ชาวบ้านฮือต้านก่อสร้างเขื่อนคันดินริมเจ้าพระยา ผู้รับเหมาผวาไม่กล้าเข้าพื้นที่ ส่งผลโครงการป้องกันน้ำท่วมฟันหลอ หวั่น กทม.-ปริมณฑลน้ำมาเร็วและแรงกว่าปี"54 "เสรี ศุภราทิตย์" จี้รัฐเปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำนอง
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยเร่งด่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในปีนี้ พบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลโอกาสเสี่ยงประสบปัญหาน้ำท่วม 20% โดยระดับน้ำอาจเท่าปี 2549 และน้อยกว่าปี 2554 ที่ผ่านมา ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อพื้นที่ตอนบนไม่เอาน้ำแล้ว นิคมอุตสาหกรรมกว่า 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ยกคันเพิ่มขึ้นไปอีก ฉะนั้นน้ำจะวิ่งลงมาข้างล่าง จ.พระนครศรีอยุธยาอาจเจอน้ำท่วมรุนแรงขึ้นเพราะพื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับ กทม.-ปริมณฑลที่อาจประสบปัญหาจากกระแสน้ำที่มาเร็วและแรงขึ้น
หลัง จากเดือนกรกฎาคมจะชัดเจนว่าควรรับมืออย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยากรณ์ฝนได้แม่นยำมากขึ้น โดยดูจากจำนวนพายุที่จะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เงินงบประมาณที่ภาครัฐอนุมัติไว้ 120,000 ล้านบาท ขณะนี้มีการเบิกจ่ายไม่ถึง 12,000 ล้านบาท จึงมีปัญหาว่าหากนำตรงนี้มาวัดการทำงานถือว่าการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง น้ำยังไม่ถึง 20% ประมาณ 18% เท่านั้น ที่สำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าในทุก พื้นที่ ว่ามีความคืบหน้าอย่างไร บางแห่งที่กำลังทำ บางแห่งยังทำไม่ได้
ขณะ เดียวกันพื้นที่รับน้ำนองที่กำหนดไว้ 2 ล้านไร่เศษ ตกลงเป็นอย่างไร เพราะชาวบ้านถามว่า เขาอยู่ในพื้นที่รับน้ำนองหรือไม่ เพราะไม่มีการประกาศเขตชัดเจน เท่าที่ทราบเวลานี้ชาวบ้านหลายพื้นที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยที่ภาครัฐจะ ประกาศกำหนดพื้นที่รับน้ำนองโดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้หรือแสดง ความคิดเห็น
เห็นได้ชัดเจนจากกรณีก่อสร้างโครงการป้องกันพื้นที่ เศรษฐกิจ การทำคันกั้นน้ำ 300 กิโลเมตร ปรากฏว่าไม่มีใครเห็นด้วย มีความขัดแย้งสูง หลายโครงการประมูลก่อสร้างเขื่อนคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ แต่ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นทีก่อสร้างได้ ชาวบ้านไม่ยินยอม ส่งผลให้เขื่อนและคันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะเป็นฟันหลอ หลายจุด ไม่สามารถป้องกันน้ำได้ สุดท้ายพื้นที่ กทม.-ปริมณฑลอาจประสบปัญหารุนแรงกว่าเดิมเพราะกระแสน้ำจะเร็วและแรงขึ้นกว่า น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา
ด้านแหล่งข่าวจากกรมชลประทานเปิดเผย ถึงความคืบหน้าในการกำหนดพื้นที่รับน้ำนองว่า จำแนกเป็น 4 กลุ่มพื้นที่ คือ 1.พื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน 2.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน 3.พื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำยม และ 4.พื้นที่ตอนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีพื้นที่รับน้ำนองเป็น 7 พื้นที่ ได้แก่
1.ฝั่ง ซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทถึงแม่น้ำลพบุรี 2.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำลพบุรี 3.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำลพบุรีกับคลองชัยนาท-ป่าสัก 4.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย 5.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำท่าจีน 6.ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน และ 7.ทุ่งผักไห่ เจ้าเจ็ด บางบาล
แบ่งเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1.พื้นที่เกษตรชลประทาน 2.8 ล้านไร่ 2.พื้นที่พักน้ำชั่วคราว ซึ่งไม่มีพื้นที่ใดเข้าเกณฑ์ 3.พื้นที่แก้มลิงแม่น้ำ 4.9 พันไร่ และ 4.พื้นที่ลุ่มต่ำหรือทุ่งรับน้ำที่น้ำไหลเข้าออกตามธรรมชาติ 9.8 แสนไร่ รองรับน้ำได้ทั้งสิ้น 6.6 ล้าน ลบ.ม. โดยระยะเร่งด่วนปีนี้หากฝนตกหนักและมีน้ำหลากมากเหมือนปี 2554 จะใช้พื้นที่รับน้ำนองที่มีระบบปิดล้อมและควบคุมน้ำเข้าออกได้ คือพื้นที่เกษตรชลประทาน 2.8 ล้านไร่ รองรับน้ำ 4.3 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุม 10 จังหวัดในพื้นที่เจ้าพระยาตอนบน ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และเจ้าพระยาตอนล่าง ใน จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี
ขณะเดียวกันได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือ ชดเชยความเสียหาย 2 กรณี 1.จ่ายตอบแทนทุกพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่รับน้ำนอง 650 บาท/ไร่ 2.จ่ายช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษหากได้รับความเสียหาย แยกเป็นข้าวนาปี 4,900 บาท/ไร่ พืชไร่ 6,875 บาท/ไร่ และพืชสวน 11,125 บาท/ไร่
สำหรับราย ละเอียดของพื้นที่รับน้ำนองแต่ละแห่งมีดังนี้ พื้นที่รับน้ำนองพลายชุมพล ใน อ.เมือง อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก และ อ.เมือง อ.สามง่าม และ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร รวม 1.36 แสนไร่ ความลึกน้ำเฉลี่ย 1-2 เมตร พื้นที่รับน้ำนองดงเศรษฐี อ.เมือง จ.พิจิตร 9.1 พันไร่ พื้นที่รับน้ำนองดงเศรษฐี 2 ใน อ.เมือง จ.พิจิตร 4.3 พันไร่ ความลึกน้ำเฉลี่ย 1 เมตรฯลฯ
พื้นที่รับน้ำนองพลเทพฝั่งขวาแม่น้ำท่า จีน อ.หันคา จ.ชัยนาท 7.5 พันไร่ ความลึกน้ำ 0.80 เมตร สามชุก ทุ่งโคกยายเกตุฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีน ใน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 7.3 พันไร่ ความลึก 1 เมตร ทุ่งศาลาขาวฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีน ใน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 5.3 พันไร่ ความลึก 0.80 เมตร สามชุก ทุ่งท่าว้า อ.เมือง อ.อู่ทอง และ อ.บางระจัน จ.สุพรรณบุรี 1.03 หมื่นไร่ ความลึกน้ำ 1 เมตร เป็นต้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น