หลังจากที่ได้ดูละครเวทีฟอร์มเนี้ยบสุดยิ่งใหญ่แห่งปี 2554 ของ “บอย” ถกลเกียรติ วีรวรรณ ที่สร้างขึ้นมาจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จบลงไปแล้ว ก็ได้เกิดคำถามขึ้นมาในใจอยู่ 2 คำถาม คำถามแรกคือ นี่มัน 5 แผ่นดินไม่ใช่หรือ และคำถามที่สอง นั่นก็คือ สังคมไทยเหมาะกับประชาธิปไตยจริงแล้วหรือ
เมื่อเกิดคำถามขึ้นมา เราก็ต้องมาหาคำตอบกัน

สำหรับคำถามแรกที่รู้สึกว่า...นี่น่าจะเป็น 5 แผ่นดิน ไม่ใช่ 4 แผ่นดิน นั้นไม่ใช่คำถามเชิงประชดประชันแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะจากบทประพันธ์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์นั้น “แม่พลอย” นางเอกของเรื่องได้เกิด พบรัก และแต่งงานกับ “คุณเปรม” ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 แม่พลอยและคุณเปรมก็ได้ให้กำเนิดลูกชายลูกสาวที่น่ารักขึ้นมา และนับว่าเป็นสมัยที่คุณเปรมเจริญรุ่งเรืองในราชสำนักมากที่สุด ครั้นพอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 นับเป็นช่วงที่ตกต่ำของคุณเปรมต้องลาออกจากราชสำนัก และยังเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขี่ม้า ทำให้แม่พลอยต้องเป็นหม้าย อีกทั้งยังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยที่ลูกของคนทั้ง 2 เป็นหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร์อีกด้วย และสุดท้ายที่สมัยรัชกาลที่ 8 เมื่อพระองค์ท่านถูกลอบปลงพระชนม์ได้ไม่นาน แม่พลอยก็เสียชีวิตลง และนั่นก็คือตอนจบของบทประพันธ์เรื่องนี้
เพียงในเวอร์ชั่นมิวสิคัลของคุณบอย ได้มีแถมท้ายต่อออกมาอีกนิดหน่อยหลังจากนั้นเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย(เดาล้วนๆ)นั่นก็คือ การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

แต่ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาในจุดนี้นั้นกลับไม่ได้ทำให้เรื่องราวผิดเพี้ยนไป แต่กลับยิ่งเป็นการกระตุ้นแนวคิดหลักของเรื่องอย่าง “การจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก
ส่วนในคำถามที่สองอย่าง “สังคมไทยเหมาะกับประชาธิปไตยจริงแล้วหรือเปล่า” ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็น่าจะเป็นเพราะเรื่องราวที่นับได้ว่าเป็นจุดจุดไคลแมกซ์ของเรื่องในรัชกาลที่ 7 ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์ ที่ได้รับแนวคิดและอิทธิพลในระบบสังคมการเมืองการปกครองจากซีกโลกตะวันตก และต้องการนำเข้ามาใช้ในสยามประเทศ (ขณะนั้นประเทศไทยยังใช้ชื่อว่า สยาม อยู่)

ในระหว่างการดำเนินเรื่องบนเวทีของโรงละครรัชดาลัยเธียร์เตอร์นั้น ได้มีช่วงหนึ่งที่เกิดการพูดจาโต้ตอบกันไปมาอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนระหว่าง “อั้น” และ “อ๊อด” ลูกชาย 2 คนของคุณพลอยและคุณเปรม
ทั้งสองโต้เถียงกันถึงเรื่องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยทางฝั่งของอั้นที่เข้าด้วยกับคณะราษฎร์และยังเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของคณะราษฎร์ที่มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้ประเทศก้าวทัน และพัฒนาไปอย่างเสมอภาคกับประเทศในแถบตะวันตก เพราะเชื่อมั่นว่าพระมหากษัตริย์เพียงแค่พระองค์เดียวไม่สามารถปกครอง และบริหารประเทศได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นจึงควรรีบทำการเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุด

ส่วนทางฝั่งของอ๊อดนั้นก็ใช่ว่าจะไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพียงแต่เชื่อว่าสยามประเทศยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือภายในหนึ่งวัน แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สามารถส่งผลกระทบตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับชนชั้นผู้นำของประเทศแบบนี้ จะต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป และให้โอกาสกับทุกคนได้ศึกษา ทำความเข้าใจกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเสียก่อน
จากการโต้แย้งในครั้งนี้ของพี่น้องทั้งสองคนเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้เอง ทำให้นึกถึงประโยคที่เคยมีคนพูดว่า คณะราษฎร์ได้ทำการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ขึ้นมา เพราะจากตำราเรียนในสมัยก่อน หรือหนังสือบางเล่มก็อ้างว่าในความเป็นจริงนั้นรัชกาลที่ 7 ได้ทรงมีพระราชดำริอยู่ก่อนแล้วที่จะทรงคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่กลับโดนคณะราษฎร์ชิงเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน

ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ยืนยันชัดเจนพอๆกับกลุ่มแรกว่า ในความเป็นจริงนั้นรัชกาลที่ 7 ไม่ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ถูกบีบให้คืนอำนาจเสียมากกว่า เพียงแต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนจนหลายฝ่ายยอมรับได้
อีกทั้งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมาก และสามารถแก้ไขอะไรได้ ดังนั้นเราจึงจะไม่พูดถึงเรื่องนี้กันให้มากความ เพราะสิ่งที่เราอยากได้คำตอบนั่นคือ “สังคมไทยเหมาะกับประชาธิปไตยจริงหรือ”

ถ้าพูดกันในภาพรวมแล้วก็น่าจะพูดได้ว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เป็นระบอบการปกครองที่เป็นสากลและเหมาะกับทุกประเทศในโลกนี้ เพียงแต่ไม่มีอะไรในโลกที่สมบูรณ์พร้อมไปเสียทุกสิ่ง ประชาธิปไตยก็เช่นกัน หรืออาจจะเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระบอบการปกครองแบบอื่นๆในโลกนี้ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นการใช้เสียงข้างมากของสังคมพื้นฐานและแนวคิดสำคัญของประชาธิปไตย คือ "ปฏิบัติตามเสียงส่วนมาก แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย" (Majority ruled, minority right.)และสิ่งที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาค ความเสมอภาคในที่นี้คือมนุษย์ทุกคนต่างมีคุณค่าที่เท่าเทียมกัน หาได้ใช้ชาติกำเนิดในการวัดค่าไม่ จึงส่งผลให้แปรออกมาเป็นคนละหนึ่งคะแนนเสียง
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยไปแม้แต่แต่น้อยหากจะพูดว่า “ประเทศไทยพร้อมและเหมาะกับประชาธิปไตยแล้ว” เพียงแต่อย่างที่บอกว่าไม่มีระบอบอะไรที่ดีพร้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในช่วงเวลาหนึ่งเราอาจจะมีนักการเมืองขี้ฉ้อ ถนัดแต่เล่นพรรคเล่นพวก หาประโยชน์ใส่ตน ขึ้นมาบริหารประเทศ เพราะนี่ก็นับเป็นผลิตผลส่วนหนึ่งจากประชาธิปไตยที่แพร่หลายไปทั่วโลก
ภูมิ ชื่นบุญ : เรื่อง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจอนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อเกิดคำถามขึ้นมา เราก็ต้องมาหาคำตอบกัน
สำหรับคำถามแรกที่รู้สึกว่า...นี่น่าจะเป็น 5 แผ่นดิน ไม่ใช่ 4 แผ่นดิน นั้นไม่ใช่คำถามเชิงประชดประชันแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะจากบทประพันธ์ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์นั้น “แม่พลอย” นางเอกของเรื่องได้เกิด พบรัก และแต่งงานกับ “คุณเปรม” ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 แม่พลอยและคุณเปรมก็ได้ให้กำเนิดลูกชายลูกสาวที่น่ารักขึ้นมา และนับว่าเป็นสมัยที่คุณเปรมเจริญรุ่งเรืองในราชสำนักมากที่สุด ครั้นพอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 นับเป็นช่วงที่ตกต่ำของคุณเปรมต้องลาออกจากราชสำนัก และยังเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขี่ม้า ทำให้แม่พลอยต้องเป็นหม้าย อีกทั้งยังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยที่ลูกของคนทั้ง 2 เป็นหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร์อีกด้วย และสุดท้ายที่สมัยรัชกาลที่ 8 เมื่อพระองค์ท่านถูกลอบปลงพระชนม์ได้ไม่นาน แม่พลอยก็เสียชีวิตลง และนั่นก็คือตอนจบของบทประพันธ์เรื่องนี้
เพียงในเวอร์ชั่นมิวสิคัลของคุณบอย ได้มีแถมท้ายต่อออกมาอีกนิดหน่อยหลังจากนั้นเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย(เดาล้วนๆ)นั่นก็คือ การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
แต่ในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาในจุดนี้นั้นกลับไม่ได้ทำให้เรื่องราวผิดเพี้ยนไป แต่กลับยิ่งเป็นการกระตุ้นแนวคิดหลักของเรื่องอย่าง “การจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดิน” ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก
ส่วนในคำถามที่สองอย่าง “สังคมไทยเหมาะกับประชาธิปไตยจริงแล้วหรือเปล่า” ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็น่าจะเป็นเพราะเรื่องราวที่นับได้ว่าเป็นจุดจุดไคลแมกซ์ของเรื่องในรัชกาลที่ 7 ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์ ที่ได้รับแนวคิดและอิทธิพลในระบบสังคมการเมืองการปกครองจากซีกโลกตะวันตก และต้องการนำเข้ามาใช้ในสยามประเทศ (ขณะนั้นประเทศไทยยังใช้ชื่อว่า สยาม อยู่)
ในระหว่างการดำเนินเรื่องบนเวทีของโรงละครรัชดาลัยเธียร์เตอร์นั้น ได้มีช่วงหนึ่งที่เกิดการพูดจาโต้ตอบกันไปมาอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนระหว่าง “อั้น” และ “อ๊อด” ลูกชาย 2 คนของคุณพลอยและคุณเปรม
ทั้งสองโต้เถียงกันถึงเรื่องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยทางฝั่งของอั้นที่เข้าด้วยกับคณะราษฎร์และยังเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของคณะราษฎร์ที่มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อให้ประเทศก้าวทัน และพัฒนาไปอย่างเสมอภาคกับประเทศในแถบตะวันตก เพราะเชื่อมั่นว่าพระมหากษัตริย์เพียงแค่พระองค์เดียวไม่สามารถปกครอง และบริหารประเทศได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นจึงควรรีบทำการเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุด
ส่วนทางฝั่งของอ๊อดนั้นก็ใช่ว่าจะไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพียงแต่เชื่อว่าสยามประเทศยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือภายในหนึ่งวัน แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่สามารถส่งผลกระทบตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับชนชั้นผู้นำของประเทศแบบนี้ จะต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป และให้โอกาสกับทุกคนได้ศึกษา ทำความเข้าใจกับระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเสียก่อน
จากการโต้แย้งในครั้งนี้ของพี่น้องทั้งสองคนเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้เอง ทำให้นึกถึงประโยคที่เคยมีคนพูดว่า คณะราษฎร์ได้ทำการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ขึ้นมา เพราะจากตำราเรียนในสมัยก่อน หรือหนังสือบางเล่มก็อ้างว่าในความเป็นจริงนั้นรัชกาลที่ 7 ได้ทรงมีพระราชดำริอยู่ก่อนแล้วที่จะทรงคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่กลับโดนคณะราษฎร์ชิงเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ยืนยันชัดเจนพอๆกับกลุ่มแรกว่า ในความเป็นจริงนั้นรัชกาลที่ 7 ไม่ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ถูกบีบให้คืนอำนาจเสียมากกว่า เพียงแต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนจนหลายฝ่ายยอมรับได้
อีกทั้งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมาก และสามารถแก้ไขอะไรได้ ดังนั้นเราจึงจะไม่พูดถึงเรื่องนี้กันให้มากความ เพราะสิ่งที่เราอยากได้คำตอบนั่นคือ “สังคมไทยเหมาะกับประชาธิปไตยจริงหรือ”
ถ้าพูดกันในภาพรวมแล้วก็น่าจะพูดได้ว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น เป็นระบอบการปกครองที่เป็นสากลและเหมาะกับทุกประเทศในโลกนี้ เพียงแต่ไม่มีอะไรในโลกที่สมบูรณ์พร้อมไปเสียทุกสิ่ง ประชาธิปไตยก็เช่นกัน หรืออาจจะเรียกได้ว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับระบอบการปกครองแบบอื่นๆในโลกนี้ ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นการใช้เสียงข้างมากของสังคมพื้นฐานและแนวคิดสำคัญของประชาธิปไตย คือ "ปฏิบัติตามเสียงส่วนมาก แต่ไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย" (Majority ruled, minority right.)และสิ่งที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาค ความเสมอภาคในที่นี้คือมนุษย์ทุกคนต่างมีคุณค่าที่เท่าเทียมกัน หาได้ใช้ชาติกำเนิดในการวัดค่าไม่ จึงส่งผลให้แปรออกมาเป็นคนละหนึ่งคะแนนเสียง
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่เกินเลยไปแม้แต่แต่น้อยหากจะพูดว่า “ประเทศไทยพร้อมและเหมาะกับประชาธิปไตยแล้ว” เพียงแต่อย่างที่บอกว่าไม่มีระบอบอะไรที่ดีพร้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในช่วงเวลาหนึ่งเราอาจจะมีนักการเมืองขี้ฉ้อ ถนัดแต่เล่นพรรคเล่นพวก หาประโยชน์ใส่ตน ขึ้นมาบริหารประเทศ เพราะนี่ก็นับเป็นผลิตผลส่วนหนึ่งจากประชาธิปไตยที่แพร่หลายไปทั่วโลก
ภูมิ ชื่นบุญ : เรื่อง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจอนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น