก็จะไม่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่หากเป็นคำวินิจฉัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง รัฐบาล และรัฐสภา ที่ต้องหารือกัน
และการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้รอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดก่อน หลังจากนั้นจะให้คณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
ชำแหละศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการที่ปรึกษาของพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า น่าเป็นห่วง และต่อไปจะมีปัญหามากขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจมากขึ้นเพราะไปก้าวก่ายการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญคืออัยการสูงสุดที่ถูกกระทบต่ออำนาจโดยตรง ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรงนี้จะเป็นหมันหรือใช้บังคับไม่ได้เลย ต่อไปจะไม่มีใครไปยื่นต่ออัยการสูงสุด เพราะต้องมีกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบว่าจริงไหม ต้องมีการไต่สวน ถ้าอัยการไม่เห็นด้วยก็ไม่ยื่นต่อ แต่จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ต้องตรวจสอบอะไร ทำให้ศาลอาจต้องรับเละ กลายสภาพเป็นศาลแขวงหรือศาลจังหวัด เรียกว่าหัวกระไดไม่แห้ง
แม้แต่ประเด็นมาตรา 291 ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่ารัฐสภาเป็นเพียงองค์กรที่รับมอบอำนาจจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอันจะมีผลให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ แต่ตรงนี้กฎหมายไม่มีเขียนไว้ หรือการลงประชามติก็เหมือนเป็นคำแนะนำ แต่กฎหมายไม่ได้เขียนว่าต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนหรือไม่ หากเป็นคำวินิจฉัยของศาลโดยทั่วไปที่มีผลตามกฎหมาย ศาลต้องอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกลับสับสน
กับดักตัวเอง?
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีทั้ง “ข้อเสนอแนะ” และ “คำแนะนำ” จึงไม่ได้ช่วยให้พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญหายใจได้อย่างสบายใจ ทั้งยังทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างและแตกแยกกันอย่างชัดเจน ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็น “กับดัก” ที่อาจกลับมาเชือดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับไปเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการแก้ไขทีละมาตรา หรือทำประชามติก่อน แม้นักวิชาการ นักกฎหมาย และแกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 ไปเลย เพื่อยืนยันอำนาจของรัฐสภา
อย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรม นูญถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการแสดงถึงการปก ป้องอธิปไตย เพราะไม่ว่าจะเดินหน้าไปทิศทางใดก็เชื่อว่ามีกลุ่มคนที่รอโค่นล้มรัฐบาลอยู่ และเชื่อว่ารัฐบาลหลุด พ้นจากอันตรายมาได้เพราะนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความ ขัดแย้งและเดินหน้าทำงานตามนโยบายโดยที่ประชา ชนให้การสนับสนุน “หากสมาชิกรัฐสภาไม่ออกมาทักท้วง ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้อำนาจของ ฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจของประชาชนถอยหลังลงไป”
แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กลับเห็นว่าหากยังเดินหน้าลงมติในวาระ 3 มีปัญหาแน่ รัฐบาลก็เอวังและถูกยุบพรรคล้านเปอร์เซ็นต์ จึงอย่าใช้ความรู้สึก แต่ต้องใช้ความรอบคอบและแม่นยำในข้อกฎหมาย และประกาศว่าตนเองจะไม่ยกมือโหวตในวาระ 3 อย่างแน่นอน
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องว่าทางออกที่ดีที่สุดคือต้องทำใน หนทางที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาและตีความให้ยุ่งยาก คือโละ ของเดิมทิ้งแล้วให้ ส.ส. และ ส.ว. ยกร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญขึ้นมาใหม่เป็นรายมาตรา ซึ่งไม่ทำให้เสียเงินหรือต้อง ไปตีความอีก หากตนมีอำนาจจะยืนยันในแนวคิดนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศ และไม่ยอมให้คนไทยฆ่ากัน ทั้งปฏิเสธข่าวที่ว่าต้องรอฟัง “คนทางไกล” สั่งว่าไม่มีใบสั่งอะไร แต่สิ่งที่หารือต้องหารือด้วยเหตุด้วยผล
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่า “ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา” โดยยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่มีความเห็นใดๆจนกว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการกฤษฎีกานำคำวินิจฉัยมาตีความเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ใจถึงก็เดินหน้า
อย่างไรก็ตาม แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ นักวิชาการ โดยเฉพาะกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้เดินหน้าลงมติ วาระ 3 พร้อมยุบศาลรัฐธรรมนูญและตั้ง “คณะตุลา การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แทน (อ่านรายละเอียดหน้า 4)
“สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการเดินหน้าลงมติวาระ 3 แต่ถ้าใจไม่ถึงก็มีข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้พิจารณา ถ้าใจไม่ถึงอีกก็แล้วแต่ท่าน”
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคณะนิติราษฎร์ที่แถลงจุดยืนให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ได้ยืนยันตั้งแต่ต้นแล้วว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นวันที่ศาลบอกให้หยุดจึงไม่จำเป็นต้องหยุด แต่เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติหยุดก็ช่วยไม่ได้ ถ้าสภาจะโหวตวาระ 3 ก็ทำได้เลย ไม่ต้องรอเปิดสมัยวิสามัญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่าไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่มาตรา 68 บานปลายแน่นอน ในทางวิชาการศาลไม่มีอำนาจ แต่พอศาลบอกว่าตัวเองมีอำนาจก็เขียนรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นมาเองว่าเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทุกคนใช้สิทธิข้อนี้ได้โดยมาหาศาล อีกหน่อยก็เตรียมรับเรื่องจำนวนมากไว้ได้เลย
แม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประ ชามติ ยังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถ แก้ไขทั้งฉบับได้ หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆจะยังไม่จบ
“ตลก” ตุลาการ
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ฟันธงแบบท้าทายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าเป็น “ตลก ตลก.” (ตลกตุลาการ) เพราะศาลบอกถ้าตั้ง ส.ส.ร. แก้ทั้งฉบับ สภาจะ “ต้อง” หรือ “ควร” ทำประ ชามติถามประชาชนก่อน แต่ตามรัฐธรรมนูญผู้ทำประ ชามติได้คือคณะรัฐมนตรี และหากถามประชาชนจะให้ถามว่าอะไร แต่ถ้าสภาจะแก้ทีละมาตราทั้งหมด 300 มาตรา สามารถทำได้โดยไม่ต้องถามประชาชนใช่หรือไม่
นายวีรพัฒน์จึงสรุปว่า “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำ แนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือเป็น “คำวินิจฉัย” ส่วนมาตรา 68 ไม่ใช่มาตรา 291 ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มี อำนาจไปก้าวล่วงว่ามาตรา 291 แก้ไขอย่างไร และมาตรา 291 กำหนดว่าเมื่อพ้น 15 วันหลังลงมติวาระ 2 ไปแล้ว สภามี “หน้าที่ตามกฎหมาย” ต้องเดินต่อไปยังวาระ 3 เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ไม่ขัดมาตรา 68 รัฐสภาต้องเดินหน้าต่อวาระ 3 ตามมาตรา 291 ที่กำหนดไว้ รัฐสภาจะนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะนอกคำวินิจฉัยไม่ได้ แต่ถ้ารัฐสภาเดินต่อวาระ 3 แล้วมีคนไปฟ้องซ้ำว่าขัดมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องตอบให้ชัดเจนว่าที่บอกว่ามาตรา 291 แก้ได้อย่างนั้นอย่างนี้เป็น “ความเห็น” ของศาล ไม่ใช่ “คำวินิจฉัย”
“หากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยหลงตามศาลจนแตกเสียงกันว่าจะเดินหน้าวาระ 3 หรือไม่ก็น่าเสียดาย เพราะคำวินิจฉัยวันศุกร์ที่ 13 นี้มีผลผูกพันเพียงประการเดียวคือยกคำร้อง” นายวีรพัฒน์สรุป
อย่าลืมคนตาย!
วิกฤตศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงไม่น้อยกว่าจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งวันนี้แสดงท่าทีชัดเจนว่าทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่สนใจว่าจะเป็นการทำลายหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือ ไม่ ทั้งที่นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาชนตื่น ตัวอย่างมาก โดยเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยืนหยัดในความถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังมีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีคนตายถึง 98 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ที่กว่า 2 ปี “ความจริง” ยังไม่ปรากฏ แต่รัฐบาลยังดูเหมือนไม่กล้าที่จะเร่งกระบวนการสอบ สวนให้เดินหน้าไปอย่างที่สัญญาไว้กับคนเสื้อแดง
ล่าสุดนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ “น้องเกด” พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลงนามรับรองขอบเขตอํานาจการสอบสวนคดี 98 ศพของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-Interna tional Criminal Court) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีอํานาจ ในการลงนามดังกล่าว เพราะเมื่อมีการลงนามรับรองแล้วจะทําให้ ICC มีอํานาจเต็มในการสอบคดีนี้ และสามารถเรียกตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมน ตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมน ตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และผู้เกี่ยวข้องในกองทัพมาสอบสวนได้ทันที รวมทั้งขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากรัฐบาลไทย
เพราะก่อนหน้านี้ นายธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประชาชนไทย พร้อมนางพะเยาว์ นางธิดา โตจิราการ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช. ต่างประเทศ ได้เข้าพบอัยการ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไว้ไต่สวนเบื้องต้น แม้ ICC จะยังไม่รับคดีนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่นายธงชัยชี้ให้เห็นว่าการที่ ICC ยังเก็บคำร้องไว้โดยไม่จำหน่ายทิ้งและยินดีให้คณะเข้าพบ แสดงว่า ICC ยังติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ตลอด
นอกจากนี้นางพะเยาว์ยังยืนยันว่าหากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับรองหนังสือที่ยื่นให้จะเดินหน้าเรียกร้องต่อไป เพราะคดี 98 ศพลุล่วงมานานกว่า 2 ปี แต่รัฐบาลยังไม่สามารถเอาตัวผู้สั่งการฆ่าประชาชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งที่พยานหลักฐานมีมากมายในวันเกิดเหตุ แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงต้องออกมาเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับลูกสาวและญาติคนอื่นๆ
ส่วนนางธิดากล่าวว่า คดี 98 ศพที่ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะนี้ได้รับการติดต่อจากนายอัมสเตอร์ดัมถึงความคืบหน้ามาว่า ICC กำลังพิจารณาอยู่ นอกจากนี้ยังเซ็นหนังสือมอบอํานาจให้นายอัมสเตอร์ดัม 1 ฉบับ หากเกิดกรณีฉุกเฉินตนถูกอุ้มหายไป หรือ นปช. ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ นายอัมเตอร์ดัมยังสามารถเป็นตัวแทนเดินหน้าคดี 98 ศพได้ต่อไป
ลงสัตยาบัน ICC มาทันที
นายธงชัยเชื่อมั่นว่าถ้าประเทศไทยลงสัตยาบัน ICC จะมาทันที เพราะจากการพูดคุยนานเกือบ 2 ชั่วโมง ICC พูดชัดเจนว่ามีทางง่ายกว่ากรณีนายอภิสิทธิ์มี 2 สัญชาติคือ ให้รัฐบาลไทยและรัฐสภาลงสัตยาบัน ซึ่ง ICC พร้อมจะเข้ามาสอบสวนทันที เพราะกรณีนี้อยู่ในระบบของ ICC มาปีกว่าและไม่ได้ทิ้ง แต่ติดข้อจำกัดเรื่อง “อำนาจศาล” เท่านั้น
“ข้อมูลของผมเป็นเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ อันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขาก็พอจะรู้ แต่พอเราย้ำลงไป เหตุที่เกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบยุติธรรมของไทยไม่สามารถจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเราเองได้ อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่ง ถ้าหาก ICC เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่แต่ละประเทศจัดการเองได้ เขาก็ไม่อยากยุ่งหรอก แต่ผมคิดว่าจดหมายผมเคลียร์ มันเกิดซ้ำซากอย่างนี้เพราะกระบวนการยุติ ธรรมให้นิรโทษการก่อการกระทำผิดตลอดเวลา”
อย่าอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี?
นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่จะสิ้นสุดวาระในเดือนกรกฎาคมนี้ก็เชื่อว่าไม่มีผลอะไรกับการดำเนินคดีเอาผิดนายอภิสิทธิ์และผู้เกี่ยวข้อง อย่างที่นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงานฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ตรวจสอบและติดตามเหตุการณ์ความรุนแรง โดยมีรายงานออกมาเป็นระยะๆ ยอมรับว่าผิดหวังกับการทำงานของ คอป. และยืนยันว่าต้องค้นหาความจริงให้ได้ก่อนว่าใครผิด ใครเป็นคนฆ่า ไม่ใช่ฆ่าคนแล้วจะได้นิรโทษกรรมโดยอัตโนมัติด้วยการมาเล่าความจริง คงต้องมีที่มาที่ไปให้สังคมเป็นผู้ตัดสินใจ
นายสุนัยยอมรับว่า คงไม่มีคนที่สูญเสียลูกยอม รับการปรองดองหรือนิรโทษกรรมได้ “รับไม่ได้ที่จะให้คนที่ฆ่าลูกเขาลอยนวล ไม่ต้องถึงตาย แค่บาดเจ็บก็รับไม่ได้แล้ว เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ยอมรับ กรณีสไนเปอร์ก็ยังไม่มีการยอมรับว่ามีการใช้สไนเปอร์ยิงพลเรือน มันต้องผิดแล้วยอมรับ ทำตามคำสั่ง มีความเข้าใจผิด หรืออะไรก็ตามแต่ ต้องมีการอธิบายออกมา ตอนนี้เลยมีปัญหาอย่างที่ถามว่าแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันหรือที่เป็นฐานเสียงเพื่อไทยส่วนหนึ่งก็อาจไม่รับเรื่องการนิรโทษกรรมเลย” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 7)
ดังนั้น ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่มีความยุติธรรม หรือมีแต่ความยุติธรรมแบบ “2 มาตรฐาน” หรือพรรคที่คนเสื้อแดงสนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าที่ถามหาความยุติธรรมยังพร้อมจะก้มหัวยอมรับอำนาจ “ตุลา การภิวัฒน์” ไม่ใช่เพียง “ความจริงจะไม่ปรากฏ” และ “คนสั่งยังลอยหน้า คนฆ่ายังลอยนวล” เท่านั้น แต่ความขัดแย้งทางการเมืองจะมีต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าในไม่ช้าจะเกิดวิกฤตรอบใหม่ที่รุนแรงแตกหักและเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ขณะที่นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ เขียน บทความว่า “สนามรบ” ข้างหน้าคือกฎหมายและกระ บวนการทางกฎหมาย แต่ประชาชนไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะต่อสู้ใน “สนามรบ” ทางกฎหมายเลย ยกเว้นแต่พรรคเพื่อไทย แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลับไม่ต้องการเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเท่ากับเป็นเครื่องมือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจึงต้องช่วยกันคิดหาวิธีที่จะควบคุมพรรคเพื่อไทยให้ได้ ไม่ว่าจะสร้างสื่อขึ้นมาแข่งขันกับพรรคเพื่อไทย หากจะมีการเลือกตั้งซ่อมครั้งใดต้องกดดันให้พรรคเพื่อไทยยอมให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดผู้สมัคร หากไม่ทำก็ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์ใช้สิทธิ พรรคเพื่อไทยก็จะเสีย ส.ส. ในสภาไป 1 เสียง แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ต้องระวัง เพราะ อาจเห็นแก่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยและตนเองเหนือกว่าประโยชน์ของประชาชนและประชาธิปไตย
อย่างที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ประชา ธิปไตยเป็นกระบวนการช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ และการต่อต้านประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่มีดอกประชา ธิปไตยแกะกล่องสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ไม่ต้องลงแรงแต่งสร้างอีก ไม่ว่าจะในไทยหรืออเมริกา”
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรม โดย เฉพาะการต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการไทยหรือเผด็จการทั่วโลก ประชาชนจึงต้องยืนหยัดต่อสู้ ไม่ใช่ได้มาด้วยการร้องขอ ที่สำคัญประชาชนต้อง “ตาสว่าง” ไม่หลงประเด็นที่ถูกบิดเบือนไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะไม่มีอำนาจใดอยู่ได้อย่างยั่งยืนหากประ ชาชนไม่ยอมรับ
พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นประมุขทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจึงต้องมีความกล้าในการแก้ไขรัฐธรรม นูญ เพื่อแสดงให้คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยเห็นว่ายังมีจุดยืนที่มั่นคงในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความยุติธรรม ไม่ใช่ยอม “เกี๊ยะเซียะ” กับเผด็จการอำมาตย์เพียงเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้นานที่สุด
เพราะประชาชนจะไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมให้ฆาตกรฆ่าประชาชนลอยนวล และประชาชนที่เขา “คิดเป็น” แล้ว เขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่โกหกตอแหลประชาชนอย่างแน่นอน!
พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลและเป็นพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาจึงควร “อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี” หรือ “พร้อมจะกลับมาอย่างมีศักดิ์ศรี” แม้จะถูกยุบพรรคแล้วยุบอีกก็ตาม
ถ้าอยู่นานแล้ว “ไม่ทำอะไรหรือไม่กล้าทำอะไรเลย”... “คะแนนนิยม” ก็จะลดลงเรื่อยๆ และจะเสื่อมลงในที่สุด อยู่นานอย่างไร้คุณค่า..“อย่าอยู่เสียดีกว่า”...อายประ ชาชนที่เขาเลือกพวกคุณมาและเดินแซงหน้าไปถึงไหนต่อไหนแล้ว!
อุตส่าห์เป็นถึงประมุขฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ..กล้าๆหน่อย..กองเชียร์เซ็ง!!?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อ รุกกลับ !!?
ยุทธวิธีที่พรรคเพื่อไทย ไม่มีทางเลือกมาก นอกจากทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนจาก"ถอย"มาเป็น"รุก"ในทางการเมือง
ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ในการถกเถียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะหาทางออกอย่างไร หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 68 ศาลรธน.สามารถรับคำร้องวินิจฉัย และผู้ร้องสามารถยื่นผ่านอัยสูงสูดได้ ต่อประเด็นที่มีผลล้มล้างรัฐธรรมนูญ นั่นเท่ากับว่าศาลรธน.มีข้อ"ผูกพัน"เหนือกว่าฝ่ายสถาบันสภานิติบัญญัติ แม้การแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องของสภาก็ตาม
ส่งผลให้พรรคเพื่อไทย ต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลงทันที ต้องรอคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนอของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมาปลายเดือนกรกฎาคมนี้
เสียงที่ประชุมพรรคเพื่อไทยฝ่ายหนึ่ง มีการเสนอให้แก้ไขในมาตรา 68 และ 165(2) ที่เปิดสมัยประชุมสภาฯ จากนั้นจึงค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นๆต่อไป โดยจัดให้มีส.ส.ร.ขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากทุกหมู่เหล่าได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพราะอาจเป็นการ"ปลดกุญแจ"ให้สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยไม่เสี่ยง
แม้นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.เพื่อไทยเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาบอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นด้วยกับแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา แต่ใช่ว่าแนวทางนี้จะราบรื่น เพราะต้องฟังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยก่อน ที่จะมีการประชุมในวันที่ 24 ก.ค.นี้ แนวทางแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคบางคน เชื่อว่าล่าช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้
แต่เสียงประชุมอีกฝ่ายเสนอให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 แต่มีเสียงคัดค้าน ถือเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะหากมีคนตีความแล้วไปยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาอีก
การติดตามการแก้รัฐธรรมนูญมีการต่อสู้ขับเคี่ยวกว่าจะแก้ได้ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะทั้งฝ่ายส.ว.และส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มีความเป็นเอกภาพ มีเสียงแตกแน่ หากโหวตแก้วาระ3
ทางออกที่ดี และเหลืออยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย น่าจะคิดรอบคอบกว่าที่จะเลือกวิธีโหวต และเร่งแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็คือการหันกลับไปหาการทำประชามติ เพราะเป็นวิธีเดียว เมื่อรู้ว่าการต่อสู้กันครั้งนี้ ต้องใช้เวลานาน และซีกฝ่ายค้านไม่ยอมแน่
หากย้อนไปช่วงก่อนจะปิดสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่สภาเสนอพ.ร.บ.ปรองดอง และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้ามา จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล อยู่ในสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำ และถอยทางการเมืองมาตลอด
ยิ่งศาลรธน.วินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยิ่งทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ติด"กับดัก"ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทางออกที่ดีกว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ที่จะยอม"ถอย"ในทางการเมืองอย่างเดียว มาเป็นการ"รุก"กลับใหม่อีกครั้ง คือ"ทำประชามติ" นั่นคือ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย น่าจะมีเวลาได้คิด และไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดพลาดที่กติกามีไว้ให้ รวมถึงเวลาในการแก้รัฐธรรมนูญยังมีเวลามากพอ
อีกสถานการณ์หนึ่ง หากประเมิน แต่ละฝ่ายของกำลังมวลชนที่มีอยู่ในขณะนี้ กำลังในต่างจังหวัดของพรรคเพื่อไทยน่าจะมีกำลังมากพอที่จะช่วยหนุนได้ หากลงไปทำความเข้าใจ และยกระดับความรู้มวลชน ซึ่งเป็นกำลังหลักอยู่ก่อนแล้ว และเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางตรง ที่จะทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เลือกตัวแทนของเขาตัดสินชะตากรรมการปกครองประเทศ
ที่สำคัญ ก็คือเพื่อตอกย้ำว่า จริงๆแล้วประเทศนี้ เมืองนี้ต้องการระบอบการปกครองแบบไหนกันแน่? ควรออกแบบสถาบันการปกครองอย่างไรดี? มีสถาบันการปกครองถ่วงดุลอำนาจกันมากน้อยแค่ไหน? สถาบันไหนที่จะยกเลิก หรือเพิ่มอำนาจเข้ามา? หรือว่าสถาบันส่วนไหนจะลดอำนาจลง? เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมืองต่อเนื่อมาหลายปีและเป็นอยู่ในขณะนี้
นี่คือแนวทาง หากพรรคเพื่อไทยต้องการเลือกเดินหน้าวิถีประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน!
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าทำประชามติได้ อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และที่สำคัญคือร่างแก้รัฐธรรมนูญ ยังคงค้างวาระ 3ไว้ กลับมาพิจารณาได้ใหม่ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 39
เป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทย สามารถเปลี่ยนจาก"ถอย"มา"รุก"ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ในการถกเถียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะหาทางออกอย่างไร หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 68 ศาลรธน.สามารถรับคำร้องวินิจฉัย และผู้ร้องสามารถยื่นผ่านอัยสูงสูดได้ ต่อประเด็นที่มีผลล้มล้างรัฐธรรมนูญ นั่นเท่ากับว่าศาลรธน.มีข้อ"ผูกพัน"เหนือกว่าฝ่ายสถาบันสภานิติบัญญัติ แม้การแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องของสภาก็ตาม
ส่งผลให้พรรคเพื่อไทย ต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลงทันที ต้องรอคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนอของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมาปลายเดือนกรกฎาคมนี้
เสียงที่ประชุมพรรคเพื่อไทยฝ่ายหนึ่ง มีการเสนอให้แก้ไขในมาตรา 68 และ 165(2) ที่เปิดสมัยประชุมสภาฯ จากนั้นจึงค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นๆต่อไป โดยจัดให้มีส.ส.ร.ขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากทุกหมู่เหล่าได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพราะอาจเป็นการ"ปลดกุญแจ"ให้สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยไม่เสี่ยง
แม้นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.เพื่อไทยเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาบอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นด้วยกับแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา แต่ใช่ว่าแนวทางนี้จะราบรื่น เพราะต้องฟังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยก่อน ที่จะมีการประชุมในวันที่ 24 ก.ค.นี้ แนวทางแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคบางคน เชื่อว่าล่าช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้
แต่เสียงประชุมอีกฝ่ายเสนอให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 แต่มีเสียงคัดค้าน ถือเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะหากมีคนตีความแล้วไปยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาอีก
การติดตามการแก้รัฐธรรมนูญมีการต่อสู้ขับเคี่ยวกว่าจะแก้ได้ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะทั้งฝ่ายส.ว.และส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มีความเป็นเอกภาพ มีเสียงแตกแน่ หากโหวตแก้วาระ3
ทางออกที่ดี และเหลืออยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย น่าจะคิดรอบคอบกว่าที่จะเลือกวิธีโหวต และเร่งแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็คือการหันกลับไปหาการทำประชามติ เพราะเป็นวิธีเดียว เมื่อรู้ว่าการต่อสู้กันครั้งนี้ ต้องใช้เวลานาน และซีกฝ่ายค้านไม่ยอมแน่
หากย้อนไปช่วงก่อนจะปิดสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่สภาเสนอพ.ร.บ.ปรองดอง และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้ามา จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล อยู่ในสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำ และถอยทางการเมืองมาตลอด
ยิ่งศาลรธน.วินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยิ่งทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ติด"กับดัก"ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทางออกที่ดีกว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ที่จะยอม"ถอย"ในทางการเมืองอย่างเดียว มาเป็นการ"รุก"กลับใหม่อีกครั้ง คือ"ทำประชามติ" นั่นคือ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย น่าจะมีเวลาได้คิด และไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดพลาดที่กติกามีไว้ให้ รวมถึงเวลาในการแก้รัฐธรรมนูญยังมีเวลามากพอ
อีกสถานการณ์หนึ่ง หากประเมิน แต่ละฝ่ายของกำลังมวลชนที่มีอยู่ในขณะนี้ กำลังในต่างจังหวัดของพรรคเพื่อไทยน่าจะมีกำลังมากพอที่จะช่วยหนุนได้ หากลงไปทำความเข้าใจ และยกระดับความรู้มวลชน ซึ่งเป็นกำลังหลักอยู่ก่อนแล้ว และเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางตรง ที่จะทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เลือกตัวแทนของเขาตัดสินชะตากรรมการปกครองประเทศ
ที่สำคัญ ก็คือเพื่อตอกย้ำว่า จริงๆแล้วประเทศนี้ เมืองนี้ต้องการระบอบการปกครองแบบไหนกันแน่? ควรออกแบบสถาบันการปกครองอย่างไรดี? มีสถาบันการปกครองถ่วงดุลอำนาจกันมากน้อยแค่ไหน? สถาบันไหนที่จะยกเลิก หรือเพิ่มอำนาจเข้ามา? หรือว่าสถาบันส่วนไหนจะลดอำนาจลง? เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมืองต่อเนื่อมาหลายปีและเป็นอยู่ในขณะนี้
นี่คือแนวทาง หากพรรคเพื่อไทยต้องการเลือกเดินหน้าวิถีประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน!
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าทำประชามติได้ อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และที่สำคัญคือร่างแก้รัฐธรรมนูญ ยังคงค้างวาระ 3ไว้ กลับมาพิจารณาได้ใหม่ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 39
เป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทย สามารถเปลี่ยนจาก"ถอย"มา"รุก"ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เสริมบารมี-ดวงพุ่ง !!?
นับจากนี้ไป “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะครองบัลลังก์ทำเนียบฯ เป็น “นายกรัฐมนตรี” ไป ๓ ปี ๗ เดือน ในฐานะ “นารีขี่ม้าขาว” ผู้เป็นดาวรุ่ง
ได้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงกองทัพบก เสริมดวง ให้เด่นล้ำ
ยิ่งได้ “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” มาเป็น “ผบ.ตร.” ชิงเสริมบารมีให้ผ่อง เป็นมากยิ่งกว่าผู้นำ
ฉะนั้น,อย่าได้กลัว อดีตทหารม้า จะมาดีดทำให้ “นายกฯปู” ต้องพ้นเส้นทาง
ทุกคนดวงตกกันหมด..มีแต่ดวง “นายกฯปู”ใสสด...กดศัตรูจนไม่กล้าหือเหมือนทุกครั้ง
+++++++++++++++++++++++++
“ทักษิณ”โกง
เสียงอันหลอกลวงต้มตุ๋น ที่ว่ากันเป็นวรรคเป็นเวร..แต่ก็ไม่สามารถหาหลักฐาน มาเล่นงาน “ทักษิณ” ได้สักโป้ง
คนที่กล่าวหา “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” โดนกันเต็มแม็กซ์ ถูกตรวจแหลกว่าเอาป่าสงวนไปเป็นของตัวเอง อย่าง “แทน เทือกสุบรรณ” ลูกชาย “เทพเทือก” นั่นปะไร
“ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ วัตถุตรวจระเบิด กลายเป็น อาวุธสงครามลวงโลก..ที่ตำรวจอังกฤษเมืองผู้ดี สั่งจับบริษัทผู้ผลิต เพราะหลอกขายของปลอม ให้กับทหารไทย
ชักแถวรับผิดชอบกันเป็นตับ เพราะอนุมัติซื้อ “ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ เอาไว้ล็อตใหญ่.. มีแต่ระดับบิ๊กเนม “บิ๊ก ป.ปลา” และ “บิ๊ก ช.ช้าง” ต่างมีชื่อเกี่ยวข้องยาวเหยียด เสร็จสรรพ
คนไม่ได้โกง ดันถูกกล่าวหา..แต่ทีเปิบกันอ้าซ่า..กับชี้หน้าด่าเขาว่าโกง เช่นนี้ก็มีด้วยสิครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทำอะไร หนอยแน่ะ, ก็ไม่ผิด
รอดมาได้ทุกคดี ในฐานะคนที่มี “อภิสิทธิ์”
แต่คราวนี้ “นายทุนใหญ่” ที่เป็นแบ็คอัพ ให้กับพรรคบีบชีพจรคอคนอื่น คงถูกเล่นงานอย่างจั๋งหนับ แน่
เหลิงและลำพองว่า เมื่อมีพรรคนี้หนุนหลัง..เขาในฐานะบริษัทยักษ์แห่งโทรศัพท์ จะให้ “บริษัทลูก” เข้าไปรุกที่ “จังหวัดภูเก็ต” ต้องได้ปลอกคอจากพรรคนี้ คอยดูแล
ลืมไปว่ายุคนี้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาบริหารงานอย่างตงฉิน ใครโกงแผ่นดิน ไปเป็นสมบัติส่วนตัว ก็ต้องจัดการเต็มที่
ไม่เหมือนบางพรรคที่แสบทรวง...เที่ยวไปเอาแผ่นดินหลวง..อุบช่วงมาเป็นของตัวเองทุกที
++++++++++++++++++++++
ไม่อะไรในกอไผ่
“กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขุนคลังและรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่แต่งชุด “พระราชทาน” เหมือนกันเป๊ะกับ “ป๋าเปรม” คงจะได้เป็น “รัฐมนตรี” กันต่อไป
แม้จะมีข่าวว่า ไปร่วมฉลองงานครบรอบ ๕๐ ปี “บริษัทชิโนทัย” ของ “ปู่จิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว กันมา
เรื่องที่ “นายใหญ่จากแดนไกล” ไม่พอใจ..ถึงขั้นปลดพ้นตำรวจ คงไม่จริงดอกค่า
เพราะทุกวันนี้ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล ว่าที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยคนไทย..เป็นหนึ่งมิตรชิดใกล้ ที่อยู่ข้างกาย “นายใหญ่” คอยพูดแหย่ พูดเย้า
ภูมิใจไทยยกมาทั้งพรรค...แล้วเรื่องอะไรจะผลัก...ให้ไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเล่า
+++++++++++++++++++++++++
ความจริงปรากฏ
ไม่ได้เป็น “เสรี” และ “มีอิสระ” เหมือนเป้าหมายที่ตั้งมา...แท้ที่จริงแล้ว “ผู้บริหาร” รวบอำนาจเอาไว้หมด
ทำให้ คนข่าว เจ้าหน้าที่ สถานี “ไทยพีบีเอส” ทีวีสื่ออิสระ ร้องแรกแหกกระเชอ ให้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สอบตัวเอ้ บริหารตัวใหญ่ “เทพชัย หย่อง” และคีย์แมนตัวเบิ้ม อีกหลายคน
รวบอำนาจ เอาพวกตัวเอง..จนเจ้าหน้าที่ดี ๆ สุดจะทน
ดูรึชิชะ, เอาภาษีเงินบาป เหล้า บุหรี่ ปีตั้ง ๒ พันล้านบาท ไปบริหารจัดการ..แต่ไม่ได้คุณประโยชน์ให้กับรัฐบาล ที่ให้เงินสนับสนุน
ยึดเงินบาปคืนมาดีกว่า..แล้วเอาไปจ่ายแจกในงบคนชรา..ยังมีค่ามากกว่าจริง ๆนะพ่อคุณ
โดย.คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ได้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงกองทัพบก เสริมดวง ให้เด่นล้ำ
ยิ่งได้ “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” มาเป็น “ผบ.ตร.” ชิงเสริมบารมีให้ผ่อง เป็นมากยิ่งกว่าผู้นำ
ฉะนั้น,อย่าได้กลัว อดีตทหารม้า จะมาดีดทำให้ “นายกฯปู” ต้องพ้นเส้นทาง
ทุกคนดวงตกกันหมด..มีแต่ดวง “นายกฯปู”ใสสด...กดศัตรูจนไม่กล้าหือเหมือนทุกครั้ง
+++++++++++++++++++++++++
“ทักษิณ”โกง
เสียงอันหลอกลวงต้มตุ๋น ที่ว่ากันเป็นวรรคเป็นเวร..แต่ก็ไม่สามารถหาหลักฐาน มาเล่นงาน “ทักษิณ” ได้สักโป้ง
คนที่กล่าวหา “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” โดนกันเต็มแม็กซ์ ถูกตรวจแหลกว่าเอาป่าสงวนไปเป็นของตัวเอง อย่าง “แทน เทือกสุบรรณ” ลูกชาย “เทพเทือก” นั่นปะไร
“ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ วัตถุตรวจระเบิด กลายเป็น อาวุธสงครามลวงโลก..ที่ตำรวจอังกฤษเมืองผู้ดี สั่งจับบริษัทผู้ผลิต เพราะหลอกขายของปลอม ให้กับทหารไทย
ชักแถวรับผิดชอบกันเป็นตับ เพราะอนุมัติซื้อ “ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ เอาไว้ล็อตใหญ่.. มีแต่ระดับบิ๊กเนม “บิ๊ก ป.ปลา” และ “บิ๊ก ช.ช้าง” ต่างมีชื่อเกี่ยวข้องยาวเหยียด เสร็จสรรพ
คนไม่ได้โกง ดันถูกกล่าวหา..แต่ทีเปิบกันอ้าซ่า..กับชี้หน้าด่าเขาว่าโกง เช่นนี้ก็มีด้วยสิครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทำอะไร หนอยแน่ะ, ก็ไม่ผิด
รอดมาได้ทุกคดี ในฐานะคนที่มี “อภิสิทธิ์”
แต่คราวนี้ “นายทุนใหญ่” ที่เป็นแบ็คอัพ ให้กับพรรคบีบชีพจรคอคนอื่น คงถูกเล่นงานอย่างจั๋งหนับ แน่
เหลิงและลำพองว่า เมื่อมีพรรคนี้หนุนหลัง..เขาในฐานะบริษัทยักษ์แห่งโทรศัพท์ จะให้ “บริษัทลูก” เข้าไปรุกที่ “จังหวัดภูเก็ต” ต้องได้ปลอกคอจากพรรคนี้ คอยดูแล
ลืมไปว่ายุคนี้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาบริหารงานอย่างตงฉิน ใครโกงแผ่นดิน ไปเป็นสมบัติส่วนตัว ก็ต้องจัดการเต็มที่
ไม่เหมือนบางพรรคที่แสบทรวง...เที่ยวไปเอาแผ่นดินหลวง..อุบช่วงมาเป็นของตัวเองทุกที
++++++++++++++++++++++
ไม่อะไรในกอไผ่
“กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขุนคลังและรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่แต่งชุด “พระราชทาน” เหมือนกันเป๊ะกับ “ป๋าเปรม” คงจะได้เป็น “รัฐมนตรี” กันต่อไป
แม้จะมีข่าวว่า ไปร่วมฉลองงานครบรอบ ๕๐ ปี “บริษัทชิโนทัย” ของ “ปู่จิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว กันมา
เรื่องที่ “นายใหญ่จากแดนไกล” ไม่พอใจ..ถึงขั้นปลดพ้นตำรวจ คงไม่จริงดอกค่า
เพราะทุกวันนี้ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล ว่าที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยคนไทย..เป็นหนึ่งมิตรชิดใกล้ ที่อยู่ข้างกาย “นายใหญ่” คอยพูดแหย่ พูดเย้า
ภูมิใจไทยยกมาทั้งพรรค...แล้วเรื่องอะไรจะผลัก...ให้ไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเล่า
+++++++++++++++++++++++++
ความจริงปรากฏ
ไม่ได้เป็น “เสรี” และ “มีอิสระ” เหมือนเป้าหมายที่ตั้งมา...แท้ที่จริงแล้ว “ผู้บริหาร” รวบอำนาจเอาไว้หมด
ทำให้ คนข่าว เจ้าหน้าที่ สถานี “ไทยพีบีเอส” ทีวีสื่ออิสระ ร้องแรกแหกกระเชอ ให้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สอบตัวเอ้ บริหารตัวใหญ่ “เทพชัย หย่อง” และคีย์แมนตัวเบิ้ม อีกหลายคน
รวบอำนาจ เอาพวกตัวเอง..จนเจ้าหน้าที่ดี ๆ สุดจะทน
ดูรึชิชะ, เอาภาษีเงินบาป เหล้า บุหรี่ ปีตั้ง ๒ พันล้านบาท ไปบริหารจัดการ..แต่ไม่ได้คุณประโยชน์ให้กับรัฐบาล ที่ให้เงินสนับสนุน
ยึดเงินบาปคืนมาดีกว่า..แล้วเอาไปจ่ายแจกในงบคนชรา..ยังมีค่ามากกว่าจริง ๆนะพ่อคุณ
โดย.คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มาร์ค..ห้ามแตะ ม.309 พรรคร่วมรัฐบาลนัดถกแก้รธน.31ก.ค.
อภิสิทธิ์. ระบุรัฐธรรมนูญแก้ได้ทุกมาตราถ้ามีประโยชน์ต่อส่วนรวม และหากมีเหตุผลอธิบายได้ประชาธิปัตย์พร้อมสนับสนุน แต่ห้ามแตะมาตรา 309 เด็ดขาด เพราะจะเป็นการล้างคดีให้ “ทักษิณ” เชื่อเป้าหมายใหญ่รัฐบาลอยู่ที่มาตรานี้ แก้ให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง “ภูมิธรรม” เผยวันที่ 31 ก.ค. จับเข่าคุยแกนนำรัฐบาลทุกพรรคให้ได้ข้อสรุปเดินต่อทางไหน แต่ไม่เห็นด้วยทำประชามติก่อน ประธานสภาผู้แทนฯย้ำจุดยื่นต้องถอนร่างแก้ไขที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน โฆษกพันธมิตรฯประกาศหลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. พร้อมจัดชุมนุมทันทีหากสภาพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดอง
++++++++++++
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เปิดเผยว่า วันที่ 25 ก.ค. นี้ คณะกรรมการประสานงาน (วิป) วุฒิสภา จะหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะลงมติวาระ 3 หรือต้องทำประชามติก่อน
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันความเห็นเดิมอยากให้ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองสามารถเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนได้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประชาชนสับสนต่อท่าทีของพรรคเพื่อไทยเพราะพูดกันไปคนละทาง นายกรัฐมนตรีจึงควรแสดงภาวะผู้นำสร้างความชัดเจน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า หลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. นี้ หากไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดองกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจขึ้นมาพิจารณา พันธมิตรฯจะไม่จัดชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายของการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ที่มาตรา 309 เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง
“หากแก้ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีเหตุผลอธิบายได้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้อง แต่หากเป็นการแก้มาตรา 309 พรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้เพื่อลบล้างคดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ข้อยุติเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่ 28-29 ก.ค. นี้ จากนั้นจะนำไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะไม่มีอะไรไปเสนอกับประชาชน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสภาสามารถเดินหน้าลงมติวาระ 3 แก้ไขร่างที่ค้างอยู่ได้ หากจะแก้เป็นรายมาตราเชื่อว่าเสียเวลานาน เพราะจะมีคนไปร้องให้ศาลพิจารณาเพื่อถ่วงเวลา และตามธรรมชาติจะแก้ทีละมาตราไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกมาตราเชื่อมโยงถึงกันหมด แก้มาตราหนึ่งก็จะกระทบอีกมาตราหนึ่ง จึงควรทำไปพร้อมๆกันทีเดียวทั้งฉบับ
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เปิดเผยว่า วันที่ 25 ก.ค. นี้ คณะกรรมการประสานงาน (วิป) วุฒิสภา จะหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะลงมติวาระ 3 หรือต้องทำประชามติก่อน
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันความเห็นเดิมอยากให้ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองสามารถเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนได้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประชาชนสับสนต่อท่าทีของพรรคเพื่อไทยเพราะพูดกันไปคนละทาง นายกรัฐมนตรีจึงควรแสดงภาวะผู้นำสร้างความชัดเจน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า หลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. นี้ หากไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดองกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจขึ้นมาพิจารณา พันธมิตรฯจะไม่จัดชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายของการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ที่มาตรา 309 เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง
“หากแก้ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีเหตุผลอธิบายได้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้อง แต่หากเป็นการแก้มาตรา 309 พรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้เพื่อลบล้างคดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ข้อยุติเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่ 28-29 ก.ค. นี้ จากนั้นจะนำไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะไม่มีอะไรไปเสนอกับประชาชน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสภาสามารถเดินหน้าลงมติวาระ 3 แก้ไขร่างที่ค้างอยู่ได้ หากจะแก้เป็นรายมาตราเชื่อว่าเสียเวลานาน เพราะจะมีคนไปร้องให้ศาลพิจารณาเพื่อถ่วงเวลา และตามธรรมชาติจะแก้ทีละมาตราไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกมาตราเชื่อมโยงถึงกันหมด แก้มาตราหนึ่งก็จะกระทบอีกมาตราหนึ่ง จึงควรทำไปพร้อมๆกันทีเดียวทั้งฉบับ
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โต้ กิตติศักดิ์ ปรกติ. การบิดเบือนกรณีมาตรา ๓๐๙ และการลบล้างผลพวงรัฐประหาร !!?
โดย.พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กิตติศักดิ์ ปรกติ ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ [๑] ปรากฏความบิดเบือน ดังนี้
๑. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “การนับวันและนับคืนตามปฏิทิน จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่ ให้ถือว่าไม่เคยมีวันและคืนตามปฏิทินได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง วันและคืนก็คือความจริง ถ้าจะพยายามออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม”
ข้อสังเกต :
การออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันตามปฏิทินมิใช่เรื่องแปลกประหลาดในระบบกฎหมายแต่อย่างใด เช่น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๔ “ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา” หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนึ่ง “เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วง ไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ” วรรคสอง “เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น”
ท่านจะเห็นได้ว่า ที่กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่…ก็ไม่ได้”นั้นจึงเป็นความเท็จ ตามตัวอย่างที่ผมยกให้ท่านพิจารณาในข้างต้น อีกทั้งเหตุผลของเรื่องคือ การนับอายุความเป็นเรื่องการนับระยะเวลาของระบบกฎหมาย (เป็นเรื่องในทางกฎหมายว่า จะบัญญัติให้นับอย่างไร อายุความเท่าไหร่) หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการกระทำทางกายภาพหรือการกระทำในทางข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ตามที่ กิตติศักดิ์ อ้างว่า “ออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม” จึงเป็นความเท็จ เพราะเรื่องอายุความเป็นเรื่องในทางกฎหมาย หาใช่เรื่องในทางข้อเท็จจริงไม่
๒.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “แทนที่คุณจะเลิกมาตรา ๓๐๙ คุณมาพิสูจน์ว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก”
ข้อสังเกต :
เรามาพิจารณา ความเท็จและการเบี่ยงประเด็นของกิตติศักดิ์ เป็นลำดับดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) มาตรา ๓๐๙ “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
นั่นคือ มาตรา ๓๐๙ รับรองว่า ๑. บรรดาการกระทำใด ๆ ๒. ที่รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ๓. ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐)
ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาการดำรงอยู่ของบทบัญญัติในส่วนนี้ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับดังกล่าว(วัตถุในทางสารบัญญัติที่มาตรา ๓๐๙ รับรองการกระทำเช่นว่านั้น)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๗ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการรวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ด้วยเหตุนี้ การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “มาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย” จึงเป็นความเท็จ เพราะมาตรา ๓๐๙ คุ้มครอง “การกระทำที่ผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” ด้วย (โดยผลบังคับมาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙)
ดังปรากฏแล้วใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๔๙๔/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘๔๑/๒๕๕๓ ระหว่าง เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร (โจทก์) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพวก (จำเลย) ก็ยืนยันผลบังคับของมาตรา ๓๐๙ ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ดังที่ผม (พุฒิพงศ์) ได้อรรถธิบายไว้ข้างต้น ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าวดังนี้ [๒]
“โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บิดเบือนหรือบิดผันระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย…ได้กระทำการแทรกแซง องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แทรกแซงสื่อ ทำลายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวก พ้อง ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นการได้มาโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิได้เห็นความสำคัญหรือเห็นคุณค่าในสิทธิของปวงชนชาวไทย อันเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศ…
ฯลฯ
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะรับไว้พิจารณา พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว…เห็นว่า มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ ในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข” ได้ทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นผลสำเร็จ…ซึ่งในการนี้ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ที่มีผลบังคับใช้โดยชอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในมาตรา ๓๗ บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครอง แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง…หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” นอกจากนี้ในมาตรา ๓๖ ก็ยังบัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่าง วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้…ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือการปฏิบัติที่ ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน หากจะเป็นการขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือผิดกฎหมายอาญา มาตราใด ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน จะมีมูลความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องมานั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
นั่นคือ ศาลรับรองว่า การดำรงอยู่ของมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) คุ้มครองการกระทำผิดกฎหมาย (กบฎ) ตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วยนั่นเอง ให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว
กรณีจึงมิใช่เรื่อง “การเอาผิดคณะรัฐประหารเพราะเหตุกระทำโดยทุจริตคอรัปชั่น” อันเป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกับการก่อ “กบฎล้มล้างระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญ” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะที่ “คณะรัฐประหาร” ได้กระทำความผิด อันได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙
การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก” จึงเป็นการเบี่ยงเบนให้พิจารณานอกประเด็นของเรื่อง โดยมิได้พิจารณาเนื้อหาสาระของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด อันขาดไร้ความรับผิดชอบในสามัญสำนึกอันดีของนักวิชาการ
๓. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “คุณต้องการอะไร ต้องการเอาโทษคณะรัฐประหารใช่ไหม ก็ต้องให้ศาลตัดสิน แต่เอาโทษสิ่งที่เขาไม่ผิดไม่ได้ ต้องเอาโทษสิ่งที่เขาผิด ในที่สุดก็ต้องวินิจฉัยว่าคุณทำรัฐประหารโดยชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นแบบนั้น อดีตผู้ทำรัฐประหารก็ต้องมาต่อสู้คดีกับศาลถึงการทำรัฐประหารว่าอันนี้เป็น สิ่งจำเป็นครับ อันนี้เป็นเหตุป้องกันอันตรายฉุกเฉินครับ โอเค คุณอาจจะผิด แต่ถึงเวลาตัดสินก็ต้องไปดูตอนนั้น เช่นแล้วมีเหตุให้ต้องบรรเทาการลงโทษหรือไม่”
ข้อสังเกต :
การรัฐประหารโดยชอบด้วยกฎหมาย มีได้อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่จำต้องนิรโทษกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งใน มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ และยังนิรโทษกรรมซ้อนซ้ำอีกในมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แต่อย่างใด
อีกทั้ง การที่กิตติศักดิ์ พยายามอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อทำรัฐประหาร (ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารไม่เป็นความผิด หรือไม่ต้องรับโทษ) นั้น ตกลงแล้ว กิตติศักดิ์ มองว่า “การกระทำ” ที่เป็น “รัฐประหาร” ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่? ถ้าชอบด้วยกฎหมาย แล้วกิตติศักดิ์ จะอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ไปทำไม (โดยนัย – เอาล่ะ กิตติศักดิ์ ถือว่าเป็นคำอธิบายในกรณีที่ “อาจจะผิด”) เพราะในกรณีอ้างเหตุดังกล่าวนั้นต้องปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” เสียก่อน และโดยสภาพการทำรัฐประหารไม่อาจปรากฎ “เหตุจำเป็น” (ทำไปเพราะไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้) [๓]หรือ “เหตุป้องกัน” (เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง) [๔] ได้เลย โดยสภาพของการกระทำผิดฐานกบฎ (กบฎ – รัฐประหาร ; กระทำการเพื่อยึดอำนาจรัฐหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอาจรัฐโดยมิใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ)
บทสัมภาษณ์ของกิตติศักดิ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นบทสัมภาษณ์ไม่มีฐานรองรับการให้เหตุผลทางนิติศาสตร์เลยดังปรากฎเหตุผลประกอบตามที่ผมได้อรรถาธิบายไว้ข้างต้น
ในท้ายนี้ควรกล่าวด้วยว่า การลบล้างมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน จำต้องลบล้างมาตรา ๓๖, มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วย เพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้นมารับผิดและรับโทษตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด (มาตรา ๑๑๓ ประมวลกฎหมายอาญา) หาใช่การลบล้างข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดๆ ไม่ เพราะการลบล้างบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการ “นำสิ่งที่ผิด” มารับผิดและรับโทษตามตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด นั่นเอง หาใช่การย้อนเวลาไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือความจริงไม่ ดังที่ กิตติศักดิ์ บิดเบือนทั้งในข้อเท็จจริงและหลักวิชาจนยุ่งเหยิง และไม่อาจหาฐานรองรับการให้เหตุผลเช่นนี้ในทางนิติศาสตร์ได้เลยตามความปรากฏในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว.
____________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ไทยโพสต์ “แก้309ไม่ล้างผิด นักกฎหมายยก‘ปิโนเชต์’กระตุก‘แม้ว’ชี้คดีโกงยังอยู่” : http://www.thaipost.net/news/200712/59901
[๒] เว็บไซต์นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร “คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คมช.และพวก ฐานกบฎล้มล้างรัฐธรรมนูญฯ” : http://www.enlightened-jurists.com/directory/193
[๓] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๗
[๔] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กิตติศักดิ์ ปรกติ ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ [๑] ปรากฏความบิดเบือน ดังนี้
๑. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “การนับวันและนับคืนตามปฏิทิน จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่ ให้ถือว่าไม่เคยมีวันและคืนตามปฏิทินได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง วันและคืนก็คือความจริง ถ้าจะพยายามออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม”
ข้อสังเกต :
การออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันตามปฏิทินมิใช่เรื่องแปลกประหลาดในระบบกฎหมายแต่อย่างใด เช่น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๔ “ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา” หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนึ่ง “เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วง ไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ” วรรคสอง “เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น”
ท่านจะเห็นได้ว่า ที่กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่…ก็ไม่ได้”นั้นจึงเป็นความเท็จ ตามตัวอย่างที่ผมยกให้ท่านพิจารณาในข้างต้น อีกทั้งเหตุผลของเรื่องคือ การนับอายุความเป็นเรื่องการนับระยะเวลาของระบบกฎหมาย (เป็นเรื่องในทางกฎหมายว่า จะบัญญัติให้นับอย่างไร อายุความเท่าไหร่) หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการกระทำทางกายภาพหรือการกระทำในทางข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ตามที่ กิตติศักดิ์ อ้างว่า “ออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม” จึงเป็นความเท็จ เพราะเรื่องอายุความเป็นเรื่องในทางกฎหมาย หาใช่เรื่องในทางข้อเท็จจริงไม่
๒.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “แทนที่คุณจะเลิกมาตรา ๓๐๙ คุณมาพิสูจน์ว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก”
ข้อสังเกต :
เรามาพิจารณา ความเท็จและการเบี่ยงประเด็นของกิตติศักดิ์ เป็นลำดับดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) มาตรา ๓๐๙ “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
นั่นคือ มาตรา ๓๐๙ รับรองว่า ๑. บรรดาการกระทำใด ๆ ๒. ที่รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ๓. ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐)
ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาการดำรงอยู่ของบทบัญญัติในส่วนนี้ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับดังกล่าว(วัตถุในทางสารบัญญัติที่มาตรา ๓๐๙ รับรองการกระทำเช่นว่านั้น)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๗ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการรวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ด้วยเหตุนี้ การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “มาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย” จึงเป็นความเท็จ เพราะมาตรา ๓๐๙ คุ้มครอง “การกระทำที่ผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” ด้วย (โดยผลบังคับมาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙)
ดังปรากฏแล้วใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๔๙๔/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘๔๑/๒๕๕๓ ระหว่าง เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร (โจทก์) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพวก (จำเลย) ก็ยืนยันผลบังคับของมาตรา ๓๐๙ ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ดังที่ผม (พุฒิพงศ์) ได้อรรถธิบายไว้ข้างต้น ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าวดังนี้ [๒]
“โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บิดเบือนหรือบิดผันระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย…ได้กระทำการแทรกแซง องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แทรกแซงสื่อ ทำลายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวก พ้อง ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นการได้มาโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิได้เห็นความสำคัญหรือเห็นคุณค่าในสิทธิของปวงชนชาวไทย อันเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศ…
ฯลฯ
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะรับไว้พิจารณา พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว…เห็นว่า มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ ในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข” ได้ทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นผลสำเร็จ…ซึ่งในการนี้ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ที่มีผลบังคับใช้โดยชอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในมาตรา ๓๗ บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครอง แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง…หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” นอกจากนี้ในมาตรา ๓๖ ก็ยังบัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่าง วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้…ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือการปฏิบัติที่ ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน หากจะเป็นการขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือผิดกฎหมายอาญา มาตราใด ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน จะมีมูลความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องมานั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
นั่นคือ ศาลรับรองว่า การดำรงอยู่ของมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) คุ้มครองการกระทำผิดกฎหมาย (กบฎ) ตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วยนั่นเอง ให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว
กรณีจึงมิใช่เรื่อง “การเอาผิดคณะรัฐประหารเพราะเหตุกระทำโดยทุจริตคอรัปชั่น” อันเป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกับการก่อ “กบฎล้มล้างระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญ” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะที่ “คณะรัฐประหาร” ได้กระทำความผิด อันได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙
การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก” จึงเป็นการเบี่ยงเบนให้พิจารณานอกประเด็นของเรื่อง โดยมิได้พิจารณาเนื้อหาสาระของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด อันขาดไร้ความรับผิดชอบในสามัญสำนึกอันดีของนักวิชาการ
๓. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “คุณต้องการอะไร ต้องการเอาโทษคณะรัฐประหารใช่ไหม ก็ต้องให้ศาลตัดสิน แต่เอาโทษสิ่งที่เขาไม่ผิดไม่ได้ ต้องเอาโทษสิ่งที่เขาผิด ในที่สุดก็ต้องวินิจฉัยว่าคุณทำรัฐประหารโดยชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นแบบนั้น อดีตผู้ทำรัฐประหารก็ต้องมาต่อสู้คดีกับศาลถึงการทำรัฐประหารว่าอันนี้เป็น สิ่งจำเป็นครับ อันนี้เป็นเหตุป้องกันอันตรายฉุกเฉินครับ โอเค คุณอาจจะผิด แต่ถึงเวลาตัดสินก็ต้องไปดูตอนนั้น เช่นแล้วมีเหตุให้ต้องบรรเทาการลงโทษหรือไม่”
ข้อสังเกต :
การรัฐประหารโดยชอบด้วยกฎหมาย มีได้อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่จำต้องนิรโทษกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งใน มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ และยังนิรโทษกรรมซ้อนซ้ำอีกในมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แต่อย่างใด
อีกทั้ง การที่กิตติศักดิ์ พยายามอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อทำรัฐประหาร (ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารไม่เป็นความผิด หรือไม่ต้องรับโทษ) นั้น ตกลงแล้ว กิตติศักดิ์ มองว่า “การกระทำ” ที่เป็น “รัฐประหาร” ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่? ถ้าชอบด้วยกฎหมาย แล้วกิตติศักดิ์ จะอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ไปทำไม (โดยนัย – เอาล่ะ กิตติศักดิ์ ถือว่าเป็นคำอธิบายในกรณีที่ “อาจจะผิด”) เพราะในกรณีอ้างเหตุดังกล่าวนั้นต้องปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” เสียก่อน และโดยสภาพการทำรัฐประหารไม่อาจปรากฎ “เหตุจำเป็น” (ทำไปเพราะไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้) [๓]หรือ “เหตุป้องกัน” (เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง) [๔] ได้เลย โดยสภาพของการกระทำผิดฐานกบฎ (กบฎ – รัฐประหาร ; กระทำการเพื่อยึดอำนาจรัฐหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอาจรัฐโดยมิใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ)
บทสัมภาษณ์ของกิตติศักดิ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นบทสัมภาษณ์ไม่มีฐานรองรับการให้เหตุผลทางนิติศาสตร์เลยดังปรากฎเหตุผลประกอบตามที่ผมได้อรรถาธิบายไว้ข้างต้น
ในท้ายนี้ควรกล่าวด้วยว่า การลบล้างมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน จำต้องลบล้างมาตรา ๓๖, มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วย เพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้นมารับผิดและรับโทษตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด (มาตรา ๑๑๓ ประมวลกฎหมายอาญา) หาใช่การลบล้างข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดๆ ไม่ เพราะการลบล้างบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการ “นำสิ่งที่ผิด” มารับผิดและรับโทษตามตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด นั่นเอง หาใช่การย้อนเวลาไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือความจริงไม่ ดังที่ กิตติศักดิ์ บิดเบือนทั้งในข้อเท็จจริงและหลักวิชาจนยุ่งเหยิง และไม่อาจหาฐานรองรับการให้เหตุผลเช่นนี้ในทางนิติศาสตร์ได้เลยตามความปรากฏในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว.
____________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ไทยโพสต์ “แก้309ไม่ล้างผิด นักกฎหมายยก‘ปิโนเชต์’กระตุก‘แม้ว’ชี้คดีโกงยังอยู่” : http://www.thaipost.net/news/200712/59901
[๒] เว็บไซต์นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร “คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คมช.และพวก ฐานกบฎล้มล้างรัฐธรรมนูญฯ” : http://www.enlightened-jurists.com/directory/193
[๓] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๗
[๔] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สงครามน้ำข้ามทวีปจากนาซ่าถึงประชาธิปัตย์ !!?
นายปลอดประสพ สุรัสวดี ตกเป็นเป้าโจมตีของของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะถูกฟ้องร้องเป็นรายต่อไป โทษฐานที่ประชาธิปัตย์บอกว่า “กล่าวหาว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริหารจัดการน้ำแบบมีนัยจนกระทั่งส่งผลมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการเกิดอุทกภัยขึ้น”
เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อปีที่แล้วเกิดวาทกรรมของสงครามน้ำขึ้นมาอย่างสะบั้นหั่นแหลก กระทั่งในปีนี้โอกาสที่จะเกิดสงครามน้ำอีกระลอกหรือไม่ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่? ถ้าหากเกิดขึ้นมาก็คงจะเปิดฉากจากพรรคประชาธิปัตย์เรื่องนายปลอดประสพ สุรัสวดี นี่แหละ ส่วนจะฟ้องข้อหาอะไรอย่างไรนั้นคงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับนายปลอดประสพเองเคยให้สัมภาษณ์กันเมื่อไม่นานมานี้ว่า อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องตัวเองอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ เพื่อจะได้พิสูจน์และตีแผ่ความจริงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร? พร้อมกันนั้นนายปลอดประสพได้อ้างแหล่งข่าวจากต่างประเทศระบุว่า
องค์การนาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความล้มเหลวในการจัดการน้ำของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และตรงนี้มีโอกาสเป็นสาเหตุทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ขัดขวางโครงการของนาซ่าในการสำรวจเมฆชั้นสูงเพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ!
ข้อมูลจากนายปลอดประสพนี้นับว่าน่าสนใจมาก เพราะองค์การระดับนาซ่าคงไม่ซี้ซั้วพูดอะไรออกมาง่ายๆ นั่นแสดงว่าเขามีข้อมูลชั้นเมฆอยู่พอสมควร พอจะรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีความแน่ใจในระดับหนึ่งที่จะฟันธงในเรื่องความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าเราเชื่อมือและให้เครดิตต่อนาซ่าพอสมควร ก็มีเหตุผลที่พอจะระบุได้ว่าในปี 2554 ปัญหามหาอุทกภัยในประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเกิดจากการผลักดันของภาคการเมืองเพื่อทำลายล้างกัน ดังจะเห็นจากข้อมูลการปล่อยน้ำจากเขื่อนจนท่วมพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ถ้าหากประชาธิปัตย์จะฟ้องร้องนายปลอดประสพ และมีการพิสูจน์กันในชั้นศาลก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่คำพูดของนายปลอดประสพตอนหนึ่งมีความน่าสนใจมาก เขาให้ข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางนาซ่าทุกวิถีทางในการใช้ฐานบินอู่ตะเภาสำหรับสำรวจอากาศในช่วงที่ผ่านมา เพราะถ้าข้อมูลชุดใหม่นี้มีเพิ่มเติมก็เป็นไปได้สูงที่นาซ่าจะสามารถฟันธงได้แน่นหนาขึ้นย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดเมื่อคราวประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เพราะถ้าผลออกมาแน่นหนาว่าอุทกภัยในปี 2554 นั้นมีงานการเมืองแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
ผลสำรวจของนาซ่าถ้ามีขึ้นมาในปี 2555 จะเท่ากับเป็นการเปิดหน้ากากของวิธีเล่นการเมืองโดยใช้น้ำมาก่อสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจ! เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรน่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง ก็อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องให้รู้เรื่องกันไปเสียที แม้กระทั่งการรู้ว่าอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติอย่างเดียว หากแต่มีเกมการเมืองและอำนาจผสมอยู่ด้วย บางทีเรื่องของสงครามน้ำที่เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน คือพรรคประชาธิปัตย์ คงจะดำเนินต่อเนื่องในหน้าฝนปี 2555 นี้ก็เป็นไปได้ เพราะอย่างน้อยข้อมูลจากนาซ่ายืนยันได้ว่าการใช้น้ำมาเล่นการเมืองในปี 2554 มีจริง ส่วนจะมีมากน้อยแค่ไหนคงไปว่ากันในชั้นศาลระหว่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี กับพรรคประชาธิปัตย์ บางทีเบื้องหน้าเบื้องหลังอุทกภัยในปีที่แล้วสามารถที่จะเชื่อมโยงมาถึงเรื่องของนาซ่า ตลอดจนสงครามน้ำที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ได้
ด้านนายปลอดประสพเองถ้าไม่แน่ใจก็คงไม่ยืดอกท้าประชาธิปัตย์ให้ฟ้องร้องให้รู้เหนือรู้ใต้กันไปเลย อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะแน่ใจตัวเองหรือไม่? ซึ่งหมายถึงมีความบริสุทธิ์ใจในการบริหารจัดการน้ำในสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯหรือเปล่า!? และนี่ก็คือสงครามน้ำในยกแรกที่เปิดฉากขึ้นมาแล้ว เชื่อว่ายังมียกที่ 2 และ 3 ติดตามมาอีกหลายขบวน เพราะปัญหาอุทกภัยคือหนึ่งในวาทกรรมที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาเสนอควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาของแพง โดยระบุว่า ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและอุทกภัยดีกว่าไปแก้รัฐธรรมนูญ จึงมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาอุทกภัยในปีนี้มีโอกาสถูกลากมาเกี่ยวข้องกับการยุติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยับยั้ง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ให้คลอดออกมา
การใช้น้ำมาเล่นการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นตัวอย่างแรกของโลกนี้ที่น่าศึกษา และเข้าใจว่านาซ่าคงศึกษาไม่ถึงเกมนี้เหมือนกัน แต่บอกได้ว่าสงครามได้ข้ามทวีปไปแล้ว ไม่ได้จำกัดเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น นี่จึงเป็นวีรกรรมอีกอย่างของพรรคประชาธิปัตย์ที่ควรจดจำให้มาก จดจำว่าพรรคนี้เขาเล่นการเมืองกันอย่างไร?
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อปีที่แล้วเกิดวาทกรรมของสงครามน้ำขึ้นมาอย่างสะบั้นหั่นแหลก กระทั่งในปีนี้โอกาสที่จะเกิดสงครามน้ำอีกระลอกหรือไม่ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่? ถ้าหากเกิดขึ้นมาก็คงจะเปิดฉากจากพรรคประชาธิปัตย์เรื่องนายปลอดประสพ สุรัสวดี นี่แหละ ส่วนจะฟ้องข้อหาอะไรอย่างไรนั้นคงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับนายปลอดประสพเองเคยให้สัมภาษณ์กันเมื่อไม่นานมานี้ว่า อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องตัวเองอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ เพื่อจะได้พิสูจน์และตีแผ่ความจริงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร? พร้อมกันนั้นนายปลอดประสพได้อ้างแหล่งข่าวจากต่างประเทศระบุว่า
องค์การนาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความล้มเหลวในการจัดการน้ำของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และตรงนี้มีโอกาสเป็นสาเหตุทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ขัดขวางโครงการของนาซ่าในการสำรวจเมฆชั้นสูงเพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ!
ข้อมูลจากนายปลอดประสพนี้นับว่าน่าสนใจมาก เพราะองค์การระดับนาซ่าคงไม่ซี้ซั้วพูดอะไรออกมาง่ายๆ นั่นแสดงว่าเขามีข้อมูลชั้นเมฆอยู่พอสมควร พอจะรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีความแน่ใจในระดับหนึ่งที่จะฟันธงในเรื่องความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าเราเชื่อมือและให้เครดิตต่อนาซ่าพอสมควร ก็มีเหตุผลที่พอจะระบุได้ว่าในปี 2554 ปัญหามหาอุทกภัยในประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเกิดจากการผลักดันของภาคการเมืองเพื่อทำลายล้างกัน ดังจะเห็นจากข้อมูลการปล่อยน้ำจากเขื่อนจนท่วมพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ถ้าหากประชาธิปัตย์จะฟ้องร้องนายปลอดประสพ และมีการพิสูจน์กันในชั้นศาลก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่คำพูดของนายปลอดประสพตอนหนึ่งมีความน่าสนใจมาก เขาให้ข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางนาซ่าทุกวิถีทางในการใช้ฐานบินอู่ตะเภาสำหรับสำรวจอากาศในช่วงที่ผ่านมา เพราะถ้าข้อมูลชุดใหม่นี้มีเพิ่มเติมก็เป็นไปได้สูงที่นาซ่าจะสามารถฟันธงได้แน่นหนาขึ้นย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดเมื่อคราวประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เพราะถ้าผลออกมาแน่นหนาว่าอุทกภัยในปี 2554 นั้นมีงานการเมืองแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
ผลสำรวจของนาซ่าถ้ามีขึ้นมาในปี 2555 จะเท่ากับเป็นการเปิดหน้ากากของวิธีเล่นการเมืองโดยใช้น้ำมาก่อสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจ! เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรน่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง ก็อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องให้รู้เรื่องกันไปเสียที แม้กระทั่งการรู้ว่าอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติอย่างเดียว หากแต่มีเกมการเมืองและอำนาจผสมอยู่ด้วย บางทีเรื่องของสงครามน้ำที่เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน คือพรรคประชาธิปัตย์ คงจะดำเนินต่อเนื่องในหน้าฝนปี 2555 นี้ก็เป็นไปได้ เพราะอย่างน้อยข้อมูลจากนาซ่ายืนยันได้ว่าการใช้น้ำมาเล่นการเมืองในปี 2554 มีจริง ส่วนจะมีมากน้อยแค่ไหนคงไปว่ากันในชั้นศาลระหว่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี กับพรรคประชาธิปัตย์ บางทีเบื้องหน้าเบื้องหลังอุทกภัยในปีที่แล้วสามารถที่จะเชื่อมโยงมาถึงเรื่องของนาซ่า ตลอดจนสงครามน้ำที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ได้
ด้านนายปลอดประสพเองถ้าไม่แน่ใจก็คงไม่ยืดอกท้าประชาธิปัตย์ให้ฟ้องร้องให้รู้เหนือรู้ใต้กันไปเลย อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะแน่ใจตัวเองหรือไม่? ซึ่งหมายถึงมีความบริสุทธิ์ใจในการบริหารจัดการน้ำในสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯหรือเปล่า!? และนี่ก็คือสงครามน้ำในยกแรกที่เปิดฉากขึ้นมาแล้ว เชื่อว่ายังมียกที่ 2 และ 3 ติดตามมาอีกหลายขบวน เพราะปัญหาอุทกภัยคือหนึ่งในวาทกรรมที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาเสนอควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาของแพง โดยระบุว่า ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและอุทกภัยดีกว่าไปแก้รัฐธรรมนูญ จึงมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาอุทกภัยในปีนี้มีโอกาสถูกลากมาเกี่ยวข้องกับการยุติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยับยั้ง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ให้คลอดออกมา
การใช้น้ำมาเล่นการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นตัวอย่างแรกของโลกนี้ที่น่าศึกษา และเข้าใจว่านาซ่าคงศึกษาไม่ถึงเกมนี้เหมือนกัน แต่บอกได้ว่าสงครามได้ข้ามทวีปไปแล้ว ไม่ได้จำกัดเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น นี่จึงเป็นวีรกรรมอีกอย่างของพรรคประชาธิปัตย์ที่ควรจดจำให้มาก จดจำว่าพรรคนี้เขาเล่นการเมืองกันอย่างไร?
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไทยเตรียมพัฒนาสินค้า OTOP ให้มีมาตรฐานหวังขยายตลาดต่างประเทศ !!?
นายกรัฐมนตรีหารือ รมว.ต่างประเทศเยอรมนีเรื่องทำเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป ยกระดับอาชีวะศึกษาแบบ “ดูโอซิสเท็ม-เรียนไป ทำงานไป” เตรียมพัฒนาสินค้าโอท็อปให้มีมาตรฐานขยายตลาดต่างประเทศ ยืนยันสัมพันธ์กับพม่า-กัมพูชามีทิศทางที่ดี พร้อมให้ความมั่นใจเศรษฐกิจไทยโตร้อยละ 4.5-5
“พัทธนันท์ สงชัย” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ซึ่งติดตามภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 17-22 ก.ค.2555 รายงานว่า ภารกิจนายกรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.ค.) เวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ได้หารือร่วมกับนายกีโด เวสเตอร์เวลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีพร้อมคณะ เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยผ่านผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนีที่จะมาอบรมให้ความรู้ รวมถึงการยกระดับการศึกษาสายอาชีวะ ดูโอซิสเท็ม หรือเรียนไปทำงานไป ซึ่งเยอรมนีพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้ซักถามถึงความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า มีทิศทางไปในทางที่ดีทั้งสองประเทศ จากนั้นเวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานเปิดอบรมผู้ประกอบการธุรกิจในเยอรมนี ณ ห้องโรงแรม Adlon Kempimski ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในเยอรมนีมีความรู้ในการจัดการ การต่อยอดการตลาด การบริหารเฟรนไชส์ เพื่อสามารถขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การนำเข้าสินค้าเกษตรไทยมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหาร สปา นวดไทย ร้านเสริมความงาม ผลิตสิ่งพิมพ์เข้าร่วมการอบรม 107 ราย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีโอกาสเดินทางมาเยือนเยอรมนี ซึ่งเป็นการมาเยือนในรอบ 17 ปีที่ไม่มีผู้นำมาเยือนอย่างเป็นทางการ และดีใจที่ได้พบว่ามีประกอบการที่ร่วมอบรมถึง 107 ราย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ ที่มีคนไทยมาเปิดธุรกิจและขยายกิจการในเยอรมนีจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจากเศรษฐกิจถดถอยในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ขณะนี้เริ่มกลับมาในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลคาดว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
“รัฐบาลไทยจะร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมนีปรับปรุงคุณภาพอาหาร สินค้าเกษตรของไทยให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากเยอรมนีค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ ภายใต้ แบรนด์ไทยซีเล็ก ที่จะบ่งบอกความเป็นไทยให้ต่างชาติรับทราบ และการอบรมในวันนี้จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ขอให้ผู้ประกอบการไทยช่วยกันนำเอกลักษณ์หรือภูมิปัญญาไทยมาเผยแพร่ให้ต่างชาติรับทราบ และทำหน้าที่เสมือนทูตของประเทศที่จะสื่อสารสิ่งดีๆกลับไปยังประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะยกระดับคุณภาพโอท็อปเพื่อส่งออกต่างประเทศด้วย โดยจะพัฒนา และคัดเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายในสถานทูตไทยตามประเทศต่างๆ และเตรียมนำร่องในสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงเฟริส์ต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน โดยมีนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และคนไทยที่พำนักอยู่ในเยอรมนีให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางไปยังท่าอากาศยานเทเกล เพื่อเดินทางต่อไปยังนครมิวนิก รัฐบาวาเรีย โดยเที่ยวบินพิเศษ TG 8838 บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันโดยนายมาร์ติน ไซล์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐบาวาเรีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และเทคโนโลยีรัฐบาวาเรีย เป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังวัดไทยมิวนิก เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนคนไทย ก่อนที่จะเดินทางไปที่ท่าอากาศยานมิวนิก เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่อที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส.
ที่มา:สำนักข่าวไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“พัทธนันท์ สงชัย” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ซึ่งติดตามภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 17-22 ก.ค.2555 รายงานว่า ภารกิจนายกรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.ค.) เวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ได้หารือร่วมกับนายกีโด เวสเตอร์เวลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีพร้อมคณะ เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยผ่านผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนีที่จะมาอบรมให้ความรู้ รวมถึงการยกระดับการศึกษาสายอาชีวะ ดูโอซิสเท็ม หรือเรียนไปทำงานไป ซึ่งเยอรมนีพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้ซักถามถึงความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า มีทิศทางไปในทางที่ดีทั้งสองประเทศ จากนั้นเวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานเปิดอบรมผู้ประกอบการธุรกิจในเยอรมนี ณ ห้องโรงแรม Adlon Kempimski ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในเยอรมนีมีความรู้ในการจัดการ การต่อยอดการตลาด การบริหารเฟรนไชส์ เพื่อสามารถขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การนำเข้าสินค้าเกษตรไทยมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหาร สปา นวดไทย ร้านเสริมความงาม ผลิตสิ่งพิมพ์เข้าร่วมการอบรม 107 ราย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีโอกาสเดินทางมาเยือนเยอรมนี ซึ่งเป็นการมาเยือนในรอบ 17 ปีที่ไม่มีผู้นำมาเยือนอย่างเป็นทางการ และดีใจที่ได้พบว่ามีประกอบการที่ร่วมอบรมถึง 107 ราย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ ที่มีคนไทยมาเปิดธุรกิจและขยายกิจการในเยอรมนีจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจากเศรษฐกิจถดถอยในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ขณะนี้เริ่มกลับมาในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลคาดว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
“รัฐบาลไทยจะร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมนีปรับปรุงคุณภาพอาหาร สินค้าเกษตรของไทยให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากเยอรมนีค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ ภายใต้ แบรนด์ไทยซีเล็ก ที่จะบ่งบอกความเป็นไทยให้ต่างชาติรับทราบ และการอบรมในวันนี้จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ขอให้ผู้ประกอบการไทยช่วยกันนำเอกลักษณ์หรือภูมิปัญญาไทยมาเผยแพร่ให้ต่างชาติรับทราบ และทำหน้าที่เสมือนทูตของประเทศที่จะสื่อสารสิ่งดีๆกลับไปยังประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะยกระดับคุณภาพโอท็อปเพื่อส่งออกต่างประเทศด้วย โดยจะพัฒนา และคัดเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายในสถานทูตไทยตามประเทศต่างๆ และเตรียมนำร่องในสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงเฟริส์ต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน โดยมีนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และคนไทยที่พำนักอยู่ในเยอรมนีให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางไปยังท่าอากาศยานเทเกล เพื่อเดินทางต่อไปยังนครมิวนิก รัฐบาวาเรีย โดยเที่ยวบินพิเศษ TG 8838 บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันโดยนายมาร์ติน ไซล์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐบาวาเรีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และเทคโนโลยีรัฐบาวาเรีย เป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังวัดไทยมิวนิก เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนคนไทย ก่อนที่จะเดินทางไปที่ท่าอากาศยานมิวนิก เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่อที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส.
ที่มา:สำนักข่าวไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
4 กับดัก 4 ทางแก้รธน. ทักษิณเพื่อไทยสั่งหยุด เสื้อแดงสั่งรุก ปชป.รอร่างรายมาตรา ..
ในที่สุดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงรอดพ้นวิกฤตยุบพรรคไปได้อีกครั้ง
สำหรับแนวทางการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะคู่ตรงข้าม มีดังต่อไปนี้
1.เมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็น "คำแนะนำ" ไม่ใช่ "คำสั่ง" ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาตบเท้าสนับสนุนให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ต่อทันที
โดย "ธิดา ถาวรเศรษฐ" แกนนำ นปช.ยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการพิจารณาที่ก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ทำประชามติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ขณะที่ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" รัฐมนตรีสายสีแดงบอกว่า รัฐสภาต้องเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 เพื่อเริ่มต้นแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางเดิมที่ทำมา
สอดคล้องกับคำพูดของ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาระบุว่า วิธีการที่ถูกต้องในหลักการ คือให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อไป เพื่อรักษาหลักการประชาธิปไตยไม่ให้โอนเอน
"ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ไม่ได้สั่งห้าม ส่วนการลงประชามติก่อนการแก้ไขนั้นไม่ชัดเจนในตัวเองว่าเป็นคำแนะนำหรือคำวินิจฉัย"
2.แนวทางการแก้ไขรายมาตรา ตามขั้นตอนในรัฐสภาตามปกติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเห็นว่าแนวทางนี้จะดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนของ
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้เก๋าเกมการเมือง
นพดลอ้างถึงเหตุผลของที่ต่อสายจาก พ.ต.ท.ทักษิณว่า "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเหมือนรถที่ยางแตก เบรกไม่ดี หม้อน้ำร้อน ถ้าบอกให้ขับไปก่อนอีกปีหนึ่งแล้วค่อยมายกเครื่อง คงเป็นความคิดที่ไม่ฉลาด เราควรซ่อมในจุดที่เสียหายเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วค่อยมาซ่อมใหญ่ทั้งหมด มาตราที่จำเป็นต้องแก้มีไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำ"
"แนวโน้มที่พรรคเพื่อไทยจะดำเนินการและเป็นไปได้มากที่สุดคือการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่ถ้าทำประชามติ ถ้าเริ่มต้นใหม่ก็ใช้เวลานานมาก หรือถ้าตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา ก็จะถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญอีก"
"แม้ในทางกฎหมายสามารถเดินหน้าโหวตลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ได้ แต่ทางการเมืองเดินหน้าลำบาก กลายเป็นวงจรอุบาทว์"
ขณะที่ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุน เพื่อรักษาสถานะ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"
เขาบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้อง แก้รายมาตรา
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยกระบวนการจัดทำ "ประชามติ" พร้อมกับเดินหน้าต่อในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งแนวทางนี้ได้รับแรงสนับสนุนโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง"
จาตุรนต์เสนอทางสู้ให้ฝ่ายเพื่อไทยว่า ให้ค้างวาระลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในสภาก่อน จากนั้นให้จัดทำ "ประชามติ" เพื่อยืนยันตามคำวินิจฉัยของศาล และให้รัฐสภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อทันที
เขาย้ำว่า หากรัฐสภาเมินการลงมติในวาระ 3 ระวังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะติดคุก ฐานกระทำความผิดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"ในหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 ระบุตอนหนึ่งว่า เมื่อการพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป กล่าวคือ รัฐสภาไม่มีอำนาจยกเลิกในวาระนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะต้องลงมติโหวตให้วาระนี้ตกไปเสียก่อน"
4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอความเห็นชอบจากประชาชน ผ่านการ "ประชามติ" จากนั้นให้ทุกกระบวนการเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ เป็นความเห็นฟากฝ่ายค้านอย่าง "วิรัตน์ กัลยาศิริ" ทีมกฎหมายฝั่ง ปชป.ที่ออกมายืนยันว่า เส้นทางนี้จะทำให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ ทั้งรัฐบาล คณะรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยที่สุด
เขาเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่กล้าทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า จนทำให้รัฐบาลต้องล้ม โดยเฉพาะการเดินหน้าลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ซึ่งจะเปิดช่องว่างให้ ปชป.
ยื่นฟ้องได้อีก เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
วิรัตน์ บอกว่าหากเพื่อไทยจะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไปจะเข้าข่ายมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมิได้"
วิรัตน์ให้เหตุผลประกอบว่า ในการไต่สวนฝ่ายผู้ถูกร้อง นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวยอมรับชัดเจนว่า ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญคือปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐสภาไม่สามารถใช้อำนาจนี้ได้
"เมื่อเลขาฯกฤษฎีกาเองก็ยอมรับว่า ผู้ที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญมีเพียง 2 คน คือประชาชนกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ เพื่อให้กำเนิดรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ถ้ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะเข้าข่ายตามมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง"
แต่วาระทั้ง 4 แนวทาง ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ เมื่อเพื่อไทย "สั่งหยุด" ทุกการเคลื่อนไหว ผ่านแถลงการณ์พรรค กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ความว่า
"...กรณีประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น จะมีการลงมติวาระ 3 หรือไม่ จะสอบถามประชามติหรือไม่ เห็นว่า กระบวนการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีองค์ประกอบสำคัญจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ว่าจะมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร จึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะหาข้อยุติดังกล่าวในขณะนี้"
"เนื่องจากขณะนี้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง ยังมิได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และเพื่อไทยยังคงยืนยันในข้อคัดค้านที่ได้แถลงไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญในวาระ 2 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 และ 2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทั้งหมดเป็นการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลากหลายแนวทาง ภายใต้การตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแบบรอบทิศทาง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงรอดพ้นวิกฤตยุบพรรคไปได้อีกครั้ง
สำหรับแนวทางการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะคู่ตรงข้าม มีดังต่อไปนี้
1.เมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็น "คำแนะนำ" ไม่ใช่ "คำสั่ง" ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาตบเท้าสนับสนุนให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ต่อทันที
โดย "ธิดา ถาวรเศรษฐ" แกนนำ นปช.ยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการพิจารณาที่ก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ทำประชามติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ขณะที่ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" รัฐมนตรีสายสีแดงบอกว่า รัฐสภาต้องเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 เพื่อเริ่มต้นแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางเดิมที่ทำมา
สอดคล้องกับคำพูดของ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาระบุว่า วิธีการที่ถูกต้องในหลักการ คือให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อไป เพื่อรักษาหลักการประชาธิปไตยไม่ให้โอนเอน
"ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ไม่ได้สั่งห้าม ส่วนการลงประชามติก่อนการแก้ไขนั้นไม่ชัดเจนในตัวเองว่าเป็นคำแนะนำหรือคำวินิจฉัย"
2.แนวทางการแก้ไขรายมาตรา ตามขั้นตอนในรัฐสภาตามปกติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเห็นว่าแนวทางนี้จะดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนของ
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้เก๋าเกมการเมือง
นพดลอ้างถึงเหตุผลของที่ต่อสายจาก พ.ต.ท.ทักษิณว่า "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเหมือนรถที่ยางแตก เบรกไม่ดี หม้อน้ำร้อน ถ้าบอกให้ขับไปก่อนอีกปีหนึ่งแล้วค่อยมายกเครื่อง คงเป็นความคิดที่ไม่ฉลาด เราควรซ่อมในจุดที่เสียหายเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วค่อยมาซ่อมใหญ่ทั้งหมด มาตราที่จำเป็นต้องแก้มีไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำ"
"แนวโน้มที่พรรคเพื่อไทยจะดำเนินการและเป็นไปได้มากที่สุดคือการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่ถ้าทำประชามติ ถ้าเริ่มต้นใหม่ก็ใช้เวลานานมาก หรือถ้าตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา ก็จะถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญอีก"
"แม้ในทางกฎหมายสามารถเดินหน้าโหวตลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ได้ แต่ทางการเมืองเดินหน้าลำบาก กลายเป็นวงจรอุบาทว์"
ขณะที่ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุน เพื่อรักษาสถานะ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"
เขาบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้อง แก้รายมาตรา
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยกระบวนการจัดทำ "ประชามติ" พร้อมกับเดินหน้าต่อในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งแนวทางนี้ได้รับแรงสนับสนุนโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง"
จาตุรนต์เสนอทางสู้ให้ฝ่ายเพื่อไทยว่า ให้ค้างวาระลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในสภาก่อน จากนั้นให้จัดทำ "ประชามติ" เพื่อยืนยันตามคำวินิจฉัยของศาล และให้รัฐสภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อทันที
เขาย้ำว่า หากรัฐสภาเมินการลงมติในวาระ 3 ระวังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะติดคุก ฐานกระทำความผิดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"ในหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 ระบุตอนหนึ่งว่า เมื่อการพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป กล่าวคือ รัฐสภาไม่มีอำนาจยกเลิกในวาระนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะต้องลงมติโหวตให้วาระนี้ตกไปเสียก่อน"
4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอความเห็นชอบจากประชาชน ผ่านการ "ประชามติ" จากนั้นให้ทุกกระบวนการเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ เป็นความเห็นฟากฝ่ายค้านอย่าง "วิรัตน์ กัลยาศิริ" ทีมกฎหมายฝั่ง ปชป.ที่ออกมายืนยันว่า เส้นทางนี้จะทำให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ ทั้งรัฐบาล คณะรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยที่สุด
เขาเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่กล้าทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า จนทำให้รัฐบาลต้องล้ม โดยเฉพาะการเดินหน้าลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ซึ่งจะเปิดช่องว่างให้ ปชป.
ยื่นฟ้องได้อีก เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
วิรัตน์ บอกว่าหากเพื่อไทยจะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไปจะเข้าข่ายมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมิได้"
วิรัตน์ให้เหตุผลประกอบว่า ในการไต่สวนฝ่ายผู้ถูกร้อง นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวยอมรับชัดเจนว่า ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญคือปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐสภาไม่สามารถใช้อำนาจนี้ได้
"เมื่อเลขาฯกฤษฎีกาเองก็ยอมรับว่า ผู้ที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญมีเพียง 2 คน คือประชาชนกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ เพื่อให้กำเนิดรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ถ้ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะเข้าข่ายตามมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง"
แต่วาระทั้ง 4 แนวทาง ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ เมื่อเพื่อไทย "สั่งหยุด" ทุกการเคลื่อนไหว ผ่านแถลงการณ์พรรค กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ความว่า
"...กรณีประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น จะมีการลงมติวาระ 3 หรือไม่ จะสอบถามประชามติหรือไม่ เห็นว่า กระบวนการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีองค์ประกอบสำคัญจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ว่าจะมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร จึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะหาข้อยุติดังกล่าวในขณะนี้"
"เนื่องจากขณะนี้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง ยังมิได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และเพื่อไทยยังคงยืนยันในข้อคัดค้านที่ได้แถลงไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญในวาระ 2 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 และ 2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทั้งหมดเป็นการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลากหลายแนวทาง ภายใต้การตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแบบรอบทิศทาง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)