บนความเคลื่อนไหวทาง การเมืองหลังพ้นวิกฤติคนไทย สำลักน้ำ มีการสัประยุทธ์กัน อย่างหนักหน่วง ทั้งฝ่ายการเมืองและเวทีภาคประชาชน หลังมีการตั้งธง! เสนอแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะซีกมวลชนเสื้อแดง และองค์กรเครือข่าย ต่างเห็นตรงกันว่า..น่าจะเป็น “กลไกสำคัญ” ในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ทิศทางที่เหมาะสม
หลังจากมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) เปิดเกมเร็ว! ร่วมกับเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หรืออันเฟรล เพื่อเดินหน้าเสริมสร้างอำนาจสู่ประชาชน! โดยเสนอให้มีการ “ปฏิรูปกระบวน การเลือกตั้ง” เพื่อเพิ่มดุลอำนาจให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็ง เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการเมืองที่มีเสถียรภาพ ในระบบตัวแทน ซึ่งแนวทาง “ปฏิรูป” ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้น ให้สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง
“ควรเปลี่ยนระบบเสียงข้างมาก ให้ เป็นระบบใหม่ที่สะท้อนจำนวนคะแนนเสียง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างแท้จริงและเป็นธรรม ให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เคารพ เสียงส่วนน้อย และลดการซื้อขายเสียง ส่งเสริมการมีตัวแทนผู้สมัคร ส.ส. จากทุก ภาคส่วน ขณะที่การเลือกตั้งในระบบสัดส่วน นั้น ควรกำหนดเขตเลือกตั้งไม่เกิน 5 เขต ให้เป็นระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด โดยผู้มี สิทธิเลือกตั้งเป็นผู้กำหนดลำดับที่ และเลือกข้ามพรรคได้ รวมไปถึงการที่ ส.ส. ระบบเขต ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค”
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการใช้สิทธินั้น เสนอให้จัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยสมัครใจ และให้มีการลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งทุกครั้ง รวมทั้ง ยกเลิกการจำกัดสิทธิของผู้ต้องขัง ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช (แม่ชี ภิกษุณี) รวมทั้งกำหนดให้มีวันเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าหนึ่งวัน
ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้มีการปฏิรูป คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีบุคคลที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ มีประสบการณ์ที่หลากหลาย มีสัดส่วนหญิง ชายที่ใกล้เคียงกัน พร้อมปรับบทบาท กกต. ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งเป็น หลัก และให้ กกต.เป็นผู้ผลิตสื่อและดำเนิน การประชาสัมพันธ์การหาเสียงของผู้สมัคร และพรรคการเมืองอย่างเท่าเทียม ตลอด จนการส่งเสริมให้องค์กรเอกชนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาและตรวจสอบการเลือกตั้ง อย่างแท้จริง
เหนืออื่นใด ยังมีการตั้งธง “ปฏิรูป” กฎหมายพรรคการเมือง โดยเสนอให้นายก รัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ผู้ชนะต้องได้รับ คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง..ไม่ควรให้มีการยุบพรรค เมื่อกรรมการและสมาชิกพรรคทำผิด..ควรมีกฎหมายกำหนดให้ทุกพรรค การเมืองมีสัดส่วนผู้สมัครสตรีเป็นจำนวน ที่ชัดเจน และมีบทลงโทษหากไม่มีการปฏิบัติตาม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนชน กลุ่มน้อย หรือผู้ด้อยโอกาส มีที่นั่งในสภา ผู้แทนราษฎรด้วย..กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนหากพรรคการเมืองไม่เปิดเผยข้อมูล การรับจ่ายเงิน และข้อมูลของนักการเมือง ในพรรคที่ตนสังกัดอยู่ต่อสาธารณะ
นอกจากนี้ ทั้งพีเน็ตและ “อันเฟรล” ยังเสนอให้มี พ.ร.บ.องค์กรเอกชนตรวจสอบ การเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการเลือกตั้งในทุกระดับอย่างอิสระ และตรวจสอบพรรคการเมืองได้โดย ปราศจากอุปสรรคใดๆ รัฐจำเป็นต้องกำหนดให้องค์กรตรวจสอบดังกล่าวมีกองทุนพัฒนาองค์กรเอกชน โดยมีสัดส่วน เท่าเทียมกับกองทุนพัฒนาการเมืองและเพื่อให้การทำงานของ กกต. มีประสิทธิภาพมากขึ้น วงประชุม “เครือข่าย” ยังเสนอให้แก้ปัญหาการร้องเรียน การฉ้อฉลในการเลือกตั้ง โดยมี “ศาลชำนาญพิเศษคดีเลือกตั้ง” เข้ามาจัดการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยรับการร้องเรียนจากหน่วยงาน ผู้เสียหาย และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ศาลเลือกตั้งดังกล่าวจะปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลา
เพื่อให้ข้อเสนอข้างต้นนี้มีความเป็น ไปได้ ตัวแทนภาคพลเมืองจะส่งผู้แทนเข้า พบรัฐบาล กกต. กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมทั้งรณรงค์ให้กับประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการ เลือกตั้งเป็นจริง
“พล.อ.สายหยุด เกิดผล” ประธานพีเน็ต ย้ำหัวตะปูถึงภารกิจภาคพลเมืองหลังการเลือกตั้ง และการปฏิรูปการเลือกตั้ง ของไทยว่า..“เรายังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข แต่ประชาธิปไตยของเรายังไม่สมบูรณ์ ยอมรับว่ารัฐบาลปัจจุบันมาจาก การเลือกตั้งของประชาชนจริง แต่ยังมีคำถามสงสัยว่ารัฐบาลทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ เพราะพฤติการณ์สะท้อนให้เห็นว่าทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่า ประชาชน การเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาหวังว่าจะแก้ปัญหาการเมือง แต่กลับสร้างปัญหาการเมืองขึ้นมาใหม่ ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าหาญ กล้ารับผิดชอบ ถึงจะสร้างความ เชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ ดังนั้นเราจึงเริ่ม ปลุกตัวเองก่อนที่จะลงไปในท้องถิ่นเพื่อรณรงค์ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการเลือกตั้งเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอเป็นไปได้ตัวแทนภาคพลเมืองจะเข้าพบหารือกับรัฐบาล กกต. กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต่อไป”
นับเป็นมุมสะท้อนจาก “ภาคพลเมือง” หลังเปิดเกมเร็วจี้ข้อเสนอถึงรัฐนาวา ตอกย้ำแนวทาง “ปฏิรูป” ระบบการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกระบวน การ “ปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้ง” ที่จะใช้บังคับพรรคการเมืองที่ทำผิดกฎ! แทนการยุบพรรค เพราะเวลานี้ขั้วการ เมืองและภาคประชาชน ล้วนเห็นตรงกันว่า..สิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเมืองไทยอ่อนแอ!
ขณะที่การตั้งธงให้นายกรัฐมนตรีมา จากการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ยังเป็นประเด็น ที่ถกเถียงไม่รู้จบสิ้น เพราะยังมีความอ่อน ไหวต่อระบบการปกครองของประเทศ ซึ่ง อาจกระทบต่อเอกภาพและความเข้มแข็ง ของระบบพรรคการเมืองได้
การรื้อระบบ..ปฏิรูปการเมืองไทย อาจกลายเป็นทางสองแพร่ง! ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปปรับใช้กันเช่นไร..หากมีการแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายเร่งด่วนแห่งรัฐ กระนั้นสิทธิการแสดงออกขั้น พื้นฐานของพลเมืองในครั้งนี้ ก็ถือเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่จุดประกายความหวังในการทวงคืนอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงโดย ประชาชน..เพื่อประชาชน!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น