--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

ค้านปฏิรูปตำรวจ สังกัด ผวจ. ...!!?

กลุ่มนักวิชาการด้านยุติธรรม แนะปฏิรูปคน-จิตสำนึกมากกว่ากฎหมาย "วสิษฐ"ค้านปฏิรูปตำรวจสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด เหตุเปลืองงบประมาณ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานวิชาการรำลึกศาสตรจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่19 เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย โดยมีวิทยากร ได้แก่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.), พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ, นายกิตติพงศ์ กิตติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม, นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และ นายณรงค์ ใจกล้าหาญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยพล.ต.อ.วสิษฐ กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจเคยมีความพยายามดำเนินการมาแล้วหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทัศนคติของผู้พิจารณาและกลั่นกรองร่างกฎหมายที่ไม่ตรงกันของผู้เสนอร่างกฎหมาย ทั้งนี้ในสมัยที่ตนร่วมทำงานกับคณะกรรมการพัฒนางานตำรวจ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจ โดยมีสาระสำคัญเพื่อปรับรูปแบบของการบริหารงานตำรวจ ให้มีการกระจายอำนาจไปสู่ระดับจังหวัด แทนการผูกขาดอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และผบ.ตร. เพียงอย่างเดียว และได้ยกร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมกาารอิสระเพื่อตรวจสอบงานตำรวจ เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แต่พบว่าไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเนื่องจากผู้พิจารณาไม่มีความรู้ความเข้าใจ เมื่อมีการยุบสภา ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ยุติการพิจารณา ตนมองด้วยว่าในระบบงานตำรวจมีสิ่งทีต้องเร่งปรับปรุง คือ การพัฒนาบุคลากรของตำรวจในสายงานสอบสวน ที่จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ด้านกฎหมายอย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดในการลงโทษ โดยตนเคยเสนอให้นำโรงเรียนนายร้อยออกนอกระบบและยกให้เป็นสถาบันวิชาการโดยเฉพาะแต่ไม่ได้รับการพิจารณา และสิ่งที่ต้องพิจารณาแก้ไจ คือการรับงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของตำรวจมาดำเนินการ เช่น การตรวจคนเข้าเมือง, การแพทย์

"สำหรับแนวคิดการปฏิรูปตำรวจที่พูดกันว่าจะให้ตำรวจไปสังกัดกับผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ เป็นตำรวจท้องถิ่น นั้นผมมองว่าเป็นการปฏิรูปที่ปลายทาง และมองว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีตำรวจแห่งชาติ เพราะหากให้ตำรวจไปขึ้นอยู่กับส่วนจังหวัด อาจจะเกิดความสิ้นเปลืองในงบประมาณของชาติได้ อาทิ ปัจจุบันมีห้องแล็บในส่วนกลาง หากให้ตำรวจสังกัดจังหวัดออาจต้องมีสร้างห้องแล็บตามจังหวัด, เครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามในหลายประเทศที่มีตำรวจท้องถิ่นก็มีแนวคิดไม่ต้องการ เช่น ประเทศออสเตรเลีย" พล.ต.อ.วสิษฐ กล่าว

ด้านนายคณิต กล่าวว่าหลักการปกครองที่ดีต้องใช้หลักนิติศาสตร์มาดำเนินการแทนการยึดเฉพาะหลักรัฐศาสตร์ เพราะหลักนิติศาสตร์ถือเป็นกระบวนการที่ให้และสร้างความเป็นธรรมกับสังคม แต่หากกระบวนการยุติธรรมไม่ดีก็ต้องเลิก หากคนไม่ดีอยู่ในกระบวนการต้องจัดการคน ทั้งนี้ตนมองว่าในกระบวนการยุติธรรมของประเทศหากพิจารณาและตัดสินเรื่องใด แล้วมีคนไม่รับในคำตัดสิน เชื่อว่าสังคมจะไม่สงบสุขแน่นอน อย่างไรก็ตามกระบวนการยุติธรรมของไทยมีหลายประเภท อาทิ ทางปกครอง, ทางแรงงาน, รัฐธรรมนูญ ซึ่งตามหลักแล้วกระบวนการยุติธรรมต้องดำเนินการให้รวดเร็วและเป็นธรรม ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทั้งจากการรู้หรือไม่รู้นั้น โดยตนมองว่าส่วนหนึ่งมาจากการเรียนการสอนของสถาบันคือสอนให้จำ แทนการสอนแบบให้คิดแบบเป็นลำดับ เช่น การออกหมายจับ ตามลำดับต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่อาศัยความรู้สึก และต้องมีพยานหลักฐาน จากนั้นพิจารณาว่าจำเป็นต้องออกหมายจับหรือไม่ โดยส่วนตัวมองว่าในประเด็นการออกหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นไม่เป็นไปตามหลัก

"การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ต่อประเด็นการแก้ไขกฎหมายนั้น ผมว่าแท้จริงแล้วข้อกฎหมายมีปัญหาน้อยมาก หากเราพิจารณาและสร้างความเข้าใจในข้อกฎหมายให้ดี" นายคณิต กล่าว

ขณะที่นายกิตติพงษ์ กล่าวว่าหัวใจของการการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม คือ คน และจิตสำนึก เพราะหากมีกฎหมายดีอย่างไร แต่คนขาดจิตสำนึก ไม่เข้าใจในระบบยุติธรรม ทำให้เกิดคนทีืตีความหมายของกฎหมายแบบศรีธนญชัย และทำให้การปฏิรูปเป็นไปได้อยาก เช่น กระบวนการคุ้มครองสิทธิ์ของบุคคล อาจจะถูกละเมิดและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ โดยเฉพาะการอุ้มหาย นอกจากนั้นตนมองว่าการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต้องพิจารณในหลายส่วนร่วมร่วมกัน เช่น การปฏิรูปหลักนิติธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองสิทธิ์, การจัดสรรทรัพยากร และการบังคับใช้กฎหมาต้องยึดหลักเสมอภาค ตรวจสอบได้ และต้องให้ความเป็นธรรม นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงหลักประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล

"การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอ อย่ามองแค่มุมกฎหมาย แต่ต้องมีความเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะหลีกกฎหมายและหลักนิติธรรม ถือเป็นหลักของพื้นฐานสังคมสงบสุข และหลักประชาธิปไตย หากกฎหมายไม่ดี ก็จะทำให้สังคมไม่สงบสุขและประชาธิปไตยก็จะไม่เกิด ส่วนการปฏิรูปที่ภาคสังคมให้ความสนใจ คือ การปรับอำนาจของฝ่ายการเมือง หากเพิ่มการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งเชื่อว่าจะทำให้การปฏิรูปประเทศมีความสมบูรณ์" นายกิตติพงษ์ กล่าว

ส่วนนายภัทรศักดิ์ กล่าวยอมรับว่ากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบมีปัญหา ทั้งเรื่องความโปร่งใส, การถูกแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบ, การเลือกปฏิบัติ, การขาดการตรวจสอบ, การคุกคามศาลจากบุคคลภายนอก นอกจากนั้นยังพบด้วยว่ากระบวนการยุติธรรมมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีบทบัญญัติแทรกแซงการใช้ดุลยพินิจศาล เช่น การขายซีดีเถื่อน ที่กำหนดโทษให้ปรับเป็นเงินหลักแสน และมีโทษจำคุก ดังนั้นควรมีการพิจารณาแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม และที่สำคัญกฎหมายบางฉบับมีความล้าสมัยควรพิจารณายกเลิก

กระบวนการยุติธรรม ต้องมองการทำงานตั้งแต่ต้นทาง คือ คน ในฐานะที่มาเป็นพยาน ที่ต้องตระหนักในการมีส่วนร่วม อย่ามองเฉพาะในส่วนการพิจารณาของศาลที่เป็นปลายทาง กระบวนการยุติธรรมเหมือนระบบสายพาน หากในจุดใดจุดหนึ่งของสายพานมีความไม่ดี เชื่อว่าปลายทางของสายพานย่อมเกิดผลไม่ดีด้วย

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น