รัฐสภาสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียลงมติขอไปอยู่กับสหพันธรัฐรัสเซียและขอให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย พิจารณาคำขอดังกล่าว ซึ่งจะเปิดให้ชาวไครเมียลงประชามติในวันที่ 16 มีนาคมนี้
นายอาร์เซนี ยัตเซยุค นายกรัฐมนตรีรักษาการของยูเครน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากการเจรจากับบรรดาผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียูในการประชุมฉุกเฉินฉุกเฉินเรื่องวิกฤติยูเครนว่ามติของรัฐสภาเขตไครเมียในการแยกเขตไครเมียไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียนั้นเป็นการตัดสินใจ “ผิดกฎหมาย”และกล่าวเพิ่มเติมว่าขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลรัสเซียว่าอย่าสนับสนุนพวกที่คิดแบ่งแยกดินแดน
ทั้งนี้ ส.ส.ที่สนับสนุนรัสเซียในเขตไครเมีย ยื่นข้อเรียกร้องไปยังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ขณะที่กองทัพรัสเซียยังคงยึดพื้นที่ยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรไครเมียอยู่ต่อไป โดยการจัดการแสดงประชามติดังกล่าวซึ่งเลื่อนมาจากแผนการเดิมวันที่ 30 มีนาคม สมาชิกรัฐสภาไครเมียคนหนึ่งเผยว่า สมาชิกสภา 78 คน จากทั้งหมด 86 คน ลงมติสนับสนุนญัตติ 2 เรื่องในวันนี้ เรื่องแรกเป็นการขอเข้าร่วมกับรัสเซีย โดยได้ขอให้ผู้นำและรัฐสภารัสเซียพิจารณาคำขอนี้แล้ว เรื่องที่สองเป็นการกำหนดลงประชามติในวันที่ 16 มีนาคม ให้ชาวไครเมียลงประชามติใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียหรือไม่ ประเด็นที่สองคือ ต้องการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2535 ที่ให้อำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางไม่ต่างจากการเป็นรัฐเอกราชหรือไม่
ไครเมียเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 18 ต่อมานายนิกิตา ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ได้ยกให้เป็นของขวัญแก่ยูเครนในปี 2497 ซึ่งในขณะนั้นทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียตที่ต่อมาล่มสลายในปี 2534
นายอาร์เซนี ยัตเซยุค นายกรัฐมนตรีรักษาการของยูเครน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากการเจรจากับบรรดาผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียูในการประชุมฉุกเฉินฉุกเฉินเรื่องวิกฤติยูเครนว่ามติของรัฐสภาเขตไครเมียในการแยกเขตไครเมียไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียนั้นเป็นการตัดสินใจ “ผิดกฎหมาย”และกล่าวเพิ่มเติมว่าขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลรัสเซียว่าอย่าสนับสนุนพวกที่คิดแบ่งแยกดินแดน
ทั้งนี้ ส.ส.ที่สนับสนุนรัสเซียในเขตไครเมีย ยื่นข้อเรียกร้องไปยังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ขณะที่กองทัพรัสเซียยังคงยึดพื้นที่ยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรไครเมียอยู่ต่อไป โดยการจัดการแสดงประชามติดังกล่าวซึ่งเลื่อนมาจากแผนการเดิมวันที่ 30 มีนาคม สมาชิกรัฐสภาไครเมียคนหนึ่งเผยว่า สมาชิกสภา 78 คน จากทั้งหมด 86 คน ลงมติสนับสนุนญัตติ 2 เรื่องในวันนี้ เรื่องแรกเป็นการขอเข้าร่วมกับรัสเซีย โดยได้ขอให้ผู้นำและรัฐสภารัสเซียพิจารณาคำขอนี้แล้ว เรื่องที่สองเป็นการกำหนดลงประชามติในวันที่ 16 มีนาคม ให้ชาวไครเมียลงประชามติใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียหรือไม่ ประเด็นที่สองคือ ต้องการกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2535 ที่ให้อำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางไม่ต่างจากการเป็นรัฐเอกราชหรือไม่
ไครเมียเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 18 ต่อมานายนิกิตา ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียต ได้ยกให้เป็นของขวัญแก่ยูเครนในปี 2497 ซึ่งในขณะนั้นทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียตที่ต่อมาล่มสลายในปี 2534
ที่มา.มติชน
//////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น