ที่ศาลจังหวัดเชียงราย ได้มีการนัดอ่านคำพิพาษาศาลฎีฎา กรณีคำร้องของฝ่ายจำเลยคดีหมายเลขดำที่ 2318/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 1131/2549 ในชั้นศาลฏีกาคดีแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 โดยมีโจทย์คือนางรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงราย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์นายกเทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย และจำเลยคือนางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช ภรรยานายยงยุทธ ติยะไพรัช และเป็นนายก อบจ.เชียงราย คนปัจจุบัน
หลังก่อนหน้านี้จำเลยได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้งคือเมื่อวันที่ 13 ก.ย.โดยระบุว่าป่วยปวดศีรษะและวันที่ 2 ส.ค.ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักเนื่องจากมีบรรดาผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะกลุ่มสตรี อ.เทิง และ ส.อบจ.เชียงรายนำดอกไม้และป้ายเดินทางมาให้กำลังเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลานัดหมายปรากฏว่าทั้งฝ่ายนางสลักจฤฎดิ์และนางรัตนา ไม่ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษาศาลด้วยตนเอง แม้ทางฝ่ายทนายของจำเลยจะพยายามยื่นคำร้องขอสอบพยานเพิ่มเติมถึง 3 ฉบับ แต่ศาลเห็นว่ามีการสอบพยานที่เพียงพอและมีการผลัดเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษาศาลมาแล้วหลายนัด
นายมหันต์โชค แฉล้มเขตต์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายได้ขึ้นบังลังค์ห้องพิจารณา 14 อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา โดยศาลฎีกาตัดสินให้จำคุกนางสลักจฤฏดิ์ จำเลยเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ปรับ 5 หมื่นบาท และเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งจะได้มีการส่งผลคำตัดสินไปยัง อบจ.เชียงราย เพื่อเสนอไปยัง จังหวัดพิจารณาคุณสมบัติก่อนเพื่อจัดการเลือกตั้งต่อไป ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 ในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงราย ซึ่งนางรัตนาเป็นผู้สมัครหมายเลข 1 และนางสลักจฤฎดิ์เป็นผู้สมัครหมายเลข 2 ผลปรากฏว่านางรัตนาได้รับการเลือกตั้ง ทำให้ทางนางสลักจฤฎดิ์ได้มีการฟ้องร้องและแจ้งความกล่าวหาว่านางรัตนาพร้อมด้วยนายวันชัย จงสุทธนามณี สามี ทำการมอบอุปกรณ์เด็กเล่นให้กับชาวชุมชนประตูเชียงใหม่เพื่อหวังผลในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าทางนางรัตนาได้ชี้แจงและนำพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำจริง จนเป็นเหตุให้มีการยก ฟ้อง จนนางรัตนาได้นำสืบและร้องกลับต่อนางสลักจฤฎดิ์ว่าได้ดำเนินการกลั่นแกล้งไม่ให้ประกาศแต่งตั้งดำรงตำแหน่งนายก อบจ.เชียงราย พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่ามีการแจกสิ่งของจูงใจเพื่อหวังผลในการเลือกตั้ง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฎดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนโดยไม่รอลงอาญา โทษปรับจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้อง จนมีการต่อสู้กันอีกครั้งในชั้นศาลฎีกาและศาลฎีกาได้มีคำตัดสินในครั้งนี้
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------
หลังก่อนหน้านี้จำเลยได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้งคือเมื่อวันที่ 13 ก.ย.โดยระบุว่าป่วยปวดศีรษะและวันที่ 2 ส.ค.ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักเนื่องจากมีบรรดาผู้สนับสนุนของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะกลุ่มสตรี อ.เทิง และ ส.อบจ.เชียงรายนำดอกไม้และป้ายเดินทางมาให้กำลังเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลานัดหมายปรากฏว่าทั้งฝ่ายนางสลักจฤฎดิ์และนางรัตนา ไม่ได้เดินทางมารับฟังคำพิพากษาศาลด้วยตนเอง แม้ทางฝ่ายทนายของจำเลยจะพยายามยื่นคำร้องขอสอบพยานเพิ่มเติมถึง 3 ฉบับ แต่ศาลเห็นว่ามีการสอบพยานที่เพียงพอและมีการผลัดเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษาศาลมาแล้วหลายนัด
นายมหันต์โชค แฉล้มเขตต์ ผู้พิพากษาศาลเชียงรายได้ขึ้นบังลังค์ห้องพิจารณา 14 อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา โดยศาลฎีกาตัดสินให้จำคุกนางสลักจฤฏดิ์ จำเลยเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน ปรับ 5 หมื่นบาท และเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ก่อนเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งจะได้มีการส่งผลคำตัดสินไปยัง อบจ.เชียงราย เพื่อเสนอไปยัง จังหวัดพิจารณาคุณสมบัติก่อนเพื่อจัดการเลือกตั้งต่อไป ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2547 ในการเลือกตั้ง อบจ.เชียงราย ซึ่งนางรัตนาเป็นผู้สมัครหมายเลข 1 และนางสลักจฤฎดิ์เป็นผู้สมัครหมายเลข 2 ผลปรากฏว่านางรัตนาได้รับการเลือกตั้ง ทำให้ทางนางสลักจฤฎดิ์ได้มีการฟ้องร้องและแจ้งความกล่าวหาว่านางรัตนาพร้อมด้วยนายวันชัย จงสุทธนามณี สามี ทำการมอบอุปกรณ์เด็กเล่นให้กับชาวชุมชนประตูเชียงใหม่เพื่อหวังผลในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าทางนางรัตนาได้ชี้แจงและนำพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำจริง จนเป็นเหตุให้มีการยก ฟ้อง จนนางรัตนาได้นำสืบและร้องกลับต่อนางสลักจฤฎดิ์ว่าได้ดำเนินการกลั่นแกล้งไม่ให้ประกาศแต่งตั้งดำรงตำแหน่งนายก อบจ.เชียงราย พร้อมกับแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมว่ามีการแจกสิ่งของจูงใจเพื่อหวังผลในการเลือกตั้ง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฎดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนโดยไม่รอลงอาญา โทษปรับจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้อง จนมีการต่อสู้กันอีกครั้งในชั้นศาลฎีกาและศาลฎีกาได้มีคำตัดสินในครั้งนี้
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น