--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รากฐานประชาธิปไตย !!?

การกระจายอำนาจ. เป็นอีกหนึ่งแสงสว่างที่ถูกมองว่าจะส่องทางไปสู่ประชาธิปไตยที่..ดีกว่า!!..ในขณะที่สังคมการเมืองบ้านเรา กำลังร้อนเป็นไฟด้วยวิกฤติความขัดแย้ง ทั้งในมิติของความยุติธรรม และดุลอำนาจ

ในมุมหนึ่งที่กลเกมการเมืองกำลังแข่งขัน แก่งแย่ง ช่วงชิง หากแต่ยังมีอีกหลายด้านหลายมุมที่พยายามจะมองหาทางออกของประชาธิปไตย จนสุดท้ายอดคิดไม่ได้ว่าปัญหาการเมืองต้องหาบทสรุปที่การเมืองเสมอไป..เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเสวนา ในวงวิชาการด้านรัฐศาสตร์การเมืองอยู่ไม่น้อย รวมถึงคณะกรรมการภาคประชาสังคม สภาพัฒนาการเมือง ที่ร่วมกับกลุ่ม สยามประชาภิวัฒน์ จัดการประชุมเรื่อง “การกระจายอำนาจกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการเสวนาถึงทิศทางของการกระจายอำนาจของประเทศไทย อดีต ปัจจุบัน อนาคต ความคาดหวังและโอกาสแห่งความสำเร็จ โดยมี นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย

“คมสัน โพธิ์คง” กล่าวถึงทิศทางของการกระจายอำนาจของประเทศไทย : อดีต ปัจจุบัน อนาคตความคาดหวังและโอกาสแห่งความสำเร็จว่า คนไทยมักคิดว่า การกระจายอำนาจเป็นเรื่องไกลตัวและมักเกี่ยวโยงกับการเมืองระดับชาติเท่านั้น ทั้งที่ความจริงกลับเกี่ยวเนื่องการเมืองท้องถิ่น ส่งผลให้ประเทศไทยแม้จะมีรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการตนเองยังคงถูกระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคครอบงำจนขาดอิสระผ่าน 3 เงื่อนไขที่ทำให้การบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสบปัญหา ได้แก่ 1.งบประมาณ 2.การ บริหารงานบุคคล และ 3.การกำกับดูแลตามกฎหมาย

การกำกับดูแลตามกฎหมายเกิดมาก ขึ้นในสังคมอย่างเช่น กรุงเทพฯ ที่ประสบ ปัญหาการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสจนเกิดข้อโต้เถียงว่าสุดท้ายควรให้สัมปทานโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยดูแลหรือว่าจ้างโดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ดูแล ทั้งที่ความจริงควรอยู่ในอำนาจของท้องถิ่น เช่นเดียวกับกรณีองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลหลายแห่ง ที่พบปัญหาซ้ำซ้อนการทำงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้การกระจายอำนาจ สู่ท้องถิ่นของประเทศยังวิกฤติ เพราะองค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นเพียงผู้รับนโยบายจากส่วนกลางและเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนการเมือง

“จรัส สุวรรณมาลา” กล่าวว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ผู้นำปฏิวัติหลายท่าน หนึ่งในนั้นคือนายปรีดี พนมยงค์ เสนอแนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ปัจจุบันยังไม่ สามารถขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมได้ เพราะ นักการเมืองไทยมักคิดว่าหากมีอำนาจคุม ส่วนกลางการปกครองของไทยได้ เสมือน เป็นเจ้าของประเทศ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่ส่อทุจริตขึ้นตลอดมาจนถูกขนานนามว่า การปกครองวิถีการพนันที่มุ่งทำธุรกิจเป็นหลักมากกว่าการสร้างความชอบธรรม จนช่วงปี 40 ถึงปัจจุบันยอมรับว่ามีนักการเมืองหลายท่านที่ส่งเสริมการกระจายอำนาจจริงจัง โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง

หากการกระจายอำนาจไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ในสภาวะที่การเมืองไทย ยังยึดการบริหารแบบรวมศูนย์ การส่งเสริม ให้เกิดธรรมนูญจังหวัดจัดการตนเองเป็นทางออกหนึ่ง เช่นใน จ.อำนาจเจริญและขอนแก่น ส่วนแนวคิดจะแก้กฎหมายให้อำนาจอบจ.มากขึ้นคงยาก เพราะจะทำให้ การสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหน่วยงานระดับภูมิภาคไร้ความหมาย

“บรรเจิด สิงคะเนติ” กล่าวว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ยาวนานถึง 80 ปี มักอยู่ในอำนาจของกลุ่ม ทุน ส่วนประชาชนซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกลับเข้าไม่ถึงสถาบันการเมืองส่วนกลาง ทำให้หลายพื้นที่เริ่มขับเคลื่อนจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง เพราะตระหนักดีว่าในอนาคตไทยยังคงยึดการปกครองลักษณะรวมศูนย์เช่นเดิม แม้นักการเมืองจะยืนยันว่าพร้อมกระจาย อำนาจสู่ท้องถิ่นก็ตาม

“การกระจายอำนาจของไทยไม่สามารถเทียบกับชาติตะวันตกได้ เพราะชุมชนในตะวันตกเกิดขึ้นก่อนจัดตั้งรัฐ กฎหมายต่างๆ จึงร่างขึ้นในบริบทความเข้มแข็งและการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ขณะที่ไทยเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่รวมตัวกันตามวิถีอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง แต่มิได้เพื่อปกครองตนเอง การจัดการจึงยากกว่า”

พร้อมยกตัวอย่างประชาชน จ.ระยอง ร้องเรียนถึงปัญหาที่เกิดจากโครงการขนาดใหญ่และราคาพืชผลทางการเกษตร ตกต่ำว่าไม่สามารถบริหารจัดการด้วยตนเอง ได้ แม้จังหวัดจะมีรายได้ให้กับประเทศปีละ 7 แสนล้าน แต่อบจ.กลับได้งบประมาณเพียง 1.2 พันล้านเท่านั้น จึงเป็นข้ออ้างที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไข ปัญหาของคนในพื้นที่ได้ จึงยอมไม่ได้ที่จะ ให้อำนาจจากส่วนกลางมาครอบงำการบริหารจัดการส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น

ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิมากขึ้นทิศทางการกระจายอำนาจจึงควรไม่หวังพึ่งเพียงการเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น แต่ควรตั้งสภาพลเมืองทำหน้าที่วางแผนทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เช่น จัดแหล่งเรียนรู้ ทางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม ซึ่งอาจขัดแย้ง กับความต้องการของส่วนกลางที่มุ่งพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมอย่างเดียว ส่วนงบประมาณ จะได้รับจากท้องถิ่น นอกจากนี้ ปัจจุบันมีการร่างกฎหมายจัดตั้งสภาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรช่วยขับเคลื่อนการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เพราะกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอยู่ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของประชาชน และจำเป็นต้องเชื่อมโยงความ ร่วมมือในพื้นที่เข้ากับสถาบันการเมืองด้วย

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รำลึก 80 ปี ประชาธิปไตย แดง. กรวดน้ำคว่ำกะลาปักธง..สู้เผด็จการ !!?

ถนนสายประชาธิปไตยได้ทอดยาว มาแล้ว 80 ปี นับจากการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากวันนั้น..จนถึงวันนี้ ประชาธิปไตยของไทยไปถึงไหนแล้ว!! แต่เหนืออื่นใด การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และแนวร่วมคนเสื้อแดง ก็ยังคงเดินหน้า! เพื่อสานต่อปณิธานของกลุ่มคณะราษฎรต่อไปอย่างเข้มข้น ด้วยความเชื่อมั่นว่า เส้นทางการต่อสู้อันยาวไกลของ “พลังมวลชน” จะเป็นกลไกขับเคลื่อนประชาธิปไตยอัน แท้จริง ให้กลับคืนสู่มือประชาชน เช่นที่ว่านี้ ทางกลุ่ม นปช.จึงได้นัดชุมนุมครั้งใหญ่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อรำลึก 80 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง การปกครองไทย ภายใต้ชื่องาน “80 ปียังไม่มีประชาธิปไตย”

การเปิดอีเวนต์ในครั้งนี้ มวลชน เสื้อแดงหลายหมื่นคนจากทั่วประเทศ ได้แห่แหนกันมาร่วมชุมนุม เริ่มตั้งแต่บ่ายยันค่ำ จนเต็มพื้นที่โดยรอบถนนราชดำเนิน จากแยกผ่านฟ้าไปจนถึงแยกคอกวัว ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ยังเป็นการพูดถึงแนวทาง ประชาธิปไตยของไทยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา ที่ยังไม่ใช่ของประชาชนอย่างแท้จริง! อีกทั้งเมื่อปี 2549 มีการใช้อำนาจตุลาการ ภิวัฒน์ยึดอำนาจของประชาชน ดังนั้นในฐานะประชาชนยังต้องเดินหน้าต่อสู้กันต่อไป

โดยบรรยากาศแห่งการรำลึก 80 ปี ประชาธิปไตย เป็นไปอย่างคึกคัก! มีแกนนำ นปช. ตลอดจนแนวร่วมคนเสื้อแดงสลับกัน ขึ้นเวทีปราศรัยอย่างพร้อมหน้า นำโดย “วีระกานต์ มุสิกพงศ์” อดีตประธาน นปช. รุ่นแรก, ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช., จตุพร พรหมพันธุ์, ก่อแก้ว พิกุลทอง, น.พ.เหวง โตจิราการ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, วรชัย เหมะ รวมทั้ง ชินวัฒน์ หาบุญพาด และขวัญชัย ไพรพนา ฯลฯ

พร้อมกันนี้ ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ ประชาชน เพื่อยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางกลุ่ม นปช.ตั้งเป้าให้ได้ ครบหนึ่งล้านรายชื่อ ก่อนนำไปยื่นต่อประธานวุฒิสภาขณะที่ด้านข้างเวทีปราศรัย ได้มีการ ติดป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่...หมายหัวคนดังขั้วตรงข้าม! โดยใช้ชื่อว่า “กรวดน้ำคว่ำกะลา ศิลปิน นักร้องนักแสดง บุคคล สำคัญฝ่ายเผด็จการ” ซึ่งในป้ายดังกล่าว มีรูปและรายชื่อของบุคคลมีชื่อเสียงต่างๆ หลายวงการ ที่คนเสื้อแดงมองว่า..ให้การ สนับสนุนหรือยืนอยู่ข้าง “อำนาจเผด็จการ”

“ธิดา ถาวรเศรษฐ” ประธาน นปช. ย้ำหัวตะปูว่า คนเสื้อแดงจะไม่หยุดสู้จนกว่า จะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง อีกทั้งการชุมนุมวันนี้จะเป็นการยกระดับประชาธิปไตย และเป็นการรับไม้ต่อของคนเสื้อแดงเพื่อต่อสู้ประชาธิปไตยต่อไป เพื่อให้คนเสื้อแดง ตระหนักภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าหากเราได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง ปัญหาก็จะไม่มาก

ด้าน “วีระกานต์ มุสิกพงศ์” อดีตประธาน นปช. กล่าวบนเวทีว่า การรวมตัวกันครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงการพบปะกันของคนเสื้อแดง หากเป็นการอธิบายต่อประชาคม โลกด้วยว่า “คนเสื้อแดง” ยังคงเป็นเอกภาพและเป็นหนึ่งเดียว ถึงแม้ภาพลักษณ์ระยะหลังๆ นี้ ดูเหมือนเป็นการแตกแยกกันก็ตาม ในฐานะเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง อยากบอกพี่น้องประชาชนว่า อย่าไปหลง เชื่อคำพูดของเหล่านักวิชาการที่ออกมา บอกว่าประชาธิปไตยคือความผิดพลาดของกลุ่มคณะราษฎร ยืนยันว่าคนเสื้อแดง จะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ในที่สุด

“จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำ นปช. กล่าวปราศรัยว่า การชุมนุมครั้งนี้ เป็นไป ตามคอนเซปต์งานที่ตั้งขึ้น คือ 80 ปี..ไม่มี ประชาธิปไตย! พร้อมทั้งให้คนเสื้อแดงเตรียม เก็บเสื้อผ้า เพราะอาจมีการต่อสู้ครั้งใหญ่เกิดขึ้น การต่อสู้ครั้งนี้ได้บอกแล้วว่า เป็น การต่อสู้เพื่อให้เรื่องราวได้จบไป และให้โลกรับรู้ว่าคนเสื้อแดงจะไม่ยอมอีกแล้ว!!!

เหล่านี้ ถือเป็นอีเวนต์ใหญ่ทาง การเมืองผ่านการขับเคลื่อนโดย “ภาคประชาชน” ที่กำลังเดินเกมคู่ขนานไปกับจังหวะก้าวของรัฐบาล เพื่อร่วมกันผลักดัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ปฏิรูป” อันเป็นจุดหมายปลายทางในการนำประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมาสู่ประชาชนโดยเร็ววัน ในหลายเรื่องราว หลากเหตุผลตลอดช่วง 80 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นการยากที่จะประเมินได้ว่า การพัฒนาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ...ดีขึ้นหรือเลวร้ายลง! ทว่าการต่อสู้อันเข้มข้นของ “คนเสื้อแดง” ในวันนี้แม้เพิ่งจะเริ่มต้น แต่ก็นำมาซึ่งสงครามประชาธิปไตยรอบใหม่?!!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นาซา ถอย..!!!?

อ้างไม่มีเวลารอคอย

“นาซา”ถอย

ล้มสำรวจมรสุมไทย

บิ๊กโอ๋ลั่นเปิดอู่ตะเภา

ให้ปชป.เข้าดูอุปกรณ์

แฉซ้ำใช้เครื่งสอดแนม

เมื่อวันที่ 28มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซด์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือนาซา ประกาศยกเลิกโครงการศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเฆมและสภาพอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(SEAC4RS)ใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานการสำรวจซึ่งมีกำหนดจะเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคมปีนี้

นาซ่ายกเลิกอ้างไทยไม่อนมัติ

โดยได้เผยแพร่ข้อความว่าได้ยกเลิกภารกิจโครงการสำรวจสภาพอากาศฯที่จะเริ่มในเดือนสิงหาคมปีนี้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ของไทยในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเอื้อต่อการดำเนินโครงการทั้งการขนส่งอุปกรณ์และการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ขาดการอนุมัติที่จำเป็นจากหน่วยงานระดับภูมิภาคในระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการใช้งานตามแผนภารกิจทางวิทยาศาสตร์ โดยนายไบรอัน ทูน อาจารย์มหาวิทยาลัยโคโลราโด ผู้นำในการวางแผนโครงการนี้อ้างว่าเกิดการประสานงานที่ยุ่งยากในการวางแผนโครงการ

ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่ 26มิถุนายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในสภาโดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 179 ซึ่งเลยจากวันที่นาซาต้องการได้รับอนุมติ

โฆษกทูตสหรัฐย้ำนาซ่ารอไม่ได้

ในวันเดียวกัน นายวอลเตอร์ บราวโนห์เลอร์ โฆษกสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยกล่าวว่าวันนี้นาซาไม่สามารถรอได้ เนื่องจากโครงการจะต้องดำเนินการเฉพาะเดือนสิงหาคมและกันยายนเท่านั้นแต่ ครม.ของไทยมีมติเมื่อวันอังคาร ให้รัฐสภาอภิปรายเรื่องนี้หลังเปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1สิงหาคม ซึ่งเลยกำหนดเส้นตายของนาซาไปแล้ว1 เดือนซึ่งโฆษกยังระบุด้วยว่า ยังไม่สามารถบอกได้ว่านาซาจะทบทวนเรื่องโครงการนี้อีกครั้งในปีหน้าหรือไม่

เว็บไซต์ของนาซา http://espo.nasa.gov/missions/seac4rs ระบุว่านาซาตัดสินใจในวันที่ 26 มิถุนายนเรื่องยกเลิกโครงการดังกล่าวที่มีกำหนดเริ่มในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากทางการในภูมิภาคตามกรอบเวลาที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ตามที่กำหนดของภารกิจนี้

บิ๊กโอ๋ฉุนพร้อมเปิดอู่ตะเภาให้สอบ

พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์เรื่อขอใช้สนามบินอู่ตะเภาของนาซา ว่า น่าจะจบแล้ว ทราบกันหมดแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่ารัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจนั้น ให้ดูการกระทบที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรซึ่งกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่า ไม่มีอะไรกระทบความมั่นคง อย่างที่เป็นห่วงกัน อย่างประเทศ อินโดนีเซีย กัมพูชา สิงคโปร์ ที่อนุญาตให้บินผ่าน เขายังไม่กังวลเลย ของเราเรื่องมากจนเป็นอย่างนี้

“ยืนยันพร้อมที่จะสั่งการให้กองทัพเรือ เปิดอู่ตะเภา ให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าไปดูซึ่งเป็นแค่สนามบิน โดยกองทัพเรือ ได้ยืนยันแล้วว่าไม่มีอะไรแล้วจะระแวงกันขนาดไหน เดี๋ยวจะเสียค่ารถ ค่าน้ำมันเปล่าๆ ก็ไม่มีอะไร ถ้าพูดแล้ว ไม่เชื่อ ก็ไม่ต้องมาพูดกัน ไประแวงว่าจะเอาเครื่องมือมาเก็บ แล้วจะเอามาเก็บไว้ทำไม หรือจะเอามาจารกรรมบ้านเรา คิดได้อย่างไร”

ของขึ้นท้า’ดีเบต’แกนนำปชป.

อย่างไรก็ดี รมว.กลาโหม พูดฉุนๆว่า”บอกก็ไม่เชื่อว่าไม่มีอะไร มาคุยกันใกล้ๆดีกว่า ผมพร้อมจะดีเบต กับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ แต่ต้องดูความเหมาะสม ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตุว่า เป็นคู่ชกที่สูสีกัน ไม่อยากไปคิดอย่างนั้น แต่อธิบายกันใกล้ๆจะได้พูดกันรู้เรื่อง” นอกจากนี้ ในส่วนการจัดตั้งศูนย์บบรเทาความช่วยเหลือมนุษยชน หรือ SADR นั้นยังไม่ได้พิจารณาเป็นเรื่องอีกนาน ค่อยๆว่ากัน ยังไม่รีบร้อน ส่วนจะถูกต่อต้านอีกหรือไม่ ก็ว่ากันมา ยกสองว่ากันต่อ

ปูอุบไม่อยากพูดเรื่องการเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า หลังจากน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เนื่องในวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรี ครบรอบปีที่80และเป็นประธานในพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์เสร็จสิ้น สื่อมวลชนพยายามซักถามถึงกรณีที่นาซาขออนุญาตใช้สนามบินอู่ตะเภา ปรากฎว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามบอกเพียงสั้นๆว่า”วันนี้เป็นวันดี ไม่อยากคุยเรื่องการเมือง”ก่อนจะเดินเลี่ยงผู้สื่อข่าวออกไป

เหลิมเย้ยปชป.ไร้ข้อมูลเด็ดนาซา

ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นาซ่าประกาศยกเลิกการขอใช้สนามบินอู่ตะเภาว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ต้องสอบถามนายกรัฐมนตรี แต่หากมีการเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือกรณีดังกล่าว ตนก็พร้อมชี้แจงข้อมูลด้านกฎหมายและยังเชื่อว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ มีข้อมูลสำคัญในเรื่องนี้ คงเปิดเผยออกมาแล้ว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีข้อมูลอะไรใหม่

ขุนค้อนชี้สภาอาจไม่จำเป็นต้องถก

ขณะที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่าขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้รับการประสานจะให้นำเรื่องนาซ่าขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเข้าสู่การประชุมรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา179เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ แต่จะเปิดตามคณะรัฐมนตรี(ครม.)หรือไม่ คงต้องพิจารณาอีก ส่วนกรณีที่นาซ่าล้มเลิกโครงการในไทยแล้วนั้น ถ้าเป็นจริง ก็คงไม่ต้องประชุมเพื่อพิจารณาแล้วแต่น่าเสียดายประเทศไทยเสียโอกาสตรงนี้ไปแต่ถ้า ครม.ยังยืนยันที่จะให้นำเข้ารัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงเหตุผลก็ยังสามารถทำได้ ถ้าเห็นว่าจำเป็น

พท.จวก ปชป.ทำไทยเสียโอกาส

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าการที่ นาซ่ายกเลิกการใช้อู่ตะเภาโดยไม่รอ ครม.หรือการพิจารณาของรัฐสภาไทยว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยและประเทศไทยต้องเสียโอกาสที่เกิดจากการเล่นเกมของฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ทำให้รัฐบาลต้องมีมติส่งเรื่องให้รัฐสภาพิจารณา ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังโยนบาปมายังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและครม.ว่ารัฐบาลเล่นเกม ทำเป็นประเด็นการเมือง

ขู่ฟ้องรบ.มาร์คลงนามไม่ผ่านครม.

โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าสัปดาห์หน้าจะยื่นฟ้องเอาผิด ครม.ชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช อดีต รมว.วิทยาศาตร์ฯในข้อหาละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรา157ตามประมวลกฏหมายอาญาเนื่องจากไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศหรือจิสด้า ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับนาซ่ามีขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน2553มีคุณหญิงกัลยา เป็นรมว.วิทยาศาสตร์ฯโดยไม่ผ่านครม.เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงว่าใครทำให้คนไทยเสียโอกาส เพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง และไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอย่างนี้อีก

โอ๊คเฉ่งมาร์คสมใจนึกนาซ่าล้ม

และมีรายงานข่าวว่านายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กโดยยกคำสัมภาษณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อกรณี นาซ่า ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาอาทิ"ฝ่ายค้านท้าโปร่งใสเอาไปถกในสภา"หรือ"ขู่ฟ้องดะอาญาตั้งแต่หัวยันท้าย"โดยระบุว่า นี่ยืนยันจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ครับว่าคัดค้านการ อนุมัติให้นาซ่าเข้ามาใช้อู่ตะเภาในการสำรวจ ถ้าใครตอบว่าได้แปลว่าพรรคประชาธิปัตย์ชนะแล้วครับ

"ในเว็บไซต์ของนาซ่า ได้ระบุว่านาซ่าเขายกเลิกภารกิจแล้ว ไม่ทราบว่าจะเป็นที่ถูกอกถูกใจพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ขออย่างเดียว อย่าบอกว่าไม่ใช่ความผิดของประชาธิปัตย์แต่เป็นความผิดของรัฐบาลนะครับ ผมว่ามันดูไม่สง่างามทางการเมืองเลยครับ"

เตรียมแฉ ใครได้ประโยชน์

ในโพสต์หน้าจะชี้ให้เห็นข้อมูลเชิงลึกของพรรคประชาธิปัตย์เปรียบเทียบกับ ข้อมูลเชิงลึกของนาซ่าเกี่ยวกับโครงการนี้ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าเข้ามาจารกรรมสอดแนมเอาผลประโยชน์ อีกฝ่ายบอกว่าการสำรวจจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชา จะเป็นข้อมูลในการป้องกันภัยพิบัติ จะเชื่อใครอยู่ที่วิจารณญาณแต่ละคน แต่เพียงรู้ว่าต้องมีฝ่ายหนึ่งโกหก

ซัดรบ.ต้นเหตุยกเลิกโครงการ

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นาซายกเลิกโครงการขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อสำรวจสภาวะเมฆในประเทศไทยว่ารัฐบาลมีหน้าที่ไปชี้แจงและเมื่อการประสานงานไม่เรียบร้อย ก็ต้องไปพูดคุยกันเพราะเชื่อว่าหากสหรัฐฯมีความตั้งใจที่จะมาทำงานวิจัยก็สามารถเจรจาพุดคุยในอนาคตได้ รัฐบาลจะมาโทษฝ่ายค้านไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ มีเวลาทำงานมากว่า1ปีก็ไม่ทำให้เกิดความชัดเจนเอง

พร้อมรับคำท้าสุกำพลดีเบต

นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวยอมรับคำท้า พล.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหมออกมาท้าดีเบตในเรื่องนี้ ขอให้พูดถึงเนื้อหาสาระ อย่าพูดเรื่องไร้สาระเพราะตั้งแต่ตั้งคำถามไปไม่เคยได้สาระกลับมาสักเรื่อง ส่วนที่นาซ่ายกเลิกขอใช้สนามบินอู่ตะเภา จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตาม มาตรา179หรือไม่ หากอยากจะให้แสดงความคิดเห็นหรืออยากจะชี้แจงข้อมูล ก็เป็นสิทธิของรัฐบาลที่จะนำเข้าสู่สภาได้ หากจะมีความร่วมมือในลักษณะนี้ในอนาคตอีก จะมีก็สามารถไประดมความเห็นกันได้ แต่หากคิดว่าไม่มีการทำแบบนี้อีกแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอีกทำไม

ชี้เป็นบทเรียน-หนุนชี้แจงทุกปท.

ส่วนที่มีข่าวว่าจีนอาจจะไม่พอใจไทยกับเรื่องดังกล่าวนั้น นายอภิสิทธิ์เห็นว่า เราต้องไปชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกประเทศทั้งสหรัฐฯและมิตรประเทศในภูมิภาคทั้งหลาย ถือเป็นบทเรียน หากเป็นเรื่องสำคัญมีความละเอียดอ่อน จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย จะทำให้ราบรื่นมากกว่านี้ซึ่งพร้อมอยากให้รัฐบาลดูปฏิริยามิตรประเทศอย่างจีน ต้องดูประโยชน์ของส่วนรวม ให้รอบคอบ รอบด้านก็เราไม่ได้ต่อต้านงานวิจัย แค่อยากให้เกิดความโปร่งใส รอบคอบ ไม่สร้างความหวาดระแวงในภูมิภาคเพื่อให้มีผลกระทบกับประเทศไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

สื่อจีนแฉใช้เครื่องบินสอดแนมได้

ด้าน นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่าได้มีสื่อของรัฐบาลประเทศจีนคือ ซีซีทีวี(CCTV)ได้รายงานข่าวว่าเครื่องบินที่นาซานำมาใช้ในการสำรวจภูมิอากาศเป็นเครื่องบินที่สมรรถนะสูง คือ เครื่องบิน ER2 ที่เป็นเครื่องบินที่ใช้สอดแนม สามารถบินในเพดานบินที่สูงมาก ไม่สามารถควบคุมตรวจสอบได้ โดยเฉพาะเรดาร์ของประเทศในแถบเอเชีย ไม่สามารถตรวจจับการบินได้ รวมถึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะใช้เพื่ออะไร ทั้งที่เหตุผลที่ขอใช้อู่ตะเภาเป็นเหตุผลที่ดีที่จะต้องการตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการรายงานข่าวของประเทศจีนที่สะท้อนถึงความห่วงใย สิ่งเหล่านี้ทำไม พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหมไม่ชี้แจงกับจีนรวมถึงข้อสังเกต6ข้อของสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ที่ทางรัฐบาล ฝ่ายความมั่นคงและผู้เกี่ยวข้อง ยังไม่ทำความเข้าในในเรื่องนี้ แบบนี้คือคนที่ไม่ใช่ลูกผู้ชาย ทำให้ชาติเสียหาย

ที่มา.หนังสือพิมพ์แนวหน้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ถอนประกันตัว (ตู่) จตุพร. จุลสิงห์. ย้ำต้องถามความเห็นอัยการ !!?

อัยการสูงสุดระบุตามกระบวนการปรกติการถอนประกันตัวจำเลย ศาลต้องสอบถามความเห็นจากอัยการเจ้าของสำนวนด้วย แต่ศาลอาญายังไม่สอบถามเรื่องถอนประกัน “จตุพร” มาที่อัยการ ยืนยันพิจารณาสั่งคดีทุกคดีเป็นธรรม ไม่อยากให้มองว่าเข้าข้างฝ่ายใด ส่วนสั่งไม่ส่งเรื่องตีความตามมาตรา 68 ไม่ได้ต้องการงัดข้อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทำตามหน้าที่ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้รอ 15 วัน รู้ผลรับพิจารณาคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเรื่องที่ “จตุพร” ขอให้ชี้แจงเหตุผลยื่นถอนประกันตัวหรือไม่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกระบวนการทำลายองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรมโดยมีเป้าหมายเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญควบคุมกระบวนการยุติธรรมและยึดอำนาจตุลาการ

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าไม่มีคนของพรรคเพื่อไทยไปปลุกระดมเพื่อหวังอะไร ไม่มีใครข่มขู่กดดันศาล การที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส. ของพรรคไปยื่นเรื่องถามเหตุผลจากศาลรัฐธรรมนูญที่ยื่นถอนประกันตัวถือเป็นการใช้สิทธิที่มี ทุกคนทำตามกรอบกฎหมายอยู่แล้ว เพราะหากนอกกรอบก็ต้องถูกดำเนินการ

นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า เรื่องที่นายจตุพรมายื่นขอให้ชี้แจงเหตุผลยื่นถอนประกันตัว และเรื่องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา มายื่นให้สอบยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา 68 ถูกบรรจุในสารบบของศาลแล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามขั้นตอน เรื่องยังไม่ถึงคณะตุลาการ โดยจะมีการแต่งตั้งตุลาการประจำคดีขึ้นพิจารณาว่าจะรับเรื่องไว้หรือไม่ภายใน 15 วัน

นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด กล่าวตอนหนึ่งในการอภิปรายเรื่อง “องค์กรอัยการกับการพัฒนากฎหมายและสำนักงานอัยการสูงสุดในสายตาสื่อมวลชน” ว่าในการสั่งคดีไม่อยากให้มองว่าอัยการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะอัยการต้องวางตัวเป็นกลางและเป็นธรรม ส่วนการวินิจฉัยตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ อัยการไม่ก้าวล่วงกระบวนการวินิจฉัยขององค์กรอื่นๆ คณะกรรมการอัยการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าไม่เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองจึงงดส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากอัยการไม่สั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเรื่องนี้ก็เสี่ยงถูกเอาผิดละเว้นทำหน้าที่ตามมาตรา 157

ส่วนการที่ศาลรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องต่อศาลอาญาให้ถอนประกันนายจตุพร จำเลยคดีร่วมกันก่อการร้าย ตนเคารพการใช้ดุลยพินิจขององค์กรอื่น อย่างไรก็ตาม เรื่องการถอนประกันตามปรกติศาลต้องสอบถามความเห็นมายังอัยการเจ้าของสำนวนด้วย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการสอบถาม

ที่รัฐสภา กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 40 (ส.ส.ร.40) นำโดยนายคณิน บุญสุวรรณ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ร่วมกันออกจดหมายเปิดผนึกถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรคแรก ว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ โดยระบุว่า มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ลอกมาจากมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 การรับตีความถือเป็นการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะตามเจตนารมณ์แล้วต้องยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดทุกเรื่อง เพื่อให้กลั่นกรองตรวจสอบ การอ้างว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกยกเลิกไป ศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของชุดเดิมถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีบรรทัดฐานอะไรเลย

“เจตนารมณ์ดั้งเดิมของรัฐธรรมนูญ 40 การบัญญัติการกระทำผิดตามมาตรา 63 ว่าการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือการใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจเท่านั้น การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือเป็นการล้มล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเอง ถึงขั้นบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดยพลการ ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นอย่างไรย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะเท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว สามารถควบคุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และประชาชนได้ ซึ่งจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดวิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุดจนมิอาจพยากรณ์ได้” จดหมายระบุ

นายราเมศ รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนเสื้อแดง เลิกกดดันศาลรัฐธรรมนูญด้วยการข่มขู่ว่าจะเอาคลิปมาเปิดเผยในช่วงที่ศาลจะเปิดไต่สวนก่อนตัดสินคำร้องที่ยื่นตามมาตรา 68


ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

สาระพัดระเบิดเวลา รบ.ปู เสี่ยง อยู่ไม่รอด !!?


บ้านเมืองยามนี้ดูเหมือนจะเต็มไปด้วยปัญหาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยด้านการเมืองนับวันจะแตกแยกลุกลามรุนแรงแทบมองไม่เห็นหนทางสู่ความปรองดอง ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจอยู่ในท่ามกลางความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลอยู่ในสภาพถังแตกเพราะมือเติบใช้เงินเกินตัว ส่วนด้านสังคมขณะนี้เต็มไปด้วยอาชญากรรมอุกฉกรรจ์มากผิดปกติ ขณะที่พฤติกรรมเยาวชนของชาตินับวันจะเหลวแหลกเสื่อมทรามมากขึ้นทุกขณะ

แต่ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคืออุณหภูมิทางการเมืองที่มีแนวโน้มเดือดพล่านร้อนแรงขึ้นทุกขณะและอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ โดยเฉพาะกับรัฐบาลทักษิณส่วนหน้าภายใต้การนำของ นายกฯนกแก้วยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งกำลังเผชิญกับระเบิดเวลาทางการเมืองลูกใหญ่หลายลูกนับจากนี้เป็นต้นไป

ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มตึงเครียดขึ้นทุกขณะใกล้จุดแตกหักจึงไม่แปลกที่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว. ศึกษาธิการ จะออกมาทำนายว่า รัฐบาลปูอาจจะอยู่ได้ไม่เกินสิ้นปี
ด้วยหลายปัจจัย ซึ่งการทำนายของ นายสุชาติ สอดคล้องกับการประเมินของนักสังเกตการณ์ทางการเมืองที่คาดว่า จากนี้เป็นต้นไปรัฐบาลปูจะต้องเผชิญระเบิดเวลาทางการเมืองลูกใหญ่หลายลูกจนอาจอยู่ไม่ได้ในที่สุด

ระเบิดเวลาลูกแรกก็คือกรณีศาลรัฐธรรมนูญเตรียมวินิจฉัยชี้ขาดว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันและส่อเจตนาเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศหรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญนัดคู่กรณีไต่สวนในวันที่ 5-6 ก.ค.นี้และคาดว่าจะวินิจฉัยชี้ขาดได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งมี สส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงชื่อเสนอกว่า 300 คน และในขั้นวาระที่ 1 และ 2 มีสส.และสมาชิกวุฒิสภา(สว.)ฝ่ายรัฐบาลลงมติสนับสนุน 416 คนเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญและเจตนาเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศก็จะทำให้รัฐบาลล้มทั้งยืน สส.พรรคร่วมรัฐบาลและเหล่าสว.ต้องรับโทษถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีไม่รวมโทษทางอาญาฐานกบฏ และพรรคที่ร่วมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีสิทธิ์ถูกยุบพรรค

ด้วยเหตุนี้เองบรรดาแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต สส.พรรคเพื่อไทย และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ สส.พรรคเพื่อไทย ถึงต้องเรียงหน้าออกมาปลุกระดมมวลชนคนเสื้อแดงให้ทำสงครามแตกหักกับศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะมีการวินิจฉัยชี้ขาด

นายณัฐวุฒิ ถึงกับส่งสัญญาณว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจนทำให้รัฐบาลชุดนี้มีอันเป็นไปคนเสื้อแดงยอมไม่ได้อย่างเด็ดขาดและบ้านเมืองอาจลุกเป็นไฟอีกครั้ง

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงระเบิดเวลาอีก 2 ลูกใหญนั่นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการผลักดันพ.ร.บ.ที่อ้างการสร้างความปรองดองบังหน้าแต่อำพรางเป้าหมายแอบแฝงเพื่อลบล้างโทษความผิดทั้งหมดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเหล่าแกนนำคนเสื้อแดงที่เป็นผู้ต้องหาก่อการร้ายเผาบ้านทำลายเมืองรวมทั้งทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทรัพย์สิน 46,000 ล้านบาทที่ถูกยึดตกเป็นของแผ่นดินคืน ซึ่งล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณส่งสัญญาณให้เดินหน้าลุยผลักดันกฎหมายทั้งสองฉบับเต็มที่หลังเปิดสภาสมัยสามัญวันที่ 1 ส.ค.นี้ ซึ่งนั่นหมายถึงการนำไปสู่การต่อต้านจากพลังมหาชนครั้งใหญ่

ส่วนระเบิดเวลาลูกใหญ่อีกลูกหนึ่งซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
 ก็คือการเดิมเกมบิดเบือนและใช้คดีเหยื่อ 6 ศพในวัดปทุมวนารามในเหตุการณ์ก่อการร้ายเผาบ้านทำลายเมืองเมื่อปี 2553 มาเป็นเครื่องมือป้ายสีและทำลายกองทัพด้วยข้อกล่าวหาว่าฆ่าประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ฝ่ายตำรวจได้ให้การต่อศาลในเชิงปรักปรำฝ่ายทหาร จนโฆษกกองทัพต้องออกมาตอบโต้
ขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงและสส.พรรคเพื่อไทยนำโดยสองสามีภรรยาสหายเก่า นางธิดา ถาวรเศรษฐ์

ประธานกลุ่มคนเสื้อแดง และ นพ.เหวง โตจิราการสส.พรรคเพื่อไทย ที่นำญาติเหยื่อ 6 ศพในวัดปทุมวนารามไปให้การต่อศาลโลกและพยายามสร้างกระแสปรักปรำกองทัพและรัฐบาลชุดที่แล้วในเวทีสากล

อีกทั้งแกนนำคนเสื้อแดงและสมาชิกพรรคเพื่อไทยอย่าง นายอดิศร เพียงเกษ ประกาศปลุกระดมอย่างเหิมเกริมกลางเวทีคนเสื้อแดงเสนอให้สถาบันสูงสุดเป็นเพียงสัญลักษณ์เหมือนประเทศญี่ปุ่นหรือกัมพูชาขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงหลายคนสะท้อนแนวคิดต้องการให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศ ซึ่งพฤติกรรมทั้งหมดของรัฐบาลและแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงเชื่อว่าเป็นสิ่งที่กองทัพยอมรับไม่ได้และอาจนำไปสู่จุดแตกหัก

จากระเบิดเวลาทั้งหมดทำให้รัฐบาลทักษิณส่วนหน้าตกอยู่ในภาวะยากลำบากและเผชิญความเสี่ยงสูงที่จะต้องพบจุดจบไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

ที่มา.หนังสือพิมพ์แนวหน้า
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิกฤติความขัดแย้ง..แสงตะเกียงยังริบหรี่ !!?

วิกฤติและความขัดแย้งทาง การเมืองเชิงสถาบัน ถูกมอง เป็นพันธนาการที่รัดรึงกระบวนการพัฒนาของระบอบประชา ธิปไตย ที่ก่อร่างสร้างตัวในประเทศไทย อย่างน่าเป็นห่วง

80 ปีที่ผ่านมา ประชาธิปไตยของประเทศไทยเดินหน้า ถอยหลังซัดเซเหมือน คนเมาที่หาหลักจับไม่ได้ แม้จะมีความพยายามที่จะศึกษา พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับอัตลักษณ์ของสังคมไทยเพียงใดก็ตาม เมื่อไม่กี่วันมานี้ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันศูนย์ติดตาม ประชาธิปไตย จัดงาน “80 ปี ประชาธิปไตย : รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย” ภายในงานมีการเสวนาหัวข้อ “วิกฤติและความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน” เพื่อพยายามหาทางออกให้กับสังคมไทย แม้จะไม่ใช่ทางออกที่จะแก้ปัญหาที่สั่งสมมานานแต่ก็ถือเป็นอีกแสงสว่างหนึ่งในการจะคลำทางไปสู่ทางออกของสังคมไทย

ภายในวงเสวนาครั้งนี้มี ทั้งนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงบุคลากรผู้คร่ำหวอด ในวงการการเมืองอย่าง ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อ.ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และประธาน สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์

> “ความขัดแย้ง”..ต้องควบคุมให้อยู่

“อนุสรณ์ ลิ่มมณี” กล่าวถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่อย่า ให้ลุกลามไปถึงสงคราม เพราะเราสร้างภาวะสงครามขึ้นมานาน โดยเฉพาะในรอบ 10 ที่ผ่านมา เป็นไปในแง่ที่แย่ลง ไม่มีผลดีที่จะพัฒนาให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งบัดนี้ เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และมั่นคงได้ เรายังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน หัวเลี้ยวหัวต่อมาเรื่อยๆ แม้จะปฏิรูป แต่ก็กลับไปสู่ภาวะเดิมเริ่มต้นกันใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้นสถาบันต้องประคองไว้และให้ ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ถ้าขัดแย้งก็หาทาง ออกภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ เชื่อว่าจะได้ประชาธิปไตยที่เต็มรูปแบบ

“สำหรับความขัดแย้งเชิงสถาบันที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นความขัดแย้งในหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งแน่นนอนว่าความขัดแย้งเกิดจากการที่แต่ละฝ่าย พยายามผลักดันให้กลไกเป็น ไปในด้านที่ตนเองจะได้เปรียบ และได้ประโยชน์โดยเชื่อว่าสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ฉะนั้นแต่ละฝ่ายจึงเปิดสงครามโดยอ้างประชาธิปไตย และทะเลาะกันว่า ใครเป็นประชาธิปไตยมากกว่ากันทั้งๆ ที่ ทั้งสองฝ่ายเป็น “ขา” ของประชาธิปไตยที่ขาดไม่ได้”

“อนุสรณ์” พูดถึง 2 หลักการสำคัญของประชาธิปไตย คือ 1.หลักการเสียงข้าง มาก ที่มีตัวแทนคือ รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีความยึดโยงกับประชาชนโดย ตรงจากการเลือกตั้ง และ 2.หลักการการ ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการตรวจสอบอำนาจรัฐ โดยมองว่า ฝ่าย ตุลาการเป็นกลไกที่ดีที่สุดที่สามารถตรวจ สอบได้

ความขัดแย้งเชิงสถาบันจริงๆ แล้ว เป็นปัญหาที่ฝ่ายหนึ่งยึดหลักเสียงข้างมากอย่างเดียว โดยไม่ยึดหลักการตรวจสอบ และคุ้มครองสิทธิผู้อื่น ในขณะที่อีกฝ่ายก็ใช้การตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิตนเองจากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐบาล ซึ่งฝ่ายนี้ก็มักจะมีการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนการปกครองโดยการยึดอำนาจ ซึ่ง ไม่ถูกต้อง ฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนในเชิงสถาบันว่า การยึดอำนาจด้านใดด้าน หนึ่งไม่ได้แก้ปัญหา แต่เพิ่มปัญหามากขึ้น นั่นคือการยึดขาใดขาหนึ่งโดยไม่มอง ขาอีกด้านนั้นทำให้มีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งเรื่อยๆ และไม่ได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

“หากคิดจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง และมีประชาธิปไตยให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วย กันได้ โดยมีรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนเสียงข้างมาก และมีตุลาการเป็นตัวแทนตรวจสอบ โดยทั้งสองสถาบัน สามารถทำงานได้ภายใต้เกมประชาธิปไตย เดียวกัน และเมื่อเกิดข้อขัดแย้งก็หาทาง ออกภายในกรอบกฎหมาย หากเป็นเช่นนี้ เราก็จะได้ทั้งสองอย่าง คือได้ประชาธิปไตย ที่สะท้อนเสียงข้างมากของประชาชน และปกป้องสิทธิของคนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็สามารถที่จะควบคุมการใช้อำนาจได้”

> ภาวะซ่อนเร้นของปัญหาสู่ความแตกแยก

“สุรชาติ บำรุงสุข” กล่าวถึงการรัฐประหารปี 2549 เป็นการเปิด “กล่อง” ที่บรรจุความขัดแย้งบางอย่างในสังคมไทย โดยเชื่อว่าความขัดแย้งชุดหนึ่งคือ สังคมเมืองและชนบท ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นบนและชนชั้นล่าง โดยซ่อนโครง สร้างความขัดแย้งใหญ่อยู่ด้วย นั่นคือ ความสัมพันธ์ของทหารและพลเรือนที่จาก การเลือกตั้ง รวมถึงความขัดแย้งในระบบ ทุนนิยม ซึ่งผลพวงอย่างนี้ทำให้เห็นปัญหา ประมาณ 10 เรื่องซ่อนอยู่กับปัญหาที่เกิด ขึ้น ได้แก่

1.การเมืองต้องเผชิญกับการไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

2.สังคมไทยอยู่บนภาวะการเผชิญหน้า และแตกแยก และความเป็นขั้วที่สูงที่สุด

3.จะทำอย่างไรกับการเมืองภาคประชาชนที่ยังอ่อนแอ

4.ความอนุรักษ์นิยมขับเคลื่อนผ่านเสาหลัก 5 เสา ตุลาการภิวัตน์ สื่อภิวัตน์ ประชาภิวัตน์ ปัญญาชนภิวัตน์ และเสนาภิวัตน์ โดยเชื่อว่าทิศทางและเสาหลักนี้จะยังขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ

5.การเมืองของมวลชนบนถนนจะมีมากขึ้น

6.พลังของการรัฐประหารไม่เหมือน เก่า อาจต้องเริ่มคิดใหม่ในส่วนของบทบาท ทหารกับการเมืองไทย

7.เราจะเห็นพื้นที่ของการเมืองใหม่ กระแสใหม่และตัวแสดงใหม่

8.ชนชั้นนำยังเชื่อในประชาธิปไตยแบบชี้นำ โดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของชนชั้นนำ

9.ไม่มีแนวทางประนีประนอมและปรองดอง โดยมองว่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะเด็ดขาด หรือคุยไปเรื่อยๆ จนถึงจุดยุติที่ต่างฝ่ายต่างยอม ซึ่งไทยไม่เกิดบรรยากาศทั้งสองอย่าง

10.โลกรอบๆ รัฐไทยกำลังเปลี่ยน แปลง ทำให้ไทยถูกปิดล้อม

> ระบบตุลาการก้าวสู่อำนาจเกินเหตุ

“จาตุรนต์ ฉายแสง” กล่าวว่า 80 ปีที่ผ่านมาเป็นปัญหาที่สำคัญ คือ อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยจริงหรือไม่ แค่ไหน และมีความขัดแย้งของผู้ที่มีอำนาจ หรือองค์กรที่มีอำนาจที่ยึดโยงกับ ประชาชนและอีกฝ่ายคือผู้ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนซึ่งพบว่า 80 ปีมานี้ ไทยปกครอง กันมาโดยผู้ปกครองที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ลำพังค่อนข้างนาน และเป็นผู้ปกครองที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนอยู่ในฐานะที่มาก กว่าและครอบงำอยู่

“ความขัดแย้งทางสถาบันกำลังจะพัฒนาไปสู่การที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังขยายขอบเขตอำนาจของตนเอง และมีอำนาจสูงกว่าอธิปไตยอื่น ซึ่งตามหลักการ แบ่งแยกอำนาจ คงไม่อยากให้ศาลมีอำนาจ สูงสุด ซึ่งสำหรับบทบาทของตุลาการ ถ้าในแง่ของการดูแลความถูกผิด รักษากฎหมาย มีปัญหาอยู่ตรงที่การไม่มีการยึดโยงและไม่สามารถตรวจสอบได้โดยประชาชน และมีปัญหาใหญ่กว่านั้นคือ บทบาทของฝ่ายตุลาการที่เป็นฝ่ายที่รับรองการรัฐประหาร และทำให้รัฐธรรมนูญใน 80 ปีไม่ใช่สูงสุดจริง อำนาจอธิปไตยไม่เป็นของ ประชาชนเลย”

> เผด็จการรัฐสภากินรวบ

“จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” กล่าวว่า ระบบประชาธิปไตยไทยยังล้มลุกคลุกคลาน โดยเราเผชิญกับการปฏิวัติรัฐ ประหาร เผชิญกับปัญหาเผด็จการทหาร ซึ่งจะตัดตอนเฉพาะหลังเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ไม่ได้ ในขณะที่ปัญหาของ ประชาธิปไตยใหม่ยุคปัจจุบัน คือเรากำลัง เผชิญกับการเปลี่ยนเผด็จการทหารเป็นเผด็จการรัฐสภา ที่ไม่ได้หมายถึงมีเสียงข้างมากแล้วเผด็จการ แต่หมายถึง การใช้เสียงข้างมากผ่านกลไกบริหารนิติบัญญัติและกลไกอื่น เพื่อให้ได้อำนาจเบ็ดเสร็จ และผลประโยชน์ทุกรูปแบบ หรือ ที่เรียกว่า กินรวบกินเรียบประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นภัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตย และในที่สุดก็จะกลายเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเกิดเผด็จการทหาร โดยอ้างเผด็จการรัฐสภา และวนเวียนเป็นวงจร อุบาทว์บ้านเรา

“ความจริงกรณีวิกฤติความขัดแย้งเกิดขึ้น ถ้าให้ 2549 เป็นเส้นกลาง ต้นเหตุ ผู้ขัดแย้งที่แท้จริงคือระบอบเผด็จการรัฐสภา กับผู้ต่อต้าน ในยุคก่อน 19 กันยาฯ มาจนถึงปัจจุบันคู่ขัดแย้งก็ยังไม่เปลี่ยน แต่เป้าหมายต่างกัน ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องการ สืบทอดอำนาจ แต่เป็นความต้องการเงินและอำนาจคืน กับฝ่ายที่ต่อต้านโดยเห็นว่า มาเอาคืนเงินและอำนาจคืนนั้นไม่ถูกต้อง และต้องการให้ทุกคนเคารพกติกา”

สำหรับทางออกระยะยาวของประเทศ ในการนำไปสู่การสมานฉันท์ ปรองดอง คือ เราต้องช่วยกันสร้างสังคมที่เคารพกฎหมาย กติกาที่เกิดขึ้นเป็นประเทศที่ปกครองด้วยหลักนิติรัฐ และมีหลักนิติธรรมเกิดขึ้น ส่วนในระยะสั้นต้องช่วยกันดึงฟืนออกจากกองไฟ ช่วยให้เกิดวิกฤติน้อยลง

ประชาธิปไตยยังไม่พ้นภัย เพราะ วันสองวันนี้มีการประกาศว่า ถ้าได้กลับ มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็จะทำเหมือนเดิมอีก ซึ่งหมายถึงการฟื้นระบบ เผด็จการรัฐสภากลับคืนมา และก็จะทำ ให้เกิดการยึดอำนาจอีกในอนาคต ประเทศจึงสุ่มเสี่ยงที่จะย้อนกลับไปเป็น เผด็จการทหารได้อีกครั้ง

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

นาซ่า..ไม่มาไทยปีนี้ครม.ส่งเรื่องเข้าสภากลัวถูกยุบพรรค ..!!?

ครม. ฟ่อไม่กล้ามีมติให้นาซ่าใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานปฏิบัติการบินสำรวจชั้นบรรยากาศ อ้างยังมีความสนับสนุนและเข้าใจคลาดเคลื่อนหลายด้านจำเป็นต้องส่งเรื่องเข้าสภา โดยขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามมาตรา 179 ในเดือน ส.ค. “สุรพงษ์” ยอมรับที่ประชุมกลัวถูกฟ้องยุบพรรคจึงไม่อยากเสี่ยง “อานนท์” เสียดายที่ชาติเสียโอกาส ระบุปีนี้มาสำรวจไม่ทันแล้ว และไม่แน่ว่าปีหน้าจะมาหรือไม่ เพราะนาซ่าต้องใช้อุปกรณ์สำรวจในส่วนอื่นของโลก

+++++++++++++

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมพิจารณากรณีที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซ่า) ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานปฏิบัติการบินสำรวจชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีการแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีหนังสือสัญญาที่ไทยจะส่งไปให้สหรัฐที่เขียนไว้กว้างๆนั้นใช้ภาษีที่ยืดหยุ่น ทำให้มีความเป็นห่วงเรื่องการตีความของศาล หากมีผู้ไปฟ้องร้องอาจมีผลให้ยุบพรรคได้ จึงมีการยกตัวอย่างกรณีการทำกับข้าวของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี มาเทียบเคียง

“ที่ประชุมห่วงเรื่องนี้มากเพราะกระบวนการบางอย่างยังไม่ยุติธรรมเท่าที่ควร จึงเห็นตรงกันว่าควรเอาเรื่องเข้าสู่สภา แต่เป็นการเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 179 เพื่อให้รัฐบาลมีเวทีชี้แจงข้อเท็จจริงลบล้างข้อมูลที่คลาดเคลื่อนของฝ่ายค้านโดยไม่มีการลงมติ ไม่ใช่การพิจารณาตามมาตรา 190 (2) อย่างไรก็ตาม การสำรวจการก่อตัวของเมฆฝนคงไม่ทัน เพราะกว่าสภาจะเปิดสมัยประชุมก็เดือน ส.ค. จึงทำให้เราเสียโอกาสเรื่องนี้ไป ใครที่เล่นการเมืองจนเกินงาม ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของชาติก็ต้องรับผิดชอบ”

นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า กล่าวว่า โครงการนี้จะเติมช่องว่างทางวิชาการที่เราขาด คือการเก็บชั้นบรรยากาศที่สำคัญในการปรับปรุงแบบจำลอง พยากรณ์เมฆ ฝน หมอกควัน ที่มีผลต่อสุขภาพและอากาศยาน เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ ครม. ตัดสินใจเช่นนี้

“ปีนี้เราเสียโอกาส ส่วนปีหน้าจะมาหรือไม่ต้องไปหารือรายละเอียดกันใหม่ เพราะนาซ่าต้องเอาเครื่องมือไปใช้ในส่วนอื่นๆของโลก”

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการลงนามในข้อตกลงที่เป็นการผูกมัดใดๆ แม้เรื่องนี้คณะกรรมการกฤษฎีกายืนยันว่าไม่เข้ามาตรา 190 (2) และพยายามให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว แต่ยังมีความเห็นที่แตกต่างและข้อกังวลใจอีกหลายเรื่องจากฝ่ายต่างๆ รัฐบาลจึงตัดสินใจให้ไปอภิปรายกันในสภาตามมาตรา 197 เพื่อเอาข้อมูลของแต่ละฝ่ายมาถกเถียงกัน

นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ครม. หมกเม็ดและหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะการอภิปรายในมาตรา 179 ไม่มีการลงมติ ไม่มีผลผูกพันกับ ครม. ที่ไปตกลงกับสหรัฐไว้แล้ว

“การที่รัฐบาลหลบเลี่ยงมาตรา 190 มาใช้มาตรา 179 เพื่อหนีการเปิดเผยหนังสือสัญญา คำขอใช้สนามบิน และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งอาจมีความไม่ชอบมาพากลหรือวาระแอบแฝงอย่างที่หลายฝ่ายกังวลอยู่ ทั้งเรื่องผลประโยชน์จากทรัพยากรและการสอดแนมด้านความมั่นคง” นายสุริยะใสกล่าวอีกว่า หลังการอภิปรายเสร็จหาก ครม. อนุมัติให้นาซ่าใช้สนามบินอย่างเป็นทางการ กลุ่มกรีนจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองให้ระงับมติ และจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญรวมถึงผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ข้อมูลที่ฝ่ายค้านนำมาเปิดเผยล้วนเป็นจริงที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ จึงต้องเอาเรื่องเข้าสภา

น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เหตุใดนาซ่าไม่สามารถตอบคำถามของสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ว่าการสำรวจสภาพอากาศต้องมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจน้ำมันเข้าร่วมด้วย

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มีเงินจ้างผีโม่แป้งได้ !!!?

บิณฑบาต หยุดเสียเหอะ..เพราะถึงจะเททองออกจากกรุมาขาย..เพื่อแปลสภาพมาเป็น “เงิน” ถึงอย่างไร ก็ “ล้มรัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้
เงินจ้างคนเลว ทำชั่ว ได้ทุกประการ
แต่ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มาด้วยเสียงสวรรค์นับสิบ ๆ ล้าน..คงล้มเธอไม่ได้ดอกท่าน
หยุดปั่นประเทศ เล่นกันตามระบบประชาธิปไตย “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” มีวาระละ ๔ ปี..เมื่อครบเทอมทำไม่ดี “ประชาชน” ก็จะเสือกไส ไม่เลือกเธอเสร็จสรรพ
เททองออกมาขาย..เพื่อล้ม “ยิ่งลักษณ์”ให้ได้...ขอบอกให้ไม่มีวัน สำเร็จหรอกครับ

+++++++++++++++++++++++

ผีเน่ากับโลงผุ
ไปงัดเอา “กลุ่มพัฒนาชาติไทย” เพื่อมาล้มรัฐบาลของคนทั้งประเทศ แผนนี้ จึงไม่บรรลุ
เหมือนที่ไปเอา “นายกฯ เขายายเที่ยง” พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาใหญ่ครองเมือง..แต่ก็ล้ม “ทักษิณ ชินวัตร” ได้ไม่สนิท
ใช้วิธีเอาคน “หัวซ้าย” มาไล่บี้บีฑา กับ “คนเสื้อแดง” เป็นยุทธวิธีที่ผิด
ไปปลุกเอา “ผีคอมมิวนิสต์” ขึ้นมาอาละวาด..ทั้งที่ก่อนหน้าที่ รับไม่ได้กับขบวนการ “ล้มสถาบัน”..แต่นี่กลับเชิดชู “หัวซ้ายรุนแรง”
ใครที่ขุดหลุดเอาผี “คอมฯ”ขึ้นมาโผล่...บอกได้คำโต ๆ ...ว่าแผนนี้เสียค่าโง่อย่างสุดแพง

++++++++++++++++++++++

รู้เขารู้เรา..ก็พอสู้กันได้
รุกหนักแบบจัดเต็ม ในการสอย “ส.ส.พรรคเพื่อไทย” ให้ร่วงหล่นหายไป
“สส.เก่ง” การุณ โหสกุล ขวัญใจชาวทุ่งดอนเมือง ถูก “กกต.” ของ “ท่านอภิชาต สุขัคคานนท์” จับแพ้ฟาล์ว พ้นจากสภาฯ
ด้าน “วอร์รูมพรรคเพื่อไทย”..รู้ว่าต่อไป เขาเตรียมสอยให้ร่วงทีละคน..ก็เตรียมแผนรับมือ กันเต็มอัตรา
ไปเอา “กลุ่ม สส.มัชฌิมา” ของ “สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่อยู่กับ “พรรคภูมิใจไทย” ของ “เนวิน ชิดชอบ” เข้ามาเสริมทัพ
ต่อให้สอย สส.มากกว่านี้...ก็ใช้กำลังเข้าบดขยี้?.ตีพรรคเพื่อไทย แตกยากขอรับ

++++++++++++++++++++++

สมบัติผลัดกันชม
ถึงคราวที่จะต้องมีการ เปลี่ยนตัว “แม่ทัพใหญ่” คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
“บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ที่ถูกโยกมาเป็น “รัฐมนตรีว่าการ” ต้องเปลี่ยนตัว เพื่อความมั่นคง ของรัฐบาล
เปิดทางโล่ง ให้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สวมหมวก ๒ ใบ เข้ามาเป็น “รัฐมนตรีว่าการกลาโหม” เพื่อคุมสถานการณ์
โดยจะได้ “เดอะโอ๋” พล.อ.พฤษณ สุวรรณทัต ว่าที่พ่อตา “หนุ่มโอ็ค” พานทองแพ้ ชินวัตร ก้าวย่างสามขุม เข้ามาเป็น “รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม” เพื่อคุมเกมการเมืองแบบตัวจริง
พล.อ.พฤษณ สุวรรณทัต..เป็นนักสู้บ๊ะสะบัด...เข้ามาคุมการปฏิวัติให้นิ่ง

++++++++++++++++++++++

ถูกมองข้าม
พอการเมือง ร้อนระอุ ก็โทรทางไกลมาสอบถาม
ถึงจะมองว่า เป็น “นายพลที่ตกยุค” แต่ทว่า.. “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” ยังซื่อสัตย์ต่อพรรคเพื่อไทย โดยไม่สละเรือทิ้งหนี
ถึงเพื่อนรักเพื่อนเลิฟ จปร.๗ อย่าง “พล.ต.มนูญกฤษ รูปขจร , “พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” จะชวนไปอยู่ด้วย ก็ปฏิเสธไม่ทุกที
หยั่งกะที่บอกนั่นแหละ พอข่าวปฏิวัติแพร่กระจาย ก็จะให้ “พล.อ.พัลลภ” ออกไปปราบ..โดยอำนาจและการสั่งการทหารนั้น ไม่เคยมอบดาบอาญาสิทธิ์ ให้เลย
ถ้าตั้งเป็น “รัฐมนตรี”... “บิ๊กพัลลภ”ชนเต็มที่..นี่ไม่มีอำนาจ ท่านจึงได้แต่นั่งเฉย ๆ

ที่มา.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ค้านดะ... แค่เกมป่วน หรือจ้องล้ม !!?

จะเป็นเพราะรู้แกวว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีดวง หรือเรียกว่า ดวงกุดเลยก็ว่าได้ สำหรับระบบยุติธรรมในยุคนี้
หรือจะเป็นเพราะว่าผยองในความโชคดี หรือในการที่ได้รับความเอื้อเอ็นดูจากกลุ่มบุคคลในระบบยุติธรรมบางกลุ่มมากเป็นพิเศษ จนไม่ว่าต่อให้เข้าตาจนสักเพียงใด ก็จะรอดสันดอนไปได้อย่างหวุดหวิดเฉียดฉิว

แม้จะต้องชนะฟาล์ว ชนิดค้านสายตาคนดูทั้งประเทศ หรือคนทั้งโลก ก็ไม่สน

แม้แต่กระทั่งจะดึงให้ระบบยุติธรรมสั่นคลอน ไปด้วยคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์”ก็ตาม ก็ไม่สนอีกเช่นกัน

เห็นได้ชัดจากท่าทีและการแสดงออกของพรรคประชาธิปัตย์ ในวันนี้ ที่เดินหน้าค้านดะ! ไปหมดทุกเรื่อง โดยไม่สนใจว่าจะเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์กับประเทศชาติหรือไม่

หรือแม้แต่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์จะเคยดำเนินการมาก่อนก็ตาม

กรณีล่าสุดคือเรื่อง องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซ่า ขอใช้เพื่อจอดอากาศยานขึ้นบินเพื่อตรวจสอบสภาพอากาศ ที่โดนพรรคประชาธิปัตย์ค้านดะจนกระทั่ง นาซ่าทำท่าว่าจะเป็นฝ่ายที่พร้อมยุติโครงการเสียเองแล้ว

ในเมื่อพรรคฝ่ายค้านของไทยค้านดะ โดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ โดยตั้งสมมุติฐานเอาเองเพียงแค่ว่า เรื่องนี้เป็นการทำเพื่อแลกเปลี่ยนกับการออกวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริกาให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

หากคิดได้แค่นี้ ยังคงก้าวข้ามไม่พ้นคนๆเดียว และมีอคติจนดันทุรังโยงทุกอย่างเข้าไปเป็นเกมการเมือง หวังปลุกเร้าคนไทยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นตัวการอยู่เบื้องหลัง จึงต้องปิดหูปิดตาค้านหัวชนฝา

นาซ่า เจอแบบนี้ ย่อมไม่อยากที่จะเข้าไปในวังวนหรือปลักน้ำครำการเมืองไทยให้เปรอะเปื้อนไปด้วย จึงเริ่มแสดงท่าทีแล้วว่า หากการเมืองไทยมีปัญหาจนทำให้การตอบรับโครงการล่าช้า ก็จะขอยุติโครงการเสียเอง

ทั้งๆที่พรรคประชาธิปัตย์ รู้อยู่แก่ใจลึกๆว่า โครงการการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) กับ โครงการการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพอากาศ (SEAC4RS) ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาโดยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่อย่างใด

เพราะโครงการ HADR ริเริ่มขึ้นมาโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยที่มีการไปนำเสนอต่อที่ประชุมอาเซียนสหประชาชาติครั้งที่ 3 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553
ปรากฏหลักฐานแจ้งชัด รัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลก รัฐบาลประเทศในภูมิภาครู้ด้วยกันทั้งนั้น

เช่นเดียวกับโครงการ SEAC4RS สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ก็ได้มาพูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม 2554 รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง

ที่สำคัญโครงการนี้ก็มิได้ดำเนินไปแบบงุบงิบหรือว่าเป็นการแอบดำเนินการ แต่ทำมาอย่างเปิดเผย โดยตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2553 มาแล้วที่องค์การนาซาของสหรัฐได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จีสด้า) เพื่อตรวจสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศ

ทั้งหมดนี้ล้วนริเริ่มขึ้นในสมัยของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ ทั้งสิ้น

แต่วันนี้นายอภิสิทธิ์ ซึ่งพ่ายแพ้การเลือกตั้งแบบหมดรูป จนต้องจำใจมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน กลับใช้เหตุแห่งการก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อทักษิณ เดินหน้าค้านดะในสิ่งที่เป็นคนที่ริเริ่มขึ้นมาเองกับมือ

และด้วยความที่รู้ทางว่า ในสภาวะปัจจุบันที่ “ตุลาการภิวัฒน์”ได้สร้างอิทธิปาฏิหาริย์จนทำให้พรรคเพื่อไทยไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าบุ่มบ่ามกับเรื่องที่อาจจะต้องมีการตีความโดยระบบยุติธรรมอีกต่อไปแล้ว

ก็ขนาดอำนาจ 3 เสาหลักตามระบอบประชาธิปไตย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ยังโดนเขย่าจากการตีความเข้าทางพรรคประชาธิปัตย์ และ 40 ส.ว.มาแล้ว แม้ว่าบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ นักกฎหมาย นักวิชการ จะออกมาบอกว่าการตีความออกคำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจผูกพันที่จะมาแทรกแทรงรัฐสภาได้ ให้เดินหน้าชนเลย

แต่พรรคเพื่อไทยก็ไม่กล้าเสี่ยง ต้องยอมถอย

พรรคประชาธิปัตย์ก็ย่อมย่ามใจ และทำให้ในครั้งนี้ก็ใช้แนวเดิมคือลากเข้า ม.190 จนได้ ทั้งๆที่ในตอนที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ทำเรื่องนี้ไม่ได้มีการพูดถึงหรือเอามาผ่านกระบวนการ ม.190 สักแอะ

ประชาธิปัตย์สั่งระบบยุติธรรมได้หรือไม่??? คงไม่มีใครที่จะระบุยืนยันชัดเจน ได้แต่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่รู้อยู่แก่ใจเห็นอยู่ด้วยตากับสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา
สั่งได้สั่งไม่ได้ไม่รู้ แต่ที่รู้แน่ๆเวลานี้ประชาธิปัตย์ผยองมากกับการดึงทุกเรื่องให้ผ่านกระบวนการตีความของระบบยุติธรรม

ฉะนั้นวันนี้จึงป่วยการเปล่าที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการวิจัย ไม่ใช่เรื่องทางทหาร เนื่องจากนาซาเข้ามาเรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ และทางกระทรวงกลาโหมก็จะส่งคนไปร่วมทีมด้วย เพื่อดูแลด้านความมั่นคง

เช่นการขึ้นไปตรวจสอบเครื่องบินที่จะมาสำรวจสภาพอากาศว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง

ยิ่งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีการตีประเด็นสร้างกระแสขึ้นมาว่า ประเทศนั้นประเทศนี้อาจจะไม่พอใจ โดยเฉพาะประเทศจีนนั้น เอาเข้าจริง พล.อ.อ.สุกำพลก็ยืนยันว่าทางประเทศจีนไม่ได้สอบถามอะไร และไม่มีปัญหาอะไร รวมทั้งไม่ได้เสดงความห่วงอะไรเลย มีแต่คนไทยเท่านั้นที่ห่วงแทนประเทศจีน

“จีนก็ไม่ได้มีการทำหนังสือขอคำชี้แจงอะไร หากมีเรื่องอะไรกระทบกับจีนทางจีนคงพูดไปแล้ว วันนี้ทางจีนก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบอะไร”

อีกทั้งทางประเทศกัมพูชาและสิงคโปร์ก็อนุญาตให้เครื่องบินทั้ง 3 ลำของนาซ่าขึ้นบินสำรวจเหนือน่านฟ้า เพื่อภารกิจทำการวิจัยในเรื่องนี้ได้ เพราะเป็นประโยชน์ของทั้งโลก ไม่ใช่ของประเทศไทยหรือของนาซ่า หรือเฉพาะภูมิภาคนี้

“หากทำแบบที่เป็นอยู่ ผมคิดว่ามันไม่ได้เป็นการรักประเทศชาติ ต้องดูว่ามีขอบเขตแค่ไหน และควรแยกให้ออกว่าเรื่องวิจัยก็เป็นเรื่องของการวิจัย นำไปพันโน้นพันนี่ มันไม่ถูก ที่นำไปอ้างว่าจะเสียอธิปไตยนั้น ความจริงแล้วทางสหรัฐฯเสียอธิปไตยมากกว่า เพราะเจ้าหน้าที่เราสามารถขึ้นไปตรวจสอบเครื่องบินที่จะทำการสำรวจวิจัยได้ ดังนั้นอย่าไปคิดในทางที่ไม่ดี”

แต่นายอภิสิทธิ์ และแก๊ง หูอื้ออึงไปด้วยตัณหาการเมือง จนไม่ยอมรับฟังอะไรแล้ว จึงป่วยการที่จะชี้แจง

ก็ขนาดนายปณิธาน วัฒนายากร อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ซึ่งมีความเป็นนักวิชาการมากกว่าความเป็นนักการเมือง ก็ยังยอมรับเลยว่าตัวโครงการไม่น่ามีปัญหา เพราะเป็นโครงการทางวิทยาศาสตร์และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม

ส่วนการที่โครงการนี้เริ่มตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วทำไมไม่ออกมาบอกสังคมหรือทำไมไม่ต้องผ่านสภาม.190 นายปณิธานอ้างว่าโครงการนี้เริ่มตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้วก็จริง แต่ยังไม่ทำอะไรมาก เพราะเพิ่งเริ่มต้นที่เราไปติดต่อ ก็มีการประสานงานมาที่กระทรวงการต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปอะไร เพราะมีการเลือกตั้ง ความจริงโครงการนี้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย แต่ต้องบอกรายละเอียด

นอกจากนี้ยังอาจจะมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศด้วย เพราะหากเราดำเนินโครงการอาจจะทำให้จีนไม่พอใจเราจะเสียเพื่อนไปกลุ่มหนึ่ง แต่หากเราล้มเลิกโครงกาก็จะทำให้สหรัฐฯไม่พอใจเราก็จะเสียเพื่อนไปอีกกลุ่ม

ดังนั้นต้องถามรัฐบาลว่าเราดำเนินนโยบายแบบไหนจะทำแบบเลือกข้างหรือไม่ หรือเลือกที่จะคบทุกฝ่าย หากเราเลือกข้างก็ง่าย คือหากเราเลือกจีนก็ยกเลิกโครงการหรือเราเลือกสหรัฐฯก็ดำเนินการต่อไป แต่หากเราจะเลือกทุกฝ่ายก็ต้องทำงานหนัก ต้องไปอธิบายให้จีนเข้าใจ

“ตอนนี้ทางคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งมาต้องรีบศึกษารายละเอียดและสรุปผลให้เร็ว เพราะสหรัฐฯก็เร่งมา และเราก็ต้องไปอธิบายกับจีนด้วย หากชักช้าอาจจะเสียผลประโยชน์จากทุกฝ่าย ตอนนี้ไทยกำลังถูกกระชากลากถูไปมาให้ต้องเลือกข้าง รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายให้ดีอย่าสับสน”นายปณิธานกล่าว

จริงๆสิ่งที่นายปณิธานต้องการรายละเอียดนั้น ไม่ใช่แค่รัฐบาลจะให้คำตอบ ทางนาซ่าเองก็เปิดเผย ถึงขนาดที่จะเอา ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทยในนาซามาร่วมโครงการนี้ด้วย เพื่อให้ไทยสบายใจขึ้นว่า นาซามาเพื่อสำรวจสภาพอากาศจริงๆ

ที่สำคัญสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ก็ได้ทำคำชี้แจงแล้วว่า นาซาได้เสนอขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ เพื่อดำเนินงานค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบสภาพอากาศมรสุมในเอเชียและผลกระทบของการปล่อยก๊าซต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“โครงการดังกล่าวขององค์การนาซาเป็นการดำเนินการทางวิทยาศาสตร์เพียงประการเดียว และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สุขของมนุษยชาติ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งหมดทางอินเตอร์เน็ต และผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะนำไปตีพิมพ์ในวารสารด้านวิทยาศาสตร์”

และอย่าง นายธวัช วิรัตติพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ในฐานะผู้จัดการฝ่ายออกแบบและ ติดตั้งระบบการสื่อสารบนยานอวกาศไร้คนของนาซา ก็มีการให้สัมภาษณ์ว่า ที่หลายฝ่ายกังวลว่า กองทัพสหรัฐจะใช้นาซาเข้ามาล้วงความลับที่เป็นความมั่นคงนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ กองทัพสหรัฐมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัยกว่าที่หลายคนคิดและรู้เห็นมาก

“ที่สำคัญคือ นาซากับกองทัพ ไม่ค่อยจะยุ่งกัน ยิ่งเรื่องการไปก้าวล่วงอาณานิคมของประเทศอื่นแล้วเอานาซาเป็นข้ออ้างนั้น เป็นไปไม่ได้เลย เราจะไม่มีวันที่จะทำจารกรรมประเทศอื่น โดยใช้การสำรวจทางวิทยาศาสตร์มาบังหน้าเด็ดขาด หากกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพสหรัฐจะกระทำจารกรรมประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ หรือการดักฟังข้อมูล ข่าวสารต่างๆ เขาจะมีวิธีการอื่นที่ดีและแยบคายกว่านี้แน่นอน เราไม่มีวันที่จะรู้ได้เลย ดังนั้น สิ่งที่นาซาได้ร้องขอมายังประเทศไทยในโครงการนี้ เป็นการขอความร่วมมือ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนในโลก ไปตีความให้ยุ่งเหยิงและคิดมากไปเอง”นายธวัชกล่าว

เช่นกันกับ ดร.นริศรา ทองบุญชู ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเคมี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ซึ่งเคยเข้าร่วมวิจัยกัยนาซ่า ก็ยอมรับว่า นาซาเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด

แม้แต่สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศ ก็ทำรายงานถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยืนยันว่า

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับแวดวงวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการพยากรณ์และการป้องกันภัยพิบัติในภูมิภาคนี้

ชัดๆแบบนี้ มีคนยืนยันแบบนี้ มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากออกมาแสดงความเสียดายหากโครงการนี้แท้ง ในฐานะนักวิชาการนายปณิธานน่าที่จะเอารายละเอียดเหล่านี้ไปบอกให้พลพรรคประชาธิปัตย์ฟังบ้าง ก็จะดีกับประเทศชาติไม่น้อย

วันนี้ความกังวลของพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อมโยงฐานความคิดมาจากกลุ่มพันธมิตร ควรที่จะทบทวนว่าเป็นเรื่องอคติทางการเมืองจนเกินไปแล้วหรือไม่ หรือเป็นเจตนาจ้องล้มรัฐบาลใช่หรือไม่???

หรือจริงๆแล้วคือเกมการเมือง ที่ต้องค้านทุกเรื่องเพื่อไม่ให้รัฐบาลเดินหน้าใดๆให้เป็นผลงานได้ ยิ่งนับแต่วันที่นางสาวยิ่งลักษณ์เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ท่าทีสหรัฐ ผ่านนางฮิลารี คลินตัน เห็นชัดว่าให้การยอมรับและสนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ มากกว่าตอนที่ประชาธิปัตย์ดั้นเมฆมาเป็นรัฐบาล ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร

อาจจะเป็นแผลใจที่ทำให้ประชาธิปัตย์คาใจกับสหรัฐฯอยู่ลึกๆก็เป็นได้

จึงได้ลากเรื่องนี้มาเป็นการเมือง และดึงเอา พ.ต.ท.ทักษิณ มาโยงเข้าไป เพราะรู้ว่าประเด็นนี้ขายได้ทางการเมือง โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่ไม่เอา พ.ต.ท.ทักษิณ

ซึ่งการกระทำของประชาธิปัตย์ครั้งนี้ หากโครงการสำรวจของนาซ่าจะแท้งไป ก็คงจะดีเหมือนกัน เพราะหากไม่มีโครงการนี้ให้ประชาธิปัตย์โจมตีว่าเป็นโครงการแลกกับวีซ่าของ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว
ถึงเวลาในเดือนกรกฎาคม พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบินไปสหรัฐฯได้

ตอนนั้นประชาธิปัตย์จะอ้างว่าอะไรอีก

ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิกฤตยุโรปทุบลงทุนดิ่ง แบงก์ผวาครึ่งปีหลังเสี่ยงสูงสินเชื่อหด !!?

แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว

นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก

โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว

นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น

"ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว

การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้

"ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม"

นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้

นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน

เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม

ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน

"ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย

มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว

ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา

นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง

"ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว

ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท

รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี

"ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย"

นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี

หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต

นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด

ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้

โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม

ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้

ประกันยื้อค่าชดเชย

นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จ้องป่วนเวทีเสื้อแดงรวบตัวการ์ดปลอมพกปืนพร้อมยิง !!?

หลายฝ่ายจัดงานรำลึก 80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครองคึกคัก เวทีวิชาการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นพ้องประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตย เชื่อประชาชนต้องร่วมกันต่อสู้อีกหลายครั้งหากอยากได้อำนาจไว้ในมืออย่างแท้จริง เวทีเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยคึกคัก มวลชนแห่ร่วมเต็มพื้นที่ แกนนำประกาศให้ช่วยเฝ้าระวังผู้ไม่หวังดีแฝงตัวก่อความวุ่นวาย หลังรวบชายฉกรรจ์ปลอมเป็นการ์ดพกอาวุธปืนขึ้นไกพร้อมยิงได้ทุกนาที “ก่อแก้ว” ชี้อนาคตประเทศขึ้นอยู่กับคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญกรณีมาตรา 68 ย้ำคนรักประชาธิปไตยก้าวข้ามความกลัวแล้ว พร้อมต่อสู้หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำตามขั้นตอนถูกคว่ำ

เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มพลังต่างๆได้เคลื่อนไหวจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงวันสำคัญนี้

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการเสวนา “100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130-80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ. 2475” โดยมีประชาชนสนใจเข้าร่วมฟังจำนวนมาก นักวิชาการที่ร่วมอภิปรายมีหลายคน เช่น นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.เพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์ นักวิชาการอิสระ นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น การเสวนาโดยรวมเป็นการพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตในมุมมองต่างๆ และเห็นตรงกันว่า 80 ปีที่ผ่านมาประชาธิปไตยของไทยยังไม่พัฒนาไปถึงไหน อำนาจยังไม่เป็นของประชาชนที่แท้จริง และเชื่อว่ากว่าประเทศจะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ประชาชนต้องออกมาร่วมกันต่อสู้อีกหลายครั้ง

เสื้อแดงชุมนุมคึกคัก

ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองและประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ มีมวลชนเข้าร่วมชุมนุมเต็มพื้นที่จนต้องปิดการจราจร โดยมีแกนนำสลับกันขึ้นเวทีปราศรัย เช่น นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน นายก่อแก้ว พิกุลทอง น.พ.เหวง โตจิราการ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายวรชัย เหมะ เป็นต้น ซึ่งการปราศรัยส่วนใหญ่เน้นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญรับตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดต่อมาตรา 68 กรณีแก้รัฐธรรมนูญล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง

คำตัดสินศาลชี้อนาคตชาติ

นายก่อแก้วปราศรัยว่า เสียดายเวลา 80 ปีที่ผ่านมาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ประเทศไม่เคยเป็นประชาธิปไตย แม้แต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับคณะรัฐประหารก็ยังมีการพยายามขัดขวาง ต้องดูกันต่อไปว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินออกมาอย่างไร

“อนาคตของประเทศอยู่ที่การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ วันนี้พวกเราเดินมาไกลแล้ว พวกเราจะร่วมกันต่อสู้จนกว่าจะได้ประชาธิปไตยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น”

จับการ์ดปลอมพร้อมอาวุธ

นายขวัญชัย ไพรพนา ประกาศบนเวทีปราศรัยว่า สามารถจับการ์ดได้ 1 คน พกอาวุธปืนและขึ้นไกไว้พร้อมยิง เบื้องต้นทราบว่ามาจากจังหวัดบุรีรัมย์ รับงานมาจากอดีตนักการเมืองคนหนึ่งเพื่อมาสร้างความวุ่นวาย ขอให้ทุกคนช่วยกันระวังด้วย

นอกจากนี้พิธีกรบนเวทียังประกาศให้ผู้ชุมนุมช่วยกันดู เพราะอาจมีคนนำพระบรมฉายาลักษณ์มากระทำไม่เหมาะสมเพื่อใส่ร้ายคนเสื้อแดง

พท. ปลุกประชาชนแก้ รธน.

ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค แถลงว่า พรรคเพื่อไทยมุ่งหวังที่จะเห็นอำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ในโอกาสครบรอบ 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจ ไม่ให้มีอีแอบคอยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากประชาชน

ที่วัดราชาธิวาส พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวในการเปิดโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองในหัวข้อ 80 ปี ประชาธิปไตยไทย ตอนหนึ่งว่า 80 ปีที่ผ่านมาไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะถูกครอบงำด้วยมือที่มองไม่เห็นที่มาจากอำนาจนอกระบบ ทำให้เกิดการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป จึงอยากให้ประชาชนออกมาร่วมมีส่วนร่วมสร้างประชาธิปไตยให้อยู่ในมือของประชาชนให้ได้

ปชป. ห่วงบิดเบือนข้อมูล

ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรค แสดงความเป็นห่วงว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดงในโอกาสครบรอบ 80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจมีการปราศรัยบิดเบือนข้อมูลจากแกนนำเพื่อชักนำมวลชนไปในทางใดทางหนึ่ง เพราะสถานการณ์ขณะนี้แกนนำหลายคนเข้าตาจน จึงอาจคิดสร้างสถานการณ์อะไรขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด จึงอยากเรียกร้องนายกรัฐมนตรีให้ห้ามปรามพวกแกนนำฮาร์ดคอร์ทั้งหลาย อย่าชักนำให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคมไทยอีก

“สุริยะใส” เฉ่งฉวยโอกาส

นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า การจัดชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นการฉกฉวยเอาประวัติศาสตร์มาบิดเบือนเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง หากจะสืบทอดเจตนารมณ์คณะราษฎรจริงๆ ต้องไปศึกษาแถลงการณ์ของคณะราษฎร ฉบับที่ 1 หรือหลัก 6 ประการให้ถ่องแท้ เช่น จะเป็นเอกราชทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาค ความอยู่ดีกินดี ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ไม่ใช่เพื่อคนคนเดียว หากแกนนำมีอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริงต้องปลดแอกตัวเองออกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ได้ก่อน

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

**********************************************************************

แกงเขียวหวานฟีเวอร์ญี่ปุ่นคลั่งหนัก เมืองไทยกระแสแรง !!?

ค่ายผลิตอาหารบูมกระแส ‘Green Curry Fever’ หลังพบชาวญี่ปุ่นคลั่งแกงไทยอย่างหนัก หลากแบรนด์ผุดแย่งเวทีปรุงสำเร็จ แบรนด์ ‘รอยไทย’ ประสบความสำเร็จล้นหลาม มุ่งขยายตลาดทั่วอาเซียน ด้านตลาดในประเทศคึกคัก ชี้เขียวหวานขึ้นแท่นเมนูปรุงยาก ออกผงปรุงสำเร็จเอาใจแม่บ้าน ขณะที่ “มาม่า” ร่วมดึงกระแสเขียวหวานบูมตลาด

ในสมัยก่อนนั้น แกงไทยๆ จะเป็นแกงเลียง ซะส่วนใหญ่ และเป็นแกงป่าตามมา ต่อมามีแกงใส่กะทิเข้ามา โดยช่วงแรกแกงไทยจะใช้พริก แดงเป็นส่วนใหญ่ และพัฒนามาเป็นการใช้พริกสีเขียวแทนและใส่ใบพริกสดลงไปตำด้วยในน้ำพริกแกงนั้นๆ เพื่อให้มีสีเขียวที่เด่นชัดขึ้น เกิดเป็น “แกงเขียวหวาน” คำว่าแกงเขียวหวาน ไม่ได้หมายความถึง แกงที่มีรสหวาน แต่หมายถึงสีเขียวนวลหรือเขียวหวาน ไม่ใช่เขียวจัดจ้านนั่นเอง

ปัจจุบันแกงเขียวหวาน กลายเป็น 1 เมนูคู่ครัว และเป็นเมนูหลักที่คนไทยคุ้นชิน โดยเฉพาะในร้านข้าวแกง ซึ่งมักจะมีแกงเขียวหวานอยู่ในเมนูประจำวัน เราอาจจะเคยได้ยินชื่อเสียงของอาหารไทย อันเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ทั้ง “ผัดไทย” หรือ “ต้มยำกุ้ง” แต่ “แกงเขียวหวาน” ก็เป็นหนึ่งในแกงไทยที่ได้รับความนิยม โดยเริ่มจากกลุ่มร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จวบจนปัจจุบันเมนูแกงเขียวหวาน กำลังเข้าสู่ครัวของชาวต่างชาติมากขึ้น ด้วยการบุกตลาดของผู้ผลิตเครื่องแกงคนไทยนั่นเอง

> แม่บ้านญี่ปุ่นคลั่งแกงเขียวหวาน

และปรากฏการณ์ของแกงเขียวหวานในต่างประเทศ ก็เริ่มเด่นชัดขึ้นในปีนี้ โดยเมื่อต้นปี สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฟูกูโอกะ รายงานว่า หนังสือพิมพ์ Nikkei MJ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ด้านการตลาดยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น รายงานว่า กระแสความนิยมแกงเขียวหวานไทยของคนญี่ปุ่นกำลังมาแรงเป็นอย่างมาก

แต่เดิมแกงญี่ปุ่นที่แม่บ้านญี่ปุ่นนิยมปรุงรับประทานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยมันฝรั่ง แครอต หอมหัวใหญ่ และเนื้อหมูหรือเนื้อวัวนั้น มาปีนี้แนวโน้มดังกล่าวได้เปลี่ยนไป แกงของประเทศ ทางแถบเอเชียได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกงเขียวหวานของไทยที่สตรีชาวญี่ปุ่นนิยมปรุงรับประทานในครอบ ครัว หรือเวลาที่เชิญแขกมาบ้าน เนื่องจากเครื่องปรุงต่างๆ สามารถหาซื้อได้ง่าย และใช้เวลาปรุงเพียงไม่กี่นาที อีกทั้งยังมีร้านอาหารไทย ที่ทำการเปิดสอนคอร์สปรุงเมนูแกงเขียวหวานให้กับชาวญี่ปุ่นอีกด้วย

ขณะเดียวกัน บริษัท House Food Corp บริษัทจำหน่าย อาหารรายใหญ่ของญี่ปุ่น ได้ออกผลิตภัณฑ์เครื่องแกงเขียวหวานสำเร็จรูป “Mild Green Curry” ราคาซองละ 178 เยน หรือประมาณ 73 บาท ส่วนบริษัท S&B Food Inc. ได้วางแผน ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ประเภทที่มีเครื่องปรุงครบถ้วน อุ่นและเปิดทานได้ทันที เข้าสู่ตลาดภายใต้ชื่อ “Thai Green Curry” วางตลาดไปแล้วเมื่อต้นปี

> ‘รอยไทย’ เผยปีนี้ส่งญี่ปุ่นกว่า 100 ล้าน

นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า จากการทำตลาด น้ำแกงพร้อมปรุงรสรอยไทย ได้รับความนิยมอย่างมากใน 30 ประเทศ โดยประเทศที่มีการเติบโตดีที่สุดคือ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมนูแกงเขียวหวาน ซึ่งกลายเป็น “แกงเขียวหวาน ฟีเวอร์” อยู่ในขณะนี้ นอกจากจะมีเมนูแกงเขียวหวานตามร้าน อาหารแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์รสชาติแกงเขียวหวานออกมา อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากนั้นชาวญี่ปุ่นยังสนใจทำแกงเขียวหวานเพื่อการรับประทานเองมากขึ้น โดยอาศัยน้ำแกงพร้อมปรุง ซึ่งบริษัทได้เข้าไปทำตลาดแล้ว

สำหรับน้ำแกงพร้อมปรุงรอยไทย เปิดตัวเมื่อปี 2553 โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในธุรกิจมะพร้าวที่พัฒนาเป็นกะทิ บวกกับความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตพริกแกงแบรนด์ “แม่พลอย” ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ โดยช่วงเริ่มต้นอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในตลาดเมืองไทย จากนั้นได้เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น โดยจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นแล้ว 300 สาขา โดยเมนูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ “แกงเขียวหวาน” และจะขยายช่องทางการจำหน่ายในญี่ปุ่นไปอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันบริษัทมีการส่งออกน้ำแกงพร้อมปรุงรอยไทยไปยังญี่ปุ่น 10 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือน โดยปีนี้คาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 100 ล้านบาท ถือเป็น 50% ของเป้าหมายที่วางไว้ว่า ในปีนี้จะมีการจำหน่ายแกงปรุงรสรอยไทย 240 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดขายที่รวมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เติบโตจากปีที่ผ่านมา 30% ความสำเร็จของรอยไทยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมาจากกระแส “แกงเขียวหวาน ฟีเวอร์” จะเป็นต้นแบบที่ใช้ในการบุกตลาด ฮ่องกง และ สิงคโปร์ และประเทศในอาเซียนต่อไป โดยวิธีการทำตลาด คือการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารไทย

> บูมแม่บ้านรุ่นใหม่สอนทำแกงผ่านแอพฯ

สำหรับตลาดในประเทศ แม้ว่าที่ผ่านมา “รอยไทย” จะยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากคนไทยยังไม่เชื่อมั่นในตัวสินค้า จึงต้องอาศัยการให้ประสบการณ์และความรู้ในการใช้ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมาย จากเดิมที่คิดว่า น้ำแกงพร้อมปรุงเป็นตลาดของคนรุ่นใหม่ แต่จริงๆ แล้ว น้ำแกงพร้อมปรุงรอยไทย เหมาะทั้งคนรุ่นใหม่และคนที่ทำอาหารเป็นแล้ว เนื่องจากสูตรของผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นน้ำแกงชนิดพื้นฐานของแกงชนิดนั้นๆ และสามารถปรุงรสเพิ่มได้ตามต้องการ

นอกจากนั้น บริษัทได้พัฒนา RoiThai Application บนไอแพด เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าไปดูวิธีทำอาหารเมนูต่างๆ ซึ่งได้จัดทำเป็นวิดีโอให้ความรู้ขั้นตอนและเคล็ดลับในการทำอาหารจากน้ำแกงพร้อมปรุงรอยไทย โดยมีเมนูหลากหลายมากกว่า 45 รายการ แบ่งเป็น เมนูรอยไทย เกร็ดรอย ไทย และรอยไทยไอเดีย

> ตลาดเมืองไทยลุยแกงเขียวหวานสำเร็จ

สำหรับตลาดในประเทศ แม้ว่าปัจจุบันเราจะสามารถหาเมนูแกงเขียวหวานรับประทานได้โดยทั่วไป แต่ในส่วนของการปรุงอาหารเองที่บ้าน ตลาดเครื่องปรุงรส ก็หันมาจับตลาดนี้ โดยมีแกงเขียวหวานเป็น 1 ในเมนูหลักที่ค่ายปรุงรสออกมาทำตลาด อาทิ การบุกตลาดของ “คนอร์” ด้วย “คนอร์ สูตรสำเร็จ” เพื่อเป็นการขยายพอร์ต โฟลิโอในกลุ่มแบรนด์คนอร์ จากเดิมที่มี 1.ซุปก้อน 2.ซุปผง และ 3.โจ๊ก ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยระบุว่า จากการสำรวจตลาดของรีเสิร์ชอินเตอร์เนชั่นแนล พบว่า คนไทยนิยมทานข้าวในบ้านมากกว่า 90% และแม่บ้านกว่า 51% โดยในช่วงแรกคนอร์ผลิตออกมา 4 สูตร คือ แกงส้ม แกงเขียวหวาน และเมนูพะโล้ ต้มยำ เนื่องจากเป็นเมนูที่ทำค่อนข้างลำบากและต้องมีเครื่องปรุงเครื่องเคียงมาก ขณะที่เวลาของแม่บ้านสมัยนี้น้อยลง

อีกทั้งจากการสำรวจพบว่า เมนูแกงทั้ง 4 ชนิดนี้ เป็นเมนูยอด ฮิตที่คนไทยบริโภครวมกันมากกว่า 1,500 ล้านจานต่อปี และไม่นานมานี้ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ก็ได้แนะนำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติ ใหม่ “มาม่า แกงเขียวหวานไก่” ตอบรับกระแสแกงเขียวหวานฟีเวอร์ในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน เป็นการยืนยันความฮอตฮิตติดตลาดของแกงเขียวหวานได้เป็นอย่างดี

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ชวน หลีกภัย ทอล์คโชว์แขวะ ทักษิณ อ้างเคยเตือนจะไม่มีแผ่นดินอยู่ !!?

ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า เวลา 19.00 น. วันที่ 25 มิ.ย. ที่โรงละครเอ็มเธียเตอร์ ถ.เพชรบุรี กทม. บลูสกาย ชาแนล กับพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันจัดงานทอล์คโชว์การกุศล “2575 เจาะเวลาสู่อนาคต” ขึ้นไทม์แมชชีนสำรวจอดีตการเมืองไทย 2475 สู่อนาคต 2575 โดยการเป็นการทอร์คโชว์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ทั้งนี้งานดังกล่าวมีจำหน่ายบัตรที่นั่งในราคาที่นั่งละ1 พันบาท จำนวน 800 ที่นั่ง ขณะที่ผู้เข้าฟังส่วนใหญ่เป็นแฟนคลับของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูสกายฯ

นายชวนขึ้นทอล์คโชว์เป็นคนแรก กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนเคยเตือนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่าจะไม่มีแผ่นดินอยู่ และมีคนกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นการเมืองมากเกินไป แต่เห็นว่าไม่มีการเมืองไม่ให้เล่นก็ไม่เป็นไร แต่ให้ระวังคนที่ทำกับประเทศเหมือนกับเป็นบริษัทของตัวเองก็ให้ระวังไม่มีแผ่นดินอยู่ แต่ขณะนี้พต.ท.ทักษิณ ก็มีแผ่นดินอยู่มากกว่าเรา ยกเว้นประเทศไทย

ซึ่งในปัจจุบันอย่าเข้าใจว่าประเทศไทยแย่กว่าคนอื่น แต่ประเทศเรามีดีอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การเมืองอย่างเดียว แต่มีเศรษฐกิจ เกษตรกรรม ความมั่นคง การศึกษา รายได้ประชากรก็ดีขึ้น แต่อย่าวัดตัวนี้เป็นมาตรฐานว่าดีหรือไม่ และเรายังมีอะไรเป็นของตัวเองอยู่อย่ามองเป็นปมด้อย เราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เรามีสินค้าเกษตรส่งออกเป็นที่หนึ่งของโลกแต่วันนี้กลับลดลงแล้ว และการเสียอะไรไปก็อยากให้ทบทวนสิ่งที่ได้มาด้วย 80 ปีที่ผ่านมามีทั้งสิ่งดีสิ่งร้าย และสิ่งที่ดีผ่านเข้ามาแล้วก็มีสิ่งที่เป็นสิ่งไม่ดีเข้ามาเช่นเดียวกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ของเรานั้นถือว่าเบาไม่สูญเสียมาก แต่เพียงไม่ถึง 2 ปี รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติและมีราชหัตถเลขา

นายชวน กล่าวต่อว่า ประชาธิปไตย 80 ปี มีอุปสรรคเบื้องต้นคือทหารยึดอำนาจ ทำหลายครั้งทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ และหากสำเร็จก็จะเปลี่ยนรัฐบาลเป็นรัฐบาลทหาร แต่ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างการปกครอง ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แทรกแซงอำนาจตุลาการ ซึ่งก่อนปี 2475 ตุลาการก็เข้มแข็งอยู่แล้ว และรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา 18 ฉบับ มีขึ้นในช่วงตนเป็นนักการเมือง 11 ฉบับ

ซึ่งทั้งหมดหากปฏิบัติตามแนวทางพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น ปัญหาวิกฤตหลายครั้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากผู้ปฎิบัติ ไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญไม่ดี แต่เกิดจากคนไม่ดี ไม่ใช่เพราะกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ที่ทำให้เกิดรัฐประหารปี 2549 เพราะเขาละเมิดกฎหมาย ปฏิบัตินอกกฎหมายเหล่านั้น ขณะที่ธุรกิจการเมืองที่ร้ายแรงคือ “ระบอบทักษิณ” ที่แทรกแซงองค์กรทั้งหมาย มีการซื้อพรรคการเมืองให้มากจนทำอะไรไม่ได้ก็ไม่เหมาะสม

และสิ่งที่ผิดคือการซื้อวุฒิสมาชิก ทั้งนี้การเมืองยุคนี้มีการข่มขู่คุกคามศาล โดยนักการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่เลวร้ายตลอด 80 ปีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นสาเหตุให้เกิดความวุ่นวายและทำให้บ้านเมืองเป็นปัญหา และในอนาคตหากไม่แก้ปัญหานี้ประชาธิปไตยก็จะเดินไปอย่างไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม

นายชวน กล่าวด้วยว่า ตนเล่นการเมืองมา 43 ปี แม้ความรู้นักการเมืองจะมากขึ้นแต่รูปแบบเลวลงคือใช้เงินซื้อเสียง และคิดว่าจะถอนทุนคืนหรือไม่ เพราะใช้เงิน 50 ล้าน แต่รับเงินเดือนกว่าแสนบาท แต่ก่อนมีการใช้ปลาทูเค็มซื้อเสียงแต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว รวมทั้งใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ชนะ มองประชาธิปไตยเป็นธุรกิจการเมือง มองแต่ผลกำไร ทำทุกวิธีทางให้อีกฝ่ายต้องตายให้ได้ แทรกแซงทุกองค์กร..

***************************************************************************

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เผยยุทธศาสตร์สหรัฐฯ การปรับสมดุลใหม่ในเอเชีย !!?

หลังจากทีมีแหล่งข่าวเผยแพร่จำนวนมากในประเด็นที่ ”นาซา” จะเข้ามาศึกษาตาม “โครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study (SEAC4RS)

โดยนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นเครื่องบินที่ดัดแปลงใส่อุปกรณ์เฉพาะขึ้นไปตรวจวัดทางกายภาพและทางเคมีของเมฆ อุณหภูมิ และความชื้นในชั้นบรรยากาศ พร้อมรับส่งข้อมูลเชื่อมโยงกับดาวเทียมในการตรวจความผิดปกติของชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการเผาชีวมวล (Biomass) และการปล่อยแก๊สต่างๆ เครื่องบินจะขึ้นไประดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 12 กม.

ระยะเวลาในการดำเนินการเก็บข้อมูลเริ่มเดือนสิงหาคม-กันยายน 2555 และเป็นที่มาของความวิตกกังวลของคนไทยจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าโครงการของนาซานี้อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้ SIU จึงขอใช้โอกาสนี้แปลบทปาฐกถาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายลีออน พาเน็ตตา (Leon Panetta) ถึงยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกากับการปรับสมดุลใหม่ในเอเชีย โดยแบ่งเป็น 2 ตอน สำหรับงานชิ้นนี้จะนำเสนอในภาคแรก ดังนี้



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ลีออน พาเน็ตตา: ขอบคุณมากครับ จอห์น สำหรับความกรุณาในเรื่องคำแนะนำผมให้กับที่ประชุม

ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมงานสัมมนาแชงกรีลาเป็นครั้งแรกนี้ ผมขอชื่นชมสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์ (International Institute for Strategic Studies) ในการจัดการอภิปรายที่สำคัญนี้ ซึ่งเป็นการเสวนาที่สำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่ในช่วงสุดสัปดาห์นี้
เท่าที่ผมทราบ ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาคนที่ 3 ที่เข้าร่วมในการเสวนานี้ ที่มีผู้เข้าร่วมที่เป็นผู้บริหารจากทั้ง 2 พรรคการเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนถึงตำแหน่งแห่งที่ของสหรัฐในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยพลวัตและมีความสำคัญยิ่งของโลกใบนี้
ด้วยจิตวิญญาณเช่นนี้เองที่ทำให้ผมมาเยือนสิงคโปร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางทั่วเอเชียเป็นเวลา 8 วัน ซึ่งเวียดนามและอินเดียก็อยู่ในการเดินทางครั้งนี้ของผมด้วย

จุดประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้และการบรรยายของผมในวันนี้ ก็เพื่ออธิบายยุทธศาสตร์ทางการทหารชุดใหม่ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้เริ่มดำเนินการและพูดถึงสาเหตุที่สหรัฐอเมริกาจะเล่นบทบาทพันธมิตรที่ยั่งยืนและหยั่งรากมากขึ้นในการเดินหน้าด้านความมั่นคงและความรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอธิบายถึงวิธีการที่กองทัพสหรัฐอเมริกาจะสนับสนุนเป้าหมายเหล่านี้โดยการปรับสมดุลของทั่วทั้งภูมิภาคนี้เสียใหม่

นับตั้งแต่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ขยับขยายประเทศออกไปทางตะวันตกในช่วงศตวรรษที่ 19 เราก็ได้กลายเป็นประเทศแปซิฟิกไปแล้ว ตัวผมเองเกิดและเติบโตขึ้นแถบเมืองชายฝั่งในแคลิฟอร์เนียที่ชื่อมอนเทอเรย์ และผมได้ใช้เวลาค่อนชีวิตในการเฝ้ามองข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกออกไป ด้วยเหตุที่เป็นชุมชนชาวประมง เป็นท่าเรือ มหาสมุทรย่อมเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของเรา ความทรงจำครั้งยังเยาว์วัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผมได้เฝ้ามองกองทัพอเมริกันเคลื่อนพลผ่านชุมชนของผมเพื่อไปเข้ารับการฝึกที่ค่ายทหารที่เรียกว่า ฟอร์ดออร์ด และเดินทัพต่อไปเพื่อเผชิญศึกในแปซิฟิก

ผมยังจำได้ถึงความหวาดกลัวที่เข้าครอบงำชุมชนของเราในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาเมื่อสงครามระเบิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี ทั้งที่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์แบ่งแยกเราออกจากกัน ผมยังคงเข้าใจดีเสมอว่าชะตากรรมของสหรัฐอเมริกามีความผูกพันอย่างไม่อาจหยุดยั้งได้กับภูมิภาคนี้ได้อย่างไร
ความจริงในข้อนี้เองที่ชี้นำการปรากฏตัวและการเป็นพันธมิตรของกองทัพสหรัฐในภูมิภาคนี้มามากกว่าหกทศวรรษ คือท่าทีในแง่ความมั่นคง ซึ่งควบคู่ไปกับความช่วยเหลือในทางต่างประเทศ ที่ช่วยนำมาสู่ยุคแห่งความมั่นคงและความรุ่งเรืองที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อนในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20

ในศตวรรษที่ 21 นี้ สหรัฐอเมริกาตระหนักดีว่าความมั่นคงและความรุ่งเรืองของเราขึ้นกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากยิ่งขึ้นทุกที นอกเหนือไปกว่านี้ ภูมิภาคนี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของประเทศที่มีเศรษฐกิจที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย และ อินโดนีเซีย นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ในเวลาเดียวกันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีประชากรจำนวนมากที่สุดในโลก และมีกำลังทหารที่ใหญ่โตที่สุดในโลก สถาบัน IISS แห่งนี้ได้คาดการณ์ว่างบประมาณด้านกลาโหมในเอเชียได้ล้ำหน้ายุโรปไปแล้วในปีนี้ และไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่างบยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

เมื่อมองแนวโน้มนี้ ประธานาธิบดีโอบามาจึงได้กล่าวว่าสหรัฐอเมริกาจะเล่นบทบาทที่กว้างขวางมากขึ้นในภูมิภาคนี้สำหรับทศวรรษที่กำลังจะมาถึง ความพยายามนี้จะวางอยู่บนความเข้มแข็งของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาทั้งหมด เราเล่นบทบาทนี้มิใช่ในในฐานะที่เป็นมหาอำนาจที่อยู่ห่างไกลออกไป หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศทั้งหลายในครอบครัวแปซิฟิก เป้าหมายของเราคือการทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศทั้งหลายในภูมิภาคนี้ที่จะเผชิญต่อความท้าทายต่อส่วนรวม และเพื่อสนับสนุนสันติภาพ ความรุ่งเรืองและความมั่นคงต่อประเทศทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เพื่อนร่วมงานและมิตรที่ดีของผม คือคุณฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เคยให้ภาพร่างของการกลับมาเน้นหนัก (refocus) ในเอเชียแปซิฟิก และได้ให้การเน้นย้ำเป็นอย่างยิ่งต่อส่วนที่สำคัญที่ว่า การทูต การค้า และการพัฒนา จะเป็นเรื่องหลักในการการมีส่วนร่วมของเรา

สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในจุดวกกลับทางยุทธศาสตร์หลังจากทศวรรษแห่งสงคราม เราได้ทำให้ภาวะการนำและความสามารถในการโจมตีของประเทศอื่นๆ ของอัลกออิดะห์อ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ เราได้ส่งสารที่ชัดเจนว่าจะไม่มีใครที่มาโจมตีสหรัฐอเมริกาแล้วหนีพ้นไปได้ ภารกิจทางการทหารในอิรักได้ยุติลงแล้วและมีการสถาปนาใหม่ขึ้นมา คือการสถาปนาอิรักที่สามารถดำรงตนและปกครองตนเองได้

ภาพจาก Voice of America

ในอัฟกานิสถาน ซึ่งมีชาติเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากได้แสดงบทบาทที่สำคัญในพันธมิตรนานาชาติ เราได้เริ่มการเปลี่ยนผ่านไปเป็นประเทศที่มีคนอัฟกันเป็นแกนนำในการสร้างความมั่นคง และประเทศอัฟกานิสถานซึ่งสามารถทำการปกป้องและปกครองตนเองได้ การประชุมล่าสุดในชิคาโก นาโตและพันธมิตร มากกว่า 50 ประเทศ ได้มาพบปะกันเพื่อสนับสนุนแผนของนายพลอัลเลนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ นอกจากนี้เราได้ร่วมมือกับความพยายามของนาโตที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนลิเบียให้เป็นของประชาชนลิเบีย

แต่แม้นว่าเราจะสามารถมองอย่างมีความหวังว่าสงครามนี้จะยุติลง แต่ปัจจุบันเราได้กำลังเผชิญความท้าทายระดับโลกที่มีความซับซ้อนและกว้างขวางมากยิ่งขึ้นทุกที จากภัยก่อการร้าย — การก่อการร้ายยังคงเป็นภัยคุกคามโลก — จากภัยก่อการร้ายมาเป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพของอิหร่านและเกาหลีเหนือ จากการขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์มาเป็นภัยคุกคามใหม่ของการโจมตีในไซเบอร์ จากภาวะยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางมาเป็นความขัดแย้งด้านพรมแดนในภูมิภาคนี้

ในเวลาเดียวกันสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ได้กำลังเผชิญกับหนี้ก้อนโตและภาวการณ์ขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งนี่ทำให้กระทรวงกลาโหมต้องลดงบประมาณไปเกือบครึ่งล้านล้านเหรียญ หรือราว 4.87 แสนล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการอำนวยการให้ลดลงจากสภาคองเกรสโดยกฎหมายควบคุมงบประมาณในทศวรรษหน้านี้

และด้วยความเป็นจริงทางการคลังอันใหม่นี้ ซึ่งก็เป็นความท้าทายต่อหลาย ๆ ประเทศในทุกวันนี้ด้วย ทำให้เรามีโอกาสในการออกแบบยุทธศาสตร์กลาโหมใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งทำให้เราสามารถเผชิญกับภัยคุกคามที่มี และยังดำรงสถานะการเป็นกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในโลกได้

ยุทธศาสตร์นี้เป็นที่ชัดเจนต่อกองทัพสหรัฐอเมริกา ถูกต้องครับ กองทัพจะต้องมีขนาดเล็กลง กองทัพจะต้องแบนราบลง แต่ก็ยังมีความคล่องตัวและยืดหยุ่น สามารถวางกำลังได้อย่างรวดเร็ว และจะมีการใช้งานเทคโลโลยีที่ทันสมัยในอนาคต และเป็นที่ชัดเจนพอกันว่าในขณะที่กองทัพสหรัฐอเมริกายังคงเป็นกำลังระดับโลกในแง่ความมั่นคงและการสร้างเสถียรภาพ เรายังจำเป็นต้องปรับสมดุลใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย เรายังคงปรากฏตัวอยู่ทั่วโลก เรายังคงดำเนินการด้วยการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังที่สร้างสรรค์เพื่อเน้นย้ำในการเสริมสร้างเพื่อนและพันธมิตรใหม่ ๆ ด้วย เรายังคงมีการลงทุน ลงทุนในไซเบอร์ ลงทุนในอวกาศ ลงทุนในระบบที่ไม่เปิดเผยตัวตน ลงทุนในหน่วยปฏิบัติการพิเศษ เราจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่และเราจะลงทุนในความสามารถในการเคลื่อนย้ายเดินทางได้อย่างรวดเร็วหากมีความจำเป็น

เราได้เลือกและเราได้กำหนดลำดับความสำคัญ และเราได้เลือกอย่างถูกต้องที่ทำให้ภูมิภาคนี้มีความสำคัญ

การดำเนินการของเราในการบรรลุเป้าหมายระยะยาวในเอเชียแปซิฟิกก็คือการยืนหยัดเพื่อจะยืนยันถึงชุดหลักการพื้นฐานร่วม ซึ่งก็คือหลักการที่จะสนับสนุนกฎกติกาสากลและระเบียบที่จะนำพาสันติภาพและความมั่นคงมาสู่ภูมิภาค ขยายและหยั่งรากความร่วมมือทั้งด้านทวิภาคีและพหุภาคี ดำเนินการขยายและปรับตัวการปรากฏตัวของกองทัพสหรัฐอเมริกาอย่างมั่นคงในภูมิภาคนี้ และดำเนินการลงทุนใหม่ ๆ ให้มีขีดความสามารถที่จำเป็นในการวางกำลังและการปฏิบัติการในเอเชียแปซิฟิก

ผมขอขีดเส้นใต้ประโยคที่ว่านี่ไม่ใช่หลักการใหม่ คำมั่นที่เข้มแข็งของเราที่จะเสริมสร้างกติกาที่จะต้องมีการปฏิบัติตามนี้เป็นสิ่งที่เราเชื่อมั่นว่าจะช่วยสนับสนุนสันติภาพและความรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้

เรากำลังพูดถึงอะไร? กติกาเหล่านี้รวมถึงหลักการในเรื่องการค้าที่เปิดกว้างและเสรี ระเบียบในความยุติธรรมสากลซึ่งเน้นย้ำเรื่องสิทธิและความรับผิดชอบของทุกชาติ และความเที่ยงตรงต่อบทบัญญัติด้านกฎหมาย เช่นการเปิดกว้างให้กับทุกฝ่ายต่ออาณาบริเวณส่วนรวมทั้งใน ภาคพื้นทะเล ท้องฟ้า อวกาศ และ ในไซเบอร์สเปซ รวมถึงการแก้ไขความขัดแย้งโดยปราศจากการข่มขู่บังคับหรือการใช้กำลัง

การสนับสนุนต่อวิสัยทัศน์นี้รวมถึงการแก้ไขความขัดแย้งอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นได้ด้วยวิถีทางการทูต การสนับสนุนต่อหลักการเหล่านี้เป็นภารกิจที่สำคัญของกองทัพสหรัฐอเมริกาในเอเชียแปซิฟิกมามากกว่า 60 ปี และจะกลายเป็นภารกิจที่สำคัญในอนาคต ความหวังของผมในการรักษากติกาและระเบียบสากลว่ามีความจำเป็นนั่นก็คือการที่สหรัฐอเมริกาจะร่วมกับอีก 160 ประเทศในการอนุวัตรกฎหมายสนธิสัญญาทางทะเลในปีนี้

หลักการอันที่สองก็คือเรื่องของหุ้นส่วน กุญแจสำหรับการเข้าถึงความพยายามในเรื่องนี้ก็คือการพัฒนาให้ทันสมัย และการสร้างความเข้มแข็งของพันธมิตรและหุ้นส่วนของเราในภูมิภาค สหรัฐอเมริกามีสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และ ประเทศไทย เรามีหุ้นส่วนสำคัญในอินเดีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ และเราทำงานอย่างหนักในการพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับจีน

ภาพจาก GlobalTimes

ในขณะที่เราขยายหุ้นส่วนออกไป เราก็เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพันธมิตรของเราด้วย พันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจะยังคงเป็นรากฐานของความมั่นคงและความรุ่งเรืองในภูมิภาคในศตวรรษที่ 21 นี้ และด้วยเหตุนี้ ทั้งสองกองทัพจะยังคงขยายขีดความสามารถที่จะฝึกซ้อมและการปฏิบัติการร่วมกัน และจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดทั้งในด้านความมั่นคงทางทะเลและงานข่าวกรอง การตรวจตราความปลอดภัยและการลาดตระเวน เรายังคงร่วมมือในการพัฒนาความสามารถเทคโนโลยีระดับสูง รวมทั้งระบบป้องกันขีปนาวุธยุคหน้า และแสวงหาความร่วมมือในอาณาบริเวณใหม่ ๆ เช่นในอวกาศและในไซเบอร์สเปซ

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับพันธมิตร และเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่กว้างขวางขึ้นในภูมิภาคและการปรับแผนเพื่อโยกกำลังนาวิกโยธินจากโอกินาวามายังเกาะกวม แผนนี้จะทำให้การคงกำลังในโอกินาวามีความยั่งยืนทางการเมืองมากขึ้น และยังช่วยพัฒนากวมให้กลายเป็นศูนย์รวมทางยุทธศาสตร์สำหรับกองทัพสหรัฐในแปซิฟิกตะวันตก ปรับปรุงขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุฉุกเฉินที่หลากหลายมากขึ้นในเอเชียแปซิฟิก

แกนหลักอีกชิ้นหนึ่งในความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิกก็คือพันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี ในขวบปีแห่งการเปลี่ยนผ่านและการยั่วยุในคาบสมุทรเกาหลี การเป็นพันธมิตรนี้เป็นเรื่องจำเป็น และผมได้กำหนดลำดับความสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในอนาคต เพื่อให้ถึงเป้าหมายนี้ แม้แต่สหรัฐอเมริกาก็จะลดกำลังภาคพื้นดินทุกส่วนในช่วงปีที่ผ่านมาในหนทางของการเปลี่ยนผ่านข้ามไปช่วงห้าปีนี้ เราจะดำรงการปรากฏตัวของกองทัพสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยสำคัญในเกาหลี

เราจะเสริมสร้างงานข่าวกรองและการแบ่งปันข้อมูลกับสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งต่อการท้าทายที่ไม่เป็นมิตรจากเกาหลีเหนือ ในขณะที่การปรับโฉมพันธมิตรให้มีขีดความสามารถใหม่เพื่อเท่าทันความท้าทายระดับโลกได้มีการดำเนินไป

หลักการส่วนร่วมที่มีความสำคัญก็คือการปรากฏตัว ในขณะที่เราเสริมสร้างพันธมิตรดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและดำรงการปรากฏตัวของเราที่นั่น ในส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับสมดุลนี้เราก็ได้เสริมสร้างการปรากฏตัวของเราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดีย
ส่วนประกอบสำคัญของความพยายามนี้ก็คือคำประกาศของข้อตกลงในฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้วสำหรับการสับเปลี่ยนกำลังนาวิกโยธินและการวางกำลังอากาศยานในภาคเหนือของออสเตรเลีย

การวางกำลังนาวิกโยธินชุดแรกจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน และกำลังภารกิจนาวิกโยธินภาคพื้นดินจะมีความสามารถในการวางกำลังได้อย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นั่นทำให้เราจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับหุ้นส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรอินเดียเพื่อรับมือกับความท้าทาย เช่นภัยพิบัติจากธรรมชาติ และความมั่นคงทางทะเล

กำลังนาวิกโยธินเหล่านี้จะทำการฝึกซ้อมและทำการปฏิบัติการทั่วทั้งภูมิภาค และกับออสเตรเลีย เพื่อการเสริมสร้างหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของเรา และสร้างเป็นการเสริมสร้างในทศวรรษที่มีประสบการณ์ร่วมกันของการปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน ด้วยคำกล่าวเช่นนี้ ผมยินดีตอบรับและขอแสดงความชื่นชมคำประกาศของออสเตรเลียเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าจะเล่นบทบาทผู้นำในทีมปฏิบัติการร่วม Uruzgan และจะเล่นบทบาทนำในความพยายามด้านความมั่นคงที่นั่นไปจนถึงปี 2014

เราจะยังคงดำเนินปฏิบัติการความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรที่มีมาอย่างยาวนานของเรา คือประเทศไทย การซ้อมรบประจำปี คอบร้า โกลด์ ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เป็นการฝึกซ้อมพหุพาคีระดับโลก และปีนี้เราจะหยั่งรากในความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองทันต่อความท้าทายในภูมิภาค

เราจะยิ่งเพิ่มพูนความเป็นพันธมิตรกับประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนที่แล้วในวอชิงตัน ผมได้ร่วมกับรัฐมนตรีคลินตันในการประชุม คู่ต่อคู่ (2+2) กับคู่เจรจาฟิลิปปินส์ของเรา การทำงานร่วมกันนั้นทำให้ กำลังของพวกเราประสบความสำเร็จในการต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย เรายังได้แสวงหาการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันจากการขยายขีดความสามารถ และการทำงานเพื่อปรับปรุงการคงกำลังในภาคพื้นมหาสมุทรของฟิลิปปินส์ ประธานเดมพ์เซย์จะเดินทางจากที่นี่ไปยังฟิลิปปินส์เพื่อเข้าร่วมภารกิจทางทหารเพิ่มเติม
ข้อพิสูจน์อันเด่นชัดที่เป็นรูปธรรมอีกประการหนึ่งของคำมั่นในการปรับสมดุลก็คือการเติบโตในความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับประเทศสิงคโปร์ ความสามารถของเราในการปฏิบัติการกับกองกำลังสิงคโปร์และกองกำลังอื่นในภูมิภาคจะเติบโตขึ้นอย่งมีนัยยะสำคัญในขวบปีที่กำลังจะมาถึง เมื่อเราดำเนินการในการวางกำลังเรือรบลิตโตรัลในสิงคโปร์

เมื่อเราได้ดำเนินทิศทางของพันธมิตรและหุ้นส่วนไปยังทิศทางใหม่ ความพยายามในการปรับสมดุลใหม่นี้จะก่อให้เกิดผลพวงในการขยายการเป็นหุ้นส่วนไปยังประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และ นิวซีแลนด์ อีกด้วย

ในช่วงปีที่กำลังมาถึงนี้ ผมจะเดินทางไปยังเวียดนามเพื่อเดินหน้าความร่วมมือทางการกลาโหมแบบทวิภาคี เพื่อทำสิ่งที่อยู่ในบันทึกความเข้าใจที่ครอบคลุมซึ่งทั้งสองประเทศได้มีการลงนามกันเมื่อปีที่แล้วให้เกิดเป็นจริง

จากเวียดนาม ผมจะเดินทางไปยังอินเดียเพื่อยืนยันความตั้งใจของเราในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับประเทศที่ผมเชื่อว่าจะแสดงบทบาทอันสำคัญในการสร้างอิทธิพลต่อความมั่นคงและความรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 21 นี้

ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ทำการเสริมสร้างหุ้นส่วนในภูมิภาคเหล่านี้ เราก็จะแสวงหาหนทางที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่งกับประเทศจีนด้วย เราเชื่อว่าจีนจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา สันติภาพ ความรุ่งเรือง และความมั่นคงของเอเชียแปซิฟิกในศตวรรษที่ 21 และผมหวังว่าจะเดินทางไปที่นั่นในไม่ช้าจากคำเชิญของรัฐบาลจีน รัฐบาลของเราสองต่างก็ตระหนักว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดในโลก พวกเราในสหรัฐอเมริกามีภาพอันแจ่มชัดเกี่ยวกับความท้าทาย ที่จะไม่ดำเนินหนทางที่ผิดพลาดในเรื่องนี้ และเรายังจะคว้าโอกาสในการสร้างความร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นอีกด้วย

โดยส่วนตัวแล้วผมขอให้คำมั่นที่จะสร้าง ความสัมพันธ์ ที่เข้มแข็ง สถาพร มั่นคง และต่อเนื่องยาวนาน อย่างใกล้ชิด กับประเทศจีน ผมมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพรองประธานาธิบดีสี และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายพลเหลียง ที่เพนตากอน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เป้าประสงค์ของเราก็คือเพื่อดำเนินการปรับปรุงความไว้วางใจทางยุทธศาสตร์ซึ่งจำเป็นต่อประเทศของเราสอง รวมทั้งการพูดคุยเกี่ยวกับการดำเนินการ่วมเพื่อจะแบ่งปันความท้าทายด้านความมั่นคงร่วมกัน
เรากำลังร่วมมือกับจีนเพื่อดำเนินแผนความร่วมมือระหว่างกองทัพต่อกองทัพที่แข็งแกร่งในช่วงหลังของปีนี้ และเราจะแสวงหาการดำเนินการด้าน ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การต่อต้านการค้ายาเสพติด และ การต่อต้านการแพร่กระจายอาวุธ กับหุ้นส่วนอย่างลึกซึ้งมากขึ้น..
ติดตามปาฐกถาตอนจบเร็วๆ นี้

ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชาวบ้าน ฮือต้านทำเขื่อน-แก้มลิง ส่งผลโครงการป้องกันน้ำท่วมฟันหลอ !!?

ชาวบ้านฮือต้านก่อสร้างเขื่อนคันดินริมเจ้าพระยา ผู้รับเหมาผวาไม่กล้าเข้าพื้นที่ ส่งผลโครงการป้องกันน้ำท่วมฟันหลอ หวั่น กทม.-ปริมณฑลน้ำมาเร็วและแรงกว่าปี"54 "เสรี ศุภราทิตย์" จี้รัฐเปิดข้อมูลพื้นที่รับน้ำนอง

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยเร่งด่วน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมในปีนี้ พบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลโอกาสเสี่ยงประสบปัญหาน้ำท่วม 20% โดยระดับน้ำอาจเท่าปี 2549 และน้อยกว่าปี 2554 ที่ผ่านมา ที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อพื้นที่ตอนบนไม่เอาน้ำแล้ว นิคมอุตสาหกรรมกว่า 30,000 ไร่ไม่เอาน้ำ ชุมชนเทศบาลต่าง ๆ ยกคันเพิ่มขึ้นไปอีก ฉะนั้นน้ำจะวิ่งลงมาข้างล่าง จ.พระนครศรีอยุธยาอาจเจอน้ำท่วมรุนแรงขึ้นเพราะพื้นที่ต่ำ เช่นเดียวกับ กทม.-ปริมณฑลที่อาจประสบปัญหาจากกระแสน้ำที่มาเร็วและแรงขึ้น

หลัง จากเดือนกรกฎาคมจะชัดเจนว่าควรรับมืออย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยากรณ์ฝนได้แม่นยำมากขึ้น โดยดูจากจำนวนพายุที่จะเข้ามา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เงินงบประมาณที่ภาครัฐอนุมัติไว้ 120,000 ล้านบาท ขณะนี้มีการเบิกจ่ายไม่ถึง 12,000 ล้านบาท จึงมีปัญหาว่าหากนำตรงนี้มาวัดการทำงานถือว่าการลงทุนเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง น้ำยังไม่ถึง 20% ประมาณ 18% เท่านั้น ที่สำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าในทุก พื้นที่ ว่ามีความคืบหน้าอย่างไร บางแห่งที่กำลังทำ บางแห่งยังทำไม่ได้

ขณะ เดียวกันพื้นที่รับน้ำนองที่กำหนดไว้ 2 ล้านไร่เศษ ตกลงเป็นอย่างไร เพราะชาวบ้านถามว่า เขาอยู่ในพื้นที่รับน้ำนองหรือไม่ เพราะไม่มีการประกาศเขตชัดเจน เท่าที่ทราบเวลานี้ชาวบ้านหลายพื้นที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยที่ภาครัฐจะ ประกาศกำหนดพื้นที่รับน้ำนองโดยที่ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการรับรู้หรือแสดง ความคิดเห็น

เห็นได้ชัดเจนจากกรณีก่อสร้างโครงการป้องกันพื้นที่ เศรษฐกิจ การทำคันกั้นน้ำ 300 กิโลเมตร ปรากฏว่าไม่มีใครเห็นด้วย มีความขัดแย้งสูง หลายโครงการประมูลก่อสร้างเขื่อนคันกั้นน้ำริมแม่น้ำ แต่ผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าพื้นทีก่อสร้างได้ ชาวบ้านไม่ยินยอม ส่งผลให้เขื่อนและคันกั้นน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะเป็นฟันหลอ หลายจุด ไม่สามารถป้องกันน้ำได้ สุดท้ายพื้นที่ กทม.-ปริมณฑลอาจประสบปัญหารุนแรงกว่าเดิมเพราะกระแสน้ำจะเร็วและแรงขึ้นกว่า น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา

ด้านแหล่งข่าวจากกรมชลประทานเปิดเผย ถึงความคืบหน้าในการกำหนดพื้นที่รับน้ำนองว่า จำแนกเป็น 4 กลุ่มพื้นที่ คือ 1.พื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำน่าน 2.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน 3.พื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำยม และ 4.พื้นที่ตอนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา

ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีพื้นที่รับน้ำนองเป็น 7 พื้นที่ ได้แก่

1.ฝั่ง ซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทถึงแม่น้ำลพบุรี 2.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำลพบุรี 3.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำลพบุรีกับคลองชัยนาท-ป่าสัก 4.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย 5.พื้นที่ระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำท่าจีน 6.ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน และ 7.ทุ่งผักไห่ เจ้าเจ็ด บางบาล

แบ่งเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย 1.พื้นที่เกษตรชลประทาน 2.8 ล้านไร่ 2.พื้นที่พักน้ำชั่วคราว ซึ่งไม่มีพื้นที่ใดเข้าเกณฑ์ 3.พื้นที่แก้มลิงแม่น้ำ 4.9 พันไร่ และ 4.พื้นที่ลุ่มต่ำหรือทุ่งรับน้ำที่น้ำไหลเข้าออกตามธรรมชาติ 9.8 แสนไร่ รองรับน้ำได้ทั้งสิ้น 6.6 ล้าน ลบ.ม. โดยระยะเร่งด่วนปีนี้หากฝนตกหนักและมีน้ำหลากมากเหมือนปี 2554 จะใช้พื้นที่รับน้ำนองที่มีระบบปิดล้อมและควบคุมน้ำเข้าออกได้ คือพื้นที่เกษตรชลประทาน 2.8 ล้านไร่ รองรับน้ำ 4.3 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุม 10 จังหวัดในพื้นที่เจ้าพระยาตอนบน ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และเจ้าพระยาตอนล่าง ใน จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี

ขณะเดียวกันได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือ ชดเชยความเสียหาย 2 กรณี 1.จ่ายตอบแทนทุกพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่รับน้ำนอง 650 บาท/ไร่ 2.จ่ายช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษหากได้รับความเสียหาย แยกเป็นข้าวนาปี 4,900 บาท/ไร่ พืชไร่ 6,875 บาท/ไร่ และพืชสวน 11,125 บาท/ไร่

สำหรับราย ละเอียดของพื้นที่รับน้ำนองแต่ละแห่งมีดังนี้ พื้นที่รับน้ำนองพลายชุมพล ใน อ.เมือง อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก และ อ.เมือง อ.สามง่าม และ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร รวม 1.36 แสนไร่ ความลึกน้ำเฉลี่ย 1-2 เมตร พื้นที่รับน้ำนองดงเศรษฐี อ.เมือง จ.พิจิตร 9.1 พันไร่ พื้นที่รับน้ำนองดงเศรษฐี 2 ใน อ.เมือง จ.พิจิตร 4.3 พันไร่ ความลึกน้ำเฉลี่ย 1 เมตรฯลฯ

พื้นที่รับน้ำนองพลเทพฝั่งขวาแม่น้ำท่า จีน อ.หันคา จ.ชัยนาท 7.5 พันไร่ ความลึกน้ำ 0.80 เมตร สามชุก ทุ่งโคกยายเกตุฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีน ใน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 7.3 พันไร่ ความลึก 1 เมตร ทุ่งศาลาขาวฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีน ใน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 5.3 พันไร่ ความลึก 0.80 เมตร สามชุก ทุ่งท่าว้า อ.เมือง อ.อู่ทอง และ อ.บางระจัน จ.สุพรรณบุรี 1.03 หมื่นไร่ ความลึกน้ำ 1 เมตร เป็นต้น


ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สำรวจ : รอยเลื่อนตุลาการ-การเมือง ??

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเด็นการถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญถือเป็นประเด็น เผ็ดร้อน ในกระแสการเมืองจนอาจก่อให้เกิดเรื่องบาน-ปลายหากมีการตะแบงดึงดัน ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในวงวิชาการเองเรื่องนี้ก็เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ในหลายวงเสวนา แต่ก็เชื่อว่าอาจเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ได้หากนักการเมืองจะเปิดใจรับฟัง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเสวนาวิชาการ จัดโดยวิทยาลัย นานาชาติปรีดี พนมยงค์ เรื่องปรีดี พนมยงค์หลักการแบ่งแยกอำนาจตามหลักประชาธิปไตย ตุลาการ vs. นิติบัญญัติ ภายในงานดังกล่าวมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต สสร.รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งสารภาพว่า สสร. 2540 ทำบาปสร้างองค์กรอิสระให้กลายเป็นอำนาจที่ 4 อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร รวมถึงนายโภคิณ พลกุล อดีต ประธานรัฐสภา และ นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พนัส ทัศนียานนท์ กล่าวว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจ ก้าวล่วงมาวินิจฉัยและมีคำสั่งกรณีการลงมติแก้ไขรธน. วาระ 3 ของรัฐสภาครั้งนี้ เป็นบาปที่เกิดจากการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้มีอำนาจอื่นเข้ามาใช้อำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ “อาจจะเป็นบาปของผมด้วย เพราะตอนนั้นผมเป็นสสร. 2540 คือสถานการณ์ตอนนั้นมันเลวร้ายมาก จึงจำเป็นต้องหามือปราบ หาเปาบุ้นจิ้นมา ในขณะนั้นเรามีความหวังกันมาก ในรธน. 2540 ก็หวังว่าการเมืองจะใสสะอาด การเลือกตั้งจะไม่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงไม่โกงกัน นักการเมืองก็จะทำงานกันอย่างบริสุทธิ์ โปร่งใส เพราะกลไกต่างๆ มันมัดไว้หมดเลย เรามีองค์กรอิสระ กกต. ปปช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านี้ มี อีกหลายองค์กรล้วนแค่เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นเปาบุ้นจิ้นปราบนักการเมืองที่ได้อำนาจมาโดยมิชอบ นี่เป็นกระแสของความรู้สึก ในขณะนั้น เรามีรธน. เขียนออกมาก็เฮโลเห็นดีเห็นงามกันไป ผมเองก็คัดค้านว่านี่คือการสร้างระบบขุนนางขึ้นมา ไม่ได้ผ่านความเห็นดีเห็นงามของประชาชนเลย ผ่านการสรรหาทั้งสิ้น แล้ว กรรมการก็ล้วนแต่อำมาตย์”

“การมีองค์กรอิสระก็เพื่อจะควบคุมการบริหารแผ่นดินโดย การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา ศาล หรือองค์กรอิสระต่างๆ นั้นแนวคิดพื้นฐานเพื่อเอามาควบคุมรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีโดยตรง โดยสรุปคือองค์กรต่างๆ เหล่านี้มีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ในความรู้สึกผม หลังจากที่เหตุการณ์มันพัฒนามาถึงปัจจุบันนี้แล้ว ผมคิดว่าอันที่จริงแล้วตอนที่เราทำรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น หลักการคานอำนาจ ถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงโดยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แหม เรา รู้สึกภูมิอกภูมิใจเหลือเกินว่าเราสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชนขึ้นมา แต่มันได้ทำลายระบอบรัฐสภาลงโดยสิ้นเชิง เป็นการสร้าง ระบอบนี้ขึ้นมาเป็นอำนาจที่สี่ ควบคุมอีกสามอำนาจที่เหลือ”

“ถ้ามีช่องเมื่อไหร่ท่านก็จะอ้างอำนาจทันที นี่คือตุลาการภิวัตน์ เรามาถึง รธน. 2550 นี่จึงไม่น่าแปลกใจเลย เริ่มจากใคร เป็นสสร.-ตุลาการเข้ามาเต็มไปหมดเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่ศาล รธน. สร้างอำนาจตรงนี้ ออกคำสั่งมายังสภา ถือว่าผิดต่อหลักการ กระจายอำนาจไหม”

การตีความของศาลรัฐธรรมนูญในการใช้ ม.68 ว่า ศาลคงตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายล้างรัฐธรรมนูญ และอ้างว่าตัวเองเป็นผู้แทนของอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

“แต่ผมอยากจะถามว่าถ้าเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นจริง แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเขียนไว้ทำไมในหมวดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เวลาฟังท่านฟังให้ดีๆ นะครับ เพราะเวลาพูดแล้วฟังดูลื่นมาก ถ้าไม่มีท่านก็ไม่มีใครทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ”

สสร. 2540 ผู้นี้ยืนยันว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนี้เป็น คำสั่งที่ไม่ชอบ แต่หลายฝ่ายอาจจะรู้สึกแหยงเพราะผลงานที่ผ่านมาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นน่าแขยง ทั้งการพจนานุกรมมา ตีความ การยุบพรรคการเมืองชนิดที่ทำผิดคนเดียวก็ถือว่าผิดทั้งหมู่

“เรากำลังอยู่ในวิกฤติรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญที่สุด และไม่รู้ จะหาใครเป็นคนตัดสิน ในเมื่ออำนาจในการตัดสินอยู่ที่ท่าน ในเมื่อรัฐสภาเองก็ยังลงมติไม่ได้ว่าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่มีความเห็นว่าศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่ง แต่การโต้แย้งนี้ ไปยื่น ต่อศาลซึ่งผลก็เท่ากับเป็นการยอมรับอำนาจโดยปริยาย แล้วถ้าศาลตัดสินว่าใช่ตามที่ผู้ร้องเขาร้องแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็ขอให้คิดกันต่อไป”

หากจะผ่าทางตัน..“พนัส” เสนอวิธีการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหากรณีศาลรธน. สั่งชั่วคราวระงับการลงมติวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรนูญของ รัฐสภา เพื่อรอการพิจารณคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า ส.ส. ต้องไม่กลัว เพราะที่ศาลรธน. ทำคือต้องการให้หยุด แต่ ส.ส. และ ส.ว.จะไม่ฟังคำสั่งก็ไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการจะถูกถอดถอน

อย่างไรก็ตาม ส.ส. ต้องมีความกล้าให้มาก ในเมื่อรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชน เสียงข้างมากของสภาต้องการให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกับพวกกลับขัดขวาง ดังนั้น มีทางเลือก 2 ทาง คือ หนึ่ง ยุบศาลรัฐธรรมนูญทิ้งไป แล้ว ส.ส. เข้าชื่อกันใหม่ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง เลยโดยไม่ต้องมีสสร. และในอันดับแรกที่จะแก้ไขคือ ยกเลิกศาล รัฐธรรมนูญเสีย แต่แนวทางนี้ต้องอาศัยความกล้า ส่วนประธาน รัฐสภาที่ไม่มีความกล้าต้องเอาออกไป

ทางเลือกที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นการขัดขวางความต้องการของประชาชน เมื่อขัดขวางประชาชนก็ต้องเอาอาวุธของประชาชนมาใช้คือลงประชามติ โดยวิธีการประชามตินั้นทำได้โดยนายกรัฐมนตรี ปรึกษาประธาน สภาผู้แทนและประธานวุฒิสภาโดยมีเหตุผลว่าขณะนี้เกิดวิกฤติรัฐธรรมนูญ ก็ขอให้ประชาชนลงประชามติเพียงอย่างเดียวว่า ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และในการลงประชามตินั้นก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติไปพร้อมกันเลยว่าต้องการให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย

“นายกฯ ยิ่งลักษณ์ต้องเลิกไปดูน้ำเสียที มาปรึกษาหารือกัน ว่าจะแก้ลำเขาอย่างไร ดูสิว่าจะสู้กับอำนาจประชาชนได้หรือไม่”

ด้านโภคิณ พลกุล อดีตประธานรัฐสภา เห็นว่าความวุ่นวายในอดีตที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีที่มาจากรัฐประหาร พยายามจำกัดอำนาจ ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ให้เป็นไปตามหลักยุติธรรมที่ควรจะเป็น ฉะนั้นการแก้รัฐธรรมนูญตามประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ควรกระทำ อะไรที่ไม่เป็นไปตามหลักก็ต้องทำให้ถูกหลักนิติธรรม ความไม่เหมาะสมของรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และการวินิจฉัยของตุลาการที่มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคเป็นการตีความย้อนหลังและเหมาเข่งเอาคนที่ไม่เกี่ยว ข้องไม่ได้กระทำผิดให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองยาวนานถึง 5 ปีไปด้วย นี่คือตัวอย่างที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น

โดยทั่วไปแล้วกฎหมายมีมาตรฐานเดียว แต่คนตีความกฎหมายพยายามใช้ 2-3 มาตรฐาน และการจะยื่นถอดถอนศาล รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยเสียงของวุฒิสภาจำนวนมากแล้วจึงส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะเห็นได้ว่ากลไกเหล่านี้ ถูกวางไว้หมดแล้ว เขาจึงเสียกลไกนี้ไปไม่ได้

“พวกคนไม่ชอบอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีคนเสนอว่าหากจะให้บ้านเมืองสงบพ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องมาติดคุก แต่ถ้าไปดูจริงๆ แล้วจะเห็นว่ากระบวนการที่กล่าวหาอดีต นายกฯ มีที่มาไม่ถูกต้องเกิดจากการรัฐประหารจากนั้นก็มีการแต่งตั้งคตส.รวมถึงหน่วยงานต่างๆ มาทำตรงจุดนี้ ทิ้งท้ายด้วยการตั้งคำถามให้ฉุกคิดว่าการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไปได้ทั่วโลกยกเว้น ประเทศไทย แสดงว่าหลักนิติธรรมทั้งโลกแย่กว่าประเทศไทยใช่หรือไม่”

ไม่ว่าผลของพิจารณากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่นี่จะเป็นกรณีที่ทำให้คนหูตาสว่างมากขึ้น และอยากให้ทุกคนก้าวพ้นความกลัว (ภยาคติ) เพราะความกลัวทำให้เสื่อมทุกอย่าง ก็จะไม่เดินหน้า หากเราก้าวข้ามความกลัว ส.ส.เลิกกลัว ประชาชน เลิกกลัว แล้วเดินหน้าเลิกเราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้น โดยไม่ยอมให้เขาทำเราอยู่ฝ่ายเดียว เป็นคำสรุปของ “ชาญวิทย์ เกษตรศิริ”..ที่ไม่จำเป็นต้องขยายต่อ...

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////