มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะมาจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะมาจาก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า
ทหาร จะไม่ทำ รัฐประหาร
ความเชื่อมั่นของ 2 คนอาจมีรากฐาน ความเชื่อ อันแตกต่างไปจาก นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยบ้าง
ตรงที่ให้น้ำหนักไปยังกระแสกดดันอันมาจาก ต่างประเทศ
ขณะที่ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่า การเคลื่อนไหวของ คนเสื้อแดง ที่ร่วมกับพรรคเพื่อไทยจะเป็นพลัง 1 ซึ่งกองทัพต้องให้ความสนใจ
เพราะว่า คนเสื้อแดง ต้องไม่ยอมและไม่อยู่นิ่งเฉยๆ แน่นอน
แม้ความเชื่อของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จะอยู่บนพื้นฐานความเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอันมีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับขบวนการ คนเสื้อแดง
แต่ก็ควร ล้างหู ให้การรับฟัง
ในความเป็นจริง ต่างประเทศไม่ให้การยอมรับต่อกระบวนการรัฐประหารเลยนับแต่ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เป็นต้นมา
เห็นได้จากปฏิกิริยาของ สหรัฐ ต่อ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ไม่ว่าปฏิกิริยาจากสหรัฐอเมริกา จากสหราชอาณาจักรและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหภาพยุโรปล้วนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารนี้
แต่แล้วก็เกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จนได้
ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า เครือข่ายรัฐประหารโดยเฉพาะในเดือนกันยายน 2549 มิได้ให้ความสำคัญกับปฏิกิริยาจากต่างประเทศมากเท่าใด ความต้องการในทางการเมืองเฉพาะหน้าต่างหากคือบทสรุปอย่างเบ็ดเสร็จ
แล้วปฏิกิริยาจาก ประชาชน เล่ามีความสำคัญหรือไม่
ปฏิกิริยาของ ประชาชน เป็นปัจจัย 1 ซึ่งเครือข่าย รัฐประหาร แง่หูรับฟังอยู่ แต่นั่นก็ขึ้นว่าเป็นปฏิกิริยาที่กว้างขวางและลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด
เพราะรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ก็มีคนต้าน
เป็นการต้านจากลักษณะในแบบตัวใครตัวมันกระทั่งรวมตัวกันเป็น ขบวนการใหญ่โตอย่างที่เห็นและเป็นอยู่
นั่นก็คือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินในปี 2552 และในปี 2553
น่าสังเกตว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงเมื่อปี 2553 มิอาจทำให้พลังของ คนเสื้อแดง หมดสิ้นไป ตรงกันข้าม กลับรวมตัวและแสดงออกได้ใหม่อย่างรวดเร็ว
กลายเป็น ฐานค้ำบัลลังก์ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ความขัดแย้งที่กปปส.แสดงออกนับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นความขัดแย้งลักษณะเดิม-เดิม
เป็นความขัดแย้งระหว่าง เครือข่ายรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กับกลุ่มการเมือง พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนอันดำรงอยู่ผ่าน พรรคเพื่อไทย
การต่อสู้นี้ยืดเยื้อมา 8 ปีแล้วและยังดำรงอยู่
ทหาร จะไม่ทำ รัฐประหาร
ความเชื่อมั่นของ 2 คนอาจมีรากฐาน ความเชื่อ อันแตกต่างไปจาก นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยบ้าง
ตรงที่ให้น้ำหนักไปยังกระแสกดดันอันมาจาก ต่างประเทศ
ขณะที่ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่า การเคลื่อนไหวของ คนเสื้อแดง ที่ร่วมกับพรรคเพื่อไทยจะเป็นพลัง 1 ซึ่งกองทัพต้องให้ความสนใจ
เพราะว่า คนเสื้อแดง ต้องไม่ยอมและไม่อยู่นิ่งเฉยๆ แน่นอน
แม้ความเชื่อของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ จะอยู่บนพื้นฐานความเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอันมีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับขบวนการ คนเสื้อแดง
แต่ก็ควร ล้างหู ให้การรับฟัง
ในความเป็นจริง ต่างประเทศไม่ให้การยอมรับต่อกระบวนการรัฐประหารเลยนับแต่ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 เป็นต้นมา
เห็นได้จากปฏิกิริยาของ สหรัฐ ต่อ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์
ไม่ว่าปฏิกิริยาจากสหรัฐอเมริกา จากสหราชอาณาจักรและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหภาพยุโรปล้วนไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารนี้
แต่แล้วก็เกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จนได้
ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า เครือข่ายรัฐประหารโดยเฉพาะในเดือนกันยายน 2549 มิได้ให้ความสำคัญกับปฏิกิริยาจากต่างประเทศมากเท่าใด ความต้องการในทางการเมืองเฉพาะหน้าต่างหากคือบทสรุปอย่างเบ็ดเสร็จ
แล้วปฏิกิริยาจาก ประชาชน เล่ามีความสำคัญหรือไม่
ปฏิกิริยาของ ประชาชน เป็นปัจจัย 1 ซึ่งเครือข่าย รัฐประหาร แง่หูรับฟังอยู่ แต่นั่นก็ขึ้นว่าเป็นปฏิกิริยาที่กว้างขวางและลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด
เพราะรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ก็มีคนต้าน
เป็นการต้านจากลักษณะในแบบตัวใครตัวมันกระทั่งรวมตัวกันเป็น ขบวนการใหญ่โตอย่างที่เห็นและเป็นอยู่
นั่นก็คือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินในปี 2552 และในปี 2553
น่าสังเกตว่าการปราบปรามอย่างรุนแรงเมื่อปี 2553 มิอาจทำให้พลังของ คนเสื้อแดง หมดสิ้นไป ตรงกันข้าม กลับรวมตัวและแสดงออกได้ใหม่อย่างรวดเร็ว
กลายเป็น ฐานค้ำบัลลังก์ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ความขัดแย้งที่กปปส.แสดงออกนับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นความขัดแย้งลักษณะเดิม-เดิม
เป็นความขัดแย้งระหว่าง เครือข่ายรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กับกลุ่มการเมือง พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนอันดำรงอยู่ผ่าน พรรคเพื่อไทย
การต่อสู้นี้ยืดเยื้อมา 8 ปีแล้วและยังดำรงอยู่
ที่มา.ข่าวสดออนไลน์
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น