--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ระวังเป็น ผู้ทรยศ !!?



ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 ของ...รัฐธรรมนูญ...นั่นเป็นเรื่องถูกต้อง...แต่...ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทำใหม่ไม่ปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการปรุงแต่ง...
เป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน

เลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม...2554 ประชาชนส่วนที่มากที่สุดของการเลือกตั้ง...ได้เลือกพรรคที่ประกาศว่า...จะแก้ไขหรือนำกลับรัฐธรรมนูญปี 2540 และปฏิเสธรัฐธรรมนูญ 2550
จึงไม่มีเหตุผลใด...พรรคการเมืองที่ได้ประกาศไว้เช่นว่า หรืออ้ายอีคนไหน...ที่เสพสุขสนุกอยู่กับหัวโขนที่เสียบหัวอยู่...จะบ่ายเบี่ยงเลี่ยงกระทำการ...ที่ประชาชนได้พิพากษาแล้ว...เพียงเพราะไม่อยากให้น้ำขุ่นฝุ่นฟุ้ง

การเมืองเป็นสิ่งมีชีวิต...หยุดนิ่งไม่ใช่คุณสมบัติของมัน
ถ้าการทำตามสัจจะวาจาที่ได้รับปากไว้กับประชาชน...จะนำไปสู่การเผชิญหน้าไม่ว่ากับกลุ่มก้อนแห่งเผด็จการกลุ่มก้อนใด...ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้คำสัญญาจะต้องฟันฝ่ามันไปไม่ว่ามันจะเป็นนรกหรือสวรรค์...ไม่ว่ามันจะเป็นความเป็นหรือความตาย...

หากสันติภาพนำมันมาสู่ความถูกต้องไม่ได้...ก็ให้สงครามนำมันมา
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า...หลังสงครามใหญ่ต่างหาก สันติภาพจึงจะยั่งยืนยาวนาน...ประชาธิปไตยกับเผด็จการ...ไม่ใช่ 2 ด้านของเหรียญ...แต่มันเป็น...คู่ขนานที่ไม่มีวันกลมกลืนกัน
ย่ำเหยียบอยู่บนเถ้ากระดูกและกองเลือดของประชาชน...แล้วประคองหัวโขนไม่ให้หล่นจากหัว...กลัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันก็ทรยศกับประชาชนไปแล้วครึ่งหนึ่ง...

ขัดขวางความพยายามของผู้ประสงค์จะแก้ไข...ก็ทรยศกับประชาชนเต็มรูปแบบ...
รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำอำนาจของคนส่วนใหญ่ไปให้คนไม่กี่คนกำกับบังคับใช้...และมันถูกใช้ทำลายรัฐบาลของประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 2 รัฐบาล...มันทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่วิกฤติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน...ในชั่วเวลาเกือบพันปีที่...ไทยเป็นประเทศ
หายนะที่มันนำมาสู่ทุกๆ สถาบันที่รวมกันเป็นประเทศไทยนั้น...เกินกว่าจะพรรณนา...
สมานฉันท์กับความชั่วช้า...ข้างหน้าของมันคือทรราชย์

โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

10 วิธี ขับรถปลอดภัยช่วงวันหยุดยาว !!?

ในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่... ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ หลาย ๆ คนรอคอย เพราะถือเป็นเทศกาลแห่งความสุขความสนุกแล้ว มนุษย์เงินเดือนหลายคนยังชื่นชอบ เพราะเป็นวันหยุดยาวอีกด้วย ทั้งสภาพอากาศที่เป็นใจ แถมมีเงิน "โบนัส" ติดกระเป๋า ซึ่งหลายคนคงเตรียมให้รางวัลกับตัวเอง รวมทั้งเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านในต่างจังหวัด

แน่นอน สิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ คือการเตรียมรถยนต์ให้พร้อมก่อนออก เดินทาง วันนี้เรามีเคล็ดลับ 10 วิธี เตรียมความพร้อมง่าย ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม อย่างวิธีการขับขี่อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณเองและ ครอบครัวมาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกการ เดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

1.เข็มขัดนิรภัยถือว่าเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุด การคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธีนั้น ควรคาดเข็มขัดให้อยู่รอบสะโพกไม่ให้เข็มขัดนิรภัยพาดบริเวณหน้าท้อง และไม่ควรรัดเข็มขัดนิรภัยจากด้านหลังหรือใต้แขน เนื่องจากจะทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

2.สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ควรใช้ที่นั่งสำหรับเด็กและคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยสูงสุด โดยควรจัดวางไว้ที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถ ส่วนเด็กอายุ 1-3 ขวบนั้น ควรนั่งที่นั่งสำหรับเด็กเช่นกัน แต่สามารถหันหน้าไปทางหน้ารถได้ สำหรับเด็กอายุ 4-7 ขวบ ซึ่งโตเกินกว่าที่จะนั่งเก้าอี้นิรภัย แต่เข็มขัดนิรภัยที่มากับที่นั่งปกติของผู้ใหญ่ก็ยังไม่พอดีกับตัว ควรใช้ที่นั่งเสริม (booster seat) แล้วคาดเข็มขัดนิรภัยของที่นั่งปกติเพื่อยึดเก้าอี้เสริมให้ติดกับเบาะรถ ทั้งนี้ ควรให้เด็กเล็กนั่งบริเวณเบาะหลังของรถ เพราะการทำงานของถุงลมนิรภัยอาจทำอันตรายต่อเด็กเล็กได้ อีกทั้งบริเวณประตูหลังของรถยังสามารถตั้งไม่ให้สามารถเปิดจากภายในรถได้ เพราะลดความเสี่ยงจากความซุกซนของเด็กน้อยได้อีกชั้น

3.ควรปรับที่ วางศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และผู้นั่งรู้สึกสบายมากที่สุด 4.ไม่ควรวางสิ่งของด้านบนหรือรอบ ๆ ที่เก็บถุงลมนิรภัย มิฉะนั้นอาจทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จนทำให้ผู้ที่อยู่ในรถบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นลิ้นชักเก็บของหน้ารถ ก็ไม่ควรเหน็บสิ่งของไว้ที่ฝาลิ้นชัก เพราะสิ่งของที่เหน็บไว้อาจพุ่งใส่ผู้นั่งเมื่อต้องเหยียบเบรกกะทันหัน

5.ผู้ขับขี่ควรทำความรู้จักและความคุ้นเคยกับรถและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยก่อน ออกเดินทาง นอกจากนี้ควรตรวจตราและซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย ก่อนออกเดินทางคือ เกจ์วัดความลึกของดอกยาง ความดันลมยาง รวมถึงระดับของน้ำมันเครื่องและน้ำในหม้อน้ำว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือ ไม่

6.ขับรถอย่างมีความรับผิดชอบ เคารพกฎหมายและมีความรู้เรื่องระดับความเร็วของแต่ละสถานที่ นอกจากนี้ควรพกใบขับขี่และรายละเอียดของประกันติดรถไว้เสมอ

7.วางแผน ล่วงหน้าก่อนออกเดินทาง โดยประมาณระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละจุดหมายปลายทาง รวมถึงขับรถตามความเร็วที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด และเว้นช่องว่างกับรถที่อยู่ด้านหน้าอย่างน้อย 3 วินาที เพราะความปลอดภัยเมื่อรถคันหน้าเบรกอย่างกะทันหัน เพื่อให้สิ่งของนั้นไม่เคลื่อนมากระแทกโดนผู้โดยสารเมื่อต้องหยุดกะทันหัน
8.จัดสิ่งของหรือกระเป๋าที่หนักที่สุดให้อยู่ใต้สุด หรือเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

9.ถึงแม้ว่าช่วงหยุดยาวจะเป็นช่วง แห่งการเฉลิมฉลองก็ตาม แต่กฎทองที่ ผู้ขับขี่ทุกคนควรจำไว้คือ "อย่าขับรถ ในขณะเมาเหล้า"


 10.หากรู้สึกเหนื่อยให้หยุดพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เดินทางในระยะทางไกลอาจต้องการแวะพักบ่อยขึ้น เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าและทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

คำต่อคำ ธีระชัย. เปิดทางเลือกแก้หนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท

ภายหลังมีการถกเถียงกันมากในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 ถึงแนวคิดการโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 1.14 ล้านล้านบาท กลับไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับภาระทั้งก้อน จนเหมือนกับว่าเกิดความไม่ลงรอยกันของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ล่าสุด ช่วงเย็นวันที่ 28 ธันวาคม นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางของกระทรวงการคลัง อย่างเปิดเผยมากขึ้น จากก่อนหน้านี้การแก้ปัญหาเรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นความลับอย่างมาก

@การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)

เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ นี้ คนที่ไม่ได้ดูรายละเอียด อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าหนี้อันนี้เวลานี้อยู่ที่ทางรัฐบาล และจะต้องไปโอนให้กับแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) จริงๆ ไม่ใช่ จริงๆ กฎหมายเขียนไว้ว่าคนที่มีหน้าที่ชำระหนี้อันนี้คือแบงก์ชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตามหลักจริงๆ เวลานี้จริงๆ คือไม่ต้องไปโอนหนี้คืนให้เขา เพราะเป็นหนี้ของเขา ของแบงก์ชาติอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ภาระในการชำระดอกเบี้ย ทีนี้ ในส่วนภาระการชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยทุกปีๆ ไป อย่างนี้ในแง่กระทรวงการคลังก็ไม่มีภาระอะไร ดอกเบี้ยเวลานี้ คือเดิม 6.5 หมื่นล้านบาท แต่ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเวลานี้ลดลง ก็ตกประมาณสัก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ถ้าหากว่าจะให้แบงก์ชาติเป็นคนชำระดอกเบี้ย วิธีการก็สามารถที่จะออกเป็นกฎหมายบังคับให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ย ก็สามารถที่จะทำได้

แต่ว่าประเด็นและข้อสังเกตที่ผมให้ไว้ ก็คืออย่างนี้ว่า ถ้าหากจะให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากว่าชำระจากส่วนที่แบงก์ชาติมีกำไร มันก็จะไม่มีผลในการเพิ่มปริมาณเงิน ไม่มีผลในการพิมพ์ธนบัตร พิมพ์เงินออกมา แต่ถ้าบังคับให้แบงก์ชาติชำระเกินกว่าที่แบงก์ชาติมีกำไรที่พึงได้ตามปกติ ตามวิธีการบัญชีปกติ มันก็จะกลายเป็นว่าไปบังคับให้แบงก์ชาติต้องพิมพ์เงิน
ทีนี้รัฐบาลทั่วโลก ทุกประเทศเขามีอำนาจในการที่จะออกกฎหมายบังคับให้ธนาคารกลางของประเทศเขาพิมพ์เงิน เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ ทุกประเทศมีอำนาจอย่างนี้ทั้งนั้น แต่ถ้าประเทศไหนเอาอำนาจนี้มาใช้ ส่วนใหญ่มันจะทำให้นักลงทุนต่างชาติ แล้วก็สถาบันการเงินต่างชาติ อย่าง IMF(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) หรือ WorldBank (ธนาคารโลก) แล้วก็สถาบันวิเคราะห์เครดิตใหญ่ เขาก็จะตั้งข้อกังวลว่า ไอ้การที่รัฐบาลใช้อำนาจทางกฎหมายมาบีบบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเอามาให้รัฐบาลใช้นี้ มันจะเป็นช่องโหว่ แล้วมันจะกลายเป็นว่าไอ้ตรงนี้ มันจะทำให้เราไปอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศแบบ อาร์เจนตินา หรือซิมบับเว อะไรอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นการที่เราจะเรียกร้องให้แบงก์ชาตินำเงินมาชำระเป็นดอกเบี้ย มันต้องขีดเส้นเอาให้พอดี ในจำนวนที่สมควร อันนี้ไม่ได้เสียวินัยการเงินการคลัง แต่ถ้าเกินกว่านี้มันมีความเสี่ยงที่จะถือว่าเสียวินัยการเงินการคลัง พูดง่ายๆ ว่าถ้าเราไปบังคับให้เขาต้องพิมพ์เงินออกมา เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ มันจะเป็นภาพที่ค่อนข้างไม่ดี

@สรุปแล้ว ครม. มีมติให้ทำอย่างไร

มติ ครม. นั้น เนื่องจากว่าผมได้มีข้อสังเกตอันนี้เอาไว้ ผมก็เลยเสนอว่าควรจะมีการปรึกษาหารือกัน โดยขอให้รองนายกฯ กิตติรัตน์ (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์) เป็นประธาน แล้วก็นัดปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแบงก์ชาติ สภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) รวมทั้งกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะดูตัวเลขกันให้ชัด

ผมเอง แนวคิดอันนี้ ที่จะให้แบงก์ชาติชำระหนี้เต็มที่ อันนี้เป็นแนวคิดที่ผมมีอยู่เดิม แล้วผมได้หยิบยกขึ้นหารือกับทางผู้ว่าการแบงก์ชาติก่อนหน้านี้แล้ว แต่ว่าพอผมได้ลงไปดูตัวเลข คือผมเอางบดุลของแบงก์ชาติมาดู แล้วผมก็เอาบัญชีกำไรขาดทุนมาดู เอาบัญชีทุนสำรองเงินตรามาดูด้วย ในประเด็นต่างๆ ก็เห็นได้ชัดว่ามันมีขีดจำกัด ถ้าหากว่าเราเรียกร้องจากแบงก์ชาติเกินกว่าขีดนั้น มันก็จะเข้าข่ายเป็นการพิมพ์เงิน พิมพ์ปริมาณเงินออกมา ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็มาชี้แจงว่า ถ้าหากว่ารัฐบาลไปออกกฎหมายแล้วบังคับแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขต มันจะต้องมีคนมาถามว่า อันนี้เป็นการพิมพ์เงินออกมาให้รัฐบาลใช้หรือเปล่า ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็บอกว่า ถ้าเขาถามท่าน ท่านก็ต้องพูดตามตรง ว่าถ้ามันเลยไปเขาก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นการพิมพ์เงิน แล้วท่านก็บอกว่าแล้วถ้าเขามาถาม รมว.คลัง รมว.คลังจะว่าอย่างไร ผมก็บอกว่า ถ้าเขามาถามผม ผมก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่ามันจะเข้าข่ายพิมพ์เงิน อันนี้มันก็จะไม่ดี แล้วถ้ามันกลายเป็นว่าถ้าเราจะไปเอาจากแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขตที่สมควร เข้าข่ายบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินมาให้รัฐบาลใช้ มันจะกระทบเครดิตไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาล แต่มันจะกระทบเครดิตไปถึงของแบงก์พาณิชย์ไทย กระทบถึงบริษัทไทยใหญ่ๆ ที่มีการค้าขายกับต่างประเทศ กว้างขวางไปหมด อันนี้ผมคิดว่าเป็น ประเด็นที่ต้องระมัดระวังมาก

@ขอบเขตที่แบงก์ชาติรับได้นี่ หมายถึงในแง่วิธีการ หรือจำนวนเงิน

จำนวนเลย ที่เราพูดถึงคือจำนวน

@แล้วจำนวนเท่าใดจึงจะเหมาะสม จำนวนที่เหมาะสมนี้ ผมขออุบไว้ก่อน คืออย่างนี้ ถามว่าจำนวนที่พอจะทำได้เป็นเท่าไหร่ ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็ได้ให้ไอเดียมาแล้ว คือทางแบงก์ชาติ ตั้งแต่สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้เคยเสนอแนวทางไว้ คือวิธีการปรับกระบวนการลงบัญชี ระหว่างบัญชีผลประโยชน์กับบัญชีกำไรสะสม ซึ่งตรงนั้น จำนวนนั้นผู้ว่าการแบงก์ชาติดูแล้ว เป็นจำนวนที่อยู่ในขอบข่าย ที่ยังอยู่ในวินัยการเงินการคลัง

แต่ปัญหาคืออย่างนี้ ปัญหาคือว่าจะต้องออกกฎหมาย แล้วก็มีการแก้ไขวิธีลงบัญชี ผมก็เลยปรึกษากับท่าน ก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นขอให้ท่านไปปรึกษาหารือกับทางศิษย์หลวงตา (หลวงตามหาบัว) ปรากฏว่ารอบแรกที่ไปปรึกษา ลูกศิษย์หลวงตาก็ยังไม่สบายใจเท่าไหร่ ผมเองกำลังมีการรวบรวมข้อมูล แล้วผมเองก็คิดว่าถ้ามีโอกาส ผมเองก็อยากจะลองปรึกษาหารือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกสักทางเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม แนวคิดขณะนี้ คือว่า หลักเป็นอย่างนี้ หลักในการที่แบงก์ชาติขอปรับปรุงวิธีการลงบัญชีหลักคืออย่างนี้ คือทุนสำรองเงินตรานั้น เงินต้น และทองคำ จะไม่แตะต้อง แต่ขอเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้น ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี เอามาใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ หลักง่ายๆ แค่นี้ ขณะนี้ไอ้วิธีการลงบัญชี มันทำให้ดอกผลไม่ออก เขาก็บอกว่าถ้าอย่างนั้น ขอหลักอย่างนี้ เงินต้นไม่แตะ ทองคำไม่แตะ ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี ที่งอกในแต่ละปีเท่านั้นที่เราจะเอามาใช้ แล้วหลักนี้ถ้าเราเอาแค่นี้ ในแง่ของทางแบงก์ชาติก็บอกว่าอันนี้อยู่ในขั้นที่มันไม่มีปัญหาวินัยการเงินการคลัง

@ปัจจุบันการลงบัญชีทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
มันอีรุงตุงนังกันอยู่เวลานี้ คือกระบวนการลงบัญชีเวลานี้มันกลายเป็นว่าดอกผลประจำปี ซึ่งควรจะเอามาใช้ มันไปวนกันอยู่ จนกระทั่งเอาออกมาใช้ไม่ได้ ก็ต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมาย แต่หลัก ผมย้ำอีกครั้ง อย่าไปลงรายละเอียด เพราะเทคนิคทางบัญชีของแบงก์ชาติมันวุ่นวายมาก แต่หลักก็คือว่าเราจะไม่แตะต้นเงิน จะไม่แตะทองคำ ไม่แตะเงินบริจาค แต่ว่าดอกเบี้ย ดอกผลที่ออกในแต่ละปี เอาดอกผลตรงนี้มาใช้ในการแก้ปัญหา แล้วเราก็ไม่ได้เอามาใช้เป็นงบประมาณรัฐบาลทั่วไป แต่เอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ เท่านั้น

@จะเอามาในจำนวนที่ดูมีนัยยะสำคัญแค่ไหน เท่าที่ดู ผมกำลังให้เขาเก็บตัวเลข แล้วก็จะเอาตัวเลขตรงนี้มาดู แต่ว่าถ้าดูตัวเลขปีนี้ที่จะออกมา มันประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ดอกผลตรงนี้ เป็นดอกผลที่ไม่ได้มาจากการตีราคา แต่มาจากพันธบัตรรัฐบาลที่ไปลงทุนไว้แล้วมีดอกเบี้ย

นอกเหนือจากนั้นเอง ผมได้มีการปรึกษาหารือกับผู้ว่าการแบงก์ชาติ ลองหาแนวทางอื่น คือสมมติว่าเงินต้นทางแบงก์ชาติเขาต้องรับภาระอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวล แต่ทำยังไง เราจะแหล่งเงินเพื่อเอามาใช้ประจำปีให้ได้ ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ที่ผมตั้งไว้ สมมติว่าได้จากดอกผลจากบัญชีเงินตรา สมมติว่า 2-2.5 หมื่นล้านบาท ผมไปดูอีกแหล่งหนึ่งที่เจอ ก็คือว่า สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ปัจจุบันเรียกเก็บเงินเพื่อคุ้มครองเงินฝากจากระบบ จากแบงก์ 0.4% เป็นเงินปีหนึ่งประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท ตรงนี้ผมคิดว่าเราเอามาใช้ก่อนได้ โดยที่ในระหว่างนี้กระทรวงการคลังจะเป็นคนค้ำประกัน ในส่วนภาระของการประกันเงินฝาก กระทรวงการคลังจะเป็นคนดูแลเอง นี่ก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีแหล่ง 2 แหล่งนี้ เราก็สามารถจะ Survice ดอกเบี้ยไปได้เรื่อยๆ ส่วนต้นเงินก็เมื่อวันนึงแบงก์ชาติมีกำไรขึ้นมา แบงก์ชาติก็ค่อยๆ ลดต้นเงิน ก็คงไม่มีปัญหา

นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังให้ข้อมูลด้วยเงินที่เราได้จาก สคฝ. มันจะโตขึ้นตามปริมาณเงินฝาก ซึ่งเวลนี้โตทุกปี พอเราทำพยากรณ์แล้ว เงินตรงนี้มันจะเหลือเกินกว่าที่จะเอามาใช้ชำระดอกเบี้ยอย่างเดียว ก็ใช้ชำระเงินต้นได้ด้วย คร่าวๆ คือในเวลาประมาณ 30 ปี ส่วนจะเอามาเท่าไหร่ ผมขออุบไว้ก่อน

@จะกระทบกับความเชื่อมั่นของระบบสถาบันการเงินหรือไม่ หากทำเช่นนั้น คิดว่าไม่ เพราะว่า หนึ่ง คือที่ผ่านมา เราได้มีการแก้ไขฐานะของระบบสถาบันการเงินของเรา อย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว แล้วก็อีกประการหนึ่งก็คือว่า ในส่วนนี้กระทรวงการคลังเข้าไปยืนเป็นหลักให้แทน คือภาระ แล้วก็ความรับผิดชอบของสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีอยู่อย่างไร กระทรวงการคลังก็จะเข้าไปรับผิดชอบแทนเป็นการชั่วคราว

@ดูเหมือนกับว่าภาระไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เพียงแค่โยกดอกเบี้ยออกไปจากความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังเท่านั้นเอง

แต่ว่าการบริหารการคลังง่ายขึ้นเยอะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็จะมีเงินจาก สคฝ. ปีนึงอาจจะ 2.9 หมื่นล้านบาท แล้วก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็จะมีเงินจากดอกผลทุนสำรองเงินตรามาอีก 2-2.5 หมื่นล้านบาท มันก็พอที่จะ Survice ดอกเบี้ยได้ ทีนี้ในส่วนที่มันเกินจากการชำระดอกเบี้ย มันก็สามารถนำไปตัดเงินต้นได้ ก็เอาไปช่วยลดเงินต้นได้ ผมว่าปัญหาตอนนี้เรายังไม่ต้องไปกังวลถึงเรื่องเงินต้น ขอให้เรามีแหล่งเงินมา Survice ดอกเบี้ยก่อน ผมย้ำอีกครั้งว่าดอกเบี้ยเวลานี้มัน 4.5 หมื่นล้านบาท

@แต่ว่าถ้าไม่ชำระเงินต้น ดอกเบี้ยก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ ดอกเบี้ยก็ยังเดิน แต่ว่ามันก็ยังพอ การตัดต้นนั้น ถ้าหากว่ามันมีส่วนเกิน ก็สามารถนำไปชำระต้นได้ทุกปีๆ

@ทำไมไม่ใช้วิธีออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เอาดอกผลตรงนั้นมาใช้ชำระหนี้เงินต้นไปเลย เข้าใจ แต่ว่าเวลานี้การจะออก พ.ร.ก.นั้น ให้แบงก์ชาติเขาไปทาบทามทางลูกศิษย์หลวงตา เขาก็ยังมีข้อกังวลอยู่ ขณะนี้กำลังดูว่าจะออกยังไง ขอผมปรึกษาหารือกันก่อน

@จะคุยกับลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเมื่อไหร่ เดี๋ยวกำลังให้จัดตัวเลข แล้วจะคุย ตอนนี้เท่าที่ฟังดูรองนายกฯ กิตติรัตน์ จะนัดคุยวันศุกร์ (30 ธ.ค.54) ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าท่านจะมีไอเดียอะไรเพิ่มเติมรึเปล่า เผื่อมีก็จะได้เอาไปคุย

@สรุปแล้วที่บอกว่าถ้าโยกหนี้ไปอยู่แบงก์ชาติแล้วหนี้สาธารณะจะลดลง ถือว่าจริงหรือไม่ คืออย่างนี้ มันอยู่ที่ไหนก็ตามหนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้นะ เราจะโยกบัญชี ย้าย แล้วก็ขีดเส้นออกจากนี้ แล้วเอาไปลงไว้ที่ไหน หนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้หรอก เพราะฉะนั้นไม่จริง บัญชีที่อาจจะดูว่ามันไม่ใช่บัญชีของรัฐนั้น คือเราอาจจะดูจากในแง่มุมของสายตาเราเอง สำหรับคนพื้นๆ อาจจะสายตาของใครก็ตาม แต่ถ้าเป็นสายตาของ IMF ที่เขาเป็นคนคอยดูตัวเลขเงินทุนระหว่างประเทศ ถ้าเป็นสายตาของนักวิเคราะห์ ถ้าเป็นสายตาของ Rating Agency หรือสถาบันการจัดอันดับ ผมคิดว่าเขาก็ยังนับเป็นหนี้สาธารณะอยู่ดี

@แล้วแนวทางที่เคยเสนอว่าจะใช้วิธีคงภาษีนิติบุคคลกลุ่มแบงก์ไม่ลดเหลือ 23%ยังทำหรือไม่ อันนั้น ก็คิดแล้วคิดอีก บังเอิญตอนนี้มันจบไปแล้ว เผอิญว่ากระบวนการลดภาษีมันผ่านไปแล้ว ลงราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว

@แบงก์จะยอมรับหรือไม่ ถ้าจะไปเอาเงิน สคฝ.มาใช้ อันนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะไปเอามา

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

เผือกร้อน. ข้ามปี งานหนัก นายกฯ โยกหนี้ให้แบงก์ชาติ


มติ ครม.เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม เห็นชอบการโอนหนี้คงค้างจากการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินเมื่อปี 2540 ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้บริหารจัดการและชำระหนี้โดยไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ

สะท้อนอะไร

มติ ครม.เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม รับทราบว่าสัญญาที่มีให้กับ กทม.สิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้ามาดำเนินการในวันที่ 2 มกราคม 2555

สะท้อนอะไร

สะท้อนจุดเด่นของ "นายกฯนกแก้ว" ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระนั้นหรือ สะท้อนจุดเด่นของ "ปุเลง...นอง" ของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ กระนั้นหรือ

นี่มิได้เป็นการของ "นายกฯนกแก้ว" อย่างแน่นอน

เพราะเป้าหมายของที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร คือ การขยายศักยภาพ เพิ่มรายได้ เพื่อลดการขาดทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ขาดทุนสะสมมาอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับเป้าหมายของการโอนหนี้คงค้างให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินคือการลดภาระหนี้สาธารณะลงได้ประมาณร้อยละ 10 โดยพลัน

ตรงกันข้าม นี่เป็นการของรัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า" อย่างไม่ต้องสงสัย

ถามว่าจุดเด่นของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จากเดือนมกราคม 2544 ถึง เดือนกันยายน 2549 คืออะไร

หากให้พรรคประชาธิปัตย์ตอบ ก็อึงคะนึงด้วยคำว่า ทุจริต คอร์รัปชั่น ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล

แต่หากให้กว่า 15 ล้านเสียงที่เทคะแนนให้พรรคเพื่อไทยกระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ

ก็เห็นแต่ "นิ้วโป้ง" ที่ชูพร้อมกับคำว่า "ซูดดด ยอดดดด"

เป็นความสุดยอดในกระบวนการบริหารจัดการ เป็นความสุดยอดในการแปรนามธรรมแห่งนโยบายเป็นรูปธรรมทางการปฏิบัติ

นั่นก็คือ ทำให้ "ประชาธิปไตยกินได้"

ข้อเสนอของการรถไฟแห่งประเทศไทยผ่านกระทรวงคมนาคมที่จะเข้าบริหารจัดการพื้นที่อันเป็นทรัพย์สินของตน แทน ที่จะให้ กทม.เช่าด้วยราคาแสนถูก นั่นแหละคือการขับเคลื่อนในเรื่องของการบริหาร

อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อเพิ่มผลกำไรไป ลดทอนในส่วนที่ขาดทุนด้านอื่น

ยิ่งเป็นข้อเสนอในเรื่องการโอนหนี้สินคงค้างที่มีมาตั้งแต่วิกฤตเมื่อปี 2540 ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอย่าง เบ็ดเสร็จ

ยิ่งสะท้อนความกล้า

ไม่ว่าข้อเสนอนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่การหยิบเอาหนี้สินคงค้าง 1.14 ล้านล้านบาทจากสถานการณ์เมื่อปี 2540 นับว่าแหลมคม

นี่เป็น "เผือกร้อน" ที่หลายคนไม่อยากยื่นมือเข้าไปแตะ

แท้จริงแล้ว หนี้สินนี้เริ่มต้นที่ 1.4 ล้านล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระเงินต้น

เป็นเวลา 14 ปีแล้ว ที่รัฐต้องจัดงบประมาณปีละ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระ ดอกเบี้ย

ขณะเดียวกัน เป็นเวลา 14 ปีแล้ว ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถชำระเงินต้นไปได้ 300 ล้านบาท จึงเหลือหนี้คงค้างอยู่ที่ 1.14 ล้านล้านบาท ในปัจจุบัน

14 ปีชำระได้ 300 ล้านบาท

14 ปีชำระดอกเบี้ยไปแล้ว 8 แสน 4 หมื่นล้านบาท

การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกปัดปฏิเสธไม่ยอมรับมติ ครม.เป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อยก็จะนำไปสู่การถกแถลงอภิปรายถึงเหตุถึงผล

ที่สำคัญก็คือ หากไม่ทำอย่างนี้แล้ว จะดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นคุณ

ความขัดแย้งมิได้เป็นเรื่องเลวร้าย ตรงกันข้าม ภายในความขัดแย้งย่อมมีหนทางออกที่เหมาะสม

รัฐบาลมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อมีปัญหาก็ต้องเข้าไปศึกษา หาวิธีแก้ปัญหาเพราะปัญหาเขามีไว้แก้มิได้มีไว้แบก

เรื่องอย่างนี้พวก "ดีแต่พูด" ไม่ทำหรอก มีแต่ "นายกฯนกแก้ว" เท่านั้น ที่กล้าลงมือทำ

ที่มา: มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แก๊งค์เด็กนรก !!?

ฝากความไปถึง “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ออกระเบียบ กวาดล้างยาเสพติด ในฐานะ “รองนายกฯ”
ที่พัทยาเหนือ สาย ๓ เป็นที่ตั้งผับ แหล่งท่องเที่ยว “นัวเนีย” มั่วสุมอัพยากันสุดสวิง
“เดนนรก”ที่คุมผับเป็นขาโจ๋ ขายยาไอซ์ ยาอี ประเจิดประเจ้อ เป็นของจริง
ใครเอายา ไม่ซื้อยา มาเสพเอง ก็ถูกรุมสกรัม ถูกยิง...อ้างอำนาจบาตรใหญ่ “เด็กคนมีเส้น” เอาชื่อ “จงรักษ์” มาขู่ตำรวจก็ไม่กล้าจับ
เส้นแข็งโป๊ก...มันค้ายาเสพติดนรก?...เย้ย “รองนายกฯเฉลิม”มากเลยนะครับ

++++++++++++++++++++

อำนาจเป็นของคุณ
มีอำนาจ ไม่สั่งการประการใด?...”ประชาชนคนไทย” ที่ไหนจะมาหนุน
“ตั้วเจ๊กฤษณา สีหลักษณ์” รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผู้ควบคุมดูแลสื่อ..ผ่านไป ๓ เดือน ๔ เดือน ท่านยังงมหราก๋า นั่งปะแป้ง
ตอกย้ำเลยว่า เป็น “รัฐมนตรี” ที่ “เสียของอย่างแรง”
ปล่อยให้ “สื่อเท็จ” ถล่มยึดหน้าจอทีวี และโทรทัศน์แต่ละช่อง ..เปิดยุทธการ ละลายสีตีข่าวใส่ไคล้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กันอย่างสาดเสีย เทเสีย ไม่มีชิ้นดี
นับวันมีแต่หย่อนยาน...ปลดพ้นจากรัฐบาล?...เร็ววัน คนจะพากัน แฮปปี้
 
++++++++++++++++++++

ล้างมือในอ่างทองคำ
ปิดสาย เลิกรับสาย...ไม่ยอมที่จะพูดกับ “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” สักคำ
สายลัย สายสื่อเจมส์บอนด์ จาก “บุรีรัมย์” ยืนยันว่า... “เดอะมาร์ค” ต่อสายไปถึง “เนวิน ชิดชอบ” อยู่เสมอ
กริ้งกร้างสายแทบไหม้..แต่ “ซูเปอร์ห้อย ร้อยยี้สิบ” ก็ไม่เคยรับสาย สิเธอ
กล่าวกับคนข้างเคียง...ขอล้างมือไม่ยุ่งกับการเมือง ที่มีแต่ความสับปลับ ยุ่งเหยิง ไม่เว้นวัน
เมื่อเข้าไปยุ่งกับการเมือง...โอ๊ย,มีแต่เรื่อง?..ให้เคืองขุ่น กระทั่งแทบไม่มองหน้ากัน

+++++++++++++++++++

อย่ามองข้าม “คดีสนธิ”
หยิบเอาสำนวน การตามฆ่าตามล้าง “สนธิ ลิ้มทองกุล” ขึ้นมาปัดเป่า ดีกว่านะคุณพี่
เพราะคดีนี้, นักการเมือง ที่เป็นพลเรือน ร่วมกันวางแผน “ยิงหัวสนธิ”จนเป็นหัวตะขาบ
เอาคดีนี้เป็นประเด็น...นักการเมืองที่สั่งฆ่าประชาชน ๙๑ ศพ..ก็จะจนมุมด้วยหลักฐานเองล่ะครับ
ดีกว่าเอาคดี นักรบประชาธิปไตย ตายกลางถนน ๙๑ ศพ บาดเจ็บ ๒ พันมาตามเช็คบิล จึงขอบอก
เพื่อลบล้างว่าตามกลั่นแกล้ง...เรื่องนี้รัฐบาลจะเล่นแรง?..มันก็ตีหน้าเสแสร้ง ว่ากลั่นแกล้งไม่ได้ดอก

+++++++++++++++++++

“เติบโต”ตามหน้าที่
ถ้า “พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์” ผบ.ตร. จะก้าวมาเป็น “รองนายกฯคุมความมั่นคง”ก่อนเกษียณ ก็เข้าท่าดี
เบิ้ลล์ให้ ๒ ขั้น สำหรับ “พล.ต.อ.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ.อยุธยา” มือปราบสาย “บิ๊กเฉลิม อยู่บำรุง” เป็น “รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย” ก็เข้าท่า
เพื่อหนุนให้ “พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร ขึ้นเป็น “ผบ.ตร.” ไงล่ะคุณเจ้าขา
ถ้าเป็นไปตามสูตรนี้, “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” จะก้าวกระโดดเติบโตฉับพลัน
เรียกว่าเป็น ๓ หนุ่ม ๓ มุมรูปหล่อ..ที่มาสกัดกลุ่มนักการเมืองหัวหมอ?..ให้กลัวหงอก็แล้วกัน

ที่มา.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หัวเราะฟันร่วง แคนนอน-นิคอน ร่วมกับเปิดตัวกล้อง DSLR 1D3S (Parody) !!?


หัวเราะฟันร่วง!! แคนนอน-นิคอน ร่วมกับเปิดตัวกล้องDSLR 1D3S (Parody)

แข่งไปก็งั้นๆ แคนนอน-นิคอน ประกาศช็อควงการกล้องดิจิตอล เปิดตัวกล้องดิจิตอล DSLR ใหม่ภายใต้ชื่อ Canikon รุ่น1D3S พร้อมกับชุเลนส์ใหม่ Likkors Lens พร้อมระบบกันสั่นขั้นเทพ VS Systems คาดว่าจะวางขายปลายปี 2012 ยังไม่กำหนดราคา...

เผยคลิปสะเทือนอารมณ์ คนในอุตสาหกรรมและตลาดกล้องดิจิตอลรับปีใหม่ 2012 หลังจากเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา เมื่อ บริษัทแคนนอน และนิคอน ประเทศญี่ปุ่น ตัดสินใจร่วมกันเปิดตัวกล้องดิจิตอลแบบ DSLR ภายใต้บริษัทใหม่ แคนนิคอน (Canikon) ในรุ่นพิเศษ Canikon1D3S โดยไร้เทียมทานด้วยจุดเด่นในการโฟกัสของนิคอน และ การถ่ายวิดีโอของแคนนอน โดยถือเป็นกล้องระดับสูงของโลกการถ่ายภาพ

นายไค มาร์คทรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.แคนนิคอน กล่าวว่า ภาพถ่ายไม่มีพรมแดนขวางกันกั้น นับตั้งแต่การต่อสู้ในตลาดกล้องดิจิตอลมาอย่างยาวนานของนิคอน และแคนนอน นำมาสู่กล้องดิจิตอล Canikon1D3S ที่เหนือกว่าค่ายใดทั้งคุณภาพและราคา ทำให้คำถามอมตะว่า "แคนนอนกับนิคอนอะไรดีกว่ากัน?" ต้องจบไป แม่จะแข่งกันกันมาในธุรกิจกล้องถ่ายภาพนิ่งมาอย่างยาวนาน แต่จะมีอะไรดีไปกว่าการร่วมมือกัน โค่นคู่ต่อสู้รายเล็กที่มีในตลาดอย่างโซนี่ และเพนแท็กซ์

ด้าน นายโนบิ โนบิตะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ บริษัทแคนนิคอน กล่าวว่า Canikon1D3S จะนำเอาทุกสิ่งที่นักถ่ายภาพชอบบนกล้องนิคอน D3s และแคนอน EOS 1Ds ที่เป็นกล้องเซ็นเซอร์รับภาพแบบฟูลเฟรมความละเอียด 21 ล้านพิกเซล โดยจุดเด่นอยู่ที่ สามารถใช้เลนส์ร่วมกันได้ ทั้งเลนส์คุณภาพสูงตระกูล L และ Nikkor Lens ทั้งวายด์แองเกิล และเทเลโฟโต้ รวมทั้งเลนส์ใหม่ที่จะออกมาในชื่อ Likkors Lens รวมถึงระบบกันการสั่นสะเทือนของเลนส์ ทั้ง Image Stabilizer: IS ของแคนนอน และ VR System ของนิคอน ที่นำมาผสานกันจนเป็นเทคโนโลยีใหม่ VS: Vibration Stabilizer System ที่ทำให้ถ่ายภาพได้คมชัดแม้ว่าจะเขย่ากล้องอย่างรุนแรง รวมทั้งยังเปลี่ยนการซูมเข้าออกจากการหมุนเลนส์ เป็นการชักเข้า-ออก ทำให้เชื่อว่า แคนนิคอน จะเป็นกล้องที่โดนใจนักถ่ายภาพมากที่สุด เท่าที่เคยมีมาในตลาด และไม่มีใครสามารถเอาชนะ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องมาแข่งกันอีกว่าแบรนด์ไหนดีกว่ากัน

ทั้งนี้กล้อง แคนนิคอน 1D3S จะวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2012 และยังไม่ได้มีการกำหนดราคา...(เพราะมันมีอยู่จริงซะที่ไหน)

ปล.เนื้อหา รูปภาพทุกอย่างเป็นการสร้างขึ้นเพื่อล้อเลียนทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายภาพของบริษัทแคนนอน และ บริษัทนิคอน ที่จำหน่ายในประเทศไทยแต่อย่างใด
ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขมากๆ สุขสันต์ปีใหม่ 2555 Happy New(s) Years 2012

ที่มา: ไทยรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ลงชื่อแก้ ม.112ไม่ผิดผู้ที่จะร่วมเสนอกฎหมาย เข้าสภาอย่ากังวล !!?

นักวิชาการในคณะนิติราษฎร์ให้ความมั่นใจกับประชาชนที่จะร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่มีความผิด ชี้ลงชื่อเสนอแก้เป็นแค่การเปิดประตูให้มีการถกเถียงกันตามระบอบประชาธิปไตยในสภาเท่านั้น ส่วนจะแก้หรือไม่เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ระบุหากแก้สำเร็จจะเป็นแค่ก้าวแรก ในอนาคตต้องพูดกันเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย

นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร กล่าวถึงการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าช่วงที่กลุ่มระดมสมองในการทำข้อเสนอนี้ พบว่ามีความคิดเห็นแตกออกเป็น 2 ส่วน โดยบางส่วนอยากให้ยกเลิกมาตรานี้ไปเลย ขณะที่บางส่วนอยากให้กลับไปใช้หมิ่นประมาทแบบบุคคลทั่วไป เพียงแต่การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ก็ให้เป็นเหตุเพิ่มโทษให้มากขึ้นได้เท่านั้นเอง

“สุดท้ายเราก็เลือกเสนอแนวทางที่ประนีประนอมมากที่สุดกับบุคคลทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ต้องการให้กฎหมายนี้คงอยู่ต่อไปและฝ่ายที่ต้องการให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทแบบคนปรกติธรรมดา โดยให้ปรับลดโทษลงมาตามความเหมาะสม”

นายปิยบุตรกล่าวว่า ที่ประนีประนอมก็ถอยจนถึงที่สุดแล้ว เรียกว่าเป็นขั้นต่ำแล้ว ต่ำกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะในมุมของนักวิชาการที่ต้องการให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เห็นว่าการแก้ไขมาตรา 112 แม้ทำสำเร็จ ต่อให้แก้ได้สวยหรูอย่างไร สุดท้ายถ้าคนที่ใช้กฎหมายยังมีอุดมการณ์ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะใช้มาตรานี้ต่อไปเต็มสูบ ไม่เป็นคุณต่อการแสดงสิทธิเสรีภาพอยู่ดี

“ถามว่าเราทำเฉพาะการแก้ไขมาตรา 112 อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ในอนาคตจำเป็นต้องพูดเรื่องอื่นๆต่อไปอีกคือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง” นายปิยบุตรกล่าว พร้อมย้ำว่า การเข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่เป็นการผิดกฎหมาย เมื่อยื่นเรื่องเข้าสู่สภาแล้วจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ซึ่งอย่างน้อยจะเป็นการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันตามระบอบประชาธิปไตย และหากมีประชาชนลงชื่อมากพอ แสดงว่ามาตรานี้อาจมีปัญหา

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

คอหวยลุ้นอีก เลขเด็ด บนกล่องของขวัญนายกฯปู ?

ขยับนิดได้เลขอะไร น่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนรอคอยและจดจำ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ในอีกบทบาทหนึ่ง "เจ้าแม่ปู" ที่เลขรอบตัวนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ทะเบียนรถหลายคัน หรือกรณีชู 2 นิ้ว เมื่อครั้งออกจากโรงพยาบาลหลังพักฟื้นอาการอาหารเป็นพิษ เกิดเป็นภาวะ "ตีหวย" ทุกครั้งไป และเลขที่เกี่ยวกับนายกฯก็มักจะกลายเป็นเลขเด็ด จนเป็นที่เลื่องลือให้คอหวยต้องคอยอัพเดทกิจกรรมพิเศษของนายกฯอย่างใกล้ชิด กับกิจกรรมล่าสุด "จับสลากของขวัญปีใหม่" ร่วมกับผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล

เสียงคอหวยสอบถามให้เซ็งแซ่ ทั้งวอทส์แอพ บีบี สงสัยใคร่รู้ว่ากระดาษใบเล็กๆในมือนายกฯปูที่หยิบสลากขึ้นมาเป็น "หมายเลข" ของขวัญ เบอร์อะไร?

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด ประจำทำเนียบรัฐบาล เจ้าของของขวัญที่นายกฯจับสลากได้ ระบุว่า กระดาษในมือเป็นชื่อเธอ เพราะจับสลากครั้งนี้ไม่ได้เขียนแบบตัวเลข แต่เขียนเป็นชื่อเจ้าของของขวัญไปเลย

แล้วจะใช้เลขอะไร?

ก็ปรากฎว่าของขวัญที่นายกฯปูจับสลากได้เป็น "วิทยุทรานซิสเตอร์" ยี่ห้อ "ธานินทร์" สีดำ (ของแท้) รุ่น TF-268 ราคาขายบนอินเทอเน็ต 450 บาท แต่ผู้สื่อข่าวคนนี้ซื้อที่ร้านในตลาดสด จ.ขอนแก่น มาในราคา 380 บาท โดยของขวัญชิ้นนี้ถูกห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7677




นายกฯปูถือของขวัญชิ้นนี้กลับห้องทำงานไป โดยที่ "คอหวย"ก็ลุ้นไปว่างวดนี้เลขเกี่ยวกับ "ของขวัญจับสลาก" ชุดนี้ ของเจ้าแม่ปูจะออกตรงเป๊ะกันอีกหรือไม่...โปรดติดตาม แบบใช้วิจารณญาณ

รายงานโดย มิสนอราห์
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////

จีนหนุนMOUไทย 6 ฉบับรวด วงเงินกู้พิเศษ 400 ล้าน US. จุดต่าง มาร์ค-ปู ในสายตาต่างชาติ..!!?



การแข่งขันทางการเมือง กับ การมุ่งทำลายล้างทางการเมือง เป็นสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เพราะการแข่งขันทางการเมืองนั้น เป็นสิ่งที่นานาอารยะประเทศยอมรับได้ ทุกประเทศเสรีประชาธิปไตยจะต้องมีพรรคการเมืองที่ทำงานแข่งกัน เพื่อที่จะให้ประชาชนได้ตัดสินใจว่าพรรคการเมืองใด สมควรที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศ

ถ้าได้รับการเลือกตั้งให้บริหารประเทศแล้วทำไม่ได้ หรือผลงานไม่เข้าตาประชาชน ก็เลือกตั้งกันใหม่

นี่คือระบอบประชาธิปไตยที่เสียงของประชาชนมีความหมายต่อการก้าวเดินไปข้างหน้าของประเทศ

ซึ่งแม้ในบางประเทศจะเป็นการแข่งขันกันของพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ที่ต้องขับเคี่ยวแข่งขันกันก็ไม่เป็นไร ประชาชนที่เป็นแฟนคลับของเดโมแครต หรือแฟนคลับของรีพับบลิกัน ก็ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้าเข้าใส่กัน

ช่วงไหนพรรคการเมืองใดมีผลงานดี มีนโยบายที่ถูกใจประชาชน ก็เป็นฝ่ายชนะไป อีกฝ่ายก็ต้องปรับปรุงตัวปรับปรุงการทำงาน

แต่ต้องไม่ใช่การมุ่งทำลายล้างกันในทางการเมืองอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้

เลือกตั้งสู้ไม่ได้ ก็ใช้สารพัดวิธีการ สารพัดกลุ่มเข้ามาเล่นงานพรรคการเมืองและรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ว่าอย่างไรประชาชนที่ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคเลือกรัฐบาลเข้ามา ก็ย่อมที่จะยอมรับไม่ได้
การเผชิญหน้ากันก็ย่อมบังเกิด ในขณะที่การปรองดองก็กระเด็นหายไปจากสังคม

อย่าว่าแต่สังคมไทยภายในประเทศด้วยกันเองเลย แม้แต่ต่างประเทศก็อึดอัด และยากที่จะยอมรับกฏเกณฑ์กติกาใดๆที่เห็นชัดว่าเป็นเกมการทำลายล้างกันในทางการเมืองได้

ฉะนั้นจะเห็นว่ารัฐบาลชุดที่แล้วของนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ค่อนข้างที่จะมีปัญหากับบรรดามิตรประเทศ เพราะประเทศเหล่านั้นแม้จะไม่บอยคอต แต่ก็อึดอัดใจที่จะให้ความร่วมมือ เลยใช้วิธีการเพียงแค่รักษามารยาททางการทูตเอาไว้เท่านั้น

แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนติดกัน มีปัญหากระทบกระทั่ง มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ระหว่างชายแดน ประเทศพวกนี้จะไม่มีการเกรงใจประเทศไทยในช่วงรัฐบาลที่แล้วเลย

เพื่อนบ้านจึงมีลักษณะไม่ใช่มิตรประเทศเหมือนในอดีต

สิ่งเหล่านี้ หากยอมรับความเป็นจริง พรรคประชาธิปัตย์จะต้องมองเห็นว่าการที่มุ่งแต่จะไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่ให้นายกษิต ภิรมย์ ดำเนินการทุกรูปแบบนั้น ได้ทำให้ประเทศไทยในสายตาต่างประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆนั้นวูบลงมากมายเพียงใด

ก็สมควรแล้ว เมื่อนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะตอบชี้แจงกระทู้เรื่องการออกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว ยังถือโอกาสบอกให้คนไทยได้รับรู้อย่างชัดเจนด้วยว่า ต่างประเทศอึดอัดใจเพียงใดในช่วงที่ผ่านมา

อย่างตอนที่นายสุรพงษ์ไปทำหน้าที่เยี่ยมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่อาบูดาบี และเชิญเขามาไทย ปรากฏว่าทางนั้นระบุชัดเลยว่า 2 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์เปรียบเหมือนน้ำแข็งไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

“แม้ผมจะพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง แต่สามารถพูดกับเมียนมาร์ให้เขาเปิดด่านแม่สอดที่ปิดไป 1 ปี 6 เดือนเศรษฐกิจเสียหายไปเท่าไหร่ ถึงจะไม่พูดฝรั่งปร๋อ ไม่ได้เรียนเมืองนอกตั้งแต่เด็ก แต่สามารถพูดจนรัฐบาลเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และความสัมพันธ์ดีขึ้น เวลาไปก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี ต่างก็พูดว่ารัฐบาลที่แล้วไล่ตามล่า พ.ต.ท.ทักษิณจนทะเลาะเบาะแว้งกับเขาหมด ไม่ละอายแก่ใจบ้างหรือ อยากให้เล่นการเมืองอย่างสร้างสรรประเทศจะได้เจริญ วันนี้มาพูดความจริงกัน”

เป็นสิ่งที่น่าจะสะท้อนอะไรได้บ้าง หากจะเปิดใจกว้างยอมรับกัน

แต่กลับกลายเป็นว่า พอนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วพยายามที่จะแก้ไขฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่กลับกลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ยุคนายอภิสิทธิ์ ก็ตั้งป้อมถล่มซ้ำๆซากๆ อยู่แต่ว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

อย่างกรณีที่ นางสาวยิ่งลักษณ์เดินทางไปร่วมหารือกับผู้นำลุ่มน้ำโขงที่ประเทศพม่า ก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลประโยชน์ทับซ้อน... นอกจากจะถือเป็นการเล่นงานหวังดิสเครดิตรัฐบาล หวังทำลายพรรคการเมืองภายในประเทศด้วยกันเองแล้ว

เคยคิดให้รอบคอบบ้างหรือไม่ว่า วิธีการแบบนี้เท่ากับไปกระทบกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยเต็มๆ ฉะนั้นไม่แปลกที่หากประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล แล้วพรรคการเมืองที่เป็นพรรคร่วมจะเอ่ยปากว่าคบยาก และบรรดาประเทศเพื่อนบ้านจะไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย

ใครจะอยากคบกับรัฐบาลที่บริหารโดยกลุ่มคนที่พูดไม่คิด พูดไปเรื่อย ขอให้เอาดีเข้าตัวเป็นพอ ความเลวความชั่วจะไปตกที่ใครก็ช่าง

ไม่ได้ดูเลยว่า ในการเดินทางไปเยือนพม่าของ นางสาวยิ่งลักษณ์นั้น ประธานนาธิบดี เต็งเส่ง มีความสนิทและชื่นชอบในตัว นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นอย่างมาก และทุกครั้งที่ไปเยือนก็จะพูดถึงแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ คอยชี้นำให้กับรัฐบาลพม่า ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการดูแลประชาชนให้มีงานทำ สร้างงานให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลพม่าไม่เคยลืม

พอ นางสาวยิ่งลักษณ์ เดินทางไปจึงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ได้พบปะทั้งรัฐบาล ทั้งผู้นำประเทศ รวมทั้งแต่กระทั่งนางอองซาน ซูจี ด้วย

ที่สำคัญในการเดินทางไปก็ทำทุกอย่างเพื่อประเทศไทย พยายามจะไปลงนามข้อตกลงโครงการต่างๆที่เริ่มในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งซ่อมสะพานเนยวดี-แม่สอด สะพานเนยวดี-ตะนาวศรี
ปัญหาก็คือ ไม่รู้ว่าการที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไปฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งที่แสลงใจพรรคประชาธิปัตย์ แสลงใจนายอภิสิทธิ์ หรือไม่??? จึงได้ตั้งป้อมกล่าวหากันชนิดไม่ห่วงว่าจะกระทบความรู้สึกของประเทศเพื่อนบ้าน

ฉะนั้นการที่จะโดนนายสุรพงษ์ สวนกลับว่า

“ผิดกับรัฐบาลที่ผ่านมา ที่แม้จะพูดภาษาฝรั่งเก่งแต่ก็ไปทะเลาะกับประเทศต่างๆ อย่างกัมพูชาก็ไปตั้งท่าทะเลาะกับเขา แล้วความสัมพันธ์จะดีได้อย่างไร การที่บอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีผลประโยชน์ทับซ้อนในโครงการต่างๆ เล่นการเมืองถูกต้องหรือไม่ คดีที่เกิดขึ้นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นธรรมหรือไม่ ถ้าเป็นท่านบ้างจะรู้สึกอย่างไร ตลอดชีวิตหาเงินมา 4 หมื่นล้าน กว่าจะได้มาทุกคนก็รู้ที่มาที่ไป ไม่ได้โกงกินอย่างน้อยก็มีต้นทุน แต่ไปยึดของเขาหมดไม่ละอายใจบ้างหรือ อยากถามพวกท่านว่าหัวใจทำจากหินหรืออย่างไร”

นี่คือการตอบโต้ด้วยความรู้สึกที่สอดคล้องกับมุมมองของคนส่วนใหญ่ในประเทศใช่หรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ ที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งแบบหมดรูปน่าจะไปวิเคราะห์เองได้!!
ถ้าประชาชนไม่เห็นว่าครอบครัวชินวัตรถูกกระทำ ไม่เห็นว่าจากพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคพลังประชาชน จนกระทั่งมาถึงพรรคเพื่อไทย ล้วนถูกกระทำมาตลอด ผลการเลือกตั้งจะออกมาชนะขาดลอยอย่างที่เกิดขึ้นหรือ

และหลังชนะการเลือกตั้ง กระทั่งมีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อย บรรดามิตรประเทศเพื่อนบ้าน และนานาประเทศจะให้การยอมรับ มีการเยี่ยมเยือนกันไปมาหลายประเทศแล้วนั้น นั่นคือการกลับมายอมรับรัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งจริงๆไม่ใช่หรือ

หลายๆประเทศกลับมาให้ความร่วมมือ กลับมาช่วยเหลือประเทศไทยอีกครั้งในขณะนี้

ซึ่งหากเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ เล่นการเมืองโดยสู้กันด้วยผลงานเพื่อสร้างการยอมรับให้กับประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ควรจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า
ทำไมตอนที่นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นาน 2 ปี 7 เดือน ต่างประเทศจึงไม่ได้ให้ความร่วมมือไม่ได้ให้ความสัมพันธ์เหมือนกับขณะนี้ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เพิ่งจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้เพียงแค่ 5 เดือนเท่านั้น

ล่าสุดหนึ่งในประเทศมหาอำนาจที่ทั่วโลกยอมรับว่าจะผงาดขึ้นมายิ่งใหญ่ในโลกอย่างแน่นอน คือ ประเทศจีน ก็ได้มีการกระชับความสัมพันธ์กับไทยกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างเต็มที่
นายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีน ได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 22-24 ธันวาคมทีผ่านมา ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันทั้งด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทย-จีน

วาระสำคัญ คือ การลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และระบบรางเชื่อมโยงลาว-ไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งความร่วมมือระหว่างกันในสาขาต่างๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีได้ เพราะแต่ละประเทศให้เกียรติกันและกันใช่หรือไม่ ตรงนี้พรรคประชาธิปัตย์ และนายอภิสิทธิ์ ควรที่จะต้องเก็บไปคิดว่า การใช้นายกษิต ภิรมย์ให้ทำงานด้านการต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วจริงๆหรือ?

ทำไมตอนนายอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาล นายกษิตจึงไม่สามารถทำให้เกิดภาพที่น่าประทับใจกับมิตรประเทศไม่ได้

ในขณะที่วันนี้ทางจีนเองก็ประทับใจกับการที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ทำพิธีต้อนรับ นายสี จิ้นผิง ด้วยการเดินตรวจแถวทหารกองเกียรติยศผสม บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
และยังได้นำนายสี จิ้นผิง เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

ซึ่งรัฐบาลจีนนั้นได้มีการรับเสด็จฯ พระราชวงศ์ไทยในการเสด็จเยือนจีนอย่างสมพระเกียรติเสมอมา อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือประเทศไทยที่ประสบอุทกภัยที่ผ่านมา ทั้งในรูปเงินสด 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และสิ่งของมูลค่า 140 ล้านหยวนอีกด้วย นี่คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่ว่าพรรคการเมืองใดมาเป็นรัฐบาลก็ควรจะต้องเรียนรู้ และพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีให้ได้

เมื่อความสัมพันธ์ดีแล้ว ก็ไม่แปลกที่ในครั้งนี้จะมีการลงนามความตกลงระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับไทยถึง 6 ฉบับประกอบด้วย 1.หนังสือรับมอบความช่วยเหลืออุทกภัย 2.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนไทย-จีน ในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง กทม- เชียงใหม่ และระบบราง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร การวิจัย-พัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน หลังงานทดแทนในชนบท 3.สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องโทษตามคำพิพากษา

4.แผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ระหว่าง ปี 2554-2556 5.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางทะเล และ 6.ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคี ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางจีน เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน มีอายุสัญญา 3 ปี วงเงิน 70,000 ล้านหยวน หรือ 320,000 ล้านบาท

ที่สำคัญรัฐบาลจีนเสนอวงเงินกู้พิเศษ 400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ให้รัฐบาลไทยใช้พัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันจะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศเพื่อนบ้านนั่นเอง
หากนายอภิสิทธิ์ แอนด์ เดอะ แก๊งค์ และพลพรรคในประชาธิปัตย์ทั้งหลาย จะเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ดังปากว่าจริงๆ ก็น่าที่จะเปิดใจกว้างในการพิจารณาไตร่ตรองเปรียบเทียบด้วยใจเป็นธรรมว่า

ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงได้รับความร่วมมือกับนานาประเทศทั้งหลายมากขนาดนี้
แล้วทำไมรัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงไม่ได้มีภาพเช่นนี้เกิดขึ้นเลย ทั้งๆที่พูดภาษาอังกฤษสไตล์ UK ได้เก่งมาก

หรือจะเป็นดังสัจจะธรรมที่ว่า “คำพูดไม่สำคัญเท่าการกระทำ”?

ที่มา.บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

ปรองดอง ผ่องอำไพ !!?

ข่าวลึก ซอสลับ ยันว่า “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต รมว.กลาโหม ขอเป็นผู้ประกันตัว นำ “กี้ร์” อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ออกจากคุกให้ได้
เมื่อพี่ใหญ่ แห่งทหารเสือบูรพาพยัคฆ์ ออกโรงรับหน้าเสื่อเอง ทุกอย่างก็ดูดี
“ความแตกแยก”ที่บานไม่หุบ จะได้หยุดกันเสียที
อดีตขุนศึกทหารใหญ่ กับ นักรบประชาธิปไตย จูนความสัมพันธ์ หันมาปรองดอง กันได้เบ็ดเสร็จ
มอบเครติด “เสนาะ เทียนทอง”ไปครับ...ได้โนเบลสาขาสันติภาพ...ไปกับงานนี้ ที่ทำสำเร็จ

+++++++++++++++++++++++

อยู่ในคิว “ปลดระวาง”
“บิ๊กอ๊อด” พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม คนดัง
ทำแต่งาน “รูทีน” ผลงานไม่ค่อยเข้าตากรรมการ เท่าไหร่
กล้องส่องมองทางไกล ... มีแนวโน้มว่า “พล.อ.พรชัย กรานเลิศ” อดีต รอง ผบ.ทบ...ที่อยู่ยุค “คมช.”จับย้ายไปแช่เย็น จะก้าวมายิ่งใหญ่
ถือว่าเป็นหัวแถว แนวหน้าของ “กลุ่มทหารขุนศึก” ที่จะทำให้ “กองทัพ” อยู่ในแถว อย่างไร้มนทิน
“รัฐบาลปู”ยิ่งดูสดใส...เมื่อมี “บิ๊กพรชัย”...เหมือนพยัคฆ์ที่ได้เสียบปีกบิน

+++++++++++++++++++++++

“รักพ่อ” เข้าฝัก
“เสี่ยเน” เนวิน ชิดชอบ อาจารย์ใหญ่แห่งพรรคภูมิใจไทย ปลาบปลื้ม เป็นคนรักคุณพ่อมาก..มาก
ถึงจะเก็บตัวเงียบ เป็น “ขอมดำดิน” ไม่ยุ่งและสุงสิงทางการเมือง ให้คนพบเห็น
แม้นไม่ไปพบ “คุณพ่อชัย ชิดชอบ” ที่ทำงานหนัก เป็น “ประธานกรรมาธิการการปกครอง”..มักกริ้งกร้าง ไปหา “นายดำ” คนขับรถ “ปู่ชัย” ทุกเช้าทุกเย็น
เป็น “อภิชาติบุตร” ที่ห่วงใยคุณพ่อ เป็นอย่างยิ่ง
“เสี่ยเน” ถึงไม่รูปหล่อ....แต่ต้องขอยอ...ว่าเป็นบุคคลที่รักคุณพ่อของจริง

++++++++++++++++++++++

มือประสานสิบทิศ
ยกให้, “ท่านเจริญ จรรย์โกมล” รองประธานสภาผู้แทนราษฏร ไปขอรับพี่ทิด
สส.หรือ ผู้แทน นักการเมืองรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน มีปัญหาอะไร ...เข้ามาประสานกับ “รองประธานเจริญ” ได้ความสำเร็จ กันทุกเรื่อง
และทุกมื้อเที่ยง “คุณพี่เจริญ” ก็เลี้ยงอาหารประสาพี่กับน้อง ได้อย่างครบเครื่อง
เป็นนักเจรจาประนีประนอม สมองเพชร ที่คนพากันศรัทธา
ประสานงานตัวเป็นเกลียว....สส.จึงรักกันแน่นเหนียว...ไม่ปีนเกลียวเหมือนที่ผ่านมา

++++++++++++++++++++++

หนทางไม่หมู
เรื่อง “สมาชิกบ้านเลขที่ ๑๑๑” จะกลับมาเป็น “รัฐมนตรี” หลังพ้นโทษเว้นวรรค ๕ ปี ในเดือน “พฤษภาคม”ปีหน้า..เมื่อมี “รัฐธรรมนูญ” ขวางอยู่
ทั้ง สุวัจน์ ลิปตพัลลภ, สมคิด จาตุศรีพิทักษ์,สมศักดิ์ เทพสุทิน,.ต่างไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง..เนื่องจาก “รัฐธรรรมนูญ” ห้ามเอาไว้ เพราะมีฐานความผิด
เหมือนกับ “จตุพร พรหมพันธ์ุ” ที่ถูก “กกต.”ให้พ้นสภาพจากการเป็น “สส.-ผู้แทน” เพราะไม่ได้ ไปใช้สิทธิ์
“รัฐธรรมนูญเผด็จการ” ที่ทำให้ทรัพยากรบุคคลของแผ่นดิน เสียสิทธิ์ในการบริหารประเทศ จึงสมควรแก้กันอย่างเสร็จสรรพ
ปล่อยรัฐธรรมนูญมารเอาไว้......คนดีๆ มีแต่ตาย?...หมดหนทางได้เข้ามาบริหารชาติสิครับ

คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////

ปลดล็อก.ตั้ง ส.ส.ร 3 แดงบี้คว่ำมรดกบาป คมช. !!!

นับถอยหลังสู่การ “ปลดล็อก” ปมแก้รัฐธรรมนูญฉบับ “มรดกบาป คมช.” ทว่าในวงประชุมพรรคเพื่อไทยกลับมีคิวงัดข้อกันระหว่าง ส.ส. 2 กลุ่ม ซึ่งเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนว่าจะดันญัตติเข้าสภาในสมัยประชุมนี้เลยหรือไม่!

ซีกหนึ่งนำทีมโดย “เหลิมจัดให้..!” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่อาศัย ความเก๋าเกม บี้ให้ที่ประชุมพรรคชะลอเรื่องนี้ออกไปก่อน หลังจับทิศทางลมดูแล้ว..ได้ไม่คุ้มเสีย! เพราะสถานการณ์ยังคุกรุ่น รัฐบาลยังก้าวไม่พ้น “จุดล่อแหลม” เมื่อวันนี้ฝ่ายค้าน-แนวร่วม ไม่ยุติเกมขุดผีเน่าจากป่าช้า..! มาสุมไฟไล่ถล่มรัฐบาลแบบรายวัน ทำให้บรรยากาศทางการเมือง ในห้วงนี้ นอกจากไม่เอื้อแล้ว กลับจะเร่ง “จุดไฟ” ให้ลุกโชนในองศาเดือด

แม้ “ป๋าเหลิม” จะออกมาเต้นเร่า.. เร่า! บีบที่ประชุมพรรค “ใส่เกียร์ว่าง” เพื่อรอเวลาที่สุกงอม ทว่า..ซีก ส.ส.เสื้อแดง ก็ ค้านหัวชนฝา ยื่นคำขาด..ให้แก้โดยเร็วที่สุด ย้ำว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนแห่งรัฐ นั่นเท่ากับ เป็น “สัญญาประชาคม” ที่เคยให้ไว้เมื่อคราวหาเสียงเลือกตั้ง หากรัฐนาวาไม่อยาก ถูกประณามว่า “ถ่มน้ำลายรดฟ้า”

มีแรงหนุนจากแก๊งเสื้อแดง “ตัวพ่อ” ทั้ง “ดร.เปีย” พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย และหมอเหวง โตจิราการ โดยเฉพาะกับขวัญใจ แม่ยกอย่าง “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ที่ขู่ฟ่อๆ ว่า..! ถ้ายังไม่รีบเร่งแก้ไขในตอนนี้ ระวังจะ อดยาว พร้อมยกบทเรียนจาก 2 รัฐบาล ก่อน ในยุคสมัคร สุนทรเวช และสมัยสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่มัวแต่ “เกียร์ว่าง” ที่สุดเกมแก้ รธน.ก็เหลวไม่เป็นท่า!!

แม้ในวงประชุมพรรค “เพื่อไทย” จะสำแดงอาการ “แผ่นเสียงตกร่อง” แต่ที่สุดก็เป็นไปตาม “ปฏิทินการเมือง” หลังมติพรรคไฟเขียว! เปิดหน้าแก้ รธน.50 เริ่ม จากแก้ที่มาตรา 291 เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือ” เปิดทางสู่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ “ส.ส.ร.3” แต่ให้รอจังหวะ เวลาที่เหมาะสม

กระทั่งในวันรุ่งขึ้น “วิปรัฐบาล” ก็มีมติคล้อยตามกัน..เห็นด้วยกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ในสมัยประชุมนิติบัญญัตินี้ ด้วยการเสนอตั้ง “ส.ส.ร.3” 77 คนจาก 77 จังหวัด และตัวแทนจากซีก นักวิชาการอีก 22 คน ซึ่งทั้งหมดจะนำไป สู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2555

ขณะเดียวกัน “ธิดา ถาวรเศรษฐ์” รักษาการประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ระบุถึงปมแก้ รธน.ว่า การดำเนินเรื่องทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบของพรรคเพื่อไทยเพราะเคยหาเสียงไว้กับประชาชน ในเรื่องนี้ แต่ นปช.ต้องสานต่อตามที่ประกาศ นโยบายไว้ เสนอร่างแก้ไข รธน.ฉบับ คปพร.มาเป็นต้นเรื่อง รวมกับข้อเสนอของ นิติราษฎร์ เพื่อขอแก้ รธน.50 ใน 10 ประเด็น กอปรไปด้วย..ยกเลิกมาตรา 309, มาตรา 36-37 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549, ยกเลิก ส.ว.แต่งตั้ง, แก้มาตรา 265-266, แก้มาตรา 190 เรื่องการทำสนธิสัญญา, แก้มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค
ทั้งยังมีข้อเสนอประเด็นสาธารณะให้มีการอภิปราย คือกรณีอำนาจตุลาการ จำเป็นหรือไม่ต้องให้ยึดโยงกับอำนาจของ ประชาชน หรือเรื่องการถอดถอน ส.ส. นักการเมือง องค์กรอิสระ รวมไปถึงการแก้ รธน.ให้ทำได้โดยตรงจากการเข้าชื่อของประชาชนหรือไม่

“เดอะตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. เพื่อไทย และแกนนำ นปช. ย้ำหัวตะปูว่า ควรเร่งแก้ไข ม.291 เพื่อให้เกิด ส.ส.ร. โดยเปิดช่องให้มีการแก้ไข รธน.ทั้งฉบับ รัฐบาลไม่ควรที่จะชะลอการแก้ไขออกไปเพราะเรามีบทเรียนมามาก แม้ว่าจะไม่แก้ รธน. กระบวนการโค่นล้มรัฐบาลก็มีอยู่ดี เหมือนในสมัยของรัฐบาลนายสมัคร และนายสมชาย ที่ไม่ได้มีการแก้ไขแม้แต่มาตรา เดียว ก็ยังถูกโค่นล้ม! ดังนั้นรัฐบาลต้องรีบ แก้ไข รธน.ก่อนที่ประชาชนจะดำเนินการ เอง เพราะทราบมาว่าภาคประชาชนได้มีการล่ารายชื่อจำนวน 5 หมื่นชื่อ เพื่อยื่นร่างแก้ รธน.มาตรา 291 ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลไม่มีสิทธิ์จะมาขัดขวางประชาชน

“วรวุฒิ วิชัยดิษฐ” โฆษก นปช. กล่าวว่า ประเทศไทยหลังจากนี้ต่อไปคนที่มีอำนาจต้องตระหนักว่าประชาชนต้องการ อะไร เวลานี้คนเสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยและความเสมอภาค ไม่ต้องการให้หน่วยงานใดมาเข้าข้างคนเสื้อแดง เพียงแต่ต้องการให้เป็นกลาง

ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร วันนี้ เข้าใจว่าอยู่ข้างประชาชน แต่กระบวน การยุติธรรมในประเทศยังเห็นว่าไม่เป็น กลางเท่าที่ควร ทั้ง กกต., ป.ป.ช. และ คตส. ที่มีผลพวงมาจากการทำรัฐประหารปี 2549 นปช.จึงมีมติอย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการก่อให้เกิดปัญหายิ่งใหญ่ในอนาคต จึงมีมติรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร็ว ที่สุด โดยจะเริ่มตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ส่วนฝ่ายที่ออกมาต่อต้าน ก็คือพวกที่ชอบ รัฐประหารไม่ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่ง นปช.ต้องการให้บ้านเมืองเดินหน้า ไปได้ด้วยดี ต้องการประนีประนอมและปรองดองกับทุกฝ่าย เพราะคนไทยไม่ว่าเสื้อสีใดก็เป็นคนไทยด้วยกัน

“หลังปีใหม่จะมีการหารายชื่อให้ครบ 50,000 รายชื่อ เพื่อยื่นต่อรัฐสภา เราจะเริ่มดำเนินการหลังปีใหม่เป็นต้นไป ที่ผ่านมาเคยมีการรณรงค์ในการชุมนุมที่สกลนครไปแล้วหนึ่งครั้ง และจะมีไปเรื่อยๆ จนกว่าประเทศนี้จะมีประชาธิปไตยที่แท้จริงในเรื่องของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บ้านเมืองนี้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นี่คือสิ่งที่คนเสื้อแดงต้องดำเนินการกันต่อไป เป้าหมายใหญ่คือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจะมีแนวนโยบาย อย่างไรนั้นก็สุดแต่รัฐบาล แต่เรา นปช. แดงทั้งแผ่นดิน มีจุดยืนชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นฉบับของเผด็จการ ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นฉบับของประชาชนในทันที”

ขณะที่แดงสายฮาร์ดคอร์อย่าง “ขวัญชัย ไพรพนา” ประธานชมรมคนรักอุดรฯ ก็หมายหัวไว้ว่า..การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะล้มเลิกหรือทำยึกยักไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าไม่แก้ตอนที่ยังมีอำนาจแล้ว จะไปแก้ตอนไหน!!

ล่าสุด ก็ข้ามห้วยไปแตะมือกับ “แดง รักเชียงใหม่ 51” ซึ่งนำโดย “เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล” ร่วมกันล่ารายชื่อประชาชน 6-7 หมื่นรายชื่อ เพื่อแสดงพลัง บี้ให้รัฐบาล เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว!

“หากรัฐบาลดำเนินการล่าช้า ออกอาการไม่จริงจัง ผมอาจนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่ทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี เพื่อแสดงความต้องการของภาคประชาชน แต่ จะไม่ชุมนุมในกรุงเทพฯ เพราะกังวลมือที่สามอาจเข้ามาสร้างความวุ่นวาย ส่งผลให้ทั้ง รัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงพังไม่เป็นท่า อีกทั้งต้องการส่งสัญญาณว่า..เราไม่อยาก รอการดำเนินการจาก ส.ส. เพราะที่ผ่านมามีแต่ราคาคุย! เอาแต่หาผลประโยชน์ให้ตนเอง”

นี่คือ มุมสะท้อนปมแก้รัฐธรรมนูญจากอารมณ์-ความรู้สึกของ “แกนนำแดง” รวมไปถึงซีกแดงฮาร์ดคอร์อย่าง “ขวัญชัย” ที่ชิงประกาศล่วงหน้ากดดันเกม “ยื้อแก้ รธน.” ท่ามกลางกระแสแห่งวิพากษ์ว่ามีการสับขาหลอก เพื่อกัน ส.ส.เพื่อไทยออก จากเกม ให้หลุดพ้นข้อกล่าวหา..ทำเพื่อคนคนเดียว!

“บันไดขั้นแรก” ในการตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อยกร่าง รธน.ฉบับปลดล็อกรากเหง้า รัฐประหาร จะเป็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” อย่างที่ทุกฝักฝ่ายในสังคมคาดหวังได้หรือไม่..เกมคว่ำมรดกบาป คมช. ที่คนเสื้อ แดงออกมาเชียร์กันสุดโต่ง! จะนำไปสู่หมายเหตุแห่ง “ปรองดอง” หรือกลาย เป็น “ระเบิดเวลา” ที่รอวันทำลายตัวเอง.. ขึ้นอยู่กับเจตนาของฝ่ายที่ยกร่าง!?!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////

เปิดเบื้องหลัง กิตติรัตน์ หัก ธีระชัย เบรก นโยบายการเงิน ปี 55 !!?

"กิตติรัตน์-สศช."ค้านคลังเปลี่ยนนโยบายการเงิน ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปแทนเงินเฟ้อพื้นฐานกำหนดนโยบายปี"55 ห่วงนักลงทุนสับสน ราคาสินค้าพุ่ง

แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม.เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้(27 ธ.ค.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบถึงข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงินและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยรายปีที่ 3.0% โดยสามารถบวกลบเพิ่มเติมได้อีก 1.5% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่าง 0.5-3.0%ต่อปี

นายธีระชัยให้เหตุผลว่าการเปลี่ยนนโยบายการเงินของธปท.ใหม่ จากเดิมที่จะใช้เงินเฟ้อพื้นฐานมากำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงิน เป็นให้ใช้เงินเฟ้อทั่วไปในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินนั้น จะช่วยสะท้อนค่าครองชีพของประชาชนได้ดีขึ้น เนื่องจากในระยะหลังอัตราการขยายตัวของราคาในหมวดพลังงานและอาหารสดแตกต่างจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมาก และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็นดัชนีที่ครัวเรือนและธุรกิจใช้อ้างอิงในชีวิตประจำวัน จึงเอื้อต่อการสื่อสาร ง่ายต่อความเข้าใจ และสามารถยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อได้ดีกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

ขณะที่การกำหนดระยะเวลาของเป้าหมายให้ยาวขึ้นจากรายไตรมาสเป็นรายปีจะสามารถสื่อสารถึงการมองไปข้างหน้ามากขึ้น และจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายการเงินในการรองรับปัจจัยที่ไม่คาดฝันต่างๆ ง่ายต่อการสื่อสาร และสอดคล้องกับระยะเวลาส่งผ่านนโยบายการเงินที่ 4-8 ไตรมาส รวมถึงการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทำเป็นประจำทุกปีด้วย

นอกจากนี้ การกำหนดค่ากลางที่ชัดเจนจะเหมาะสมกว่าในการยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับการกำหนดเป็นช่วงเป้าหมายที่มีเฉพาะขอบบนและขอบล่าง รวมทั้งการอนุญาตให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเบี่ยงเบนไปจากค่ากลางเป็นการรักษาความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายการเงิน โดยค่ากลางและค่าความเบี่ยงเบนที่กำหนดขึ้นสามารถพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับประเทศคู่แข่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และมีความเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในระยะปานกลางถึงระยะยาว นอกจากนี้ระดับอัตราเงินเฟ้อนี้ยังเป็นระดับเป้าหมายของนโยบายการเงินในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นแนวคิดที่ดี แต่ไม่ควรนำมาใช้ทันทีในปี 2555 เพราะจะทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศปรับตัวไม่ทันและเกิดความสับสนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย รวมทั้งอาจจะส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าที่มีผลต่อค้าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น หากจะทบทวนนโยบายดังกล่าวก็ควรหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านก่อน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้สอบถามความเห็นนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ว่ามีความเห็นอย่างไร ซึ่งนายยอาคมเห็นว่าควรเลื่อนการนำเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปมาใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินในปี 2555 ออกไปก่อน แต่นายธีระชัยยืนยันว่ากระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับผู้ว่าการธปท.ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)แล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์จึงตัดบทว่าขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือกันก่อนว่าการดำเนินการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพอย่างไร!!!!!

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เดินหน้าแก้ไข ม.112 เปิดตัวทีมรณรงค์ล่ารายชื่อ 15 ม.ค.55..

คณะนิติราษฎร์เดินหน้าผลักดันแก้ไขมาตรา 112 วันที่ 15 ม.ค. นัดเปิดตัวคณะรณรงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนยื่นร่างแก้ไขต่อสภา นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยินดีตอบทุกข้อซักถามเกี่ยวกับข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 พร้อมแจกคู่มือลบล้างผลพวงรัฐประหารให้ผู้สนใจ “ยิ่งลักษณ์” ย้ำไม่แทรกแซงแก้รัฐธรรมนูญ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ตัวแทนประชาชน ระบุหากฝ่ายการเมืองไม่ยุ่งไม่มีทางเกิดความขัดแย้ง “อภิสิทธิ์” จี้ถามเป้าหมายที่แท้จริงของความพยายามยกเลิกมาตรา 309 ทำเพื่ออะไร ชี้หากไม่อยากให้วุ่นวายต้องไม่แตกหมวดพระมหากษัตริย์

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ออกประกาศเชิญชวนผ่านเว็บไซต์ http://www.enlightened-jurists.com/ ให้เข้าร่วมกิจกรรมในเดือน ม.ค. 2555 ของคณะนิติราษฎร์ โดยระบุ ขอเรียนเชิญประชาชนผู้สนใจ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ร่วมกิจกรรมทางวิชาการและการรณรงค์ที่เกี่ยวกับข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ในเดือน ม.ค. 2555 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีรายละเอียดของงานดังต่อไปนี้
วันอาทิตย์ที่ 15 ม.ค. 2555 การรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยจะเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 (ครก.112) เพื่อรวบรวมรายชื่อบุคคลเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ ซึ่งจะมีกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก)

วันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค. 2555 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี คณะ ร.ศ. 130 และโอกาสเข้าสู่ปีที่ 80 ของการอภิวัตน์ 24 มิ.ย. 2475 เพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” คณะนิติราษฎร์จัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ในงานมีการอภิปรายหัวข้อ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง” แนวคำถาม-คำตอบ เรื่อง “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549” “โต้” ปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และเผยแพร่คู่มือลบล้างผลพวงรัฐประหาร พร้อมข้อเสนอวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ งานเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร (LT 1) และห้องปรีดี เกษมทรัพย์ (LT 2) คณะนิติศาสตร์

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel เรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าทำเพื่ออะไร มีวิธีการอย่างไร ซึ่งต้องไม่ใช่เรื่องนิรโทษกรรมล้างผิด

“ถ้าจะตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่ควรพูดว่าจะแก้มาตราไหน เพราะต้องให้อิสระ ส.ส.ร. พิจารณา ยกเว้นบางหมวดที่เสี่ยงต่อความขัดแย้ง โดยเฉพาะหมวดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ต้องพูดให้ชัดว่าไม่แก้”

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า เรื่องมาตรา 309 ส่วนตัวเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ใช้ไปแล้ว จบไปแล้ว เพราะเป็นเรื่องของบทเฉพาะกาล ถ้าบอกว่ายังไม่จบก็จะมีคำถามตามออกมาอีกมากมาย

“ความจริงเรื่องมาตรา 309 เกิดขึ้นก่อนมีรัฐธรรมนูญปี 2550 คือเกิดหลังรัฐประหาร รัฐธรรมนูญนี้ผ่านการลงประชามติ หากเราบอกว่าไม่ยอมรับก็แสดงว่าไม่เคยมีรัฐธรรมนูญปี 2550 ถ้าเราบอกว่าอะไรที่มาจากรัฐประหารไม่ยอมรับ ซึ่งจะยุ่งขึ้นไปอีก”

นายอภิสิทธิ์ตั้งคำถามว่าความพยายามลบล้างผลพวงรัฐประหารความจริงต้องการลบล้างอะไร เท่าที่เห็นคือพยายามไปผูกโยงกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่เอาเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลสมัยนั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งบางเรื่องศาลก็ไม่ได้ตัดสินตรงกับมติของ คตส. อย่างคดีทุจริตจัดซื้อกล้ายางพาราที่ คตส. บอกผิด แต่ศาลบอกไม่ผิด จึงควรเอาความจริงมาพูดกันดีกว่าว่ากำลังพยายามจะทำอะไร

นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยควรแสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าสมควรทำเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านการลงประชามติมา 14 ล้านเสียง

“ถ้าจะทำประชามติต้องทำหลังจากได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว หากไปทำก่อนก็เหมือนเซ็นเช็คเปล่าให้กรอกตัวเลข จึงควรได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ก่อนไปถามประชาชน”

นายเทพไทกล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องดีที่พรรคเพื่อไทยประกาศไม่แก้กฎหมายอาญา มาตรา 112 และอยากให้ส่งสัญญาณนี้ไปยังมวลชนที่สนับสนุนด้วย เพราะคนเสื้อแดงยังเดินหน้ารณรงค์ให้แก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ตลอดเวลา

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะไม่ยุ่งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปล่อยให้เป็นเรื่องของตัวแทนประชาชนเป็นผู้พิจารณาประเด็นแก้ไข เมื่อได้รายละเอียดแล้วต้องกลับไปถามประชาชนว่ารับหรือไม่ เพื่อให้รัฐธรรมนูญมาจากประชาชนอย่างแท้จริง

“การแก้รัฐธรรมนูญจะไม่ทำให้เกิดความแตกแยกหากฝ่ายการเมืองไม่เข้าไปแทรกแซง ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตัวแทนประชาชนและประชาชน”

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

สัญญาณความเปลี่ยนแปลงในพม่าประเทศประชาธิปไตยใหม่หรือฉากทางเศรษฐกิจ !!?

ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งของพม่าจะถูกจับตาว่าเป็นการลอกคราบจากรัฐบาลเผด็จการทหารสู่รัฐบาลพลเรือน ที่มีระบอบการปกครองในรูปแบบของประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยความเคลือบแคลงสงสัยในกฎกติกาการจัดให้มีการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมาว่ามีความความบริสุทธิ์ ยุติธรรมเพียงใด? แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปประเทศของพม่าที่ใช้ได้ทีเดียว...

เกิดคำถามขึ้นมากมายในช่วงระยะเวลาหลังจากสิ้นสุดการถอดเครื่องแบบทหารลงสนามเลือกตั้งแล้ว?...ทั้งนางออง ซาน ซู จี เปิดแนวทางการเจรจากับรัฐบาลพม่าเพื่อป้องกันการคว่ำบาตรจากโลกฝ่ายตะวันตกที่ทำกับรัฐบาลพม่ามาหลายปี? เป็นเพราะนางซู จี เองคำนึงถึงผลกระทบกับประชาชนที่มากกว่าจะเกิดกับรัฐบาล หรือการดึงดันที่จะให้โลกตะวันตกคว่ำบาตรพม่าอย่างไรก็ไม่ได้ผล หรือเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในแบบโลกาภิวัตน์ที่วิ่งเข้าชนพม่าจนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก หรือนางซู จี ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า โดยอาจมีเงื่อนไขการปล่อยนักโทษการเมืองเพื่อสิทธิมนุษยชนแลกเปลี่ยน หรือจะเป็นเหตุผลอื่นๆที่อยู่เบื้องหลังการจับมือกันครั้งนี้?

การกักบริเวณนางซู จี ตามคำสั่งของรัฐบาลพม่า ก็ไม่เคยลดบทบาทสำคัญในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าเลย การปล่อยตัวนางซู จี ในฐานะที่เป็นนักสู้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2534 น่าจะเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของการเริ่มต้นประชาธิปไตยต่อจากการจัดให้มีการเลือกตั้งตามแบบอย่างของระบอบประชาธิปไตย

การที่รัฐบาลพยายามจูนคลื่นเข้าหานางซู จี และกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อประสานความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง โดยการเจรจายุติการยิงของกองกำลังติดอาวุธของชนกลุ่มน้อย สิ่งนี้ช่วยยืนยันได้ถึงการยุติสงครามภายในประเทศของรัฐต่างๆในพม่าที่จะแสดงถึงความมีเสถียรภาพของประเทศที่เป็นไปได้...ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าได้ผลไม่น้อย โดยดูได้จากการเดินทางมาเยือนของนานาชาติ และรัฐบาลพม่าให้บทบาทในการเจรจากับนางซู จี ทั้งสหรัฐ อียู จีน ไทย และล่าสุดนายโคอิจิโร เกมบะ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ที่เดินทางมายังดินแดนพม่าเพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศของพม่าและการเจรจาทางเศรษฐกิจ...ทั้งๆที่นางซู จี ไม่มีตำแหน่งอะไรในรัฐบาลเลย แม้กระทั่งผู้นำฝ่ายค้าน แต่มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับสหรัฐ หรืออียู สิ่งนั้นคืออะไร ทำไมถึงมีเสียงตอบรับจากรัฐบาลพม่า สหรัฐอเมริกาและนานาชาติเป็นอย่างดี?

เข้าใจได้ว่านี่คือก้าวย่างหนึ่งของประธิปไตยในพม่าที่พร้อมจะขับเคลื่อนตัวเองออกจากเงามืดของเผด็จการทหารเข้าสู่ประเทศประชาธิปไตยใหม่ และพร้อมที่จะเปิดรับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในทุกประเทศมหาอำนาจที่พยายามแผ่เข้ามายังพม่า...

นอกจากรัฐบาลพม่าจะเดินหมากด้านนางซู จี และการเจรจาเพื่อยุติการยิงแล้ว การเตรียมพรรคการเมืองใหม่ของนางซู จี เพื่อลงเลือกตั้งซ่อมยังเป็นอีกภาพลักษณ์ที่ช่วยสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพม่าได้...

ประชาธิปไตยของพม่าจึงยังเป็นสิ่งที่เคลือบแคลงสงสัยว่าจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง หรือเป็นเพียงแผนการของนายพลตัน ฉ่วย กันแน่? ถ้าเป็นเพียงแค่การวางแผนของรัฐบาลทหารในคราบรัฐบาลพลเรือน ยังคงต้องมองต่อว่า นางซู จี จะยอมเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งเท่านั้นหรือ? หรือเป็นการแลกเปลี่ยนเงื่อนไขที่สามารถตกลงกันได้ ที่เรียกว่าผลประโยชน์ลงตัว...แล้วอะไรเล่าคือผลประโยชน์ที่เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพยอมตกลงด้วย?...

จะอย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพียงหน้ากากประชาธิปไตยหรือจะเป็นประชาธิปไตยในระยะเริ่มต้น...หากเมื่อพม่าได้ลิ้มรสความเป็นประชาธิปไตยที่มีสิทธิและเสรีภาพแล้ว จะต้องมีก้าวที่มากกว่าอย่างแน่นอน...ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณจากนายพลตัน ฉ่วย ว่าหากอำนาจของรัฐบาลพลเรือนไม่สามารถควบคุมได้ พล.อ.มิน ออง หล่าย ก็พร้อมที่จะเข้าแทรกแซงทุกเวลา! นี่ยังเป็นอีกสัญญาณที่รอวันปะทุ!

เมื่อพม่าเริ่มตื่นและพาตัวเองออกจากเงามืด แล้วนานาชาติกำลังให้ความสนใจด้วย เพราะปัจจัยหลายอย่างทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ถือว่ายังอุดมสมบูรณ์ แรงงาน ค่าแรง ค่าขนส่ง ทุกอย่างเป็นของใหม่ที่นานาชาติพร้อมจะกระโจนเข้าหา รวมถึงแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาล...

และหากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างพม่ากับนานาชาติเกิดขึ้นแล้ว จะสามารถพลิกพม่าให้เป็นประเทศที่น่าสนใจได้ไม่น้อย...ความน่ากลัวจะมาตกอยู่กับประเทศไทยเรา อีกหน่อยอาจมีแรงงานไทยไปขายแรงงานในพม่าบ้างก็ได้...

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเลือกตั้งคือประชามติ !!?

เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาแล้ว

ทุกฝ่ายในสังคมเวลานี้ดูเหมือนจะพูดตรงกันว่าต้องแก้

ต่างกันที่ว่าจะแก้อย่างไร จะแก้เมื่อไร ซึ่งอีกไม่กี่วันก็คงจะได้ข้อสรุป

ยังมีจระเข้ขวางคลองอีกพวกหนึ่งที่พยายามจะทำให้เรื่องมั่ว-สับสน จนคนจับต้นชนปลายไม่ถูก คือพวกที่ไปคว้าเอาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญกับเรื่องแก้ ป.อาญา มาตรา 112 มาพูดปนกัน

คนพวกนี้จงใจจะทำให้คนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายหลงผิดคิดว่าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญของพวกโจรกบฏเป็นเรื่องเดียวกับการแก้ ม.112

ต้องย้ำกันให้ชัด และวานท่านผู้อ่านช่วยบอกกันต่อๆไปด้วยนะครับว่า ที่พูดกันเรื่อง ม.112 นั่นมันเป็นเรื่องของกฎหมายอาญา หรือเรียกเต็มๆว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือเขียนย่อว่า ป.อาญา ม.112 เป็นคนละฉบับกับรัฐธรรมนูญ

ตอนนี้ผมได้ยินคนอ่านข่าวทีวี.หลายคนพาให้หลงทาง โดยพูดรวมไปว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญโดยเฉพาะมาตรา 112 ซึ่งเลอะเทอะไปมาก

รัฐธรรมนูญก็รัฐธรรมนูญ

มาตรา 112 ที่พูดกันนั้นอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา สมมุติว่าจะแก้ก็ต้องแก้คนละวาระ คนละโอกาส ไม่ใช่เอามาพูดปนกันอย่างที่ได้ฟัง และได้อ่านใน น.ส.พ. หลายฉบับ หลายคอลัมน์

เมื่อจำแนกชัดว่าจะพูดเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หรือฉบับปัจจุบัน ซึ่งใช้มา 5 ปีดังนี้แล้ว ก็สามารถพูดต่อไปได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของประชาชนมาแล้วหลายรอบ ตั้งแต่ยังยกร่างกันอยู่ เสร็จแล้วนำมาขอประชามติ ต่อมาก็ประกาศใช้

หลังการประกาศใช้แล้วก็มีการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งคือ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ครั้งหนึ่ง เดือนกรกรฎาคมที่ผ่านมาอีกครั้งหนึ่ง

ในการหาเสียงเลือกตั้งได้มีการนำเสนอประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญกันมาทั้ง 2 ครั้งคือ พรรคพลังประชาชน ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นพรรคเพื่อไทย ได้เสนอนโยบายต่อประชาชนว่า รัฐธรรมนูญนี้มีหลักการไม่เป็นประชาธิปไตย จำเป็นต้องแก้ไข หรือไม่ก็ยกเลิก

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆไม่ได้เสนอปัญหานี้ จึงทำเป็นเฉยๆ หรือไม่ก็คัดค้านกลายๆบางประเด็น

การเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งปรากฏว่าประชาชนเลือกพรรคที่เสนอเแก้ไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด

นี่ย่อมแสดงว่าประชาชนเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ

ถึงไม่รู้เท่านักวิชาการ แต่อย่างน้อยก็พอรู้ล่ะว่ารัฐธรรมนูญแท้จริง กับรัฐธรรมนูญของโจรกบฏมันต่างกันอย่างไร

วันนี้ผู้เขียนจึงไม่ชอบฟังที่นักการเมืองในสภาอ้างท่าโน้นท่านี้เพื่อชะลอการแก้รัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็ขอประชามติก่อนจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ ทำราวกะว่ามันเป็นเรื่องใหม่

การเลือกตั้ง 2 ครั้งมันเป็นประชามติอยู่แล้ว

เข้าใจหรือยัง?

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

คดีอากงกับ ม.112 ภูเขาน้ำแข็งกับความกลัวในสังคมไทย ...

เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา รายการ “ตอบโจทย์” ทางไทยพีบีเอส นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนาหัวข้อ “คดีอากงกับมาตรา 112” โดยมีนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงทรรศนะ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
**************
ความรู้สึกคดีอากง

นายพนัส : ในเบื้องต้นคงรู้สึกว่าโทษมันแรง สูงมาก 20 ปี อีกอย่างหนึ่งคือไม่ค่อยมีใครทราบต้นสายปลายเหตุกันสักเท่าไร ทราบกันจากสื่อที่รายงานข่าวว่ามีการส่งเอสเอ็มเอสไปยังบุคคลคนหนึ่งซึ่งเป็นเลขานุการส่วนตัว (นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข) ของท่านอภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ต่อมาก็มีการพิจารณาคดีกัน สุดท้ายศาลตัดสินว่าส่งเอสเอ็มเอส 4 ครั้ง ครั้งละ 5 ปี ในกฎหมายเรียกว่ากระทงละ 5 ปี หรือว่ากรรมละ 5 ปี เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ เป็นภาษาทางกฎหมายว่าอย่างนั้น

ทีนี้ต่างกรรมต่างวาระก็โดนไปรวมแล้ว 20 ปี ผมคิดว่าส่วนใหญ่คงมีความรู้สึกว่าเนื่องจากไม่ทราบว่าข้อความที่ส่งไปนั้นเป็นอย่างไร นั่นประการแรก แต่การพิจารณาของศาลรู้สึกจะไม่ได้พิจารณาโดยเปิดเผย เมื่อออกมาอย่างนี้ก็ทำให้เกิดความรู้สึกกังขากันว่าข้อความที่ส่งไปมีเนื้อหาสาระสำคัญอย่างไร ซึ่งคงไม่มีทางทราบได้ เพราะเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระบรมราชินีตามที่กฎหมายเขียนไว้ เลยมีความรู้สึกว่าโทษแรงไปหรือเปล่า 20 ปี อันนี้ผมคิดว่าคงทำให้มีปฏิกิริยาสอบถามกันว่าการพิจารณาคดีในความผิดฐานนี้ในแง่ของความยุติธรรมเรามีการรักษากันมากน้อยแค่ไหน เพื่อผดุงความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในคดีประเภทอย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคดีที่ไม่สามารถเปิดเผยให้สาธารณชนทราบว่าเนื้อหาสาระเป็นอย่างไร

คดีอย่างนี้เปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้หรือเปล่า และประเด็นที่ถามกันมากคือ พอคนเกิดความรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมขึ้นมา สาธารณชนสามารถวิจารณ์ศาลได้หรือไม่

นายกิตติศักดิ์ : ถ้อยคำที่ใช้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหากระทำความผิดได้กล่าวหรือแสดงถ้อยคำอย่างไร ต้องปรากฏอยู่ในคำพิพากษา ใครอ่านคำพิพากษาย่อมรู้ได้อยู่แล้ว ปิดไม่ได้ เพราะคำพิพากษาเป็นเอกสารสาธารณะ เผยแพร่ได้ ตัวอย่างคำพิพากษาที่เราเห็นคือ คำพิพากษาของดา ตอร์ปิโด ซึ่งมีผู้เอาไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตนั้น จะถือว่าเป็นความผิดไม่ได้

อันที่ 2 ที่ถามว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรมอย่างไร เท่าที่ผมติดตามดูจากข่าว ขณะนี้ก็กำลังรออ่านคำพิพากษาอยู่เหมือนกัน ในข่าวกล่าวว่าผู้ที่เป็นจำเลยปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้ทำ แต่จะมีผู้ใดทำนั้นตนเองไม่รู้ ศาลก็เรียกพยานมาสืบ ก็ได้ความว่าโทรศัพท์มือถือ เลขประจำเครื่อง อาจมีการปลอมแปลงกันได้ แต่ศาลก็เชื่อพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์คืออัยการว่าคงไม่ได้ปลอมแปลง เพราะสัญญาณส่งจากแหล่งที่อยู่ของผู้ที่เป็นจำเลย อย่างไรก็ตาม คดีนี้เนื่องจากจำเลยปฏิเสธหัวแข็งว่าไม่ได้เป็นการกระทำของเขา ถ้าจะเป็นก็เป็นการกระทำของคนอื่น จึงต้องมีการพิจารณาพฤติกรรมแวดล้อมว่าเขามีมูลเหตุจูงใจอะไรที่จะทำอย่างนั้น ซึ่งอันนี้ต้องรออ่านในคำพิพากษาว่าชี้ให้เห็นไหมว่ามีพฤติการณ์หรือมูลเหตุอะไรจูงใจที่เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าเป็นบุคคลคนนี้ ทั้งๆที่เขาปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ได้กระทำจริง

ทีนี้ถามว่าคำพิพากษาวิจารณ์ได้ไหม ผมมีอาชีพเป็นอาจารย์ สอนหนังสือทุกๆวัน ผมก็ต้องวิจารณ์คำพิพากษาของศาล แต่ถ้าเราวิจารณ์ด้วยความเป็นกลางและด้วยเหตุผลความเป็นนักวิจารณ์ หรือพูดง่ายๆอย่างเป็นกลางและด้วยความสุจริต อันนี้คนจำนวนมาก รวมทั้งผู้ที่ออกแถลงการณ์คัดค้านคำพิพากษาฉบับนี้ก็ไปกล่าวอ้างว่าศาลนั้นเราวิจารณ์ไม่ได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ศาลนั้นวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ด้วยใจเป็นธรรม

ตกลงวิจารณ์ศาลได้ ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินหรือคำพิพากษาของศาลได้

นายกิตติศักดิ์ : ได้อยู่แล้ว จำเลยไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว เขาถึงอุทธรณ์ได้ กฎหมายถึงมีอุทธรณ์ ฎีกา

ถ้าจะให้เขาไม่เห็นด้วยหมด จะอุทธรณ์ ฎีกากันได้อย่างไร หมายความว่าสาธารณชนคือจำเลย ต้องสู้อยู่แล้ว แต่สาธารณชนบอกว่าไม่เห็นด้วยกับศาลอย่างนี้

นายกิตติศักดิ์ : สาธารณชนก็บอกไม่เห็นด้วยได้ แต่อย่าไปดูหมิ่นศาล ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาไม่เป็นความผิด อันนี้เป็นเรื่องที่คนเข้าใจผิดพลาดกันมาก แล้วศาลด้วยเหตุที่ว่าไม่กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์ เขาถึงเปิดการพิจารณาคดีทั้งหลาย โดยหลักแล้วต้องพิจารณาคดีในที่สาธารณะ หมายความว่าเปิดให้สาธารณชนเข้ารับฟังได้ ต้องโปร่งใส คำพิพากษาก็ต้องให้เขาอ่านได้ เมื่อให้อ่านได้ก็วิพากษ์วิจารณ์กันได้ แต่ห้ามอย่างเดียวคือการดูหมิ่น บอกศาลเลวอย่างนี้ไม่ได้ ต้องบอกว่าด้วยความเคารพ กระผมไม่เห็นด้วยเพราะเหตุใด ว่ากันไป อย่างนี้ทำได้

ทำไมคดีอากงจึงสร้างความโกรธแค้นแล้ววิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงในโลกไซเบอร์จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ของสังคมไทยขึ้นมาได้

นายนิธิ : ผมมี 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือคุณเอาคนอายุ 61 เป็นมะเร็งในปาก ไปติดคุก 20 ปี ผมว่าสังคมไหนในโลกก็รู้สึกสะเทือนใจกันทั้งนั้น แล้วก็ทำให้ต้องย้อนกลับมาสงสัยในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยทั้งหมด รวมทั้งสงสัยในตัวกฎหมายที่ทำให้อากงติดคุกด้วย

ประเด็นที่ 2 ผมอยากเตือนไว้คือ ความยุติธรรมไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้า แต่เป็นความเห็นของมนุษย์ในสังคมแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละแห่ง จะมองเห็นว่าอะไรคือความยุติธรรมของเขา การที่คนขยับเขยื้อนกันมากมายเหลือเกินในสังคมจากกรณีอากงชี้ให้เห็นว่าทรรศนะต่อความยุติธรรมของไทย มาตรฐานที่ครั้งหนึ่งเคยถือว่าเป็นความยุติธรรม สังคมไทยไม่ได้เห็นอย่างนั้นแล้ว จริงๆถ้าอากงอยู่สมัยอยุธยาเอามะพร้าวห้าวยัดปากนะ แต่อันนั้นคือความไม่ยุติธรรมของคนไทยเมื่อหลายร้อยปีแล้วกระมัง แต่ปัจจุบันนี้แม้แต่มาตรฐานเมื่อร้อยปีที่แล้วก็กลายเป็นมาตรฐานความยุติธรรมที่คนในปัจจุบันเริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่อีกแล้ว ผมว่าประเด็นนี้น่าสนใจ

อาจารย์เป็นนักประวัติศาสตร์ พอสังคมเริ่มมีความรู้สึกว่าเกิดความอยุติธรรมขึ้นกับกรณีใดกรณีหนึ่ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองคืออะไร

นายนิธิ : วุ่นวายครับ เพราะถ้าคุณรู้สึกว่าไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมที่คุณพอใจในสังคมนี้ได้ ไม่ใช่คุณคนเดียว แต่สังคมจำนวนมากรู้สึกว่าอันนี้ไม่ใช่ความยุติธรรม ในที่สุดก็จะหันไปสู่การกระทำอะไรก็แล้วแต่ที่คุณไม่แคร์ต่อความยุติธรรมต่อไป คุณไปเที่ยวรังแกคนอื่นโดยไม่สนใจอีกแล้วว่ายุติธรรมหรือไม่

นายกิตติศักดิ์ : ประเด็นที่น่าสนใจก็คือคดีนี้เป็นคดีที่ต้องชั่งน้ำหนักคุณค่า 2 อย่างที่อยู่ในสังคม คุณค่าอันแรกคือการที่เราจะแสดงความคิดเห็น ซึ่งบางครั้งอาจเป็นความคิดเห็นที่รุนแรง มันอยู่ในขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในแง่นี้ในสังคมประชาธิปไตยถือกันว่ารากเหง้าสำคัญ รากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตยคือต้องเปิดโอกาสให้คนแสดงความคิดเห็นได้ ผมว่าคุณภิญโญว่าคุณเลว เป็นความคิดเห็นนะ แต่ปัญหาว่าความคิดเห็นนี้ต้องอยู่ในกรอบที่ต้องไม่เป็นการหมิ่นประมาท ผมบอกคุณจัดรายการไม่ดี เป็นความคิดเห็นนะ ทุกคนต้องแสดงความคิดเห็นได้ แต่ถ้าผมบอกว่าคุณภิญโญนั้นเลวเหมือนหมา คุณภิญโญคุณเป็นชู้กับคนอื่น อย่างนี้เกินขอบเขตการแสดงความคิดเห็นที่กฎหมายกำหนดไว้ ก็กลายเป็นเรื่องหมิ่นประมาทไป

อีกเรื่องหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ระบบกฎหมายถือว่าเป็นส่วนสาระสำคัญเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงมีรัฐธรรมนูญที่ถือว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร เมื่อเป็นราชอาณาจักรคือพระมหากษัตริย์เป็นสุดยอด เป็นประมุขแห่งรัฐ จึงต้องได้รับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จะแสดงความคิดเห็นต่อพระมหากษัตริย์นั้นทำได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตว่าจะดูหมิ่นไม่ได้ แสดงความอาฆาตมาดร้ายไม่ได้ จะหมิ่นประมาทไม่ได้

คดีนี้เรายังไม่เห็นคำพิพากษา แต่เหตุที่มีผู้คนสงสัยไม่ใช่เป็นเพียงเพราะว่านี่เป็นคนแก่ ไม่ใช่แค่นั้น เพราะถ้าหากอาจารย์นิธิจะกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือจะวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทำอยู่บ่อยๆ ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ปัญหาอยู่แต่เพียงว่าเนื้อหาของการกล่าวกระทบกระเทียบนั้นเป็นอย่างไร และที่คนรู้สึกมากเพราะคิดว่าเป็นการกระทำของอากงคนนี้หรือเปล่า นี่คือปัญหาใหญ่ เพราะข่าวที่ออกมาบอกว่าพิสูจน์ไม่ได้ พยานหลักฐานยังน่าสงสัยอยู่ อันนี้จึงต้องดูในคำพิพากษาว่าอะไรเป็นเหตุในการลงโทษ แล้วชั่งน้ำหนักกันหรือเปล่า ระหว่างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งอยู่ในระบอบประชาธิปไตยกับความมั่นคงของรัฐคือการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่าอะไรสำคัญยิ่งหย่อนกว่าอันใดภายใต้เงื่อนไขใด อันนี้เป็นเรื่องที่ศาลต้องทำให้ชัดเจน

อาจารย์กฎหมายมีข้อถกเถียงกันหลายกรณีเรื่องอากง ตกลงเป็นหน้าที่ของฝ่ายจำเลยที่จะพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้ทำผิด หรือเป็นความเห็นของฝ่ายโจทก์ที่ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยทำความผิดแล้วก็หักล้างกันไป ใครมีหน้าที่อย่างไรในกระบวนการพิจารณาคดีอาญาในลักษณะแบบนี้

นายพนัส : หลักการพิจารณาคดีอาญาซึ่งกำหนดไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญและในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หน้าที่นำสืบว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงโดยชัดแจ้ง ไม่ปราศจากข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ว่าในกรณีนี้ข้อความที่ส่งเอสเอ็มเอสในเบื้องต้นนั้นส่งไปจากคนที่ถูกฟ้องคืออากง คดีนี้ต้องพิสูจน์ตรงนั้นให้ได้ แต่ทีนี้ศาลเองเท่าที่ฟังจากข่าว ไม่รู้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร บอกว่ามีข้อวินิจฉัยของศาลว่าแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าวไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ศาลก็บอกว่าเนื่องจากจำเลยก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นไม่ได้ส่งไปจากเครื่องของตัวเอง สุดท้ายศาลเลยบอกว่าด้วยเหตุนี้มีพยานประจักษ์แวดล้อม ศาลใช้คำทำนองนี้ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าคืออะไรบ้าง ทำให้ศาลฟังว่าจำเลยเป็นผู้ส่ง แล้วศาลก็พิพากษาลงโทษไป ฉะนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ถ้าผมจำไม่ผิด ถ้ามีความสงสัยแม้แต่น้อย เขาให้ยกประโยชน์ความสงสัยให้แก่จำเลย ส่วนในรัฐธรรมนูญก็จะมีทุกฉบับว่าผู้ที่ถูกฟ้องคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ได้กระทำความผิด ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะพิพากษาว่าได้กระทำผิดตามนั้น อันนี้เป็นหลักที่เป็นหัวใจของการพิจารณาคดีอาญา

ทำไมศาลไม่ยกประโยชน์ให้จำเลย เมื่อฝ่ายโจทก์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด

นายพนัส : อันนี้คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกในทางปฏิกิริยาออกมาค่อนข้างกว้างขวางและรุนแรง เพราะตามความเข้าใจของผมเชื่อว่าแม้กระทั่งนักกฎหมายโดยทั่วไปก็เข้าใจกันตามนั้นว่าจำเลยในคดีอาญา ถ้าหากศาลบอกว่าโจทก์สืบมาไม่ชัด ยังมีข้อสงสัยอยู่ ทำไมไม่ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลย นั่นคือทำไมไม่ยกฟ้อง ศาลบอกว่าต้องไปดูว่ามีประจักษ์พยานแวดล้อมซึ่งสามารถชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยได้หรือไม่ แล้วศาลบอกว่าในกรณีเช่นนี้ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้กระทำผิดต้องหาทางปกปิด นัยคือโจทก์ก็ไม่สามารถที่จะสืบได้ชัดแจ้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จากที่ศาลฟังทั้งหมด ผมเข้าใจว่าอย่างนั้น ศาลก็เชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ส่งข้อความนั้นจริง อากงเป็นผู้ส่งข้อความนั้นจริง ก็พิพากษาลงโทษไป

อาจารย์นิธิไม่ต้องมองในฐานะนักกฎหมาย มองในฐานะประชาชนธรรมดา เมื่อมีการอธิบายคดีแบบนี้ ด้วยวิธีคิดแบบนี้ มนุษย์คนหนึ่งเห็นอย่างไรในวิธีคิดแบบนี้

นายนิธิ : ในความเป็นจริงแล้วผมไม่เชื่อว่าคนที่รู้สึกหวั่นไหวแล้วก็มีการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาเรื่องนี้กันมากในอินเทอร์เน็ตมาจากความรู้ทางกฎหมาย ผมคิดว่าไม่ใช่ แต่มาจากความรู้สึกของมนุษย์ธรรมดา คือการเอาคนแก่อายุ 61 ไปติดคุก 20 ปี สิ่งแรกที่ชาวบ้านคิดคือ มันทำอะไรวะ ลองไปฆ่าคนตาย ไปทำอะไรก็แล้วแต่ เอาไปติดคุก 20 ปี ก็ไม่มีใครรู้สึกอะไร แต่เพราะการส่งเอสเอ็มเอสพาดพิงถึงพระเจ้าอยู่หัว 4 ครั้งด้วยกัน 20 ปี ผมคิดว่าคนทั่วไปเลยรู้สึกว่ามันมากไป มันรับไม่ไหว นักกฎหมายจะว่าอะไรก็ว่าเถอะ แต่ผมว่าชาวบ้านไม่ได้รู้กฎหมายอย่างท่านทั้งสอง แต่ใช้หัวใจความเป็นมนุษย์ ผมถึงได้เตือนว่าสมัยอยุธยาเอามะพร้าวห้าวยัดปาก มาตรฐานความยุติธรรมในสังคมควรแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคสมัย ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

นายกิตติศักดิ์ : อันนี้มีหลายประเด็น เราต้องแยกกันให้ดี อย่างแรกคือความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่ แต่ที่ท่านอาจารย์นิธิพูดถึง ต่อให้กระทำความผิดจริง สมควรจะถูกลงโทษ 20 ปีหรือไม่ นี่อีกประเด็นหนึ่ง ไปลงโทษคนที่เขาไม่ได้กระทำ อันนี้คนจะรู้สึกมาก ส่วนไปลงโทษผู้ที่ยอมรับ สมมุติจำเลยสารภาพ แม้จำเลยสารภาพว่าได้ทำจริง แล้วก็มีความเชื่ออย่างนั้นจริงโดยสุจริตใจ ต้องการจะทำอย่างนี้ แล้วก็ท้าทายด้วย ควรจะลงโทษหรือไม่ 20 ปี อันนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งผมคิดว่าต้องเถียงกันในสังคม โดยกฎหมายมันก็มีปัญหาอีก เพราะกฎหมายบอกไว้ว่าลงโทษขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 15 ปี กรณีนี้ลงโทษ 5 ปี แต่ลงโทษด้วยการกระทำต่างกรรมต่างวาระโดยวิธีมาบวกกัน แล้วกลายเป็นเหมือนกับว่าทำเป็นการปรามไม่ให้ผู้อื่นกระทำในทำนองเดียวกัน กรณีนี้ผมยังไม่อยากจะให้ได้ข้อยุติ อย่างที่อาจารย์นิธิว่าเขาทำจริงก็เป็นแค่เพียงสมมุติว่าเขาทำจริง เพราะเรื่องนี้คดีเขายังต่อสู้อยู่

อาจารย์นิธิพูดในสมมุติฐานอะไร

นายนิธิ : คุณถามผมว่าทำไมคนถึงหวั่นไหวถึงเรื่องความยุติธรรมกันนัก ผมไม่ได้พูดว่าเขาทำหรือไม่ได้ทำจริง แล้วก็ไม่รู้ว่าทางกฎหมายเป็นอย่างไร แต่อารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ คนแก่คนหนึ่งทำผิด แล้วตัวเองก็ไม่ยอมรับด้วย

นายกิตติศักดิ์ : คดีนี้เราต้องเห็นใจจำเลยด้วย จำเลยยังต่อสู้อยู่ว่าไม่ได้ทำ ส่วนปัญหาว่าต่อให้ทำจริงควรลงโทษรุนแรงหรือไม่ เป็นเรื่องสมมุติ ผมพูดอันนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะให้เราอย่าไปลงความเห็นว่าจำเลยทำจริงแค่นั้นเอง

นายพนัส : ผมคิดว่าแม้จะไม่ได้เป็นนักกฎหมาย แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปก็คงจะเป็นที่เข้าใจได้ การพิสูจน์ยังไม่ชัดเจน แล้วโดยสภาพของอากงเองทำให้คนเชื่อว่าไม่น่าจะทำสิ่งนี้ได้ ประกอบกับการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทย์ไม่สามารถนำสืบพยานได้อย่างชัดเจนชัดแจ้ง ความเข้าใจของคนทั่วไปมีความรู้สึกว่าในเมื่อยังไม่มีความชัดเจนทำไมไม่ยกประโยชน์ให้จำเลย ทำไมลงโทษเขารุนแรงถึงขนาดนั้น แต่ก็มีอีกประเด็นหนึ่งที่อาจารย์กิตติศักดิ์พูดคือ เนื่องจากเรายังไม่ทราบว่าข้อความที่ว่านี้เป็นอย่างไร จึงเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอีก

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กิตติศักดิ์ว่าถ้าหากข้อความนี้ชั่วร้ายมาก รุนแรงมาก โทษกระทงละ 5 ปี เหมาะสมหรือเปล่า ผมว่าเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณากัน อย่าลืมว่าคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นๆในอดีตอย่างประเทศฝรั่งเศส ถ้าผมจำไม่ผิดโทษคือประหารชีวิต แต่ตอนหลังความคิดความอ่านของคนก็เปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ในประเทศอังกฤษเองความผิดฐานนี้รัฐสภาก็ยกเลิกไป เหลือความผิดที่แปลเป็นภาษาไทยคือความผิดฐานกบฏ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการพูดจาในลักษณะที่คล้ายว่าระบบนี้ไม่ควรมีอยู่ต่อไปแล้ว ซึ่งอันนี้เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากในประเทศอังกฤษว่าหากมีคนพูดในทำนองว่าอยากให้ประเทศมีระบอบการปกครองเป็นสาธารณะรัฐนั้นผิดกฎหมายฐานเป็นกบฏหรือไม่ ตอนนี้กำลังเสนอร่างกฎหมายให้ยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ไป

เท่าที่อาจารย์ประมวลข่าวมาทั้งหมด อะไรคือประเด็นที่ติดค้างใจอาจารย์มากที่สุด

นายนิธิ : อย่างที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้ว่ามาตรฐานความยุติธรรมมันเปลี่ยน เวลานี้ผมคิดว่ากฎหมายที่เราเรียกกันว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 ทำร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าปกป้องเสียอีก เพราะในโลกปัจจุบันคุณไม่สามารถทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาธิปไตยกลายเป็น 2 สิ่งที่ขัดแย้งกันได้ ถ้าคุณใช้มาตรา 112 แบบนี้อยู่บ่อยๆ ตลอดเวลา ก็กลายเป็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวขัดขวางเสรีภาพในการแสดงออก ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องมีมิติทางการเมืองเข้ามาแทรกด้วย คือต้องเข้าใจให้ดีๆว่าถ้าเราต้องการรักษาเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ต้องไม่ผลักให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นอุปสรรคของประชาธิปไตย

พอเกิดกรณีอากงเลยมีการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ในมุมมองของอาจารย์ควรแก้หรือไม่ และจะแก้อย่างไร

นายนิธิ : จริงๆแล้วมีการเรียกร้องให้แก้หรือทบทวนมาก่อนหน้ากรณีอากงนานมากแล้ว เหตุผลสำคัญคือช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา หลังรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา สถิติการฟ้องร้องคดี 112 เพิ่มขึ้นไม่รู้เท่าไรแล้ว มากมายเหลือเกิน เพิ่มขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ซึ่งชัดเจนว่าหากคุณปล่อยเอาไว้ก็จะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองตลอดเวลา มันน่ากลัวมากๆ กระบวนการยุติธรรมของเราจะถึงขั้นไหนผมไม่ทราบ แต่มีลักษณะของการปัดความรับผิดชอบ เพราะถ้าผมถูกแจ้งความ ผมก็ทำเรื่องไปให้อัยการ อัยการไม่อยากฟ้องก็ว่าไป ก็จะเกิดการปัดความรับผิดชอบกันไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็จะเกิดปัญหาเดือดร้อนกันค่อนข้างมาก

ในขณะเดียวกันผมคิดว่ามีจุดอ่อนในมาตรา 112 หลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือโทษไม่ได้สัดส่วน 3-15 ปี รุนแรงมากถ้าเปรียบเทียบกับกฎหมายทำนองเดียวกันในสมัยเดียวกันกับประเทศอื่นๆ อย่างที่ 2 คือวิธีการบังคับใช้กฎหมาย ผมว่ามีปัญหา นอกจากเรื่องการผลักความรับผิดชอบอย่างที่ว่าแล้ว ผู้ต้องหาส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ประกันตัว เพราะถูกพิจารณาว่าเป็นคดีร้ายแรง นอกจากนั้นในตัวกฎหมายเองผมคิดว่ามีความคลุมเครือ แค่ไหนจึงเป็นการหมิ่นประมาท แค่ไหนจึงเป็นการอาฆาตมาดร้าย แค่ไหนจึงเป็นการดูหมิ่น ผมคิดว่าต้องอาศัยการตัดสิน วินิจฉัยโดยผู้พิพากษาว่าอันนี้เป็นการดูหมิ่น อันนี้ไม่ใช่การดูหมิ่น

จริงๆถ้าคุณขยันพอที่จะย้อนกลับไปดูคำพิพากษาคดีนี้ที่ผ่านมาหลายต่อหลายคดี ผมคิดว่าบางคดีค่อนข้างขัดแย้งกันเองด้วยซ้ำไป ประเด็นก็คือ ถ้าคุณปล่อยให้กฎหมายอยู่ในวินิจฉัยของคนมากเกินไป ไม่มีเลยก็ไม่ได้ ต้องมีบ้าง แต่ถ้ามากเกินไปจะล่วงล้ำเข้าไปสู่สิ่งที่เป็นสำนึกของคน หรือที่ฝรั่งเรียกว่าอาชญากรรมของสำนึก แล้วถ้าคุณไม่อ่านคำพิพากษาบางอันเป็นเรื่องของอาชญากรรมสำนึกทั้งสิ้น เช่น ตำหนิผู้ที่ต้องคำพิพากษาว่าปราศจากความจงรักภักดี ความจงรักภักดีนี้ต้องมีในกฎหมายนะ เพราะผมรู้จักแต่กฎหมายตรา 3 ดวง แม้แต่กฎหมายโบราณขนาดนั้นก็ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ เช่น ความนึกคิดจิตใจของคนควบคุมไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณเริ่มเปลี่ยนกฎหมายอันนี้ให้กลายเป็นอาชญากรรมของสำนึก ซึ่งอันตรายมากๆแล้วโดยไม่รู้ตัว ไปอ้างความจงรักภักดี ความไม่รู้จักบุญคุณ และอื่นๆ คนละเรื่องเลย

นอกจากนั้นผมคิดว่าการอนุญาตให้กฎหมายให้ความผิดอันนี้ถูกฟ้องโดยสาธารณชนได้ อันนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งเหมือนกัน เพราะเปิดโอกาสให้มีการใช้เป็นเครื่องมือ ในขณะเดียวกันยิ่งฟ้องมากยิ่งกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ คุณจำพระราชดำรัสเมื่อปี 2548 ได้ไหม การใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ยิ่งใช้มากก็ยิ่งสร้างความเจ็บปวด สร้างความเดือดร้อนมากขึ้น คงจำได้กรณีนักการเมืองจ้างคนไปตะโกนในโรงหนังเรื่อง “ปรีดีฆ่าในหลวง” อันนั้นเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่สกปรก ผมยอมรับเพราะเป็นนักการเมืองด้วยกัน แต่ปัจจุบันคุณสามารถไปฟ้องใครก็ตาม แต่ในคดีอาญา 112 คนเล็กคนน้อยเข้าใจไหม คุณเองกลับได้เครดิตขึ้นมา มันไม่ใช่การต่อสู้ของนักการเมืองต่อนักการเมืองแล้ว ผมกับอาจารย์พนัสเป็นนักการเมืองต่อสู้กัน แต่ผมไปฟ้องคุณเพื่อทำให้ชื่อเสียงผมดีขึ้นว่าผมมีความจงรักภักดีต่อสถาบันเป็นพิเศษ อาจารย์พนัสก็ไปฟ้องอาจารย์กิตติศักดิ์ วุ่นวายไปหมด คนเล็กคนน้อยจำนวนมากในคดีในปี 2553 ไม่ใช่คน ไม่ใช่นักการเมืองที่โดนคดีเหล่านี้ เพราะฉะนั้นการเป็นเครื่องมือทางการเมืองยิ่งอันตรายมากขึ้นทุกที ผมคิดว่าจากข้ออ่อนเหล่านี้อย่าไปแก้มัน ผมว่าคุณต้องแก้ คุณต้องทบทวน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ คุณต้องทบทวนดูให้ดีว่าจะทำอย่างไร

ประเด็นสุดท้ายในฐานะนักกฎหมาย แค่ตรา 3 ดวง ไม่ใช่นักกฎหมายแบบอาจารย์พนัส ผมออกจะสงสัยว่ามาตรา 112 เทียบกับคดีหมิ่นประมาทบุคคลไม่ได้เลย ไม่ใช่เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกใส่อยู่ในความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ผมคิดว่าหมายความว่าถ้าคุณพูด คุณทำ คุณเขียนอะไรก็แล้วแต่ที่มุ่งหวังจะให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากราชอาณาจักรไปสู่อะไรที่ไม่ใช่ราชอาณาจักร อันนั้นถึงจะเป็น 112 เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจตามผม อากงไม่ผิด สิ่งที่เขาทำมันน้อยไปเกินกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองราชอาณาจักรได้

การที่สังคมแบ่งเป็น 2 ข้าง ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำโดยไม่ฟังเหตุและผลของกันและกัน ความน่ากลัวของสังคมไทยในอนาคตคืออะไร

นายนิธิ : ความน่ากลัวคือเราต้องตีกัน ผมคิดว่าเราต้องตีกันมากขึ้น ตีในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงรบราฆ่าฟันกันอย่างเดียว อันนั้นส่วนหนึ่ง แต่ตีกันในทุกๆเรื่อง ซึ่งมีหลายเรื่องที่ผมคิดว่าเราสามารถแก้ปัญหาได้โดยการข้ามพ้นไปจากความขัดแย้ง เป็นการชั่วคราวก็ยังได้ แต่เราก็ข้ามไม่พ้นสักที

สรุปสั้นๆ ผมคิดว่าสังคมเปลี่ยนไปมากเกินกว่าที่จะรักษาโครงสร้างแบบเก่าเอาไว้ได้แล้ว ตัวอย่างง่ายนิดเดียว เช่น ทะเลาะกันเรื่องเขื่อนกั้นน้ำ ถ้าเป็น 40 ปีที่แล้ว คุณจะกั้นยังไงก็ไม่มีใครรู้สึกอะไร ไม่ใช่ไม่รู้สึก รู้สึกแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็ยอมให้ท่วมไป แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว คนปทุมธานีไม่ใช่คนยากจนอย่างเมื่อ 40 ปีที่แล้ว เขามีสิทธิมีเสียงเท่ากับคนสีลม แล้วเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องมารื้อเขื่อนหรือพนังกั้นน้ำ แต่โครงสร้างของเราเป็นโครงสร้างที่ให้อำนาจไว้อย่างไม่เท่าเทียม คุณอยากจะแก้ตรงนี้ไหม ตราบเท่าที่เรายังไม่แก้ตรงนี้ ผมคิดว่าสังคมไทยเราจะเผชิญความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

นายกิตติศักดิ์ : การที่เราปกปิดหรือไม่พูดในสิ่งที่ควรพูด ทำให้คุณค่าคือสัจจะที่อยู่ในสังคมไม่เอาความจริงมาตีแผ่แล้วถกเถียงกันด้วยสติปัญญา ก็จะไม่เจริญ หรือพูดง่ายๆมันเสื่อม สังคมใดก็ตามที่คุณค่าในเรื่องสัจจะคือความเป็นจริง ความมีเหตุผลด้วยสติปัญญา สังคมนั้นก็จะตัดสินกันด้วยอำนาจ แล้วก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เหมือนกับเรื่องกั้นเขื่อน จะเห็นได้ว่าในที่สุดมีข้อยุติ 2 ทางคือ 1.ทางราชการกับประชาชนสามารถตกลงกันได้ด้วยเหตุผลก็ยุติลง แต่ถ้าหากไม่รับฟังเหตุผลกัน ในที่สุดก็ใช้อำนาจและใช้กำลัง เมื่อไรก็ตามที่สัจจะกับสติปัญญาลดถอยลงคนก็จะหันมาตัดสินกันด้วยกำลัง จากนั้นก็จะเกิดการจลาจล กรณีอย่างนี้ถ้าเราพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ในคติของเราคือธรรมะที่ปรากฏในมนุษย์ เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์ต้องดำรงอยู่ได้ด้วยสัจจะ ดำรงอยู่ได้ด้วยสติปัญญาของสังคม ถ้าสติปัญญาของสังคมไม่มี สัจจะของสังคมก็อยู่ไม่ได้ พระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ด้วยอะไร ด้วยอำนาจอย่างนั้นหรือ คำตอบก็คือถ้าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ด้วยอำนาจอย่างเดียวแล้วละก็ ตอนนั้นจะเป็นจุดที่ถึงภาวะที่จะมีผู้เอาอำนาจมาล้มล้างได้ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงต้องดำรงอยู่ในสังคมด้วยสติปัญญา ยึดถือความจริงและเหตุผลของสังคม ประกอบกับความกล้าหาญที่จะรักษาความถูกต้อง สิ่งนี้เราจะปล่อยให้เสื่อมไม่ได้

นายพนัส : ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กิตติศักดิ์ว่าต้องทำให้สัจจะให้เกิดขึ้นในสังคมจึงจะแก้ปัญหาได้ สติปัญญาก็จะติดตามมา แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือขณะนี้สิ่งที่ปิดบังอยู่คือความกลัว ไม่มีใครกล้า ถามว่าทำไมถึงไม่กล้า ก็เพราะว่ากลัวโดน พูดอย่างไรถึงจะเรียกว่าเป็นสัจจะ พูดความจริง อย่างที่อาจารย์กิตติศักดิ์บอกว่าแล้วมีหลักประกันอะไรที่ว่าพูดความจริงแล้วจะไม่โดนกล่าวหา ยิ่งเดี๋ยวนี้โดยเฉพาะในเครือข่ายสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์ค เขามีกลุ่มไล่ล่าแม่มดอะไรอย่างนี้ ซึ่งเหมือนเป็นกลุ่มที่คอยไล่ตามดูทั้งหมดว่าใครบ้างที่ยังมีปฏิกิริยา หรือมีท่าที มีทรรศนะอะไร ซึ่งโดยมาตรฐานเขาเห็นว่าผิด ก็พร้อมที่จะเล่นงาน ผมคิดว่าในสังคมไทยกำลังมีสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวมากๆเลย อันนี้ก็เกิดปัญหาขึ้นมาว่าแล้วความกลัวที่จะทำให้คนเกิดความกล้าหาญอย่างที่อาจารย์กิตติศักดิ์เสนอ จะมีใครสักกี่คนที่จะกล้าทำอย่างนั้น

อาจารย์นิธิ เรื่องที่เราพูดกันมาทั้งหมดอาจจะเปรียบกับยอดภูเขาน้ำแข็ง สังคมก็อาจตั้งคำถามต่อไปว่าถ้าอย่างนั้นภูเขาน้ำแข็งทั้งลูกที่ซ่อนตัวอยู่ในสังคมไทยที่อาจารย์มองเห็นคืออะไร

นายนิธิ : สรุปให้เหลือสั้นๆคือ โครงสร้างทางการเมือง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรมต่างๆมีความไม่เท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรมอยู่ในนั้นเยอะมาก ครั้งหนึ่งเราอยู่กันได้ท่ามกลางโครงสร้างเหล่านี้ แต่อย่างที่ผมพูดเมื่อสักครู่ ผมว่าสังคมมันเปลี่ยน โครงสร้างที่เราเคยชินนั้นไม่สามารถทำให้เราอยู่ร่วมกันต่อไปได้ คุณต้องกล้าพอที่จะปฏิรูปมัน

อาจารย์กิตติศักดิ์เห็นอะไรที่ลึกลงไปในทะเล เราซ่อนอะไรภายใต้พรมบ้างในประเทศนี้

นายกิตติศักดิ์ : ผมว่าเรากำลังเผชิญอยู่ในสถานการณ์ตอนที่ใกล้เสียกรุง เราเสียกรุง 2 ครั้งในสมัยอยุธยา ตอนที่เรากำลังรวยเต็มที่ คือเรารวยเหมือนกับต้นไม้ที่เติบโตมีกิ่งก้านสาขา แต่รากมันลงไม่ลึก ถือว่าโครงสร้างที่จะรองรับความเติบโตนี้มีไม่พอ เหมือนกับที่อาจารย์นิธิว่ามันต้องมีรากลึกเพียงพอที่จะรับเอาไว้ได้ เมื่อลมพัดมา ถ้ารากของต้นไม้ลึกไม่พอ เผชิญกับเหตุการณ์เล็กๆไม่เท่าไรก็จะล้มครืนได้ฉับพลัน

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เพื่อไทยขยับแก้ปม รธน.50 สู่เกมเสี่ยง-สู้แนวต้านใน-นอกพรรค !!?


ปี 2555 จะเป็นปีแห่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เดินคู่กับขาออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขยับไปพร้อมกับการออก พ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ

เกมในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจึงร้อนแรง ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยไปถึงทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา

ทันทีที่เปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ การเปิดฉากเรื่องแก้รัฐธรรมนูญจึงครึกโครม

เป็นเหตุผลให้บรรยากาศในห้องประชุมพรรคเพื่อไทยช่วงบ่ายวันที่ 20 ธันวาคมร้อนระอุดุเดือดเต็มไปด้วยการถกเถียง-อภิปราย

จนวงประชุมแตกเป็น 2 ก๊ก 2 เหล่า

ก๊ก 1 แห่ง "บ้านริมคอลง" มี "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรีเป็นแกนนำให้ชะลอดึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน ปะทะกับความคิดฝ่ายสีแดง มี "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" และ น.พ.เหวง โตจิราการ-พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ที่ยืนกรานว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่หาเสียงไว้

ทั้ง 2 ฝ่ายปะทะความคิดถึงระดับที่หัวขบวนแนวต้านขอคืนเก้าอี้รัฐมนตรี หากพรรคยังเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีต้องลงมาหย่าศึก

แม้เสียงส่วนใหญ่ในเพื่อไทยไม่สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปตามแนวทางของ "ร.ต.อ.เฉลิม"

แต่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป) มีมติร่วมกันว่าควรแก้ไขมาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาแก้ไข ทั้งฉบับ

โดยมอบหมายให้ "พีรพันธุ์ พาลุสุข" ส.ส.ยโสธร เป็นหัวหอกในการชี้แจงกับสาธารณะ และระดมนักกฎหมายเพื่อกำหนดร่างในการเฟ้นคุณสมบัติของ ส.ส.ร. 99 คนที่มาจาก 2 ส่วนคือ 1.เลือกตั้ง 77 คน 2.นักวิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม 22 คน

ทั้งนี้ วัน-เวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกกำหนดไว้เป็นคู่มือในการขับเคลื่อนพรรคดังนี้

ปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ยื่นญัตติเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... (แก้ไขมาตรา 291 เพียงมาตราเดียว) เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยต้นร่างอาจมีทั้งร่างที่มาจาก ครม. และร่างที่มาจากการเข้าชื่อกันของ ส.ส.และ ส.ว.จำนวนไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 หรือ 130 คน และร่างที่มาจากการเข้าชื่อกันของภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 50,000 คน

กุมภาพันธ์ 2555 ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งต้องใช้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ สมาชิกรัฐสภา หรือ 325 คน จากนั้น จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญขึ้นมาพิจารณาเป็นรายมาตรา พร้อมกำหนดกรอบเวลาในการทำหน้าที่ของ กมธ.วิสามัญ

ปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน 2555 ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาในวาระที่ 2 ซึ่งใช้เสียงข้างมากของรัฐสภา จากนั้นทิ้งร่างไว้ 15 วันเพื่อขอความเห็นชอบในวาระที่ 3 ซึ่งต้องใช้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้ง 2 สภา

กระบวนการผ่านร่างแก้ไขมาตรา 291 ควรเสร็จก่อนปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติในวันที่ 18 เมษายน แต่ถ้าดำเนินการไม่ทันรัฐบาลจะขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญก่อนเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 เพื่อให้กระบวนการสรรหา ส.ส.ร. 3 เริ่มต้นได้

โดยตั้งธงว่า "99 อรหันต์" ที่จะเข้ามาเป็น "มือยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่" ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง 77 คน และมาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 22 คน ต้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ 23 สิงหาคม 2555

จากนั้นคาดว่าจะปล่อยให้ ส.ส.ร. 3 ทำหน้าที่ของตนไป ซึ่งหากเทียบเคียงเวลากับ ส.ส.ร.รุ่นพี่จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน

เมษายน-พฤษภาคม 2556 คาดว่า จะได้ต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

พฤษภาคม-มิถุนายน 2556 เผยแพร่ร่างให้ประชาชนรับทราบก่อนจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

มิถุนายน 2556 นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับมติมหาชนกลับมาที่รัฐสภาเพื่อ รับทราบก่อนประธานรัฐสภาจะนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป

หากไม่มีอุบัติเหตุการเมืองขัดขากันเองในพรรคเพื่อไทย ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ในช่วงกลางปี 2556

เพราะแนวร่วมในการแก้ไขรัฐธรรม นูญมีครบเครื่องทั้งมวลชนเสื้อแดง แนวร่วมเพื่อไทย และ 3 พรรคร่วมรัฐบาล

นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 และทีมนักฎหมายประจำพรรค ที่ร่วมวง "มอร์นิ่งบรีฟ" เหตุผลและหลักการการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รับทราบบอกว่า หาก "เพื่อไทย" ยังชักช้า-รีรอ ไม่เริ่มเสนอแก้ไขมาตรา 291 รัฐธรรมนูญ 2550 ในที่สุดอาจถูกฝ่ายตรงข้ามรุมถล่มจนพ้นกระดานต้องตั้งหลักเลือกตั้งใหม่

"ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่ทำอะไรก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเดินหน้าไปได้ ทุกเรื่อง ไม่มีอะไรต้องกลัว เกิดเรื่องก็ เกิดกัน เราไม่ได้สั่งฆ่าประชาชน ถ้าทหารยึดอำนาจเพราะแก้รัฐธรรมนูญ ยึดก็ให้ยึดไป เมื่อมีเลือกตั้งพรรค ประชาธิปัตย์ก็แพ้อีก พรรคเพื่อไทยต้องกล้า ๆ ทำเรื่องที่ควรทำ ถ้าปล่อยไว้โดนเชือดอีก"

คนในฝ่ายเพื่อไทยวิเคราะห์ด้วยว่า หากเกิดเหตุ จตุพร พรหมพันธุ์ ถูกพิพากษาพ้นจากการเป็น ส.ส. จากนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายโยงไปถึงขั้น "ยุบพรรคเพื่อไทย"

นอกจากนี้ ยังมีคดีที่พรรคเพื่อไทยถูกกล่าวหาว่าเป็นวาระของ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" ในสำนวน "ซื้อสื่อ" เข้าข่ายทำผิดรัฐธรรมนูญ มีโทษถึงขั้น "ยุบพรรค" ค้างคาอยู่

ข้อเสนอของผู้มีบารมีในเพื่อไทยจึงต้องใช้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับแนวรบ แนวต้าน จากทั้งฝ่ายค้านประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย และฝ่ายอำมาตย์ แกนนำพรรคเพื่อไทยคำนวณว่า

"การแก้รัฐธรรมนูญจึงเป็นการวัดดวงครั้งใหญ่ของบ้านเมือง เพราะไม่สามารถคาดการณ์ทำนายผลเรื่ององค์ประกอบ ส.ส.ร.ได้ว่าแต่ละคนจะ มีข้อเสนออะไร ในฝ่ายเพื่อไทย 20 เปอร์เซ็นต์อาจเป็นพวกที่คิดจะ แก้เพื่อทักษิณอย่างเดียว หรือไม่ให้มี ส.ว.เลย หรือให้นายกฯมาจากการเลือกตั้งทางตรง มีได้สารพัด"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ได้-เสีย..แก้รัฐธรรมนูญสู่บท ปฏิรูปการเลือกตั้ง !!?

บนความเคลื่อนไหวทาง การเมืองหลังพ้นวิกฤติคนไทย สำลักน้ำ มีการสัประยุทธ์กัน อย่างหนักหน่วง ทั้งฝ่ายการเมืองและเวทีภาคประชาชน หลังมีการตั้งธง! เสนอแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะซีกมวลชนเสื้อแดง และองค์กรเครือข่าย ต่างเห็นตรงกันว่า..น่าจะเป็น “กลไกสำคัญ” ในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ทิศทางที่เหมาะสม

หลังจากมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) เปิดเกมเร็ว! ร่วมกับเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หรืออันเฟรล เพื่อเดินหน้าเสริมสร้างอำนาจสู่ประชาชน! โดยเสนอให้มีการ “ปฏิรูปกระบวน การเลือกตั้ง” เพื่อเพิ่มดุลอำนาจให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็ง เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการเมืองที่มีเสถียรภาพ ในระบบตัวแทน ซึ่งแนวทาง “ปฏิรูป” ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นั้น ให้สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง

“ควรเปลี่ยนระบบเสียงข้างมาก ให้ เป็นระบบใหม่ที่สะท้อนจำนวนคะแนนเสียง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างแท้จริงและเป็นธรรม ให้เกิดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เคารพ เสียงส่วนน้อย และลดการซื้อขายเสียง ส่งเสริมการมีตัวแทนผู้สมัคร ส.ส. จากทุก ภาคส่วน ขณะที่การเลือกตั้งในระบบสัดส่วน นั้น ควรกำหนดเขตเลือกตั้งไม่เกิน 5 เขต ให้เป็นระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด โดยผู้มี สิทธิเลือกตั้งเป็นผู้กำหนดลำดับที่ และเลือกข้ามพรรคได้ รวมไปถึงการที่ ส.ส. ระบบเขต ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรค”

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการใช้สิทธินั้น เสนอให้จัดทำบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยสมัครใจ และให้มีการลงทะเบียนก่อนวันเลือกตั้งทุกครั้ง รวมทั้ง ยกเลิกการจำกัดสิทธิของผู้ต้องขัง ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช (แม่ชี ภิกษุณี) รวมทั้งกำหนดให้มีวันเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่าหนึ่งวัน

ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้มีการปฏิรูป คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีบุคคลที่มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ มีประสบการณ์ที่หลากหลาย มีสัดส่วนหญิง ชายที่ใกล้เคียงกัน พร้อมปรับบทบาท กกต. ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งเป็น หลัก และให้ กกต.เป็นผู้ผลิตสื่อและดำเนิน การประชาสัมพันธ์การหาเสียงของผู้สมัคร และพรรคการเมืองอย่างเท่าเทียม ตลอด จนการส่งเสริมให้องค์กรเอกชนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาและตรวจสอบการเลือกตั้ง อย่างแท้จริง

เหนืออื่นใด ยังมีการตั้งธง “ปฏิรูป” กฎหมายพรรคการเมือง โดยเสนอให้นายก รัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ผู้ชนะต้องได้รับ คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง..ไม่ควรให้มีการยุบพรรค เมื่อกรรมการและสมาชิกพรรคทำผิด..ควรมีกฎหมายกำหนดให้ทุกพรรค การเมืองมีสัดส่วนผู้สมัครสตรีเป็นจำนวน ที่ชัดเจน และมีบทลงโทษหากไม่มีการปฏิบัติตาม รวมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนชน กลุ่มน้อย หรือผู้ด้อยโอกาส มีที่นั่งในสภา ผู้แทนราษฎรด้วย..กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนหากพรรคการเมืองไม่เปิดเผยข้อมูล การรับจ่ายเงิน และข้อมูลของนักการเมือง ในพรรคที่ตนสังกัดอยู่ต่อสาธารณะ

นอกจากนี้ ทั้งพีเน็ตและ “อันเฟรล” ยังเสนอให้มี พ.ร.บ.องค์กรเอกชนตรวจสอบ การเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการเลือกตั้งในทุกระดับอย่างอิสระ และตรวจสอบพรรคการเมืองได้โดย ปราศจากอุปสรรคใดๆ รัฐจำเป็นต้องกำหนดให้องค์กรตรวจสอบดังกล่าวมีกองทุนพัฒนาองค์กรเอกชน โดยมีสัดส่วน เท่าเทียมกับกองทุนพัฒนาการเมืองและเพื่อให้การทำงานของ กกต. มีประสิทธิภาพมากขึ้น วงประชุม “เครือข่าย” ยังเสนอให้แก้ปัญหาการร้องเรียน การฉ้อฉลในการเลือกตั้ง โดยมี “ศาลชำนาญพิเศษคดีเลือกตั้ง” เข้ามาจัดการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยรับการร้องเรียนจากหน่วยงาน ผู้เสียหาย และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ศาลเลือกตั้งดังกล่าวจะปฏิบัติงานอย่างเต็มเวลา

เพื่อให้ข้อเสนอข้างต้นนี้มีความเป็น ไปได้ ตัวแทนภาคพลเมืองจะส่งผู้แทนเข้า พบรัฐบาล กกต. กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง รวมทั้งรณรงค์ให้กับประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการ เลือกตั้งเป็นจริง

“พล.อ.สายหยุด เกิดผล” ประธานพีเน็ต ย้ำหัวตะปูถึงภารกิจภาคพลเมืองหลังการเลือกตั้ง และการปฏิรูปการเลือกตั้ง ของไทยว่า..“เรายังยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข แต่ประชาธิปไตยของเรายังไม่สมบูรณ์ ยอมรับว่ารัฐบาลปัจจุบันมาจาก การเลือกตั้งของประชาชนจริง แต่ยังมีคำถามสงสัยว่ารัฐบาลทำเพื่อประชาชนจริงหรือไม่ เพราะพฤติการณ์สะท้อนให้เห็นว่าทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่า ประชาชน การเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาหวังว่าจะแก้ปัญหาการเมือง แต่กลับสร้างปัญหาการเมืองขึ้นมาใหม่ ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าหาญ กล้ารับผิดชอบ ถึงจะสร้างความ เชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ ดังนั้นเราจึงเริ่ม ปลุกตัวเองก่อนที่จะลงไปในท้องถิ่นเพื่อรณรงค์ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปการเลือกตั้งเป็นจริง ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอเป็นไปได้ตัวแทนภาคพลเมืองจะเข้าพบหารือกับรัฐบาล กกต. กรรมการปฏิรูปกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งต่อไป”

นับเป็นมุมสะท้อนจาก “ภาคพลเมือง” หลังเปิดเกมเร็วจี้ข้อเสนอถึงรัฐนาวา ตอกย้ำแนวทาง “ปฏิรูป” ระบบการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกระบวน การ “ปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้ง” ที่จะใช้บังคับพรรคการเมืองที่ทำผิดกฎ! แทนการยุบพรรค เพราะเวลานี้ขั้วการ เมืองและภาคประชาชน ล้วนเห็นตรงกันว่า..สิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเมืองไทยอ่อนแอ!

ขณะที่การตั้งธงให้นายกรัฐมนตรีมา จากการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ยังเป็นประเด็น ที่ถกเถียงไม่รู้จบสิ้น เพราะยังมีความอ่อน ไหวต่อระบบการปกครองของประเทศ ซึ่ง อาจกระทบต่อเอกภาพและความเข้มแข็ง ของระบบพรรคการเมืองได้

การรื้อระบบ..ปฏิรูปการเมืองไทย อาจกลายเป็นทางสองแพร่ง! ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปปรับใช้กันเช่นไร..หากมีการแก้รัฐธรรมนูญตามนโยบายเร่งด่วนแห่งรัฐ กระนั้นสิทธิการแสดงออกขั้น พื้นฐานของพลเมืองในครั้งนี้ ก็ถือเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่จุดประกายความหวังในการทวงคืนอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงโดย ประชาชน..เพื่อประชาชน!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////

ยิงเบลล์ 212 ประกาศอธิปไตยเหนือดินแดน !!?

ส่อว่าจบไม่ลงง่ายๆ สำหรับเหตุการณ์ทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ แบบเบลล์ 212 ของกองทัพเรือไทย บริเวณกองกำลังจันทบุรี-ตราด เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา แม้ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ได้ทำหนังสือประท้วงให้กระทรวงกลาโหม ส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา

ขณะที่ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บอกถึงเรื่องนี้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ว่า เกิดจากความเข้าใจกันผิดนิดหน่อยตามที่กรมเอเชียตะวันออก รายงานมา ยังไม่ได้มีการรายงานล่าสุดมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่คิดว่าเรื่องนี้คงไม่ใช่เป็นปัญหาที่จะทำให้เกิดข้อบาดหมางกัน

กระทั้ง 18 ธันวาคม ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังจันทบุรี-ตราด พล.ร.ท.พงษ์ศักดิ์ ภูรีโรจน์ ซึ่งเข้าประชุมเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย และกัมพูชา บอกว่า ผู้บัญชาการทหารประจำจังหวัดเกาะกง ยอมรับ และขอโทษที่ทหารฝ่ายกัมพูชา ประมาท ทำเกินกว่าเหตุ และเขาจะนำเรื่องทั้งหมดไปเรียนให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกัมพูชา ให้รับทราบเพื่อจะได้พูดคุยกับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของไทย แล้วค่อยมาหารือกันอีกครั้ง

ท่าทีล่าสุดของ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล บอกระหว่างเยือนนครเนปีดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศ ทำหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชา ต่อกรณีทหารกัมพูชายิงเฮลิคอปเตอร์ของไทย ว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิดที่สามารถพูดคุยกันได้ ซึ่งทางกัมพูชาก็ได้แสดงความเสียใจผ่านทาง พล.อ.ยุทธศักดิ์ มาแล้ว ส่วนจะทำหนังสือประท้วงตามข้อเรียกร้องของพรรคประชาธิปัตย์ คงทำไม่ได้ เพราะวิธีคิดไม่เหมือนกัน แต่เราต้องหาทางพูดคุยกัน เราเป็นเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรประเทศที่ดีต่อกัน ย่อมสามารถทำความเข้าใจกันได้อยู่แล้ว ในเมื่อทางกัมพูชาได้แสดงความเสียใจมาแล้วว่า เป็นเรื่องความผิดพลาดของการสื่อสาร ไม่ควรเอาเรื่องจนก่อให้เกิดความบาดหมางใจกันอีก

ขณะที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา บอกถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า ได้ให้กองทัพไทย ร่างคำแถลงข่าวแล้วแสตมป์ไว้เพื่อยืนยันว่าข่าวนี้เป็นไปตามที่เราแถลง โดยจะมีการส่งให้สำนักนโนบายและแผนนกระทรวงกลาโหม เพื่อให้โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลงข่าวและแสตมป์ไว้ ซึ่งทางกัมพูชา ก็มีการแถลงข่าวและแสตมป์โดยโฆษกกัมพูชาก่อนหน้านี้ไปแล้ว เป็นการยืนยันว่า 2 ประเทศคิดเช่นนี้

ส่วนการประท้วงเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ต้องไปเรียกทูต มาเพื่อประท้วง ไม่ใช่เรื่องของกระทรวงกลาโหม โดยในวันที่เกิดเหตุ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงกลาโหมกัมพูชา พล.อ.เตีย บันห์ ได้โทรศัพท์มาพุดคุยด้วยทันที ทั้งนี้ในระดับผู้บังคับบัญชามีความเข้าใจ เป็นความผิดพลาดในการสื่อสาร ซึ่งเครื่องมือติดต่อสื่อสารของกัมพูชาไม่ทันสมัย

จากท่าทีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งสวนทางกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่ค่อนข้างนิ่งเฉยจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบกัมพูชา นั้น พล.อ.ยุทธศักดิ์ ย้ำว่า ต้องไปถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม เรายืนยันว่าไม่เสียดินแดน ยังไงก็ไม่เสียดินแดน ถึงเวลาจะไปคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอง ยืนยันว่าทหารเราไม่ยอม ผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกคนยืนยันว่า ต้องรักษาอธิปไตยของแผ่นดินไทยไว้ด้วยชีวิตทุกคน ส่วนตัวเข้าใจและยืนยันในจิตใจของผบ.เหล่าทัพ ทุกคน เอาจริง และจริงจังด้วย ไม่ยอมให้คนไทยมีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี หรือจะต้องเสียใจ

ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ฮอ นัมฮง กลับบอกว่า เหตุการณ์ทหารกัมพูชาใช้อาวุธปืนยิงเฮลิคอปเตอร์ แบบเบลล์ 212 ของกองทัพเรือไทย บริเวณกองกำลังจันทบุรี-ตราด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นเพราะเฮลิคอปเตอร์ ของกองทัพเรือไทย บินรุกล้ำดินแดนกัมพูชา จึงจำเป็นต้องยิงเพื่อเตือน

เรื่องนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ความเข้าใจผิด เมื่อกัมพูชา ยืนยันว่าไทยรุกล้ำอธิปไตย ปฏิกิริยาที่นิ่งเฉยของรัฐบาลเท่ากับว่าไทยยอมรับการเสียดินแดนให้กัมพูชา

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////