ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีตก ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... (พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน) ไปจากสารบบตามมาตรา 154 (2) วรรค 3
เหตุผลหนึ่ง มติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เห็นว่า เนื้อหาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นสาระของร่าง พ.ร.บ. จึงต้องตกไปทั้งฉบับ
อีกเหตุผลหนึ่ง เป็นมติ 6 ต่อ 2 เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะมีการเสียบบัตรแทนกัน
ทั้งนี้ในประเด็นแรก ศาลเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน เป็น "เงินแผ่นดิน" โดยการจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องใช้จ่ายตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น 1.กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 2.กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย 3.กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ และ 4.กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และ "กรณีเร่งด่วน"
แต่ตามเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่าการดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญมาตรา170วรรค2 เพื่อการรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ให้นำเงินไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรี รายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทราบเท่านั้น ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังในรัฐธรรมนูญหมวด8ทำให้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่สอง กรณีเสียบบัตรแทนกัน ศาลพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ใช้บัตรแสดงตนเองและออกเสียงลงคะแนนแทน ส.ส.รายอื่น ในวันที่ 20 ก.ย. 2556
โดยศาลเห็นว่าการลงคะแนนเสียงแทนกันในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ที่ระบุว่า ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
และมาตรา 126 วรรค 3 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นความลับ ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการตราร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
แน่นอนว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือเป็นที่สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา216 วรรค 5 ซึ่งเขียนไว้ชัดเจนว่า
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"
ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นบรรทัดฐานถึงรัฐบาลชุดต่อไปว่า ถ้าไม่ใช่กรณีเกิดสงคราม การรบ หรือเกิดวิกฤตการเงินการคลังที่มีความจำเป็นเร่งด่วน การออก พ.ร.บ.กู้เงินมา "จ่าย" ในโครงการต่าง ๆ ต้องทำผ่านกฎหมาย 4 ฉบับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เท่านั้น ไม่สามารถออกกฎหมายพิเศษมาใช้กู้เงินได้อีก
พลันที่มติศาลรัฐธรรมนูญสะพัดไปทั่วประเทศ ฟากผู้ยื่นร้องคือ "พรรคประชาธิปัตย์" ต่างดาหน้าออกมาขย่มซ้ำ
"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า "คนไทยไม่ต้องเป็นหนี้ 50 ปี ผมมั่นใจว่าโครงการทั้งหลายสามารถดำเนินการได้โดยไม่ล่าช้าไปมาก เพราะโครงการที่มีความพร้อมสามารถจัดทำเป็นระบบงบประมาณได้เกือบทุกโครงการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนหน้าอยู่แล้ว"
"วิรัตน์กัลยาศิริ"หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นร่าง พ.ร.บ.การเงิน ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายทักท้วง แต่ ครม.ยังยืนยันเดินหน้าพิจารณากฎหมายฉบับนี้ต่อ ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติออกมาเช่นนี้ รัฐบาลที่เป็นผู้เสนอต้องลาออกอย่างเดียว ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ เพราะตามธรรมเนียมปฏิบัติในระบบรัฐสภา เมื่อกฎหมายการเงินตกต้องลาออกทั้งหมด
"หลังจากนี้ พรรคจะยื่นถอดถอนบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ทั้งหมดไปที่ ป.ป.ช. หากพบมีการทุจริตผิดกฎหมาย ก็ต้องฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
ขณะที่ผู้นำฝ่ายรัฐบาลอย่าง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี แสดงความรู้สึกเสียดายที่ร่างกฎหมายถูกตีตก
"เสียดาย รัฐบาลทำอย่างเต็มที่แล้ว ที่เราอยากเห็นประเทศของเราพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะตั้งแต่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก็จะเห็นว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นรองเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เสียดายกับการที่เราควรได้พัฒนาให้เราสามารถที่จะก้าวนำในการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนและการที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการลงทุนในประเทศภูมิภาคก็ถือว่าเราทำอย่างเต็มที่แล้ว"
"ใครก็ตามที่จะคิดว่าเราทำเพื่อประเทศก็อยากให้มองที่เจตนาอย่ามองการใช้ข้อกฎหมายเป็นข้อเพื่อที่จะลิดรอนเป็นข้อที่จะตัดสิทธิ์ของทุกคนเลย แล้วอย่างนี้เราจะไปด้วยกันลำบาก การพัฒนาประเทศต่าง ๆ ก็ลำบาก เพราะเรามุ่ง มุ่งแต่ว่า ทำทุกอย่างใช้ข้อกฎหมาย ในการที่จะตัดสิทธิ์ โดยที่ไม่มองถึงเจตนารมณ์อันเป็นเบื้องต้น ตรงนี้ต่างหากที่เราคิดว่า เราหวังว่า เราจะได้รับความเข้าใจ แล้วเราจะได้รับความยุติธรรมแล้วก็เห็นใจ"
ขณะที่ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รมว.คมนาคม บอกเพียงสั้น ๆ ว่า เราทำดีที่สุดแล้ว
"ผลกระทบจะออกมาอย่างไรขอน้อมรับคำวินิจฉัย ซึ่งน่าจะเป็นผลกับรัฐบาลชุดหน้ามากกว่า ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรต้องเดินหน้าต่อได้ คำวินิจฉัยไม่มีอะไรเป็นลบแค่ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่"
หลังจากนี้ไม่ว่าฝ่ายค้านจะนำไปต่อยอดเอาผิดรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์หรือฝ่ายรัฐบาลรักษาการโดยกระทรวงคมนาคมปรับแผนเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร
แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นบรรทัดฐานปิดประตูการออกกฎหมายกู้เงินไปอย่างถาวร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
------------------------------------------
เหตุผลหนึ่ง มติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เห็นว่า เนื้อหาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หมวด 8 ว่าด้วยการเงิน การคลัง และงบประมาณ ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นสาระของร่าง พ.ร.บ. จึงต้องตกไปทั้งฉบับ
อีกเหตุผลหนึ่ง เป็นมติ 6 ต่อ 2 เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะมีการเสียบบัตรแทนกัน
ทั้งนี้ในประเด็นแรก ศาลเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน เป็น "เงินแผ่นดิน" โดยการจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องใช้จ่ายตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น 1.กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 2.กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย 3.กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ และ 4.กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และ "กรณีเร่งด่วน"
แต่ตามเท็จจริงแล้ว ปรากฏว่าการดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน
และการใช้จ่ายเงินแผ่นดินต้องเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญมาตรา170วรรค2 เพื่อการรักษาเสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ให้นำเงินไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์โดยไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และบัญญัติให้คณะรัฐมนตรี รายงานการกู้เงิน ผลการดำเนินงานต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทราบเท่านั้น ทำให้การควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าวไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยกรอบวินัยการเงินการคลังในรัฐธรรมนูญหมวด8ทำให้ร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่สอง กรณีเสียบบัตรแทนกัน ศาลพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ได้ใช้บัตรแสดงตนเองและออกเสียงลงคะแนนแทน ส.ส.รายอื่น ในวันที่ 20 ก.ย. 2556
โดยศาลเห็นว่าการลงคะแนนเสียงแทนกันในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ที่ระบุว่า ส.ส.ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
และมาตรา 126 วรรค 3 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นความลับ ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการตราร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
แน่นอนว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือเป็นที่สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา216 วรรค 5 ซึ่งเขียนไว้ชัดเจนว่า
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"
ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นบรรทัดฐานถึงรัฐบาลชุดต่อไปว่า ถ้าไม่ใช่กรณีเกิดสงคราม การรบ หรือเกิดวิกฤตการเงินการคลังที่มีความจำเป็นเร่งด่วน การออก พ.ร.บ.กู้เงินมา "จ่าย" ในโครงการต่าง ๆ ต้องทำผ่านกฎหมาย 4 ฉบับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เท่านั้น ไม่สามารถออกกฎหมายพิเศษมาใช้กู้เงินได้อีก
พลันที่มติศาลรัฐธรรมนูญสะพัดไปทั่วประเทศ ฟากผู้ยื่นร้องคือ "พรรคประชาธิปัตย์" ต่างดาหน้าออกมาขย่มซ้ำ
"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า "คนไทยไม่ต้องเป็นหนี้ 50 ปี ผมมั่นใจว่าโครงการทั้งหลายสามารถดำเนินการได้โดยไม่ล่าช้าไปมาก เพราะโครงการที่มีความพร้อมสามารถจัดทำเป็นระบบงบประมาณได้เกือบทุกโครงการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลก่อนหน้าอยู่แล้ว"
"วิรัตน์กัลยาศิริ"หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นร่าง พ.ร.บ.การเงิน ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายทักท้วง แต่ ครม.ยังยืนยันเดินหน้าพิจารณากฎหมายฉบับนี้ต่อ ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติออกมาเช่นนี้ รัฐบาลที่เป็นผู้เสนอต้องลาออกอย่างเดียว ไม่สามารถอยู่ต่อไปได้ เพราะตามธรรมเนียมปฏิบัติในระบบรัฐสภา เมื่อกฎหมายการเงินตกต้องลาออกทั้งหมด
"หลังจากนี้ พรรคจะยื่นถอดถอนบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ทั้งหมดไปที่ ป.ป.ช. หากพบมีการทุจริตผิดกฎหมาย ก็ต้องฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"
ขณะที่ผู้นำฝ่ายรัฐบาลอย่าง "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี แสดงความรู้สึกเสียดายที่ร่างกฎหมายถูกตีตก
"เสียดาย รัฐบาลทำอย่างเต็มที่แล้ว ที่เราอยากเห็นประเทศของเราพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะตั้งแต่มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก็จะเห็นว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานเป็นรองเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมาก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เสียดายกับการที่เราควรได้พัฒนาให้เราสามารถที่จะก้าวนำในการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนและการที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการลงทุนในประเทศภูมิภาคก็ถือว่าเราทำอย่างเต็มที่แล้ว"
"ใครก็ตามที่จะคิดว่าเราทำเพื่อประเทศก็อยากให้มองที่เจตนาอย่ามองการใช้ข้อกฎหมายเป็นข้อเพื่อที่จะลิดรอนเป็นข้อที่จะตัดสิทธิ์ของทุกคนเลย แล้วอย่างนี้เราจะไปด้วยกันลำบาก การพัฒนาประเทศต่าง ๆ ก็ลำบาก เพราะเรามุ่ง มุ่งแต่ว่า ทำทุกอย่างใช้ข้อกฎหมาย ในการที่จะตัดสิทธิ์ โดยที่ไม่มองถึงเจตนารมณ์อันเป็นเบื้องต้น ตรงนี้ต่างหากที่เราคิดว่า เราหวังว่า เราจะได้รับความเข้าใจ แล้วเราจะได้รับความยุติธรรมแล้วก็เห็นใจ"
ขณะที่ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รมว.คมนาคม บอกเพียงสั้น ๆ ว่า เราทำดีที่สุดแล้ว
"ผลกระทบจะออกมาอย่างไรขอน้อมรับคำวินิจฉัย ซึ่งน่าจะเป็นผลกับรัฐบาลชุดหน้ามากกว่า ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรต้องเดินหน้าต่อได้ คำวินิจฉัยไม่มีอะไรเป็นลบแค่ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่"
หลังจากนี้ไม่ว่าฝ่ายค้านจะนำไปต่อยอดเอาผิดรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์หรือฝ่ายรัฐบาลรักษาการโดยกระทรวงคมนาคมปรับแผนเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร
แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นบรรทัดฐานปิดประตูการออกกฎหมายกู้เงินไปอย่างถาวร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น